ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมอุปนิสัย ที่ติดตัว เรามาแต่เกิดนั้น เป็นสิ่งที่สร้างใหม่ ด้วยพฤติกรรมใหม่  (อ่าน 3092 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

วรรณา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 158
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กรรมอุปนิสัย ที่ติดตัว เรามาแต่เกิดนั้น เป็นสิ่งที่สร้างใหม่ ด้วยพฤติกรรมใหม่ หรือเป็นอุปนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เช่นเด็กทุกคนบางคนก็เรียบร้อย ทั้ง ๆ ที่อยู่ในครอบครัวที่ ติดอบายมุข หรือเด็กบางคนก็ แข็งกระด้าง โหดร้าย ตั้งแต่เด็ก ทั้งที่อยู่ในตระกูลของคนมีธรรมะ

    คือสงสัยว่า อันนี้เป็น อุปนิสัยประจำตัวที่มาแต่กำเนิดหรือว่า เป็นอุปนิสัยใหม่
    มีบางคนกล่าวว่าเด็กเกิดใหม่ เป็นเช่นดังผ้าขาว อันนี้ถูกหรือผิดคะ

    :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

hiso

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อุปนิสัย ที่ติดตัวมานั้น ก็คือ จริต ความชอบทีแตกต่างกันไป ตามระดับกำลังปัญญา และสติครับ เหมือนกับเกรดของคน นะครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖

๒๕. เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ [๒๘๘]
       
       
    ข้อความเบื้องต้น               
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระปิลินทวัจฉเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อกกฺกสํ" เป็นต้น.

    พระปิลินทวัจฉะใช้วาทะว่าคนถ่อยจนติดปาก               
    ได้ยินว่า ท่านปิลินทวัจฉะนั้นกล่าวคำเป็นต้นว่า "คนถ่อยจงมา, คนถ่อยจงไป" ย่อมร้องเรียกทั้งคฤหัสถ์ทั้งบรรพชิต ด้วยวาทะว่าคนถ่อยทั้งนั้น.
    ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุเป็นอันมากกราบทูลแด่พระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า ท่านปิลินทวัจฉะย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยวาทะว่าคนถ่อย."


    พระศาสดารับสั่งให้หาท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า "ปิลินทวัจฉะ ได้ยินว่า เธอร้องเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยวาทะว่าคนถ่อยจริงหรือ?"
    เมื่อท่านกราบทูลว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า"

    จึงทรงกระทำบุพเพนิวาสของท่านปิลินทวัจฉะนั้นไว้ในพระหฤทัย แล้วตรัสว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ายกโทษแก่ภิกษุชื่อปิลินทวัจฉะเลย,
    ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะหามีโทสะในภายใน ร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า คนถ่อยไม่,
    ภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ ชาติของภิกษุชื่อวัจฉะ ไม่สับสนกันทั้งหมดนั้นเกิดแล้วในตระกูลพราหมณ์ ในภายหลัง, วาทะคนถ่อยนั้น เธอร้องเรียกมาแล้วตลอดกาลนาน,
    ถ้อยคำกระทบกระทั่งชนเหล่าอื่น อันเป็นคำระคายหู คำหยาบคายนั่นเทียว ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ,   
    เพราะว่าบุตรของเรากล่าวอย่างนั้น ด้วยอำนาจแห่งความเคยชิน"





              เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๒๕.  อกกฺกสํ วิญฺญาปนึ       คิรํ สจฺจํ อุทีรเย
                            ยาย นาภิสเช กญฺจิ       ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ.
                            ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่ระคายหู อันให้รู้กันได้ เป็นคำจริง
                                อันเป็นเหตุไม่ยังใครๆ ให้ขัดใจ, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.


       แก้อรรถ               
       บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกกฺกสํ ได้แก่ คำไม่หยาบ.
       บทว่า วิญฺญาปนึ ได้แก่ ให้รู้เนื้อความกันได้.
       บทว่า สจฺจํ ได้แก่ เป็นเนื้อความอันจริง.


       บทว่า นาภิสเช เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่พึงยังบุคคลอื่นให้ข้องใจด้วยอำนาจแห่งการให้เขาโกรธ ด้วยถ้อยคำอันใด, ธรรมดาพระขีณาสพพึงกล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้นนั่นแล เหตุนั้น เราจึงเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.
       ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

       เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ จบ.
           
                       

อ้างอิง
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=36&p=25
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/,http://3.bp.blogspot.com/,http://www.dhammajak.net/





วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น

       ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี
       ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ
       แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบายกับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้


      จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา;
       ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 24, 2012, 02:39:53 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
กรรมอุปนิสัย ที่ติดตัว เรามาแต่เกิดนั้น เป็นสิ่งที่สร้างใหม่ ด้วยพฤติกรรมใหม่ หรือเป็นอุปนิสัยที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เช่นเด็กทุกคนบางคนก็เรียบร้อย ทั้ง ๆ ที่อยู่ในครอบครัวที่ ติดอบายมุข หรือเด็กบางคนก็ แข็งกระด้าง โหดร้าย ตั้งแต่เด็ก ทั้งที่อยู่ในตระกูลของคนมีธรรมะ

    คือสงสัยว่า อันนี้เป็น อุปนิสัยประจำตัวที่มาแต่กำเนิดหรือว่า เป็นอุปนิสัยใหม่
    มีบางคนกล่าวว่าเด็กเกิดใหม่ เป็นเช่นดังผ้าขาว อันนี้ถูกหรือผิดคะ

    :smiley_confused1:

   
      กริยาวาจาต่างๆของแต่ละคน เป็นวาสนาที่ติดตัวมาหลายภพหลายชาติ
      แม้แต่อรหันตสาวกก็ยังละวาสนานี้ไม่ได้
      ตัวอย่างเช่น "พระปิลินทวัจฉเถระ เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา"
      ท่านมีปกติเรียกคนอื่นว่า “คนถ่อย” เป็นเพราะท่านเคยชินที่จะพูดเช่นนี้
      ความเคยชินเช่นนี้เรียกว่า "วาสนา" ระดับสาวกละสิ่งนี้ไม่ได้
      พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะวาสนาได้


      อุปนิสัยของแต่ละคนที่ต่างกัน ที่หนูวรรณาสงสัย ก็เช่นเดียวกันกับ"วาสนา"
      มันเป็นสิ่งที่ติดตัวมาจากกาลก่อน หลายภพหลายชาติ
      การจะสร้างอุปนิสัยที่ดี ให้เกิดขึ้นกับตัวเองในชาตินี้ เบื้องต้นต้องสร้างสติก่อน
      และขอให้ศึกษาเรื่อง "เสขิยวัตร"


      เสขิยวัตร หมายถึง วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษาธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียก หรือพึงฝึกฝนปฏิบัติ เป็นพุทธบัญญัติที่ได้เตือนสติให้ภิกษุสงฆ์พึงสำรวมกาย วาจา ใจ เมื่อเข้าไป อยู่ในที่ชุมชนหรือในละแวกบ้านของผู้อื่น เพื่อยังให้เกิดความเลื่อมใสของบุคคลในชุมชนนั้นๆ จะได้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา
      อ่านเรื่อง "เสขิยวัตร"ได้ที่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7899.0

       :49:
     
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ