ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เราสวดมนต์ เพื่ออะไร ? เพื่อโชค ความสบายใจ หรืออ้อนวอน  (อ่าน 3137 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แก้ว

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เราสวดมนต์ เพื่ออะไร ? เพื่อโชค ความสบายใจ หรืออ้อนวอน

  ที่ตั้งคำถามอย่างนี้ ก็เพราะอยากให้ท่านได้ สติกับการสวดมนต์ บทต่าง ๆ

 อยากให้ท่านทั้งหลาย ตั้งคำถาม และ ตอบกันว่า แท้จริง เราสวดมนต์กันเพื่ออะไร ?

  :49: :coffee2:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อานิสงส์การสวดมนต์
บทความ โดยพระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิติญาโณ

   
    กรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบัน กรรมที่ทำด้วยเจตนาไม่ว่าดีหรือชั่ว
    ย่อมมีผลต่อผู้กระทำทั้งสิ้น ไม่มีพรหมเทพองค์ใดจะช่วยลบล้างกรรมนั้นได้
    เจ้าจงช่วยเหลือตนเองด้วยการสวดมนต์ภาวนาแผ่เมตตา ผลแห่งบุญอันเป็นกรรมปัจจุบันจะช่วยตนเอง
การสวดมนต์หรือการสาธยายมนต์นี้ ย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตของตน และประโยชน์แก่จิตอื่น


    ประโยชน์แก่จิตตน คือ ทำให้เกิดความสงบ ความเป็นสมาธิและปัญญาทางจิตของผู้สวด

    ประโยชน์แก่จิตอื่น คือ ผู้ได้ยินเสียงสวดก็จะพลอยได้เกิดความรู้เกิดปัญญา มีจิตใจที่สงบลึกซึ้งตามไปด้วย และผู้ที่สวดก็จะเกิดบุญกุศลโดยการให้ทานทางเสียง เพราะว่าเหล่าพรหมเทวดาทั้งหลายที่มาฟังก็คุ้มครองภัยอันตรายให้แก่ผู้ที่สวดมนต์ และที่สำคัญที่สุดของการสวดมนต์ก็คือ สามารถที่จะทำให้ผู้ที่สวดสาธยายมีความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้

    ที่กล่าวมาเช่นนี้ ก็มีหลักฐานที่ปรากฏอยู่ในพระธรรมคำสอนที่กล่าวได้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้นั้นมี ๕ โอกาสด้วยกัน คือ
        ๑.เมื่อฟังธรรม
        ๒.เมื่อแสดงธรรม
        ๓.เมื่อสาธยายธรรมหรือการสวดมนต์
        ๔.เมื่อตรึกตรองธรรมหรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
        ๕.เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ


    การสวดมนต์ในตอนเช้าและในตอนเย็นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยอาศัยการเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ของพุทธบริษัททั้งหลาย ที่มีการแบ่งออกเป็น ๒ เวลานั่น คือ
       - ในเวลาเช้าก็เพื่อที่จะฟังธรรม
       - ตอนเย็นก็เพื่อจะเป็นการชำระล้างจิตใจที่มีความเศร้าหมองให้หมดไป เพื่อสำเร็จมรรคผลนิพาน

     และการสวดมนต์ที่ดีพร้อมนั้นก็ต้องประกอบด้วยองค์ ๓ คือ
          ๑. กาย ต้องมีความสงบเรียบร้อยและมีอาการที่สำรวม
          ๒. วาจา ต้องมีความพร้อมวาจาที่เป็นกุศลธรรมที่เกิดมาจากจิต
          ๓. ใจ ต้องมีความเคารพนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย



ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=3272
http://board.palungjit.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อานิสงส์การสาธยายพระไตรปิฎก

๑.พระไตรปิฎกเป็นตาวิเศษอันยิ่งบุคคลใดสาธยายพระไตรปิฎกแล้ว สามารถที่จะรู้ได้ว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ ทำให้เป็นสัมมาทิฎฐิ นำไปสู่ความสำเร็จและเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล คือตั้งแต่โสดาบัน สกทาคามี อนาคามีและอรหันต์เข้าสู่นิพพาน

๒.พระไตรปิฎกเป็นหูที่วิเศษอันยิ่งฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สอนให้บุคคลนั้นดำรงชีวิตด้วยความถูกต้อง ที่เป็นสัมมาทิฎฐิ อย่างน้อยไม่ทำบาปทำแต่กุศล ได้ฟังแต่สิ่งที่เป็นมงคล การพูดก็ดี สุขภาพจิตก็ดี มีจิตใจที่ผ่องใส เมื่อจิตใจผ่องใสความคิดก็ดีความจำก็ดีขึ้นมีสติไม่ทำให้เกิดอกุศลหน้าตาผ่องใสเป็นต้น

๓.พระไตรปิฎกเป็นจมูกที่วิเศษอันยิ่ง กลิ่นหอมที่ว่าหอมแม้จะลอยตามลมไปได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ แต่ไม่สามารถที่จะทวนลมได้ แต่กลิ่นของความดี กุศลนั้นสามารถจะทวนลมและกระจายออกไปได้ทุกทิศ จะเป็นมีจมูกที่ได้กลิ่นของกุศลที่กระจอนไปทุกทิศ และไม่หลงติดอยู่กับกลิ่นหอมอย่างอื่น

๔.พระไตรปิฎกเป็นลิ้นที่วิเศษอันยิ่ง ลิ้นคนเราแม้จะจำรสต่าง ๆ ได้ ไม่ช้าก็ลืมมีความสุขชั่วคราวทำให้คนขาดสติ แต่ลิ้นที่ลิ้มรสของพระธรรมนั้น ไม่มีความอิ่มในรสของพระธรรม เมื่อคนเราได้รับลิ้มรสของพระธรรมแล้ว จะทำให้ร่างกายผ่องใสทั้งภายในและภายนอกและจะช่วยรักษาโรคได้ทุกชนิด

๕.พระไตรปิฎกเป็นกายที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายแล้วทำให้มีสภาพที่ผ่องใสทั้งภายในและภายนอก มีกายที่เบาไม่เชื่องช้าเลือดลมในตัวเราที่เรียกว่าธาตุ๔นั้นก็สมบูรณ์ทำให้มีอายุยิ่งยืนนานสามารถหายจากโรคที่เกิดแต่กรรมได้

๖.พระไตรปิฎก เป็นใจที่วิเศษอันยิ่ง ใจดี ใจผ่องใส ใจเป็นหัวหน้า เมื่อใจเบิกบาน จิตใจเป็นกุศลก็สามารถเข้าถึงความเป็น โสดาบันสกทาคามีอนาคามีและพระอรหันต์ในที่สุด





๗.พระไตรปิฎกเป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษอันยิ่ง สามารถที่จะสอนให้เรารู้ว่าอะไรเป็นกุศลอะไรเป็นอกุศล เมื่อรู้อย่างนี้แล้วสอนให้เรานำเอาหลักธรรมไปประพฤติปฏิบัติอันเป็นทางที่มีความสำเร็จในชีวิตนำทางไปเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน

๘.พระไตรปิฎก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษอันยิ่ง พ่อแม่ไม่ได้หวังค่าตอบแทนจากลูกฉันใด พระไตรปิฎกเป็นผู้ที่สอนให้เรารู้ทุกอย่างที่เรายังไม่เคยรู้ นำทางให้เราเข้าถึงความเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ แล้วแต่ทางดำเนินชีวิตอันทำให้ถึงจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน

๙.พระไตรปิฎกเป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายก็จะมีแต่มิตรนำทางไปสู่ที่ดีนำชีวิตไปสู่ความสุขทั้งตัวเอง ครอบครัวและสังคมที่ดีนำทางไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งในทุกสถานในกาลทุกเมื่อ

๑๐.สมัยพระพุทธเจ้าชื่อว่ากัสสปะ พระสงฆ์สาธยายอภิธรรมในถ้ำ ค้างคาว ๕๐๐ ตัวได้ฟังเมื่อถึงคราวตายแล้วไปจุติที่ชั้นดาวดึงส์ชาติสุดท้ายมาเกิดเป็นลูกศิษย์พระสารีบุตรและเป็นอรหันต์เป็นที่สุด

๑๑.การสาธยายพระไตรปิฎกที่ว่า “กรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยได้ จงจำไว้ กรรมที่ทำด้วยเจตนาไม่ว่าดีหรือชั่ว ย่อมมีผลต่อผู้กระทำทั้งสิ้น ไม่มีพรหมเทพองค์ใดจะช่วยลบล้างกรรมนั้นได้ เธอจงช่วยตนเอง ด้วยการสวดมนต์ ภาวนาแผ่เมตตาผลแห่งบุญอันเป็นกรรมปัจจุบันจะช่วยเธอได้”ตอนหนึ่งที่กล่าวกับนางโรหิณี

๑๒.การสาธยายหรือการสวดมนต์ ย่อมจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตของตนและประโยชน์แก่จิตอื่น และสามารถที่จะทำให้ผู้ที่สวดมนต์สาธยายมีความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้

    มหากุศลบุญที่ยิ่งใหญ่อันพึงจะเกิดขึ้นในครั้งนี้



ที่มา กองทุน "สาธยายพระไตรปิฎก"...อานิสงส์นี้ยิ่งใหญ่นัก
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8633.0
ขอบคุณภาพจาก http://www.dailynews.co.th/,http://www.thairath.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เราสวดมนต์ เพื่ออะไร ? เพื่อโชค ความสบายใจ หรืออ้อนวอน

  ที่ตั้งคำถามอย่างนี้ ก็เพราะอยากให้ท่านได้ สติกับการสวดมนต์ บทต่าง ๆ

 อยากให้ท่านทั้งหลาย ตั้งคำถาม และ ตอบกันว่า แท้จริง เราสวดมนต์กันเพื่ออะไร ?

  :49: :coffee2:

    
    แนะนำกระทู้
    กองทุน "สาธยายพระไตรปิฎก"...อานิสงส์นี้ยิ่งใหญ่นัก

    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8633.0
   
    จุดประสงค์ของการสวดมนต์ของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป
    แต่อานิสงส์ของการสวดมนต์หรือสาธยายธรรมมีอยู่
    ใครใคร่ได้รับอานิสงส์อันใด ก็ควรขวนขวายแสวงหาเอาตามอัธยาศัย

     :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2012, 11:27:03 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุครับท่าน nathaponson เป็นประโยชน์อย่างมาก

ขอเสริมนิดนึงนะครับ โดยส่วนตัวผมแล้ว การสวดมนต์ผมไม่ได้ขออานิสงใดๆ แต่ที่ผมสวดมนต์นั้นเพราะด้วยเหตุผลดังนี้ครับ

1. เคารพ บูชา สรรเสริญ คุณอันเป็นเอนกอนันต์ อันหาที่เปรียบมิได้ของ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อ-แม่-บุพการีทั้งหลาย ครูอุปัชฌาย์ อาจารย์ทั้งหลาย
2. เรียนรู้คำสอนในบทสวดมนตืนั้นๆ เช่น พระสูตร พระปริตร หรือ อื่นๆ จะมีคำสอนอยู่ในนั้นซึ่งเป้นแนวทางการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานทั้ง เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด (ดังนั้นเมื่ออ่านบทสวดมนต์ใด ควรเรียนรู้ในคำแปลด้วย)

ผมสวดมนต์ด้วยเหตุผล 2 ปนะการดังนี้แล
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ