ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เห็นสุขเห็นทุกข์ : ธรรมะยู-เทิร์น  (อ่าน 1793 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เห็นสุขเห็นทุกข์ : ธรรมะยู-เทิร์น
« เมื่อ: มีนาคม 28, 2015, 08:33:05 pm »
0


เห็นสุขเห็นทุกข์ : ธรรมะยู-เทิร์น
โดย อิทธิโชโต

    "เราตถาคต บัญญัติเพื่อความเพิกถอน ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบัน,
     กล่าวคือ บัญญัติสั่งสอนทั้งปวงก็เพื่อการเพิกถอนหรือดับเหล่าอุปาทานทุกข์ทั้งหลายในปัจจุบันชาติลงไปเสียนั่นเอง
(พระไตรปิฏก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๓/๑๕๑)

     การจะถอนอุปาทานได้ อันดับแรก "คำบริกรรม" เป็นตัวช่วย เป็นสิ่งสำคัญในการภาวนา อาศัยเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเวลาที่เรากำลังฝึกฝนให้เกิดสติจนมีกำลังในการถอดถอนกิเลส เราอาจจะใช้คำบริกรรมว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือ พุทโธ เฉยๆ ไม่ก็ใช้อานาปานสติ กำหนดสติไว้ที่ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ก็ได้  ให้มีสติอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น และให้ทำอย่างต่อเนื่อง  เมื่อจิตมีที่เกาะคือพุทโธ หรือ ลมหายใจ สติจะค่อยๆ มีกำลังขึ้น

      :96: :96: :96: :96:

     เมื่อสติเข้มแข็ง ก็ทำให้จิตใจเข้มแข็ง และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ทางศาสนา
     ศาสนาคือ ธรรมชาติ คือความจริง ที่ทำให้เราเห็นทุกข์ เห็นสุข
     การภาวนา นอกจากช่วยทางด้านจิตใจแล้ว ยังมีอานิสงส์ถึงร่างกายด้วย เป็นธรรมโอสถอย่างดีเยี่ยม

     สมัยก่อนไม่มีโรงพยาบาล พระอยู่มาได้อย่างไร ในป่าในดง เมืองไทยเรามีแต่ไข้ป่ามาลาเรีย คนไม่เข้าใจก็มองว่าอันตราย ไม่กล้าไปอยู่ แต่พระท่านก็อยู่ได้ ก็ด้วยธรรมโอสถ เพราะฝึกจิตมาดีแล้ว ผลจากการฝึกจิตนี่แหละที่จะทำให้เห็นว่า ทุกข์เกิดจากอะไร เจ็บไข้ได้ป่วยก็เป็นทุกข์ใช่ไหม พอจิตเข้าไปเห็น ก็วาง  สำหรับพระที่จะไปธุดงค์ อยู่ป่าเขาได้ต้องเป็นพระที่พร้อมในการที่จะปฏิบัติแล้ว ไม่ใช่ทุกคนจะทำเช่นนั้นได้ หากจิตกำลังไม่พอ


       :25: :25: :25: :25:

      พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุบวชมา พรรษาที่ ๑ ถึงพรรษาที่ ๕ ต้องอยู่เรียนเสียก่อน อยู่ให้พ้นพระนวกะเสียก่อน จากนั้นค่อยออกจากครูบาอาจารย์ไปหาปฏิบัติวิเวกได้ เพราะร่ำเรียนมาแล้ว พอออกไปภาวนาเองก็ดำรงอยู่ได้เวลาป่วยไข้ เมื่อจิตสงบ จิตเป็นสมาธิ จะมีอยู่อย่างเดียวที่เรามีคือ "ความรู้"

      ความรู้ที่ว่านี้ไม่ใช่ความรู้ทางโลก ไม่ใช่ความรู้จากความคิด แต่เป็นความรู้ที่จิตอย่างเดียว หรือจะเรียกว่า จิตคือความรู้ ก็ได้ รู้ว่าที่เจ็บไข้ได้ป่วย มันเป็นธรรมชาติ หากจิตไม่มีความรู้ มันจะไปยึด แต่เมื่อรู้ จิตมันจะทิ้ง หรือปล่อยวาง นี่คือ ธรรมโอสถ เพราะฉะนั้น หากเรามาฝึกจิต พระที่ป่วย หรือคนที่ป่วย ก็จะได้อานิสงส์จากจิตที่สงบจากการภาวนานี้

      หากเราเห็นคุณค่าของการภาวนาแล้ว ไม่ยาก พยายามตื่นขึ้นมาตอนเช้า แล้วให้ของขวัญกับชีวิตตนเองด้วยการบริกรรมอยู่กับพุทโธอย่างต่อเนื่องสักพักหนึ่ง ไม่ก็ให้มีสติอยู่กับลมหายใจสักครู่หนึ่ง ก่อนที่จะไปทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ด้วยจิตที่มีสติตื่นรู้ นี่จึงจะเรียกว่า ภาวนาเป็นแล้ว


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20150327/203690.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เห็นสุขเห็นทุกข์ : ธรรมะยู-เทิร์น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 30, 2015, 08:30:54 am »
0
 thk56 :s_good: :035: :035:
           ขออนุโมทนาสาธุ :104:
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เห็นสุขเห็นทุกข์ : ธรรมะยู-เทิร์น
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 01, 2015, 04:58:50 pm »
0
ได้ฟังเรื่อง ธรรม สอง ส่วน ไปครั้งหนึ่ง แต่ยังไม่เข้าใจ
แต่ก็มีหลายช่วง ที่ฟัง แล้ว มันเหมือน ว่าใจ จะรู้ตาม แต่ เวลาจะแสดงความเห็น ออกมาก กลับนึกหาคำพูดมาแสดง ส่วนที่คิดว่า เข้าใจ นั้นไม่ได้ คะ

   :58: st12
บันทึกการเข้า