ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ช่วยอธิบาย คำว่า อนุสัย หน่อยครับ เหมือนกับ นิสัย ใช่หรือไม่ครับ  (อ่าน 3587 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ช่วยอธิบาย คำว่า อนุสัย หน่อยครับ เหมือนกับ นิสัย ใช่หรือไม่ครับ คำนี้ผมลองค้นหาคำอธิบายแล้ว อ่านแล้วก็ไม่ค่อยจะเข้าใจ ว่า อนุสัย กับ นิสัย เหมือนกันหรือไม่ ถ้าเป็นคำไทย คำว่า อนุสัย นี้มีความหมายเหมือนกับคำว่า สันดาน ใช่หรือไม่ครับ

  :c017: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อนุสัย  แปลว่า  กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน เรียกว่า อนุสัยกิเลส  ก็ได้
   
   อนุสัย หมายถึง กิเลสละเอียดที่ตกตะกอนนอนแนบนิ่งอยู่ในจิต  จนบางครั้งทำให้เข้าใจผิดว่าไม่มี จนเมื่อมีอะไรมากระทบอย่างรุยแรง จึงแสดงตัวออกมา คล้ายๆ เหมือนเวลาที่เราถูกยั่วโมโหมากๆ เข้าจนในที่สุด เราก็ทนไม่ไหว้ แสดงความโกรธออกมา แต่ถ้าเราถูกรบกวนน้อยๆ เราก็จะยังเก็บความโกรธไหว้ได้อยู่ (ไม่โกรธ) เหมือนตะกอนที่นอนอยู่ในตุ่มใหญ่ซึ่งมีน้ำใสอยู่ข้างบน  พอถูกกวนแรง ๆ ตะกอนจึงฟุ้งขึ้นมา
       
          อนุสัยมี ๗ อย่าง คือ
              ๑. กามราคะ   ความกำหนัดในกาม
              ๒. ปฏิฆะ       ความหงุดหงิดไม่พอใจ
              ๓. ทิฐิ           ความเห็นผิด
              ๔. วิจิกิจฉา    ความลังเลสงสัย
              ๕. มานะ        ความถือตัว
              ๖. ภวราคะ     ความติดใจในภพ
             ๗. อวิชชา     ความไม่รู้แจ้ง

      ส่วน คำว่า นิสัย นั้น ที่จริงแล้วเป็นบาลี แต่ภาษาไทยเรามีการนำมาใช้ผิดเพี้ยนกันไปบ้างเล็กน้อย
มาว่ากันในส่วนของที่เป็นภาษาไทยกันก่อน
 
      คำไทยเราคำว่า นิสัย มักจะหมายความว่า ลักษณะการแสดงออก พฤติกรรม หรือจริต กิริยาอาการ ของผู้นั้นๆ

       ที่นี้มากันที่ทางบาลี ทางพระ ทางธรรมกันบ้าง นิสัย หรือ นิสสัย แปลว่า  ที่พักพิง, ที่พึ่ง, ที่อาศัย
          - ใช้เรียกปัจจัยสำหรับใช้สอยของบรรพชิตก็ว่า คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช
          - ใช้เรียกการที่ผู้ขอบวชเปล่งวาจาขออยู่ในความปกครองดูแลของพระอุปัชฌาย์
             หรือขอร้องให้เป็นพระอุปัชฌาย์ก็ว่า ขอนิสสัย
          - พระวินัยกำหนดไว้ว่าภิกษุผู้มีพรรษายังไม่ครบ ๕ พรรษา จะต้อง ถือนิสสัย 
             คืออยู่ในความปกครองดูแลของพระอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ หากมีพรรษาพ้น ๕ พรรษาแล้ว
             ไม่ต้องถือนิสสัย  เรียกว่า นิสสัยมุตตกะ (ผู้พ้นนิสสัยแล้ว)

      ส่วนทาง การเรียนภาษบาลี ก็ได้มีกล่าวไว้ว่า สระ เรียกว่า นิสสัย เพราะเป็นที่อาศัยของพยัญชนะ  พยัญชนะ ต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้   

     ที่บอกว่า "อนุสัย คือสันดาน" ก็ตอบได้ว่า ใช่ แต่ สันดาน ดูเหมือนจะเป็นคำพูดที่ไม่ไพเราะ (ตอบในเบื้องต้น ไม่ละเอียดก็เท่านี้นะจ๊ะ)
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ กับคำตอบของท่าน ธรรม ปุจฉา ครับ เป็นประโยชน์อย่างสูงครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
หากปฏิบัติให้ถึง ส่วนของ รัศมี นามกาย มีสีส่วน ก็จะเห็น อุปาทายรูป อุปาทานขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ก็จะเข้าใจในอนุสัย ต่างๆ
      เมื่อเข้ารัศมี เข้าสะกด ก็จะเห็นภพ รู้ภพ ละภพ -อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    มีรูปกายเป็นสมถะเอาไว้ข่มภพ
    สมถะ-วิปัสสนา รูปกาย นามกาย
     จับสมถะวิปัสสนา จับรูปนามสมาบัติ
       พระลักษณะ สอบรูป
       พระรัศมีสอบอารมณ์

     กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ เป็นกรรมฐานสองส่วน อุคโตภาควิมุติ หลุดพ้นทั้งสองส่วน

     คือ กายดับ จิตดับ เหมือนทลายตาลทั้งคู่นั้นพร้อมกัน

       ได้เรียนทั้งโพธิปักขิยธรรม37ประการ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา