ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นิราศหนองคาย  (อ่าน 621 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
นิราศหนองคาย
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2016, 07:55:37 am »
0


นิราศหนองคาย

ตอนหนึ่ง จากเรื่อง รัฐและความเป็นไทย ในประวัติศาสตร์นิพนธ์ลาว (พ.ศ.2429-2484) ขึ้นปกวารสารเมืองโบราณ ฉบับเมษายน 2552... กำพล จำปาพันธ์ เขียนว่า ชนชั้นนำกรุงเทพฯ มองหัวเมืองลาวเป็นเมืองขึ้น

ปฏิกิริยาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ที่เรียกว่ากบฏผู้มีบุญ เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การปราบปรามด้วยกำลังความรุนแรง ขึ้นถึงจุดสูงสุด เมื่อมีการปราบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและกองทัพปลดแอกกลุ่มชนชาติส่วนน้อยอาณาจักรล้านช้าง หลังการปราบกบฏไม่นาน กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์มณฑลหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกาศห้ามไม่ให้มีงานฉลองบุญบั้งไฟ โดยอ้างเหตุผล เพื่อป้องกันการก่อจลาจล

แต่ประเพณีบุญบั้งไฟ สัมพันธ์กับคติความเชื่อในผีฟ้าพญาแถน และผีขณะนั้นเป็นศูนย์รวมอุดมการณ์ต่อต้านรัฐ คำสั่งห้าม จึงมีนัยสำคัญ เป็นการกดปราบทางการเมือง

ระหว่างปี พ.ศ.2417-2429 คราวทำสงครามปราบฮ่อ กองทัพสยามต้องเผชิญกับกองทัพปลดแอกของชนชาติส่วนน้อย ที่มีผู้นำอย่าง พระยาพระ พระยาว่าน ทั้งสองประกาศตัวเป็นพญาธรรมิกราช หรือ “ขุนเจือง” กลับชาติมาเกิด เพื่อนำพาการต่อสู้ปลดปล่อยชนชาติส่วนน้อย ให้เป็นอิสระจากการปกครองของชนชาติลาวและผู้ไท การประกาศตัวเป็นวีรบุรุษในตำนานของสองพระยาทำพร้อมพิธีปลุกเสกเรียกขวัญและศรัทธาจากประชาชนชายขอบ ณ ทุ่งไหหิน เมืองเชียงขวาง (หรือเมืองพวนในเอกสารฝ่ายไทย) มีตำนานเล่า ไหหิน เป็นไหเหล้าของพญาเจือง


 :91: :91: :91: :91:

สงครามจบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสยาม ผู้นำกบฏถูกสั่งตัดศีรษะเสียบประจาน ด้วยหวังจะ “ให้ข่าแจะจะจำ อย่าทำอย่างเจือง” พร้อมกันก็จะได้ทำลายความเชื่อต่อผู้นำ ว่าไม่ได้อยู่ยงคงกระพัน แต่ก็มีผลกระทบอีกด้าน เกิดความสนใจเรื่องกบฏชนกลุ่มน้อย วรรณคดีตำนานต่างๆที่มีเรื่องราวเล่าขานเกี่ยวกับขุนเจือง ความยิ่งใหญ่ของกองทัพเจืองจากลุ่มแม่น้ำโขง นักปราชญ์ราชบัณฑิตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสนใจ รัฐบาลต้องสั่งให้ริบเอาหนังสือวรรณคดีเหล่านี้มาไว้กรุงเทพฯ ส่วนที่เหลือให้เผาทิ้ง

สงครามยืดเยื้อที่สยามทำกับล้านช้าง เพื่อแข่งขันและช่วงชิงดินแดนกับฝรั่งเศส ท้ายสุดสงครามปราบฮ่อและกลุ่มชนชาติส่วนน้อย ทำให้สยามเพลี่ยงพล้ำ ฝรั่งเศสผนวกลาวและกัมพูชาเข้าไว้ในรัฐอารักขา สยามถูกมองเป็นศัตรูผู้กดขี่ที่ป่าเถื่อน ฝรั่งเศส ถูกมองเป็นผู้ปลดปล่อยลาวและกัมพูชา

ช่วงเวลานี้ก็เกิดวรรณกรรมสำคัญ นิราศหนองคาย...นายทิม สุขยางค์ แต่งปี 2418 เสร็จปี 2424 ในคราวที่ติดตามเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง คุมทัพไปปราบฮ่อที่หนองคาย ทิมแหวกขนบการเขียนนิราศ แทนที่จะเขียนรำพันถึงคนรัก กลับเขียนถึงความทุกข์ยาก ที่ตนและไพร่พลได้รับอย่างแสนสาหัสในการสงคราม จากการที่ถูกบังคับเกณฑ์มาเพื่อความเป็นใหญ่ของชนชั้นปกครอง

 ans1 ans1 ans1 ans1

ผลจากนิราศหนองคาย ทำให้มีการหาผู้รับผิดชอบสงคราม นับจากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปถึงผู้นำรัฐบาล มีคำสั่งให้เก็บริบนิราศหนองคาย เผาทำลายเสีย ทิมถูกตัดสินจำคุก แต่ไม่นานก็ได้รับอภัยโทษ กลับเข้ารับราชการเป็นหลวงพัฒนพงษ์ภักดี

ผมย้อนไปอ่าน คำสั่งห้ามจุดบั้งไฟ ทำลายความเชื่อผี (พญาแถน) ต่อด้วยคำสั่งเผานิราศหนองคาย...แล้วสงสัย เวลาผ่านมานาน การปกครองก็เปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ไฉน ในโลกสมัยใหม่คำสั่งห้ามเดียวกันจึงยังมีอยู่ พอหาคำตอบได้เอง ขึ้นชื่อว่า “อำนาจ” นั้น ไม่ว่าจะอยู่กับใคร... บางประเพณี (อย่างจุดบั้งไฟ)หรือวรรณกรรม ซึ่งก็คือ “สื่อความจริง” ในบางเรื่องที่ไม่ถูกใจ...ประเพณีนั้น สื่อนั้น ก็มักต้องถูกห้าม

ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย...แต่อีกมุมของความจริง ก็มักทำให้ตาย นี่เป็นสัจจะ ที่ไม่น่าจะมีข้อสงสัยไม่ว่ายุคไหนสมัยไหน.


     กิเลน ประลองเชิง



คอลัมน์ ชักธงรบ โดย กิเลน ประลองเชิง 5 ก.ค. 2559 05:01
http://www.thairath.co.th/content/654086
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ