ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “สติสัมปชัญญะกถา” แด่ท่านที่ต้องการเจริญ วิปัสสนา ก่อนเจริญ สัมมาสมาธิ  (อ่าน 24539 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

     ข้าพเจ้าผู้นอบน้อม พระไตรรัตนะ เป็นที่พึ่ง ผู้อธิษฐานจิต เป็นผู้ตั้งมั่นพากเพียรในความเป็น สาวกภูมิ
จักขอแสดง ธรรม วิปัสสนา การปฏิบัติธรรมโดยการเจริญสติ โดยขอตั้งชื่อเรื่องว่า “สติสัมปชัญญะกถา”

ขึ้นชื่อว่า สติ เป็นธรรมอันสำคัญ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงตรัสแสดงไว้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ในหัวข้อศึกษาธรรม ในนวโกวาท หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี ก็ได้จัดไว้เป็นธรรม 2  หัวข้อแรกดังแสดงไว้ดังนี้

ธรรมมีอุปการะ มาก 2 อย่าง
1. สติ  แปลว่า  ความระลึกได้
2. สัมปชัญญะ แปลว่า ความรู้ตัว
อันแท้ที่จริงนั้น สติ มีลักษณะ และ เหตุให้เกิด เช่นกัน และ เมื่อบุคคลมี สติ แล้ว ย่อมมี สัมปชัญญะ ไม่หลง ทั้งในโลก ทั้งในธรรม ทั้งในขันธ์ทั้ง 5  ดังจะพรรณนาให้ ทราบดังต่อไปนี้
สติมีลักษณะ 6  ( รูปร่างของสติมี 6 ประการ )
1.อะภิลาปะนะลักขะณา
   สติมีความระลึกได้ในอารมณ์ เนือง ๆ เป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบอกให้รู้
2.อะสัมโมสะระสา
   สติมีความไม่หลงลืม เป็นหน้าที่
3.อารักขปัจจุปัฏฐานา
   สติมีการรักษาอารมณ์ เป็นผลปรากฏ
4.วิสยาภิมุขะภาวะปัจจุปัฏฐานา
   สติมีความมุ่งหน้าเฉพาะต่ออารมณ์ เป็นผลปรากฎ
5.ถิระสัญญาปะทัฏฐานา
   สติมีความจำได้มั่นคง จำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้ชิดที่ให้สติ เกิดขึ้น
6.กายทิสะติปัฏทัฏฐานะปะทัฏฐานา
   สติในแนวปฏิบัติมีสติปัฏฐาน 4  เป็นเหตุใกล้ชิดที่จะให้สติเกิดขึ้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 18, 2012, 10:18:10 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


เหตุทำให้เกิดสติ อย่างย่อ มี 2 ประการ ( ผู้เจริญสติจะทำให้ สติ เกิดขึ้นได้ )
1.โยนิโสมะนะสิกาโร
   การทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย คือตามระลึกถึง สาเหตุและความจำเป็นของการมีสติ นั้นเพื่ออะไร ทำไมต้องมีสติ รวมถึงวิธีที่จะทำให้เกิด สติ โดยความมี สติ หรืออีกนัยหนึ่ง  ให้ถึงความมี สติ ใน สติ
2.พะหุลีกาโร
   พยายามฝึกบ่อย ๆ ฝึกให้มาก ๆ อย่าเกียจคร้าน การฝึก อย่าย่อหย่อน อย่าท้อถอยในการฝึก ด้วยอุบายต่าง ๆ อันเกิดจาก โยนิโสมะนะสิการ ไว้อย่างแยบยล ด้วยความเพียร อันประกอบด้วยลักษณะ 4 ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ สัมมัปปธาน 4
1.   สังวรปธาน เพียร ระวังไม่ให้ อกุศล  เกิดขึ้นในสันดาน
2.   ปหานปธาน เพียรละ อกุศล อันเกิดขึ้นแล้วให้สูญหายไป
3.   ภาวนาปธาน  เพียร สร้าง กุศล ให้เกิดขึ้นในสันดาน
4.   อนุรักขนาปธาน เพียร รักษา กุศล ที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ในสันดาน

เหตุที่ทำให้เกิด สติ 4 ประการ อีกแบบหนึ่ง 
1.สะติสัมปะชัญญะ
   มีสติสัมปะชัญญะใน ฐานะ 22 อย่าง คือ ในการก้าวไป ถอยกลับ เหลียวซ้าย แลขวา คู้เข้า เหยียดออก พาดสังฆาฏิ ถือบาตร นุ่งสบง ห่มจีวร กิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้มรส ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ เดิน ยืน นั่ง  หลับ ตื่น พูด นิ่ง
2.มุฏฐัสสะติปุคคะละปะริวัชชะนะตา
   เว้นจากบุคคลผู้หลงลืม คือเว้นบุคคลผู้มิได้เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะผู้ที่เจริญ วิปัสสนาแล้วย่อมมีใจ รัก ในพระนิพพาน หากได้สมาคมกับผู้ที่ไม่เจริญ วิปัสสนา แล้วย่อมมีลักษณะอารมณ์ ฝืนต่อโลก สุดท้ายก็จะคลายความเพียรด้วยเหตุของ โลก จึงทำให้ผู้มีจิตเป็น สาวกภูมิ มากมายไม่ได้เจริญ วิปัสสนา สักที
3.อุปัฏฐิตะปุคคะละเสวะนะตา
   คบหาสมาคมกับ บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น ได้แก่บุคคลผู้มีสติมั่นคงอยู่กับพระกัมมัฏฐาน เป็นผู้มีอารมณ์ ทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา ซึ่งถือว่าเป็น กัลยาณมิตร ที่ดี ที่จะคอยช่วยส่งเสริม ให้เข้า สู่ โลกุตรธรรม 9
4.ตะทะธิมุตตะตา
   น้อมใจไปในอิริยาบถทั้ง 4 และน้อมใจไปในสติปัฏฐาน ทั้ง 4  ซึ่งข้อนี้ ผู้ปฎิบัติต้อง ละ วิจิกิจฉา ความสงสัยในการปฏิบัติ และ รักเคารพ ต่อพระไตรรัตนะ  อย่างหมดหัวใจ
สติ นั้น จำแนกออกเป็น  2 คือ
1.   สัมมาสะติ แปลว่า การระลึกชอบ
2.   มิจฉาสะติ แปลว่า การระลึกผิด
ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะ สัมมาสติ ความระลึกชอบเท่านั้น ซึ่งเป็นองค์ธรรม 1 ใน อริยมรรคมีองค์ธรรม 8

ความระลึกชอบ แบ่งให้เข้าใจ ง่าย ๆ ก็มี 3 ระดับ
1.ความระลึกชอบ ขั้นต้น
   ได้แก่ สติ ที่ระลึก ได้ในกิจประจำวันของตัวเอง เช่น จะไปทำงาน ไม่ลืมสตางค์ ไม่ลืมแว่นตา ไม่ลืมหนังสือ ไม่ลืมกุญแจ ไม่ลืมปากกา ไม่ลืมบัตรพนักงาน  อย่างนี้เป็นต้น
2.ความระลึกชอบ ขั้นกลาง
   ได้แก่ สติ  ที่ระลึก ได้ในการสร้างกุศล เช่น ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม เรียนธรรม ไหว้พระ สวดมนต์ เจริญสมถะกัมมัฏฐาน เป็นต้น
3.ความระลึกชอบ ขั้นสูง   
   ได้แก่ สติ ที่ระลึกอยู่กับ สติปัฏฐาน 4  โดยย่อได้แก่สติของท่านผู้เจริญ วิปัสสนากัมมัฏฐาน นั่นเอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2012, 04:08:14 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ผู้มีสติ ย่อมเป็น ผู้ไม่ประมาท ความไม่ประมาท ย่อมเป็นเหตุให้มี สติ
ดังพระโอวาท ขององค์สมเด็จพระโสภาคย์ทศพล ทรงตรัสไว้ว่า
“ เอวะเมวะ โข ภิกขะเว เยเกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต อัปปะมาทะมูเล
อัปปะมาทะสะโมสะระณา อัปปะมาโท เตสัง ธัมมานัง อัคคะมักขายะติ ”
แปลความว่า
“ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งปวง ล้วนมีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงสู่ความไม่ประมาท ความไม่ประมาทเรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งธรรมเหล่านั้น เหมือนรอยเท้าช้าง เป็นใหญ่กว่ารอยเท้าของสัตว์ทั้งมวล ฉันนั้น ”

ประโยชน์ของสติ
   สติมีประโยชน์มากทั้งในทางโลก และ ในทางธรรม จะนำมาแสดง เป็นตัวอย่างดังนี้
•   1.สติเป็นเครื่องตื่นอยู่ในโลก คือปลุกคนให้ตื่นอยู่เสมอ
•   2.สติจำปรารถนา ในที่ทั้งปวง
•   3.สติทำให้คนได้รับความเจริญทุกเมื่อ
•   4.สติทำให้คนได้รับความสุข
•   5.สติทำให้คนเป็นผู้ประเสริฐทุกวัน
•   6.สติรักษาคนมิให้พลั้งพลาด
•   7.สติทำให้ได้รับมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ
เมื่อพระโยคาวจร ได้เจริญ สติ อย่างมั่นคง ย่อมมีผลทำให้ สัมปชัญญะ เกิดขึ้นเป็นคุณธรรม ที่เป็นเอนกอนันต์ อันเป็น บาทแห่งธรรม ไปสู่ความสิ้น วัฎฎะสงสาร หรือ ไปสู่นิพพาน
ครูบาอาจารย์ ได้อธิบาย สัมปชัญญะ แปล และ มีความหมาย 10 อย่าง
1.สัมปชัญญะ แปลว่า รู้ถึงที่สุดอย่างแจ่มแจ้ง หมายความว่า รู้ปัจจุบัน รูปนาม พระไตรลักษณ์ มรรค ผล นิพพาน
2.สัมปชัญญะ แปลว่า รู้แทงตลอดอย่างชัดเจน หมายความว่า รู้รูปนามตามทวารทั้ง 5  และ ตามอิริยาบถต่าง ๆ
3.สัมปชัญญะ แปลว่า รู้เห็นพร้อมเป็นอย่างดี หมายความว่า รู้พร้อมด้วยองค์ 3 คือ
   1.อาตาปี มีความเพียรเผากิเลส ให้ร้อนทั่ว ได้แก่การตั้งใจทำจริง ๆ
   2.สะติมา มีสติ คือ นึกได้ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด ได้แก่รู้ก่อนที่ท้องจะพอง รู้ธรรมเบื้องต้น ก่อนที่ท้องจะพองขึ้น รู้ธรรมในท่ามกลาง  ก่อนที่ท้องจะยุบลง รู้ธรรมในที่สุด เป็นต้น
   3.สัมปะชาโน มีสัมปชัญญะ คือรู้ตัว อยู่เสมอ ได้แก่รู้ตั้งแต่เริ่มยกเท้า เท้าเคลื่อนที่ไป เท้าลงถึงพื้น รู้ตั้งแต่ เริ่มภาวนา พอง  กลางพอง สุดพอง เริ่มยุบ กลางยุบ สุดยุบ เป็นต้น
4.สัมปชัญญะ แปลว่ารู้ดีอย่างไม่หลง หมายความว่า รู้แล้วไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ไม่หวั่นไหวไปตามโลกธรรมทั้ง 8
5.สัมปชัญญะ แปลว่า รู้ตรงขจัดกิเลส หมายความว่า รู้ตามวิปัสสนาญาณ 16
6.สัมปชัญญะ แปลว่า รู้วิเศษในธรรม หมายความว่า รู้พระธรรม 84000 พระธรรมขันธ์ ย่อให้สั้นเหลือ 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อลงมาในแนวปฏิบัติ เหลือเพียง 1 คือ ความไม่ประมาท
7.สัมปชัญญะ แปลว่า รู้นำออกจากกองทุกข์ หมายความว่า รู้ อัฏฐังคิกะมรรค 8
8.สัมปชัญญะ แปลว่า รู้สุขอันสูงเลิศ หมายความรู้สุข 7 ประการ
9.สัมปชัญญะ แปลว่า รู้ธรรมอันประเสริฐ หมายความว่า รู้อารยะธรรม 6  และ รู้โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
10.สัมปชัญญะ แปลว่า รู้เลิศด้วยการละ หมายความว่า รู้ ปหานะ 5  และ ปหานะ6

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2012, 04:13:54 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ดังจะพรรณนา ความหมายข้อที่ 1 ดังนี้
รู้ถึงที่สุดอย่างแจ่มแจ้ง
หมายความว่า
 รู้ ปัจจุบัน  รูปนาม พระไตรลักษณ์ มรรค ผล นิพพาน มีคำบรรยายดังนี้
   ปัจจุบัน แปลว่า เกิดขึ้นเฉพาะ คือ เกิดขึ้นขณะนี้  ได้แก่ ความเกิดขึ้น ของ รูป และ นาม
   รู้ ปัจจุบัน คือรู้รูปนาม ที่กำลัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นั่นเอง เช่น ภาวนาว่า “พองหนอ” รู้ตั้งแต่ ต้นพอง กลางพอง สุดพอง “ยุบหนอ” รู้ตั้งแต่ ต้นยุบ กลางยุบ สุดยุบ
รู้รูป  คือ
•   รู้ว่า พอง กับ ยุบ เป็นคนละอัน กัน
•   ตา กับ รูป เป็นคนละอันกัน
•   หู กับ เสียง เป็นคนละอันกัน
•   จมูก กับ กลิ่น เป็นคนละอันกัน
•   ลิ้น กับ รส เป็นคนละอันกัน
•   กาย กับ ผัสสะ เป็นคนละอันกัน
สรุป ความว่า ตั้งแต่ปลายผมถึงปลายเล็บ มีอย่างเดียว เท่านั้น คือ รูป ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัว ตน เรา เขา เลย
รู้นาม คือ      
   รู้ว่า เวลาภาวนาว่า “พองหนอ ยุบหนอ”นั้นใจที่รู้ว่า พอง กับ ใจที่รู้ว่า ยุบเป็นคนละใจ  เป็นคนละขณะ ใจที่รู้ว่า พอง กับ ใจที่รู้ว่ายุบ เป็นนาม  สรุปความว่า พองเป็นรูป ยุบเป็นรูป รู้เป็น นาม ท้อง พอง ครั้งหนึ่งก็จะมีเพียง 2 อย่าง เท่านี้ คือ รูป กับ นาม ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่มีเรา ไม่มีเขา อะไรเลย สักอย่าง ที่เป็นความมั่นหมายสำคัญที่ทำให้เราเป็นเจ้าของ หรือ ควบคุมได้
“เราจะรู้ หรือ ไม่รู้  รูป นาม ก็เป็นอยู่อย่างนั้น ตลอดไป”
รู้พระไตรลักษณ์  ได้แก่ รู้ลักษณะ 3 ประการ คือ รู้อนิจจัง  รู้ทุกขัง  รู้อนัตตา
การรู้พระไตรลักษณ์ นั้น ต้องรู้ถึง 4 ขั้น  คือ
•   1.รู้ตามหลักแบบการเรียน  ( ปริยัติ , สุตตามยปัญญา)
•   2.รู้ตามความคิด ตรึกนึก เอาเอง ( จินตามะยะปัญญา )
•   3.รู้ตามจากการปฏิบัติจริง จน ถึง ญานที่ 4 ( ภาวนามะยะปัญญา )
•   4.รู้ขั้นสูงสุด ( โลกุตตะระปัญญา )
ดังจะพรรณนา ให้ ทราบดังนี้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2012, 04:30:33 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ขั้นที่ 1 รู้ตามหลักแบบการเรียน เช่น เวลา ทำวัตรเช้า สวดมนต์ว่า “รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจาสัญญา อะนิจจา สังขารา  อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจัง รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง”  ดังนี้เป็นต้น  บางทีปากว่าไป ใจก็นึกตามไป  แต่บางทีปากว่าไป ใจก็ไม่ได้นึกตาม นึกไปทางอื่นก็มี รู้อย่างนี้ ก็ยังถือว่า ดีอยู่  ดีกว่าไม่รู้ หลายเท่าทีเดียว เพราะการรู้อย่างนี้ ก็เป็นบุญ เป็นมหากุศล ถ้าตายด้วยจิตดวงนี้ อย่างต่ำก็ไปเกิดเป็นมนุษย์ อย่างสูง ก็ไปเกิดในสวรรค์
   ขั้นที่ 2 รู้ตามความคิด ตรึก นึก เอาเอง คือการพิจารณา พระไตรลักษณ์ ด้วยการตรึก นึก เอาเอง ซึ่งมีอยู่ 4 นัยยะ คือ
   1.กะลาปะ สัมมะสะนะนัย พิจารณารวมกันทั้ง 5 ขันธ์ ว่า รูปนามที่เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปนาม ภายใน ภายนอก รูปนามที่หยาบ ละเอียด รูปนามที่ เลว ประณีต รูปนามที่ไกล ใกล้ ล้วนแต่ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น
   2.อัทธานะ สัมมะสะนะนัย พิจารณารูปนาม ตั้งแต่เป็นเด็ก ๆ  จนกระทั่ง ถึงปัจจุบัน นี้ ว่า รูปนามที่เป็นอดีต ไม่เป็นรูปนามปัจจุบัน รูปนามปัจจุบัน ไม่เป็นรูปนามของอนาคต  รูปนามภายในไม่เป็นรูปนามภายนอก รูปนามอดีตก็ดับไปในอดีต รูปนามในอนาคตก็ดับไปในอนาคต รูปนามในปัจจุบันก็ดับไปในปัจจุบัน  รูปนามในปัจจุบันไม่เกิดในชาติหน้า แต่มีเหตุปัจจัย สืบต่อกันอยู่ เมื่อปัจจุบันดี อนาคตก็ดี  เมื่อปัจจุบันชั่ว อนาคตก็ย่อมชั่ว
   3.สันตะติ สัมมะสะนะนัย พิจารณาความสืบต่อของรูปนาม เช่น รูปเย็นหายไป รูปร้อนเกิดขึ้น รูปร้อนหายไป รูปเย็นเกิดขึ้น รูปนั่งหายไป รูปยืนเกิดขึ้น รูปยืนหายไป รูปนอนเกิดขึ้น อย่างนี้เป็นต้น ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนแปรสืบต่อกันอยู่อย่างนี้ ตลอดไปดังนั้น รูปนามจึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
   4.ขะณะ สัมมะสะนะนัย พิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามชั่ว ขณะ หนึ่ง ๆ คือพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนาม ซึ่งนิยมเรียกว่า  อุปปาทะ(เกิดขึ้น) ฐีติ(ตั้งอยู่) ภังคะ(แตกดับไป) จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีรูปนาม เกิดดับ ติดต่อกันอยู่อย่างนี้ตลอดไป ทั้ง กลางวัน และ กลางคืน ดังนั้น รูปนาม จึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

   การพิจารณารูปนาม โดยอุบาย แบบนี้ เรียกว่า รู้พระไตรลักษณ์ เหมือนกัน จัดเข้า ในญาณที่ 3 คือ สัมมะสะนะญาณ  อย่างเข้มข้น ก็ถึง อุทยัพพะยะญาณ  ถ้าจัดใน วิสุทธิ  7  ก็ เป็น มัคคามัคคะญาณทัสสะนะวิสุทธิ คือ มีความรู้ความเห็นอันบริสุทธิ์  คือ รู้ว่า นี้เป็นทางที่ถูก นี้เป็นทางถึง ผล ผู้ปฏิบัติ จะสามารถเกิดปีติ  เห็นแสงสว่างได้ ก็ได้จากญาณนี้ ถ้าเกิดภาวนา รู้เห็น จนเห็นพระพุทธรูป ก็ให้กำหนดว่า “เห็นหนอ เห็นหนอ” อย่างนี้ ไปจนหายไป การเห็นพระไตรลักษณ์ ในขั้นที่ 2 นี้ อยู่ในเขต สมถะ เป็นจินตามยปัญญา คือปัญญาที่สำเร็จ จากการนึกคิด ถือว่าเป็นการปฎิบัติได้แล้ว เกือบครึ่งหนึ่งของการปฏิบัติ สติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2012, 04:35:59 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ขั้นที่ 3 รู้ด้วยการปฏิบัติ จริง ๆ จน ญาณที่ 4 เกิดขึ้น คือ อุทยัพพะยะญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นรูปนาม เกิดดับ ชัดเจน ยิ่งขึ้น เรียกว่า “สันตะติขาด”
สันตะติ แปลว่า ความสืบต่อของรูปนาม เมื่อสันตะติ ขาด จึงจะเห็นพระไตรลักษณ์ขั้นที่ 3 นี้ ได้ ผู้ที่จะเห็นพระไตรลักษณ์ ขั้นนี้ได้ ต้องเพิกถอน สันตะติ เสียก่อน  เพราะ สันตะติ บังมิให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อผู้ปฏิบัติวิปัสสนาเพิกสันตะติได้แล้ว อนิจจะลักษณะ ย่อมปรากฏตามความเป็นจริง
วิธีเพิกสันตะติ นั้น มีหลายวิธีการ ในที่นี้ จะกล่าวถึงวิธีการที่ครูบาอาจารย์ ได้ถ่ายทอดไว้
ขั้นแรก ให้เดินจงกรม ก่อน ประมาณ  30 นาที โดยขึ้นคำ ภาวนาว่า “ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ” แรกเริ่มฝึกก็ควร ฝึกอย่างช้า ๆ จนกระทั่งเดินได้เป็นธรรมชาติ คือเดินด้วยคำ ภาวนาเป็น ปกติ เพราะผู้ฝึกสามารถฝึก สติ กำกับได้ ไว กับ อิริยาบถ ดังนั้น ผู้ฝึกอย่างชำนาญแล้ว จึงเดินได้เป็นธรรมชาติ ดังนั้นเราผู้กำลังจะฝึกก็ไม่ควรไปหัวเราะผู้อื่นที่กำลัง เริ่มต้นฝึกสติ ดังนั้น ผู้ฝึก สติ แบบ วิปัสสก นั้นต้องเริ่มจากช้าไปเร็ว ส่วนผู้ฝึกสมถะ มาแล้วนั้นย่อมมี วสี ในความชำนาญเข้าฌาน ออกฌาน อยู่จึงมีสมาธิ ในอิริยาบถ ผู้ฝึกย่อมภาวนา ธาตุ ระหว่างฝึก เรียกว่า ธรรมธาตุอิริยาบถ ซึ่งเป็นสมาธิ ไม่ใช่ เป็น สติ นอกจากผู้ฝึก กำหนดสติ รู้ชัดว่า ปีติ สุขมีผล เป็นความนิ่ง แล้วจับอารมณ์ นั้นมาเจริญให้ เห็น รูปนาม ก็ชื่อว่า ฝึก สติ เช่นเดียวกัน
ขั้นที่สอง นั่งขัดสมาธิ กำหนดรูปนาม  เช่น ภาวนาว่า “พองหนอ ยุบหนอ” เป็นต้น ประมาณ 40 นาที ให้ทำ สลับกันเยี่ยงนี้ จนผู้ปฏิบัติ สามารถมองเห็น ได้ด้วยตนเอง ผู้ฝึก สมถะ นั้นให้ถอยจากองค์ ฌาน 4 กึ่งหนึ่ง แล้ว เข้าจับ อารมณ์ อันเป็น สุขสมาธิ พิจารณาพระไตรลักษณ์ จนเห็นได้ด้วยตนเอง
หลวงพ่อท่านได้ยกตัวอย่าง เสริมตรงช่วงนี้ว่า
มีตัวอย่างจาก ภิกษุณี ปฏาจารา อรหันตะสาวิกา วันหนึ่งท่านได้ตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด ครั้งที่ 2 น้ำที่ท่านเทออกไปไหลไปไกลกว่านั้น ครั้งที่ 3 น้ำที่ท่านเทลงไป ไหลไปไกลกว่านั้นอีก  ท่านถือเอาน้ำนั้นเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้ง 3  ( อัทธานะ สัมมะสะนะนัย ) แล้วพิจารณาว่า สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัย ก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงไปในครั้งแรก ตายเสียใน มัชฌิมวัย ก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงไปในครั้งที่ 2 ตายเสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงไปในครั้งที่ 3 เมื่อท่านมีสติดังนี้ องค์พระโสภาคย์ทศพล ทรงแผ่พระรัศมีไปเบื้องหน้าท่าน เป็นราวกับประทับยืนอยู่เบื้องหน้า ตรัสว่า
“เอวะเมตัง ปะฏาจาเร ปัญจัญนัง หิ ขันธานัง อุทะยัพพะยัง อะปัสสันตัสสะ วัสสะสะตัง ชีวิตะโต เตสัง อุทะยัพพะยัง ปัสสันตัสสะ เอกาหังปิ เอกัจจะขะณังปิ ชีวิตัง เสยโย”
แปลความว่า
“ดูก่อน ปฏาจารา ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น ด้วยความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ ทั้ง 5  ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ตั้ง 100 ปี ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ความเสื่อมไปแห่ง ขันธ์ทั้ง 5”
การรู้พระไตรลักษณ์ ในขั้นนี้ จัดเป็น ภาวนามยปัญญา คือปัญญาเกิดขึ้นได้จากการปฏิบัติ เป็นวิปัสสนาญาณที่แท้จริง เป็นอย่างนี้ตั้งแต่ ญาณที่ 4 ขึ้นไป ซึ่งถือว่าทำได้ระดับกลางของการทำ วิปัสสนา

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2012, 04:46:48 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ขั้นที่ 4 รู้พระไตรลักษณ์ ขั้นสูงสุด คือรู้ได้ในญาณที่ 12  เรียกว่า “อนุโลมิกญาณ”  หรือ “สัจจานุโลมิกญาณ” ก็เรียก  ญาณนี้ ผู้ปฏิบัติสามารถ เห็นอริยสัจ 4  และเห็นพระไตรลักษณ์ ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ผู้ปฎิบัติได้เช่นนี้ ชื่อว่า เจริญสติได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนการเห็นอย่างไรนั้น ผู้ปฏิบัติพึงทบทวนด้วยตนเอง ย่อมเห็น วิโมกข์ 3 ตามลำดับ หรือ นิพพาน 3 ได้ดังจำแนกได้ดังนี้
ถ้าผู้ใดเห็น “อนิจจัง” ชัด ในญานที่ 12 นี้เรียกว่า ผู้นั้นย่อมเข้าถึง นิพพาน  หรือ อนิมิตตะนิพพาน เป็นเบี้องต้น
ถ้าผู้ใดเห็น “ทุกขัง” ชัด ในญาณที่ 12 นี้เรียกว่า ผู้นั้นย่อมเข้าถึง นิพพาน หรือ อัปปะณิหิตะนิพพาน เป็นท่ามกลาง
ถ้าผู้ใดเห็น “อนัตตา” ชัด ในญาณที่ 12 นี้เรียกว่า ผู้นั้นย่อมเข้าถึง นิพพาน หรือ สุญญะตะนิพพาน เป็นที่สุด
ลำดับแห่ง อนุโลมญาณ ย่อมเข้าถึงขั้นตอนของ สติ ดังนี้
1.โคตะระภูจิต ( โคตรภูจิต ) จิตเหนี่ยวนำพระนิพพานเป็นอารมณ์
2.มัคคะจิต ( มรรคจิต ) จิตน้อมนำปฏิบัติเข้าสู่หนทางแห่งพระนิพพาน
3.ชะวะนะจิต ( ชวนจิต ) จิตเข้า ชวนะ 7 สลับไปสลับมา
4.ผะละจิต ( ผลจิต )
5.ภวังคะจิต ( ภวังคจิต )
6.มโนทะวาราวัชชะนะจิต ( มโนทวาราวัชชนจิต )
7.ปัจจะเวกขะณะญาณ ( ปัจจเวกขณญาณ ) ญาณกำหนดทบทวน ลักษณะดังนี้
1.มรรค 2.ผล 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่ยังเหลืออยู่ 5.นิพพาน
ดังนั้น ท่านผู้มีการเจริญ สติปัฏฐาน 4  ย่อมเข้า ถึงความรู้ มรรค ความรู้ผล และความรู้นิพพาน ดังนี้
รู้ มรรค ได้แก่ รู้มรรค 4  มี 1.โสดาปัตติมรรค  2. สะกิทาคามิมรรค 3.อะนาคามิมรรค 4.อรหัตตะมรรค
รู้ ผล ได้แก่รู้ผลทั้ง 4 มี 1.โสดาปัตติผล 2. สะกิทาคามิผล 3.อะนาคามิผล 4.อรหัตตะผล
รู้นิพพาน คือ รู้นิพพาน ทั้ง 3 มี 1.อะนิมิตตะนิพพาน 2.อัปปะณิหิตะนิพพาน 3.สุญญะตะนิพพาน
ทั้ง 3 รู้ นี้ เรียกรวม ๆ ว่า โลกุตรธรรม 9 อันมี มรรค 4 ผล 4 และ นิพพาน 1
ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ทั้ง 4 ได้จนถึงนิพพานแล้ว ย่อมเข้า ผลสมาบัติได้ เป็น ปฐมฌาน สูงสุดทรงอารมณ์ 1 วัน 1 คืน สามารถเข้าได้ตั้งแต่พระโสดาปัตติผล ส่วนพระอนาคามี ผู้บำเพ็ญฌานมา จะสามารถเข้า นิโรธสมาบัติได้ สูงสุด 15 วัน ส่วน นิโรธสมาบัติ ของพระอรหันต์นั้น เป็นอย่างไร ก็ขอให้ท่านเป็นพระอรหันต์กันแค่นั้น ก็จะเข้าใจเอง เพราะเรื่องสมาบัติมีผู้ ถกเถียงกันเยี่ยงบัณฑิต มากแล้ว อย่าไปเถียงกันเลย เพราะการปฏิบัติเข้าถึง นิพพาน เป็นของเฉพาะตน เท่านั้น
สังโยชน์เป็นคุณธรรม ที่บุคคลผู้ ภาวนา จะนำไว้วัดว่า ตนเอง ได้ฝึกภาวนาไปถึง ณ จุดไหน ดังนั้นสังโยชน์ไม่ได้ละได้ด้วย การทำสมถะกัมมัฏฐาน แต่ สังโยชน์จะละได้ด้วยการทำวิปัสสนาญาณ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2012, 04:51:16 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


สังโยชน์ 10 มีดังนี้
1.สักกายะทิฏฐิ   มีความเห็นว่าเราไม่มี ไม่มีเรา ไม่มีตัวตนของเรา ไม่มีเราเป็นตัวตน เป็นเพียง รูปและนาม เกิดดับ เท่านั้น รู้ได้ด้วยอารมณ์ใจ เป็นบาทฐานแห่ง ปัญญาที่จะเข้าถึง พระไตรลักษณ์
2.วิจิกิจฉา สิ้นความสงสัย ในการปฏิบัติ และ พระรัตนตรัย ในเรื่องการเวียนว่าย ตายเกิด นั้นต้องไม่สงสัย นิพพาน ต้องไม่สงสัย พูดง่าย ๆ ความสงสัย ในธรรมะ ไม่มี เมื่อความสงสัยในธรรมะ ไม่มี ความสงสัย ในพระพุทธเจ้า และ พระสงฆ์ จึงไม่มี เมื่อไม่มีความสงสัย ในพระรัตนตรัย จึงมีความเคารพอย่างสูง และ ระมัดระวัง เอาใจใส่ ใคร่ครวญ ต่อพระรัตนตรัย อย่างมาก ถึงตอนนี้ จะมีการแสดงออกมา ด้วยกาย ด้วยวาจา จากใจไม่มีอ้ำอึ้งกับพระรัตนตรัย จะไม่อาย ที่จะแสดงออก ต่อพระรัตนตรัย ทั้งต่อหน้า และ ลับหลัง แม้ต่อหน้าตนเอง และผู้อื่น ข้อนี้ สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ผ่านด่านนี้ไปได้ก็ไม่ต้องพูด หรือ ภาวนาที่เหลือ เลย
3.สีลัพพะตะปะรามาส ไม่สำคัญผิด จากความเห็นเนื่องจากการปฏิบัติผิด จากธรรมเนียม ความหลงผิดจากระเบียบแบบแผน  เพราะฉะนั้นท่านผู้ที่ทำได้ถึงตรงนี้ จึงมั่นคงในศีล  คือตั้งใจรักษาศีลอย่างมั่นคง ไม่ยุยงให้ผู้อื่นผิดศีล และไม่ยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นผิดศีล และไม่ทุกข์ หรือ เดือดร้อนเพราะการมีศีล
4.กามราคะ ไม่ยึดมั่นกำหนัดหรือชอบใจ ในการหลงรูป หลง เสียง หลงกลิ่น หลงรส หลงสัมผัส ไม่พอใจด้วยอารมณ์ ถึงตรงนี้แล้ว กายคตาสติ จะเกิดขึ้นอย่างสูง อีกนัยหนึ่ง สังขารุเบกขาญาณ จะเกิดขึ้นมาก ๆ จากจุดนี้
5.ปฎิฆะ ไม่ขุ่นเคือง โกรธพยาบาท  ต่อผู้ใด เพราะเหตุแห่งกิเลส คือโทสะ ตรงนี้อารมณ์ ที่เห็นจะเหมือนพรหม มาก ๆ เพราะมีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เกิดขึ้นอย่างชัดเจน มาก ๆ อารมณ์ จะดับ ด้วยวิปัสสนาญาณ เพราะมองเห็นความเป็นจริงจาก กายคตาสติ และ มรณัสสติ จะสูงขึ้น
6.รูปราคะ ละความหลงใหลในรูป ในมโนจิต ที่ล้ำลึก ในที่นี้ หมายถึง รูปฌาน สำหรับพระอภิญญา ถ้าเป็นแบบพระสุกขวิปัสสโก แล้ว แทบไม่ต้องทำเลยเพราะจะหมด ตั้งแต่ ข้อที่ 4 กามราคะ
7.อรูปราคะ ละความหลงใหล ในอรูป ในมโนจิต ที่ล้ำลึก ในที่นี้ หมายถึง อรูปฌาน สำหรับพระอภิญญา ถ้าเป็นแบบพระสุกขวิปัสสโก แล้ว แทบไม่ต้องทำเลยเพราะจะหมด ตั้งแต่ ข้อที่ 5  ปฎิฆะ แต่สำหรับสายอภิญญานั้น อารมณ์ ฌานที่ 8 นั้นทิ้งกาย ซึ่งไปทำลาย อายตนะสัมผัส หมด คงเหลือแต่ มโนอายตนะจึงทำให้ จิต เป็นนามเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติอย่างนี้ ยังผิด เพราะการปฏิบัติธรรม นั้นมีไว้ในปัจจุบัน ใช้ในปัจจุบัน จึงต้องพาไปทั้ง 2 อย่าง คือ รูปและนาม หรือ ที่เราเรียกว่า ขันธ์ 5
8.มานะ ละความหลงผิด ที่ว่าเรา เสมอเขา เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา  เพราะถ้าเป็นสุกขวิปัสสโก มาตั้งแต่ต้น ก็ต้องเข้มข้น ในเรื่อง กายคตาสติ  ส่วน สายอภิญญา นั้นจะรู้แจ้งได้เอง หลังจาก ละ รูปฌาน และอรูปฌาน
9.อุทธัจจะ ละความฟุ้งซ่าน ที่หลงเพ้อพก ขันธ์ 5 และ หลง ในรูป นาม ความหลงตน  สำหรับพระอนาคามีนั้นข้อนี้จะหมายถึงความฟุ้งไปอารมณ์ที่ติดจิต ซึ่งเป็นสถานที่หรือความพะวง พระอรหันต์หลายท่านกล่าวว่าเป็นอารมณ์ที่เกาะสุทธาวาส
10.อวิชชา มาถึงตรงนี้ แล้ว มันน้อยมาก เพราะ กิเลสมันบางลงมาตั้งแต่ ข้อแรก มาถึงตรงนี้เป็นวิชชาเอง เป็นบทสรุป ของสังโยชน์ โดยไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะว่า ข้อนี้ ก็คือการละ ทั้ง 9 ข้อ นั้นเอง ซึ่งท้ายที่สุด พระอรหันต์ ทั้ง 2 แบบ จะได้อาสวักขยญาณ โดย อัตตโนมัติ ทันที ไม่ต้องรออนุมัติจากใคร ๆ
หลังจากตรงนี้ เพื่อให้ได้ทบทวน อาสวักขยญาน ตั้งแต่ ผู้ที่ละสังโยชน์ ได้ตั้งแต่ 5 ข้อมา จะสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ เฉพาะพระอภิญญา เท่านั้น
( หลวงพ่อได้แนะนำเพิ่มว่า ผู้ที่ได้ละอวิชชา จะเป็นผู้ยินดีใน อริยทรัพย์ และมองเห็นโทษ ของ โลกียะทรัพย์ และไม่ยึดติดใน โลกียะทรัพย์ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2012, 05:01:11 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


การละ สังโยชน์เป็นที่ระบุระดับชั้นของพระอริยะ
ผู้ที่กำลังละสังโยชน์ ตั้งแต่ข้อที่ 1 – 3
ชื่อว่าผู้ได้ โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระโสดาบันอย่างต่อเนื่อง  )
ผู้ที่ละสังโยชน์ ได้ตั้งแต่ข้อที่ 1 – 3
ชื่อว่าผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตรงนี้ชื่อว่าพระโสดาบัน ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระโสดาบันอย่างถาวร )
พระโสดาบัน เป็นผู้มีอารมณ์ตั้งมั่นในการปฏิบัติธรรม เป็นผู้ปฏิบัติดี ไม่มีการประพฤติ ผิดในธรรม
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “สุปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  ผู้ประพฤติดีพร้อม ด้วยกาย วาจา และ ใจ”
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระโสดาบัน มี 2
1.มรรค 2.ผล ( 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน  3 ข้อท้ายไม่ชัดเจน )
พระโสดาบันมี 3 ประเภท
1.เอกพีชี เกิดชาติเดียวเป็นพระอรหันต์
2.โกลังโกละ เกิดอีก 2-3 ชาติ เป็นพระอรหันต์
3.สัตตักขัตตุงปรมะ เกิดอีก 7 ชาติเป็นพระอรหันต์
ผู้ที่เป็นพระโสดาบันแล้ว กำลังเริ่มละ สังโยชน์ข้อที่ 4 – 5 แบบเบาบาง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระสกิทาคามิมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระสกิทาคามีอย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระโสดาบันแล้ว ละสังโยชน์ ข้อที่ 4 – 5 ได้อย่างเบาบางแล้ว
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระสกิทาคามิผล หรือ พระสกิทาคามี ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระสกิทาคามีอย่างถาวร )
พระสกิทาคามี นั้นจะมีอารมณ์ เพียรเผากิเลสอย่างแรงกล้า พยายามที่จะละออกจากกามคุณ และ พยายามละอารมณ์พยาปาทะ อันขุ่นเคือง ในใจ ไม่ให้กำเริบ
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระสกิทาคามี มี 5
1.มรรค 2.ผล 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน จิตเหนี่ยวนิพพานเป็นอารมณ์
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “อุชุปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ผู้ประพฤติตรงต่อ พระนิพพาน”
พระสกิทาคามี มี 5 ประเภท
1.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ และนิพพานในโลกนี้ ชาติปัจจุบัน
2.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ นิพพานในเทวะโลก
3.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในเทวะโลก และนิพพานในเทวะโลก
4.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในเทวะโลก หมดอายุในเทวะโลก มาเกิดอีกครั้งในโลก จึงนิพพาน
5.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ จุติในเทวะโลก แล้วหมดอายุในเทวะโลก มาเกิดอีกครั้งในโลก จึงนิพพาน
ผู้ที่เป็นพระสกิทาคามี แล้ว กำลังละ สังโยชน์ข้อที่ 4 – 5 อย่างสิ้นเชิง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอนาคามิมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระอนาคามีอย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระสกิทาคามี แล้วละสังโยชน์ ข้อที่ 4- 5 ได้สิ้นเชิง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอนาคามิผล หรือ พระอนาคามี ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระอนาคามีอย่างถาวร )
พระอนาคามี เป็นผู้มีอารมณ์ ละ กามราคะ และ ปฏิฆะ ได้อย่างสิ้นเชิง แต่ยังมีอารมณ์  ติดอยู่ในสุทธาวาส 5
 คือ ชอบทำบุญ เลยติดบุญ รูปราคะและอรูปราคะ ชอบแจกธรรมสอนธรรม เลยติดมานะ ชอบค้นคว้าศึกษาเรื่องธรรม เลยติดอุทธัจจะ บ้างเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีนิพพานแน่นอน อย่างน้อยอีก 1 ชาติ
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระอนาคามี มี 5
1.มรรค 2.ผล 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน ทบทวนกลับไป กลับมาอย่างยิ่งยวด เริ่มเหือด
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “ญายะปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ ผู้รู้ดีแล้ว”
พระอนาคามี มี 5 ประเภท
1.อันตราปรินิพพายี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุไม่ถึงกึ่งแห่งภพนั้นก็เข้า นิพพาน
2.อุปหัจจปรินิพพายี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุพ้นกึ่งแห่งภพนั้นก็เข้า นิพพาน
3.อสังขารปรินิพพายี  เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุใกล้จะหมด ก็เข้านิพพาน
4.สสังขารปรินิพพายี เข้าถึงนิพพานด้วยความเพียรมาก ๆในชาติปัจจุบัน
5.อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง สิ้นอายุแห่งภพนั้นเลื่อนขึ้นไป สู่ อกนิฏฐภพ  จึงเข้า นิพพาน
ผู้ที่เป็นพระอนาคามี แล้วกำลังละสังโยชน์ ข้อที่ 6 -10
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอรหัตมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระอรหันต์อย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระอนาคามี แล้วละสังโยชน์ข้อที่ 6 – 10
ได้ชื่อว่า พระอรหัตผล หรือ พระอรหันต์ ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระอรหันต์ อย่างถาวร )
สำหรับพระอรหันต์ไม่มีการเกิดอีกต่อไป ซึ่งที่ผมได้แจกแจงลงไว้เพราะ  หลวงพ่อพระเถระหลายท่านให้ช่วยแจกแจงให้เพื่อให้ทราบว่า การเวียนว่ายตายเกิดหลังจากสิ้นชีพแล้วมีจริง ไม่ได้เป็นด้วยอรรถแห่งนิพพานที่อยู่บนโลกด้วยอารมณ์ใจเท่านั้น
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระอรหันต์ มี 1
1.นิพพาน เท่านั้น
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “สามิจิปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ ผู้ปฎิบัติชอบแล้ว ”
เพื่อให้ท่านไม่หลงทางอย่างที่ผมหลงมาแล้ว เพราะหากท่านคิดว่าทุกอย่างเป็นแต่ความว่างเปล่าเมื่อตายไปก็จบเป็นแต่ความว่างเปล่าจึงทำให้ผู้หลงคิดดังนี้ ไม่กลัวบาป กลัวกรรม ไม่สนใจในการทำบุญสร้างกุศล เนื่องจากมีมิจฉาทิฏฐิ ทำให้โอกาสที่ได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นโมฆะ เป็นความว่างเปล่า ซึ่งเสียเวลาเกิดมาจริง ๆ เพราะผมก็เคยคิดอย่างนี้เช่นกัน ดังนั้นหากท่านพิจารณา ถึงลำดับชั้นที่ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงแล้ว ภพชาติ ที่ได้แสดงไว้ ย่อมไม่ใช่อยู่เพียงแค่อารมณ์ใจเท่านั้น ไม่ใช่สภาวะแค่ทางจิต ที่เกิด ๆ ดับ ในปัจจุบันเท่านั้น
ที่จริงการแบ่งระดับชั้นนั้นไม่มีความจำเป็นสำหรับกัลยาณชน แต่มีความจำเป็นสำหรับพระโยคาวจร เหตุเพราะพระโยคาวจรควรจะรู้ระยะทาง เส้นทาง และเป้าหมาย เพื่อจะได้ไม่ประมาทต่อการบำเพ็ญเพียรต่อไปอย่างน้อยเมื่อรู้ว่าตนอยู่ตรงไหน ก็จะได้รีบทำส่วนที่ขาด ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ในชาตินี้ อย่างน้อยก็รู้ว่ายังมีบารมีธรรมที่ต้องปฏิบัติกันอีกกี่ชาติ

ความแตกต่างของพระอรหันต์ จำแนกได้ย่อย เพียง 2 แบบ
1.แบบที่ 1 เป็นพระอรหันต์ ที่ ไม่มี ฌาน สมาบัติ    แบบนี้ไปได้ด้วยกำลังของวิปัสสนา แบบนี้ มีสมาธิ แค่ อุปจารสมาธิ ก็เพียงพอ แบบนี้ส่วนใหญ่จะแตกฉาณธรรม มีน้อยที่ไม่แตกฉาณธรรม  เพราะวิปัสสนา นั้นใช้กำลังแห่งปัญญา เป็นเครื่องแจ้ง และภาวนาโดยสติ เป็น เครื่องกำหนด รูป และ นาม
2.แบบที่ 2 เป็นพระอรหันต์ ที่ มี ฌาน สมาบัติ แบบนี้     ไปได้ด้วยกำลังของ สมถะ และ วิปัสสนา แบบนี้ มีสมาธิ ถึง อัปปนาสมาธิ แบบนี้ แล้วแต่ กรรมฐานที่ทำหรือปฏิบัติ มีความสามารถทางฤทธิ์ แตกต่างตามกัมมัฏฐาน ที่ได้ปฎิบัติ 
การทรงอารมณ์ โสดาปัตติผล ใช้เวลาเสวยอารมณ์ 2 -3 วัน จึงรู้ว่าเป็นสมุจเฉทในระดับนี้
การทรงอารมณ์ สกิทาคามิผล ใช้เวลาเสวยอารมณ์ 7 -8  วัน จึงรู้ว่าเป็นสมุจเฉทในระดับนี้
การทรงอารมณ์ อนามีผล ใช้เวลาเสวยอารมณ์ 20- 22  วัน จึงรู้ว่าเป็นสมุจเฉทในระดับนี้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2012, 05:09:02 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


วิปัสสนาญาณ 16
เป็นอารมณ์ ที่กำหนด สติ รู้รูปนาม รู้พระไตรลักษณ์ รู้มรรค รู้ผล รู้นิพพาน จำแนก ดังนี้
1.นามะรูปปะริจเฉทะญาณ  รู้แจ้งการกำหนด รูป และ นาม รู้ว่าอะไรเป็นรูป อะไรเป็น นาม
2.ปัจจยะปะริคคะหะญาณ สามารถกำหนด รู้แยก รูป และ นาม อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัย ( บางครั้งมาถึงตรงนี้ แล้ว จะเห็นว่า มีศัพท์ ทางธรรมเยอะมาก ซึ่งผู้ทำวิปัสสนาก็จำเป็นต้องรู้ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งเข้าใจง่าย ยิ่งรู้น้อยก็ยิ่งติดในอรรถะมาก จึงทำให้ผู้ทำวิปัสสนา เบื่อเอาซะดื้อ ๆ แต่ถึงเบื่ออย่างไร สาวกภูมิก็ไม่ท้อถอย กับการจดจำ และ เรียน ตรงนี้ หรอก )
3.สัมมะสะนะญาณ  ความรู้แจ้งโดยการกำหนดพิจารณา นามรูป ตามกฎ อนิจจัง ( ความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน )  ทุกขัง ( ความผสมกลมกลืนกับความไม่คงทน ไม่คงสภาพ อันนี้ไม่ใช่กล่าวถึง ทุกข์ ทางจิตนะ เป็นทุกข์ตามกฎแห่งธรรมชาติ ) อนัตตา ( ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน )
ต่อจากนี้เป็นวิปัสสนาญาณ 9 ดังนี้ ซึ่ง นับเป็น 4 – 12 ตามลำดับ
4  - 1.อุทยัพพะยานุปัสสะนาญาณ  ญาณอันรู้แจ้งซึ่งความเกิดขึ้น และดับไป แห่ง ขันธ์  5 นามรูป
5 -  2.ภังคานุปัสสะนาญาณ ญาณอันรู้แจ้งเห็นความสลายแห่งสังขาร และเข้าใจถึงความจบสิ้นไปแห่งสังขาร ที่วนเวียนอยู่ด้วย ความเกิด และ ความดับ ปนเป อยู่ ใน อุปัตติ ทุกข์ ชาติ ชรา พยาธิ และ มรณะ
6 - 3.ภะยะตูปัฏฐานะญาณ ญาณอันรู้แจ้งถึงความน่ากลัว ของความแตกสลายไป แล้ว ย่อมเวียนว่ายตายเกิด และมองเห็นภัยในวัฏฏะเป็นสิ่งน่ากลัว
7 - 4.อาทีนะวะนุปัสสะนาญาณ ญาณอันรู้แจ้งซึ่งโทษแห่ง การเวียนว่าย ตาย เกิด ในวัฏฏะสงสาร
8 - 5.นิพพิทานุปัสสะนาญาณ ญาณอันรู้แจ้ง ถึงความเหนื่อยหน่าย ต่อการเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป ซึ่งมีผล ให้เกิดความไม่เพลิดเพลิน หรือ ยินดี ต่อการเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป
9 - 6.มุญจิตุกัมมะยะตาญาณ ญาณอันรู้แจ้ง ซึ่งความต้องการ จากไป หรือ ออกไป จาก วัฏฏะสงสาร
10 - 7.ปะฏิสังขานุปัสสะนาญาณ ญาณอันรู้แจ้ง เข้าไปกำหนดเฉพาะสังขาร คือ ขันธ์ 5 มากำหนดพิจารณา ตามหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
11 - 8.สังขารุเปกขาญาณ  ญาณอันรู้แจ้ง วางอารมณ์ เป็นการวางเฉย ต่อสังขาร โดยมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นธรรมดา
12 - 9.สัจจานุโลมิกะญาณ ญาณอันรู้แจ้งความเป็นจริง ต่อการละดับทุกข์ เข้าถึง นิพพาน 3  ลักษณะ
13.โคตะระภูญาณ ญาณที่ทำให้มองเห็นความทุกข์ที่เกิดจากการเวียนว่ายตายเกิด เป็นเรื่องที่ต้องหนี และต้องตัดและต้องทำลายให้สิ้น ผู้ที่ได้ญาณ ชื่อว่า พระโยคาวจร คือผู้มองเห็นโทษแห่ง วัฏฏะสงสาร และพยายามทำลายทิ้ง ซึ่งตัณหา และ อุปาทาน
14.มัคคามัคคะญาณ ญาณที่เป็นเหตุให้เป็น พระอริยบุคคล ลำดับต่าง ๆ ในที่นี้ก็คือ วิธีการละสังโยชน์ นั่นเอง
15.ผลญาณ ญาณที่เป็นผลจากจากละสังโยชน์ ในระดับต่าง ๆ
16.ปัจจเวกขะณะญาณ  ญาณที่ทำให้เกิดมีการทบทวนพิจารณา  กิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่  และนิพพาน
การกล่าวถึงวิปัสสนาญาณ ท่านจัดเป็น โลกุตตระญาณเพียง 2 ข้อ คือ ข้อที่ 14 และ 15 นอกนั้นเป็นโลกียะญาณ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2012, 05:14:00 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ดังจะพรรณนา ความหมายข้อที่ 2 ดังนี้
รู้แทงตลอดอย่างชัดเจน
หมายความว่า รู้รูปนาม ตามทวารทั้ง 6 และรู้รูปนามตามอิริยาบถต่าง ๆ
รู้รูปนามตามทวารทั้ง 6 นั้น คือ รู้อย่างนี้
1.เวลา ตา เห็นรูป
2.หู ได้ยิน เสียง
3.จมูก ได้ กลิ่น
4.ลิ้น ได้ลิ้ม รส
5.กาย ถูกต้อง เย็นร้อน อ่อน แข็ง
6.ใจ นึกคิด ธรรมารมณ์
รู้ได้ว่ากระบวนการของ ขันธ์ 5 ได้เกิดขึ้นแล้ว
ยกตัวอย่าง
ตา ได้ เห็น รูป  ตอนนี้ เป็นรูปขันธ์
จักขุประสาท ก็เป็นรูป  รูปกระทบ คือ สี ลักษณะ สัณฐาน ก็เป็นรูป
รูปขันธ์ เมื่อเกิดแล้ว ถ้ารู้สึกสบาย หรือ ไม่สบาย หรือ เป็นกลาง ๆ ตอนนี้ เป็น เวทนาขันธ์
ในขณะนั้น ก็สามารถ จำแนก รูปขันธ์ในบัญญัติ ได้ ทั้งที่จำได้ หรือ จำไม่ได้ ตอนนี้ เป็น สัญญาขันธ์
เมื่อสัญญาขันธ์ เกิดขึ้น ก็เกิดความคิด ปรุงแต่งกับรูปขันธ์  และ เวทนาขันธ์ ด้วยอาการต่าง ๆ ตอนนี้ สังขารขันธ์ ได้เกิดขึ้นแล้ว
เมื่อสังขารขันธ์ เกิดขึ้น ความรู้ก็เกิดขึ้น  วิญญาณขันธ์ ก็เกิดขึ้น
ย่อขันธ์ทั้ง 5 ลง คงเหลือ เพียง รูป และ นาม
รูป คงเป็น รูป 
เวทนา สัญญา  สังขาร และ วิญญาณ เป็นนาม
เมื่อรู้รูป นาม เกิดขึ้นแล้ว ก็จะต้องรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นตามมา  สิ่งที่เกิด ขึ้นตามมาเรียกว่า กิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ยกตัวอย่าง
เวลา เห็น รูป สวยดี เกิด ความชอบใจ โลภะ ก็เกิด , ถ้าไม่ชอบใจ โทสะ ก็เกิด , เห็นรูปเกิด แบบกลางๆ ถ้าไม่มีสติกำกับ แล้ว โมหะ ก็เกิด โมหะเป็นความหลง
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะมี เหตุปัจจัย คือ  อิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ชอบใจ )อนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่ชอบใจ) และมัชฌัตตารมณ์ (อารมณ์ที่เป็นอยู่กลางอารมณ์ที่ชอบใจและไม่ชอบใจ คือพร้อมจะเป็นอารมณ์ทั้ง 2 ) เป็นวงจรให้เกิดกิเลส คือราคะ โทสะ และ โมหะ
โดยย่อ ก็มีการ ลำดับ ดังนี้ คือ ราคานุสัย ทำให้เกิด โลภะ =>โลภะ ทำให้เกิด ตัณหา => ตัณหา ทำให้เกิด อะภิชฌา =>อะภิชฌา ทำให้เกิด อุปาทาน => อุปาทาน ทำให้เกิด การเวียนว่ายตายเกิด
   โดยพิสดาร ก็มองเห็น ปฎิจจสมุปบาท  คือความที่สิ่งนี้ สิ่งนี้ จึงมี จึงเกิดขึ้น  เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ดังนี้
        อวิชชา=>สังขาร=>วิญญาณ=>นามรูป=>สฬายตะนะ=>ผัสสะ=>เวทนา=>ตัณหา=>อุปาทาน=>ภพ=>ชาติ=>ชรามรณะ=>ทุกข์=>อวิชชา
   ( โปรดศึกษา เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เพิ่มเติม จะเข้าใจ องค์วิปัสสนา เพิ่มขึ้น )
    จะปฏิบัติอย่างไร จึงจะกันให้กิเลส ไม่ให้เกิดขึ้น ทางทวารทั้ง 6 ได้
   ต้องเจริญวิปัสสนา คือมีสติ กำหนดรู้ตามทวารทั้ง 6 นั้น ๆ
ตา ได้ เห็น  รูป ก็ภาวนาว่า “เห็นหนอ ๆ” เป็นต้น
หู  ได้ ยิน  เสียง ก็ภาวนาว่า “ได้ยินหนอ” เป็นต้น
ลิ้น ได้ ลิ้ม รส ก็ภาวนาว่า “ได้รู้รสหนอ” เป็นต้น
จมูก  ได้กลิ่น   ก็ภาวนาว่า “ได้กลิ่นหนอ” เป็นต้น
กาย ได้รับ  สัมผัส ก็ภาวนาว่า “เย็นหนอ ร้อนหนอ อ่อนหนอ แข็งหนอ” เป็นต้น
ใจ ได้รับ ธรรมารมณ์ ก็ภาวนาว่า “มิสติ รู้หนอ” เป็นต้น
   เมื่อผู้ภาวนา จนเกิด ญาณ ก็ย่อมหลุด และ ออก จากวงจร สังสารวัฎ ได้
            ทุกข์ ชาติ ชรา มรณะ =>บุญกุศล=> ปราโมทย์=> ปีติ =>ปัสสัทธิ=>  สุข=> สมาธิ => ยถาภูตะญาณทัศนะ =>นิพพิทา=>วิราคะ=> วิมุตติ=> วิมุตติญาณะทัศนะ=> มรรค=>ผล=>นิพพาน
   รู้รูปนามตามอิริยาบถต่าง ๆ หมายความว่า
   อิริยาบถ หมายถึง อิริยาบถใหญ่ กับ อิริยาบถย่อย
   อิริยาบถใหญ่ ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง นอน
   อิริยาบถย่อย ได้แก่ การก้าวไป ถอยกลับ เหยียด นุ่ง ห่ม ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ เป็นต้น
   รู้รูปนามตามอิริยาบถใหญ่นั้น หมายถึง ดังนี้
1.   รู้ว่า  ยืน เป็น รูป  รู้ว่า ยืน เป็น นาม
2.   รู้ว่า  เดิน เป็น รูป  รู้ว่า เดิน เป็น นาม
3.   รู้ว่า  นั่ง เป็น รูป  รู้ว่า นั่ง เป็น นาม
4.   รู้ว่า  นอน เป็น รูป  รู้ว่า นอน เป็น นาม
เวลาปฏิบัติจริง จะภาวนาว่า ยืน เป็น รูป รู้ว่ายืน เป็น นาม ทำได้ยาก เพราะไม่ทันปัจจุบัน และไม่ถูกสภาวะ เป็นการ รู้ตามปริยัติ แบบเรียนมากเกินไป ให้ผู้ปฏิบัติภาวนาว่า “ยืนหนอ ๆ” เป็นต้น จึงจะทันปัจจุบัน ทันรูป และ ทันนาม รู้อย่างนี้เป็นการรู้และปฏิบัติ ตาม อริยะมรรค ทั้ง 8
เช่น ขณะที่ยืน อยู่ ภาวนาว่า “ยืนหนอ ๆ” กายกรรม 3 วจีกรรม 4 บริสุทธิ์ ตอนนี้จัดเป็น ศีล หรือ เป็น สัมมาอาชีวะ สัมมากัมมันตะ และ สัมมาวาจา ขณะที่ภาวนา อยู่นั้นใจพร้อมด้วยองค์ 3  มี ใจไม่เผลอจากรูปนาม คือไม่เผลอ จากอิริยาบถ ที่ยืนอยู่ ในขณะที่ภาวนาอยู่ ขณะนี้ก็จัดเป็น สมาธิ เป็น สัมมาสมาธิ สัมมาสติ สัมมาวายามะ ส่วนอารมณ์ที่เห็นญาณ คือความรู้กำหนดให้เกิด สติ ก่อนทำ และ หลังทำ นั้น เป็นปัญญา เป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เมื่อภาวนาอยู่อย่างนี้ จึงได้ชื่อว่า อยู่ในทางสายกลาง หรือ หนทางแห่งพระอริยะ ย่อมมีปลายทาง คือ โลกุตตระธรรม 9 อัน มี มรรค 4  ผล 4  นิพพาน 1 เป็นเป้าหมาย



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://larndham.net
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2012, 05:16:38 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


อริยมรรค หนทางสู่การเป็นพระอริยะ ( ผู้ สิ้นทุกข์ พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ) มีองค์ 8
•   1.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง หมายเห็นรู้และเข้าใจ อริยสัจจะ 4
•   2.สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง หมายถึง สังวร 4
•   3.สัมมากัมมันตะ ความทำการงานถูกต้อง  หมายถึง เป็นผู้มีกายกรรม 3
•   4.สัมมาวาจา ความพูดจาถูกต้อง หมายถึง เป็นผู้มีวจีกรรม 4
•   5.สัมมาอาชีวะ ความประกอบการเลี้ยงชีพอย่างสุจริต  หมายถึง อาชีวปาริสุทธิศีล
•   6.สัมมาวายามะ ความพากเพียรถูกต้อง หมายถึง อิทธิบาท 4
•   7.สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง หมายถึง การระลึกรู้รูป นาม หรือ สติปัฏฐาน 4
•   8.สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นถูกต้อง หมายถึง ปฐมฌาน เป็นต้นไป
ดังนั้น การกำหนด สติ รู้ นั้น เป็น วิปัสสนา ที่สำคัญ จัดเข้าไว้ใน สติปัฏฐาน ทั้ง 4 ซึ่งผู้ปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติย่อมถึง ซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์ พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับรองไว้ว่า ขั้นต่ำ ก็เป็นพระอนาคามี ขั้นสูง ก็จักได้เป็นพระอรหันต์ ซึ่งย่อมถึงได้ เร็วสุด ภายใน 7 วัน อย่างช้าก็ 7 ปี ซึ่งการเจริญสติปัฏฐาน ทั้ง 4 นั้นไม่ว่าจะเป็นพระอรหันต์ แบบอภิญญา ก็ต้องเจริญ แบบนี้ แต่อารมณ์ที่ใช้จะเป็นอารมณ์ ที่ละเอียดกว่า พระอรหันต์ แบบสุกขะวิปัสสก  ต่างกันเพียง ผลสมาบัติ จะมีได้ในพระอรหันต์ สุกขวิปัสสก ส่วน นิโรธสมาบัติ นั้นจะมีได้ในพระอรหันต์ แบบอภิญญา ที่จริงแล้ว การเข้าถึงนิพพาน เป็นเรื่องสำคัญมากกว่า การที่เราจะมัวมาสนใจเรื่อง ฤทธิ์ เพราะ ฤทธิ์ มีไว้ใช้ได้ เพียงช่วงที่มีชีวิตอยู่ในโลก มนุษย์ เท่านั้น
อานิสงค์ ของการเจริญ วิปัสสนา ตั้งแต่เบื้องต้น ถึง เบื้องปลาย มีพระอริยะเถระท่านพรรณนาไว้ดังนี้
1.กันโง่ เพราะมีสติ  สติ เป็นคู่ปรับ ของโมหะ
2.เป็นมหากุศล คือเป็นบุญ ทุก  ๆ ขณะ ที่ลงมือปฏิบัติ เพราะมีทั้ง ศีล สมาธิ และ ปัญญา
3.เป็นคนไม่ประมาท เพราะมีการระลึกได้ อยู่ กับรูป และ นาม
4.มีสติ ตั้งมั่น ดี ทั้งในยามปกติ และ เวลา ใกล้จะตาย
5.ได้บำเพ็ญ ศีล สมาธิ และ ปัญญา ไป พร้อมกัน
6.ได้เดินทางสายกลาง คือ อริยมรรค 8
7.ได้ปฎิบัติ ตามพระพุทธโอวาท  เป็นพระสาวกภูมิ
8.ได้เดินทาง สายเอก คือ หนึ่งไม่มี สอง เอกายนมรรค
9.ทำตนให้ฉลาด ให้รู้หลักความจริง ให้รู้จักใช้ชีวิตประจำวัน
10.ทำตนให้รู้จักปรมัตถะธรรม ไม่หลงติดอยู่ ในบัญญัติธรรม อันเป็นเพียงโลกสมบัติ
11.ทำให้คนมีศีลธรรม วัฒนธรรมอันดีงาม
12.ทำคนให้รักใคร่กัน สนิทสนมกลมกลืนกัน เข้ากันได้
13.ทำคนให้มีเมตตากรุณาต่อกัน เอ็นดูกัน สงสารกัน พลอยยินดีอนุโมทนาสาธุการในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี
14.ทำคนให้เป็นคน ทำคนให้ดีกว่าคน ทำคนให้เป็นเลิศ
15.ทำคนให้ไม่เบียดเบียนกัน ทำคนไม่ให้เอารัดเอาเปรียบ ซึ่งกันและกัน
16.ทำคนให้หมด สังโยชน์ 10 ได้
และที่ท่านพรรณนาไว้ เห็นมีอีกมาก ท่านกล่าวว่า วิปัสสนานั้น
“เด็กปฏิบัติได้ ผู้ใหญ่ปฏิบัติดี พระเถรเณรชีปฏิบัติดี ทั้งนั้น”
ดังที่ข้าพเจ้า ได้พรรณนามาแล้วเห็นสมควรแก่การจบ “สติสัมปชัญญะกถา” ถึงเห็นว่ายังไม่จบ แต่ก็ขอสมมุติว่าจบ แต่เพียงเป็นเหตุให้กำลังใจ และได้แนวทางในการ ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน สืบต่อไป
บุญกุศลอันใดที่ข้าพเจ้า ได้แสดงแล้ว ทำให้ท่านได้เกิดปัญญาญาณ แม้มาก หรือ น้อยก็ตาม ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ บิดา และ มารดา ภรรยา และ บุตร ของข้าพเจ้า และ ญาติของข้าพเจ้า ที่ล่วงลับไปแล้ว ตลอดถึงเจ้ากรรมนายเวร ของข้าพเจ้า เทพและเทวดา ผู้ปกปักรักษาข้าพเจ้า ยักษา ผู้ปกปักรักษาข้าพเจ้า ภูติและสัมภะเวสี ทั้งหลายที่คอยปกปักรักษา ข้าพเจ้า ขอให้ผู้ที่ข้าพเจ้า กล่าวนามทั้งหมดนั้น จงมีส่วนได้ในบุญ กุศล ที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วนี้เทอญ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2012, 05:20:48 pm โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ ขอรับ รอบนี้เป็นบทบรรยายซึ่งมีความยาว นะครับอ่านกันเพลิน ๆ เป็นชั่วโมงครับ
ขอบคุณพระอาจารย์มากครับ

 :c017: :25:
บันทึกการเข้า

GodSider

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 121
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ นาน ๆ ได้อ่าน ธรรมบรรยายจากพระอาจารย์ ฉบับยาว อ่านแล้วรู้สึกเข้าใจเป็นอย่างมากเลยนะครับ อันที่จริงน่าจะพิมพ์แจกเลยนะครับเรื่องนี้ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
สุดเขต เสลดเป็ด ไกลสุดกู่ ใกล้แค่ ปลายจมูก

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เนื้อหาให้ดาวน์โหลด อยู่ที่ลิงก์ นี้ครับ
แต่ต้องเป็นสมาชิก ถึงจะโหลดได้นะครับ

* 04-วิปัสสนา1 ใหม่.doc (107.5 kB - ดาวน์โหลด 11 ครั้ง.) ไฟล์เล็กมากเลยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=78.msg4161#msg4161

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เจริญพร / เจริญธรรม

 เืรื่องนี้อาจจะยาวสักหน่อย แต่ น่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านที่ต้องการภาวนา แบบ วิปัสสนา กันนะจ๊ะ
ดังนั้นจึิง เจริญพร เชิญท่านอ่านทบทวน ซึ่งได้แบ่งเป็นตอน ๆ ไว้ให้เข้าใจได้ คิดว่า ง่ายที่สุด หากไม่เข้าใจตรงส่วนไหน ก็ตั้งคำถามเข้ามานะจีะ

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

poepun

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณพระอาจารจย์มากครับ พึ่งได้อ่านกระทู้นี้ครับ นับว่าเป็นบทความต่อยอดการภาวนาให้ผมได้มากเลยครับ สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25: :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า

DANAPOL

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 332
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นาน ๆ จะได้เข้ามาอ่าน พอได้อ่านเรื่องนี้แล้ว ตาสว่างมากขึ้นเลยครับ มีหลายอย่างที่ติดขัดในใจผมมานาน พออ่านแล้ว เหมือนมันโพล่ง โล่งเลยครับ

  st11 st12 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
รหัสธรรม ต้องใช้ปัญญาคือความรู้ ผู้ถือกุญแจคือใครหนอ...

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ เพือน ๆ อ่านเรื่องนี้กันหรือยัง

  วิปัสสนา ล้วน ๆ นะ อันนี้

  st11 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Skydragon

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 92
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 thk56 thk56 thk56

ต้องอ่านซะหน่อย ครับ ช่วงนี้ ฝึกตน ให้เหมาะสม ในช่วงเข้าพรรษา

 
บันทึกการเข้า

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :25: :25: :25: :25:
เห็นด้วยครับ อ่าน เรื่องเก่า ที่ยังไม่ได้ อ่านกันก็ดี นะครับ
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
เนื้อหาตรงนี้ แสดง ถึงเรื่อง วิปัสสนา ก่อนที่พระอาจารย์ จะได้มาแนวทาง สายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ พออ่านตรงนี้ มันมีความรู้สึกว่า ตรงนี้ดูเหมือนจะง่าย แต่พอเข้าไปอ่าน ทบทวนในห้อง วิชชาศิษย์สายตรงแล้ว ตรงนั้นกับดู คัมภีรภาพ คือ ลึกซึ้งมากกว่า เพราะตามอ่านแล้ว เหมือนจะไม่เข้าใจเลย

  เปรียบเทียบ

   สติ สัมปชัญญะกถา
     อ่านได้ง่าย เข้าใจได้ตาม เหมือนที่เคยฝึกปฏิบัติมาในสายอื่น ๆ ฟังแล้วเหมือนครูอาจารย์ ทุกรูป ทุกองค์ พูดได้ เหมือน ๆกัน สอนไม่ต่างกัน ประมาณนั้น  แต่ ใจฉันก็รู้ว่า มันเพียงแต่รู้ แต่กิเลสในใจก็มิได้ลดลง มันมีแต่ว่าสอนให้ยอมรับสภาพ และปล่อยวาง แต่ใจมันก็ไม่ได้ยากวาง เหมือนจะเข้าใจ และก็ไม่เข้าใจไปในตัว

   วิปัสสนา ในห้องวิชชาศิษย์สายตรง
    อ่านได้เข้าใจยากมาก แต่มีความรู้สึกว่า นี้คือหนทางการปฏิบัติที่กระชับมากที่สุด เมื่อปฏิบัติตาม รู้สึกผลที่ได้ ไม่ใช่เพียงเปลี่ยนแต่เรื่องจิต แม้การวางก็เกิดขึ้นอย่างไม่เข้าใจ ปีติ ทีเกิดขึ้น ความหน่ายที่เกิดขึ่้น ล้วนแล้วแต่เป็นจากข้อความที่ห้องนี้

   :58: :49:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น