ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'การบรรลุอรหัตผลโดยตรง'..เหมือนอย่างกบกระโดด..ไม่มี  (อ่าน 4599 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

การตั้งอยู่ในอรหัตตผล

        [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรกเท่านั้นหามิได้
        แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้
           - ด้วยการศึกษาโดยลำดับ
           - ด้วยการทำโดยลำดับ
           - ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ
.


        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้
            เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้ เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้
            เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม
            ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว
            เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ
            เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด
            เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
            ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
            ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
            เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย
            และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.


        ดูกรภิกษุทั้งหลาย
            ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี
            การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดี
            การฟังธรรมก็ดี การทรงธรรมไว้ก็ดี
            ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี
            ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี
            การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว
            เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาด ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด


        ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๓๙๘๑ - ๔๒๓๔.  หน้าที่  ๑๗๓ - ๑๘๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=3981&Z=4234&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222
ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com/,http://2.bp.blogspot.com/





อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค
๑๐. อรรถกถากีฏาคิริสูตร


    บทว่า นาหํ ภิกฺขเว อาทิเกเนว ความว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตผลเป็นครั้งแรกเท่านั้น ดุจกบกระโดดไปฉะนั้น.

    บทว่า อนุปุพฺพสิกฺขา เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ แปลว่า ด้วยการศึกษาโดยลำดับ.
    แม้ใน ๒ บทต่อไปก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
    บทว่า สทฺธาชาโต เกิดศรัทธาคือมีศรัทธาเกิดแล้วด้วยศรัทธาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสำเร็จ.
    บทว่า อุปสงฺกมิ คือ ย่อมเข้าไปหาครู.
    บทว่า ปยิรุปาสติ คือ ย่อมนั่งในสำนักครู.


    บทว่า ธาเรติ คือ ย่อมทรงไว้ทำให้คล่องแคล่ว.
    บทว่า ฉนฺโท ชายติ ฉันทะย่อมเกิด ได้แก่ฉันทะคือความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำย่อมเกิด.
    บทว่า อุสฺสหติ ย่อมอุตสาหะ คือทำความเพียร.
    บทว่า ตุเลติ ย่อมไตร่ตรองคือไตร่ตรองว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
    บทว่า ตุลยิตฺวา ปทหติ ครั้นไตร่ตรองแล้วย่อมตั้งความเพียร คือเมื่อไตร่ตรองด้วยวิปัสสนาเป็นเครื่องพิจารณาอย่างนี้ย่อมตั้งความเพียรในมรรค.


    บทว่า ปหิตตฺโต คือมีตนส่งไปแล้ว.
    บทว่า กาเยน เจว ปรมสจฺจํ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย คือ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งนิพพานสัจจะด้วยนามกาย.
    บทว่า ปญฺญาย จ คือ ย่อมแทงตลอด ย่อมเห็นด้วยมรรคปัญญาอันสัมปยุตด้วยนามกาย.



ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=222
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2012, 09:36:12 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภาพจาก http://3.bp.blogspot.com/

   
   พระสูตรนี้ทำให้ผมเข้าใจว่า การบรรลุอรหันต์ประเภทอย่างฉับพลัน
   โดยกระโดดข้ามจากปุถุชนไปเป็นอรหันตผลเลยนั้น เป็นไปไม่ได้
   ขอให้พิจารณา อรรถกถาที่ว่า
   "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตผลเป็นครั้งแรกเท่านั้น ดุจกบกระโดดไปฉะนั้น"


   การบรรลุอรหันต์ที่รวดเร็วแบบ "พาหิยทารุจีริยะ" นั้น จิตของท่านจะต้องผ่านขั้นตอนของโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และอรหันต์ไปโดยลำดับ เพียงแต่จิตของท่าน ดำเนินไปอย่างเร็วมาก เมื่อเทียบกับสาวกอื่นๆ
   การบรรลุอรหันต์ของพระพาหิยทารุจีริยะ ไม่ได้เป็นไปแบบก้าวกระโดด จากปุถุชนไปสู่อรหันต์แต่อย่างใด


   เรื่องนี้ผมได้มีโอกาส สนทนากับท่านพระครูสิทธิสังวร(วัดพลับ) ท่านได้อธิบายให้ผมฟังแบบนี้(ตามที่กล่าวมา)
   โดยสรุป ก็คือ ไม่มีการบรรลุอรหันต์แบบฉับพลัน

    :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2012, 09:36:44 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรก..ไม่มี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2012, 10:05:27 am »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ปหาราทสูตร


      [๑๐๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต ใกล้กรุงเวรัญชา ครั้งนั้น ท้าวปหาราทะจอมอสูร เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

       พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท้าวปหาราทะจอมอสูรว่า
       ดูกรปหาราทะ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทรบ้างหรือ
       ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า
       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทร ฯ

       พ. ดูกรปหาราทะ ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร ที่พวกอสูรเห็นแล้วย่อมอภิรมย์ ฯ
       ป. มี ๘ ประการ พระเจ้าข้า ๘ ประการเป็นไฉน
       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่
       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯลฯ


      .......ฯลฯ..........ฯลฯ.........


       พ. ดูกรปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ
       ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสักเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
       พ. มี ๘ ประการ ปหาราทะ ๘ ประการเป็นไฉน
       ดูกรปหาราทะมหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด
       ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง


       ดูกรปหาราทะ ข้อที่ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯลฯ

       .......ฯลฯ..........ฯลฯ.........





       ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ มีอยู่ ฉันใด

       ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ก็เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้ มีดังนี้ คือ
           พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล
           พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งสกทาคามิผล
           พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอนาคามิผล
           พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์

       ดูกรปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งชีวิตมีในธรรมวินัยนี้มีดังนี้ คือ
           พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
           พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
           พระอนาคามีท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
           พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์
       นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๔๐๓๐ - ๔๑๖๓. หน้าที่ ๑๗๔ - ๑๘๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4030&Z=4163&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=109
ขอบคุณภาพจาก http://www.dekdern.com/





อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๒
๙. ปหาราทสูตร

อรรถกถาปหาราทสูตรที่ ๙
   
     
     ด้วยบทว่า น อายตเกเนว ปปาโต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า มหาสมุทรไม่เป็นเหวชันมาแต่เบื้องต้นเหมือนบึงใหญ่ที่มีตลิ่งชัน.
     ก็เริ่มตั้งแต่พื้นที่ที่เป็นตลิ่งไป มหาสมุทรนั้นจะลึกลงไป ด้วยสามารถแห่งการลึกลงที่ละ ๑ นิ้ว ๒ นิ้ว ๑ คืบ ๑ ศอก ๑ อสุภะ กึ่งคาวุต ๑ คาวุต กึ่งโยชน์ และ ๑ โยชน์ลึกไปๆ จนถึงลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ณ ที่ใกล้เชิงเขาพระสุเมรุ.


     .......ฯลฯ..........ฯลฯ.........

  บทว่า อายตเกเนว อญฺญาปฏิเวโธ ความว่า
  ชื่อว่าภิกษุผู้ไม่กระทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นต้น ตั้งแต่ต้นแล้วบรรลุพระอรหัต เหมือนอย่างกบกระโดดไปไม่มี
  เพราะเหตุนั้น จึงอธิบายว่า
  ก็ภิกษุบำเพ็ญศีล สมาธิและปัญญา ตามลำดับเท่านั้น จึงอาจบรรลุพระอรหัตได้.

     บทว่า อารกาว แปลว่า ในที่ไกลนั่นแล.
     บทว่า น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ความว่า
     เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เสด็จอุบัติขึ้น แม้ตลอดอสงไขยกัป แม้สัตว์ตนหนึ่งก็ไม่อาจปรินิพพานได้
     แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุว่างเปล่า
     แต่ในพุทธกาล ในสมาคมหนึ่งๆ สัตว์ทั้งหลายยินดีอมตธรรมนับไม่ถ้วน แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุเต็ม



ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=109
ขอบคุณภาพจาก http://www.watthaistockton.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2012, 10:08:10 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

   
    ผมนำ "ปหาราทสูตร"  มาเปรียบเทียบกับ "กีฏาคิริสูตร" เพื่อชี้ให้เห็นว่า
    พระพุทธองค์ทรงยืนยันว่า การบรรลุอรหันต์โดยตรงไม่มี
    การบรรลุอรหันตผลได้ ต้องมีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ


    ศิษย์กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ทุกท่าน พึงจดจำและตระหนักให้ดีว่า
    ข้อธรรมใน  "กีฏาคิริสูตร" และ "ปหาราทสูตร"  เป็นที่มาของคำว่า กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

   
    "กีฏาคิริสูตร" อยู่ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
    "ปหาราทสูตร" อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

     :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ ธรรมะวันอาทิตย์นี้ครับ
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุครับท่านเป็นประโยชน์ควรศ฿กษาเรียนรู้โดยแท้ครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ