ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: http://www.polyboon.com/worship/dhumma03_04.html ใครชอบแนวกสิณ ทางนี้  (อ่าน 4307 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
http://www.polyboon.com/worship/dhumma03_04.html ใครชอบแนวกสิณ ทางนี้
« เมื่อ: มิถุนายน 28, 2011, 08:52:55 am »
0




ใครต้องการฝึกแนวกสิณ ก็ลองไปอ่านดูแนะนำ

http://www.polyboon.com/worship/dhumma03_04.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2011, 08:54:21 am โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

patra

  • RDNpromote
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรมรรค
  • ********
  • ผลบุญ: +100/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 971
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เล่าการฝึกกสิณ(แสงสว่าง)จากประสบการณ์ตนเอง
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2011, 08:55:05 am »
0
เล่าการฝึกกสิณ(แสงสว่าง)จากประสบการณ์ตนเอง

1.นำวัตถุที่ใช้เพ่งมาวางที่ตำแหน่งที่มองถนัด และมองได้บ่อยค่ะ
มอง ด้วยอารมณ์สบาย ผ่อนคลาย ระลึกรู้ถึงความเป็นธาตุนั้นๆ เช่น ธาตุไฟ ก็ระลึกรู้ว่าเป็นธาตุไฟ พร้อมภาวนาตามธาตุนั้น เช่นกสิณไฟ ภาวนาว่า"ไฟ" หรือ"เตโชกสิณัง"

ถ้ากสิณแสงสว่าง (ดิฉันใช้ลูกแก้วกลมใสสำหรับมอง) ภาวนาว่า "แสงสว่าง" หรือ"อาโลกากสิณัง"ก็ได้ หรือจะภาวนาว่า "อาโลโก" ก็ได้
ดิฉัน ภาวนาว่า "อาโลโก" เพราะเป็นคำถนัดมาจากอดีตค่ะ (เลือกตามความชอบและความถนัด) ทั้งนี้ ภาวนาในจังหวะที่สอดคล้องกับลมหายใจตามธรรมชาติค่ะ

สรุปข้อนี้ว่า ใช้ใจจับภาพ จับลมหายใจตามธรรมชาติ และภาวนาอย่างสอดคล้องกันทั้งสามอย่างค่ะ

2.มอง วัตถุที่ใช้เป็นนิมิตรแล้วลองหลับตา หากภาพนั้นติดเป็น"อุคหนิมิตร" ก็จะเห็นว่า หลับตาแล้วจะเป็นภาพกึ่งตาเห็น กึ่งใจเห็น (คล้ายเรากำหนดภาพขึ้นมาเองจนเหมือนวัตถุที่ตาเราเห็นตอนลืมตานั้น)

ส่วนอุคหนิมิตรในกสิณแสงสว่างแบบลืมตานั้น ดิฉันเห็นอุคหนิมิตรเป็นลูกแก้วใสลอยอยู่ในอากาศ บางเบาเทียบเท่า1/10 ของฟองสบู่ค่ะ
(แต่ฝึกขั้นแรก มองแบบหลับตาส่วนใหญ่จะง่ายกว่า)

ขั้นต้นนี้ สำคัญว่า มองวัตถุ(แบบสบายๆ)จนได้อุคหนิมิตรก่อน จะกี่วัน หรือกี่เดือนก็ตาม ต้องได้อุคหนิมิตรก่อนค่ะ
บางท่านที่เคยสำเร็จมาในอดีตชาติ มองไม่ถึงชั่วโมงก็ได้อุคหนิมิตรแล้วก็เป็นไปได้

3.เมื่อใดที่ได้อุคหนิมิตรแล้ว หลับตาหรือลืมตามองอุคหนิมิตร(อย่างแผ่วเบาด้วยอารมณ์สบาย)ต่อไป คือใจยังจับกับภาพและลมหายใจ
คำภาวนาจะค่อยๆ หายไปเอง
(บาง ท่านที่ไม่ถนัดภาวนาจริงๆ ก็ไม่ต้องภาวนาก็ได้ค่ะ แต่ให้ใจหมายรู้ว่าเรากำลังทำกสิณใดอยู่ แต่รู้แบบไม่คิด ใจในสมาธิจะค่อยๆเข้าสู่อารมณ์อุบกขามากขึ้นเองนะคะ)

4.อุคหนิมิตรจะ เริ่มเปลี่ยนสภาพเองเป็นปฏิภาคนิมิตรในช่วงใดช่วงหนึ่ง ภาพนิมิตรที่มองนั้นจะเป็นผลึกแก้วแล้วใสขึ้น (ใจยังจับภาพอุคหนิมิตรอยู่ แต่อารมณ์จะนิ่งขึ้นเรื่อยๆ)

5.บางท่านอาจมีปิติบ้าง ก็ปล่อยไปคือไม่สนใจปิติ ใจยังจับภาพอุคหนิมิตรอยู่ อุคหนิมิตรจะใสขึ้นๆ แต่บางท่านจะไม่รู้สึกถึงปิติ เช่น ขนลุก เพราะปิติผ่านไปเร็ว ซึ่งเป็นการดีค่ะ

6.(ลมหายใจจะหมดไปเอง แต่ตลอดมานั้นไม่สนใจลมหายใจเท่าปฏิภาคนิมิตร) ใจส่วนใหญ่จับที่ปฏิภาคนิมิตร ปฏิภาคนิมิตรจะกลายเป็นแก้วประกายพรึก หรือแก้วใสประกายแบบเพชรเองตามธรรมชาติเมื่อใจสู่อุเบกขารมณ์ หรืออารมณ์นิ่ง ดิ่งวางเฉย
ตรงนี้คือฌานสี่ในกสิณ

สรุปโดยรวมคือ
1.มองวัตถุให้เกิดอุคหนิมิตรประจำก่อน คือลืมตาหรือหลับตาเมื่อใดก็กำหนดเห็นอุคหนิมิตรได้
2.วาง อารมณ์แผ่วเบา ใจ(กึ่งตา)จับอุคหนิมิตร ภาวนาให้สอดคล้องกับลมหายใจ (หรือถ้าไม่ถนัด ก็ไม่ต้องภาวนาก็ได้ค่ะ แต่ใช้ใจกึ่งตาจับอุคหนิมิตรต่อไป แบบหลับตาหรือลืมตาก็ได้)
3.อุคหนิมิตรจะกลายเป็นปฏิภาคนิมิตร ระหว่างเป็นปฏิภาคนิมิตรจะย่อ ขยายปฏิภาคนิมิตรได้ตามใจ จะลองย่อ ขยายด้วยใจนึกดูก็ได้ ถ้าลองทำแล้วรู้ว่าทำได้จริง ต่อไปไม่จำเป็นว่าต้องย่อ ขยายภาพนิมิตรทุกครั้งก็ได้ค่ะ
4.เมื่อปฏิภาคนิมิตรใสเป็นประกายเพชร ก็จะเริ่มอธิษฐานได้

การฝึกกสิณแบบลืมตานั้นแบ่งเป็น 2 แบบ

(คล้ายๆ กับการฝึกแบบหลับตา)
นั่นคือ
1. ทรงภาพอุคหนิมิตรและปฏิภาคนิมิตรไว้ภายในตัวเรา
เช่นทรงภาพไว้ในอก หรือในศีรษะ เป็นต้น
แบบนี้เป็นการทรงนิมิตรไว้ในมโนภาพค่ะ
(ถ้าเป็นการฝึกแบบหลับตา ผู้ฝึกจะเห็นดวงกสิณด้วยใจ หรือด้วยมโนภาพเช่นเดียวกันค่ะ)

2.ทรงภาพอุคหนิมิตรและปฏิภาคนิมิตรไว้ภายนอกตัวเรา
นั่นคือ เมื่อลืมตามอง จะใช้ใจที่ทรงอารมณ์ทำให้ตาเนื้อเราเห็นภาพกสิณลอยอยู่ในอากาศเบื้องหน้าจริงๆ ค่ะ
(ส่วนการทรงภาพแบบหลับตานั้น ถ้าทรงภาพแบบนอกตัว ก็คือการทรงดวงกสิณไว้ที่เปลือกตาค่ะ)

ท่านที่ฝึกฝนนั้น เลือกฝึกแบบใดแบบหนึ่งก็ได้ค่ะ เลือกแบบที่ตนคิดว่าฝึกแล้วถนัดที่สุดก็ใช้ได้เหมือนๆ กันค่ะ


*ผมคัดลอกมาจากเวบพลังจิตนะครับ เป็นความเห็นคำแนะนำของคุณ ณฐมณฑ์
ผมปฏิบัติตามแล้วรู้สึกสบาย ไม่เครียด ชัดเจนทรงอารมณ์ได้ดี

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2011, 09:16:18 am โดย patra »
บันทึกการเข้า
ข้าพจ้า สนับสนุนการเผยแผ่ พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

RATCHANEE

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: http://www.polyboon.com/worship/dhumma03_04.html ใครชอบแนวกสิณ ทางนี้
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2011, 09:49:07 pm »
0
สาธุ คะ กำลังหาอยู่พอดี เลยคะ

 :c017: :25:
บันทึกการเข้า