ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบประวัติผ้ายันต์ มีกำเนิดอย่างไร เกี่ยวข้องกับพุทธอย่างไรบ้างคะ  (อ่าน 20345 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบประวัติผ้ายันต์ มีกำเนิดอย่างไร เกี่ยวข้องกับพุทธอย่างไรบ้างคะ

คือเห็นไปวัดแล้ว เห็นหลวงพ่อ หลวงพี่ หลวงปู่ หลวงตา ท่านมอบผ้ายันต์มาให้ บ้างบอกว่าเสริมอำนาจพุทธคุณ เมตตา แคล้วคลาด ขายดี ประมาณนี้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร ว่าผ้ายันต์ที่ให้มา มีอำนาจอย่างนั้นจริง ๆ คะ

 ขอบคุณมากคะ

  :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


น่าสนใจมากคะ ไม่ทราบมีกำเนิดมาจาก ประเทศเขมร หรือ ไม่คะเห็นใช้ภาษาขอม เขมร หรือไม่คะ ในยันต์ พวกขอมนี้เป็นเขมร หรือไม่ ?

  ใครที่รู้ เรื่องนี้ช่วยมาแจกความรู้ด้วยนะคะ

  :c017:
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28469
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ความรู้เกี่ยวกับเครื่องรางของขลัง! ผ้ายันต์

ผ้ายันต์ คือ วัตถุมงคล ประเภทหนึ่ง ในกลุ่มของเครื่องรางของขลังของไทย ผ้ายันต์มีขนาดเล็กๆเท่ากับผ้าเช็ดหน้าหรืออาจจะใหญ่กว่าเล็กน้อย ทำด้วยผ้าฝ้าย ผ้าลินิน มีสีเท่าที่เคยเห็นคือ สีขาว สีแดง และสีเหลือง

ผ้ายันต์เป็นวัตถุมงคลที่มาแต่สมัยโบราณ มักสร้างขึ้นโดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีอาคมเข้มขลัง คุณสมบัติของผ้ายันต์มีหลายประการ เช่น ด้านคงกะพัน เมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ การจัดทำผ้ายันต์ไม่ต้องมีพิธีการใหญ่โตอะไร พระเกจิอาจารย์ผู้จัดทำอาจจะเป็นผู้ทำการปลุกเสกด้วยตัวเอง

บนผ้ายันต์จะมีลวดลายและเขียนเป็นอักษรคาถาตามแบบของพระเกจิอาจารย์แต่ละท่าน ไม่ซ้ำแบบกัน ต่อมาผ้ายันต์มีการพัฒนามาเป็นการพิมพ์ลวดลายแทนการเขียนด้วยมือ เพราะอาจจะต้องการจำนวนมาก ยันต์พัฒนามาเป็นเสื้อกั๊ก

ความเชื่อทาง ไสยศาสตร์ของผู้คนแห่งอาณาจักรสุวรรณภูมิ ถูกถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของเราเนิ่นนานนับพันปี ผืนผ้าเขียนอักขระโบราณ และภาพสัญลักษณ์ต่างๆ กำกับลงคาถาอาคม ความเชื่อความศรัทธาอันเต็มเปี่ยมในผ้าผืนเล็กๆ เหล่านี้ คือสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนไว้ในด้านอิทธิฤทธิ์นานาประการ



ประเภทของยันต์ที่พบจัดแบ่งได้เป็น 9 ประเภท คือ
    1. ยันต์เมตตามหานิยม
    2. ยันต์มหาอำนาจ
    3. ยันต์ค้าขาย
    4. ยันต์มหาเสน่ห์
    5. ยันต์โชคชะตา
    6. ยันต์อยู่ยงคงกระพัน
    7. ยันต์ป้องกันภัย
    8. ยันต์สารพัดนึก
    9. ยันต์ฝ่าต๊ะ



"ยันต์โบราที่น่า 'ทึ่ง' มากที่สุดคือ ยันต์มหาเสน่ห์ ถือเป็นคุณไสยให้คนหลงรักหลงเสน่ห์ มักทำเป็นรูปหญิงสาวสัมพันธ์กับสัตว์ เช่น ช้าง ม้า วัว ฯลฯ แล้วแน่นอนว่าเมื่อเก็บสะสม ก็ต้องเคารพบูชาผ้ายันต์เหล่านี้ 

อัครเดชเล่าว่าครั้งหนึ่งตึกแถวใกล้ๆ ห้องเก็บผ้ายันต์ไฟไหม้ ไฟลามจนเกือบถึงห้องที่เก็บผ้าเขาจึงอธิษฐานขอให้ผ้าคุณค่ามหาศาลพวกนี้อย่า โดนไฟไหม้เลย ปรากฏว่าจู่ๆ ไฟก็ดับมอด ความศรัทธาที่มีต่อการสะสมจึงเข้มข้นยิ่งขึ้น



"ผมก็เชื่อตามวิสัยคน ไทยที่เคารพพระครูบาอาจารย์ แต่ไม่ลึกซึ้งไปกว่าความสวยงามทางศิลปะที่เราเห็นว่า ผ้าพวกนี้น่าเก็บ แล้วการศึกษาประวัติผ้ายันต์แต่ละผืนก็รู้ว่า ระหว่างเส้นตัดกันนับหมื่นๆ พันๆ เส้น 'ผู้ลงยันต์' ต้องทำสมาธิท่องคาถาประกอบตามอานุภาพของยันต์นั้นๆ


แล้วต้องเป็นผู้มีพลังจิตที่จะถ่ายทอดความเข้มแข็ง เมตตา และความอิ่มเอิบใจลงในผ้า ผู้รับก็ต้องน้อมด้วยความศรัทธาจัดไว้ในที่อันเหมาะสม ท่องคาถาเคร่งครัด ต้องอยู่ในกฎ เช่น ห้ามผิดศีล 5 ห้ามลอดใต้ถุนบ้านหรือราวตากผ้า หรือห้ามบริโภคเนื้อสัตว์ แล้วที่สำคัญยันต์โบราณเขียนเป็นมาสเตอร์พีซไม่ได้พิมพ์กันเป็นพันผืนอย่าง ในปัจจุบัน"


ข้อมูลจาก บล็อกของ คุณ 00x-GodCode
http://www.oknation.net/blog/lee-lub/2010/04/17/entry-5
ขอบคุณภาพจาก http://www.palungjit.com/,http://image.free.in.th/,https://lh6.googleusercontent.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28469
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ความเป็นมาของ"ผ้ายันต์"
     
     ส่วนครั้งที่สองใช้หมึกสีเขียวพิมพ์เหตุที่ไม่ใช้วัสดุอาถรรพณ์ผสมในหมึกตามตำรานั้น
     ผู้เขียนเคยถามหลวงปู่ทิมว่า ถ้าไม่ใช้ของอาถรรพณ์มาผสมกับหมึกแล้วผ้ายันต์จะขลังไหม?
     หลวงปู่ทิมท่านตอบว่า การที่จะทำของหรือปลุกเสกอะไรต่อมิอะไรให้ขลังตามตำรานั้น


     ท่านว่าประการแรกมันสำคัญที่จิต การที่ตำราบอกว่าต้องหาอะไรต่อมิอะไรมาทำให้ถูกต้องครบถ้วนตามตำรานั้น ก็เพื่อให้ผู้ทำมีจิตใจแน่วแน่มั่นคง อันเป็นรากฐานสำคัญของการฝึกสมาธิ การแสวงหาวัตถุมงคลให้ได้ครบตามตำราก็เป็นการสร้างศรัทธาให้เกิดความเชื่อมั่นในตำรา

     เมื่อจิตใจมั่นคงแน่วแน่และมีศรัทธาเชื่อถือตามตำราที่ครูบาอาจารย์สั่งสอนแล้ว การประกอบวิชานั้นก็ย่อมศักดิ์สิทธิ์ได้ผล หลวงปู่ทิมกล่าวว่าอันที่จริงแล้วการร่ำเรียนวิทยาอาคมให้ขลัง ให้ศักดิ์สิทธ์นั้นมันอยู่ที่ใจหรือที่จิตตัวเดียวเท่านั้น



ก่อนที่จะสร้างผ้ายันต์นั้น ส่วนใหญ่พระเกจิอาจารย์ ท่านได้ร่ำเรียนมาจากครูบาอาจารย์

โดยในอดีตหลวงพ่อพูล ได้บันทึกไว้ว่า ท่านได้ร่ำเรียนวิชาการทำผ้ายันต์จากพระเดชพระคุณหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่าน

และผ้ายันต์ที่สร้างขึ้นมานั้น เป็นที่นิยมแพร่หลาย โดยเฉพาะทหารที่ไป รับใช้ชาติ มักมาขอผ้ายันต์จากท่านเสมอ เพื่อคุ้มครองป้องกันภัยจากศัตรู

เป็นทหารอยู่นั้นได้รู้จักเพื่อนทหารคนหนึ่งซึ่งมีพื้นเพอยู่บ้านค่าย เพื่อนคนนี้พกยันต์ของหลวงพ่อ ผืนหนึ่งติดตัวตลอดโดยได้รับก่อนเข้ารับราชการทหาร หลวงพ่อให้ไว้เพื่อให้แคล้วคลาด ป้องกันอันตรายและเป็นเมตตามหานิยม

หลวงปู่ท่านเล่าว่าคนหนุ่มสมัยท่านนั้นสนใจวิชาเมตตามหานิยมมาก เมื่อคุยกันถึงเรื่องนี้เพื่อนของท่าน ก็ควักผ้ายันต์ของหลวงพ่อ ออกมาอวดและบรรยายสรรพคุณให้ฟังว่ามีอานุภาพไม่เชื่อต้องทดลองให้ดู             

หลวงปู่ท่านเป็นคนสนใจ เรื่องเวทมนต์คาถามาช้านานแล้ว เมื่อท่านบวชได้พรรษาแรกนอกจากจะศึกษาเวทมนต์คาถา จากตำราที่หลวงปู่ มาทำเป็นผ้ายันต์แจกจ่ายแก่ลูกศิษย์ลูกหา ผู้คนนำไปใช้ได้ผลเป็นที่เลื่องลือไม่แพ้หลวงพ่อผ้ายันต์ตามวิธีที่ร่ำเรียนไปจากหลวงพ่อจนมีชื่อเสียงอยู่นานหลายปี



สำหรับหลวงปู่นั้น เมื่อท่านร่ำเรียนวิชาทำผ้ายันต์ แล้วท่านก็ได้ฝึกฝนจนสามารถทำขึ้นแล้ว ท่านก็หยุดเพียงเท่านั้น และได้แสวงหาครูบาอาจารย์ร่ำเรียนวิชาการอื่นๆ ต่อไป
    ยันต์พระพุทธเจ้าเข้านิโรธสมาบัติ เป็นยันต์ด้านหน้าเสื้อยันต์พระพุทธเจ้าเข้านิโรธสมาบัติ(หลวงปู่เกษม เขมโกปลุกเสก)
    ยันต์ราชสีห์ เป็นยันต์ด้านหลังเสื้อยันต์พระพุทธเจ้าเข้านิโรธสมาบัติ(หลวงปู่เกษม เขมโกปลุกเสก
)

การสร้างผ้ายันต์ในยุคแรกๆ แต่ก็ห่างจากวัยที่ร่ำเรียนมาหลายสิบปี จวบจนอายุท่านกว่า ๗๐ ปี ท่านจึงได้ทดลองทำ ท่านจะทำอย่างพิถีพิถันทำให้ถูกต้องตามตำราที่ร่ำเรียนมา

 กล่าวคือ ต้องแสวงหาวัสดุอาถรรพณ์หลายชนิดมาผสมกับหมึกที่จะเขียนอักขระเลขยันต์ ประการแรกก็คือ ต้องหา ว่านขมิ้นขาว ว่านดอกทอง และไม้แยงแย้ มาผสมกับหมึกที่จะใช้เขียนอักขระเลขยันต์โดยเอาไม้แยงแย้คนแล้วนำปากกามาจุ่มหมึกเพื่อลงอักขระในผ้าเสร็จแล้วจึงนำมาปลุกเสก

ปรากฎว่า ผ้ายันต์พัดโบกหรือผ้าโบกสาว ซึ่งหลวงปู่ทำขึ้นตามตำรา ท่านจึงสั่งให้ ทำผ้ายันต์ซึ่งผู้สร้างทำโดยใช้วิธีหมุนโรเนียว ผ้ายันต์ชุดนี้ใช้หมึกพิมพ์ธรรมดา ไม่มีการผสมด้วยวัสดุอาถรรพณ์อื่นเหมือนผ้ายันต์พัดโบกรุ่นแรกๆ โดยใช้หมึกโรเนียว สีดำพิมพ์ เสื้อยันต์พระพุทธเจ้าเข้านิโรธสมาบัติ



     ผ้ายันต์ รวมกับผ้ายันต์เก่าๆ, คัมภีร์โบราณต่างๆ มาเผาเป็นถ่าน ผสมผงศักดิ์สิทธิ์ชนิดเข้มข้นของหลวงปู่ทิม แล้วปั้นขึ้นเป็นพระปิดตาบูชาครู (ปิดตาร้อนวิชา) วรรณะสีดำ จำนวน ๓๒ องค์ มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ บางองค์บรรจุเม็ดลูกปืน..แม่ไม่ฆ่าลูก, หรือตะกรุดสาริกา, หรือปิดตาสาริกาก็มี

     แล้วนำไปถวายหลวงพ่อแพรว วัดยายดา พระเกจิผู้เรืองวิชชาแบบเก่งแต่ซุ่มเงียบ ปลุกเสก
     ท่านบอกว่า “ผงดีแล้วนี่” (พระปิดตาบูชาครู มักตกอยู่กับลูกศิษย์รุ่นเก่าๆ)
     จากนั้นอาการร้อนวิชาก็หาย คุณชินพร เลยต้องสร้างพระให้วัดต่างๆ (โดยเฉพาะพระกริ่ง) และ จัดให้มีพิธีไหว้ครู หลวงปู่ทิม อิสริโก ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ของทุกปี พระปิดตาบูชาครู (ปิดตาร้อนวิชา) พระปิดตาบูชาครู (ปิดตาร้อนวิชา) ด้านหลัง ด้านล่าง บรรจุตะกรุดสาริกาหลวงปู่ทิม



ที่มา http://shop.mongkhonphra.com/content/57-yan
ขอบคุณภาพจาก http://prasaksit.files.wordpress.com/,http://www.siammongkol.com/,http://watbanpan.net/,http://www.romphosai.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ผ้ายันต์ ก็ไม่ต่างอะไรไปกับวัตถุมงคลอื่นๆ เพียงแค่ทำลงไว้กับผ้า อาจจะเป็นการง่ายในส่วนของการหาวัสดุที่จะนำมาใช้ และมีความคงทนของสะภาพได้ยาวนานในระดับหนึ่งที่เดียว

ชายไทยในสมัยโบราณก็มักจะทำใช้(เสก)กันเองราวกับว่าทำกันเองเป็นแทบทุกคน จะเห็นได้จากตำรามหายันต์ทั้งหลาย อย่างเช่น
 
ยันต์แหวนพิรอด
   เอาผ้าลง แล้วจึงเสกด้วยพระเจ้า ๕ องค์  เมื่อจะเข้าการรณรงค์สงคราม  เสกด้วย พระคาถานี้  อะสังวิสุโลปุสะพุภะ เสก ๑๐๘ คาบ  ทำแล้ว เผาไฟ   ถ้าไฟ ไม่ไหม้  เอาแล ฯ     เอาแหวนใส่มือแล้วบริกรรมด้วยคาถานี้  มะ อะ อุ  ฯ    ภาวนาไปจนกว่าจะเลิกการรณรงค์สงคราม   บริกรรมด้วยพระคาถานี้ ฯ   วะมะยะระวะพะกะสะ  ฯ   ตรีนิสิงเห   อย่าว่าแต่ศึกมนุษย์เลย  ให้เหาะมาก็อย่าได้กลัว  เสกตามตัวนั้นเถิด

จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า ง่ายต่อการหา เพื่อนำมาใช้(ในอดีต) คือให้เอาผ้ามา ลงทำยันต์ แล้วม้วนเหมือนตะกรุต แล้วผูกเป็นแหวนไว้ที่นิ้ว  ในการรณรงค์ ออก ทำสงคราม(ในอดีต)

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่สะภาพจิตของผู้ที่ปลุกเสกทำกันด้วย จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า ชายไทยเราสามารถทำกันเองได้  ไม่ต้องไปให้ใครทำให้  และถ้าการทำการเสกได้ผลแสดงให้เห็นได้ว่าในสมัยก่อนนั้น ชาวบ้านได้มีการปฏิบัติธรรมกันมาก มีผู้สำเร็จวิชาจริง มีผู้ได้ญาณได้สมาธิจิตเป็นจำนวนมาก  สังเกตุเห็นได้จาก การที่พอมีการณรรงค์สงครามเกิดขึ้น  ชายไทยเราก็จะหาจะทำจะเสกวัตถุมงคลกันแบบของใครของมัน ทำกันได้เอง ในทันที พร้อมที่จะรบกันเลย

ก็นาคิดอยู่เพราะสมัยก่อน โรงหนัง ห้าง  ที่เที่ยวสวนสนุก อะไรๆ ก็ยังไม่มี แม้นกระทั้งทีวี จะมีแต่ก็วัด ที่เดียวเท่านั้น ค่ำก็เข้านอน หนุ่มสาวจะเจอจะไปจีบกันได้ก็ที่งานวัดเท่านั้น  เป็นจุดศูนย์รวมของผู้คนในอดีต  จึงทำให้สิ่งรบเร้ารบกวนจิตใจไม่ได้มีมากเหมือนในอุคนี้  แถมยังมีความเคารพกันสูง  พูดอะไรก็รักษาจาวาสัจ  จึงไม่แปลกที่ผู้คนในอดีตจะสามารถทำกันได้
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม