ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมสาระวันนี้ "มาทำความเข้าใจ กับ วิตก เพื่อ อธิจิต ตั้งนิมิต ที่เป็นกุศล"  (อ่าน 9449 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วันนี้ ก็จะมาแนะนำธรรม ที่มีความสำคัญ ต่อการภาวนาจริง ๆ  เริ่มต้นจริง กับท่านทั้งหลาย  ในการภาวนาจำเป็นต้องมีการภาวนา การภาวนาก็ต้องอาศัยองค์ ธรรม องค์แรก ไม่ว่าจะเป็น สมถะ หรือ วิปัสสนา ก็ต้องอาสํยองค์ธรรมเป็น มรรควิถี นั้นก็คือ วิตก

    ใน สมถะกรรมฐาน  วิตก เป็นองค์ แห่ง ฌาน องค์แรก ซึ่งมาพร้อมกัน กับ วิจาร

   วิตก การตริตรึก นึก คิด หน่่วงนำ ทำให้เกิดขึ้นเฉพาะหน้า อย่างนั้น ในแนวทางปฏิบัติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงว่าในพระสูตร ดังนี้


 


      พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๒.  สีหนาทวรรค]
                 ๑๐.  วิตักกสัณฐานสูตร

 
            ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
               ว่าด้วยสัณฐานแห่งวิตก
            [๒๑๖]    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
            สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่    ณ    พระเชตวัน    อารามของอนาถ-
บิณฑิกเศรษฐี    เขตกรุงสาวัตถี    ณ    ที่นั้นแล    พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุ
ทั้งหลายมาตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
 
               อุบายกำจัดอกุศลวิตก
            “ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุผู้ขวนขวายในอธิจิต(๑)    ควรมนสิการถึงนิมิต    ๕    ประการนี้
ตามเวลาอันสมควร
            นิมิต    ๕    ประการ    อะไรบ้าง    คือ
          ๑. เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้อาศัยนิมิตใดแล้ว  มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตก ทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล    ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วยโมหะบ้าง    ย่อมเกิดขึ้น    ภิกษุนั้นควร มนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น    เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น    เธอย่อมละ วิตกอันเป็นบาปอกุศล    ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วย โทสะบ้าง    ประกอบด้วยโมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้    เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น    สงบ    เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายใน โดยแท้    ช่างไม้หรือลูกมือของช่างไม้    ผู้ชำนาญ    ใช้ลิ่มอันเล็ก    ตอก โยก    ถอนลิ่มอันใหญ่ออกได้    แม้ฉันใด    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว    มนสิการนิมิตใด    วิตกทั้งหลายอันเป็น บาปอกุศล    ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้างประกอบด้วยโมหะบ้าง    ย่อมเกิดขึ้น    ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่น ซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น    เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่น ซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น    เธอย่อมละวิตกอันเป็น บาปอกุศล    ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง  ประกอบด้วยโมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น    ย่อม ตั้งอยู่ไม่ได้    เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อม ตั้งมั่น    สงบ    เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท

 

(๑) อธิจิต  หมายถึงจิตมีสมาบัติ  ๘  อันเป็นพื้นฐานแห่งวิปัสสนา  เป็นจิตที่ยิ่งกว่าจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจกรรมบถ  ๑๐  ประการ  (ม.มู.อ.  ๑/๒๑๖/๔๑๕)



    เรื่องแรกที่เราควรพิจารณา ก็คือ พระพุทธเจ้า กล่าวถึงผู้ที่จะกระทำวิตกแบบนี้ เป็นผู้ปรารถนา ใน อธิจิต ในนิยาม อธิจิต นี้ หมายถึง ความปรารถนาในจิตยิ่งขึ้น หมายถึง สมาบัติ 8 ซึ่งเป็นจิตที่มีความปรารถนาใน อัปปนาจิต ซึ่งแตกต่างจาก อุปจาระจิต ที่มีความปรารถนา ตั้งอยุ่กุศลกรรมบถ 10 ประการ แต่อธิจิตนั้นสูงกว่า ความปรารถนาส่วนนั้น ซึ่งก็หมายความว่า อธิจิตส่วนนี้เป็นส่วนของ เจโตวิมุตติ เป็นฝ่าย วิชชา 3 ขึ้นไป

     ผู้ที่ความเพียร ในขั้นอัปปนาจิต จึงต้องมีลักษณะการตั้งสติ ตรึกนึกหน่วง ให้ถูก ให้ควร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงได้ตรัสแสดงวิธีการตั้ง เนกขัมมวิตก ( ความดำริออกจากกาม จัดเป็น สัมมาสังกัปปะ ) ด้วยเหตุแห่งการรักษาธรรม เจริญธรรม และปฏิบัติธรรมให้ยิ่ง ด้วยธรรม 5

     ประการที่ 1 ให้ตั้ง นิมิตที่เป็นกุศล ขึ้นมา เพราะเมือจิตของผู้ปฏิบัติ นึกหน่วง ดำริ คิด ตั้งสติ กับการงานคือ นิมิตที่เป็นกุศล ที่ตั้งไว้แล้ว เหตุแห่งกุศล คือ การดับ ราคะ โทสะ โมหะ ( นิวรณ์  5 ประการ ) ก็จะเกิดขึ้นได้เพราะการตั้ง นิมิตที่เป็นกุศล เพราะ นิมิตที่เป็นกุศลนั้น เป็นธรรมขัดขวาง นิวรณ์ให้สงบไป

     นิมิตที่เป็นกุศล นั้น มีในกรรมฐาน สำหรับกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับเริ่มต้นที่ พระพุทธานุสสติ



     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2012, 11:40:24 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
[๒๑๗]    ภิกษุทั้งหลาย
         ๒.    หากเมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจาก  นิมิตนั้น  วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง  ประกอบด้วยโมหะบ้าง  ยังเกิดขึ้นอีกนั่นแล  ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นว่า    ‘วิตกเหล่านี้ล้วน  แต่เป็นอกุศลแม้อย่างนี้    วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีโทษแม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบากแม้อย่างนี้’    เมื่อเธอพิจารณา โทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่    เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง ประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วย  โมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น    สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้    หญิงสาว หรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว    มีผู้นำซากงู    ซากสุนัข    หรือซากศพ  มนุษย์มาผูกไว้ที่คอ    ย่อมรู้สึกอึดอัด    ระอา    และรังเกียจ    แม้ฉันใดภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน    หากเมื่อมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบ ด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น    วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบ  ด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วยโมหะบ้าง  ยังเกิดขึ้นอีก    ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นว่า  ‘วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลแม้อย่างนี้    วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มี  โทษแม้อย่างนี้    วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบากแม้อย่างนี้’   เมื่อเธอพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่    เธอย่อมละวิตกอันเป็น    บาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง  ประกอบด้วยโมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้ง  อยู่ไม่ได้    เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น  สงบ    เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้






      ในประการที่ 2 พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสแสดงต่อไปว่า หากนิมิตที่ภิกษุ มนสิการ ( คือกระทำไว้ในใจ )ได้แล้ว แต่ อุกศลทั้งหลาย ประกอบด้วบราคะ บ้าง โทสะ บ้าง โมหะ บ้าง ยังเกิดขึ้นอีก พระองค์ให้พิจารณาว่า วิตกที่ได้มนสิการไว้นั้น เป็นอกุศลอย่างนี้ เป็นโทษอย่างนี้  เมื่อเห็นอย่างนั้นแล้ว ก็ให้ละ นิมิตที่เป็นโทษเสีย แล้วพึงตั้งนิมิต ที่เป็นกุศลให้เกิดขึ้นต่อไป ไม่เข้าไปข้องแวะ กับ นิมิตที่เป็นอกุศล จิตของผู้ภาวนาเช่นนั้นก็จักเกิดเป็นสมาธิ ในส่วนนี้ อธิบายเมื่อเวลาภาวนา ตั้ง วิตกกรรมฐาน ใด กรรมฐานหนึ่ง สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นในขณะภาวนานั้น ก็คือ นิมิต ที่ซ้อนอยู่เช่นภาพปรากฏ เสียงปรากฏ กลิ่นปรากฏ ทั้งหมดหมายรู้ได้ด้วยจิตในขณะนั้น เรียกว่า นิมิตเช่นเดียวกัน พอนิมิตส่วนนี้เกิดขึ้นก็จะกระทบกระทั่งกับจิตที่ภาวนากันอยู่ขณะนั้น ทำให้ติดภาพ ติดเสียง ติดกลิ่น ติดรส ติดสัมผัส ด้วยความรับรู้ในนิมิตขณะนั้น เมื่อจิตเข้าไปข้องเกี่ยวแล้ว นิมิตที่เป็นกุศลก็จะหายไป จะมีแต่นิมิตที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นอยู่เฉพาะหน้า วิธีแก้ไข พระพุทธเจ้าทรงตรัสให้เราตั้งสติเข้าไปพิจาณาโทษและ เห็นเห็นว่าเป็นอกุศล ดังนั้นส่วนนี้ต้องตั้งสติทบทวนให้ดี กับเป้าหมายในการภาวนา เปรียบเหมือนผู้หนึ่งตั้งใจเดินไปยังที่หมาย แต่ไปเสียเวลาหยุดพัก ชมนกชมไม้ ชมสิ่งที่ชื่นชอบของใจตนเอง อยู่ ดังนั้นต้องตั้งสติ หรือ แก้ด้วยการอธิษฐานกรรมฐาน ในส่วนนี้

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2012, 11:41:02 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
  [๒๑๘]    ภิกษุทั้งหลาย
  ๓. หากเมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่  วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง  ยังเกิดขึ้นอีก  ภิกษุนั้นไม่ควรระลึกถึงไม่ควรมนสิการวิตกเหล่านั้น  เมื่อเธอไม่ระลึกถึง  ไม่มนสิการ  วิตกเหล่านั้นอยู่  เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบ  ด้วยฉันทะบ้าง  ประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วยโมหะบ้างได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้   เพราะละวิตกอัน  เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น    สงบ    เป็นภาวะที่จิต  เป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้    คนมีตาดีไม่ต้องการที่  จะเห็นรูปที่ผ่านมา    เขาควรหลับตาหรือเหลียวไปทางอื่นเสีย    แม้ ฉันใด    ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน    หากเมื่อพิจารณาโทษแห่ง วิตกเหล่านั้นอยู่    วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง  ยังเกิดขึ้นอีกนั่นแล    ฯลฯ    เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธ ในภายในโดยแท้



   ประการที่ 3 เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติ เห็นความเป็นอกุศล และ โทษแล้ว แต่จิตก็ยังนึกหน่วงใน นิมิตนั้นอยู่อีก วิธีปฏิบัติส่วนนี้พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสสั้น ๆ ว่า ให้เพิกจากภาพที่เกิด จากสิ่งทีเห็น วางอุเบกขาไม่สนใจ คงตั้งมั่นในนิมิตที่เป็นกุศล เริ่มต้น ดังนั้นหากจิตปรากฏภาพใด ๆ ขึ้นก็ไม่ต้องไปสนใจ กับภาพ เสียง กล่ิน รส สัมผัส อารมณ์ ส่วนนึ้นให้ตั้งมั่นอยู่ในองค์กรรมฐาน เดิม ไว้อย่าได้เคลื่อนจิตส่งออกจากนิมิต ที่เป็นกุศล เริ่มต้น

     วิธีปฏิบัติ เพื่อให้จิตกลับไปตั้งยังฐานจิต เดิม ให้ส่งลมหายใจเข้าไปลึก ๆ แล้วผ่อนลมหายใจออก พร้อมกับภาวนา พุทโธ และส่งจิตยังไปที่ตั้ง ของฐานจิต วิธีนี้เป็น วิธีพื้นฐาน

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2012, 11:41:38 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
    [๒๑๙]    ภิกษุทั้งหลาย
         ๔.    หากเมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง    ไม่มนสิการวิตกเหล่านั้น    วิตกอัน เป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง  ประกอบด้วยโมหะบ้าง    ยังเกิดขึ้นอีก    ภิกษุนั้นควรมนสิการ วิตักกสังขารสัณฐาน(๑)    แห่งวิตกเหล่านั้น    เมื่อเธอมนสิการวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกเหล่านั้น    เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง  ประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วย โมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น    สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้    คนเดินเร็ว เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า    ‘เราจะรีบเดินทำไม    ถ้ากระไร    เราควร ค่อย  ๆ    เดิน’    เขาก็ค่อย  ๆ    เดิน    เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า
 ‘เราจะค่อย  ๆ    เดินทำไม    ถ้ากระไร    เราควรยืน’    เขาก็ยืน    เขาจะ พึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า    ‘เราจะยืนอยู่ทำไม    ถ้ากระไร    เราควรนั่ง’ เขาจึงนั่ง    เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า    ‘เราจะนั่งอยู่ทำไม ถ้ากระไร    เราควรนอน’    เขาก็นอน    คนผู้นั้นเว้นอิริยาบถหยาบ  ๆ แล้วพึงใช้อิริยาบถละเอียด  ๆ    แม้ฉันใด    ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อไม่ระลึกถึง    ไม่มนสิการวิตกเหล่านั้น    วิตกอันเป็นบาปอกุศล  ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง  ...  ยังเกิดขึ้นอีกนั่นแล    ฯลฯ    เป็น  ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้




๑ วิตักกสังขารสัณฐาน  หมายถึงที่ตั้งแห่งเหตุของวิตก  (ม.มู.อ.  ๑/๒๑๙/๔๒๐)



  ประการที่ 4 หากจิตของผู้ปฏิบัติ ยังไม่ได้ มนสิการวิตก ที่มัวหมองเหล่านั้น ในความเป็นอกุศลวิตกที่ต้องละ ที่ต้องนำออก ให้พ้น พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในวิธีปฏิบัติว่า เมื่อจิตยังไม่ละ กับไปที่ วิตกอันเป็นกุศล ให้ยกวิตกอันเป็นอกุศลนั้น ด้วยการตั้งวิตกนั้นเป็น และ หาเหตุที่มาของอกุศลวิตกนั้น เมื่อรู้เหตุแห่งอกุศลวิตกแล้ว ก็พึงเปลี่ยนวิธีการ เจริญภาวนาเพื่อไม่ให้ อกุศลวิตกนั้นเกิดขึ้นมาอีก

    การปรับเปลี่ยน ในที่นี้พระพุทธเจ้าทรงกล่าวถึง อิริยาบถประกอบ นั้นก็คือเดินเร็ว ก็ผ่อนให้เดินช่้า เดินช้า ก็ผ่อนเป็นยืน จากยืนก็กลับมานั่ง จากนั่ง ก็กลับไปนอน เป็นการเหตุแห่งอิริยบถที่เหมาะสม
   
    เพราะเหตุนั้น เมื่อเราภาวนาเข้าไปแล้ว จิตยังตั่งมั่นไม่ได้ ถ้ายังฝ้นอยู่ด้วยวิธีการเก่า ย่อมเป็นเหตุให้ฟุ้งซ่านได้ หรือ เป็นอุปสรรคจากตรงนั้นได้ ให้ยกวิตกที่เป็นอกุศลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผล แล้วหาเหตุเป็นเพราะว่าอะไร แล้วลองปรับเปลี่ยนวิธีการ ดูในขณะที่ภาวนา

     จะเห็นได้ว่า มีขั้นตอนที่ดูเหมือนจะยุ่งยาก หากเราไม่มีครูอาจารย์คอยดูแล เอาใจใส่การภาวนาที่จะลุล่วงได้โดยง่าย ก็จะไม่สามารถมีได้ เพราะเหตุที่เราไม่เข้าใจวิธีการ และ ไม่รู้การแก้อารมณ์

     ในส่วนนี้จัดได้ว่า พระพุทธเจ้า ตรัสวิธีการแก้อารมณ์ในการภาวนาให้แก่ผู้ภาวนา อย่างชัดเจน




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2012, 11:42:21 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
[๒๒๐]    ภิกษุทั้งหลาย
   ๕.    หากเมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกแม้เหล่านั้น วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วย โทสะบ้าง    ประกอบด้วยโมหะบ้าง    ยังเกิดขึ้นอีก    ภิกษุนั้นควรกด ฟันด้วยฟัน    ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น    ใช้จิตข่มคั้นจิต    ทำจิตให้ เร่าร้อน    เมื่อเธอกดฟันด้วยฟัน    ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น    ใช้จิต ข่มคั้นจิต    ทำจิตให้เร่าร้อน    เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง ประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วย โมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น    ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น    สงบ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้    คนผู้มีกำลัง  มากจับคนผู้มีกำลังน้อยกว่าได้แล้วบีบ    กด    เค้น    ที่ศีรษะ    คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่น    แม้ฉันใด    ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากเมื่อมนสิการถึงวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกแม้เหล่านั้น วิตกอันเป็นบาปอกุศล    ซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วย โทสะบ้าง    ประกอบด้วยโมหะบ้าง    ยังเกิดขึ้นอีก    ภิกษุนั้นควรกด ฟันด้วยฟัน    ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น    ใช้จิตข่มคั้นจิต    ทำจิตให้ เร่าร้อน    เมื่อเธอกดฟันด้วยฟัน    ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น    ใช้จิต ข่มคั้นจิต    ทำจิตให้เร่าร้อน    เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่ง ประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วย โมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น    สงบิๆ เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้

   ประการสุดท้ายที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ในวิธีกการเพื่อการภาวนา อธิจิต คือการข่มกลั้น อดทน บำเพ็ญตบะ หากนิมิตที่เกิดนั้นรบกวน จิตใจในระหว่างที่ภาวนา อธิจิต การหนี การประณีประนอม ด้วย 4 วิธีการที่ผ่านมานั้นเป็นไปไม่ได้แล้ว ให้ใช้วิธีการข่มกลั้น อดทน ใช้จิต ข่มคั้นจิต ถ้ากลัว ก็ต้องอยู่ตรงนั้นจนกว่าจะหายกลัว ถ้าฟุ้งซ่าน ก็ข่มไว้ด้วยธรรมประการต่าง ๆ การกระทำอย่างนี้ เรียวกว่า การ สัมปยุตธรรม หรือ สัปยุตธรรม คือการต่อกรกับกิเลสที่เกิดในในจิต ด้วยการข่มจิต อย่างนั้น วิธีการที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้คือ

    1.ควรกดฟันด้วยฟันไว้แน่น ( กัดฟันให้แน่น ) ว่าเราจะสู้ละจะไม่ยอมเสียทีกับ ราคะ โทสะ โมหะ
    2.ข่มจิต ข่มคั้นจิต ให้เร่าร้อน ตั้งจิตปรารถนาในการชำนะกิเลส เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
 
   อุปมาเหมือนคนที่บ้า กำลังจะอาละวาด พึงถูกบุรุษที่มีกำลังมาก กดคอ กดแขน ค้ำคอไว้ จนสิ้นฤทธิ์ วิธีการนี้เรียกว่า ใช้กำลังเข้าข่ม แต่การใช้จิตเข้าข่มนั้น ผู้ฝึกต้องมีพื้นฐานในการภาวนามาแล้วโดยสมควร มิฉะนั้น ก็จะไม่สามารถฟันฝ่า สภาวะจิตนั้นไปได้

    ยกตัวอย่างในการฝึกกรรมฐาน ผู้ภาวนานากลัวผี ภาวนาครั้งไร ก็จะเห็นผี อยู่ประจำทำให้หงุดหงิดกรรมฐานไม่ผ่าน ครูอาจารย์ก็เลยพาไปนอนในโกดัง แต่ลูกศิษย์ต้องมีใจสู้ด้วย ก็ไม่ได้ให้อยู่ลำพังในครั้งแรกไปอยู่เป็นเพื่อนด้วย ห่าง ๆ จนกระทั่ง จิตของลูกศิษย์มีความก้าวหน้า ก้ให้ไปอยู่ตามลำพัง จนทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องนี้

     นั่งอยู่ให้หายกลัว ยืนให้หายกลัว นอนอยุ่ให้หายกลัว เดินอยู่ให้หายกลัว

    สัมปยุตธรรม ต้องมีภูมิบ้างแล้ว ใหม่ๆ ทำไม่ได้



   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2012, 12:05:57 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
    ผู้ชำนาญวิถีทางแห่งวิตก
      [๒๒๑]    ภิกษุทั้งหลาย    เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว    มนสิการนิมิตใด    วิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วยโมหะบ้างย่อมเกิดขึ้น    เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นซึ่งประกอบด้วยกุศลนอกจากนิมิตนั้น    เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วยโมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้    เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น    สงบ    เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้    เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษแห่งวิตกเหล่านั้นอยู่    เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วยโมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้    เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น    สงบ    เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้    เมื่อภิกษุนั้นไม่ระลึกถึง    ไม่มนสิการวิตกเหล่านั้น    เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้างประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วยโมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น
ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้    เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น    สงบเป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้
       เมื่อภิกษุนั้นมนสิการวิตักกสังขารสัณฐานแห่งวิตกเหล่านั้น    เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้าง    ประกอบด้วยโทสะบ้าง    ประกอบด้วยโมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้    เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น    สงบ    เป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้    เมื่อภิกษุนั้นกดฟันด้วยฟัน    ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น    ใช้จิตข่มคั้นจิต
ทำจิตให้เร่าร้อน    เธอย่อมละวิตกอันเป็นบาปอกุศลซึ่งประกอบด้วยฉันทะบ้างประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้างได้    วิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ไม่ได้    เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้    จิตย่อมตั้งมั่น    สงบเป็นภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น    มีสมาธิในภายในโดยแท้
       ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุนี้เราเรียกว่า    ‘ผู้ชำนาญในวิถีทางแห่งวิตก    เธอหวังวิตกใดก็จักตรึกถึงวิตกนั้นได้    ไม่หวังวิตกใดก็จักไม่ตรึกถึงวิตกนั้นได้    ตัดตัณหาได้แล้วคลายสังโยชน์ได้แล้ว    ทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว    เพราะละมานะได้โดยชอบ”
      พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว    ภิกษุเหล่านั้นมีใจยินดีต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค    ดังนี้แล
      วิตักกสัณฐานสูตรที่ ๑๐ จบ



    หนทางแห่ง วิตก ก็คือ นิมิต ใน นิมิต ปรากฏแล้วในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีอคคหนิมิตเป็นอารมณ์ การรู้แจ้งในนิมิต คือ คำตอบของวิจาร ในหลักการกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ นั้นสำหรับห้องที่ 1 นั้นการรู้อารมณ์ สอบนิมิต นั้น มีวิธีการจากครูอาจารย์อยู่สองแบบ คือ
     
     การปรากฏของ นิมิต ที่เป็นลักษณะ เรียกว่า จิตกระทบกาย  ยกตัวอย่าง รู้สึกตึงร้อน แข้ง อ่อน กายโยก ขนลูกชูชัน มึนตึง เวียนศรีษะ เป้นต้น ทั้งหลายเหล่านี้เรียกว่า ส่วนพระลักษณะที่ปรากฏด้วยการรู้แจ้งเมื่อจิตเริ่มเป็นสมาธิ ก็ควรจะปรากฏเป้นที่ตังอาศัยของจิต รับรู้ของจิต

      การปรากฏของ นิมิต ที่เป็นพระรัศมี เรียกว่า จิตกระทบจิต เป็นรูปปรมัตถ์ มีเพียงสี มีวัตถุไม่เป็นวัตถุ มีแต่สีเท่านั้น ที่เป็นจริงของจิต ซึ่ง สี ก้จะมีประจำธาตุ ต่าง และส่วนต่าง ของธาตุ ส่วนนี้ปราฏชัดเจนแจ่มแจ้งเป็น อุคคหนิมิต ต่อไป

      ดังนั้นท่านทั้งหลาย ความล่าช้าในกรรมฐ่านั้น จะล่าช้า อยู่สองส่วน คือ ส่วนที่เป็น วิตก กับส่วนที่เป็น วิจาร ที่จะทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏบิติภาวนา ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายใส่ใจในการกำหนดนิมิต ปฏิบัติตามขั้นตอนของพระกรรมฐาน หมั่นอธิษฐานกรรมฐาน ตามขั้นตอนไม่หลงลืม นั่นเท่ากับท่าน ได้กระทำ วิตกสัณฐาน แห่งการภาวนาโดยสมบูรณ์

      บทความต่อไปจะมากล่าวเรื่อง วิจาร ในการภาวนา ถ้าท่านทั้งหลายยังไม่มีความเข้าใจก็ตั้งคำถามกันขึ้นมาเพื่อให้ความเข้าใจต่อไป นะจ๊ะ

   เจริญธรรม / เจริญพร

   

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 24, 2012, 12:25:14 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นบทความ ที่อ่านแล้ว เข้าใจง่าย ครับ อนุโมทนาด้วยครับ
สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรียน ถามว่า นิมิต กับ วิตก คืออันเดียวกันใช่หรือไม่ครับ
 
   :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

นิรมิต

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 89
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ธรรมสาระนี้ น่าจะเป็นตอนล่าสุด ใช่หรือไม่ครับ ?
ผมขอแสดงความเห็นว่า พระอาจารย์ นาน ๆ ออกก็ได้นะครับ สักอาทิตย์ออกสักเรื่องนะครับ เพราะช่วงหลังที่พระอาจารย์ออกบทความมานั้น ต้องอ่านกันเป็นอาทิตย์นะครับ ไม่ใช่ว่าบทความยาวนะครับ แต่ว่าเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งมากครับ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ คนทั่วไปจะเข้าใจได้ง่าย ๆ เท่าที่สังเกตเองในทีมมัชฌิมา ยังไม่กล้าแสดงความเห็นเลยครับ เพราะเกรงว่า จะผิดพลาดดังนั้นคนทั่วไปที่อ่านแล้ว จะเข้าใจ และแสดงความเห็นกันโดยตรงนั้น น่าจะเป็นไปได้ยากครับ แต่สำหรับผมก็คิดว่ามีประโยชน์ เหมือนได้ถูกสอบความเข้าใจที่ผ่านมาด้วยครับ ยิ่งพระอาจารย์นำเรือ่งที่ไม่เคยคิดหรือได้ยินมาก่อน มาแสดงให้เห็นแสดงให้เห็นว่า ภูมิธรรมผมยังอ่อนอยู่จริง ๆ นะครับ

   สาธุ กับบทความแนะนำที่ดี ครับ
 
   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่าเรื่องนี้ ถ้าท่านผู้อ่านทุกท่านที่เป็นศิษย์สายตรง อ่านแล้วน่าจะเกิดประโยชน์มากนะครับ เพราะผมสังเกตช่วงหลัง ๆ พระอาจารย์ท่านจะออกบทความออกมาแบบหนัก ๆ คือว่าต้องมีพื้นฐานทางกรรมฐานกันมากนะครับ ถึงจะอ่านเข้าใจแสดงว่า เจตนาเพื่อให้ศิษย์ที่ปฏิบัติภาวนากันจริงๆ จังๆ ได้อ่านและปรับตัวให้เข้ากับกรรมฐาน แน่ ๆ นะครับ บทความนี้ผมอ่านมาตั้งแต่เมื่อวาน ก็พยายามทำความเข้าใจอยู่เช่นกันครับ

  :s_hi: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เรื่องนี้เป็นเรื่องพื้นฐาน การภาวนา นะจ๊ะ เพราะวิตกเป็นองค์ธรรม  องค์แรกในการเจริญภาวนาทัึ้งปวง ไม่ว่าจะเป็น สมถะ หรือ จะเป็นวิปัสสนา  องค์ธรรมเรียกว่า วิตก ก็ต้องมี
 
       สมมุติ ท่านยกอารณ์ ว่า เกสา เป็นต้น  องค์ธรรมนี้ไม่ต้องเสียเวลาพิสูจน์เพราะ วิตก ที่เป็นท่าข้ามที่  พระพุทธเจ้าตรัสแสดง ไว้ปรากฏในพระสุตรนั้น มีมากมายก็จริง  แต่ก็พอจะสรุปได้ อยู่ 40 กองกรรมฐาน ๆ ทั้งหลายเหล่านี้ เรียกว่า วิตก  ที่เป็นกุศล
 
      อะไรเป็นเหตุ ให้ วิตก เกิด
 
       สติ สัมปชัญญะ เป็นเหตุให้ วิตก เกิดได้ มีได้ ไม่ใช่ สมาธิ  ๆ  เป็นผลจากการทำวิตก ให้มั่นคงแล้ว คือจะเป็น สมาธิ ตั้งแต่ วิตก มั่นคง  ไต่ระดับ ตั้งแต่ ขณิกะสมาธิ ไป จนเป็นอัปปนาสมาธิ
 
      ดังนั้น ท่านทั้งหลาย จะทำให้ วิตก ได้มั่นคงก็ตั้ง สติ สัปปชัญญะ  อยู่กับ วิตกที่เป็นกุศล นั้น ๆ ให้มาก ๆ ขึ้น หากวิตกที่เป็นกุศล  ไม่เกิดขึ้นไม่มั่นคงขึ้นแสดง ว่า กำลังแห่ง สติ ยังไม่พอ ก็ต้องทบทวน สติ  ส่วนนั้น ให้เข้าใจ ส่วนนี้เราก็จะรู้ว่า ทำไม สมาธิ จึงยังไม่เกิด สมาธิ  ทำไมจึงยังไม่มี
 
       มรรค มีองค์ 8 จะสมบูรณ์ ได้ ก็เพราะสัมมาสมาธิ ฉันใด สัมมาสมาธิ  จะมีได้ ก็ต้อง อาศัย สัมมาสติ เช่นกัน สัมมาสติ จะมีได้ ก็ต้อง อาศัย  สัมมาวายามะ ด้วย ส่วนนี้เรียกว่า ส่วนแห่ง อธิจิต นะจ๊ะ
 
     เจริญธรรม / เจริญพร

 ;)


ขออนุญาตขยายตัวหนังสือครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 26, 2012, 06:24:14 pm โดย translate »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ ครับ
ผมจะได้พยายาม ทบทวน กับหัวข้อธรรม ในวันธรรมสวนะ นี้ครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ ยังรอติตตามอ่านเรื่อง วิจาร ต่อนะครับ
แต่สวนเรื่องของวิตกผมเองก็อ่านทบทวนหลายรอบครับ พยายามอ่านและทำความเข้าใจและภาวนาตามไปด้วยครับ

  สาธุ  :c017: :25: :25:
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


อย่างนี้คำตอบเรื่องวิตก อยู่ที่การปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับด้วยใช่หรือไม่ครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

            พระอภิธรรมปิฎก  ธัมมสังคณี  [๑.  จิตตุปปาทกัณฑ์]
              กุศลบท  กามาวจรกุศลจิตดวงที่  ๑  บทภาชนีย์


[๑]    สภาวธรรม๑    ที่เป็นกุศล    เป็นไฉน
            จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล    สหรคตด้วยโสมนัส    สัมปยุตด้วยญาณ    มีรูปเป็นอารมณ์    มีเสียงเป็นอารมณ์    มีกลิ่นเป็นอารมณ์    มีรสเป็นอารมณ์    มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์    มีธรรมเป็นอารมณ์    หรือปรารภอารมณ์ใดๆ    เกิดขึ้นในสมัยใด    ในสมัยนั้นผัสสะ    เวทนา    สัญญา    เจตนา    จิต    วิตก    วิจาร    ปีติ    สุข    เอกัคคตา    สัทธินทรีย์    วิริยินทรีย์สตินทรีย์  สมาธินทรีย์  ปัญญินทรีย์  มนินทรย์    โสมนัสสินทรีย์    ชีวิตินทรีย์    สัมมาทิฏฐิสัมมาสังกัปปะ    สัมมาวายามะ    สัมมาสติ    สัมมาสมาธิ    สัทธาพละ    วิริยพละ    สติพละ สมาธิพละ    ปัญญาพละ    หิริพละ    โอตตัปปพละ    อโลภะ    อโทสะ    อโมหะ  อนภิชฌา อัพยาบาท    สัมมาทิฏฐิ    หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา  จิตตลหุตา    กายมุทุตา    จิตตมุทุตา    กายกัมมัญญตา    จิตตกัมมัญญตา    กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา    กายุชุกตา  จิตตุชุกตา  สติ    สัมปชัญญะ    สมถะ    วิปัสสนา    ปัคคาหะและอวิกเขปะ    ก็เกิดขึ้น    หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสมัยนั้น    สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล


  สภาวะธรรมที่เป็นกุศล วิตก ส่งเสริม วิปัสสนา

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 02, 2012, 10:15:06 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา