ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เสริมสร้างสุขภาพเชิงพุทธ ถอดรหัสมนุษย์มีอายุยืน  (อ่าน 5559 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เสริมสร้างสุขภาพเชิงพุทธ ถอดรหัสมนุษย์มีอายุยืน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งที่มนุษย์ทุกคนปรารถนาที่สุดคือการมีสุขภาพดีและมีอายุยืนยาว

เพื่ออยู่กับคนที่เรารัก ข่าวดีและเป็นความมหัศจรรย์สำหรับคนไทยทุกคน ทุกสถานะ คุณไม่ต้องใช้เงินก็สามารถมีสุขภาพดีได้ จากผลงานวิจัยที่ชนะเลิศคว้า ๒ รางวัล วิทยานิพนธ์ดีเด่นประจำปี ๒๕๕๓ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและรางวัลการประกวดวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาเครือข่าย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) สาขาการพัฒนาสังคม ของ วิไลวรรณ อาจาริยานนท์

ช่วยไขรหัสลับถึงสาเหตุที่บางคนมีสุขภาพดี บางคนขี้โรค บางคนอายุสั้น บางคนอายุยืน เป็นการค้นหาคำตอบจากองค์ความรู้การส่งเสริมคุณภาพเชิงพุทธจากหลักพุทธธรรมคำสอน (Document Research) และจากการศึกษาผู้มีอายุยืนว่าเขามีวิธีการดูแลสุขภาพอย่างไรจึงมีอายุยืนด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-dept Interview)

ประกอบกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกัน (Participant Observation) โดยผู้วิจัยนำทั้งสองวิธีมาเปรียบเทียบกันว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ เพื่อนำเสนอเป็นแนวทางในการนำองค์ความรู้การเสริมสร้างสุขภาพมาใช้ในสังคมไทย ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพอย่างง่าย มุ่งหมายเพื่อเตือนสติให้คนไทยเสริมสร้างสุขภาพของตนเอง เพื่อประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตที่ดีและยังเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนของประเทศไทย

    ผลการศึกษาพบว่า องค์ความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพเชิงพุทธ กับองค์ความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพของผู้มีอายุยืน มีความสอดคล้องและเป็นไปในทำนองเดียวกันในด้านมีเหตุที่ทำให้คนอายุยืนหรืออายุสั้น
    เนื่องมาจากอดีตกรรมและปัจจุบันกรรม เว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้ทำความสบายแก่ตน บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย เที่ยวไปในกาลอันสมควร ประพฤติเพียงดังพรหม ฯลฯ


    ส่วนหลักธรรมที่เป็นเหตุแห่งความมีอายุยืน คือ อิทธิบาท ๔ สำหรับเหตุที่ทำให้คนตายก่อนอายุขัย และยังไม่สิ้นกรรม คือ อกุศลกรรม การปฏิบัติตนไม่สม่ำเสมอ ไม่ถูกอนามัย และความพยายามของตนเองหรือคนอื่น ได้แก่ การฆ่าตัวตายและอุบัติเหตุ

    เหตุเหล่านี้พระพุทธศาสนาอธิบายรวมว่า คือ โรค จำแนกเป็นโรคทางกายและโรคทางใจ

    สาเหตุของโรคทางกายมี ๕ อย่าง คือ
       (๑) ความไม่สมดุลของธาตุ ๔ ในร่างกาย
       (๒) การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล
       (๓) การบริหารกายไม่สม่ำเสมอ
       (๔) วิบากกรรม
       (๕) สาเหตุอื่น


     สาเหตุของ โรคทางใจ คือ กิเลสและตัณหา

     การแก้ปัญหาสุขภาพและความเจ็บป่วย พุทธวิธีใช้หลักอริยสัจ ๔ กล่าวคือ โรคเกิดจากสาเหตุใด แก้ที่สาเหตุนั้น โรคทางกายรักษาโดยใช้เภสัชสมุนไพร อาหาร การผ่าตัด ความร้อน การออกกำลังกาย การไม่ใช้ความเพียรเกินกำลัง การพักผ่อนอิริยาบถ การนอน การเจริญสมาธิ การอยู่กับธรรมชาติเหมาะสม การให้รับประทานของบางอย่าง การสวดพระปริตรและคำพูดด้วยเมตตา ธรรมโอสถ

     ส่วนการรักษาโรคทางใจใช้ศีล สมาธิ ปัญญา อนึ่ง คุณธรรมของผู้พยาบาลไข้และคนไข้เป็นปัจจัยสำคัญในการแก้ปัญหาสุขภาพทุกกรณี อีกด้านหนึ่งคือ การดูแลสุขภาพจิต

     วิธีการเสริมสร้างสุขภาพจิตมี ๓ วิธี คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
     ในมรรคมีองค์ ๘ พบความแตกต่างเพียงเล็กน้อยระหว่างองค์ความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพทางพุทธศาสนา กับองค์ความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพของผู้มีอายุยืน ได้แก่ ผู้มีอายุยืนมองโรคทางใจเป็นเรื่องของภาวะความเครียด การแก้ปัญหาสุขภาพและความเจ็บป่วยโดยใช้ความร้อน และการรักษาโรคอมนุษย์เข้าสิง การให้กินของบางอย่าง การสวดพระปริตร คำพูดด้วยเมตตา ไม่ปรากฏในผู้มีอายุยืนเป็นการรักษาที่มีในสมัยพุทธกาลเท่านั้น

     แนวทางในการนำองค์ความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพมาใช้ในสังคมไทยปัจจุบัน มีเป้าหมายการนำองค์ความรู้มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพใน ๓ ประการ คือ พัฒนา ปลูกฝัง รักษา

     องค์ความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพมาใช้ในสังคมไทย ด้วยแนวทางใน ๖ ระดับ ดังนี้
      ๑. ครอบครัว
      ๒. สังคม
      ๓. กระทรวงสาธารณสุข
      ๔. รัฐบาล
      ๕. องค์กรศาสนา
      ๖. บุคคล


    นอกจากนี้ผลการวิจัยยังมี ข้อเสนอแนะ ควรเผยแพร่ความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพที่ผู้วิจัยประยุกต์เป็น ๑๐ อ. คือ
         (๑) อาหาร
         (๒) อากาศ
         (๓) อาภรณ์
         (๔) ออกกำลังกาย
         (๕) อุจจาระ
         (๖) อนามัย
         (๗) เอนนอน
         (๘) อัปปมาทะ
         (๙) อารมณ์
         (๑๐) อิทธิบาท ๔


    ในรูปศิลปะเพลง เพื่อเข้าถึงจิตใจคนได้ง่ายและรวดเร็ว ผ่านสื่อวิทยุ โทรทัศน์ ละคร กิจกรรมออกกำลังกายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ปลูกฝังความรู้สู่จิตใจคนทุกเพศทุกวัยอย่างง่าย ๆ จะทำให้รักษาองค์ความรู้ในการเสริมสร้างสุขภาพไว้ได้อย่างยั่งยืนในสังคมไทย
    ตัวอย่างเพลง ๑๐ อ. (ปัจจุบันได้ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนสถานศึกษา และเผยแพร่ทางสถานีวิทยุบางแห่ง )


เนื้อเพลง “๑๐ อ.
     ใครหนอบอกทีอายุยืนดีวิธีอย่างไร ๑๐ อ. ขอเฉลยไขว่าทำอย่างไรให้อายุยืน     
     อ.๑ นั้นคือ อาหาร ๕ หมู่ เลือกทาน ก่อนจะเคี้ยวกลืนอย่าหนัก มื้อเย็นกลางคืนเดี๋ยวจะพุงยื่น โรค  อ้วนตามมา
     อ.๒ อากาศดี ๆ ธรรมชาติมี ป่าเขาทุ่งนาอาภรณ์ นั้นคือ เสื้อผ้าร้อนหนาว จัดหา นั่นแหละ
     อ.๓ อ.๔ ออกกำลังกายจะได้ร่างกายแข็งแรงนะเธอขับถ่ายสม่ำเสมอทุกวันนะเธอ นี่แหละ
     อ.๕ อ.๖ คือ อนามัยสะอาดร่างกาย สะอาดห้องนอน
     อ.๗ นั้นคือ เอนนอน เวลาพักผ่อน หลับนอนเพียงพอ
     อ.๘ อัปปมาทะ ต้องจำไว้นะประมาท อาจตาย
     อ.๙ อารมณ์ แจ่มใสทุกข์ร้อนห่างไกล อย่ารับเข้าตัว   
     อ.๑๐ อิทธิบาท ๔ คำพุทธสอนดี ต้องจำไว้นะคำสอน ก็คือ ฉันทะ อีกวิริยะ จิตตะ วิมังสา
     มุ่งมั่น และมีความหวัง มุ่งสร้างพลัง ชีวิตชีวา อายุยืนยาวถ้วนหน้า ๆ คงเป็นเพราะว่า เรามี ๑๐ อ.”

   
     ความมหัศจรรย์ของการส่งเสริมสุขภาพเชิงพุทธสามารถสร้างสุขภาพดีแบบยั่งยืนได้ ด้วยการนำธรรมะกับเสียงเพลงมาประกอบในการเต้นออกกำลังกายต่าง ๆ ช่วยปลูกฝังองค์ความรู้ด้านสุขภาพทั้งส่งเสริมธรรมะไปกับเสียงเพลง ตอกย้ำในเรื่องของจิตใจและวิธีการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง.


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dailynews.co.th/education/2931
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ