ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ใช้เฟซบุ๊กทำให้เศร้าหมอง  (อ่าน 1053 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ใช้เฟซบุ๊กทำให้เศร้าหมอง
« เมื่อ: สิงหาคม 23, 2013, 12:41:51 pm »
0


ใช้เฟซบุ๊กทำให้เศร้าหมอง - โลกาภิวัตน์

เวลาท่านผู้อ่านกด “ไลค์” เมื่อเพื่อนโพสต์เฟซบุ๊กเข้ามา ท่านรู้สึกอย่างนั้น ท่านจะรู้สึกอย่างนั้นจริงหรือ แต่มีงานวิจัยระบุได้ว่าท่านผู้ที่ใช้เฟซบุ๊กมากจะทำให้รู้สึกเศร้าหมอง

ในบางครั้งถ้ามีโอกาสได้เจอเพื่อนในเฟซบุ๊กร่ำรวยอยู่ดีกินดีมีความสุข อาจจะทำให้บางท่านรู้สึกเศร้าหงอยไปได้เหมือนกัน ถ้าหากเปรียบเทียบชีวิตเขาชีวิตเรา ถ้าชีวิตเขาประสบความสำเร็จมากกว่าเราเสียมากกว่า ถ้าเรารู้สึกด้อยกว่าเอาไปเปรียบเทียบก็จะทำให้เรารู้สึกโศกเศร้าเอาได้เหมือนกัน ซึ่งตรงนี้มาจากผลการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน และได้มีการยืนยันผลการวิจัยว่าจำนวนคนที่ใช้เฟซบุ๊กยิ่งมากยิ่งทำให้รู้สึกว่าชีวิตเขาไม่ดีเลย อันนี้ไม่ใช่ความรู้สึกของคนบางคน แต่เป็นผลของการศึกษาจากคนจำนวนมากที่ใช้เฟซบุ๊ก

ซึ่งการทดลองนี้ได้มีการเชื่อมข้อความออนไลน์เพื่อการสำรวจ และถามถึงความรู้สึกของผู้ใช้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ในการทดลองนอกจากจะมีการรายงานว่ามีการเช็กเข้าไปใน
เฟซบุ๊กมากน้อยแค่ไหน ที่ยังจะมีเรื่องที่ดูได้ว่า พวกเขามีความห่วงใย ความกังวล ความว้าเหว่ อยู่ในระดับไหนในขณะนั้น พร้อมกับตรวจสอบได้ว่ามีความพึงพอใจในชีวิตมากแค่ไหน


 :welcome: :welcome: :welcome:

การทดลองนี้ได้วัดผลระดับความพึงพอใจในชีวิตตั้งแต่เริ่มการทดลองจนถึงช่วงท้ายเสร็จการทดลอง ซึ่งได้ทดลองผู้ใช้เฟซบุ๊ก นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ทำการทดลอง ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการทดลองลงไปตามเวลา

เมื่อเปรียบเทียบกับการทดลองด้วยการปฏิสัมพันธ์จริง ๆ ก็พบว่าความรู้สึกผู้ที่มาพบปะกันจริงจะดีขึ้นตามระยะเวลาของประเทศไทยก็เหมือนกับการพบปะประชุมของผู้สูงอายุที่สถานีอนามัยประจำทุกเดือนนี้เอง และมีกิจกรรมการพบปะสังสรรค์ ที่ทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้น แต่ถ้าเป็นเฟซบุ๊กจะยิ่งเหงาและว้าเหว่

 :33: :33: :33:

อีแทน ครอสส์ นักจิตวิทยาทางสังคมของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้กล่าวว่า “จากจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กมากกว่าหนึ่งพันล้านคนปรากฏว่าครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 500 ล้านคน จะใช้เฟซบุ๊กทุกวัน”

“ในสภาพโดยทั่วไปนั้นเฟซบุ๊กนับว่าให้ความสะดวกหลายอย่างที่เข้าไปเติมเต็มความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เพื่อการสร้างเครือข่ายสังคม แต่ในด้านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ที่ดีนั้น เราพบว่า ผู้ที่ปฏิสัมพันธ์กับเฟซบุ๊กที่เป็นกลุ่มผู้เริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะมีผลตรงกันข้ามคือจะรู้สึกดีกว่า เพราะฐานะความเป็นอยู่ยังไม่แตกต่างนั้นมากนักเหมือนผู้ที่ผ่านประสบการณ์นาน ๆ”

แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ผู้คนได้รับผลความรู้สึกไม่ดีต่อเฟซบุ๊ก ทฤษฎีอันหนึ่ง ก็คนมักจะเปรียบเทียบกันเองระหว่างเพื่อน ๆ ถ้ารู้สึกด้อยกว่าความรู้สึกก็จะแย่


 :67: :67: :67:

ผลงานวิจัยนี้มีทั้งนักจิตวิทยา นักสังคมศาสตร์ และนักวิชาการที่มีความอยากรู้เกี่ยวกับผลกระทบอะไรบ้างที่มีต่อสมอง อารมณ์ความรู้สึก และตนเองมีค่าแค่ไหน มาเป็นผู้ร่วมวิจัย

อันที่จริงในปี ค.ศ. 2012 มหาวิทยาลัย ยูทาห์แวลลีย์ พบว่า ทางผู้ใช้รู้สึกแย่และเศร้ามากกว่าหลังจากใช้เฟซบุ๊กซึ่งตอนนี้เป็นผลจากการวิจัยที่มีนักวิจัยสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับนักศึกษาจำนวน 425 คนและยังพบว่า
    ระยะเวลาที่ใช้ในการเข้าเฟซบุ๊กยิ่งมากยิ่งจะมีความรู้สึกเป็นลบเกี่ยวกับชีวิต
    ยิ่งเข้าไปรู้เรื่องราวชีวิตของเพื่อนมาก ๆ ก็จะทำให้นำไปเปรียบเทียบและชี้วัดตนเอง
    ถ้ามีแต่เพื่อนที่มีชื่อเสียงรวยเด่น จำนวนมากกว่าเราเท่าไรก็จะยิ่งรู้สึกแย่ตามไปด้วย
    ที่ประเทศเยอรมนีก็มีผลงานวิจัยที่ยืนยันมาเช่นเดียวกัน


 ans1 ans1 ans1

สรุปแล้วผู้ที่ใช้เฟซบุ๊กมาก ๆ ต้องควบคุมอารมณ์ความรู้สึก โลภ โกรธ หลง อิจฉา ให้ได้มากสักหน่อย ส่วนผมไม่ได้อัพเดทเฟซบุ๊กถี่มากนัก ก็เลยไม่มีอะไรให้คิดเปรียบเทียบ.

รศ.ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล
อธิการบดีมหาวิทยาลัย
นานาชาติแสตมฟอร์ด
boonmark@stamford.edu

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.dailynews.co.th/technology/227577
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ