ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธเจ้าห้ามกินเนื้อสัตว์ ๑๐ ประเภท ด้วยเหตุผลอะไร.?  (อ่าน 2839 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อุบาสิกาสุปปิยาถวายเนื้อขา

    [๕๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในพระนครราชคฤห์ ตามพระพุทธาภิรมย์แล้วเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางพระนครพาราณสี เสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะทางโดยลำดับถึงพระนครพาราณสีแล้ว ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ อิสิปตนมฤคทายวันเขตพระนครพาราณสีนั้น
    สมัยนั้น อุบาสกสุปปิยะและอุบาสิกาสุปปิยา ๒ คน เป็นผู้เลื่อมใส เป็นทายกกัปปิยการก บำรุงพระสงฆ์อยู่ในพระนครพาราณสี วันหนึ่ง อุบาสิกาสุปปิยาไปสู่อาราม เที่ยวเยี่ยมวิหารและบริเวณทั่วทุกแห่ง แล้วเรียนถามภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุรูปไรอาพาธ ภิกษุรูปไร โปรดให้ดิฉันนำอะไรมาถวาย เจ้าข้า....ฯลฯ....

   .............ฯลฯ............................


ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม
    [๕๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้นในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปไหนขอเนื้อต่ออุบาสิกาสุปปิยา.
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเช่นนี้แล้ว ภิกษุรูปนั้นได้ทูลรับต่อพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระพุทธเจ้า ได้ขอเนื้อต่ออุบาสิกาสุปปิยา พระพุทธเจ้าข้า
             พ. เขานำมาถวายแล้วหรือ ภิกษุ
             ภิ. เขานำมาถวายแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
             พ. เธอฉันแล้วหรือ ภิกษุ
             ภิ. ฉันแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
             พ. เธอพิจารณาหรือเปล่า ภิกษุ
             ภิ. มิได้พิจารณา พระพุทธเจ้าข้า


ทรงติเตียน
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงไม่ได้พิจารณา แล้วฉันเนื้อเล่า เธอฉันเนื้อมนุษย์แล้ว
    การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้
    การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

     ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า


พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อมนุษย์
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาคนที่มีศรัทธาเลื่อมใสมีอยู่ เขาสละเนื้อของเขาถวายก็ได้
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัย อนึ่ง ภิกษุยังมิได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.


พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อช้าง
     [๖๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ช้างหลวงล้มลงหลายเชือก สมัยอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อช้าง และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อช้างประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อช้างเล่า
    เพราะช้างเป็นราชพาหนะ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบคงไม่ทรงเลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
    พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อช้าง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.


พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อม้า
    สมัยต่อมา ม้าหลวงตายมาก สมัยอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อม้า และถวายแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อม้า ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่าไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อม้าเล่า
    เพราะม้าเป็นราชพาหนะ ถ้าพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ คงไม่เลื่อมใสต่อพระสมณะเหล่านั้นเป็นแน่
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
    พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อม้า รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.


พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อสุนัข
    สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้อสุนัข และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้อสุนัข ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้อสุนัขเล่า
     เพราะสุนัขเป็นสัตว์น่าเกลียด น่าชัง
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
     พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อสุนัข รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.


พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้องู
     สมัยต่อมา ถึงคราวอัตคัดอาหาร ประชาชนพากันบริโภคเนื้องู และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายฉันเนื้องู ประชาชนจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ฉันเนื้องูเล่า
      เพราะงูเป็นสัตว์น่าเกลียดน่าชัง แม้พระยานาคชื่อสุปัสสะ ก็เข้าไปในพุทธสำนักถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่งได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า
      พระพุทธเจ้าข้า บรรดาที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสมีอยู่ มันคงเบียดเบียนพวกภิกษุจำนวนน้อยบ้าง ขอประทานพระวโรกาส พระพุทธเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายโปรดกรุณาอย่าฉันเนื้องู

    ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้พระยานาคสุปัสสะเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ครั้นพระยานาคสุปัสสะอันพระผู้มีพระภาคทรงให้เห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณกลับไป
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น
    แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้องู รูปใดฉันต้องอาบัติทุกกฏ.


พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อราชสีห์
    สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าราชสีห์แล้วบริโภคเนื้อราชสีห์ และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
     พวกภิกษุฉันเนื้อราชสีห์แล้วอยู่ในป่า ฝูงราชสีห์ฆ่าพวกภิกษุเสีย เพราะได้กลิ่นเนื้อราชสีห์
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
     พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อราชสีห์ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.


พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือโคร่ง
    สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือโคร่งแล้วบริโภคเนื้อเสือโคร่งและถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
    พวกภิกษุฉันเสือโคร่งแล้วอยู่ในป่า เหล่าเสือโคร่งฆ่าพวกภิกษุเสียเพราะได้กลิ่นเนื้อเสือโคร่ง
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
    พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือโคร่ง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.


พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือเหลือง
     สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือเหลือง แล้วบริโภคเนื้อเสือเหลืองและถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
     พวกภิกษุฉันเนื้อเสือเหลืองแล้วอยู่ในป่า เหล่าเสือเหลืองฆ่าพวกภิกษุเสียเพราะได้กลิ่นเนื้อเสือเหลือง
     ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
     พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือเหลือง รูปใดฉันต้องอาบัติทุกกฏ.


พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อหมี
    สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าหมีแล้วบริโภคเนื้อหมี และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
    พวกภิกษุฉันหมีแล้วอยู่ในป่า เหล่าหมีฆ่าพวกภิกษุเสียเพราะได้กลิ่นเนื้อหมี
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
    พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงฉันเนื้อหมี รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.


พระพุทธบัญญัติห้ามฉันเนื้อเสือดาว
    สมัยต่อมา พวกพรานฆ่าเสือดาวแล้วบริโภคเนื้อเสือดาว และถวายแก่พวกภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
    พวกภิกษุฉันเนื้อเสือดาวแล้วอยู่ในป่า เหล่าเสือดาวฆ่าพวกภิกษุเสีย เพราะได้กลิ่นเนื้อเสือดาว
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
    พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อเสือดาว รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.


    สุปปิยภาณวาร ที่ ๒ จบ.


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  บรรทัดที่ ๑๓๗๒ - ๑๕๐๘.  หน้าที่  ๕๕ - ๖๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=1372&Z=1508&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=58
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2014, 10:21:02 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๒ เภสัชชขันธกะ
อุบาสิกาสุปปิยาถวายเนื้อขาเป็นต้น

ว่าด้วยเนื้อที่ควรและไม่ควร
 
    สุนัขป่าย่อมเป็นเหมือนสุนัขบ้าน. เนื้อสุนัขป่านั้นไม่ควร.
    ฝ่ายสุนัขใด เกิดด้วยแม่สุนัขบ้านกับพ่อสุนัขป่าผสมกัน หรือด้วยแม่สุนัขป่ากับพ่อสุนัขบ้านผสมกัน เนื้อของสุนัขนั้น ไม่ควร. เพราะสุนัขนั้นซ่องเสพทั้งสองฝ่าย.
    บทว่า อหิมํสํ มีความว่า เนื้อแห่งทีฆชาติซึ่งไม่มีเท้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ไม่ควร. เนื้อราชสีห์เป็นต้นเป็นของชัดแล้วทั้งนั้น.

    ก็บรรดาอกัปปิยมังสะเหล่านั้น เนื้อมนุษย์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม ก็เพราะมนุษย์มีชาติเหมือนตน
    เนื้อช้างและม้าที่ทรงห้ามก็เพราะเป็นราชพาหนะ เนื้อสุนัขและเนื้องูที่ทรงห้าม ก็เพราะเป็นของสกปรก
    เนื้อ ๕ อย่างมีเนื้อราชสีห์เป็นต้น ที่ทรงห้าม ก็เพื่อต้องการความไม่มีอันตรายแก่ตน ฉะนี้แล.

    เนื้อก็ดี กระดูกก็ดี เลือดก็ดี หนังก็ดี ขนก็ดี แห่งสัตว์ ๑๐ ชนิดมีมนุษย์เป็นต้นเหล่านี้ไม่ควรทั้งหมดด้วยประการฉะนี้.

    เมื่อภิกษุรู้ก็ตาม ไม่รู้ก็ตาม ฉันอย่างใดอย่างหนึ่ง คงเป็นอาบัติแท้ รู้เมื่อใด พึงแสดงเมื่อนั้น.
    ไม่ถามก่อน รับด้วยตั้งใจว่า เราจักฉัน ต้องทุกกฏ แม้เพราะรับ.
    รับด้วยตั้งใจว่า จักถามก่อนจึงฉัน ไม่เป็นอาบัติ.
    อนึ่ง เป็นอาบัติเฉพาะแก่ภิกษุผู้รู้แล้วฉันเนื้อที่เป็นอุททิสสมังสะ เธอรู้ในภายหลัง ไม่ควรปรับอาบัติ.

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=58
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ