ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สุข 10 ประการ  (อ่าน 1580 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สุข 10 ประการ
« เมื่อ: มีนาคม 16, 2017, 12:25:34 pm »
0
ถาม ขอเรียนถามว่า เป้าหมาย ของชีวิตคืออะไรครับ ?

ตอบคือความสุข มี ๑๐ ระดับ เป็น โลกิยะ ๘ และ เป็นโลกุตระ ๒

๑. สุขเพราะได้เสพ โลก ๔ มี ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ที่เนื่องซึ่งกันและกัน
๒. สุขด้วยสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง ในธรรม ๔ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
๓. สุขด้วยศรัทธา ที่มีเป้าหมายไปสู่ นิพพาน
๔.สุขเพราะปราโมทย์ ที่ได้สัมผัสองค์แห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา ในระดับต้น
๕.สุขเพราะละกิเลสอย่างเบาบาง ในภาวนาของพระโยคาวจร
๖. สุขเพราะได้เจริญธรรม ชื่อว่า สัมมาสติ
๗. สุขเพราะได้เจริญธรรม ชื่อว่า สัมมาสมาธิ
๘. สุขเพราะได้เจริญธรรม ชื่อว่า มรรคสมังคี
๙. สุขเพราะได้ เจริญ ผลสมาบัติ ตั้งแต่พระโสดาบัน ขึ้นไป
๑๐. สุขเพราะได้ถึง สภาวะ นิพพาน

ดังนั้นใครจะเลือกสุขแบบไหน ก็เป็นสิทธิส่วนบุคคล เมื่อเลือกไปแล้วก็ต้องได้รับสุขแบบนั้น แต่ต้องกระทำสุขเหตุแห่งสุขตามนั้นด้วย ไม่ใช่เลือกอย่างเดียว

สุขที่ ๑ นั้นมีความแปรปรวน ไม่มีความแน่นอน เช่น ได้ลาภ ก็มีเสื่อมลาภ ได้ยศ ก็มีเสื่อมยศ ได้สุข ก็มีได้ทุกข์ ได้สรรเสริญ ก็มีนินทา สุขนี้เป็นที่ปรารถนาของชาวโลก แต่ก็มีความปนเป ด้วยอารมณ์ ตัณหาอุปาทาน ทำให้จิตฟู แฟ่บ ตกข้างฝ่ายต่าง ๆ ได้ตามอารมณ์ และเป็นเหตุสร้างวิบากกรรมที่ ร้าย ๆ มากมาย เช่น มีรัก ก็ต้องมีหมดรัก เป็นต้น

อุปมาเหมือนคนดับไฟป่าลามทุ่ง ย่อมแสบตา และหายใจอึดอัด ทั้งยังถูกความร้อนสุมตัว และอาจถึงแก่อันตรายได้ ดังนั้นสุขจากโลกธรรมจึงเหมือน ของหวานอาบยาพิษฉันนั้น เพราะสุขนี้เจือด้วยตัณหาและอุปาทาน เป็นแดนเกิด เมื่อเข้าไปอยู่ในแดนเกิดนี้ ผลก็คือความทุกข์ ที่มีในสังสารวัฏ เป็นรางวัลตอบแทน

บัณฑิตผู้มีปัญญา ย่อมพิจารณาตามความเป็นจริงว่า

สุขนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา เขาพึงแสวงหา สุขอันยั่งยืน ที่พระชินสีห์ได้ ทรงแนะนำไว้ อันควรแล้วในพระพุทธศาสนา

เจริญธรรม / เจริญพร


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สุข 10 ประการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 16, 2017, 08:02:15 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เรื่องของวิบาก มีทั้งดี และ ไม่ดี นะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 19, 2017, 08:18:55 pm »
0
เรื่องของวิบาก มีทั้งดี และ ไม่ดี นะ
ถ้าเราสร้างกุศลมามาก วิบากดี ก็ตามมามาก ดังนั้นก็เป็นเรื่องดี
ถ้าเราสร้างอกุศลมามาก วิบากไม่ดี ก็ตามมามาก ดังนั้นจึงมองว่าเป็นเรื่องไม่ดี
ดังนั้น วิบากที่เกิดไม่ใช่ เกิดจากตัวกรรมฐานเป็นผู้ให้เกิด แต่มันเกิดจากกรรมของตนเอง ที่สร้างไว้เป็นกรรมที่มาสนอง ส่งผลให้ในขณะภาวนา ยิ่งผู้ภาวนาใกล้คุณธรรมมากเท่าไหร่ วิบากต่าง ๆ ที่มันต้องรอเกิดสะสมไว้ มันก็จะมาเร็วขึ้นตามกำลังการภาวนา เพราะตัววิบากเขารู้ของเขาเอง ว่า บุคคลนี้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย แล้ววิบาก็จะทะยอยส่งผล ไม่มียกเว้น
ดังนั้นถ้าผู้ใดภาวนากรรมฐานมาแล้ว ส่งผลให้วิบากเกิดขึ้นทั้งดี และ ไม่ดี จงภูมิใจดีกว่าว่า การภาวนานั้นได้ผลและการบรรลุธรรม จะเป็นไปได้ แต่ถ้าภาวนามาแล้ว ทุกอย่างมันนิ่งเงียบไปหมดทั้ง บวก หรือ ลบ แสดงว่าผลภาวนาจะยังไม่ได้
ปัญหา คือข้อแนะนำของครูอาจารย์ ลูกศิษย์ไม่ค่อยใส่ใจ เพราะหนักทางปัญญาจึงคิดว่า มนต์ไม่มีประโยชน์ วัตถุมงคลที่ให้ไปเป็นเพียงเครื่องระลึกถึงเท่านั้น เมื่อรับไปก็ใส่กล่องเก็บไว้อย่างเดียว เพราะคิดว่าเป็นเพียงเศษอิฐ เศษปูน เศษเหล็กทองเหลืองเท่านั้นด้วยหนักทางปัญญา จึงไม่เคยพกติดตัว ก็ดีไปอย่างดังนั้น ถ้าเราคิดแบบนี้ ก็ไม่ควรจะตกใจกับวิบากที่เกิดขึ้นหรือไปเครียดกับวิบาก ต่าง ๆ เลย
เส้นทาง ปัญญาวิมุตติ และ เจโตวิมุตติ อยู่ที่ทัศนะคติ ตรงนี้
เจริญพร


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ