ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การตรวจสอบ ว่าใครเป็นพระอรหันต์ มีวิธีการหรือป่าวคะ  (อ่าน 4835 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เนื่องด้วย ผู้ที่จะตรวจสอบได้ว่าใครเป็นพระอรหันต์นั้นมีแต่เพียงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว

หากมีผู้กล่าวกะเรา เขาเป็นพระอรหันต์ ในพระไตรปิฏก มีข้อความในการตรวจสอบอย่างไร

คะ ขอบคุณพระอาจารย์ล่วงหน้าคะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การตรวจสอบว่าเป็นพระอรหันต์ ที่วาทะ เรียกว่า ฉวิโสธนสูตร

หรือ โวหาร 4 ประการในสอบ พระอริยะ

 ใครว่าง ๆ นำเรื่องนี้โพสต์ด้วย


 เจริญพร

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ใครว่าง ๆ นำเรื่องนี้โพสต์ด้วย

แนวตามรอยพระอรหันต์
ที่ ๑
พระบาลีฉวิโสธนสูตร

ในอนุปทวรรค อุปริปัณณาสาก์ มัชฌิมนิกาย
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ เล่ม ๑๔ หน้า ๑๒๗ บรรพ ๑๗๒

   สมัยหนึ่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ ป่าเจ้าเชตอันเป็นอารามที่อนาถบิณฑิกคหบดี (ซื้อ) ถวาย ใกล้กรุงสาวัตถี, ครั้งนั้นพระผู้พระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย (เพื่อให้ตั้งใจฟัง) แล้วได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ว่า :

   “ภิกษุ ท. ! (ถ้า) มีภิกษุในสาสนานี้ กล่าวพยากรณ์ (คือยืนยัน) อรหัตตผลว่า ‘ข้าพเจ้านี้รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ก็ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ก็ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก’ ดังนี้.

   “ภิกษุ ท.! พวกเธอไม่ควรยินดี ไม่ควรคัดค้านถ้อยคำของภิกษุรูปนั้น แต่ควรถามปัญหากะเธอ ฯลฯ ให้ยิ่งขึ้นไปว่า ‘ท่านผู้มีอายุ ! ท่านรู้อย่างไร ท่านเห็นอย่างไร ท่านจึงถอนเสียได้ด้วยดี ซึ่งอหังการ (คือความถือว่าเรา), ซึ่งมมังการ (คือความถือว่าของเรา), และมานานุสัย (คือกิเลสนอนนิ่งในสันดานคือมานะ) ในกายที่มีวิญญาณของท่านนี้ และในสิ่งอื่นที่ท่านเห็นอยู่ภายนอก ?’ ดังนี้.

   “ภิกษุ ท. ! เป็นธรรมดาของภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ต้องทำสำเร็จแล้ว มีภาระคือขันธ์อันปลงลงได้แล้ว ตามถึงประโยชน์ตนแล้ว มีภวสังโยชน์สิ้นรอบแล้วเป็นผู้รู้ชอบพ้นพิเศษแล้ว ก็พึงพยากรณ์ (ให้แก่พวกเธอ) ได้ดังต่อไปนี้ว่า:-

   [๑] “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ! ในกาลก่อน ข้าพเจ้านั้นเป็นคฤหัสถ์ครอบครองเรือน เป็นคนไม่รู้. ครั้นเมื่อพระตถาคตเจ้าบ้าง พระสาวกของพระตถาคตเจ้าบ้าง แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าอยู่, ข้าพเจ้าได้ ฟังธรรม นี้แล้ว มีสัทธาในพระตถาคตเจ้า, ครั้น ประกอบด้วยสัทธา เห็นแจ่มแจ้งว่า ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางไหลมาแห่งธุลีคือกิเลส การบรรพชาเป็นโอกาสว่าง. ก็การบรรพชาคือพรหมจรรย์นี้ อันคนผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดดีแล้ว ไม่อาจทำได้โดยง่าย ไฉนหนอเราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนถือเอาการบวชของคนไม่มีเรือนเถิด. ฯ

   [๒] “ข้าพเจ้านั้น ได้ละกองสมบัติ น้อยบ้างมากบ้าง ละวงศ์ญาติ น้อยบ้างใหญ่บ้าง, ปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสายะ ถือเอาการบวชเป็นคนไม่มีเหย้าเรือนแล้ว.ฯ

   [๓] “ข้าพเจ้านั้น ครั้นบรรพชาแล้ว ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพของภิกษุทั้งหลาย, คือละการทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้งดขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และสาตราเสียแล้ว มีความละอายต่อบาป มีความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย; ละการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ งดขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เจ้าของให้แล้ว หวังอยู่แต่ของที่เจ้าของให้
เป็นคนสะอาด ไม่เป็นขโมย; ละกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์ เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์โดยปรกติ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากการเสพเมถุนอันเป็นของชาวบ้าน; ละการพูดเท็จ งดขาดจากการมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาสัตย์ มั่นคงในคำพูด ควรเชื่อได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก; ละคำส่อเสียด งดขาดจากปิสุณาวาท ได้ฟังจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่เก็บไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อให้ฝ่ายนี้แตกร้าวหรือได้ฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่นำมาบอกแก่ฝ่ายนี้ เพื่อให้ฝ่ายโน้นแตกร้าว แต่จะสมานชนที่แตกกันแล้ว ให้กลับมาพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น เป็นคนชอบในการพร้อมเพรียง กล่าวแต่วาจาที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน; ละการกล่าวคำหยาบเสีย งดขาดจากผรุสวาท กล่าวแต่วาจาที่ไม่มีโทษเสนาะโสต ให้เกิดความรัก เป็นคำฟูใจ เป็นคำสุภาพที่ชาวเมืองเขาพูดกัน เป็นที่รักใคร่ของมหาชน; ละคำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้งเสีย งดขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ กล่าวแต่ในเวลาสมควร กล่าวแต่คำจริงเป็นประโยชน์เป็นธรรมเป็นวินัย กล่าวแต่วาจามีที่ตั้งมีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีเวลาจบ ประกอบด้วยประโยชน์สมความแก่เวลา.ฯ

   “ข้าพเจ้านั้น เป็นผู้งดขาดจากการล้างผลาญพืชคามและภูตคาม, เป็นผู้ฉันอาหารวันหนึ่งเพียงหนเดียว เว้นจากฉันในราตรีกาลและวิกาล, เป็นผู้งดขาดจากการรำ การขับ การร้อง การประโคม และดูการเล่นชนิดที่เป็นข้าศึกแก่กุศล เป็นผู้งดขาดจากการประดับประดา คือทัดทรงตกแต่งด้วยมาลาและของหอม และเครื่องลูบทา, เป็นผู้งดขาดจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่, เป็นผู้งดขาดจากการรับเงินและทอง, เป็นผู้งดขาดจากการรับข้าวเปลือก, งดขาดจากการรับเนื้อดิบ, งดขาดจากการรับหญิงและเด็กหญิง, งดขาดจากการรับแพะ แกะ ไก่ สุนัข ช้าง โค ม้า ทั้งผู้และเมีย, งดขาดจากการรับที่นาและที่สวน, งดขาดจากการรับใช้ทูตไปในที่ต่าง ๆ (ให้คฤหัสถ์), งดขาดจากการซื้อขาย, งดขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง แลลวงด้วยของปลอม การฉ้อด้วยเครื่องนับ (เครื่องตวงและเครื่องวัด),
งดขาดจากการโกงด้วยการรับสินบนแลล่อลวง งดขาดจาก การตัด การฆ่า การจำจอง การซุ่มทำร้าย การปล้น และการกรรโชก.ฯ

   [๔] “ข้าพเจ้านั้น เป็นผู้ สันโดษ ด้วยจีวรอันเครื่องบริหารปกปิดกาย สันโดษด้วยบิณฑบาต อันเป็นเครื่องบริหารเลี้ยงท้อง, ไปสู่ทิศาภาคใด ๆ ก็ถือเอาจากทิศาภาคนั้น ๆ แล้วหลีกไป, เหมือนอย่างนกมีปีก เมื่อจะบินไปสู่ทิศาภาคใด มีแต่ปีกเป็นภาระบินไปฉันใด, ข้าพเจ้าก็เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรสำหรับปกปิดกาย และบิณฑบาตสำหรับเลี้ยงท้อง ไปสู่ทิศาภาคใดก็ถือเอาจากทิศาภาคนั้นแล้วหลีกไปได้ (ไม่ต้องรุงรังด้วยบริขาร) ฉันนั้น ฯ

   [๕] “ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยกองศีลอันเป็นของพระอริยเจ้าเช่นนี้แล้ว ได้เสวยสุขไม่มีโทษในภายใน, ได้เห็นรูปด้วยตา ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ไม่ถือมั่นเอาโดยนิมิต และไม่ถือมั่นเอาโดยอนุพยัญชนะ, อภิชฌาและโทมนัสมักไหลไปตามบุคคล ผู้ไม่สำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำรวมอินทรีย์เหล่าใดเป็นเหตุ ข้าพเจ้าก็ ปฏิบัติ ปิดกั้นอินทรีย์ เหล่านั้นไว้, ข้าพเจ้ารักษาและสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.ฯ

   [๖] “ข้าพเจ้านั้น ครั้นประกอบด้วยการรักษาและสำรวมอินทรีย์ที่เป็นของพระอริยะเช่นนี้ ได้เสวยสุขไม่เจือปนด้วยทุกข์อันมีในภายในแล้ว เป็นผู้ ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อม(สัมปชัญญะ) ในการก้าวไปข้างหน้า ในการถอยกลับ ในการแล ในการเหลียว ในการคู้ ในการเหยียด ในการใช้สังฆาฏิบาตรจีวร ในการดื่มการเคี้ยวการลิ้ม มีสัมปชัญญะในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.ฯ

   [๗] ข้าพเจ้านั้น ครั้นประกอบด้วยศีลแห่งพระอริยะ และประกอบด้วยความสำรวมอินทรีย์ แห่งพระอริยะ และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ แห่งพระอริยะ ดังนี้แล้ว ย่อม เสพเสนาสนะอันสงัด คือป่าละเมาะ โคนไม้ ภูเขา ลำธาร ท้องถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง.ฯ

   “ข้าพเจ้านั้น ครั้นกลับจากบิณฑบาต ในเวลาปัจฉาภัตต์แล้ว นั่งคู้เข้าซึ่งขาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา คอยระวังชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา, ละพยาบาท มีจิตไม่พยาบาท เป็นผู้กรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลาย คอยระวังชำระจิตให้หมดจดจากพยาบาท, ละถีนะมิทธะแล้ว ปราศจากถีนะมิทธะ จิตมุ่งอยู่ความสว่าง มีสติสัมปชัญญะ คอยชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนะมิทธะ, ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน คอยระวังชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะกุกกุจจะ, ละวิจิกิจฉา ข้ามวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นคนไม่ต้องกล่าวด้วยความสงสัยว่า ‘นี่อะไร ? นี่อย่างไร?’ ในกุศลธรรมทั้งหลาย; คอยระวังชำระจิตให้หมดจดจากวิจิกิจฉา.ฯ

   [๘] “ข้าพเจ้านั้น ครั้นละนิวรณ์ทั้งห้า อันเป็นอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ อันเป็นโทษทำปัญญาให้อ่อนกำลัง ได้แล้ว, เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ได้บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก. เพราะระงับวิตกวิจารเสียได้ จึงได้บรรลุทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสของจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์เดียว ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดสมาธิ. เพราะความเสื่อมหายไปแห่งปีติ และข้าพเจ้าเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสตีรู้ตัวรอบคอบ ได้เสวยสุขด้วยนามกาย ก็ได้บรรลุ ตติยฌาน อันเป็นฌานที่พระอริยะทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้อยู่ในอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เพราะละทุกข์และสุขเสียได้แล้ว และเพราะความดับหายไปแห่งโทมนัสและโสมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุ จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอยู่แต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา.ฯ

   [๙] “ข้าพเจ้านั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ขาวผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยนนิ่มนวลควรแก่การงาน เป็นจิตไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่อย่างนี้แล้ว ก็ทำจิตให้ น้อมไปเพื่อ อาสวักขยญาน.

   “ข้าพเจ้านั้น รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้เป็นหนทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, และรู้แจ้งชัดตามเป็นจริงว่า นี้อาสวะ. นี้เหตุให้เกิดอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ, เมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ, จากภวาสวะ จากอวิชชาสวะ, ครั้นจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าเราพ้นแล้ว. ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้อีก.ฯ

   ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ! ข้าพเจ้ารู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จึงถอนเสียได้ด้วยดี ซึ่งอหังการ มมังการ และมานานุสัยในกายที่มีวิญญาณนี้ และในสิ่งอื่นที่เห็นอยู่ภายนอก.ฯ

   “ภิกษุ ท. ! พวกเธอควรเพลิดเพลิน ควรบันเทิงใจในภาษิตของภิกษุนั้นว่า สาธุ ! สาธุ ! , ครั้นแล้ว ควรกล่าวกะภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า

   ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ ! การที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เห็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์เช่นกับท่านนี้เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า, เป็นการเห็นอย่างดี ที่พวกข้าพเจ้าได้ได้แล้ว ดังนี้” ฯ

   เมื่อพระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้จบลง ภิกษุทั้งหลายมีใจยินดี
เพลิดเพลิน รับภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้.ฯ

บาลีฉวิโสธนสูตร, หลักตามรอยพระอรหันต์ที่ ๑ จบ

เครดิตเว็บ

http://sites.google.com/site/smartdhamma/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%89%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ฟังการบรรยายโดย อจ.สภีร์ ทุมทอง

ตอนที่ 1
http://www.ajsupee.com/readme.php?content_id=1341

ตอนที่ 2
http://www.ajsupee.com/readme.php?content_id=1342

ตอนที่ 3
http://www.ajsupee.com/readme.php?content_id=1343

ตอนที่ 4
http://www.ajsupee.com/readme.php?content_id=1344


ประวัติ อจ.สภีร์ ทุมทอง
http://www.ajsupee.com/index.php?ac=resume
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ฟังอ่านพระสูตร โดยตรงเลย สำหรับคนที่ไม่ชอบอ่านนะคะ ชอบฟัง

http://www.pratripitaka.com/14sutanta6.html
 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ฟังพระสูตรนี้ เป็นธรรมคีตะ ของพระอาจารย์ ตอน 19.30 น. 3 วันรวด

เป็นพระสูตรที่ฟังแล้วจับใจ เป็นข้อแนะนำสำหรับ สาวกภูมิ โดยแท้ คร้า ...

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง