ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "เนคเทค" เผยผลสำรวจผู้ใช้เน็ตปี 53 พบคนไทยใช้บรอดแบนด์มากขึ้น  (อ่าน 2637 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
"เนคเทค" เผยผลสำรวจผู้ใช้เน็ตปี 53 พบคนไทยใช้บรอดแบนด์มากขึ้น แถมนิยมเช็คอีเมล์ผ่านมือถือ

เมื่อเวลา 13.30 น. วันนี้ (21 ธ.ค.) ที่โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เปิดเผย "ผลการสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2553" ซึ่งมีผู้ร่วมเข้าตอบแบบสอบถามทั้งหมด 14,067 คน โดยเป็นการสำรวจผ่านอินเทอร์เน็ต ระหว่างเดือน ส.ค.-ต.ค. 2553 พร้อมมีคำถามพิเศษเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์เคลื่อน ที่ โดยสรุปผลการสำรวจที่น่าสนใจได้ดังนี้

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เข้ามาตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 30-39 ปี โดยเป็นกลุ่มที่ทำงานแล้วมากกว่ากลุ่มที่มีอายุระหว่าง 20-29 ปีเหมือนปีที่ผ่านมา ขณะที่รูปแบบในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนไปจากปีก่อนที่ผู้ตอบแบบ สอบถามส่วนใหญ่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายแลน ( LAN) ของที่ทำงานและสถานที่ศึกษา เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเอดีเอสแอล (ADSL) คิดเป็น 52.1% ซึ่งแสดงถึงความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้น ส่วนพฤติกรรมการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่แตกต่างจากปีก่อน คือ เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วงเวลา 20.01 น.-24.00 น. มากที่สุดคิดเป็น 37.3% โดยส่วนใหญ่ยังใช้งานอินเทอร์เน็ตจากที่บ้านและที่ทำงาน ขณะที่กิจกรรมที่ทำบนอินเทอร์เน็ตมากที่สุดยังเป็นรับ-ส่งอีเมล์ คิดเป็น 27.2% ค้นหาข้อมูล 26.1% ติดตามข่าว 14.1% และอี-เลิร์นนิ่ง 8.2%

สำหรับปัญหาที่พบจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ยังเป็นปัญหาเรื่องของ ไวรัส 40.2% รองลงมาคือความล่าช้าในการรับ-ส่งข้อมูล 36.4% และอีเมล์ขยะ 24.2%

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มการใช้งานอินเทอร์เน็ตปีหน้า ความนิยมของการใช้แอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่จะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาอุปกรณ์สื่อสารให้มีความทันสมัยและรองรับการใช้งาน แอพพลิเคชั่นที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะกระแสของเครื่องโทรศัพท์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ และแท็บเล็ต พีซี ที่กำลังได้รับความสนใจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยข้อมูลที่สำรวจสามารถนำไปใช้ในการดำเนินการนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติได้

จากข้อมูลของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) พบว่า จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ช่วงไตรมาสสองของปี 2552 มีทั้งสิ้น 64.1 ล้านราย ส่วนสถิติของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ประมาณการณ์ว่าในปี 2553 จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจะมีประมาณ 5.3 พันล้านคนหรือประมาณร้อยละ 78 ของประชากรโลก

ส่วนคำถามพิเศษเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นของผู้ใช้โทรศัพท์ เคลื่อนที่ของคนไทย พบว่าร้อยละ 60 ยังใช้บริการเสริมในส่วนส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) เป็นหลัก ส่วนการใช้บริการจีพีอาร์เอส (GPRS) ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น จากความนิยมของผู้บริโภคในการเข้าเครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก ซึ่งกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามจาก "การสำรวจกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2553" ระบุว่า ใช้แอพพลิเคชั่นผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบสมาร์ทโฟนมากที่สุดถึงร้อยละ 91.6 ที่เหลือเป็นการใช้งานผ่านอุปกรณ์นำทางผ่านดาวเทียม (จีพีเอส) การใช้งานผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพา การใช้งานผ่านเครื่องแปลภาษา และการใช้งานผ่านเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

โดยประเภทของแอพพลิเคชั่นที่ผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือนิยมใช้งานมากที่สุด คือรับ-ส่งอีเมล์ คิดเป็น 33.5% สังคมออนไลน์ 20.2% ท่องเว็บไซต์ 20.2% และติดตามข่าว 11.5% เป็นต้น ส่วนปัญหาของการใช้งานที่พบ 42.3% ระบุราคาแพง และ 19.9% ระบุไม่สามารถใช้ได้บางพื้นที่

ทั้งนี้ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาจากการสำรวจของเนคเทค พบว่ามีผู้ตอบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และผู้ตอบแบบสอบถามมีแนวโน้มเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นหลัก ส่วนใหญ่จบปริญญาตรี มีอาชีพพนักงานบริษัท พนักงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ โดยพบว่าผู้ที่มีประสบการณ์ในการใช้อินเทอร์เน็ตน้อยกว่า 2 ปีมีจำนวนลดลงเรื่อย ๆ ขณะที่การใช้บรอดแบนด์ของผู้ตอบแบบสอบถามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 33% ในปี 2547 เพิ่มเป็น 70% ในปี 2553.

ที่มา
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=316&contentID=111279
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง