ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เปิดภารกิจกรมศิลป์..บูรณะ 'วัดอรุณฯ'  (อ่าน 1130 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เปิดภารกิจกรมศิลป์..บูรณะ 'วัดอรุณฯ'
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 11:54:41 am »
0


เปิดภารกิจกรมศิลป์..บูรณะ 'วัดอรุณฯ'
เปิดภารกิจกรมศิลป์บูรณะ'วัดอรุณฯ' จับตา2โบราณสถานร้างกลางกรุง : ผกามาศ ใจฉลาดรายงาน

      วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวไปทั่วโลก หากมาเยือนเมืองไทยต้องเดินขึ้น พระปรางค์วัดอรุณฯ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นสิริมงคลกับชีวิต แต่ด้วยอายุอันเก่าแก่ตากแดดลมฝนมากว่า 100 ปี ทำให้ประติมากรรมม้าในซุ้มปรางค์ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หักหล่นลงมาช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กระทั่งวันที่ 5 ตุลาคม ฟ้าผ่าลงมาตามบันไดเหล็กที่ติดตั้งไว้บนปรางค์ทิศตะวันออกเฉียงใต้กระทบประติมากรรม "ยักษ์แบก" เศียรหักร่วงลงมาอีก
   
      นายผสม นาระต๊ะ นายช่างศิลปกรรมชำนาญงาน กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม ระบุว่า กรมศิลปากรได้บูรณปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดอรุณฯ ครั้งแรกเมื่อปี 2510-2511 ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2540-2542 รอบระยะเวลาการบูรณะประมาณรอบละ 30 ปี
   
     การบูรณะ “คอม้า” พบสาเหตุโครงสร้างภายในเป็นดินเผาเสื่อมสภาพแตกหลุดออกจากโครงสร้างแกนเหล็กและชั้นปูนฉาบ ทำให้น้ำฝนไหลผ่านเข้าไปในชั้นโครงสร้างดินเผาได้ง่ายและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น จึงใช้แกนเหล็กเสริมโครงสร้างเดิม ส่วนการปั้นซ่อมส่วนที่ชำรุดหาย จำเป็นที่ต้องยึดลักษณะตามรูปแบบหรือใกล้เคียงกับประติมากรรมเดิมที่ยังไม่ชำรุดโดยฉากแต่งรายละเอียดด้วยการผสมปูนขาว ผสมซีเมนต์ขาว น้ำยาแทนปูนขาว และน้ำยาเคมีประสานปูนเก่า ตามอัตราส่วนแล้วปรับแต่งสภาพให้กลมกลืนกับของเดิม
   
     ส่วน “ยักษ์แบก” จากการสำรวจสภาพหัวยักษ์ยังคงสภาพแข็งแรงมีการกะเทาะแตกหักบ้างเล็กน้อย ตำแหน่งของบริเวณคอที่แตกชำรุดพบมีแกนเหล็กเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 4 นิ้ว ทำเป็นแกนกลาง เชื่อมต่อส่วนฐานขึ้นไปถึงหัวยังคงสภาพแข็งแรง จึงได้นำมาทำการอนุรักษ์ เสริมความมั่นคงชิ้นส่วนประติมากรรมในตำแหน่งรอยชำรุด ติดตั้งชิ้นส่วนเข้าตำแหน่งเดิม โดยเจาะฝังแกนเหล็กเดิมด้วยลวดสเตนเลส อุดเชื่อมด้วยอีพอกซี่ เชื่อมติดระหว่างโครงสร้างกับชิ้นส่วน แล้วฉาบแต่งด้วยสูตรปูนขาวหมัก ผสมซีเมนต์ขาวตามอัตราส่วนเพื่อให้มีความแข็งแรง แล้วปรับแต่งสีให้กลมกลืนกับพื้นของเดิม
     
      ด้าน นายธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยสำนักโบราณคดี กล่าวว่า แผนการบูรณะวัดอรุณฯ ดำเนินการในปี 2556-2558 ใช้งบประมาณ 130 ล้านบาท แบ่งงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ปี 2556 อนุรักษ์ปรางค์ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ใต้ มณฑปทิศใต้และตะวันตก เป็นเงิน 39.7 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2557 อนุรักษ์ปรางค์ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ใต้ มณฑปทิศเหนือ-ตะวันออก และพระปรางค์ประธาน

    โดยจะติดตั้งเครื่องวัดแรงสั่นสะเทือนในปีงบประมาณ 2558 นอกจากนี้จะร่วมมือกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และทางวัดอรุณฯ อนุรักษ์พระปรางค์ประธานและปรับภูมิทัศน์ให้กลับมาสวยงามดังเดิม
   
     ล่าสุด พายุฝนกระหน่ำเจดีย์ วัดมหรรณพาราม เก่าแก่อายุ 162 ปีหักโค่น 4 ท่อน เพราะการสร้างเจดีย์สมัยก่อนไม่มีโครงสร้างเหล็กเสริม สันนิษฐานเบื้องต้นเป็นเพราะเจดีย์มีอายุเก่าแก่มากเมื่อเจอกับพายุฝนหนักๆ จึงหักโค่นลงมา หรืออาจเป็นลมฝนพัดนั่งร้านเป็นตัวดึงให้เจดีย์หักโค่นลงมาได้
   
     ที่สำคัญขณะนี้กรมศิลปากรยังได้รับรายงานว่ามีโบราณสถานร้างกลางเมืองที่พุพังยับเยินมากอีก 2 แห่ง ได้แก่ อุโบสถเก่าที่วัดสวนสวรรค์ ใกล้สะพานพระราม 8 คาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ถูกปล่อยทิ้งร้าง หลังคาและเจดีย์ทรุดโทรมมากและมีชุมชนแออัดรุกเข้ามาอยู่อาศัย ทางเขตบางพลัดได้สนับสนุนงบประมาณให้กรมศิลปากรออกแบบบูรณะ 5 ล้านบาท ให้อุโบสถกลับฟื้นคืนมามีชีวิตเป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งเรียนรู้ที่มีโดดเด่นกลางเมืองหลวงอีกครั้ง

     และ อุโบสถวัดภุมรินราชปักษี สันนิษฐานว่าเป็นวัดสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมาต้องยุบรวมกับวัดน้อยทองอยู่และวัดดุสิดาราม ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากคลองบางกอกน้อย เชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ทำให้อุโบสถวัดภุมรินราชปักษีร้างไม่ได้มีใครใช้งานมานานกลายเป็นที่จอดรถของชุมชน มีสภาพทรุดโทรมมาก
     
      "โบราณสถานทั้ง 2 แห่ง จึงเป็นแหล่งที่กรมศิลปากรต้องเฝ้าระวังและเร่งบูรณะอย่างเร่งด่วน” นายธราพงศ์กล่าว

   
 
ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20121105/144001/เปิดภารกิจกรมศิลป์บูรณะวัดอรุณฯ.html#.UJiVc2fvolh
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ