ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อเห็น"จักเป็น..สักว่าเห็น" เมื่อฟัง"จักเป็น..สักว่าฟัง" สักว่าคืออะไร.?  (อ่าน 3037 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๑๐. พาหิยสูตร

    [๔๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากรูปด้วยกันจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พาหิยทารุจีริยะเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

     ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูกรพาหิยะ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาต
     ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะรีบด่วนออกจากพระวิหารเชตวัน เข้าไปยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี น่าเลื่อมใส ควรเลื่อมใส มีอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ถึงความฝึกและความสงบอันสูงสุด มีตนอันฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์สำรวมแล้วผู้ประเสริฐ

    แล้วได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด ฯ

     [๔๙] เมื่อพาหิยทารุจีริยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
     ดูกรพาหิยะ เวลานี้ยังไม่สมควรก่อน เพราะเรายังเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาตอยู่
     แม้ครั้งที่ ๒ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคก็ดี
     ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด ฯ


     แม้ครั้งที่ ๒...แม้ครั้งที่ ๓ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคก็ดี
     ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด ฯ



    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
     ดูกรพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
    เมื่อเห็น จักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
     ดูกรพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล


     ดูกรพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
     เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
     ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในกาลใด ท่านไม่มีในกาลนั้น
     ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้าย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง
     นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ


     ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยะ กุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย
     เพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของพระผู้มีพระภาค
     ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสสอนพาหิยทารุจีริยะกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๖๐๗ - ๑๖๙๘. หน้าที่ ๖๙ - ๗๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1607&Z=1698&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=47
ขอบคุณภาพจาก http://3.bp.blogspot.com/,http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"สักว่า" คือ ไม้ไผ่ลำเดียว

    ไม้ไผ่ลำเดียว
    นักปฏิบัติธรรมต้องรู้จักแพ
    ธรรมะเปรียบเหมือนแพ
    แพบางชนิดใช้ทำที่อยู่อาศัย ใช้สำหรับผู้ครองเรือน ใช้เพื่อความผาสุกของตนเองและสังคม


    แพบางชนิด เอาไว้ประกวดประชันขันแข่งกัน ใช้สำหรับความสวยงาม ย่อมประดับประดาด้วยสิ่งประดับหลายหลากชนิด ใครต้องการความเพลิดเพลินก็ต้องใช้แพชนิดนี้ ใช้ประโยชน์ด้านสวยงาม เอามาข้ามทะเลวัฏฏสงสารไม่ได้
    แพบางชนิดเอาไว้ข้ามฝาก ย่อมขาดความสวยงาม มุ่งใช้ประโยชน์ ในการข้ามทะเลวัฏฏสงสารเพียงอย่างเดียว ยิ่งมีเครื่องถ่วงน้อยเท่าไรยิ่งใช้ถ่อใช้ค้ำได้เร็วเท่านั้น


     แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นไม้ไผ่ลำเดียวก้สามารถใช้พยุงตัวพาว่ายข้ามทะเลได้ หากว่ายเป็นใช้เป็น เฉพาะ ไม้ไผ่ที่ชื่อ"สักว่า" ใช้ให้เป็นเถิด ลำเดียวก็พอแล้วสำหรับการว่ายข้ามทะเลวัฏฏสงสาร

     "สักว่า"คือไม้ไผ่ลำเดียว ที่จะพาคุณ ข้ามทะเลวัฏฏสงสาร

     การจะเลิกยึดมั่นถือมั่นได้ ต้องทำสักว่าเป็น ทำให้เก่ง ทำให้ชำนาญ ไม่นานก็จะเลิกยึดมั่นถือมั่นเอง อย่าแค่คิดว่าจะเลิกยึดมั่นถือมั่นเฉยๆ โดยไม่ทำสักว่ากับทุกๆผัสสะ ถ้าแค่คิดจะคลายความยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ต้องรู้จักการทำสักว่าด้วยจึงจะประสบผลสำเร็จ และมีความสิ้นสุดทุกข์เป็นรางวัลรออยู่ สำหรับผู้สักว่าเป็นทุกๆคน




เผยแพร่เมื่อ 14 มี.ค. 2012 โดย ธรรมะติดดิน สมสุโขภิกขุ


    คำว่า สักว่าเป็นหัวใจสำคัญอีกประการหนึ่งของการฝึกหยุดคิด การฝึกดับทุกข์ และเป็นคำตรัสที่พระพุทธเจ้าใช้บ่อยมาก มีให้เห็นอยู่ในพระสูตรหลายพระสูตร
     เช่น พาหิยสูตร ที่พระองค์ทรงกล่าวว่า
     "ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
      เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง
      เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
      ดูก่อนพาหิยะ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล


      ดูก่อนพาหิยะ ในการใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น
      เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง
      ในกาลนั้นท่านย่อมไม่มี ในการใด ท่านไม่มี
      ในกาลนั้นท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีระหว่างโลกทั้งสอง
      นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์"


      หรือในสติปัฏฐานสูตร ที่พระองค์ทรงกล่าวว่า
   
      "กายานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณากายเป็นอารมณ์ว่า
      กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เรียก กายานุปัสสนา


      เวทนานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณาเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่ทุกข์ไม่สุขเป็นอารมณ์ว่า
      เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เรียก เวทนานุปัสสนา

      จิตตานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณาใจที่เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า
      ใจนี้สักว่าใจ ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เรียก จิตตานุปัสสนา


      ธัมมานุปัสสนา สติกำหนดพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล
      ที่บังเกิดกับใจเป็นอารมณ์สักว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา เรียก ธัมมานุปัสสนา"


      เจริญธรรม
      สมสุโขภิกขุ


ที่มา http://grongitum.blogspot.com/2012/03/blog-post_5503.html
ขอบคุณภาพจาก http://dhammaway.files.wordpress.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 03, 2013, 12:56:20 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



“ความรู้สึก” สักว่าเป็นความรู้สึก
   
     ผู้รู้ก็เห็นความรู้สึกอันนี้จึงเขียนภาพนี้ขึ้นมา พอเห็นความรู้สึกจึงเห็นว่าเป็นธรรมชาติ หรือเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวเรา
     ส่วนมากคนเรา เป็น “เรารู้สึก” เลยเข้าใจว่า ตัวความรู้สึกนี่เป็นตัวเรา เรารู้สึกยินดี เรารู้สึกยินร้าย เรารู้สึกเป็นทุกข์เป็นสุข นี่เราก็มาหลง หลงความรู้สึกอันนี้ เราไม่รู้จักความรู้สึกอันนี้ มันจะซับซ้อนหน่อยความรู้สึกตัวนี้


     ธรรมดามันจะเฉยๆ แต่ถ้าเป็นเรารู้สึกจะถูกปรุงแต่งเลย
     ตัวรู้สึก(ตัวใหญ่)นี่ก็หมายถึง มีหู มีตา มีจมูก มีลิ้น มี กาย มีใจ เวลากระทบสัมผัสต่างๆมันเพียง รู้เท่านั้นเอง
     รู้แล้วก็จะไม่มี ไม่มียินดียินร้าย สงบไม่สงบ พอใจไม่พอใจ มันจะไม่มี
     ถ้าเป็นเรารู้สึก มันจะมีทันทีเลย เกิดโลภะ โทสะ โมหะ โมหะแปลว่าไม่รู้ความจริง
     ไม่รู้ความจริงว่าตัวนี้น่ะ มันเป็นธรรมชาติ เป็นความรู้สึก ไม่ใช่ตัวเรา ต้องให้เห็นอย่างนี้ว่า ไม่ใช่ตัวเรา
     มันเป็นเพียง “ความรู้สึก” สักว่าเป็นความรู้สึก


     ถ้าเป็นเรารู้สึกมันจะปรุงแต่งเลย ตรงกับหลวงพ่อเทียนต่างกันที่คำพูด
     ท่านบอกว่าให้ดูความคิด อันนี้เข้าไปอยู่ในความคิด ก็เข้าไปอยู่ในความรู้สึกนั่นเอง


ที่มา http://thamkhowpra.blogspot.com/2012/07/blog-post_9582.html
ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/_


สักแต่ว่า, สักว่า
    ว. เพียงแต่ว่า...เท่านั้น เช่น สักแต่ว่ากวาดบ้าน ยังมีขี้ผงอยู่เลย สักว่าทำพอให้พ้นตัว.


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ