ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิทยาศาสตร์สมาธิ  (อ่าน 2052 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
วิทยาศาสตร์สมาธิ
« เมื่อ: สิงหาคม 23, 2010, 03:13:05 pm »
0
วิทยาศาสตร์สมาธิ
โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวด สติปัฏฐาน ๔ กระทู้ 13987 โดย : พายุธรรม 26 ม.ค. 48
ข่าวปก : ผลวิจัยวิทยาศาสตร์ชี้ชัด ปฏิบัติธรรม ทำสมาธิ ส่งผลดีต่อสมอง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 มกราคม 2548 16:05 น.


วารสารของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประเทศอเมริกา ฉบับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2547 ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยชิ้นล่าสุดของสถาบันเกี่ยว กับเรื่องการทำสมาธิ ว่าการปฏิบัติธรรมทำสมาธิแบบพุทธศาสนามิใช่เพียงก่อให้เกิดความสงบภายในจิตใจเท่านั้น

แต่ยังส่งผลดีกับกระบวนการทำงานของสมองมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และความ เชื่อมโยงกับอารมณ์ทางด้านดีอย่างถาวรอีกด้วย

ทั้งนี้นักวิจัยได้ทำการทดลองโดยเปรียบเทียบการทำงานของสมองของผู้เข้ารับ การทดลองในสองกลุ่มหลัก ซึ่งกลุ่มแรกเป็นกลุ่มพระภิกษุสงฆ์จำนวน 8 รูป มีอายุเฉลี่ยประมาณ 49 ปี แต่ละรูปมีประสบการณ์ในการนั่งสมาธิตั้งแต่ 10,000 ถึง 50,000 ชั่วโมง ภายในระยะเวลา 15 ถึง 40 ปีที่ผ่านมา
 
ส่วนกลุ่มที่สองเป็นกลุ่มนักศึกษาที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 21 ปี จำนวน 10 คน ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการ ปฏิบัติธรรมทำสมาธิมาก่อน และเพิ่งได้รับการอบรม ในเรื่องการทำสมาธิได้เพียง 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มการทดลอง

การทดลองครั้งนี้ นักวิจัยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า“อิเล็กโทรเอนเซฟาโลแกรมส์” (Electroencephalograms) ในการวัดระดับการทำงานของคลื่น สมองแกมมา รวม 3 ครั้ง คือ ก่อน ระหว่าง และหลังการ ปฏิบัติสมาธิ ซึ่งคลื่นสมองแกมมาเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองที่เชื่อมโยงความทรงจำ ระดับการเรียนรู้ ระดับสมาธิและการมองโลกในแง่ดี
 

ผู้เข้ารับการทดลองทั้งสองกลุ่มถูกจัดให้นั่งสมาธิแบบทิเบตในห้องทดลองที่ ผ่อนคลาย และมีการทำสมาธิเน้นให้ รู้สึกถึงความรักและความเมตตาต่อสรรพสิ่ง โดยจะไม่ใช้วิธีการเพ่งจิตต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้แต่ลมหายใจ

ผลปรากฏว่า ในช่วงก่อนการนั่งสมาธิ คลื่นสมอง แกมมาของกลุ่มพระภิกษุมีระดับที่สูงกว่ากลุ่มนักศึกษา และระดับความแตกต่างนี้ ได้ปรับสูงขึ้นอย่าง มากระหว่างการนั่งสมาธิ ซึ่งระดับคลื่นสมองแกมมา ของกลุ่มภิกษุในระหว่างการนั่งสมาธิครั้งนี้ นับว่าเป็นระดับที่สูงที่สุดเท่าที่เคยมีรายงานมา
 
เป็นที่ชัดเจนว่า กลุ่มพระภิกษุ มีการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ทางด้านบวก เช่น ความสงบสุข มีประสิทธิภาพกว่ากลุ่มที่ไม่เคยปฏิบัติสมาธิใดมาก่อน นอกจากนี้ ยังสรุปได้ว่า ระดับคลื่นแกมมาที่สูงของภิกษุก่อนการปฏิบัติสมาธินั้น

แสดงให้เห็น ว่าสมองได้มีการพัฒนาอย่างถาวรหากได้รับการปฏิบัติ ธรรมติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ถึงแม้ว่าปัจจัยทางด้านอายุและสุขภาพอาจจะทำให้คลื่นสมองแกมมา มีระดับที่แตกต่างกันไป แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สังเกตได้ ชัดจากการทดลอง คือ จำนวนชั่วโมงของการปฏิบัติ สมาธิ ส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของคลื่นสมองแกมมา

นอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งที่ศูนย์วิจัยจิต และสมองยู.ซี เดวิส (UC Davis Center for mind and brian) เมืองแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับแรงบันดาลใจจากสารขององค์ดาไลลามะแห่งทิเบต ที่กล่าวถึงความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์และพุทธศาสนา

และยังได้รับเงินสนับสนุนจากสถาบันศึกษาเรื่องจิตสำนึก แห่งซานตาบาร์บารา ซึ่งสถาบันนี้ได้รับเงินบริจาคจาก ‘ริชาร์ด เกียร์’ พระเอกหนุ่มชื่อดังของฮอลลีวูดผู้มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนานั่นเอง


ดังนั้น โครงการนำร่องจึงได้จัดตั้งขึ้น เพื่อศึกษา ถึงการทำงานของสมองระหว่างการนั่งสมาธิ และสาเหตุที่ทำให้ผู้ปฏิบัติสมาธิสามารถเชื่อมต่อกับอารมณ์ในแง่บวกได้ ง่ายกว่าคนปกติ โดยจะเริ่มโครง การจริงในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2549

โดยกลุ่มผู้ทดลองจำนวนทั้งสิ้น 30 คนจะถูกคัดเลือกจากประเทศยุโรป เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และพาไปฝึกอบรมนั่งสมาธิในระยะเวลากว่า 1 ปี ในสถานที่เงียบๆ แห่งหนึ่งในเมืองแคลิฟอร์เนีย เพื่อนักวิจัยจะได้สังเกตถึงพฤติกรรมของกลุ่มผู้ทดลอง

ดอกเตอร์อลัน วอลเลซ หัวหน้าศูนย์วิจัยจิตและสมอง ยู.ซี เดวิส จบการศึกษาปริญญาเอกทางด้านศาสนา จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด และเคยบวชเป็นภิกษุมาก่อน เป็นผู้ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบความจำ ปฏิกิริยาตอบสนองทางอารมณ์ การจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

พร้อมกับจัดตารางชีวิตประจำวันที่เรียบง่ายให้กับทุกคน โดยเริ่มจากตื่นนอนตอน 6 โมงเช้าเพื่อนั่งสมาธิกลุ่มและเดี่ยวจน ถึงเวลา 10 โมง มีการเสิร์ฟอาหารเป็นเวลาที่แน่นอน และมีเวลาว่าง 2 ชั่วโมงต่อวัน จุดประสงค์ของตาราง เวลา คือเพื่อที่จะสร้างกิจวัตรที่แน่นอน ที่ไม่รบกวน เวลานั่งสมาธิและมุ่งเน้นที่ความสมดุลของการทำงาน ของจิตใจเป็นสำคัญ

กลุ่มผู้ทดลองจะได้รับเงินตอบแทนจำนวน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือนในการเข้าร่วมการทดลองครั้งนี้ เนื่องจากทุกคนต้องอยู่ห่างบ้านและสิ่งที่คุ้นเคยมาอยู่ ในกฎระเบียบที่ทางสถาบันจัดให้ นอกจากนี้ ทุกๆสองสัปดาห์ ผู้ช่วยนักวิจัยจะเข้ามาเก็บข้อ มูลอย่างละเอียด

เช่น ผลเลือด น้ำลาย ความดัน และศึกษาทดลองเพื่อที่จะตรวจวัดการทำงานของสมองผ่านเครื่องอิเล็กโทรเอนเซฟา โลแกรมส์ อีกทั้งยังตรวจวัดระดับความเครียดและระบบการทำงานของภูมิต้านทานอย่างละเอียดอีกด้วย

ดอกเตอร์อลันกล่าวทิ้งท้ายว่า “การทดลองครั้งนี้ นับว่าเป็นการทดลองที่น่าตื่นเต้นสำหรับศูนย์วิจัย เนื่องจากเป็นความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญชื่อดังทางด้านสมอง นักจิตวิทยา และพุทธศาสนิกชน ด้วยข้อมูลที่เก็บอย่างละเอียดตั้งแต่ต้น และเงินทุนสนับสนุนที่คาดว่าจะได้รับบริจาคถึง 2 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ จะทำให้การทดลองครั้งนี้สมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์และพุทธศาสนา ต่อไป”

ตอบโดย: พายุธรรม 26 ม.ค. 48 - 07:54
ถ้าสนใจบทความต้นฉบับที่รายงานผลการวิจัยดูได้ที่นี่ครับ
http://www.pnas.org/cgi/content/full/101/46/16369?maxtoshow=&HITS=10&hits=10&RESULTFORMAT=&fulltext=meditation&searchid=1106747842419_2866&stored_search=&FIRSTINDEX=0&journalcode=pnas

ตอบโดย: จุดจุด 26 ม.ค. 48

ที่มา  http://www.dharma-gateway.com/misc/misc-95.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ