ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จัก 'สาธิต มมร.' โรงเรียนสำหรับสามเณร  (อ่าน 850 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28448
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
รู้จัก 'สาธิต มมร.' โรงเรียนสำหรับสามเณร
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2014, 08:39:31 am »
0


รู้จัก 'สาธิต มมร.' โรงเรียนสำหรับสามเณร

จุดเริ่มต้นของการผลักดันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย หรือ สาธิต มมร. มาจากโครงการศาสนทายาท ที่มีวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็นผู้ริเริ่ม แต่สำหรับผู้ที่ทำให้เกิดเป็นรูปเป็นร่างตลอด 6 ปีที่ผ่านมานั้น คงหนีไม่พ้น "คุณยายสุกัญญา ตรีสวัสดิ์" วัย 74 ปี ผู้นี้...

หลังจากที่ "ไทยรัฐออนไลน์" มีโอกาสร่วมกิจกรรมอาสาใน "ค่ายอิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา" ค่ายกระตุ้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของชมรมฝึกพูดภาษาอังกฤษในที่สาธารณะ Thai Airways International Toastmasters Club ที่ สาธิต มมร. อ.ด่านซ้าย จ.เลย ซึ่งเปิดสอนมานาน 6 ปีแล้ว โรงเรียนนี้อยู่ภายใต้คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) โดยสามเณรทุกรูปที่เรียนที่นี่จะต้องจำวัดตลอดระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ โดยไม่เสียค่าเล่าเรียนใดๆ แต่มีระเบียบบังคับ คือ จะต้องเรียนภาษาบาลี รวมถึงไม่รับเข้าเรียนกลางคัน ขณะที่บริเวณโดยรอบโรงเรียนเป็นภูเขา และสวนผลไม้ เงียบสงบ


 :96: :96: :96: :96: :96:

ที่มาที่ไปของ สาธิต มมร.
คุณยายสุกัญญา เล่าให้ "ไทยรัฐออนไลน์" ฟังว่า ก่อนหน้านี้เคยถวายทุนการศึกษาให้สามเณรรูปหนึ่ง จนกระทั่งสามเณรรูปนั้นสามารถสอบเปรียญธรรม 5 ประโยค ได้ และบวชพระ จนกระทั่งมาเป็นครู ต่อมาสามารถจบเปรียญธรรม 9 ประโยค ซึ่งในปัจจุบันทราบข่าวว่าท่านต้องการปลีกวิเวกไป เพื่อหลุดพ้น ต่อมาทราบว่า วัดพระราม 9 มีโครงการศาสนทายาท จึงมีความสนใจ ประกอบกับ ตนเองไม่ชอบใจพระบางรูปที่มีพฤติกรรม และปฏิกิริยาบางอย่างไม่เหมาะสม ทำให้รู้สึกว่า หากต้องการพระที่ดี จะต้องสร้างเอง ซึ่งการสร้างโรงเรียนจึงเหมาะสมสำหรับสามเณรที่จะฝึกฝนตนให้เป็นพระที่ดี และเป็นสิ่งที่มั่นคง ซึ่งขณะนั้นวัดพระราม 9 ก็หาที่อยู่นาน เพราะยังไม่เจอที่ที่เหมาะสม

"ตอนนั้นก็หาที่อยู่นาน เพราะที่ที่ดี ที่เหมาะแก่การเรียน ต้องไกล กว้าง อากาศดี อาหารการกินไม่กันดารมาก เราก็เลยถวายที่ดินของเราสร้างโรงเรียน แต่มีข้อแม้ว่า อธิการของ มมร. เป็นผู้มารับ"


 :49: :49: :49: :49: :49:

จากนั้น การเดินหน้าสร้างโรงเรียนจึงเริ่มต้นขึ้น แต่เส้นทางไม่ได้ราบรื่นเลย เนื่องจากคุณยายสุกัญญา เล่าว่า ช่วงแรกๆ ยังไม่มีใครเห็นด้วยที่จะเปิดให้เป็นโรงเรียนสาธิต มมร. เพราะยังไม่เคยมีมาก่อนเลย แต่คุณยายก็พยายามผลักดันมาเรื่อย ถึงขนาดปิดรีสอร์ตของตัวเองเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับบุคลากร โดยที่ช่วงหนึ่ง คุณยายสุกัญญาจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโรงเรียนอยู่แรมปี จนกระทั่งทุกอย่างเริ่มเรียบร้อย

"เริ่มสอนตั้งแต่ปีที่หนึ่งเลย เริ่มรู้วิธีว่าจะดูแลเณร ที่มาด้วยไม่แน่ใจ หรือพระส่งมายังไง ซึ่งเราดูแลเหมือนยายดูแลหลาน พอปีหนึ่งสำเร็จก็ยกที่ 40 กว่าไร่ให้ มมร.เลย เท่าที่ทราบเป็นที่ผืนแรก ที่ มมร.เป็นเจ้าของ จากนั้นก็ติดต่อขอสร้างอาคารเรียนกับหอพัก ตึกละ 60 ล้านบาท ส่วนวัดพระราม 9 ก็สร้างหอฉัน ส่วนดินฉันก็สร้างวิหาร ด้านญาติโยม ก็มาสร้างเจดีย์ให้"

 :25: :25: :25: :25: :25:

การเรียนการสอน-กฎระเบียบ สาธิต มมร.
คุรยายสุกัญญา ระบุว่า การเรียนที่ สาธิต มมร.นั้น สามเณรจะเรียนทั้งวิชาสามัญ และภาษาลี รวมถึงเปรียญธรรมด้วย ซึ่งภาษาบาลีนั้น เป็นวิชาบังคับของสามเณรที่จะเข้ามาเรียนที่นี่ หากไม่ต้องการเรียนภาษาภาษาบาลี ก็ไม่สามารถสมัครเข้าเรียนได้ โดยในแต่ละปีการศึกษาจะรับสามเณร 60 รูปเท่านั้น และจะไม่รับกลางคัน

นอกจากนี้ เมื่อคุณยายสุกัญญา รับอาสาดูแลโรงเรียนนี้ ทำให้คุณยายมีแนวคิดในการฝึกเณร ในทุกๆ เรื่อง เช่น การกิน อยู่ การพูด การเดิน รวมถึงความคิด ซึ่งเณรที่นี่ ถือว่า ทำผลงานได้ดี เนื่องจากขณะนี้ผลสอบทางพุทธศาสตร์ของ สาธิต มมร.อยู่ในอันดับที่ 3 ของประเทศ รองจากวัดวังน้อย และวัดไผ่ดำ ขณะเดียวกัน สามเณรที่นี่จะได้ดำนา เกี่ยวข้าว ทำสวนด้วย เพราะที่นี่ปลูกข้าวกินเอง ไม่ได้ส่งขาย


 :welcome: :welcome: :welcome: :welcome:

"เณรที่นี่ไม่มีน้ำอัดลม ไม่สนับสนุนให้กินยา หรือฉันนู่นนี่ เพราะจะฉันอาหารที่มีประโยชน์ นอกจากนี้ ต้องผืนเรื่องการติดเกม ซึ่งเราก็จะมีเณรพี่ เป็นผู้ช่วยดูแลอีกที ตอนปี 2555 เกิดวิกฤติมีพระอาจารย์ลาออกไป ซึ่งตอนนั้น พระมหารัตนา พระอาจารย์ฝ่ายปกครอง ท่านเรียนอยู่ ทำให้พี่เณรดูแลน้อง ก็ช่วยกันสอนทั้งภาษาบาลี และนักธรรม ตรี โท เอก ผ่าน 100% แต่เราก็ไม่ได้ห้ามเณรนะว่าหากต้องการลาออก เพียงแต่บางครั้งรู้สึกเสียดายฝีมือของบางรูปที่น่าจะเรียนต่อไปไกลกว่านี้"

คุณยายสุกัญญา กล่าวต่อว่า การสอน และดูแลสามเณรวัยรุ่นนั้น แก้ไขไปตามสถานการณ์มากกว่า ที่สำคัญจะพยายามสอนให้เณรตั้งเป้าหมาย และตั้งใจทำบางสิ่งบางอย่างก่อน ซึ่งคุณยายเองจะมีโน้ตสั้นๆ ที่เขียนเตือนใจเณรไว้ เพื่อบอกให้เณรรู้ว่า มันไม่ง่ายเลยที่จะเดินเส้นทางตรงนี้ เพราะบางครั้ง เจอเณรดื้อ หรือเจอปัญหา แต่พอเห็นเณรรูปเดียวพัฒนาขึ้นมา ก็ดีใจแล้ว รู้สึกดีขึ้น

 st12 st12 st12 st12 st12

ขาดครูสอนภาษาบาลี
ด้าน พระมหารัตนา พระอาจารย์ฝ่ายปกครองของ สาธิต มมร.ที่อยู่มานาน 5 ปี เปิดเผยกับ "ไทยรัฐออนไลน์" กล่าวอีกว่า ที่นี่อากาศดี เหมาะสมแก่การเรียน การศึกษา และการฝึกใน ซึ่งเป็นผลดีต่อการศึกษา และปฏิบัติธรรมสำหรับ เณร นอกจากนี้ โรงเรียนยังเปิดโอกาสให้เด็กที่ไม่มีทุนทรัพย์ เข้ารับการศึกษาด้วย แต่บังคับให้เรียนภาษาบาลีด้วย หากไม่อยากเรียน ก็สมัครเรียนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม สาธิต มมร.ยังประสบปัญหาการขาดแคลนครูสอนภาษาบาลี

"อุปสรรคของการเรียนที่นี่ คือ การขาดแคลนครูสอนภาษาบาลี เพราะหายาก แต่สำหรับพระ และสามเณรแล้ว การรู้ภาษาบาลี จะทำให้ได้เรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้าจากต้นตำรับเลย ถ้าเราตั้งใจ ไม่ว่าสิ่งนั้นลำบากนาดไหน ไม่นานเราจะประสบความสำเร็จ ไม่ควรท้อแท้ก่อนว่าไม่เห็นผล"


 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

สำหรับการดูแลสามเณรที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นเช่นนี้ สามเณรแต่ละรูปจะมีพฤติกรรม และความคิดไม่เหมือนกัน บางครั้งเกิดปัญหา จะต้องมีการลงโทษ เช่น นั่งสมาธิ พาไปเดินภูเขา เดินหลายชั่วโมง หรือกระทั่งให้ไปสงบสติอารมณ์ในป่าช้า 2-3 คืน เพื่อจะได้ทบทวนตัวเอง ทั้งนี้ นอกจากกฎของพระธรรมวินัยที่ต้องปฏิบัติแล้ว โรงเรียนอนุญาตให้มีโทรศัพท์มือถือได้ แต่สามารถมาขอเครื่องได้ในช่วงบ่ายวันเสาร์ และนำมาคืนในเย็นวันอาทิตย์ ขณะเดียวกัน ในคืนวันเสาร์ จะสามารถดูภาพยนตร์เรื่องใดก็ได้หนึ่งเรื่อง อย่างไรก็ตาม ในการเล่นอินเทอร์เน็ต จะมีทั้งครูสามัญ และเณรพี่คอยดูแลควบคุมอีกที

 st11 st11 st11 st11

ก้าวต่อไปของ สาธิต มมร.
คุณยายสุกัญญา เปิดเผยภาพในอนาคตของ สาธิต มมร.ว่า หากเป็นไปได้ ต้องการให้พื้นที่แห่งนี้ ขยายการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาด้วย เป็นอีกหนึ่งแคมปัสของ มมร. หากมีงบประมาณ และมีความพร้อมมากกว่า ซึ่งหากเป็นไปได้ ตนเองยินดีจะบริจาคที่ดินเพิ่มเพื่อขยับขยาย ขณะเดียวกัน ในส่วนของการคาดหวังต่อเณรนั้น คุณยายต้องการให้เณรไปช่วยเหลือคนอื่นต่อ

"ดิฉันไม่ได้หวังร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าทุกรูปจะต้องจบไปเรียนต่อด้านศาสนา แต่ตอนแรกหวังเยอะ ซึ่งก็มีพระอาจารย์มาเตือนเหมือนว่า อย่าคาดหวังมาก สอนคนเป็นพันให้ดีสักคนเดียว ก็ถือว่าดีมากแล้ว ตอนนี้จะบอกเณรว่า ยายทำให้เณร แต่เณรไม่ต้องมาตอบแทนโดยตรง ขอให้เณรไปดูแลคนคนอื่นแทนยาย ถ้าไม่ดูแลคนอื่น ถือว่าติดหนี้ยาย ขณะเดียวกัน จะไม่ตีกรอบว่า ถ้าเณรอยากลาออก บางทีก็เสียดาย เพราะมีเณรเก่งเยอะ ตอนนี้ก็มี รูปหนึ่งบอกว่า จะเรียนให้จบ ดร. และจบเปรียญ 9 ในคนคนเดียว ซึ่งเราก็อยากให้กลับมาสอนที่โรงเรียนต่อ เพราะรู้นโยบาย รู้วัตถุประสงค์กันดีอยู่แล้ว ซึ่งตอนนี้ก็ขาดครูด้านบาลี"


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

"ไทยรัฐออนไลน์" ถามว่า เพราะเหตุใดคุณยายสุกัญญาจึงอาสาทำงานตรงนี้ ทั้งๆ ที่ตนเองมีกิจการที่จะสร้างรายได้ได้มากมาย คุณยายสุกัญญา ระบุว่า ก่อนที่จะเริ่มทำ คุณยายอายุ 60 กว่าแล้ว ซึ่งคิดว่า การที่ได้มาทำงานตรงนี้ มีการวางแผนไว้แล้ว เป็นใครก็ไม่รู้ ที่ทำให้เราทำหลายอาชีพ ต้องหาซื้อที่ดินกว้างๆ พอมาเจอโครงการนี้ก็กระโดดใส่เลย และแม้ตนเองจะเป็นคนที่มีปัจจัยสี่ครบเหมือนคนอื่นๆ แต่สิ่งที่ตนมีแตกต่าง คือ มีกำลังใจที่เข้มแข็ง

"ตอนที่เราเจอวิกฤติ ใครๆ หนีหมด เรายืนอยู่คนเดียว บอกเณร ตอนนี้เหมือนสงคราม เหลือแค่ยายกับเณร ทำไงเราถึงจะรอด ซึ่งตอนนี้สภามหาวิทยาลัยรับแล้ว เดี๋ยวก็จะให้งบประมาณมาช่วยค่าใช้จ่าย 80% ก็จะทำให้เราไม่ต้องแบกค่าใช้จ่ายเหมือนเมื่อก่อน ยายสู้แค่ตาย"

อาจเรียกได้ว่า "สาธิต มมร." เป็นโรงเรียนสาธิตแห่งแรกของประเทศไทย ที่เปิดมานาน 6 ปี มีสามเณร พระอาจารย์ รวมถึงครูสามัญ จำนวนหนึ่ง ที่ยังถือว่าน้อย แต่หากระบุลงไปถึงบรรยากาศโดยรอบแล้ว ค่อนข้างเอื้อต่อการเรียน ฝึกฝน และปฏิบัติธรรม เป็นอย่างดี ซึ่งในอนาคต ประเทศไทยอาจมีพระที่มีความสามารถในการเผยแผ่ศาสนาที่จบจากที่นี่ก็เป็นได้.

ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/463615
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ