ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รำลึกถึงคุณของ หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ : วิปัสสนาบนหน้าข่าว  (อ่าน 1799 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



รำลึกถึงคุณของหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
รำลึกถึงคุณของหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ : วิปัสสนาบนหน้าข่าว โดยพระไพศาล วิสาโล

ข้าพเจ้าพบหลวงพ่อคำเขียนครั้งแรกราวๆ เดือนมีนาคม ๒๕๒๓ ที่โรงพยาบาลประทาย นครราชสีมา ตอนนั้นมีการประชุมเกี่ยวกับการช่วยเหลือเด็กขาดอาหารในภาคอีสาน ตอนนั้นข้าพเจ้ากำลังเริ่มต้นทำโครงการ “แด่น้องผู้หิวโหย” อยู่โดยมีพื้นที่ส่วนหนึ่งอยู่ที่ อ.ประทายด้วย ส่วนหลวงพ่อคำเขียนนั้นทำศูนย์เด็กเล็กที่บ้านท่ามะไฟหวานมาได้ ๒ ปีแล้ว  ครั้งนั้นเป็นการประชุมแบบง่ายๆ นั่งล้อมวงคุยกัน โดยมีผู้ร่วมประชุมไม่ถึง ๒๐ คน แม้หลวงพ่อคำเขียนเป็นผู้ที่อาวุโสที่สุดในวงนั้น ขณะที่ผู้ประชุมส่วนใหญ่อายุ ๒๐ ต้น ๆ แต่ท่านมิได้ทำตัวชี้นำพวกเราแม้แต่น้อย หากฟังพวกเราเป็นส่วนใหญ่  โดยแสดงความเห็นบ้างเป็นครั้งคราว สิ่งที่พวกเรารู้สึกได้คือความสงบเย็นของท่าน เปี่ยมด้วยเมตตาและความเป็นกันเอง แม้ท่านจะพูดน้อยก็ตาม

การประชุมครั้งนั้นชักนำให้ข้าพเจ้าไปเยือนวัดภูเขาทองเป็นครั้งแรกในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา ตอนนั้นหลวงพ่อเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่นั่น นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการผ้าป่าข้าวที่บ้านท่ามะไฟหวานที่พวกเราจัดทำขึ้นในปลายปีนั้นเพื่อหาทุนสนับสนุนโครงการสหกรณ์ข้าวที่หลวงพ่อริเริ่มซึ่งจะช่วยให้ชาวบ้านสามารถซื้อข้าวสารในราคาไม่สูงเกินไป แม้ว่าตอนนั้นจะมีโอกาสไปเยี่ยมวัดป่าสุคะโต แต่ก็ไม่คิดว่าอีกไม่กี่ปีต่อมาที่นั่นจะกลายเป็น “บ้าน” ของตัวเองในเพศบรรพชิตจวบจนปัจจุบัน


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

ตอนนั้นข้าพเจ้ารู้จักหลวงพ่อคำเขียนในฐานะพระนักพัฒนา ไม่ได้ตระหนักว่าท่านเป็นอาจารย์กรรมฐาน จนกระทั่งเพื่อนคนหนึ่ง (พัฒนพงศ์ โกไศยกานนท์) มาเล่าในอีก ๒ ปีต่อมาว่าได้ไปบวชและปฏิบัติธรรมกับท่านที่วัดป่าสุคะโต และได้รับประโยชน์จากการบวชมาก

ตอนนั้นข้าพเจ้าตั้งใจจะบวชอยู่พอดีในอีก ๒ เดือนข้างหน้า แต่ยังหาวัดปฏิบัติที่สงบวิเวกไม่ได้ จึงตัดสินใจว่าเมื่อบวชแล้วจะไปปฏิบัติกับท่านที่นั่น แต่กว่าจะได้ไปอยู่ที่วัดป่าสุคะโตจริงๆ ก็หลังจากบวชแล้ว ๕ เดือน โดยก่อนหน้านั้นได้ปฏิบัติอยู่ที่วัดสนามในกับหลวงพ่อเทียน ตามคำแนะนำของหลวงพ่อคำเขียน เนื่องจากวัดป่าสุคะโตตอนนั้นไม่ค่อยมีพระอยู่จนกว่าจะถึงช่วงเข้าพรรษา

 :s_good: :s_good: :s_good: :s_good:

การได้มาอยู่กับหลวงพ่อคำเขียนนับเป็นโชคของข้าพเจ้า  อดคิดไม่ได้ว่าหากไม่ได้จำพรรษาแรกกับท่าน คงจะบวชได้ไม่นานถึงทุกวันนี้ เพราะสุคะโตตอนนั้นแม้กันดารแต่ก็สงบวิเวกมาก ทั้งพรรษามีพระแค่ ๕ เณร ๒ จึงได้อยู่ใกล้ชิดกับท่าน ได้ฟังธรรมทั้งเช้าและเย็น (ซึ่งมักจะใช้เวลา ๔๐ นาทีเกือบพอดิบพอดีทั้งๆ ที่ท่านไม่ได้ดูนาฬิกา) รวมทั้งมีโอกาสพูดคุยกันแบบสบายๆ 

แม้ว่าชีวิตที่วัดป่าสุคะโตเวลานั้นค่อนข้างลำบาก โดยเฉพาะเรื่องอาหาร (ปลากระป๋องและมาม่าคืออาหารที่ดีที่สุดในเวลานั้น) แต่ก็ได้ปฏิบัติอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องงานการในวัด เพราะหลวงพ่อดูแลจัดการเองหมด ท่านต้องการให้โอกาสแก่พวกเราในการภาวนาอย่างไม่ต้องมีปลิโพธิ ขณะเดียวกันก็มีความไว้วางใจพวกเรา จึงไม่จ้ำจี้จ้ำไช หลวงพ่ออยากให้พวกเรารับผิดชอบตัวเอง ท่านจึงไม่พยายามมากำกับชี้นำเป็นรายบุคคล แต่เวลาแสดงธรรมก็จะแนะนำว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

ความไว้วางใจของหลวงพ่อเป็นเรื่องสำคัญ อย่างน้อยก็สำหรับข้าพเจ้าในตอนนั้น เพราะช่วงนั้นทางการบ้านเมืองยังมีความหวาดระแวงนักศึกษาหรือคนหนุ่มสาวอยู่มาก เนื่องจากกลัวว่าเป็นพวกคอมมิวนิสต์ ประกอบกับภูโค้งก็เคยมีประวัติว่าเป็นเขตปฏิบัติการของคอมมิวนิสต์มาก่อน ดังนั้นเมื่อทางการรู้ว่ามีคนหนุ่มอย่างข้าพเจ้ามาอยู่ที่วัดป่าสุคะโต จึงจับตาเฝ้ามอง และยิ่งจับตามากขึ้นเมื่อรู้ว่ามีคนหนุ่มสาวอีกหลายคนแวะเวียนมาที่นั่นบ่อยๆ

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพื่อนข้าพเจ้านั่นเอง ได้ทราบมาว่ามีอาจารย์กรรมฐานบางท่านเมื่อได้ฟังคำของเจ้าหน้าที่บ้านเมืองก็เกิดความหวาดระแวงพระหนุ่มจากกรุงเทพฯ ที่มาปฏิบัติกับท่าน โดยเฉพาะกรณีที่เคยมีประวัติการประท้วงรัฐบาลมาก่อน จนถึงกับหาทางบีบให้ออกจากวัดก็มี แต่หลวงพ่อคำเขียนหามีอาการหวั่นไหวเช่นนั้นไม่ แม้จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทางอำเภอมาด้อมๆ มองๆ ที่วัดก็ตาม ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะหลวงพ่อก็เคยถูกมองด้วยสายตาหวาดระแวงแบบนี้มาแล้วสมัยที่เริ่มก่อตั้งศูนย์เด็กเล็กขึ้น เพราะไม่เคยมีใครทำอย่างนั้นมาก่อนโดยเฉพาะบนป่าเขาอันกันดาร 

 :96: :96: :96: :96:

การที่หลวงพ่อมีความไว้วางใจในตัวข้าพเจ้า ประกอบกับความกล้าของท่านด้วย ข้าพเจ้าจึงอยู่วัดป่าสุคะโตอย่างปกติสุขมาตั้งแต่พรรษาแรก และทำให้อยากบวชต่อ ทั้งๆ ที่ตั้งใจบวชแค่ ๓ เดือนเท่านั้น เป็นไปได้มากว่า หากหลวงพ่อมีความหวาดระแวงข้าพเจ้า หรือหวั่นไหวต่อสายตาของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง (ซึ่งอาจมองว่าท่านใกล้ชิดกับพวก “นักศึกษา”) ข้าพเจ้าก็คงจะอยู่วัดป่าสุคะโตได้แค่พรรษาเดียวเท่านั้น และอาจสึกหาลาเพศในเวลาไม่นาน

อันที่จริงหลังจากพรรษาแรกแล้ว ข้าพเจ้าก็เริ่มรับกิจนิมนต์ซึ่งทยอยมามากขึ้นตามอายุพรรษา มีทั้งที่เป็นเรื่องธรรมะ สิ่งแวดล้อม สันติวิธี การพัฒนาชุมชน ทำให้เดินทางบ่อยขึ้น แต่หลวงพ่อคำเขียนก็ไม่ได้ห้ามปรามหรือขัดขวาง ส่วนหนึ่งคงเพราะท่านเห็นว่าพระไม่ควรตัดขาดจากสังคม หากมีควรส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมและเพื่อนมนุษย์ ซึ่งเป็นการนำธรรมะเข้าสู่สังคมไปในตัว ดังท่านเองก็ทำงานช่วยเหลือชาวบ้านและพัฒนาชุมชนควบคู่กับการบรรยายธรรมและสอนกรรมฐาน


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

การที่หลวงพ่อเปิดโอกาสให้ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านควบคู่กัน โดยไม่แยกงานทางโลกและทางธรรมออกจากกัน มีส่วนอย่างสำคัญที่ช่วยให้ข้าพเจ้าบวชได้นาน นอกจากไม่รู้สึกขัดแย้งกับวิถีของบรรพชิตแล้ว ยังมีความสุขที่ได้อยู่วัดป่าสุคะโต และไม่คิดที่จะย้ายไปไหนเลย (จนกระทั่งมีเหตุให้ต้องออกจากที่นั่นไปอยู่ภูหลงอยู่พักใหญ่ แล้วเลยมีกิจติดพัน จนภายหลังต้องอยู่ภูหลงเป็นส่วนใหญ่)

การที่ได้อยู่วัดป่าสุคะโตอย่างต่อเนื่องหลายปี คุณค่าอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ การได้เห็นแบบอย่างของบรรพชิตซึ่งมีวิถีชีวิตที่งดงาม หลวงพ่อคำเขียนเป็นผู้ที่มีความสงบเย็นที่แผ่ออกมาจนสัมผัสได้ ท่านไม่เคยแสดงความโกรธเกลียดออกมาให้ใครเห็น เป็นเพราะท่านไม่มีความรู้สึกเช่นนั้นกับใคร แม้กระทั่งกับผู้ที่ใส่ร้ายป้ายสีและกลั่นแกล้งท่าน(คราวหนึ่งถึงกับมายึดวัดป่าสุคะโตและขับไล่ท่านออกไป) ท่านก็ไม่ได้ตอบโต้หรือพูดร้ายกับท่านเหล่านั้นเลย 

 :25: :25: :25: :25:

หลวงพ่อเป็นพระผู้ใหญ่ มีผู้คนเคารพนับถือมากมาย แต่ก็ไม่เคยเห็นท่านวางอำนาจแม้กระทั่งกับเณรน้อยหรือญาติโยม  กับใครก็ตามท่านจะพูดจาอย่างสุภาพ ไม่ถือตัว หรือมองเขาว่าต่ำกว่าตน ท่านจะโอภาปราศรัยด้วยความยิ้มแย้ม ยิ่งกับอาคันตุกะด้วยแล้ว ท่านจะดูแลเอาใจใส่มาก แม้จะเป็นฆราวาสก็ตาม ใครที่มาเยือนวัดภูเขาทองหรือวัดป่าสุคะโตในสมัยแรกๆ (ซึ่งยังมีพระไม่มาก) จะได้รับการต้อนรับจากท่านอย่างดี โดยเฉพาะการตระเตรียมที่หลับที่นอนให้ด้วยตัวท่านเอง

ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ ความเรียบง่ายของท่าน เป็นเวลานานหลายปีทีเดียวที่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นท่านมีกุฏิส่วนตัวที่วัดป่าสุคะโตเลย ที่พักของท่านคือศาลาไก่ (ซึ่งตอนนั้นเป็นทั้งที่ทำวัตร ประกอบพิธีกรรมและฉันอาหาร) ที่วัดภูเขาทองก็เช่นกัน จนกระทั่งราวๆ ปี ๒๕๓๖ จึงมีญาติโยมจากกรุงเทพฯ สร้างกุฏิให้ท่านที่วัดภูเขาทองเป็นเอกเทศ นอกจากเสนาสนะแล้ว จีวรก็เช่นกัน แต่ละผืนท่านใช้นานมาก ผ้ารัดเอวของท่านผืนหนึ่งท่านใช้นานเกือบ ๒๐ ปี ท่านเล่าว่าเวลาซักจีวร ท่านจะไม่บิดผ้าเพราะจะทำให้ผ้าเปื่อยเร็ว แต่ท่านจะใช้วิธีบีบให้น้ำออกแล้วจึงตาก แต่ปกติแล้วท่านจะผึ่งลมมากกว่าตากแดด เพราะช่วยให้ผ้าทนนาน

 st12 st12 st12 st12

พูดถึงความเผื่อแผ่มีน้ำใจต่อผู้อื่นแล้ว ท่านเป็นแบบอย่างที่น่าปฏิบัติตาม เพราะความเมตตาของท่านไม่ได้มีกับผู้คนหรือเพื่อนมนุษย์เท่านั้น แต่ยังแผ่ออกไปยังธรรมชาติและสรรพสัตว์ด้วย ท่านจึงให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ป่ามาก ซึ่งทุกวันนี้ยังเป็นกิจวัตรอย่างหนึ่งของท่าน โดยเน้นที่การปลูกป่า  การที่จิตใจท่านแผ่ออกกว้างขวางนั้น เป็นเพราะความลุ่มลึกภายในของท่าน หลวงพ่อเล่าว่ากรรมฐานเปลี่ยนจิตใจของท่าน ทำให้ท่านรักป่าทะนุถนอมธรรมชาติอย่างที่ไม่เคยรู้สึกตอนเป็นฆราวาส แน่นอนว่าที่ท่านมีเมตตาต่อผู้คนมากก็เพราะกรรมฐานเช่นเดียวกัน

ความประทับใจทั้งหมดที่ข้าพเจ้ามีต่อหลวงพ่อดังที่กล่าวมา จะว่าไปแล้วก็รวมลงที่ตรงนี้คือกรรมฐานของท่าน  ปัญญาญาณและคำสอนของหลวงพ่อเกี่ยวกับการเจริญสติปัฏฐาน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของข้าพเจ้า ช่วยให้จิตใจสงบเย็นและแก้ทุกข์ให้แก่ตนเองได้ เพราะรู้เท่าทันกิเลสได้ไวขึ้น เห็นมายาแห่งตัวตนได้ชัดขึ้น แม้จะยังไม่ถึงกับหลุดจากอำนาจของมันได้อย่างสิ้นเชิง แต่ก็มีอิสระมากกว่าแต่ก่อน อีกทั้งยังมั่นใจในหนทางแห่งสติปัฏฐาน ว่าจะทำให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้งในสัจธรรมจนลุถึงความพ้นทุกข์ได้


 st11 st11 st11 st11

คำสอนหลายอย่างของท่าน ไม่อาจเข้าใจได้ในทีแรกที่ได้ยิน แต่เมื่อได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งได้เห็นแบบอย่างจากการปฏิบัติของตัวท่านเอง ก็ช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้นหรือเห็นจริงในที่สุด จนสามารถแนะนำผู้อื่นให้เห็นตามหรือปฏิบัติตามได้ด้วยความมั่นใจ ทำให้ชีวิตที่ดำรงอยู่ก่อให้เกิดทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านอย่างเต็มที่ จนถึงวันนี้ก็ยังนึกไม่ออกว่า หากไม่ได้มาศึกษาและปฏิบัติกับหลวงพ่อคำเขียนตั้งแต่พรรษาแรกเมื่อปี ๒๕๒๖ ชีวิตของข้าพเจ้าจนถึงวันนี้จะเป็นอย่างไร

หมายเหตุ : จากหนังสือ 'รำลึกถึงหลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ' พระไพศาล วิสาโล เรียบเรียง จัดทำโดยเครือข่ายพุทธิกา พิมพ์แจกในงานปลงสรีระของหลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ ณ วัดภูเขาทอง อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๗


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140908/191739.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า