ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กฐินหลวง กฐินราษฎร์ กฐินโจร..ต่างกันอย่างไร.?  (อ่าน 2836 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


กฐินหลวง-กฐินราษฎร์-กฐินโจร : คำวัดโดยพระธรรมกิตติวงศ์

    "การทอดกฐิน" บุญประเพณีเป็นของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี
    แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า
    ชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลกฐินในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
    โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ มีกำหนดระยะเวลาถวายเพียง ๑ เดือน คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (วันลอยกระทง)

    ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน

     
    ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวร เพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน
     
    ทั้งนี้ทั้งพระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม
    ได้อธิบายความหมายของคำว่า "กฐิน" เป็นภาษาพระธรรมวินัย เป็นชื่อเรียกผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยูจำพรรษาครบ ๓ เดือน แล้วรับมานุ่งห่มได้

    ทั้งนี้หากแปลตามศัพท์ว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้หรือไม้แบบสำหรับขึงผ้าที่จะเย็บจีวร
    ผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐิน หรือไม้สะดึงแบบนีเรียกว่า ผ้ากฐิน

   

  กฐินหลวง คือ กฐินที่ทอดถวายแก่สงฆ์จำพรรษาในวัดหลวงที่กำหนดไว้ ๑๖ วัด แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ     
        ๑.พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายด้วยพระองค์เอง เรียกว่า กฐินหลวง หรือ กฐิน เสด็จพระราชดำเนิน และ
        ๒.พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้พระบรมวงศานุวงศ์ หน่วยงานราชการ หรือ ประชาชนที่กราบบังคมทูลของพระราชทานไปทอดที่วัดหลวงแทนพระองค์ เรียกว่า กฐินพระราชทาน

     
    กฐินราษฎร์ คืออ กฐินที่ราษฎร์ หรือชาวบ้านทั่วๆ ไปจัดการทอดกันเองที่วัดราษฎร์ เช่น วัดในหมู่บ้าน อาจมีเจ้าภาพเพียงคนเดียว เรียกว่า "เจ้าภาพกฐิน" ก็ได้ หรืออาจรวมกันเป็นหมู่คณะร่วมกันที่เรียกว่า "กฐินสามัคคี" ก็ได้ แม้การทอดจุลกฐินก็นับเป็นกฐินสามัคคีเช่นกัน
     
    ส่วนใหญ่ทำเป็นเงานใหญ่ เอิกเกริก ถือว่าเป็นบุญใหญ่ ได้อานิสงส์มาก เช่น ทำบุญฉลองก่อนนำไปทอดบ้าง เวลานำไปวัดบ้างก็แห่ไปทางน้ำ บ้างก็ไปทางบก บ้างก็ขึ้นหลังช้างหลังม้า รวมทั้งใส่รถแล้วแห่แหนกันไป ทำให้ดูเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่และสำคัญ

     

    ส่วนกฐินโจรนั้น เป็นสำนวนพูด หมายถึงกฐินที่ไปทอดโดยไม่ได้จองล่วงหน้า ไปทอดแบบจู่โจม เรียกว่า "กฐินจร" ก็มี ทั้งนี้ในการทอดกฐินทั่วๆ ไป มีธรรมเนียมว่าต้องจองกฐินล่วงหน้า การที่จัดเครื่องกฐินพร้อมสรรพแล้วนำไปทอดที่วัดยังไม่มีผู้จองกฐินทันทีทันใดแบบจู่โจม หรือบอกกะทันหันแบบตั้งตัวไม่ทันเหมือนโจรบุกขึ้นบ้าน จึงเรียกว่า "กฐินโจร" หรือ "กฐินจร" เพราะเป็นกฐินที่จรมาโดยไม่มีการนัดหมาย
     
    กฐินโจร คำนี้อาจเกิดจากการล้อคำที่ว่า "กฐินโจล" ซึ่งแปลว่า ผ้ากฐิน เพราะมีเสียงคล้ายกัน จึงขอยืมมาล้อในกรณีที่มีการทอดกฐินแบบจู่โจม



ขอบคุณบทความและภาพจาก
www.komchadluek.net/detail/20121102/143778/กฐินหลวงกฐินราษฎร์กฐินโจร:คำวัด.html#.UJXSyGfvolh
http://job.haii.or.th/,http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ