ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การศึกษาเชิงวิเคราะห์อานาปานัสสติกถาในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค (๒๕๕๐)  (อ่าน 3826 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การศึกษาเชิงวิเคราะห์อานาปานัสสติกถาในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค (๒๕๕๐)

  วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอานาปานัสสติสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง   ที่พระสารีบุตรเถระอธิบายไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และความสอดคล้องของอานาปานัสสติสมาธิที่พระสารีบุตรเถระอธิบายกับที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง อันมีปรากฏในพระไตรปิฏกและคัมภีร์  ที่เกี่ยวข้อง
      ผลการวิจัยพบว่า อานาปานัสสติที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ทั้งที่กล่าวไว้เป็นการเฉพาะ และที่มารวมกับกรรมฐานอื่น ถือได้ว่าเป็นพระสูตรสำคัญที่บันทึกหลักการของการปฏิกรรมฐานได้อย่างสมบูรณ์ พระสังคีกาจารย์ทั้งหลายได้ร้อยกรองสังคายนาทรงจำนำสืบกันมา และได้มีการจารึกเป็นอักษรจัดพิมพ์เป็นพระไตรปิฏก รักษาสืบมาจนถึงปัจจุบัน จึงกล่าวได้ว่าเป็นพระสูตรที่สำคัญต่อ  พระพุทธศานา ทั้งในด้านวิชาการ ด้านการปฏิบัติกรรมฐานและหลักพุทธธรรม โดยพระสารีบุตรเถระ ผู้ได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นผู้มีปัญญามาก ได้นำพระพุทธดำรัสที่ตรัสไว้มาอธิบายในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๑ ได้ย่างแจ่มแจ้งชัดเจน นับเป็นคัมภีร์สำคัญที่บันทึกหลักการของการเจริญอานาปานัสสติสมาธิ และได้รับการรักษาสืบทอดอย่างแพร่หลาย ทำให้การปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา มีความเจริญรุ่งเรืองมาตราบเท่าถึงทุกวัน

 ดาวน์โหลดอ่านได้ที่ลิงก์นี้ นะครับ


 http://lib.mcu.ac.th/En/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=517
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุขอบพระคุณคุณเสกสรรค์กับความรู้ที่ดีๆนี่ครับ ผมดาวน์โหลดไฟล์มาอ่านศึกษาดูแล้วครับ ขอบคุณมากครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
     ตัดมาจาก คู่มือกรรมฐาน เล่มสอง อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค(กรรมฐานห้องสี่) กรรมฐาน มัชฌิมาแบบลําดับ

      เรียบเรียงโดย พระอาจารย์ สนธยา ธัมมะวังโส อาโลโก

     ..........สําหรับอานาปานกถา ปฏิสัมภิทามรรคนี้ เป็นการสอนของพระสารีบุตร ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ พระราหุลพุทธชิโนรส(บุตรของพระพุทธเจ้า) ท่านเป็นต้นกําเนิด กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ เป็นรูปแรกที่ทรงเผยแผ่สืบทอดต่อมาจนถึงยุค ต่อๆมา จนมาถึง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช(สุก)ไก่เถื่อน ต้นกรุงรัตนโกสินทร์
        ซึ่งการสอนนั้นมีระเบียบแบบแผนชัดเจน ในเรื่อง อานาปานสติ มากๆ ซึ่มีวิธีการที่ถูกต้อง ใน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ แต่เนื่องด้วยการแสดงแบบละเอียดนั้น ประกอบกับสํานวนในพระไตรปิฏกนั้น คนในยุคนี้ไม่ค่อยเคยชินกัน และภูมิธรรม(ธรรมสภาวะ) ยังไม่เพียงพอ
       จึงทําให้การอ่านพระสูตรบทนี้ ไม่สามารถปฏิบัติตามกันได้

          และก็เป็นเพราะว่าผู้ภาวนาชอบปฏิบัติแบบง่าย ๆ
พอมีรูปแบบที่ยากขึ้นก็เริ่มไม่ฝึกกัน กลับหันไปปฏิบัติในแนวทางวิปัสสนาล้วนๆ ซึ่งกระทําให้ไม่ละตัดกิเลสได้สิ้นเชิง

   ดังนั้นในส่วน พระสูตรบทนี้ อาตมาภาพจึงได้ลงสํานวนเดิมไว้ และเพิ่มข้อความที่ซําไป ซํามา ให้ชัดเจน และกระจายหัวข้อให้ชัดเจนเพื่อท่าน ที่กําลังสนใจปฏิบัตินั้นจะได้ เพิ่มพูนศรัทธา  (ความเพียรจนเข้าถึงกาย ) ของตนได้เท่าที่ควร

        ในหนังสือ สติปัฏฐานสันโดด ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน นั้นมีข้อความชัดเจนในส่วนของ อานาปาน ว่า ......
  ......ปัสสาสะ อัสสาสะ ปัสวาตะ อัสสวาตะ นิสสวาตะ อาตมัน นิพพานัง สุญญัง.......
 เป็นต้นนี้ ก็คือคําที่มีความหมายใกล้เคียงหรือคล้ายกัน.

   ขอดึงมาจากอีกบทหนึ่ง ของพระอาจารย์ สนธยา ธัมมะวังโส อาโลโก..ที่ร้อยเรียงไว้ในหนังสือนี้ อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค
        จากพระสุตตันตปิฏก เล่มห้า มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ หน้า111-116
     ใครที่อยากอ่านเนื้อหาก็เชิญได้ ตามนี้
    มหาราหุโลวาทสูตร เรื่องพุทธโอวาท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง พุทธโอวาท(ทรงสอน) แก่พระราหุล

    ( ข้อความจากพระอาจารย์ต่อ)
  มหาราหุโลวาทสูตร นี้จัดได้ว่าเป็นต้นแบบกรรมฐาน เพราะเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนพระราหุลพุทธชิโนรส เป็นแบบแผนเริ่มจากทรงตรัสให้ ฝึกกรรมฐานเกี่ยวกับธาตุ โดยการกําหนดธาตุในกายเป็นกายคตาสติ และทําจิตให้เหมือนธาตุรวมเป็นเช่นเดียวกับธาตุ โดยที่ธาตุต่างๆ นั้นล้วนยังทําหน้าที่ของธาตุอย่างสมบูรณ์โดยไม่สนว่าใครจะคิดดีหรือคิดร้ายกับธาตุก็ยังคงความเป็นธาตุไว้
      และลําดับต่อไป พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสสอน กรรมฐานคือ พรหมวิหาร4 และ อสุภกรรมฐาน กับ วิปัสสนาโดยตรง คือ อนิจจสัญญา และปิดท้ายด้วย การสอนกรรมฐานต่อเนื่อง คือ (อานาปานสติ)

      ดังนั้นพระสูตรนี้จัดเป็นลําดับ พระกรรมฐาน ที่ชัดเจนซึ่งบรรดาศิษย์ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ
         ยังคงได้ยึดถือไว้เป็น
           (ต้นแบบกรรมฐานต่อเนื่อง)

      ที่มาจาก หนังสือ คู่มือพระกรรมฐาน เล่ม2 อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค
              เรียบเรียงโดย...พระอาจารย์สนธยา ธัมมะวังโส อาโลโก.
     
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุครับท่าน aaaa ขอบคุณกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้ครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ