ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - ดนัย
หน้า: 1 2 [3]
81  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พระอริยะเขาดูกันอย่างไร? (โดย พระราชพรหมยาน) เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2015, 03:35:24 pm
   ขออนุโมทนา สาธุ คุณ raponsan กับ ธุลีธวัช เช่นกัน ที่มีมุทิตาจิต คือ มีจิตอ่อนโยน ยินดีเมื่อเห็นคนอื่นทำความดี
   ช่วงนี้เข้ามาศึกษาคำสอนของพระอาจารย์ รวมถึงที่คนอื่น ๆ ที่โพสไว้ อ่านแล้วก็ประทับใจ เลยอยากแชร์ส่วนที่ผมศึกษาเองให้คนอื่น ๆ บ้าง แต่ก็แค่บางช่วงที่เจอข้อมูลที่น่าสนใจและอยากบอกต่อ คงไม่ได้มาลงตลอด เหมือนคุณ raponsan กับ ธุลีธวัช และคนอื่น ๆ

 st11 st12 st12
   
   
82  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พระอริยะเขาดูกันอย่างไร? (โดย พระราชพรหมยาน) เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2015, 03:09:57 am
                   


ผู้ถาม       : “ถ้ามีคนเขาบอกว่า หลวงพ่อเป็นพระอรหันต์หลวงพ่อเป็นพระปฏิสัมภิทาญาณ อย่างนี้คนพูดจะบาปไหมครับ...?”

หลวงพ่อ   : “จะบาปอย่างไงล่ะ เป็นเรื่องของเขา เขาคิดในแง่ดี ไม่บาป เขาจะเข้าใจว่าเป็นสุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทาญาณ ไม่ใช่ของชั่วนี่ อารมณ์จิตเป็นกุศลต่างหาก ถ้ามาถามฉัน ฉันบอกเป็น พระหลวงตา เอาที่ไหนมาเป็นอรหันต์ หน้าก็ย่น ตาก็สั้น ไม่เป็นเรื่อง ถ้าหันซ้ายหันขวาล่ะก็ได้

  อย่าไปคิดยังงั้นเลยนะ ถ้านึกอย่างนั้น ถ้าผิดเข้าลำบากที่ว่าลำบากน่ะ ไม่ใช่ตกนรกนะ เรานึกว่าเราพบพระสงฆืเพื่อต้องการธรรมะดีกว่า คือว่าเราศึกษานี่เราศึกษาธรรมะตรงต่อพระพุทธ ไม่ใช่อาตามเป็นพระพุทธเจ้านะ ในเมื่อเรานึกถึงธรรมะเมื่อใดก็ได้ชื่อว่าเรานึกถึงพระพุทธเจ้าเมื่อนั้น ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะพระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ในวันปรินิพานว่า

  “อานนท์ จะเสียใจไปทำไม เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว คำสอนหรือพระธรรมวินัยนี่แหละจะเป็นศาสดาสอนเธอ”


ลูกหลานของหลวงพ่อควรจะจดจำประโยคนี้ไว้ เพราะชีวิตเป็นของไม่แน่นอน

83  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พระอริยะเขาดูกันอย่างไร? (โดย พระราชพรหมยาน) เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2015, 02:54:20 am
                                       

ผู้ถาม       : “แล้วอย่างมีคนเขาถามว่า ควรจะไปไหว้พระองค์ไหนดี เราควรจะแนะนำเขาว่าอย่างไรครับ...?”

หลวงพ่อ   : “ก็ต้องเป็นไปตามศรัทธา เขาศรัทธาที่ไหนไปที่นั่น ปล่อยให้เป็นเรื่องของจิตใจของเขา ถ้าคุณไปขัดคอเขาดีไม่ดีปากคอเยิน”

ผู้ถาม       : “ถ้าเขาถามถึงสำนักปฏิบัติ แล้วให้เลือกเล่าครับ...?”

หลวงพ่อ   : “เราก็เล่าเรื่องประวัติต่าง ๆ เท่าที่เราพอใจให้เลือก เอาจะเอาวัดไหน การปฏิบัตินี้องเป็นไปตามภูมิเดิมหรือภูมิเก่าคือต้องเป็นไปตามสาย สายของใครของมัน และต้องบำเพ็ญบารมีร่วมกันมานับเป็นอสงไขยกัปนะ เขาถึงจะพอใจกัน ถ้าไม่งั้นมีอารมณ์สะกิดหน่อยเดียว เดี๋ยวก็สะดุด เพราะฉะนั้นให้เขาย่อง ๆ ไปดูก่อน เขาชอบที่ไหนก็เลือกที่นั่น อันนี้เป็นความจริงนะ

   อย่างคุณพอใจสำนักใด คุณไปชวนคืนอื่น ถ้าคนอื่นเขาไม่มา คุณไปว่าเขาไม่ดีไม่ได้ เพราะพูดให้เขาฟังรู้เรื่องไม่ได้ คุณฟังอย่างนี้รู้เรื่องแต่เขาไม่รู้ แต่ถ้าเขาไปหาอีกองค์หนึ่งเขาจะพอใจมาก เพราะว่าเป็นสายเดียวกัน อันนี้เป็นเรื่องธรรมดาบางครั้งเราอาจคิดว่า แหม...ไอ้หมอนี่ เดี๋ยวไปที่นี่ เดี๋ยวไปที่โน่น เดี๋ยวไปทีนั่น ที่เขายังต้องไปหลายจุด เพราะยังหาพวกไม่พบ ถ้าเขาหาพวกของเขาพบเมื่อไรก็จอด ดีไม่ดีบางคืนไปหาพระไม่สบายไม่สนุกไปเจอะเจ้าของเหล้า ร้องฮ้อ...ใช้ได้...”


84  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระอริยะเขาดูกันอย่างไร? (โดย พระราชพรหมยาน) เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2015, 02:50:55 am
                   



ผู้ถาม      :  “มีคนเขาถามผมมาอย่างนี้ครับหลวงพ่อ แต่ผมไม่รู้จะตอบเขาว่าอย่างไร เขาถามว่าท่าน (ขอสงวนนาม) เป็นพระอริยะหรือเปล่าครับ…?”

หลวงพ่อ  : “ก็ตอบไม่ยากนี่คุณ ให้ไปถามท่านเองซิ คนอื่นจะรู้เรื่องของตัวเองได้อย่างไรล่ะ มันเป็น ปัจจัตตัง แล้วพระอริยะองค์ไหนท่านจะบอกเป็นอริยะ ไม่มีพระอริยะองค์ไหนบอกตนเองว่าเป็นพระอริยะ และก็ไม่มีพระที่ไม่ใช่พระอริยะองค์ไหนที่ไม่บอกตัวเองว่าเป็นพระอริยะ ใช่ไหม...ไอ้คนมีสตางค์มาก ๆ ทำจ๋อง ไอ้คนไม่ค่อยจะพอค่าก๋วยเตี๋ยวละเบ่ง อันนี้ไปพยากรณ์ไม่ได้หรอก เราจะพยากรณ์เขาได้อย่างไร เราไม่รู้จิตใจเขานี่ ใช่ไหม...

   พระอริยะน่ะเขาดูจริยาไม่ได้ พระอริยะนี่ถ้าดูที่จริยาภายนอกผิดหมด เพราะพระอริยนี่เป็นคนใจเปิด ถ้าเป็นพระอรหันต์เมื่อใดก็ดูเหมือนเด็ก ๆ ตอนเด็ก ๆ หรือก่อนบวชเป็นยังไงท่านจะใช้จริยานั้น เพราะเป็นพระไม่มีการผูกต่อไป จึงไม่มีมายา นิสัยเดิม ๆ เป็นอย่างไรพระอริยะก็ใช้นิสัยนั้น ท่านปล่อยตามสบาย เพราะจิตท่านไม่มีอะไร

   อย่าง พระสารีบุตร ท่านไปกับพระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์ พอถึงลำราง พระองค์อื่น ๆ ค่อย ๆ ย่องไป พระสารีบุตรขัดเขมรโดดแพล้บ นั่นพระอัครสาวกเบื้องขวานะ ภายหลังมีพระถามพระพุทธเจ้าว่า “ทำไมพระอัครสาวกเบื้องขวาจึงขัดเขมรโดด” พระพุทธเจ้าบอก “อย่าไปว่าท่านเลย ลูกตถาคตไม่มีอะรไหรอกก็มาจากลิง”

  ที่นี้ที่คุณถามว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพระองค์นั้นองค์นี้เป็นพระอริยะ ถามคนอื่นมันจะถูกรึ ถ้าหากว่าคุณกินแกง แล้วถามคนอื่นว่า เค็มไหม...เขาจะรู้ไหม...?”

  “เรื่องของความเป็นอริยะ เรื่องของฌานสมาบัติก็เหมือนกัน มันเป็นเรื่องของจิตใจ ในเมื่อท่านไม่บอก เราก็รู้ไม่ได้ ไอ้เรื่องที่จะรู้ได้ต้องเป็นเรื่องของสัพพัญญู แปลว่ารู้ทั้งหมด รู้ทุกอย่างก็มีพระพุทธเจ้าองค์เดียว พระสาวกไม่มีสิทธิ์จะตอบ”


85  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การปฏิบัติธรรมเพื่อออกจากสังสารวัฏ ไม่เคยโรยด้วยกลีบกุหลาบ เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 03:20:07 pm
               


พระราหุลเถระเจ้า: ภิกษุสาวกผู้เลิศด้านใคร่ศึกษา


ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของพระราหุลเถระเจ้า ก่อนที่ท่านจะบรรลุพระอรหันต์ผล


สามเณรราหุลนอนใน วัจกุฎี (ห้องสุขา)

   สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เมืองอาฬวี พวกอุบาสกเข้ามาสู่อารามเพื่อฟังธรรมจากภิกษุธรรมกถึก ฟังจบแล้วเห็นว่ามืดค่ำแล้ว จึงนอนร่วมกับภิกษุใหม่ในศาลาฟังธรรมนั้น

   ตกดึก พวกภิกษุบวชใหม่นอนละเมอ ไม่มีสติ ไม่รู้สึกตัว จีวรหลุดบ้าง นอนกรนบ้าง พวกอุบาสกที่นอนร่วมกับภิกษุบวชใหม่ เห็นแล้วเพ่งโทษติเตียน

   วันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้ยินแล้วกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ ทรงสอบถามแล้วทรงติเตียน ทรงมีพระบัญญัติห้ามภิกษุนอนร่วมกับอนุสัมปัน (ผู้ที่มิได้เป็นภิกษุได้แก่ สามเณร สามเณรี และคฤหัสถ์ทั่วไป เป็นต้น) ภิกษุใดนอนเป็นอาบัติปาจิตตีย์

   กาลต่อมา พระพุทธเจ้าเสด็จออกจากเมืองอาฬวีไปพระนครโกสัมพี ประทับอยู่ ณ พทริการาม สามเณรราหุลก็ตามเสด็จไปด้วย ถึงเวลาจะนอนพวกภิกษุได้กล่าวกับสามเณรราหุลว่า... “อาวุโสราหุล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ภิกษุไม่พึงสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน ท่านจงรู้สถานที่ ๆ ควรนอนเถิด”

   คืนนั้น สามเณรราหุลหาที่นอนไม่ได้ จึงไปนอนในวัจกุฏิ (ห้องสุขา) ถึงใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าทรงตื่นบรรทมแล้วเสด็จไปวัจกุฏิ ทรงกระแอมขึ้น สามเณรก็กระแอมรับ

   ตรัสถามว่า “ใครอยู่ในนั้น?” ทูลว่า “ข้าพระเจ้าราหุล พระเจ้าข้า”

   ตรัสถามว่า “ทำไมเธอมานอนในที่นี้?” สามเณรจึงกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ


   ต่อมา พระพุทธเจ้าทรงปรารภถึงเรื่องนี้ แล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ...

  “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนอนรวมที่เดียวกันกับอนุสัมปันได้ ๒-๓ คืน” (เกินกว่านั้นเป็นอาบัติปาจิตตีย์) คือ ทรงผ่อนให้เบาเพื่อสงเคราะห์พวกสามเณร

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์]
๑.มุสาวาทวรรค ๕.สหเสยยสิกขาบท พระบัญญัติ


ถ้าเราต้องนอนในห้องน้ำ ห้องส้วม ที่บ้านหรือที่วัด เราจะรู้สึกอย่างไร?

  แต่เนื่องด้วย สามเณราหุล มีความเคารพในสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ ความเคารพในพระพุทธเจ้า และเพราะท่านเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ท่านจึงไม่ได้โต้แย้งอะไร ได้หลบเข้าไปนอนในวัจกุฏิ




ขอบคุณภาพประกอบจาก : http://www.phutthathum.com/
86  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การปฏิบัติธรรมเพื่อออกจากสังสารวัฏ (อัปเดต ๒๐ กรกฏาคม ๒๕๕๘) เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 03:14:38 pm
                         


   เนื่องด้วยการปฏิบัติธรรมในสมัยนี้มีอุปสรรคมากมายหลายประการ เป็นเครื่องบั่นทอน ศรัทธาและวิริยะ ต่อผู้ปฏิบัตธรรม ทั้งผู้ปรารถนา พุทธภูมิ และสาวกภูมิ ผมจึงลองค้นคว้าในพระไตรปิฎกพบว่า แม้ในครั้งพุทธกาล พระสงฆ์สาวกก็มิได้ไร้อุปสรรคเสียทีเดียว หลาย ๆ กรณีก็ไม่ต่างจากที่เราพบในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างกำลังใจในการปฏิบัติธรรม

ผมขอเชิญชวน

   ท่านสหธรรมิก แสดงมุทิตาจิตแด่พระสงฆ์สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งพุทธกาล โดยการโพสข้อความจากพระไตรปิฎก ที่แสดงถึง ศรัทธาและวิริยะ ของบรรดาพระอริยะสงฆ์เจ้า ที่ท่านฟันฝ่าอุปสรรคนานา ๆ ประการ เพื่อออกจากสังสารวัฏ

ข้อความที่โพสนั้นอาจมีลักษณะดังนี้

๑.   พระสงฆ์สาวกกำลังบำเพ็ญเพียร เพื่อการบรรลุมรรคผล ในระหว่างนั้นท่านประสบกับ ปัญหา อุปสรรค ตกระกำลำบาก ท้อแท้ใจ กลัดกลุ้มใจ เป็นต้น แต่ท่านสามารถรักษา ศรัทธาและวิริยะต่อไปเพื่อมรรค ผล นิพพาน

๒.   พระสงฆ์สาวกบรรลุมรรคผลแล้ว กำลังเผยแผ่พระพุทธศาสนา แม้ว่าท่านบรรลุมรรคผลแล้ว บรรลุคุณธรรมอันประเสริฐแล้ว ก็ไม่พ้นจากการถูกนินทา ติเตียน กลั่นแกล้ง อาฆาตมาดร้ายจากผู้อื่น เป็นต้น แต่ท่านก็ไม่ละความพยายามในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

๓.   ข้อความอื่นๆ ที่แสดงถึง ศรัทธาและวิริยะ ของพระสงฆ์สาวก


ขอบคุณภาพประกอบจาก: http://www.dhammajak.net/



   "สหธรรมิกท่านใดปรารถนา พุทธภูมิ เสียสละเวลาที่จะอยู่กับกามคุณ ๕ ค้นคว้าธรรมะในพระไตรปิฎก มาลงในกระทู้นี้หรือกระทู้อื่นก็ตาม หรือแม้แต่เสียสละเวลามาอ่านกระทู้นี้หรือกระทู้อื่นก็ตาม ขอกุศลที่ทำไว้นี้ส่งผลให้บารมี ๑๐ มีเนกขัมมบารมี เป็นต้น เต็มโดยเร็วไว"

   "สหธรรมิกท่านใดปรารถนา สาวกภูมิ เสียสละเวลาที่จะอยู่กับกามคุณ ๕ ค้นคว้าธรรมะในพระไตรปิฎก มาลงในกระทู้นี้หรือกระทู้อื่นก็ตาม หรือแม้แต่เสียสละเวลามาอ่านกระทู้นี้หรือกระทู้อื่นก็ตาม ขอกุศลที่ทำไว้นี้ ทำให้อุปสรรคในการปฏิบัติธรรมเบาบางลง บรรเทาลง ส่งผลให้เข้าถึงธรรม มีพระโสดาบัน เป็นต้น โดยเร็วไว"


 st11 st12 st12

87  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: จุดเริ่มต้น การประกาศพุทธศาสนา ครั้งแรก นั้นเริ่มด้วย พระอรหันต์ 61 รูป เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 11:54:54 am
 st11 st12 st12
88  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์ เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 10:01:33 am
 st11 st12 st12
89  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: คุณธรรม ที่ทุกคนควรจะตั้งใว้ประจำตัว เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 09:39:34 am
 st11 st12 st12
90  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์ เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 01:56:09 am
(๒/๙)
ธาตุ ๔
   ธาตุ ๔ เป็นวัตถุเป็นที่ตั้งมูลฐานของสิ่งทั้งปวง แม้แต่ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นนิยยานิกธรรม อันจะดำเนินให้ถึงวิมุตติ ก็จะหนีจากธาตุสี่นี้ไปไม่ได้ แต่ธาตุ ๔ เป็นวัตถุธาตุล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับนามธรรมใด ๆ เลย ท่านจำแนกออกเป็นกอง ๆ ตามลักษณะของธาตุนั้น ๆ เช่น

ธาตุดิน
   สิ่งที่มีอยู่ในกายนี้มีลักษณะข้นแข็ง ท่านเรียกว่าธาตุดิน มี ๑๘ อย่าง คือ ผม ๑ ขน ๑ เล็บ ๑ ฟัน ๑ หนัง ๑ เนื้อ ๑ เอ็น ๑ กระดูก ๑ เยื้อในกระดูก ๑ ม้าม ๑ เนื้อหัวใจ ๑ ตับ ๑ พังผืด ๑ ไต ๑ ปอด ๑ ไส้ใหญ่ ๑ ไส้น้อย ๑ อาหารใหม่ ๑ อาหารเก่า ๑ (ถ้าจะเติมกะโหลกศีรษะ และมันสมองศีรษเข้าด้วยกันก็เป็น ๒๐ พอดี แต่ที่ท่านไม่เติมเพราะไปตรงกับกระดูกและเยื่อในกระดูก จึงยังคงเหลือ ๑๘)     

ธาตุน้ำ
    สิ่งใดที่มีลักษณะเหลว ๆ ท่านเรียกว่าธาตุน้ำ มี ๑๒ คือ น้ำดี ๑ น้ำเสลด ๑ น้ำเหลือง ๑ น้ำเลือด ๑ น้ำเหงื่อ ๑ น้ำมันข้น ๑ น้ำมันเหลว ๑ น้ำลาย ๑ น้ำมูก ๑ น้ำมันไขข้อ ๑ น้ำมูตร ๑

ธาตุไฟ
   สิ่งใดที่มีลักษณะอบอุ่น ท่านเรียกว่าธาตุไฟ มี ๔ คือ ไฟทำกายให้อบอุ่น ๑ ไฟทำกายให้ทรุดโทรม ๑ ไฟช่วยเผาอาหารให้ย่อย ๑ ไฟทำความกระวนกระวายให้แก่ร่างกาย ๑

ธาตุลม
   สิ่งใดที่มีลักษณะพัดไปพัดมาอยู่ในร่างกายนี้ สิ่งนั้นท่านเรียกว่าธาตุลมมี ๖ คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบนทำให้มึนง่วงเหงาหาวนอน ๑ ลมพัดลงเบื้องล่างทำให้ระบายผายลม ๑ ลมในท้องทำให้ปวดเจ็บท้อง ท้องขึ้นท้องเฟ้อ ๑ ลมในลำไส้ทำให้โครกครากคลื่นเหียนอาเจียน ๑ ลมพัดไปตามตัวทำให้กายเบาและกายละมุนละไม ขับไล่เลือดและโอชาของอาหารที่บริโภคเข้าไปให้กระจายซึบซาบไปทั่วสรรพางค์กาย ๑ ลมระบายหายใจเข้าออกเพื่อยังชีวิตของสัตว์ให้เป็นอยู่ ๑ หรือจะรวมเอาอากาศธาตุคือช่องว่างที่มีอยู่ในตัวของเรา เช่น ช่องปาก ช่องจมูก เป็นต้น เข้าด้วยกันก็ได้ แต่อากาศธาตุก็เป็นลมชนิดหนึ่งอยู่แล้ว จึงสงเคราะห์เข้าในธาตุลมด้วย วิญญาณธาตุก็อยู่ในนามธรรมอยู่แล้ว ในที่นี้ประสงค์จะแสดงวัตถุธาตุล้วน ๆ จึงไม่เกี่ยวกับวิญญาณธาตุมนุษย์ทั้งหลายที่เรา ๆ ท่าน ๆ ได้เห็นกันอยู่นี้ ถ้าจะพูดตามเป็นจริงแล้ว มันก็เป็นแต่สักว่าก้อนธาตุมารวมกันเข้าเป็นก้อนหนึ่ง ๆ เท่านั้น

   มนุษย์เราพากันสมมติ เรียกเอาตามความชอบใจของตนว่านั่นเป็นคน นั่นเป็นสัตว์ เป็นนั่นเป็นนี่ต่าง ๆ นานาไป แต่ก้อนธาตุนั้นมันก็หาได้รู้สึกอะไรตามสมมติของคนไม่ มันมีสภาพเป็นอยู่อย่างไร ก็เป็นอยู่อย่างนั้นตามเดิม สมมติว่าหญิง ว่าชาย ว่าหนุ่ม ว่าแก่ ว่าสวย ไม่สวย ก้อนธาตุอันนั้นก็ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย หน้าที่ของมันเมื่อมาประชุมกันเข้าเป็นก้อนแล้ว อยู่ได้ชั่วขณะหนึ่ง แล้วมันก็แปรไปตามสภาพของมัน ผลที่สุดมันก็แตกสลาย แยกกันไปอยู่ตามสภาพเดิมของมันเท่านั้นเอง ใจของคนเราต่างหากเมื่อเกิดไม่เข้าใจตามเป็นจริงแล้ว ก็ไปสมมติว่าเป็นคน เป็นหญิง เป็นชาย สวย ไม่สวย สวยก็ชอบใจรักใคร่ อยากได้มาเป็นของตน ไม่สวยก็เกลียดเหยียดหยามดูถูก ไม่ชอบใจ ไม่อยากได้อยากเห็น ใจไปสมมติเอาเองแล้วก็ไปติดสมมติของตัวเอง เพิ่มพูนกิเลสซึ่งมันหนักหมมอยู่แล้วให้หนาแน่นขึ้นอีก กิเลสอันเกิดจาความหลงเข้าใจผิดนี้ ถ้ามีอยู่ในจิตสันดานของบุคคลใดแล้ว ย่อมทำให้บุคคลนั้นตลอดโลกวุ่นวายเดือดร้อนมากและน้อย ตามกำลังของมันแล้วแต่มันจะบันดาลให้เป็นไป

   ความจริงธาตุ ๔ นับเป็นธาตุล้วน ๆ มิได้ไปก่อกรรมทำเข็ญให้ใครเกิดกิเลส หลงรัก หลงชอบเลย ถึงก้อนธาตุจะขาว จะดำ สวย ไม่สวย มันก็มีอยู่ทั่วโลกแล้วก็มีมาตั้งแต่โลกโน่น ทำไมคนเราพึ่งเกิดมาชั่วระยะไม่กี่สิบปี จึงมาหลงตื่นหนักหนาจนทำให้สังคมวุ่นวายไม่ทราบว่าอะไรเป็นอะไร มืดมนยิ่งกว่ากลางคืน ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายผู้ทรงมีพระประสงค์ความสันติสุขของโลก จึงทรงจำแนกสมมติที่เขาหล่านั้นพากันหลงติดอยู่เหมือนลิงติดตัง ออกจากสมมติให้เห็นว่าสักแต่เป็นธาตุ ๔ ดังจำแนกมาแล้วข้างต้น หรือจะเรียกว่าพระองค์ทรงบัญญัติให้เห็น เป็นไปตามสภาพเดิม เพื่อให้เขาเหล่านั้นที่หลงติดอยู่แล้วให้ค่อย ๆ จากออกจากสมมติแล้วจะเห็นสภาพของจริง บัญญัตินี้ไม่เป็นตนเป็นตัว เป็นสภาพธรรมอันหนึ่ง แล้วบัญญัติเรียกชื่อเป็นเครื่องหมายใช้ชั่วคราวเท่านั้น ถ้าผู้มาพิจารณาเห็นกายก้อนนี้เป็นสักแต่ว่าธาตุ ๔ แล้ว จะไม่หลงเข้าไปยึดเอาก้อนธาตุมาเป็นอัตตาเลย อันเป็นเหตุให้เกิดกิเลสหยาบช้า ฆ่าฟันกันล้มตายอยู่อย่างทุกวันนี้ ก็เนื่องมาจากความหลงเข้าไปยึดก้อนธาตุว่า เป็นอัตตาอย่างเดียว

    ธาตุ ๔ เมื่อผู้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว จะเห็นว่าธาตุสักแต่ว่าเป็นธาตุ มันมีสภาพเป็นอยู่อย่างไร มันก็เป็นอยู่อย่างนั้นตามสภาพของมัน ธาตุมิได้ก่อกวนให้ใครเกิดกิเลส ความรัก และความชัง หรือโลภ โกรธ หลง อะไรเลย ใจของคนเราก็เป็นธาตุเหมือนกันเรียกว่า มโนธาตุ หากผู้พิจารณาให้เห็นสิ่งทั้งปวงเป็นสักแต่ว่า ธาตุ คือเห็นธาตุภายใน (คือก้อนธาตุนี้) และธาตุภายนอก (คือ นอกจากกายของเรา) และมโนธาตุ (คือ ใจ) ตามความเป็นจริงแล้ว ความสงบสุขก็จะเกิดมีแก่เหล่าประชาสัตว์ทั่วหน้ากัน สมตามพุทธประสงค์ที่พระพุทธองค์ตั้งปณิธานไว้ทุกประการ

91  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เรียนถาม คุณ raponson และ คุณ ธุลีธวัช ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2015, 12:51:00 am
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7514.0

 st11 st12 st12
92  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์ (โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 11:44:51 pm
                                   

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส
เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ


ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์

    ธรรมบรรยายที่จะแสดงต่อไปนี้ เป็นธรรมที่มีอยู่ในตัวของพวกเราท่านทั้งหลายแล้วทุกคน แต่โดยมากพวกเราไม่ค่อยจะสนใจโดยเข้าใจว่า ธรรมคือ ตำราที่ท่านจารึกเป็นอักษรไว้ในหนังสือหรือคัมภีร์ต่างๆ หากไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนในนั้นแล้วจะไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ได้ ไม่เข้าถึงธรรมดังนี้ เป็นต้น

    หรือบางท่านก็จะเข้าใจไปเสียว่าธรรมนั้นเราศึกษาเล่าเรียนไว้ให้มากๆ แล้ว ได้โอกาสจึงปฏิบัติเอา เหมือนกับเราหาทรัพย์ไว้ให้มากๆ แล้วจึงนั่งกินนอนกิน ดังนี้ก็มี หรือมิฉะนั้นเราก็เห็นไปว่า ธรรมเป็นเรื่องของพระที่อยู่ในวัด มิใช่เรื่องของฆราวาส หรือธรรมเป็นของสูงเหลือวิสัยที่จะปฏิบัติได้ หรือเห็นว่าเป็นของล้าสมัยไปเสียแล้ว ฯลฯ

    ขอโทษท่านผู้อ่านทั้งหลาย ความเข้าใจทั้งหมดดังที่ว่ามานั้น ยังไม่ตรงกับความจริง และถูกต้องตามประสงค์ของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง แต่มันไปถูกตามพระประสงค์ของพระเจ้าของเรา (คือ กิเลส) ข้อเท็จจริงถ้าท่านสนใจสักหน่อย ขอกรุณาได้ติดตามธรรมบรรยาย ที่ข้าพเจ้าจะแสดงต่อไปนี้

    อาจพบธรรมว่ามีอยู่พร้อมในตัวของเรานี้แล้ว ไม่ต้องหาธรรมที่อื่นและเห็นหรือได้หรือเข้าถึงที่อื่นเลย ลงมือพิจารณาคิดค้นได้แล้ว มิใช่เรื่องของใครทั้งหมดแต่มันเป็นของแต่ละบุคคลจะต้องพิจารณาให้รู้ให้เข้าใจ เห็นด้วยปัญญาอันชอบของตนเองเท่านั้น เป็นของไม่สูง ไม่ต่ำ ไม่นอก ไม่ใน ไม่ลึก ไม่ตื้น ไม่หยาบ ไม่ละเอียด พอดีๆ แก่นิสัย วาสนาของตนๆ ซึ่งบุญกรรมตกแต่งมาให้ไว้เป็นสมบัติของแต่ละบุคคลเพื่อให้มาใช้ มาดู มารู้ มาเห็น อันจะเป็นประโยชน์แก่ตัวของตัวเอง เมื่อพากันเข้าใจอย่างนี้แล้ว ขอเชิญตรวจดูบรรยายธรรมต่อไปได้เลย


93  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คุณธรรม ที่ทุกคนควรจะตั้งใว้ประจำตัว (พระราชดำรัสในหลวงฯ) เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 10:16:15 pm
                 


     ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


   
"...คุณธรรม ที่ทุกคนควรจะตั้งไว้ประจำตัวประจำใจให้มั่นเสมอประการหนึ่ง
         
      ก็คือการรู้จักคิด พิจารณาให้จนกระจ่างชัด


ไม่ว่าจะพิจารณาเรื่องราว ปัญหา สถานการณ์ หรือแม้บุคคลใดๆ ก็ตาม
           
     ก็พยายามพิจารณาด้วยจิตใจที่มั่นคงเป็นกลาง


ไม่หวั่นไม่สะเทือนด้วยอคติ เพื่อจิตใจที่มั่นคงเป็นกลางนั้น
     
    จักได้ประคับประครองความคิดความเห็นให้พุ่งตรงเข้าสู่สาระ


คือแก่นและความสำคัญของเรื่อง ทั้งจับเหตุจับผลของเรื่องนั้นๆ

    ซึ่งเกี่ยวเนื่องถึงกันและกันเป็นกระบวนการได้ทั้งหมดทุกขั้นตอน


ทำให้ความรู้ ความเห็นในเรื่องที่พิจารณากระจ่างแจ่มแจ้ง
   
    และสามารถจำแนกแจกแจง ประเด็นได้โดยถูกต้องแม่นยำ


ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว

   สิ่งใดควรทำไม่ควรทำ อย่างไร เพียงใด.


การทำความรู้ความคิดให้แจ้งนี้คือ ปัญญา
   
   ซึ่งมีอุปการะแก่การปฏิบัติตัว ปฏิบัติงานเป็นอันมาก


เพราะเป็นปัจจัยสร้างสรรค์ความดีความเจริญทุกอย่างได้อย่างวิเศษสุด..."

94  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่นานหรือไม่นาน เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 07:33:28 pm
   นวังคสัตถุศาสน์ (อ่านว่า นะวังคะสัดถุสาด แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ ) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ ๙ อย่าง คือ

๑.   สุตตะ ได้แก่ พระสูตร และพระวินัย
๒.   เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาผสม
๓.   เวยยากรณะ ได้แก่ ข้อความร้อยแก้วล้วนๆ เช่น พระอภิธรรมปิฎก
๔.   คาถา ได้แก่ ข้อความร้อยกรองที่เป็นคาถาล้วนๆ เช่น ธรรมบท เถรคาถา
๕.   อุทาน ได้แก่ ข้อความที่เป็นพุทธอุทาน
๖.   อิติวุตตกะ ได้แก่ ข้อความที่ตรัสอุเทศแล้วแสดงนิเทศจบลงด้วยบทสรุป (นิคม)
๗.   ชาตกะ ได้แก่ ชาดกทั้งหมด
๘.   อัพภูติธรรม ได้แก่ พระสูตรว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ
๙.   เวทัลละ ได้แก่ ข้อความที่ถามตอบกันไปมา
95  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่นานหรือไม่นาน เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 07:20:58 pm
                   


(๒/๓)

   อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าเหล่านั้นไม่ทรงผ่อนคลายที่จะกำหนดจิตของสาวก ด้วยพระทัยแล้วทรงสั่งสอน  สารีบุตร  เรื่องเคยเกิดขึ้นแล้ว  พระพุทธเจ้าเวสสภู  ทรงกำหนดจิตภิกษุสงฆ์แล้วทรงสั่งสอนภิกษุสงฆ์  ๑,๐๐๐  รูป  ในราวป่าน่าสะพึงกลัวแห่งหนึ่งว่า  “เธอทั้งหลายจงพิจารณาเช่นนี้  อย่าพิจารณาอย่างนั้น  จงตั้งใจอย่างนี้ อย่าตั้งใจอย่างนั้น  จงละสิ่งนี้  จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด”  จิตของภิกษุ  ๑,๐๐๐  รูป  ที่พระพุทธเจ้าเวสสภูทรงสั่งสอน  หลุดพ้นจากอาสวะ  เพราะไม่มีความถือมั่น  สารีบุตร เพราะราวป่าน่าสะพึงกลัว  น่าสยดสยอง  จึงมีเรื่องดังนี้  คือ  ภิกษุผู้ไม่ปราศจากราคะ  เข้าไปราวป่า  ส่วนมากเกิดความกลัวขนลุกขนพอง

       สารีบุตร  นี้คือเหตุปัจจัยที่ทำให้พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้าวิปัสสี  พระพุทธเจ้าสิขี  พระพุทธเจ้าเวสสภูดำรงอยู่ไม่นาน”


      “อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ และ พระพุทธเจ้ากัสสปะดำรงอยู่นาน พระพุทธเจ้าข้า”

      “สารีบุตร พระพุทธเจ้ากกุสันธะ พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ และพระพุทธเจ้ากัสสปะ  ไม่ทรงผ่อนคลายที่จะทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวก  สุตตะ  เคยยะ เวยยากรณะ  คาถา  อุทาน  อิติวุตตกะ  ชาดก  อัพภูตธรรม  เวทัลละของพระพุทธเจ้า  ๓ พระองค์จึงมีมาก  ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แก่สาวก  มีการแสดงปาติโมกข์  เมื่อหมดพระพุทธเจ้าและสาวกผู้ตรัสรู้ตามแล้ว  สาวกชั้นหลังๆ  ต่างชื่อ  ต่างโคตร  ต่างชาติวรรณะ  ได้เข้ามาบวชจากต่างตระกูล  เธอเหล่านั้นพาให้พรหมจรรย์ดำรงอยู่นานเหมือนดอกไม้นานาพรรณกองอยู่บนแผ่นกระดานเอาด้ายร้อยไว้  ย่อมไม่ถูกลมพัดกระจัดกระจายไป  เพราะเหตุไร  เพราะเอาด้ายร้อยไว้  ข้อนี้ฉันใด  เมื่อหมดพระพุทธเจ้าและสาวกผู้ตรัสรู้ตามแล้ว  สาวกชั้นหลังๆ  ต่างชื่อ  ต่างโคตร  ต่างชาติวรรณะ  ได้เข้ามาบวชจากต่างตระกูล  เธอเหล่านั้นพาให้พรหมจรรย์ดำรงอยู่นานฉันนั้น

      สารีบุตร  นี้คือเหตุปัจจัยที่ทำให้พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ  พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ  และพระพุทธเจ้ากัสสปะ  ดำรงอยู่นาน”

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://chat2556.nanacity.com/rsarahabusa.htm
96  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่นานหรือไม่นาน เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2015, 07:14:17 pm
 st11 st12 st12
97  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่นานหรือไม่นาน (๒๑/๗/๕๘) เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2015, 09:55:31 pm
                                         


(๑/๓)

พระสารีบุตรทูลถามถึงเหตุที่ทำให้พรหมจรรย์ (พระศาสนา) ดำรงอยู่นานและไม่นาน

ครั้งนั้น  ท่านพระสารีบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด  รำพึงขึ้นมาอย่างนี้ว่า
   “พรหมจรรย์ (พระศาสนา) ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่ไม่นาน ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน” 

ครั้นเวลาเย็นจึงออกจากที่พักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ  ที่สมควร  ท่านพระสารีบุตรผู้นั่งอยู่  ณ  ที่สมควรแล้ว  ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า 
  “พระพุทธเจ้าข้า  เมื่อข้าพระองค์หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด  ได้เกิดความรำพึงขึ้นมาอย่างนี้ว่า  ‘พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่ไม่นาน  ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน’  พระพุทธเจ้าข้า”

พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า 
   “สารีบุตร  พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้าวิปัสสี พระพุทธเจ้าสิขี  พระพุทธเจ้าเวสสภู  ดำรงอยู่ไม่นาน  พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้ากกุสันธะ  พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ  และพระพุทธเจ้ากัสสปะ  ดำรงอยู่นาน”

“อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้พรหมจรรย์ของพระพุทธเจ้าวิปัสสี พระพุทธเจ้าสิขี  และพระพุทธเจ้าเวสสภู  ดำรงอยู่ไม่นาน  พระพุทธเจ้าข้า”

   “สารีบุตร  พระพุทธเจ้าวิปัสสี  พระพุทธเจ้าสิขี  พระพุทธเจ้าเวสสภู  ทรงผ่อนคลายที่จะแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวก  สุตตะ  เคยยะ  เวยยากรณะ  คาถา  อุทาน อิติวุตตกะ  ชาดก  อัพภูตธรรม  เวทัลละ (รวมเรียกว่า  “นวังคสัตถุศาสน์)  ของพระพุทธเจ้าทั้ง  ๓  พระองค์จึงมีน้อย มิได้ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แก่สาวก  ไม่มีการแสดงปาติโมกข์  เมื่อหมดพระพุทธเจ้าและสาวกผู้ตรัสรู้ตามแล้ว  สาวกชั้นหลัง ๆ  ต่างชื่อ  ต่างโคตร  ต่างชาติวรรณะ  ได้เข้ามาบวชจากต่างตระกูล  เธอเหล่านั้นพาให้พรหมจรรย์สูญสิ้นไปเร็วพลัน  เหมือนดอกไม้นานาพรรณกองอยู่บนแผ่นกระดาน  ยังไม่ร้อยด้วยด้าย  ย่อมถูกลมพัดกระจัดกระจายไป  เพราะเหตุไร  เพราะไม่ได้เอาด้ายร้อยไว้  ข้อนี้ฉันใด  เมื่อหมดพระพุทธเจ้าและสาวกผู้ตรัสรู้ตามแล้ว  สาวกชั้นหลังๆ  ต่างชื่อ  ต่างโคตร  ต่างชาติวรรณะ  ได้เข้ามาบวชจากต่างตระกูล  เธอเหล่านั้นพาให้พรหมจรรย์สูญสิ้นไปเร็วพลันฉันนั้น

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.jetovimut.com/
98  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พุทธวิธีที่ดีที่สุด คือ ทำได้ดั่งที่สอนคนอื่น เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2015, 08:33:14 pm
 st12 st12 st12
99  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การบำรุงบิดามารดา เป็นหนึ่งใน มงคล อันสูงสุด เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2015, 08:31:11 pm
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว

     ได้แก่ บุคคลเหล่านี้คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงบุรุษได้ ๘ บุรุษ นั่นแหละพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
เป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
100  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: สุดตื่นตา พบ "ทองคำม้วน" กว่า 2 พันชิ้น ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2015, 08:01:53 pm
 like1
101  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การบำรุงบิดามารดา เป็นหนึ่งใน มงคล อันสูงสุด เมื่อ: กรกฎาคม 14, 2015, 10:59:50 pm


      ความกตัญญูรู้คุณของพระสารีบุตร คือ การไปตอบแทนคุณมารดาด้วยการกลับไปนิพพาน ณ ห้องที่ท่านเกิดที่บ้านของท่าน ตอนแรกที่นางสารีพราหมณีทราบว่าพระลูกชายกลับมาบ้าน โดยนางไม่รู้ว่าพระสารีบุตรมีความต้องการจะตอบแทนคุณมารดาด้วยการเทศนาธรรม และนางไม่เชื่อว่าพระลูกชายเป็นพระอรหันต์
     เมื่อพระสารีบุตรพร้อมด้วยพระจุนทะพระน้องชายพร้อมบริวารเข้าไปในสถานที่ที่โยมมารดาให้คนจัดให้ตามประสงค์แล้วตกดึกพระสารีบุตรก็ป่วยด้วยโรคปักขันทิกาพาท(ถ่ายจนเป็นเลือด)อย่างปัจจุบันทันด่วน ท่านได้รับทุกขเวทนาอย่างมากพระจุนทะและบริวารช่วยกันดูแลอย่างใกล้ชิดฝ่ายมารดาเห็นว่าท่านอาพาธหนักถึงเข้ามาดูอาการด้วยความห่วงใย
     ขณะนั้นเทวดาองค์สำคัญๆ ต่างมาเยี่ยมอาการป่วยของท่านตามลำดับคือ ท้าวมหาราชทั้งสี่ ได้แก่ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์ ท้าววิรุฬหก และท้าวเวสสุวัน ผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์ )ผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสุยามผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นยามา ท้าวสันดุสิตผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดุสิต ท้าวสุนิมมิตผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นนิมมานรดีและท้าวปรนิมมิตวสวัตดี เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดีรวมทั้งท้าวมหาพรหมแห่งพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ก็ได้มาเยี่ยมอาการป่วยของท่านด้วย เทวดาและท้าวมหาพรหมแต่ละองค์นั้นล้วนมัศมีกายเปล่งปลั่งงดงาม ต่างพามาเยี่ยมอาการป่วยของท่านด้วยความเป็นห่วงและเคารพยิ่ง
     นางสารีเห็นเหตุการณ์นั้นตลอด เมื่ออาการของพระเถระค่อยบรรเทาลง นางได้เข้าไปหาแล้วสนทนาด้วย โดยได้ถามถึงเทวดาองค์สำคัญๆ ที่มาเยี่ยมซึ่งนางไม่ทราบว่าเป็นใคร ท่านได้บอกให้โยมมารดาทราบตามลำดับจนกระทั่งถึงท้าวมหาพรหม

“อุปติสสะ” โยมมารดาเรียกชื่อเดิมของท่านด้วยความอัศจรรย์ใจ “นี่ลูกของแม่ใหญ่กว่าท้าวมหาพรหมอีกหรือ”
“ใช่...โยมแม่” ท่านตอบรับ ทันใดนั้นโยมแม่ก็เกิดปีติอย่างใหญ่หลวง สีหน้าอิ่มเอิบเมื่อได้ทราบว่าพระลูกชายยิ่งใหญ่กว่าท้าวมหาพรหมที่ตนเคารพ

“อุปติสสะลูกชายเรายิ่งใหญ่ขนาดนี้แล้วพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดาของลูกชายเราเล่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหน” นางนางสารีคิดไปถึงพระพุทธเจ้า
    พระสารีบุตรสังเกตดูโยมมารดาตลอดเวลา เมื่อเห็นจิตจิตใจเริ่มอ่อนโยนเหมาะจะรับน้ำย้อม คือ คำสอนทางพระพุทธศาสนาได้ จึงเริ่มแสดงธรรมโปรดโดยพรรณนาถึงพระพุทธคุณนานาประการ อาทิ พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์ห่างไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง โยมมารดาฟังแล้วเลื่อมใสยิ่งนักเมื่อจบฟังธรรมเทศนานางก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล พระเถระได้ตอบแทนคุณโยมมารดาด้วยการตอบแทนที่ล้ำค่า คือให้พ้นความเห็นผิดที่มีมานานเสียได้ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญเช่นนั้น


อ้างอิงจาก: ธรรมะไทย (www.dhammathai.org)
102  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เรียนถาม คุณ raponson และ คุณ ธุลีธวัช ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2015, 03:25:02 pm
             

    ถ้าเราบอกตัวเองว่ามีความเคารพและนับถืบ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เราก็ควรมีศรัทธาว่า พระไตรปิฏก เป็นของจริง เป็นพระธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดมาจากเมื่อครั้งพุทธกาลจริง 

    ในพระไตรปิฏกก็มีการกล่าวถึงการแสดงฤทธิ์ การแสดงพุทธปาฏิหาริย์ และญาณต่างๆ เช่น ปุพเพนิวาสานุสติญาณ เป็นต้น อยู่หลายครั้ง แล้วมีเหตุผลอะไรที่เราจะปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ เพียงเพราะว่าเราไร้ความสามารถที่จะทำให้เกิดได้ หรือไม่พบครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติได้

    อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์ มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน ต่อการปฏิบัติเพื่อละกิเลส เพื่อพระนิพพาน

    ถ้าเราศึกษาพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าเอง ก็ทรงใช้ฤทธิ์เพื่อเจริญศรัทธาของคนบางคน บางกลุ่ม บางพวก เพื่อให้คนเหล่านั้น มีศรัทธาตั้งมั่น พร้อมจะฟังธรรมที่พระองค์ตรัสเทศน์ต่อไป เพื่อการบรรลุมรรค ผลของพุทธบริษัท แต่สำหรับบุคคลบางคน บางกลุ่ม บางพวก ที่มีปัญญามาก หรือมีศรัทธาตั้งมั่นดีแล้ว พระองค์ทรงตรัส เทศน์ สอน ก็ปรากฎผล ให้ผู้ฟังธรรม บรรลุมรรค ผล เช่นกัน
 

103  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เรียนถาม คุณ raponson และ คุณ ธุลีธวัช ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2015, 02:29:59 am
เรียน ท่าน nirvanar
  ผมขออนุญาต แสดงความเห็นของผม เนื่องจากผมเองได้รู้จักกับพระอาจารย์มาหลายปีแล้ว และได้พบสนทนากับท่านหลายครั้งเช่นกัน ความเห็นของผมอาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้าง ไม่มากก็น้อย ในส่วนที่ท่าน nirvanar สงสัย
1. จากประสบการณ์ผม ผมไม่เคยเห็นพระอาจารย์แสดงฤทธิ์ให้ดูเลยครับ แม้แต่พูดถึงเรื่องฤทธิ์ว่าท่านทำอะไรได้บ้าง ผมก็ไม่เคยไม่ยินจากปากของท่านครับ และก็ไม่เคยเห็นท่านจะสนใจอะไรเรื่องฤทธิ์เป็นพิเศษนะครับ
2. เรื่องการอ่านใจ ผมก็บอกไม่ได้ ว่าท่านจะมีความสามารถด้านนี้หรือไม่ แต่ผมเองเคยมีประสบการณ์ที่พระอาจารย์พูดตรงกับที่ใจผมคิด หรือพูดดักในจุดที่ผมกำลังจะถามหรือสงสัยอยู่ เรื่องนี้เกิดขึ้นกับผมจริงครับ ไม่ใช่แค่ครั้งเดียว แต่เคยเกิดขึ้นหลายครั้ง สำหรับผมเรื่องนี้ก็ว่าไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร คนธรรมดาก็ทำได้ คนทั่วไปก็ทำได้ ก็แค่ตั้งใจฟังในสิ่งที่คู่สนทนาของเราพูดอยู่ก็อาจจะพอเดาใจได้บ้าง แต่สำหรับผม เรื่องนี้ผมก็ไม่ได้คิดว่าท่านมีฤทธิ์อะไร แค่คิดว่าเป็นเรื่องดีที่ท่านพูดตรงกับส่วนที่เราสงสัย
3. ที่ผมติดตามสนทนากับพระอาจารย์สนธยา มาหลายปี รวมถึงทำบุญกับท่านเป็นครั้งคราว ก็ไม่ได้คิดว่าเพราะท่านมีฤทธิ์ หรือมีญาณใดๆ แต่เป็นเพราะคำสอนของพระอาจารย์มีผลสำหรับผม ผมเอาตัวผมเองเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าคำสอนของท่านเป็นอย่างไร ถ้าฟังอย่างเดียว ไม่ลองปฏิบัติตามก็ยากที่จะบอกได้ว่าสิ่งที่ท่านรู้ เห็น เทศน์ สอน เป็นเรื่องจริง มีประโยชน์ มีผลจริง หรือว่าเป็นเรื่องหลอกลวง

คำสอนท่านจะมาจากครูกรรมฐาน หรือไม่ผมก็ไม่ทราบ และผมก็ไม่อยากรู้ ผมฟังแล้วกลับมาคิดพิจารณา แล้วปฏิบัติตามโดยไม่สงสัย เพราะถึงผมจะสงสัย ผมก็ไม่มีความสามารถจะพิสูจน์ได้ว่ามี ครูกรรมฐานมาสอนจริงหรือไม่


ด้วยการกล่าวสัจจะวาจาของข้าพเจ้าในที่แห่งนี้ ขอความเจริญในธรรมจงมีแก่ข้าพเจ้า
104  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2015, 11:54:57 am
 st12 st12 st12
105  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มารไม่มี บารมี ไม่แก่กล้า เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2015, 11:38:17 pm
อุปกิเลสทั้งหมด ผมมีครบเลยครับ บางตัวก็มาก บางตัวก็น้อย บางตัวเกิดบ่อย บางตัวเกิดไม่บ่อย เวลาตั้งใจไว้ดีแล้ว พอถูกกระทบจากบุคคลอื่น หรือแม้แต่อารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในใจเอง แม้เหตุการณ์นั้นจะผ่านไปแล้ว อุปกิเลสตัวนั้นก็เกิด ห้ามได้ยาก วางได้ยาก
โดยเฉพาะเวลาใดอธิษฐานปรารถนาเข้าถึงคุณธรรมเบื้องต้น ก็ถูกกระทบบ่อยขึ้น มากขึ้น หนักขึ้น ทำให้จิตเศร้าหมอง จิตตก สมาธิตก ไม่ตั้งมั่น
กราบขอคำแนะนำจากพระอาจารย์ครับ



หน้า: 1 2 [3]