ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ส่วนนี้พระพุทธเจ้ากล่าวแสดงเรื่องนิมิต ที่สอนในกรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ  (อ่าน 2608 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nithi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
[๔๕๒]

พระพุทธเจ้า. "ดูกรอนุรุทธะ พวกเธอต้องแทงตลอดนิมิตนั้นแล
แม้เราก็เคยมาแล้ว เมื่อก่อนตรัสรู้ ยังไม่รู้เองด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่
ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน
แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็น รูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้

เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้

ดูกรอนุรุทธะ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า วิจิกิจฉาแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุ สมาธิของเราจึงเคลื่อน

เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้
เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉาขึ้นแก่เราได้อีก ฯ"


ส่วนนี้พระพุทธเจ้ากล่าวแสดงเรื่องนิมิต ที่สอนในกรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ

เป็นการวางอารมณ์ ใช่หรือไม่ครับ

ขั้นตอนจริง ๆ ก็ยังงงอยู่ให้วางอย่างไรครับ

 :c017:


บันทึกการเข้า
ขุมทรัพย์แห่ง ความหลุดพ้น ปรากฏอยู่ที่พระไตรปิฏก อ่านพระไตรปิฏก มาก ๆ
 ก็จะเข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ ของจริงต้องตาม พุทธวัจนะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๘. อุปักกิเลสสูตร (๑๒๘)


ฯลฯ......................ฯลฯ

[๔๕๐] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์รูปใดกลับ
จากบิณฑบาตแต่หมู่บ้านก่อน รูปนั้นย่อมแต่งตั้งอาสนะ ตั้งน้ำฉันน้ำใช้และ
กระโถนไว้ รูปใดกลับทีหลัง ถ้ามีภัตที่ฉันเหลือยังปรารถนาอยู่ ก็ฉันไป ถ้าไม่
ปรารถนา ก็เทเสียในที่ปราศจากหญ้า หรือทิ้งเสียในน้ำที่ปราศจากตัวสัตว์ รูปนั้น
จะเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉันน้ำใช้และกระโถน กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน


หรือหม้อน้ำในวัจจกุฎีว่างเปล่า รูปนั้นจะตักใส่ไว้ ถ้ารูปนั้นไม่อาจ พวกข้า
พระองค์จะกวักมือเรียกรูปที่สองมาแล้ว ช่วยกันตั้งหม้อน้ำฉัน หรือหม้อน้ำใช้ไว้
โดยช่วยกันหิ้วคนละมือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์จะไม่ปริปาก

เพราะเหตุนั้นเลย และพวกข้าพระองค์จะนั่งประชุมสนทนาธรรมกันคืนยังรุ่งทุกๆ
ห้าวัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อย่างนี้แล พวกข้าพระองค์จึงเป็นผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ได้ ฯ


             [๔๕๑] พ. ดีละๆ อนุรุทธ ก็พวกเธอผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่ง
ตนไปในธรรมอยู่อย่างนี้ ย่อมมีคุณวิเศษคือ ญาณทัสสนะอันประเสริฐ สามารถ
กว่าธรรมของมนุษย์อันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายอันได้บรรลุแล้วหรือ ฯ


             อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ พวกข้าพระองค์ผู้ไม่ประมาท มี
ความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้า
เท่าไร แสงสว่างและการเห็นรูปอันนั้นของพวกข้าพระองค์ ย่อมหายไปได้ พวก
ข้าพระองค์ยังไม่แทงตลอดนิมิตนั้น ฯ

             [๔๕๒] พ. ดูกรอนุรุทธ พวกเธอต้องแทงตลอดนิมิตนั้นแล แม้เราก็
เคยมาแล้ว เมื่อก่อนตรัสรู้ ยังไม่รู้เองด้วยปัญญาอันยิ่ง ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อม
รู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูปเหมือนกัน แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการเห็น
รูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล เป็นเหตุ
เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้


ดูกรอนุรุทธ เรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า วิจิกิจฉาแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็วิจิกิจฉาเป็นเหตุสมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว
แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไปได้ เราจัก
ทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉาขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

             [๔๕๓] ดูกรอนุรุทธ เรานั้นแลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป
ในธรรมอยู่ ย่อมรู้สึกแสงสว่างและการเห็นรูป แต่ไม่ช้าเท่าไร แสงสว่างและการ
เห็นรูปอันนั้นของเรา ย่อมหายไปได้ เราจึงมีความดำริดังนี้ว่า อะไรหนอแล
เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้แสงสว่างและการเห็นรูปของเราหายไปได้


ดูกรอนุรุทธเรานั้นได้มีความรู้ดังนี้ว่า อมนสิการแล เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็อมนสิการเป็นเหตุ
สมาธิของเราจึงเคลื่อน เมื่อสมาธิเคลื่อนแล้ว แสงสว่างและการเห็นรูปจึงหายไป
ได้ เราจักทำให้ไม่เกิดวิจิกิจฉา และอมนสิการขึ้นแก่เราได้อีก ฯ

ฯลฯ......................ฯลฯ


อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค
อุปักกิเลสสูตร


               อรรถกถาอุปักกิเลสสูตร      

  บทว่า อตฺถิ ปน โว ความว่า พึงถามโลกุตตรธรรมด้วยคำถามครั้งหลังสุด. ก็โลกุตตรธรรมนั้นไม่มีแก่พระเถระทั้งหลาย เพราะฉะนั้น การถามถึงโลกุตตรธรรมจึงไม่สมควรเลย เพราะฉะนั้น ท่านจึงถามถึงโอภาสแห่งบริกรรม.

               บทว่า โอภาสํเยว สญฺชานาม ได้แก่ รู้สึกแสงสว่างแห่งบริกรรม.
               บทว่า ทสฺสนญฺจ รูปานํ ได้แก่รู้ชัดการเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ.
               บทว่า ตญฺจ นิมิตฺตํ น ปฏิวิชฌาม ความว่า ก็โอภาสและการเห็นรูปของข้าพระองค์ทั้งหลาย ย่อมหายไปด้วยเหตุใด ข้าพระองค์ทั้งหลายยังไม่รู้ซึ้งซึ่งเหตุนั้น.

               บทว่า ตํ โข ปน โว อนุรุทฺธา นิมิตฺตํ ปฏิวิชฺฌิตพฺพํ ความว่า พวกเธอควรรู้เหตุนั้น.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภเทศนานี้ ด้วยคำมีอาทิว่า อหํปิ สุทํ ดังนี้ ก็เพื่อจะทรงแสดงว่า ดูก่อนอนุรุทธะ พวกเธอหม่นหมองอยู่หรือหนอ แม้เราก็เคยหม่นหมองมาแล้ว ด้วยอุปกิเลส ๑๑ ประการเหล่านี้.


               ในบทว่า วิจิกิจฺฉา โข เม เป็นต้น ความว่า พระมหาสัตว์เจริญอาโลกกสิณแล้วเห็นรูปมีอย่างต่างๆ ด้วยทิพยจักษุ จึงเกิดวิจิกิจฉาว่า นี้อะไรหนอ นี้อะไรหนอ.
               บทว่า สมาธิ จวิ ความว่า บริกรรมสมาธิ จึงเคลื่อน.

               บทว่า โอภาโส ความว่า แม้โอภาสแห่งบริกรรมก็หายไป คือไม่เห็นรูปแม้ด้วยทิพยจักษุ.
               บทว่า อมนสิกาโร ความว่า วิจิกิจฉาย่อมเกิดแก่ผู้ที่เห็นรูป คือเกิดอมนสิการว่า บัดนี้เราจะไม่ใส่ใจอะไรๆ.

               บทว่า ถีนมิทฺธํ ความว่า เมื่อไม่ใส่ใจถึงอะไร ๆ ถีนมิทธะก็เกิดขึ้น.
               บทว่า ฉมฺภิตตฺตํ ความว่า ภิกษุเจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าไปทางหิมวันตประเทศ ได้เห็นสัตว์ต่างๆ เช่นยักษ์ ผีเสื้อน้ำ และงูเหลือมเป็นต้น ทีนั้นความหวาดเสียวเกิดขึ้นแล้วแก่เธอ.
               บทว่า อุพฺพิลํ ความว่า เมื่อภิกษุคิดว่า สิ่งที่เราเห็นว่าน่ากลัว เวลาแลดูตามปกติย่อมไม่มี เมื่อไม่มี ทำไมจะต้องไปกลัวดังนี้ ความตื่นเต้นก็หมดไป.

               บทว่า สกึเทว ความว่าพึงพบขุมทรัพย์ ๕ ขุม ด้วยการขุดค้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น.
               บทว่า ทุฏฺฐุลฺลํ ความว่า ความเพียรอันเราประคองไว้อย่างมั่นคง ได้ถูกความตื่นเต้นที่เกิดแก่เรานั้น กระทำให้ย่อหย่อน. แต่นั้นจะมีแต่ความกระวนกระวาย.
               บทว่า กายทุฏฺฐุลฺลํ ความว่า ความกระวนกระวายคือภาวะที่ร่างกายเกียจคร้านก็เกิดขึ้น.
               บทว่า อจฺจารทฺธวิริยํ ความว่า ความเพียรที่ปรารภเกินไป เกิดแล้วแก่ภิกษุผู้เริ่มตั้งความเพียรใหม่ ด้วยคิดว่า ความตื่นเต้นทำความเพียรของเราให้ย่อหย่อน ความชั่วร้ายจึงเกิดขึ้นได้.


ฯลฯ................................ฯลฯ


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๖๐๑๗ - ๖๓๑๑.  หน้าที่  ๒๕๕ - ๒๖๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=6017&Z=6311&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=439
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เป็นส่วนหนึ่ง ที่นำมาแสดงใน หนังสือ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ โดย พระครูสิทธิสังวร

กล่าวด้วยเรื่องของโอภาส ที่หายไป หมดไป เวลาที่พระพุทธเจ้าภาวนา ในเบื้องต้น

ดังนั้นจุดนี้ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครูอาจารย์ ที่เป็นกัลยาณมิตร จึงสอนให้ศิษย์วางอารมณ์

ในกรรมฐาน เป็นกลาง ๆ

Re: การวางอารมณ์ในกรรมฐาน มีขั้นตอนอย่างไรครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2987.msg10546#msg10546

Re: ทำไมอาการเป็นเช่นนี้ ต้องแก้อย่างไร คะ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3386.0


ยังมีลิงก์ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายลิงก์ นะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ