ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กราบนมัสการ "พระบรมเกศาธาตุ" ณ วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา (๓) "โทษตายกลายเป็นเจดีย์"  (อ่าน 3959 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระเจดีย์ชัยมงคล
โทษตายกลายเป็นสร้างบุญ

     เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีได้ชัยชนะพระมหาอุปราชาแห่งพม่าแล้ว ได้ทรงมีพระราชศรัทธาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใหญ่ขึ้นเป็นงานใหญ่ พร้อมทั้งได้ทรงสร้างพระเจดีย์ชัยมงคลเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติอีกด้วย
     ชัยชนะในสงครามยุทธหัตถีในครั้งนั้น เป็นชัยชนะครั้งสำคัญที่สุด นับตั้งแต่ สมเด็จพระนเรศวรได้ทรงประกาศอิสรภาพของชาติไทยที่เมืองแครง เมื่อปีวอก พุทธศักราช ๒๑๒๗ หลังจากที่ประเทศไทยต้องตกอยู่ใต้อำนาจของชาติอื่นมาเป็นเวลาถึง ๑๕ ปี


     จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอนุสรณ์แห่งชัยชนะครั้งนี้ขึ้นสองแห่งเป็นพระสถูปเจดีย์ตรงที่ทรงยุทธหัตถีกับ พระมหาอุปราชา แห่งหนึ่ง และทรงสร้างพระมหาสถูปคือ พระเจดีย์ชัยมงคลขึ้นที่ วัดป่าแก้ว เป็นเหตุสำคัญ



    นอกจากนั้นก็ยังมีเหตุอื่นอีกด้วย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวร ว่า
    “ยังมีของโบราณอยู่บางสิ่งซึ่งชวนให้เห็นว่า เมื่อสมเด็จพระวันรัตทูลขอโทษข้าราชการแล้ว ได้ทูลแนะนำ สมเด็จพระนเรศวร ให้เฉลิมพระเกียรติที่มีชัยครั้งนั้นด้วยทรงบำเพ็ญกุศลกรรม และคงยกเรื่องประวัติพระเจ้าทุษฐคามมินีมหาราชอันมีในคัมภีร์มหาวงศ์ พงศาวดารลังกาทวีปมาทูลถวายเป็นตัวอย่าง ในเรื่องนั้นว่า


     "เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘ พวกทมิฬมิจฉาทิฎฐิยกกองทัพข้ามมาจากชมพูทวีป มาตีได้เกาะลังกาแล้วครอบครองบ้านเมืองอยู่หลายปี ทุษฐคามนีกุมาร ราชโอรสของ พระเจ้ากากะวรรณดิศ ซึ่งเป็นกษัตริย์สิงหฬพระพุทธศาสนาหนีไปอยู่บนเขา พยายามรวบรวมรี้พลยกไปตีเอาบ้านเมืองคืน ได้รบเอา พระยาเอฬาระทมิฬ ซึ่งครองเมืองลังกา ถึงชนช้างกันตัวต่อตัวที่ชานเมืองอนุราธธานี

     ทุษฐคามินีกุมาร มีชัยชนะฆ่า พระยาเอฬาระทมิฬ ตายกับคอช้าง ได้เมืองลังกาคืนจากพวกมิจฉาทิฏฐิ มีพระเกียรติเป็นมหาราชสืบมาในพงศาวดาร เมื่อ พระเจ้าทุษฐคามนี ทำยุทธหัตถมีชัยครั้งนั้น โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ขึ้น ไว้เป็นอนุสรณ์ตรงที่ชนช้างกับ พระยาเอฬาระทมิฬ องค์หนึ่ง แล้วให้สร้างพระมหาสถูปอันมีนามว่า “มริจิวัตรเจดีย์” ขึ้นที่เมืองอนุราธบุรีอีกองค์หนึ่ง เฉลิมพระเกียรติปรากฏสืบมากว่าพันปี"



      สมเด็จพระ นเรศวร ทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเป็นอนุสรณ์ไว้ในทุ่งหนองสาหร่าย ตรงที่ทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาองค์หนึ่ง  แล้วทรงสร้างพระมหาสถูปขึ้นไว้ที่วัดป่าแก้ว ขนานนามว่า “ชัยมงคลเจดีย์” อีกองค์หนึ่ง (คือพระเจดีย์พระองค์ใหญ่ที่อยู่ทางฝ่ายตะวันออกทางรถไฟ แลเห็นเมื่อก่อนเข้าเขตพระนครศรีอยุธยา)”

      นอกจากนั้น ยังมีอีกเหตุหนึ่งซึ่งคงจะเป็นเครื่องชักจูงพระราชหฤทัย ให้ทรงสร้างพระมหาสถูปนี้อยู่ไม่น้อย เมื่อพุทธศักราช ๒๑๑๒ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ตีได้กรุงศรีอยุธยาในรัชกาล สมเด็จพระมหินทราธิราช ครั้งนั้นไทยได้รับความเสียหายแสนสาหัส ข้อความในพระราชพงศาวดารแสดงให้เห็นความอัปยศนี้อยู่เป็นอย่างดียิ่ง

     ในชัยชนะ ครั้งนั้น พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ได้ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่แบบมอญขึ้น ไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดซึ่ง สมเด็จพระราเมศวรสร้างไว้นอกพระนครทางด้านเหนือ และให้เรียกพระเจดีย์นั้นว่า “ภูเขาทอง” เป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกวัดนั้นว่า “วัดภูเขาทอง”
       ต่อมาพระเจดีย์ภูเขาทองนั้น นอกจากจะเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแล้ว
       ยังเป็นเครื่องเตือนใจคนไทยทั้งปวง ให้ระลึกถึงความอัปยศอดสูในครั้งนั้นอีกด้วย


     สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาสถูปชัยมงคลที่วัดพระยาไทย มีขนาดสูงกว่าพระเจดีย์ภูเขาทอง ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นเครื่องล้างความอัปยศอดสูของชาติไทย และเป็นเครื่องให้เกิดกำลังใจแก่คนไทยทั้งชาติอีกด้วย นับว่าเป็นพระบรมราโชบายอันลึกซึ้ง และมีประโยชน์ต่อชาติไทยจนตราบทุกวันนี้


วิหารพระพุทธชัยมงคล ถ่ายจากทางขึ้นเจดีย์ชัยมงคล

       พระเจดีย์ชัยมงคล จึงนับเป็นปูชนียวัตถุอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของชาติไทย เพราะเป็นนิมิตรหมายของเอกราชของชาติ เป็นเครื่องเตือนใจให้ระลึกถึงความกล้าหาญเสียสละ ที่สมเด็จพระมหาวีรราชเจ้าและวีรบุรุษของชาวไทยได้มีมาในอดีต อันเป็นผลตกทอดมาถึงคนไทยทุกคนในปัจจุบันนี้ในวิถีแห่งชีวิตทุกทาง   
       นอกจากนั้นยังเป็นเครื่องหมายแห่งชาวไทยทั้งมวล ที่ได้ร่วมมือกันกอบกู้เอกราชของชาติและธำรงไว้ซึ่งเอกราชนั้นตลอดมา เป็นสิ่งเตือนใจให้คนรุ่นหลังได้ทำกิจการงานทั้งปวงตามหน้าที่ของแต่ละบุคคล โดยสุจริตและความพากเพียร เพื่อให้ชาติไทยนั้นได้อยู่ได้โดยเสรีและเป็นปกติสุข


      พระเจดีย์ชัยมงคลนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ แห่งการอภัยทานของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
      อันเนื่องมาจากธรรมอันประเสริฐแห่งพระพุทธศาสนา ซึ่งได้มีอิทธิพลเหนือชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยมาแต่โบราณกาล จนเป็นวิสัยในจิตใจทั้งปวงถึงทุกวันนี้


      พระเจดีย์ชัยมงคลซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างขึ้นที่วัดใหญ่ชัยมงคลเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการที่ได้ทรงทำยุทธหัตถี ได้ชัยชนะแก่สมเด็จพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕ นั้น
      ประมาณว่ามีความสูงจากพื้นดินราว ๑ เส้น ๑๐ วา
      และชาวบ้านได้นำเอา "ชื่อวัดกับนามพระเจดีย์มาประกอบกัน"
      เรียกขานกันต่อมาว่า “วัดใหญ่ชัยมงคล” จนกระทั่งทุกวันนี้


ที่มา www.watyaichaimongkol.net/articles/135129/ประวัติวัดใหญ่ชัยมงคล.html#4
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2013, 12:12:13 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





ภาพนี้เป็นส่วนหนึ่งของเจดีย์ชัยมงคล เป็นระเบียงที่เดินได้รอบ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เมื่อหลวงพ่อจรัญได้พบกับ "สมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว"

     คืนวันหนึ่งอาตมานอนหลับแล้ว ฝันไปว่า อาตมาได้เดินไปในสถานที่แห่งหนึ่งได้พบกับพระสงฆ์รูปหนึ่งครองจีวรคร่ำสมณสารูปเรียบร้อยน่าเลื่อมใส อาตมาเห็นว่าเป็นพระอาวุโสผู้รัตตัญญูจึงน้อมนมัสการท่าน
     ท่านหยุดยืนตรงหน้าอาตมาแล้วกล่าวกับอาตมาว่า
     "ฉันคือสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา ฉันต้องการให้เธอได้ไปที่วัดใหญ่ชัยมงคล
     เพื่อดูจารึกที่ฉันได้จารึกถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชผู้เป็นเจ้า
     เนื่องในวาระที่สร้างพระเจดีย์ฉลองชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชาแห่งพม่าและประกาศความเป็นอิสระของประเทศไทยจากหงสาวดีเป็นครั้งแรก เธอไปดูไว้แล้วจดจำมาเผยแพร่ออกไป ถึงเวลาที่เธอจะได้รับรู้แล้ว"


     ในฝันอาตมารับปากท่าน ท่านก็บอกตำแหน่งให้แล้วก็ตกใจตื่นนอนใกล้รุ่ง
     อาตมาก็ทบทวนความฝันก็นึกอยู่ในใจว่า เราเองนั้นกำหนดจิตด้วยพระกรรมฐานมีสติอยู่เสมอเรื่องฝันฟุ้งซ่านก็เป็นไม่มี
     อาตมาก็ได้ข่าวในวันนั้นแหละว่า ทางกรมศิลปากรทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ใหญ่ในวัดใหญ่ชัยมงคลและจะทำการบรรจุบัวยอดพระเจดีย์ อันเป็นนิมิตหมายการสิ้นสุดการบูรณะ และจะรื้อนั่งร้านทั้งหมดออกเสร็จสิ้น

    อาตมาจึงได้ขอร้อง ดร.กิ่งแก้ว อัตถากร ให้เลื่อนการปิดยอดบัวไปอีกวันหนึ่งเพื่อที่อาตมาจะได้นำพระซุ้มเสมาชัยซุ้มเสมาขอ ที่อาตมาได้สร้างขึ้นตามแบบดั้งเดิมที่พบในเจดีย์ใหญ่ใกล้กับวัดอัมพวัน ซึ่งพังลงน้ำที่ก๋งเหล็งเป็นคนรวบรวมเอาให้อาตมาตั้งแต่เมื่อเริ่มมาพัฒนาวัดใหม่ๆ แต่แตกหักผุพังทั้งนั้น หลายสิบปี๊บ อาตมาได้ป่นเอามาผสมสร้างเป็นองค์พระใหม่ ไปร่วมบรรจุไว้ที่ยอดพระเจดีย์บ้าง


จุดนี้อยู่ใจกลางเจดีย์ เป็นภายในเจดีย์ด้านบน

     วันนั้นอาตมาเดินทางไปถึง ก็ได้เดินขึ้นไปบนเจดีย์ตอนที่สุดบันไดแล้ว
     มองเห็นโพรงที่ทางเขาทำไว้สำหรับลงไปด้านล่าง มีร้านไม้พอไต่ลงไปภายใน
     ตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าลงไปคราวนี้ ถ้าพลาดตกลงไปจากนั่งร้านม้าก็ยอมตาย คนที่ร่วมเดินทางมาเขามัวแต่ไปบนลานชั้นบน อาตมาก็ดิ่งลงไปชั้นล่าง มีไฟฉายดวงหนึ่ง


    เวลานั้นประมาณ ๐๙.๐๐ น. อาตมาลงไปภายใน แล้วก็พบนิมิตดังที่สมเด็จพระพนรัตน์ได้บอกไว้จริงๆ
    อาตมาจึงได้พบว่า แท้ที่จริงแล้ว สิ่งที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วท่านได้จารึกถวายพระพร
    ก็คือ บทสวดที่เรียกว่า "พาหุงมหาการุณิโก"
    ท้ายของนิมิตนั้นระบุว่า "เราสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วศรีอโยธเยศ คือ ผู้จารึกนิมิตรจนาเอาไว้ถวายพระพรแด่มหาบพิตรเจ้าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช"


     พาหุงมหากา ก็คือ บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วก็พรพาหุงอันเริ่มด้วย
     "พาหุงสหัสไปจนถึงทุคคาหทิฏฐิ แล้วเรื่อยไปจนถึงมหาการุณิโกนาโถหิตายะ และจบลงด้วยภาวะตุ สัพพะมังคะลัง สัพพะพุทธา สัพพะธัมมา สัพพะสังฆา นุภาเวนะสะทาโสตถี ภะวันตุเต"


พระพุทธรูปภายในเจดีย์

    อาตมา เรียกรวมกันว่า พาหุงมหากา
     อาตมาจึงเข้าใจในบัดนั้นเองว่า บทพาหุงนี้คือ บทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้วได้ถวายให้พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้สวดเป็นประจำเวลาอยู่กับพระมหาราชวังและในระหว่างศึกสงคราม
     จึงปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้าทรงรบ ณ ที่ใด ทรงมีชัยชนะอยู่ตลอดมามิได้ทรงเพลี่ยงพล้ำเลยแม้จะเพียงลำพังสองพระองค์กับสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ท่ามกลางกองทัพพม่าจำนวนนับแสนคนก็ทรงมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าด้วยการกระทำยุทธหัตถี มีชัยเหนือพระมหาอุปราชาที่ดอนเจดีย์ปูชนียสถาน


     แม้ข้าศึกจะยิงปืนไฟเข้าใส่พระองค์ ในตอนที่เข้ากันพระศพของพระมหาอุปราชาออกไป
     ราวกับห่าฝนก็มิปาน แต่ก็มิได้ต้องพระองค์
     ด้วยเดชะพาหุงมหากาที่ทรงเจริญอยู่เป็นประจำนั่นเอง


     อาตมาพบนิมิตแล้วก็ไต่ขึ้นมา ด้วยความสบายใจถึงปากปล่องที่ลงไปเกือบสามชั่วโมง
     เนื้อตัวมีแต่หยากไย่ เดินลงมาแม่ชีเห็นเข้ายังร้องว่า
     หลวงพ่อเข้าไปในโพรงนั่นมาหรือ แต่อาตมาไม่ตอบ


ปล่องหรือโพรง ที่หลวงพ่อจรัญลงไปเอาจารึกถวายพระพรแด่พระนเรศวรมหาราช "พาหุงมหาการุณิโก"

    ตั้งแต่นั้นมา อาตมาจึงสอนการสวดพาหุงมหากาให้แก่ญาติโยมเป็นต้นมา เพราะอะไร เพราะพาหุงมหากานั้นเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดา จากพญาวัสวดีมาร จากอาฬาวกะยักษ์ จากช้างนาฬาคิรี จากองคุลีมาล จากนางจิญมาณวิกา จากสัจจะกะนิครนถ์ จากพญานันโทปนันทนาคราช และท่านท้าวผกาพรหม เป็นชัยชนะที่พระพุทธองค์ทรงได้มาด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้

     ผู้ใดได้สวดไว้ประจำทุกวันจะมีชัยชนะมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน
     มีสติระลึกได้ จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ ขอให้ญาติโยมสวดพาหุงมหากากันให้ทั่วหน้า
     นอกจากจะคุ้มตัวแล้ว ยังคุ้มครอบครัวได้
     สวดมากๆเข้า สวดกันทั้งประเทศก็ทำให้ประเทศมีแต่ความรุ่งเรือง
     พวกคนพาลสันดานหยาบก็แพ้ภัยไปอย่างถ้วนหน้า

     ไม่ใช่แต่พระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่านั้น ที่พบความมหัศจรรย์ของบทพาหุงมหากา แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงพบเช่นกัน โดยมีบันทึกโบราณบอกไว้ว่าดังนี้
     "เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชตีเมืองจันทบุรีได้แล้ว
     ก็ทรงเห็นว่าสงครามกู้ชาติต่อจากนี้ไปจะต้องหนักหนาและยืดยาว
     จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระยอดธงแบบศรีอยุธยาขึ้น
     แล้วนิมนต์พระเถระทั้งหลายมาสวดบทพาหุงมหากาบรรจุไว้ในองค์พระ
     และพระองค์ก็ทรงเจริญรอยตามพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
     ด้วยการเจริญพาหุงมหากาจึงบันดาลให้ทรงกู้ชาติสำเร็จ"


พระพุทธรูปภายในเจดีย์

     สวดพาหุงมหากากันให้ได้ทุกบ้าน สวดให้ได้มากๆ จะมีแต่ความรุ่งเรือง
     สวดพาหุงมหากาก่อน แล้วจึงสวดชินบัญชร เพราะชินบัญชรนั้นเจ้าประคุณสมเด็จท่านได้สวดบูชาพระอรหันต์ของท่าน ต้องสวดพาหุงมหากาก่อนแล้ว จึงมาถึงชินบัญชร
     ให้จดจำกันเอาไว้ นั่นแหละมงคลในชีวิต อันที่จริงถ้าเราทำบุญ เราจะได้ยินพระสวดคาถา "พาหุงมหากา" หรือ "พุทธชัยมงคลคาถา" ให้เราฟังทุกครั้ง

      บางทีเราจะเคยได้ยินพระสวดเจนหูเกินไปจนไม่นึกว่ามีความสำคัญ แท้จริงแล้วคาถาดังกล่าวนี้ มีของดีอยู่ในตัวให้เราใช้มากทุกบททุกตอน เป็นเรื่องของพระพุทธเจ้า อ้างอานุภาพของพระพุทธเจ้าเพื่อนำชัยมงคลมาให้แก่เรา ทุกตอนลงท้ายว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเต ชะยะมังคะลานิ"

     เวลาพระสวดให้เรา ท่านต้องใช้คำว่า "เต" ซึ่งแปลว่า "แก่ท่าน"
     แต่ถ้าเราจะเอามาสวดหรือภาวนาของเราเอง เพื่อให้ชัยชนะเกิดแก่ตัวเราเอง เราก็จะต้องใช้ว่า "เม"
     ซึ่งแปลว่า "แก่ข้า" คือสวดว่า "ตันเตชะสา ภะวะตุเมชะยะมังคะลานิ"



อ้างอิง http://www.agalico.com/board/showthread.php?t=1193
ขอบคุณ board.palungjit.com/f2/เมื่ออาตมา-หลวงพ่อจรัญ-ได้พบกับสมเด็จพระพนรัตน์-วัดป่าแก้ว-97691.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2013, 01:33:43 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




   
          ภาพชุดนี้จะเป็นบรรยากาศรอบๆเจดีย์(ด้านล่าง)
          หากถามว่า บรรยากาศบนเจดีย์เป็นอย่างไร ก็ต้องตอบว่า
          อากาศดี วิวสวย น่าถ่ายภาพมาก แต่อากาศร้อนพอสมควร

           :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2013, 01:27:51 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ