ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 704 705 [706] 707 708
28201  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๒ เมื่อ: มกราคม 06, 2010, 11:44:49 am
บาปกรรมอันเกิดจากการทําผิดศีล 5

ละเมิดศีลข้อแรกคือ การทำลายชีวิต หากทำลายชีวิตบุพพการีถือว่าเป็นอนันตริยกรรมคือกรรมหนัก กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าประหารชีวิตสถานเดียว การฆ่า การทำลายชีวิตซึ่งเป็นการละเมิดศีลข้อ ๑ ผิดทั้งกฎหมายของบ้านเมือง และผิดศีล ผิดหลักพระพุทธศาสนาด้วย

โทษขอการละเมิดศีลข้อที่ ๑ คือการทำลายชีวิตนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุ ทั้งหลาย ปาณาติบาต (การทำลายชีวิต) ที่บุคคลทำจนคุ้น ทำจนเคยตัวทำอยู่เรื่อย ๆ ไป ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในกำเนิดเปรตวิสัย
วิบากคือเศษกรรม (ผลกรรมที่เหลือ) ของการทำลายชีวิตอย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำซึ่งเป็นมนุษย์ กลายเป็นคนอายุสั้น (พลันตาย)


โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๒
คือ อทินนาทาน ได้แก่ลักทรัพย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุ ทั้งหลาย อทินนาทาน (การลักทรัพย์) ที่บุคคลทำจนคุ้น ทำจนเคยตัวทำอยู่เรื่อยไป ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย

วิบากหรือเศษกรรม เศษของโทษ ที่ละเมิดศีลข้อ ๒ คือลักทรัพย์ (อทินนาทาน) อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลาย เป็นคนมีทรัพย์วินาศย่อยยับ (เช่น ถูกไฟ ไหม้หรือโจรผู้ร้ายปล้น เป็นต้น)

[b]โทษของการละเมิดศีลข้อที่

โทษของการละเมิดศีลข้อที่ ๔ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า มุสาวาท (พูดปดหลอกลวง) ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ
วิบากคือเศษกรรม ของการพูดปดหลอกลวง อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์กลายเป็นคนถูกกล่าวตู่ด้วยความเท็จ

โทษขอการละเมิดศีลข้อที่ ๕ คือ สุราเมรัย นั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราเมรัย ที่บุคคลทำจนคุ้น ฯลฯ ย่อมเป็นเหตุให้เกิดในนรก ฯลฯ
วิบากของการดื่มสุราเมรัย (เสพยาเสพย์ติด) อย่างเบาที่สุด ย่อมชักให้ผู้ทำ ซึ่งเป็นมนุษย์ กลายเป็นคนบ้า


สำหรับศีลข้อ ๕ การเสพยาเสพย์ติดทุกชนิด เช่น เฮโรอีน ฝิ่น กัญชา ยาม้า ยาบ้าน ยาอี โคเคน เป็นอาที ก็สงเคราะห์เข้าในศีลข้อนี้ ผู้ใดเสพ ก็ถือว่าเป็นการละเมิดศีลข้อ ๕ นี้ด้วยเช่นกัน
ปกติมนุษย์ก็เมาอยู่แล้ว ด้วยกิเลส คือ ราคะ โลภะ โทสะและโมหะ ยิ่งเติมสิ่งเสพย์ติดเข้าไปอีก จึงเมาและบ้ากำลัง ๒ (ยิ่งบ้ากันใหญ่) เที่ยวจับคนเป็นตัวประกันบ้าง โดดตึกตายบ้าง ฆ่าเมีย ฆ่าลูก ฆ่าตัวเองฆ่าพ่อฆ่าแม่ของตัวเองตายบ้าง

เมืองไทยคนไทยเดินอยู่ตามถนนเตียน ๆ แท้ ๆยังถูกจับไปเป็นตัวประกันและถูกทำร้ายจนเสียชีวิต
เมืองไทยคนไทยเดินอยู่ตามถนนเตียน ๆ แท้ ๆ ยังถูกจับไปเป็นตัวประกันและถูกทำร้ายจนเสียชีวิต
เพราะ ฉะนั้น จงรีบเร่งรักษาศีล ๕ กันเถิดครับ เพื่อกำจัดปัญหาทางสังคมที่เกิดจากการที่มนุษย์ไม่รักษาศีล ๕ จึงเกิดโทษต่าง ๆ นานา มากหลายดังที่ปรากฏเป็นประจักษ์พยานให้เห็นอยู่

ผู้ละเมิดศีลข้อ ๕ ท่านกล่าวว่าวิบากกรรมที่เหลือย่อมทำให้เป็นบ้าเป็นคนเสียสติ
ในเวสสัตตรทีปนี ภาค ๒ ท่านพรรณนาให้เห็นคนบ้า ๘ จำพวก ดังนี้
. บ้าเพราะกาม
. บ้าเพราะโทสะ
. บ้าเพราะทิฎฐิ
. บ้าเพราะหลงใหล
. บ้านเพราะผีสิง (คือโลภ โกรธ หลง)
. บ้าเพราะดีเดือด
. บ้าเพราะเหล้า และ
. บ้าเพราะประสบเหตุร้าย
.
มีคำอธิบายขยายความดังนี้ครับ
. คนบ้ากาม ย่อมทำอะไรตามใจตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ
. คนบ้าเพราะโทสะ ย่อมมุ่งร้ายตกอยู่ในอำนาจการเบียดเบียน
. คนบ้าเพราะทิฎฐิ จิตย่อมวิปลาส คือมีความเป็นคลาดเคลื่อน
. คนบ้าเพราะหลง ความคิดย่อม เลอะเลือน
. คนบ้าเพราะผีสิง ย่อมตกอยู่ในอำนาจผี (กิเลส)
. คนบ้าเพราะดีกำเริบ ย่อมแล้วแต่ดีจะกำเริบ
. คนบ้าเพราเหล้า ย่อมตกอยู่ในอำนาจการดื่ม
. คนบ้าเพราะประสบเหตุร้ายย่อมตกอยู่ในอำนาจของความเศร้าโศก


   ที่มา http://www.kanlayanatam.com/sara/sara6.htm - http://www.kanlayanatam.com/sara/sara6.htm
http://www.watkoh.com/kratoo/printer_friendly_posts.asp?TID=2260


   หากเป็นไปได้ หาโอกาสชวนเพื่อนเข้าวัด หากุศโลบายตามสมควร เพื่อให้อาราธนาศีล ๕
แต่ถ้ายังไม่เลิกนิสัยนี้ ให้หาวิธีคุยถึงโทษของการทำผิดศีลข้อ ๒
   ถึงที่สุดแล้ว หากยังไม่เลิก คงต้องปล่อยไปตามเหตุุปัจจัยที่จะตามมา

   อนุโมทนาในจิตที่เป็นกุศลของคุณแสนหวาน
28202  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ธรรมนี้ ต้องให้เครดิตกับ อาจารย์สายทอง เมื่อ: มกราคม 05, 2010, 04:40:39 pm
Re: ไร้รูปแบบ แล้วสำเร็จธรรมจริงหรือ ?
ที่จริงท่านอาจารย์เคยกล่าวกับดิฉันไว้ว่า ทุกชีวิตที่เกิดมาบนโลกนี้ ล้วนแล้วแต่มุ่งสู่พระนิพพาน
แตกต่างกันที่ว่าเวลา ว่าใครจะไปก่อนไปหลัง บางท่านอาจจะต้องใช้เวลาเป็นกัปป์ ๆ

แต่ดิฉัน ก็ไม่ได้รังเกียจคนไม่ดี แต่พยายามห่างคนไม่ดี ( อเสวนา จ พาลานัง )
ถ้า พอตักเตือน หรือชักนำได้ ก็จะช่วยตักเตือน หรือ ชักนำ ถ้าตักเตือนไม่ได้ หรือ ชักนำไม่ได้ ก็ไม่ควรเข้าไปยุ่งคะ เพราะตลอดดิฉันเป็นอาจารย์มา 28 ปีนี้ เข้าใจลูกศิษย์ดีคะเพราะอยู่กับเด็กวัยรุ่นมาตลอด
========================================================
และพยายามส่งเสริมคนดี ( ปณฺฑิตานญฺ จ เสวนัง )
ส่วนคนดี แล้ว ดิฉันจะส่งเสริมไม่ว่าจะเป็นการกล่าาวด้วยวาจา ให้รางวัล หรือเข้าไปช่วยเหลือ ยามตกยาก
========================================================

   เหตุจากการตอบกระทู้ของอาจารย์สายทอง(ข้างบน) ทำให้ผมนึกถึงธรรมข้อหนึ่งได้  ผมเคยฟังมาจากพระอาจารย์ปราโมช ปาโมชโช ฟังครั้งแรก รู้สึกประทับใจมาก
ประทับใจในความเป็นยอดอัจฉริยะของพระพุทธเจ้า เลยค้นรายละเอียดต่างๆมาให้อาจารย์สายทอง เก็บไว้เป็นข้อมูล เผื่อมีโอกาสนำไปสอนลูกศิษย์


   แต่ขอออกตัวก่อนว่า คำอธิบายความ เป็นผมที่เขียนขึ้นเองตามความเข้าใจ ที่ได้ฟังมาจากพระอาจารย์ปราโมทย์ อาจารย์ช่วยพิจารณา และคอมเม้นต์ให้ด้วย

เชิญสดับได้เลยครับ





ทารุขันธสูตรที่ ๑

       [๓๒๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแห่งหนึ่งพระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง อันกระแสน้ำพัดลอยมาริมฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นหรือไม่ ท่อนไม้ใหญ่โน้นอันกระแสน้ำพัดลอยมาในแม่น้ำคงคา ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ

      พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
          - ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น
          - จักไม่จมเสียในท่ามกลาง
          - จักไม่เกยบก
          - ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้
          - ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้
          - จักไม่เน่าในภายใน


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังกล่าวมานี้แล ท่อนไม้นั้นจักลอยไหลเลื่อนไปสู่สมุทรได้
     ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายจะ
        - ไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น
        - ไม่จมลงในท่ามกลาง
        - ไม่เกยบก
        - ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้
        - ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้
        - จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้


      ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ท่านทั้งหลายจักโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน
      ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า สัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ

      [๓๒๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถาม พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
        - ฝั่งนี้ได้แก่อะไร ฝั่งโน้นได้แก่อะไร
        - การจมลงในท่ามกลางได้แก่อะไร
        - การเกยบนบกได้แก่อะไร
        - มนุษย์ผู้จับคืออะไร
        - อมนุษย์ผู้จับคืออะไร
        - เกลียวน้ำวนๆ ไว้คืออะไร
        - ความเป็นของเน่าในภายในคืออะไร


     พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ
        - คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖
        - คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖
        - คำว่าจมในท่ามกลางเป็นชื่อแห่งนันทิราคะ
        - คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ

   - ดูกรภิกษุ ก็มนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี เพลิดเพลิน โศกเศร้าอยู่กับพวกคฤหัสถ์ เมื่อเขาสุขก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่ามนุษย์ผู้จับ

   - ดูกรภิกษุ อมนุษย์ผู้จับเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ปรารถนาเป็นเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่งว่า ด้วยศีล ด้วยวัตร ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักได้เป็นเทวดาหรือเทพยเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง ดูกรภิกษุ เรียกว่าอมนุษย์ผู้จับ

   - ดูกรภิกษุ คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕

   - ดูกรภิกษุ ความเป็นของเน่าในภายในเป็นไฉน ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานปกปิดไว้ไม่เป็นสมณะ ก็ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่เป็นพรหมจารี ก็ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารีเป็นผู้เน่าในภายใน มีใจชุ่มด้วยกาม เป็นดุจขยะมูลฝอย ดูกรภิกษุ นี้เรียกว่าความเป็นผู้เน่าในภายใน ฯ

จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ที่มาhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=4909&Z=4963&pagebreak=0





อธิบายศัพท์และธรรม

อายตนะ   ที่ต่อ, เครื่องติดต่อ, แดนต่อความรู้, เครื่องรู้และสิ่งที่รู้ เช่น ตา เป็นเครื่องรู้ รูปเป็นสิ่งที่รู้, หูเป็นเครื่องรู้ เสียงเป็นสิ่งที่รู้ เป็นต้น, จัดเป็น ๒ ประเภท คือ อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖

สัมผัส ความกระทบ,การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก,ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอกและวิญญาณ มี ๖ เริ่มแต่จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖); ผัสสะ ก็เรียก

อายตนะภายใน ๖ (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน — internal sense-fields) บาลีเรียก อัชฌัตติกายตนะ
๑. จักขุ (จักษุ, ตา — the eye)
๒. โสตะ (หู — the ear)
๓. ฆานะ (จมูก — the nose)
๔. ชิวหา (ลิ้น — the tongue)
๕. กาย (กาย — the body)
๖. มโน (ใจ — the mind)

ทั้ง ๖ นี้ เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ ๖ เพราะเป็นใหญ่ในหน้าที่ของตนแต่ละอย่าง เช่น จักษุเป็นเจ้าการในการเห็น เป็นต้น

___________________________________
อ้างอิง : ที.ปา.๑๑/๓๐๔/๒๕๕; อภิ.วิ.๓๕/๙๙/๘๕.


อายตนะภายนอก ๖ (ที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้, แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก) บาลีเรียก พาหิรายตนะ
๑. รูปะ (รูป, สิ่งที่เห็น หรือ วัณณะ คือสี)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย, สิ่งที่ถูกต้องกาย)
๖. ธรรม หรือ ธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ, สิ่งที่ใจนึกคิด)
ทั้ง ๖ นี้ เรียกทัวไปว่า อารมณ์ ๖ คือ เป็นสิ่งสำหรับให้จิตยึดหน่วง

__________________________________________________
อ้างอิง : ที.ปา.๑๑/๓๐๕/๒๕๕; ม.อุ.๑๔/๖๒๐/๔๐๐; อภิ.วิ.๓๕/๙๙/๘๕.


นันท[นันทะ-] น. ความสนุก, ความยินดี, ความรื่นเริง. (ป.).

ราคะ ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์

อัสมิมานะ การถือตัวว่านี่ฉัน นี่กู กูเป็นนั่นเป็นนี่, การถือเราถือเขา
กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจ

กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม)
๑. รูปะ (รูป)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)
๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เรียกว่า กามคุณ

____________________________________________________________________
อ้างอิง : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ประมวลศัพท์และประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)




อธิบายความโดยย่อ

ธรรมชาติของแม่น้ำส่วนใหญ่จะไหลออกสู่ทะเล ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงได้กล่าวถึงท่อนไม้ที่ลอยไปตามแม่น้ำจะออกสู่ทะเลได้นั้น ต้องมีเหตุ ๘ ประการ

- ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาใกล้ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น
- จักไม่จมเสียในท่ามกลาง
- จักไม่เกยบก
- ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้
- ไม่ถูกน้ำวนๆ ไว้
- จักไม่เน่าในภายใน


แล้วได้เปรียบมนุษย์เป็นดั่งท่อนไม้ เปรียบทะเลเป็นพระนิพพาน โดยกล่าวถึงเหตุที่มนุษย์จะเข้าสู่พระนิพพานไว้ ๘ ประการ

- ถ้าท่านทั้งหลายจะไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น
- ไม่จมลงในท่ามกลาง
- ไม่เกยบก
- ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับไว้
- ไม่ถูกเกลียวน้ำวนๆ ไว้
- จักไม่เป็นผู้เสียในภายในไซร้ (เน่าใน)


ในตอนท้ายได้อธิบายเหตุ ๘ ประการว่า คืออะไร

   - คำว่า ฝั่งนี้ เป็นชื่อแห่งอายตนะภายใน ๖ คำว่าฝั่งโน้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖  สองข้อนี้หมายถึง การยึดติดกับสัมผัสทางกายและใจ ไม่สามารถวางเฉยกับสัมผัสต่างๆที่เข้ามากระทบได้

   - คำว่าจมในท่ามกลางเป็นชื่อแห่งนันทิราคะ  หมายถึง  การเผลอเพลิน ไปตามกิเลสต่างๆ คำว่านันทิราคะ ยังใช้กับเทวดา ที่ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนาน ไม่เจอความทุกข์

   - คำว่าเกยบก เป็นชื่อแห่งอัสมิมานะ  หมายถึง ยึดมั่นในตัวกูของกู แบ่งเขาแบ่งเรา

   - ถูกมนุษย์จับไว้ หมายถึง คลุกคลีกับคนหมู่มาก ยุ่งเกี่ยวกับทางโลกมากเกินไป ทำให้เดือดร้อน จนไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม

   - ถูก อมนุษย์จับไป  การเอาแต่ทำทาน ถือศีล ทำสมาธิ แต่ไม่เจริญวิปัสสนา
ติดสมถะกรรมฐาน ตายไปอย่างมากก็ไปเป็นเทวดา หรือพรหม (ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่)


   - คำว่าเกลียวน้ำวนๆ ไว้ เป็นชื่อแห่งกามคุณ หมายถึง การติดอยู่ในความอยาก และความพอใจใน รูป  รส กลิ่น เสียง สัมผัส

   - ความเป็นผู้เสียในภายใน(เน่าใน) หมายถึง การละเมิดศีล ไม่มีศีล





สรุปให้สั้น

แวะเข้าฝั่ง    คือ หลงสัมผัส
จมน้ำ       คือ เผลอเพลิน
เกยตื้น      คือ ตัวกูของกู
มนุษย์จับ     คือ ชอบเข้าสังคม
อมนุษย์จับ    คือ ไม่เจริญวิปัสสนา
น้ำวน        คือ ติดกามคุณ
เน่าใน    คือ ไม่มีศีล


   “ท่อนไม้ที่ลอยไปตามแม่น้ำ มีแนวโน้มที่จะไหลออกสู่มหาสมุทร ฉันใด จิตมนุษย์นี้ไซร์ ย่อมมีแนวโน้มที่จะไหลสู่พระนิพพาน ฉันนั้น”


 :25: :25: :25: :25: :25:

พระอาจารย์ปราโมช ปาโมชโช กล่าวไว้ว่า

มนุษย์แปลว่า ผู้มีใจสูง เหมาะสำหรับการเจริญวิปัสสนาเพื่อนิพพาน
เทวดานั้น เอาแต่ เผลอเพลินในความเป็นทิพย์
พรหม ก็มีแต่ พรหมวิหารสี่ ยากที่จะเข้านิพพาน
ใจมนุษย์ เหมาะสมที่สุด จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้มีใจสูง

การที่จะเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้น เป็นเรื่องที่แสนยาก
ดังนั้นการได้เกิดเป็นมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่วิเศษที่สุด
อย่ามัวหลงอยู่ในกิเลส ขอให้เร่งปฏิบัติ


 :welcome: :49: :25: :s_good:
28203  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / Re: มีคนตอบรับ มาช่วยพัฒนาเว็บ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 07:07:11 pm
ผมขอให้ข้อมูลคุณทินกร ดังนี้

  คุณเกื้อ เป็น admin เว็บพรหมพันกร ของ อ.ต้น พรหมพันกร
  อ.ต้น พรหมพันกร รู้จักกับ คุณ รักไร้พ่าย (เว็บพลังจิต)เพื่อนคุณทินกร
  คุณรักไร้พ่าย เคยสัมภาษณ์ อ.ต้น และนำเรื่อง อ.ต้น มาลงในพลังจิต

  ความเป็นไปได้ในตอนนี้ก็ คือ คุณเกื้อ ไม่ว่าง
  ผมเองไม่เคยรู้จักคุณเกื้อ มาก่อน รู้จักกันผ่านทางพลังจิต
  เหมือนกับคุณทินกร


  ถ้าไม่เป็นการรบกวนเกินไป ขอให้คุณทินกร ติดต่อผ่านคุณรักไร้พ่าย
  ขอทราบความชัดเจน จากคุณเกื้อ

  มีปัญหาอะไร ก็แจ้งมาได้นะครับ

  ก่่อนจบ ขอแจ้งชื่อที่ถูกต้องของผม คือ "ณฐพลสรรค์" อ่านว่า นะ-ถะ-พน-สัน
  หรือ จะเรียกชื่อเล่นก็ได้ "ปุ้ม"
28204  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ทำอย่างไร จะมีบุตรได้ครับ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 10:11:58 am
คุณสาธุครับ ผมหาบทความต่างๆมาให้พิจารณา เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ

คนที่มาจากสายทหาร ขอแนะนำ ให้ใช้วิธีที่มาจาก เว็บคนเมืองบัว

(http://www.konmeungbua.com/) เนื่่องจากเว็บนี้เป็นสายของ

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ซึ่งเป็นที่ทราบทั่วกันว่า เป็นทหารเสียส่วนใหญ่

ในอดีตชาติของหลวงพ่อ มีความเกี่ยวเนื่่องกับทหาร

ข้อมูลของเว็บนี้เป็นไปได้ที่จะมาจากหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ขอให้โชดดีครับ
28205  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ทำอย่างไร จะมีบุตรได้ครับ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 10:00:50 am
ปัญหาความเชื่อเรื่องการขอลูกกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์

 เนื้อความ :

    ดิฉัน แต่งงานเข้ามาอยู่ในครอบครัวคนจีน ที่เชื่อในเรื่องทรงเจ้า หมอดู พระทักมาก แต่ส่วนตัวดิฉันไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ดิฉันเชื่อในการกระทำที่สมเหตุสมผลมากกว่า
    ดิฉันแต่งงานมาหลายปีแล้ว ไม่มีบุตรผู้ใหญ่เค้าก็ไปหาน้ำมนต์มาให้ (ตัวดิฉันไม่ได้ไป) แล้วบอกว่าให้อาบน้ำมนต์กลางแจ้ง 3 วัน แล้วไปจุดธูปขอลูกกับเจ้าแม่กวนอิมที่หิ้งพระ แล้วจะได้ลูก ผ่านไปหลายวันดิฉันก็ยังไม่ได้ทำ เค้าก็คะยั้นคะยอจะให้อาบ ดิฉันก็ผลัดเรื่อยมายังไม่ได้ทำ เพราะในใจรู้สึกต่อต้านความเชื่อแบบนี้
    ดิฉัน ก็ทราบว่าที่ผู้ใหญ่ไปหาสิ่งต่าง ๆ มาก็เพราะหวังดี แต่มันเป็นวิธีที่ดิฉันไม่เห็นด้วยนะค่ะ ยังมีวิธีที่เป็นธรรมชาติ เป็นไปได้มากกว่านี้
    คุณคิดว่าจะมีทางออกที่นุ่มนวลและเป็นผลดีกับทุกฝ่ายอย่างไรคะ

 จากคุณ : น้ำ [ 22 เม.ย. 2545 / 11:21:35 น. ]
     [ IP Address : 203.151.11.144 ]

 ความคิดเห็นที่ 1 : (แป๊ะอ้วน)

    ก็ ทำตามๆเขาไปเถอะครับ ทำโดยกริยาอาการแม้ใจไม่เชื่อก็ทำได้ ผมก็เป็นลูกคนจีนครับ ที่บ้านก็เชื่ออะไรทำนองนี้ ตอนแรกไปค้านเขามากๆก็มีแต่ผิดใจหมางใจ ทำให้ญาติๆเสียใจ สุดท้ายผมก็สักแต่ทำไปให้เขาดีใจก็เท่านั้น

 จากคุณ : แป๊ะอ้วน [ 22 เม.ย. 2545 / 11:27:35 น. ]
     [ IP Address : 203.107.149.18 ]


 ความคิดเห็นที่ 2 : (aratana)

    ท่าน แป๊ะอ้วน พูดได้ ไพเราะมาก ครับ.

 จากคุณ : aratana [ 22 เม.ย. 2545 / 11:45:04 น. ]
     [ IP Address : 203.113.61.198 ]


 ความคิดเห็นที่ 3 : (No maN)

    เขมา เขมสรณปีกคาถา

    กล่าวถึงความผิดพลาดที่คนเมื่อเป็นทุกข์ก็หา ที่พึ่ง
    บ้างก็ อาศัย ป่าไม้ สิ่งศักดิสิทธิ์ ฯลฯ แม้แต่ "รูปเปรียบ" พระพุทธเจ้า

    จริงๆ หากใคร ถือ  พระพุทธ พระธรม พระสงฆ์(ที่แท้จริง) มาเป็นสรณะต่างหากจึง "ระงับ"ทุกข์ได้ โดย ถือ เอา มรรคมีองค์๘ เป็นแนวทาง

 จากคุณ : No maN [ 22 เม.ย. 2545 / 12:50:46 น. ]
     [ IP Address : 202.44.2.23 ]


 ความคิดเห็นที่ 4 : (ศิษย์พระป่า)

    อ่าน จากทางตำหรับตำราเรื่องนี้ก็เป็นไปได้ ท่านไม่ปฏิเสธ เห็นว่ามีวิธีการอยู่ แต่ไม่ใช่ชี้ทางให้งมงาย  แต่มีข้อแม้ว่าก่อนจะอธิษฐานจิตให้พยายามทำบุญไว้มากๆ เพื่อว่าจะได้ดวงจิตดีๆมาเข้าท้อง ไม่ใช่มาจากภูมิต่ำๆ  แต่เรื่องเจ้าแม่กวนอิมนี้ไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับชาวพุทธในนิกายเถรวาท  เพราะไม่เชื่อว่ามีจริง   เกิดจากจินตนาการของฝ่ายมหายานต่างหาก ถ้าจะขอน่าจะขอจากเทพอื่นๆที่พอจะเชื่อได้ ว่ามีจริง อย่างไรสร้างความหวังไว้ในใจดีกว่าความแห้งแล้ง ไม่ว่าจะเป็นไปได้ หรือไม่ก็ตาม  อย่างน้อยๆ ก็ชักนำให้เป็นเทวตานุสสติอยู่กลายๆ ไม่เลวหรอก

 จากคุณ : ศิษย์พระป่า [ 22 เม.ย. 2545 / 12:55:44 น. ]
     [ IP Address : 216.218.88.39 ]


 ความคิดเห็นที่ 5 : (ผู้เดินทาง)

    ตาม ที่คุณศิษย์พระป่า กล่าวว่า  แต่เรื่องเจ้าแม่กวนอิมนี้ไม่เป็นที่ยอมรับสำหรับชาวพุทธนิกายเถรวาท เพราะไม่เชื่อว่ามีจริง เกิดจากจินตนาการของฝ่ายมหายานต่างหาก  ตรงนี้คุณศิษย์พระป่า หมายความประโยคส่วนนี้ว่าอย่างไรครับ   ขอคำอธิบายชัดๆด้วยครับ

 จากคุณ : ผู้เดินทาง [ 22 เม.ย. 2545 / 16:20:59 น. ]
     [ IP Address : 24.160.48.50 ]


 ความคิดเห็นที่ 6 : (ศิษย์พระป่า)

    อืมม...ต้องว่ากันยาวยืดเลย....เอาไงดี...ท่านดังตฤณ หรือท่านโชติกะ หรือ ท่านใดช่วยหน่อยครับ...ขอขอบคุณล่วงหน้าหลายๆ

 จากคุณ : ศิษย์พระป่า [ 22 เม.ย. 2545 / 17:13:44 น. ]
     [ IP Address : 216.218.84.154 ]


 ความคิดเห็นที่ 7 : (nothing)

    เรื่องของความเชื่อนี่มันพูดยากจริง ๆ เนาะ

 จากคุณ : nothing [ 22 เม.ย. 2545 / 17:53:51 น. ]
     [ IP Address : 203.113.60.11 ]


 ความคิดเห็นที่ 8 : (ศิษย์พระป่า)

    เอ้า ไหนๆ ก็ไหนๆแล้ว  ขอแค่อารัมภบทไว้เคร่าๆนะ สรุปๆจุดสำคัญ....หลักลัทธิอันนี้ ต้นเดิมเกิดในอินเดียในนิกายมหายาน ครูบาอาจารย์ของฝ่ายมหายานมาคิดค้นลัทธินี้ขึ้นภายหลัง แล้วเขียนใส่เพิ่มเติมไปในพระไตรปิฎกของมหายาน ซึ่งปกติมหยานมักจะทำแบบนี้ แล้วก็มักจะสมอ้างว่านี้เป็นพุทธพจน์มาจากพระพุทธโอษฐ์โดยตรงเพื่อให้คน เชื่อมั่นเชื่อถือไม่คลางแคลง ดังนั้นพระไตรปิฎกของฝ่ายมหายานจึงมีมากมายกว่าของเถรวาทเราเยอะ เยอะมากทีเดียว และมีเรื่องพิลึกกึกกือสารพัด ....เหตุผลที่ครูบาอาจารย์มหายานทำอย่างนั้นเพราะในยุคนั้นในอินเดีย(ซึ่ง ประมาณพันกว่าปีมานี้เอง)

ลัทธิพราหมณ์มีการปรับปรุงแนวคิดและความเชื่อต่างๆขึ้นมาเพื่อดึงดูดคนแบบ ชาวบ้านธรรมดา ซึ่งไม่สนใจหลักธรรมลึกซึ้งอะไร ไม่สนใจจะปฏิบัติ ชอบแต่ง่ายๆ เช่นเครื่องลางของขลัง การช่วยเหลือจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก เห็นหรือเปล่าเรื่องอย่างนี้เป็นอยู่มาจนถึงปัจจุบัน มีคนแบบนี้กว่า ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ในสังคมเรา และก็เป็นแบบนี้มานมนานแล้ว  จากจุดนี้เองพวกลัทธิฮินดูจึงเอาจุดอ่อนนี้มาหาทางให้คนระดับนี้เข้ามาสนใจ เพื่อแข่งกับความเชื่ออื่นๆด้วย จึงสร้างเทพเจ้าต่างๆขึ้นมามากมาย ให้เป็นที่พึ่งยึดเหนี่ยว  เรื่องแบบนี้ถูกใจคนอยู่แล้ว(เห็นไม๊เมืองไทยเราที่คนมักจะแห่กันไปขอโชค ขออะไรกับเทพเจ้าอะไรต่างๆ  สิ่งแปลกๆต่างๆ เช่นวัวห้าขา งูสองหัว..ฯลฯ) 

ศาสนาพุทธกลัวจะแพ้พราหมณ์ เพราะคนนับถือลดลงทุกที  ก็เอามั่งซิ   ฮินดูทำได้พุทธก็ทำได้ จึงเป็นเรื่องของมหายานซึ่งถนัดแนวนี้อยู่แล้ว  ลัทธิและเทพเจ้าต่างๆจึงถูกสร้างขึ้นมาในยุคนั้น   มีลัทธิความเชื่ออันหนึ่งชื่อว่าลัทธิสุขาวดี  กล่าวถึงว่ามีแดนพุทธเกษตรสุขาวดีอยู่ในทิศทั้งสี่ ไว้รองรับชาวพุทธเมื่อตายไปแล้ว จะได้ไปอยู่แดนนี้ซึ่งเป็นเหมือนแดนสวรรค์มีพระพุทธเจ้าปกครองในแต่ละแดน เป็นอย่างนั้นชั่วนิรันตร์ ในสี่แดนนั้นแดนที่สำคัญที่สุดอยู่ทางทิศตะวันตก ปกครองโดยพระพุทธเจ้าพระนามว่า อมิตาภะ ซึ่งมีพระโพธิสัตว์เป็นศิษย์ใกล้ชิดรับใช้อยู่ ๔ ท่าน ท่านหนึ่งชื่อว่า พระอวโลกิเตศวร ซึ่งมีนิสัยชอบไปช่วยเหลือชาวโลกที่ตกทุกข์ได้ยากต่างๆนานา พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์เป็นผู้ชาย  แต่เมื่อลัทธินี้เผยแพร่ไปเมืองจีน  เนื่องจากนิสัยคนจีนชอบไปทางเพศแม่อยู่แล้ว(อย่างน้อยในยุคนั้น)  จึงหาทางอธิบายให้พระอวโลกิเตศวรเป็นผู้หญิงไปเสีย จึงเรียกว่าเจ้าแม่กวนอิมไง 

ภายหลังพยายามมีการแต่งเติมเข้ามาอีกว่า เจ้าแม่กวนอิมนี้เคยมีตัวตนจริงๆเป็นผู้หญิงที่มีคุณธรรมประพฤติดี เช่นบางรายว่าเป็นหญิงที่กตัญญูต่อพ่อแม่คนหนึ่ง ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นกวนอิม  หรือบางรายว่ากวนอิมคือเจ้าฟ้าหญิงราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดินจีนองค์ใดองค์ หนึ่ง ประพฤติธรรม ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นกวนอิม  และไม่แค่นี้ยังมีคำอธิบายแต่งเติมประวัติของกวนอิมให้กลายเป็นคนจริงๆขึ้ร มาก่อนที่จะไปเกิดเป็นกวนอิม   อีกมากมายหลายเรื่อง ที่ยกมาเพียงสองเรื่องนั่นเพียงแค่ตัวอย่าง และในหลักเถรวาทเราแ ถือว่าพระนิยตโพธิสัตว์ต้องไม่เกิดเป็นหญิง  ก็อาจจะเป็นได้เมื่อยังเป็นอนิยตโพธิสัตว์  แต่ของเรามุ่งที่พระโพธิสัตว์หลังได้รับพุทธพยากรณ์แล้วเป็นหลัก ...พอก่อนนะ นี่แค่อารัมภบทคร่าวๆ  รอให้ท่านที่เชี่ยวชาญตำรามาช่วยอธิบายเพิ่มเติมก็แล้วกัน  ผมไม่มีตำราอยู่ใกล้ตัวด้วยซิ เอาแค่ที่จำได้เลาๆ

 จากคุณ : ศิษย์พระป่า [ 22 เม.ย. 2545 / 18:34:38 น. ]
     [ IP Address : 216.218.84.80 ]


 ความคิดเห็นที่ 9 : (ผู้เดินทาง)

              ขอบคุณครับในคำอธิบายแบบคร่าวๆ   สรุปแล้วคุณศิษย์พระป่าฟันธงว่า เจ้าแม่กวนอิม กับ องค์พระโพธิสัตว์อวโรกิเตศวร  ไม่มีจริง เป็นแค่นิยายแต่งกันขึ้นมาทางพุทธนิกายมหายาน  ใช่ใหมครับ     ถ้าคุณศิษย์พระป่าคิดว่าเป็นเช่นนั้น    ผมว่าคุณศิษย์พระป่าน่าจะกลับไปทบทวนความคิดเห็นใหม่นะครับ   การสรุป ในเรื่องที่ตรงข้ามกับความเชื่อของเรา  โดยที่ไม่เคยพิสูจน์  แล้วอ้างแต่ตำราที่ตรงกับความเชื่อของเราเท่านั้น   ผมว่ามันแคบไปนะครับ         

 จากคุณ : ผู้เดินทาง [ 23 เม.ย. 2545 / 06:44:51 น. ]
     [ IP Address : 24.160.48.50 ]


 ความคิดเห็นที่ 10 : (อ่านเล่นหนุกๆ)

    อ่านเจอว่าเจ้าแม่กวนอิมลาพุทธภูมิและนิพพานแล้ว

 จากคุณ : อ่านเล่นหนุกๆ [ 23 เม.ย. 2545 / 07:04:01 น. ]
     [ IP Address : 203.113.45.197 ]


 ความคิดเห็นที่ 11 : (น้ำ)

    ขอบคุณทุกท่านค่ะ
    ตอนนี้ดิฉันคิดว่าคงจะต้องทำตามผู้ใหญ่อย่างที่คุณแป๊ะอ้วนว่ามาค่ะ

    แต่ คุณศิษย์พระป่าว่าก็น่าสนใจขอความกรุณาให้คุณศิษย์พระป่าช่วยขยายความที่ว่า "มีข้อแม้ว่าก่อนจะอธิษฐานจิตให้พยายามทำบุญไว้มากๆ เพื่อว่าจะได้ดวงจิตดีๆมาเข้าท้อง ไม่ใช่มาจากภูมิต่ำๆ " คล้ายกับว่าเราสามารถเลือกลูกที่จะมาเกิดได้ส่วนหนึ่งใช่ไหมคะ?
    แล้วเราจะอธิษฐานจิตและทำบุญอย่างไรให้ได้ดวงจิตดี ๆมาเกิดคะ?
    แล้วจะมีวิธีที่ทำให้ลูกดีหรืออภิชาตบุตรมาเกิดได้ไหมคะ?

 จากคุณ : น้ำ [ 23 เม.ย. 2545 / 08:38:18 น. ]
     [ IP Address : 203.151.11.144 ]


 ความคิดเห็นที่ 12 : (nothing)

    การเกิดเป็นทุกข์

 จากคุณ : nothing [ 23 เม.ย. 2545 / 09:12:34 น. ]
     [ IP Address : 203.113.60.11 ]


 ความคิดเห็นที่ 13 : (จันทรังสี)

    คุณผู้เดินทางจะให้คุณศิษย์พระป่าคิดว่าท่านมีจริงเหมือนกับที่คุณคิดหรือครับ ทั้งๆที่คุณก็ไม่เคยเห็นท่านเหมือนกัน
    "การส รุป ในเรื่องที่ตรงข้ามกับความเชื่อของเรา  โดยที่ไม่เคยพิสูจน์  แล้วอ้างแต่ตำราที่ตรงกับความเชื่อของเราเท่านั้น   ผมว่ามันแคบไปนะครับ  "
    คุณ เอาตำราที่ตรงกับความเชื่อของคุณมาจากที่ไหน ที่สำคัญคุณพิสูจน์แล้วหรือครับ  ถึงจะพิสูจน์แล้วก็ตาม คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าผลการพิสูจน์เป็นจริง

    โดยส่วนตัวถ้าผมเจอรูป เคารพของเจ้าแม่กวนอิม ผมก็ยกมือไหว้ท่าน ไม่ได้เป็นสิ่งเสียหายแต่ประการใด การที่จะมาคัดง้างคนอื่นให้มีความเห็นตรงกับตน ไม่น่าจะใช่วิสัยของคนที่นับถือพระโพธิสัตว์ที่มีเมตตาธรรมอย่างเจ้าแม่กวน อิมหรอกครับ

 จากคุณ : จันทรังสี [ 23 เม.ย. 2545 / 09:48:03 น. ]
     [ IP Address : 203.147.50.42 ]


 ความคิดเห็นที่ 14 : (ผู้เดินทาง)

             คุณจันทรังสี ผมไม่ได้คัดง้างคุณศิษย์พระป่าให้มีความเห็นตรงกับผม  ผมว่าคุณเข้าใจผิดแล้ว  ผมยังไม่ฟันธงว่า ท่านมีจริง หรือ เป็นเรื่องแต่งกันมา  แต่ที่ผมง้างนั้นเพราะการแสดงความคิดเห็นแบบนี้ในที่สาธารณะนั้น เป็นเรื่องล่อแหลมต่อผู้คนที่ศรัทธา นับถือต่อองค์พระโพธิสัตว์  คุณคิดว่าคนที่เขานับถืออยู่ เขาจะไม่โกรธหรือ  ไปให้ความเห็นอย่างนั้น โดยส่วนตัวใครจะนับถืออะไร ใครจะคิดเห็นอย่างไร  ผมไม่ใส่ใจอยู่แล้ว ไม่ต้องนับถึงให้มีความเห็นตรงกับผมหรอก  ผมว่าคุณจัทร้งสีลังเลใจตัวเองมากๆเลยนะครับ  จะนับถือ ก็นับถือให้เต็มๆไปเลยซิครับ  อย่าครึ่งๆกลางๆกลัวคนเขาจะตำหนิหรือครับว่าไหว้พระโพธิสัตว์

 จากคุณ : ผู้เดินทาง [ 23 เม.ย. 2545 / 10:37:23 น. ]
     [ IP Address : 24.160.48.50 ]


 ความคิดเห็นที่ 15 : (ศิษย์พระป่า)

    คุณ ผู้เดิน ที่ผมสรุปคร่าวๆเรื่องเจ้าแม่กวนอิมนั้น ว่ากันตามเนื้อหาในประวัติศาสตร์ ตามตำราเท่าที่จดจำได้ ไม่ใช่คิดเอาเองหรือแต่งเอง คุณมีสิทธิ์จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่  จะผิดหรือถูกก็อยู่ที่ประวัติศาสตร์ที่บันทึกกันมา ไม่ใช่อยู่ที่ผม  ผมเห็นคุณถามมาจึงเล่าให้ฟังเท่านั้นเอง  แล้วทำไมกลับมาว่าผมเสียนี่ แปลกดี ถ้าอย่างนั้นคุณไปค้นหาจากหลักฐานต่างๆแล้วเอามาถกกันจะไม่ดีกว่าหรือ ผมยังไม่ได้บอกเลยว่าส่วนตัวผมเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน  ,  ...ตอบคุณน้ำ ผมก็ว่าไปตามที่เคยอ่านเจอมาบ้างตามตำราและจากคำแนะนำของครูบาอาจารย์เวลา ที่ท่านเจอคำถามแบบเดียวกันนี้  ลองดูซิ ไม่เสียหายอะไรนี่ มีแต่ดีกับดีไม่ใช่หรือ? หรือคุณว่าไง

 จากคุณ : ศิษย์พระป่า [ 23 เม.ย. 2545 / 10:47:09 น. ]
     [ IP Address : 216.218.83.110 ]


 ความคิดเห็นที่ 16 : (pump)

       เมื่อก่อนตอนที่พ่อกับแม่ผมแต่งงานกันเมื่ออยู่กินด้วยกันซักระยะหนึ่ง
    คือประมาณ4-5ปีแล้วก็ยังไม่มีลูกก็เลยไปบนบานสานกล่าว
    กับพระพรหมเอราวัน หลังจากนั้นได้ไม่นานแม่ก็ตั้งท้องเป็นเด็กผู้ชาย
    ตามที่ได้ไปขอไว้ เด็กคนนั้นก็คือผมเองครับ อันนี้พ่อกับแม่ผมเล่าให้ฟังเอง
    ส่วนใครจะเชื่อหรือไม่ก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละคนนะครับ
       

    แล้วตอนอฐิษฐานต้องบอกคุณสมบัติของลูกที่อยากได้ให้ครบ
    ไม่ใช่ว่าขอให้เป็นคนอย่างเดียว เช่นขอว่าให้เกิดมาสมบูรณ์อวัยวะครบ32
    เป็นคนดี มีปัญญา มีจิตใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  เป็นต้น
       สรุปว่า เชื่อไม่เชื่อแล้วแต่บุคคล แต่ถ้าทำเพื่อความสบายใจก็ดี
    หรือจะลองพยายามมีตามวิธีธรรมชาติก็แล้วแต่นะครับ

 จากคุณ : pump [ 23 เม.ย. 2545 / 14:48:20 น. ]
     [ IP Address : 202.133.137.23 ]


 ความคิดเห็นที่ 17 : (แม่นโม)

    แต่ ก่อนเคยเป็นทุกข์เพราะอยากได้ลูก เที่ยวไปขอจากเจ้าแม่ ที่ได้รับการแนะนำมา ก็ฟลุคได้ลูก แต่แท้งไป 2 ครั้ง ใช้เวลาไป 6 ปี ทุกข์ร้อนกระวนกระวาย จึงหันมาเอาพุทธศาสนาเป็นที่พึ่ง ไปปฏิบัติธรรมเพื่อระงับความทุกข์ในใจตนเอง กลับมาสบายใจขึ้น ตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์บ้างไม่หวังมีลูกแล้ว แต่พบว่าหลังจากกลับมาก็ท้องเลยค่ะ ลูกอารมณ์ดีมาก ยิ้มแย้มตลอดเวลา แต่ซนจัง active มากๆ เลี้ยงง่าย แล้วก็ฝันว่าลูกคนนี้ต้องชื่อ นโม ทำให้นึกถึงคำพูดที่ว่า ให้อธิฐานจิตและทำบุญให้มากๆ จะได้ดวงจิตดีๆมาเกิด  คงเป็นงั้นแน่ค่ะ  ยังไงขอให้มีกำลังใจนะคะ ทำกุศล ปฏิบัติธรรมให้มาก สิ่งดี ๆจะบังเกิดกับเราเองเป็นอัศจรรย์เลยค่ะ

 จากคุณ : แม่นโม [ 24 เม.ย. 2545 / 13:26:46 น. ]
     [ IP Address : 202.22.39.19 ]


 ความคิดเห็นที่ 18 : (นักเดินทาง)

    สิ่งสุดสามารถใช้          ญานตรอง
    อย่าด่วนว่าล้วนผอง     ผิดแล้
    บางอย่างใช่วิสัยของ    เราหยั่ง ถึงนา
    อย่านึกว่าเท็จแท้          ทุกข้อ ที่ฉงน

    ทุกอย่าง มันต้องอาศัยปัจจัย แต่ปัจจัยที่ว่าจะมองเห็นด้วยตาได้หรือเปล่านะสิ อย่างลมที่พัดต้นไม้ไหวได้ เรามองไม่เห็นลม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มี ยังมีสิ่งที่เราไม่เคยได้เห็น ได้ยิน ได้สัมผัส มากกว่าที่เราเคยมากมายนัก เป็นเรื่องยากที่เราจะระบุให้แน่ชัดได้

    ผมเองคิดแบบเดียวกับคุณ ศิษย์พระป่านะ ที่ให้หมั่นทำบุญ ตั้งจิตอธิษฐานบ่อยๆ ส่วนจะได้หรือไม่นั้นก็ต้องดูกันต่อไป ได้ก็คือได้ ไม่ได้ก็คือไม่ได้ ที่สำคัญเวลานี้น่าจะรักษาจิตให้ดี ถ้ามันคิดมากจนเป็นทุกข์คงไม่ดีแน่ขอรับกระผม...(^-^)

 จากคุณ : นักเดินทาง [ 24 เม.ย. 2545 / 20:26:44 น. ]
     [ IP Address : 203.107.149.216 ]


 ความคิดเห็นที่ 19 : (จันทรังสี)

    คุณน้ำ
    ผม ว่าการไม่มีลูกก็เป็นสิ่งที่เอื้อต่อการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่งนะครับ อีกอย่างผมรู้สึกว่าในอนาคตสิ่งยั่วยุต่างๆน่าจะมีมากกว่านี้ การที่จะมีลูกและดูแลลูกให้อยู่รอดปลอดภัยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย

 จากคุณ : จันทรังสี [ 26 เม.ย. 2545 / 00:24:59 น. ]
     [ IP Address : 202.133.172.166 ]


 ความคิดเห็นที่ 20 : (เณรน้อย)

    บุญ ทำกรรมแต่งครับ ท่านที่ไม่เคยมีก็อยากมีท่านที่เคยมีแล้วอยากได้อีก หรือไม่อยากมีอีกเลย และท่านที่มีแล้ว ก็ไม่อยากให้จากเราไป หรือบางท่าน อยากให้ไปซะเร็วๆก็มี เหมือนท่านที่ซื้อ หวย บางท่าน ไปขอกับต้นไม้บ้างเจ้าพ่อ เจ้าแม่บ้างแล้วก็ถูก แต่บางท่านไปขอที่เดียวกันแห่งเดียวกัน ทำเหมือนกันแต่กลับไม่ถูก นี่เพราะอะไร ก็เพราะว่าบุญ ของแต่ละท่านไม่เท่ากัน การทำบุญของแต่ละท่านไม่เหมือนกัน  กำลังใจเวลาทำนั้นก็ไม่เท่ากัน จึงทำให้ผลที่ได้นั้นต่างกัน ฉนั้นสรุปว่า หากเราไม่มีวาสนาที่จะได้บุตร  หรือยังไม่ถึงเวลาที่จะมีเทพองค์ใดมาจุติ ให้ท่านทำอย่างไรก็ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่หากมีวาสนา  ไม่ต้องรบกวนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่านก็จะสมปราถนา แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น  ก็ขอให้ท่านทำตามที่ผู้ใหญ่แนะนำ เพื่อเป็นการเจริญศรัทธาท่าน  ท่านก็จะได้รับความปลาบปลื้มยินดีจากผู้ใหญ่ท่านนั้น ว่าท่านเป็นว่าง่ายสอนง่าย ไม่ดื้อรั้น และท่านก็จะได้รับความเมตตาเพิ่มขึ้นอีกครับ

 จากคุณ : เณรน้อย [ 26 เม.ย. 2545 / 08:56:59 น. ]
     [ IP Address : 203.144.251.90 ]


 ความคิดเห็นที่ 21 : (aratana)

    เจ้าแม่ ... เจ้าพ่อ..เจ้าป่า...เจ้าเขา..
    ทุกเจ้ากราบ พระพุทธเจ้าหมด  แล้วท่านจะต้องผ่าน พ่อค้าคนกลางอยู่ทำไม?

 จากคุณ : aratana [ 26 เม.ย. 2545 / 15:05:34 น. ]
     [ IP Address : 203.113.61.199 ]


 ความคิดเห็นที่ 22 : (สัจจะญาโณ)

    ทำ ตามไปเถอะ  ผมยิ่งกว่าคุณอีก  ผมต่อต้านวัดธรรมกายตลอด แต่ผมต้องไปทุกครั้งที่มีงานสำคัญ และไปทุกเดือน เพราะ พ่อแม่ของแฟนผมเขาศรัทธามาก  แต่ผมก็ไปได้ ทำทุกอย่างที่เขาให้ทำไม่ใช่ทำชั่วนะ  ไม่หนักใจ เพราะผมไม่ฟุ้งซ่าน  เราจะทุกข์เพราะความคิดของตัวเองแล้วคิดทำไม  ทำเถอะครับ ไม่เสียหาย มันอยู่ที่ใจเราต่างหาก

 จากคุณ : สัจจะญาโณ [ 27 เม.ย. 2545 / 15:18:47 น. ]
     [ IP Address : 203.113.44.10 ]


 ความคิดเห็นที่ 23 : (เจตน์ webmaster@84000.org)

    เรื่อง การทรงเจ้านั้น เห็นว่าไม่ควรเดินไปครับ ถ้าไม่แข็งพอ(ศรัทธาต่อพระรัตนตรัย) ถ้าแข็งแล้วไปไหนก็ได้ ป่าช้า หมอผี ร่างทรงเก่งแค่ไหนก็เดินเข้าไปเถอะ(แต่เฉพาะจำเป็นไม่ได้ไปลอง)
    แล้วภาวนา พุทธคุณ อิติปิโส แล้วบอกว่าพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งกำจัดภัยได้จริง
    แล้วมองดูอย่างสงสารร่างทรงผู้มีวิบากกรรม ยืมบารมีผู้อื่น

    ส่วนเรื่องเจ้าแม่กวนอิมนั้น ผู้ที่ไม่ปฎิบัติ อ่านอย่างเดียว
    ขอแนะนำว่าอย่าติ อย่าว่านะครับ ปฎิบัติแล้วจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรเอง

    เมื่อท่านโมคคัลลานะเห็นเปรต ท่านเล่าให้เพื่อนภิกษุ ฟัง
    เพื่อนภิกษุที่ปัญญาตื้น ทิพย์จักขุไม่มี ต่างว่ากล่าวต่างๆนานา
    พระพุทธเจ้าจึงมายืนยันว่าเปรตมีจริง
    แต่ที่มิได้พยากรณ์เพราะ ถ้าผู้นั้นฟังแล้วไม่เชื่อ จะเกิดบาปในจิตที่ทำให้ผู้นั้น
    ทุกข์อีกไม่ประมาณชาติได้เลย พระมหาอัจฉริยะจึงเลือกธรรมสอนบุคคล
    สาธุ 84000.org

 จากคุณ : เจตน์ webmaster@84000.org [ 28 เม.ย. 2545 / 13:51:47 น. ]
     [ IP Address : 203.155.239.54 ]



ที่มา  http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/005001.htm

28206  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ทำอย่างไร จะมีบุตรได้ครับ เมื่อ: มกราคม 04, 2010, 09:56:40 am
กรรมที่ไม่มีลูก

กรรมจากการทำร้ายลูกของสัตว์อื่น พรากสัตว์อื่นจากพ่อแม่หรือเคยข่มเหงลูกคนอื่น

ลดกรรมด้วยการงดกินเนื้อสัตว์ทุกๆ 7 วัน ในทุกๆเดือนทำบุญปล่อยปลาลงน้ำปล่อยนกปล่อยกา ทำบุญบริจาคทานที่มูลนิธิสัตว์หรือ มูลนิธิเด็กอ่อน

ที่มา เว็บพลังจิต
...........................................................................................

คำอธิษฐาน สำหรับคนที่มีบุตรยาก

ลองใช้วิธีนี้ดูครับ

1.ให้ภรรยาคุณไปขัดห้องน้ำ 7 วัด  โดยซื้ออุปกรณ์ขัดห้องน้ำดั่งนี้
•   แปรงขัดห้องน้ำ 7 อัน
•   ขันน้ำ 7 ใบ
•   น้ำยาขัดห้องน้ำ 7 ขวด
•   ธูป 16 ดอก
•   เทียน 2 เล่ม

      นำมาวางที่หน้าพระปฏิมา  จุดธูป เทียน  อธิษฐาน  นะโม….3 จบ “ข้าพเจ้าชื่อ…………….สกุล…………………ขอบารมีพระรัตนตรัยเป็นสักขีพยาน ในการที่ข้าพระพุทธเจ้า ได้ทำงานสาธารณะประโยชน์ แก่ของสงฆ์ อานิสงส์ใดที่พึงมีพึงได้ ข้าพเจ้าขออุทิศให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ที่เคยเป็นเหตุให้เขาต้องแท้ง จงมารับส่วนกุศลนี้ด้วยเถิด  ขอโรคภัยต่างๆ ที่เป็นเห็นให้มีบุตรยาก หรือโรคภายในของผู้หญิงต่างๆ จงสลายตัวไปด้วยเถิด

2. ให้คุณและภรรยา ถือศีล 8 เป็นเวลา 7 วัน
3. จากนั้นให้ทรงอารมณ์ ในศีล 5 ให้มีความสม่ำเสมอ
4.ให้อธิษฐาน ขอบุตรแก่ท่านผู้มีพระคุณ มีท่านพระอินทร์เป็นต้น ขอให้ได้บุตรดีทั้งทางโลกทางธรรม
 
หรือ หากอยากรู้ถึงกรรมของตนที่ทำให้มีบุตรยากด้วยตนเองก็ฝึกกรรมฐาน บางครั้งเป็นคนที่มีบุญบารมีมาก ไม่มีวิญญาณ ที่เหมาะสมพอที่จะจุติในครรภ์ได้ หากเป็นด้วยเหตุนี้ ต้องทำพิธีขอบารมีจากพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ให้บุตรของตนเกิดมาเพื่อสืบทอดพุทธศาสนาเถิด คงจักสมหวังในที่สุด
 
ที่มา  http://www.konmeungbua.com/webboard/aspboard_Question.asp?GID=91
.................................................................................

การขอบุตร.......พระอาจารย์เกษม อาจิณณสีโล


แนะนำว่า ถ้าไม่เป็นกรรมหนักจริงๆและพอที่จะแก้ไขได้ เป็นเรื่องที่ง่ายมาก แต่ถ้าหากเป็นกรรมหนักจริงๆแล้วก็ยากเหมือนกัน

คู่สามีภรรยาที่อยากมีบุตร ให้เตรียมร่างกายให้พร้อม ดูแลสุขภาพให้ดีก่อน เมื่อพร้อมแล้วก็ให้อธิษฐานในใจว่า.....

"ขออำนาจพระ พุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์ จงบันดาลความคิดของข้าฯมีชื่อว่า......บัดนี้ ข้าฯต้องการมีลูก เทพเทวาใดจะมาเกิดกับข้าฯ หรือเทพเทวาใดจะช่วยหาเทวดามาเกิดกับข้าฯ ข้าฯจะทำบุญอุทิศให้ เตรียมรับบุญจากข้าฯได้"

จากนั้น ทำบุญแล้วอุทิศให้แก่เทวดาที่ต้องการมาเกิดกับเรา และผู้ที่ติดต่อช่วยหาเทวดาให้มาเกิดกับเรา

ที่มา http://www.buddha-dhamma.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=buddha-dhammacom&thispage=&No=392116

28207  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ปฏิบัติหน้าที่ "กัลยาณมิตร" เมื่อ: มกราคม 03, 2010, 10:02:24 pm
คุณสาธุครับ อาจารย์สนธยาให้ผมมาช่วยตอบกระทู้ในห้องนี้(สอบถามปัญหาชีวิต)
ในฐานะกัลยาณมิตร ผมเลยขอถือโอกาสนี้ เข้ารับหน้าที่อย่างเป็นทางการ
ขอเริ่ม ปฏิบัติหน้าที่ "กัลยาณมิตร" ณ บัดนี้

   คำถามของคุณอาจทำให้หลายๆท่านกลัว ไม่กล้านอนดึก กลัวเจอเหมือนคุณ
หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ ผมเอง คนที่จะตอบปัญหานี้ได้ดี คงเป็นอาจารย์ท่่านเดียว


สำหรับผมเองขอเล่าว่าทุกครั้งหลังจากปฏิบัิติธรรม จะแผ่บุญกุศลให้ญาติและไม่ใช่ญาติ
และปิดท้ายด้วย ให้สัพเวสีและโอปาติกะที่อยู่บริเวณนี้

มีอยู่คืนหนึ่งผมลืมแผ่ พอผมหลับ ผมได้ยินเสียงเหมือนคนมาเรียกขื่อผม
เสียงนั้นค่อนข้างน่ากลัว ผมเลยนึกได้ว่าลืมแผ่บุญ พอแผ่ให้แล้ว
ก็ไม่ได้ยินเสียงนั้นอีกเลย  คุณสาธุครับ ลองดูวิธีของผมก็ได้นะครับ


28208  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การปฏิบัติภาวนา เพื่อสู่การเป็นพุทธสาวกนั้น ต้องมีสมาธิ ระดับไหนครับ เมื่อ: มกราคม 02, 2010, 05:43:20 pm
ตั้งแต่ ขณิกะสมาธิ ขึ้นไปครับ ( มหาสีสะดายอ )
อุปจาระสมาธิ ในพระสูตรส่วนใหญ่ จะอ่านพบตรงนี้มากๆ :angel:

ผมขออนุญาตช่วยเสริมคุณนพดล โดยขอนำคำเทศนาของพระอาจารย์สองท่านมาให้อ่าน ดังนี้

เปรียบเทียบสมถะ-วิปัสสนา
โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)





ขอนำบทความบางตอนมาแสดงดังนี้

การเจริญวิปัสสนานั้นเมื่อทำถึงขั้นโลกุตระแล้วกิเลสจะขาดลง
แต่ขณะที่ ยังไม่ถึงโลกุตระขณะที่ยังเป็นวิปัสสนาญาณอยู่
ก็จะละเป็น ตทังคปหานเป็นขณะๆ ไป

มีสติรู้ทันกิเลสก็ถูกละไปขณะหนึ่ง เผลอสติอ้าว กิเลสเกิดขึ้นอีก
เพราะฉะนั้นเจริญวิปัสสนาที่ใช้ขณิกสมาธิคือสมาธิสงบเล็กน้อย
นิวรณ์ย่อมเกิดขึ้นได้ ความงาวงเหงาหาวนอน ความท้อถอย
ความกำหนัดยินดี ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ความพยาบาทเกิดขึ้นได้ในจิตใจของโยคาวจร
คือ ผู้ที่เจริญวิปัสสนาอยู่ ที่ไม่ได้ฌาน แบบว่าทำวิปัสสนาไปเป็นขณิกสมาธิ

เพราะฉะนั้น นิวรณ์หรือกิเลสต่างๆ ก็เกิดขึ้นได้ ก็เจริญสติระลึกรู้ไป
กิเลสอันใดเกิดก็รู้ไป ก็ละไปขณะหนึ่ง เผลอสติก็เกิดขึ้นก็รู้ทัน
เหมือนการเดินทาง คนเจริญวิปัสสนาก็เหมือนเดินทางไปกลางแดดไม่มีที่พัก
มันก็ร้อนหน่อย


คนเจริญสมถะก็เหมือนกับว่าเดินทางไปมีศาลาพักร้อนหลบร้อนเย็นสบาย
แต่ถ้าไม่เดินต่อไปก็ไม่ถึงเป้าหมายที่หมายเหมือนกัน จะติดอยู่ที่ศาลาพักร้อนชมนกชมไม้ชมแม่น้ำลำธาร เหมือนคนที่เจริญสมถะพอได้สมาธิก็ติดสมาธิ ติดในความสุขติดในความสงบ ก็หยุดแค่นั้นไม่ได้ปัญญาได้แต่ความสงบ

ฉะนั้นถ้าจะเจริญสมถะก่อนก็อย่าหยุดยั้งแค่ความสงบเท่านั้น ก็ต้องต่อให้ขึ้นสู่วิปัสสนา
หรือคนจะเจริญวิปัสสนาไปเลย ไม่ต้องไปหันทำฌานก่อนก็ได้เหมือนกัน

แต่ก็ย่อมมีนิวรณ์รบกวนอยู่ แต่ก็ต้องมีความฉลาด คือเมื่อเกิดกิเลสเกิดนิวรณ์อันใด ก็เอานิวรณ์หรือเอากิเลสนั้นน่ะเป็นกรรมฐาน คือเป็นที่ตั้งของสติ เอาสติกำหนดรู้
เกิดโลภะ โทสะ โมหะ ก็เอาโลภะ โทสะ โมหะ เป็นกรรมฐาน


กรรมฐานก็คือที่ตั้งของสติ ก็กลายเป็นประโยชน์ได้ กิเลสก็กลายเป็นประโยชน์ได้ การเจริญวิปัสสนานั้นก็จะต้องระลึกที่ปรมัตถ์ ระลึกที่ปรมัตถธรรม ปรมัตถ์ก็หมายถึงสิ่งที่เป็นจริง มีจริง เป็นของจริง

___________________________________________________________

ส่องทางสมถวิปัสสนา
แสดงธรรมโดย พระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี)
วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย



ขอนำคำเทศนาบางตอนมาแสดงดังนี้

วิปัสสนาปัญญา วิปัสสนาปัญญาเป็นผลออกมาจากอุปจารสมาธิโดยตรง ได้อธิบายมาแล้วข้างต้นว่า อุปจารสมาธิเป็นที่ตั้งขององค์ปัญญา อธิบายว่า วิปัสสนาปัญญาจะเกิดนั้น สมาธิต้องตั้งมั่นลงเสียก่อนจึงจะเกิดขึ้นได้ มิใช่เกิดเพราะฌานซึ่งมีแต่การเพ่งความสุขสงบอยู่หน้าเดียว และมิได้เกิดจากอัปปนาสมาธิอันหมดจากสมมติสัญญาภายนอกเสียแล้ว

จริงอยู่ เมื่อจิตยังไม่ถึงอัปปนาสมาธิ วิปัสสนาปัญญาไม่สามารถจะทำหน้าที่ละสมมติของตนให้ถึงอาสวขัยได้ แต่ว่าอัปปนาเป็นของละเอียดกว่าสัญญาภายนอกเสียแล้ว จะเอามาใช้ให้เห็นแจ้งในสังขารนี้อย่างไรได้ อัปปนาวิปัสสนาปัญญาเป็นผู้ตัดสินต่างหาก อุปจารวิปัสสนาปัญญาเป็นผู้สืบสวนคดี

ถ้าไม่สืบสวนคดีให้มีหลักฐานถึงที่สุดแล้ว จะตัดสินลงโทษอุปาทานอย่างไรได้ ถึงแม้ว่าอัปปนาวิปัสสนาปัญญาจะเห็นโทษของอุปาทานว่าผิดอย่างนั้นแล้ว แต่ยังหาหลักฐานพยานยังไม่เพียงพอ ก็คงไม่สมเหตุสมผลอยู่นั่นเอง เหตุนั้น วิปัสสนาปัญญาจึงได้ยึดเอาตัวสังขารนี้เป็นพยาน เอาอุปจารสมาธิเป็นโรงวินิจฉัย


____________________________________________________________


ถึงตรงนี้ คุณปกรณ์และคุณนพดล อาจจะสงสัยว่า ทำไม สัมมาสมาธิ หมายถึง ฌาน ๔

ผมก็สงสัยเหมือนกัน และกำลังหาคำตอบอยู่

อย่างไรก็รบกวนคุณทั้งสอง ช่วยไปถามอาจารย์สนธยา ในห้องสนทนาธรรม นะครับ
28209  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การปฏิบัติภาวนา เพื่อสู่การเป็นพุทธสาวกนั้น ต้องมีสมาธิ ระดับไหนครับ เมื่อ: มกราคม 02, 2010, 05:13:04 pm
ผมได้ไปสวดมนต์แปลที่วัดชลประทาน มาในเรื่องของ สัมมาสมาธิ ซึ่งมีข้อความแปลว่า สัมมาสมาธิ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติฌาน จตุตถฌาน แล้วไปจบที่เรื่องของ อุเบกขา 6

แท้ที่จริงแล้ว การภาวนา ในฝ่ายปัญญาวิมุตติ ก็ควรจะมีสมาธิ ถึงขั้น ปฐมฌาน ใช่มั๊ยครับ


คุณปกรณ์ ลองอ่าน ข้อความข้างล่างนี้ แล้วจะทราบคำตอบที่อยากรู้

อรหันต์ ๒ (ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, ท่านผู้สมควรรับทักษิณาและการเคารพบูชาอย่างแท้จริง — an Arahant; arahant; Worthy One)

๑. สุกขวิปัสสก (ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ว คือ ท่านผู้มิได้ฌาน สำเร็จอรหัตด้วยเจริญแต่วิปัสสนาล้วน ๆ — the dry-visioned; bare-insight worker)

๒. สมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน คือ ท่านผู้เจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อจนได้สำเร็จอรหัต — one whose vehicle is tranquillity; the quiet-vehicled)
____________________________________________________________

แต่คัมภีร์ทั้งหลายนิยมจำแนกเป็น ๒ อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น ๕ อย่างบ้าง  ที่เป็น ๕ คือ
 
๑. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา — one liberated by wisdom)
 
๒. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ — one liberated in both ways)

๓. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ — one possessing the Threefold Knowledge)

๔. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ — one possessing the Sixfold Superknowledge)

๕. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ — one having gained the Four Analytic Insights)
 
ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น ๒ คือ

พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น 

พระสุกขวิปัสสก ที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน ๕ ประเภท)
 
พระเตวิชชะ กับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ที่ไม่ได้โลกิยวิชชาและโลกิยอภิญญา ก็มี  ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้ง ๔ ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่าและการบรรลุอรหัต

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ ป.อ.ปยุตโต


คุณปกรณ์ อ่านที่ตัวหนังสือสีแดงให้ดี โดยเฉพาะคำว่า "สุกขวิปัสสก" จะทราบว่า อรหันต์ประเภทปัญญาวิมุต ไม่มีฌานเลย

28210  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / องคุลีมาร ฆ่าคนมาเกือบพัน ยังบรรลุอรหันต์ได้เลย เมื่อ: มกราคม 01, 2010, 08:43:08 pm

ทรงมอบสมบัติพระนิพพานแก่พระราหุล โดยให้บรรพชาเป็นสามเณรองค์แรก
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/picture/f53.html


อาจารย์สายทองครับ ถ้ามีโอกาสเจอลูกศิษย์คนนี้อีก

ช่วยให้กำลังใจ ด้วยวิธีที่แยบคาย (โยนิโสมนสิการ)นะครับ

องคุลีมาร ฆ่าคนมาเกือบพัน ยังบรรลุอรหันต์ได้เลย

สันตติมหาอำมาตย์ ก็เมา ๗ วันติดกัน ก็บรรลุอรหันต์เช่นกัน

มองในแง่ดี องคุลีมาร ทำผิดศีลข้อ ๑ พระพุทธเจ้าให้

ความสำคัญกับการฆ่าสัตว์ มาเป็นอันดับแรก

แต่ลูกศิษย์อาจารย์ทำผิดแค่ศีลข้อ ๕ (เท่านั้นเอง)

ความสำคัญของศีลข้อนี้ มีน้อยกว่ามาก เมื่อเทียบกับศีลข้อ ๑


ความจริง ผมไม่ได้หวังให้ลูกศิษย์อาจารย์บรรลุอรหันต์ดอกครับ

แค่ให้สนใจธรรมะให้มากกว่า เท่านั้นก็พอ



ผมคิดว่า ในเวลานี้ เขาน่าจะสำนึกอะไรบางอย่างได้บ้าง

อาจารย์คงมีวิธีช่วยเขาได้นะครับ ผมเป็นกำลังใจให้

(อย่าซีเรียส ผมแค่มองโลกไม่แง่บวก ความจริงเป็นไง คงแก้อยาก)
28211  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เมาหัวลาน้ำ ๗ วัน แล้วบรรลุอรหันต์ เมื่อ: มกราคม 01, 2010, 08:13:04 pm
               ๙. เรื่องสันตติมหาอำมาตย์ [๑๑๕] 
             
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสันตติมหาอำมาตย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อลงฺกโต เจปิ สมญฺจเรยฺย" เป็นต้น.

               สันตติมหาอำมาตย์ได้ครองราชสมบัติ ๗ วัน               
               ความพิสดารว่า ในกาลครั้งหนึ่ง สันตติมหาอำมาตย์นั้นปราบปรามปัจจันตชนบท ของพระเจ้าปเสนทิโกศล อันกำเริบให้สงบแล้วกลับมา. ต่อมา พระราชาทรงพอพระหฤทัย ประทานราชสมบัติให้ ๗ วัน ได้ประทานหญิงผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับนางหนึ่งแก่เขา. เขาเป็นผู้มึนเมาสุราสิ้น ๗ วัน ในวันที่ ๗ ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่างแล้ว ขึ้นสู่คอช้างตัวประเสริฐไปสู่ท่าอาบน้ำ เห็นพระศาสดากำลังเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่ระหว่างประตู อยู่บนคอช้างตัวประเสริฐนั่นเอง ผงกศีรษะ ถวายบังคมแล้ว.

               พระศาสดาทรงทำการแย้ม พระอานนท์ทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล? เป็นเหตุให้ทรงกระทำการแย้มให้ปรากฏ" เมื่อจะตรัสบอกเหตุแห่งการแย้ม จึงตรัสว่า

               "อานนท์ เธอจงดูสันตติมหาอำมาตย์ ในวันนี้เอง เขาทั้งประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่างเทียว มาสู่สำนักของเรา จักบรรลุพระอรหัตในเวลาจบคาถาอันประกอบด้วยบท ๔ แล้ว นั่งบนอากาศ ชั่ว ๗ ลำตาล จักปรินิพพาน."

               มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา ผู้กำลังตรัสกับพระเถระอยู่.

               คน ๒ พวกมีความคิดต่างกัน               
              บรรดามหาชนเหล่านั้น พวกมิจฉาทิฏฐิคิดว่า "ท่านทั้งหลายจงดูกิริยาของพระสมณโคดม, พระสมณโคดมนั้นย่อมพูดสักแต่ปากเท่านั้น ได้ยินว่า ในวันนี้ สันตติมหาอำมาตย์นั่น มึนเมาสุราอย่างนั้น แต่งตัวอยู่ตามปกติ ฟังธรรมในสำนักของพระสมณโคดมนั้นแล้ว จักปรินิพพาน ในวันนี้ พวกเราจักจับผิดพระสมณโคดมนั้นด้วยมุสาวาท."

               พวกสัมมาทิฏฐิคิดกันว่า "น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอานุภาพมาก ในวันนี้เราทั้งหลายจักได้ดูการเยื้องกรายของพระพุทธเจ้า และการเยื้องกรายของสันตติมหาอำมาตย์."

               ส่วนสันตติมหาอำมาตย์เล่นน้ำตลอดวันที่ท่าอาบน้ำแล้ว ไปสู่อุทยาน นั่งที่พื้นโรงดื่ม.

               หญิงฟ้อนเป็นลมตาย
             
               ฝ่ายหญิงนั้นลงไปในท่ามกลางที่เต้นรำ เริ่มจะแสดงการฟ้อนและการขับ เมื่อนางแสดงการฟ้อนการขับอยู่ในวันนั้น ลมมีพิษเพียงดังศัสตราเกิดขึ้นแล้วในภายในท้อง ได้ตัดเนื้อหทัยแล้ว เพราะความที่นางเป็นผู้มีอาหารน้อยถึง ๗ วัน เพื่อแสดงความอ้อนแอ้นแห่งสรีระ. ในทันทีทันใดนั้นเอง นางมีปากอ้าและตาเหลือก ได้กระทำกาละแล้ว.

               โศกเพราะภรรยาตาย
             
               สันตติมหาอำมาตย์กล่าวว่า "ท่านทั้งหลาย จงตรวจดูนางนั้น" ในขณะสักว่าคำอันชนทั้งหลายกล่าวว่า "หญิงนั้นดับแล้ว นาย" ดังนี้ ถูกความโศกอย่างแรงกล้าครอบงำแล้ว. ในขณะนั้นเอง สุราที่เธอดื่มตลอด ๗ วัน ได้ถึงความเสื่อมหายแล้ว ประหนึ่งหยาดน้ำในกระเบื้องที่ร้อนฉะนั้น.

               เธอคิดว่า "คนอื่น เว้นพระตถาคตเสีย จักไม่อาจเพื่อจะยังความโศกของเรานี้ให้ดับได้" มีพลกายแวดล้อมแล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดาในเวลาเย็น ถวายบังคมแล้ว กราบทูลอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความโศกเห็นปานนี้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์, ข้าพระองค์มาแล้ว ก็ด้วยหมายว่า ‘พระองค์จักอาจเพื่อจะดับความโศกของข้าพระองค์นั้นได้’ ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด."


               พระศาสดาระงับความโศกของบุคคลได้   
           
               ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า "ท่านมาสู่สำนักของผู้สามารถเพื่อดับความโศกได้แน่นอน อันที่จริง น้ำตาที่ไหลออกของท่านผู้ร้องไห้ในเวลาที่หญิงนี้ตาย ด้วยเหตุนี้นั่นแล มากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้ง ๔" ดังนี้แล้ว

               จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
                                   "กิเลสเครื่องกังวลใด มีอยู่ในกาลก่อน เธอจงยังกิเลส
                         เครื่องกังวลนั้นให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่องกังวล จงอย่ามีแก่
                         เธอในภายหลัง, ถ้าเธอจักไม่ยึดถือขันธ์ ในท่ามกลาง จักเป็น
                         ผู้สงบระงับ เที่ยวไป."

               ในกาลจบพระคาถา สันตติมหาอำมาตย์บรรลุพระอรหัตแล้ว พิจารณาดูอายุสังขารของตน ทราบความเป็นไปไม่ได้แห่งอายุสังขารนั้นแล้ว จึงกราบทูลพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงอนุญาตการปรินิพพานแก่ข้าพระองค์เถิด."

               พระศาสดา แม้ทรงทราบกรรมที่เธอทำแล้ว ก็ทรงกำหนดว่า "พวกมิจฉาทิฏฐิประชุมกัน เพื่อข่มขี่ (เรา) ด้วยมุสาวาท จักไม่ได้โอกาส, พวกสัมมาทิฏฐิประชุมกัน ด้วยหมายว่า ‘พวกเราจักดูการเยื้องกรายของพระพุทธเจ้า และการเยื้องกรายของสันตติมหาอำมาตย์’ ฟังกรรมที่สันตติมหาอำมาตย์นี้ทำแล้ว จักทำความเอื้อเฟื้อในบุญทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว

               จึงตรัสว่า "ถ้ากระนั้น เธอจงบอกกรรมที่เธอทำแล้วแก่เรา, ก็เมื่อจะบอก จงอย่ายืนบนภาคพื้นบอก จงยืนบนอากาศชั่ว ๗ ลำตาลแล้ว จึงบอก."

               แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ในอากาศ     
         
              สันตติมหาอำมาตย์นั้นทูลรับว่า "ดีละ พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว จึงถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ขึ้นไปสู่อากาศชั่วลำตาลหนึ่ง ลงมาถวายบังคมพระศาสดาอีก ขึ้นไปนั่งโดยบัลลังก์บนอากาศ ๗ ชั่วลำตาลตามลำดับแล้ว ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงสดับบุรพกรรมของข้าพระองค์"

               (ดังต่อไปนี้) :-

               บุรพกรรมของสันตติมหาอำมาตย์               
               ในกัลป์ที่ ๙๑ แต่กัลป์นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี ข้าพระองค์บังเกิดในตระกูลๆ หนึ่ง ในพันธุมดีนคร คิดแล้วว่า ‘อะไรหนอแล? เป็นกรรมที่ไม่ทำการตัดรอนหรือบีบคั้น ซึ่งชนเหล่าอื่น’ ดังนี้แล้ว


               เมื่อใคร่ครวญอยู่ จึงเห็นกรรม คือการป่าวร้องในบุญทั้งหลาย

              จำเดิมแต่กาลนั้น ทำกรรมนั้นอยู่ ชักชวนมหาชนเที่ยวป่าวร้องอยู่ว่า ‘พวกท่านจงทำบุญทั้งหลาย จงสมาทานอุโบสถ ในวันอุโบสถทั้งหลาย จงถวายทาน จงฟังธรรม ชื่อว่า รัตนะอย่างอื่นเช่นกับพุทธรัตนะเป็นต้นไม่มี พวกท่านจงทำสักการะรัตนะทั้ง ๓ เถิด."

               ผลของการชักชวนมหาชนบำเพ็ญการกุศล   
           
               พระราชาผู้ใหญ่ทรงพระนามว่าพันธุมะ เป็นพระพุทธบิดา ทรงสดับเสียงของข้าพระองค์นั้น รับสั่งให้เรียกข้าพระองค์มาเฝ้าแล้ว ตรัสถามว่า ‘พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร?’

              เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า ‘ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์เที่ยวประกาศคุณรัตนะทั้ง ๓ ชักชวนมหาชนในการบุญทั้งหลาย.’ จึงตรัสถามว่า ‘เจ้านั่งบนอะไรเที่ยวไป?’

               เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า ‘ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์เดินไป’ จึงตรัสว่า ‘พ่อ เจ้าไม่ควรเพื่อเที่ยวไปอย่างนั้น จงประดับพวงดอกไม้นี้แล้ว นั่งบนหลังม้าเที่ยวไปเถิด’ ดังนี้แล้ว ก็พระราชทานพวงดอกไม้ เช่นกับพวงแก้วมุกดา ทั้งได้พระราชทานม้าที่ฝึกแล้วแก่ข้าพระองค์.
 
               ต่อมา พระราชารับสั่งให้ข้าพระองค์ ผู้กำลังเที่ยวประกาศอยู่อย่างนั้นนั่นแล ด้วยเครื่องบริหารที่พระราชาพระราชทาน มาเฝ้า แล้วตรัสถามอีกว่า ‘พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร?' เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า ‘ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทำกรรมอย่างนั้นนั่นแล’ จึงตรัสว่า ‘พ่อ แม้ม้าก็ไม่สมควรแก่เจ้า เจ้าจงนั่งบนรถนี้เที่ยวไปเถิด’ แล้วได้พระราชทานรถที่เทียมด้วยม้าสินธพ ๔.

               แม้ในครั้งที่ ๓ พระราชาทรงสดับเสียงของข้าพระองค์แล้ว รับสั่งให้หา ตรัสถามว่า ‘พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร’ เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า ‘ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทำกรรมนั้นแล’ จึงตรัสว่า ‘แน่ะพ่อ แม้รถก็ไม่สมควรแก่เจ้า’ แล้วพระราชทานโภคะเป็นอันมาก และเครื่องประดับใหญ่ ทั้งได้พระราชทานช้างเชือกหนึ่งแก่ข้าพระองค์.

               ข้าพระองค์นั้นประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง นั่งบนคอช้าง ได้ทำกรรมของผู้ป่าวร้องธรรมสิ้นแปดหมื่นปี กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากกายของข้าพระองค์นั้น กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้

               นี้เป็นกรรมที่ข้าพระองค์ทำแล้ว."

               การปรินิพพานของสันตติมหาอำมาตย์
             
              สันตติมหาอำมาตย์นั้น ครั้นทูลบุรพกรรมของตนอย่างนั้นแล้ว นั่งบนอากาศเทียว เข้าเตโชธาตุ ปรินิพพานแล้ว. เปลวไฟเกิดขึ้นในสรีระไหม้เนื้อและโลหิตแล้ว. ธาตุทั้งหลายดุจดอกมะลิเหลืออยู่แล้ว.
 

               พระศาสดาทรงคลี่ผ้าขาว ธาตุทั้งหลายก็ตกลงบนผ้าขาวนั้น.

               พระศาสดาทรงบรรจุธาตุเหล่านั้นแล้ว รับสั่งให้สร้างสถูปไว้ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง ด้วยทรงประสงค์ว่า "มหาชนไหว้แล้ว จักเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ."




ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=20&p=9
28212  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ส่งความสุข ด้วยภาพพระราหุล เมื่อ: มกราคม 01, 2010, 08:05:51 pm

พระราหุลแสดงความรักซาบซึ้งในพระพุทธองค์ผู้เป็นบิดา จนลืมทูลขอราชสมบัติ
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/picture/f52.html
28213  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / 10 อันดับของสังฆทาน ที่พระจะได้ประโยชน์มากที่สุด เมื่อ: มกราคม 01, 2010, 07:55:24 pm
10 อันดับของสังฆทาน ที่พระจะได้ประโยชน์มากที่สุด (สกู๊ปรายการจุดเปลี่ยน)

รายการ "จุดเปลี่ยน" เมื่อวันเสาร์ที่ 14 และ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา (ช่อง 9 เวลา 13.00 น.) ออกอากาศเรื่อง "10 อันดับของสังฆทาน ที่ทำแล้วพระท่านจะได้ประโยชน์มากที่สุด" อันเนื่องมาจากมีการสำรวจของในถังสังฆทานสำเร็จรูป (ถังเหลือง) ที่เห็นวางขายกันอยู่ทั่วไป พบว่า กว่า 50 % เป็นของที่ไม่มีคุณภาพ ใช้งานจริงไม่ได้ เช่น ผ้าจีวรสั้นและบางจนแทบจะเป็นผ้าซีทรู ใบชาเหม็นผงซักฟอกที่วางมาข้างๆ (กลายเป็นใบชารสโอโม่) กระดาษชำระหยาบและมีกลิ่นเหม็น แปรงสีฟันแข็งจนพระค่อนประเทศเป็นโรคเหงือกอักเสบ, สบู่ แชมพู ที่ถวายมีกลิ่นหอมแรง

และผสมมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ ทำให้พระผิดศีลต้องปลงอาบัติกันทุกวัน (มีศีลข้อหนึ่งห้ามการประทินผิวและใช้เครื่องหอม ไม่แน่ใจว่าศีลข้อที่ 6,7 หรือ 8 นี่แหละค่ะ) เครื่องชงดื่มมักหมดอายุ ถ่านไฟฉายหมดอายุ แบตเยิ้ม ฯลฯ หรือแม้แต่ตัวภาชนะที่ใส่ คือถังก็ยังทำจากพลาสติกคุณภาพต่ำ ใส่อะไรได้แป๊บเดียวก็ฉีก แตก พัง เป็นต้นค่ะ

รายการจุดเปลี่ยนจึงได้ไปสอบถามพระสงฆ์จำนวนหนึ่ง แล้วจัดอันดับสิ่งของสังฆทาน ตามความจำเป็นในการใช้งาน รวม 10 อันดับ ซึ่งเรียงจากจำเป็นมากสุดไปน้อยที่สุดได้ ดังนี้

1. เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ
เนื่องจากพระสมัยนี้ต้องเรียนพระปริยัติธรรม และจดกำหนดนัดหมายต่างๆ ช่วยจำ บางรูปท่านเป็นเหรัญญิกดูแลค่าใช้จ่าย ยิ่งต้องใช้มาก แต่ไม่ค่อยมีใครถวายเครื่องเขียนเหล่านี้ พระท่านจึงต้องไปเดินหาซื้อเองเสมอ หากเราถวายไป พระท่านจะได้ใช้อย่างแน่นอนค่ะ อันดับ 1 จึงตกเป็นของ "เครื่องเขียน" ไปอย่างพลิกความคาดหมาย (หรือว่าคุณทายถูกล่ะ ? เอ้อ)


2. ใบมีดโกนตราขนนก (Feather) หรือยี่ห้อยินเลส
เนื่องจากพระต้องโกนผมทุกวันโกน แต่ใบมีดยี่ห้ออื่น พระใช้โกนผมแล้วเลือดสาด !!! (>_<) ท่านจึงใช้ได้แค่ 2 ยี่ห้อนี้เท่านั้น อนึ่ง ใบมีดตราขนนกจะคมกว่ายินเลส ใช้ในการโกนครั้งแรก ส่วนยินเลสจะใช้เก็บความเรียบร้อยอีกครั้ง หากท่านใดถวายใบมีด ก็ได้ชื่อว่า ช่วยไม่ให้พระต้องเสียเลือดเนื้อทุกวันโกน ข้าพเจ้าเห็นว่าได้บุญดีกว่าให้ยาอีกนะท่าน (-_- )'''

3. ผ้าไตรจีวร ที่มีความยาวพอที่จะนุ่งห่มได้ มีความหนาพอเหมาะสม
เพราะผ้าที่ติดมากับถังเหลือง มันทั้งสั้น ทั้งเต่อ ทั้งบาง ทำให้พระท่านลำบากใจเวลาสวมใส่ ขาดความมั่นใจ และเสียภาพลักษณ์ที่ดีของสงฆ์ ผู้ใดถวายผ้าไตรจีวร จึงได้อานิสงส์มากนัก นี่ก็ใกล้จะถึงเทศกาลเข้าพรรษาแล้ว เตรียมผ้าอาบน้ำฝนไปถวายพระกันเถอะนะคะ

4. หนังสือธรรมะ สารคดี นิตยสาร หรือที่ให้ความรู้ด้านอื่นๆ
เนื่องจากพระสงฆ์ มีหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ที่แตกฉาน ทั้งทางธรรม และรู้ทันข่าวสารบ้านเมือง เพื่อจะได้สาธก ยกตัวอย่างให้ชาวบ้านเข้าใจได้แจ่มแจ้ง การถวายหนังสือเหล่านี้ จึงถือเป็นต้นทุนแห่งธรรมทาน ให้พระท่านได้นำไปต่อยอด กระจายสู่ผู้คนได้อีกมาก ทั้งยังถือเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง แถมได้ผลตอบแทนสูง น่าลงทุนเป็นอย่างยิ่ง (ใครติดหุ้นอยู่น่าจะลองไปถวายหนังสือธรรมะแก้เคล็ดนะ ก๊ากกกก)

5. รองเท้า
(ยกเว้นพระนิกายธรรมยุตต์นะจ๊ะ สังเกตให้ดีล่ะว่าวัดที่เราไป พระท่านใส่รองเท้ากันหรือเปล่า) พระท่านต้องเดินบิณฑบาตร, ธุดงค์, ไปเรียนหนังสือ, ไปกิจนิมนต์ตามที่ต่างๆ, บางรูปต้องทำงานที่ใช้แรงงานในวัด เช่น ก่อสร้าง ทำสวน สิ่งที่ต้องรับภาระหนักก็คือ "รองเท้า" ที่มักจะขาด เสียหาย อยู่บ่อยๆ นั่นเอง รองเท้าจึงถือเป็นอีก item หนึ่งที่มีความสำคัญอย่างสูง


6. ยาหลักๆ ที่จำเป็น
ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดหัว ปวดท้อง ยาแก้ไอ แก้ไข้ ลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาใส่แผลสด แผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลพุพอง เป็นหนอง ผิวหนังอักเสบ เป็นหนอง ใช้ ...... (เรารู้นะว่าคุณเติมคำในช่องว่างได้ อิอิอิอิ ต้องไปดูโฆษณา สสส.)

7. ผ้าขนหนูสีสุภาพ ไม่ต้องสีเหลืองก็ได้
เพราะผ้าขนหนูที่ติดมากับถังเหลืองมักหยาบ เล็ก และคุณภาพต่ำ จนเอามาใช้ไม่ได้ในชีวิตจริง

8. ชุดคอมพิวเตอร์
อู้วววว ไฮโซไปนิดนึง แต่ถ้าใครรวบรวมเงินได้เป็นกอบเป็นกำอย่างกฐิน ผ้าป่า ก็น่าพิจารณาถวายคอมพิวเตอร์แด่วัดที่ขาดแคลน ..ถ้าเป็นวัดที่อินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึงจะดีมากๆ ค่ะ(แอบห่วง กลัวเป็นต้นเหตุของข่าวพระนักแชท)

9. น้ำยาเช็ดพื้น
เหอ... งงไปเลย พระท่านจะเอาน้ำยาเช็ดพื้นไปทำอะไร ?? เฉลย ก็เอาไปผสมน้ำถูกุฏิ ศาลา อุโบสถ ไงจ๊ะ เพราะนอกจากจะช่วยผ่อนแรงในการทำความสะอาด สลายคราบแล้ว บางยี่ห้อยังช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในมูลนกพิราบ ฉี่หมา ฉี่แมว ฉี่หนู เห็บ หมัด ของหมาวัดได้อีกด้วย (เอ...แล้วถ้าพระ "ฆ่า" เชื้อโรคนี่จะผิดศีลข้อปาณาฯ มั้ยคะคุณ ??)


10. แชมพู
อ๊ากกกกก !!! พระท่านไม่มีผมแล้วจะเอาแชมพูไปทำไมเนี่ย แถมยังฮอตฮิตติดท็อปเท็นของที่มีประโยชน์อีกด้วย แซงหน้าไมโล โอวัลติน ชาเขียว ขิงผง สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ทิชชู่ ฯลฯ ที่เห็นสลอนอยู่ในถังเหลืองซะด้วยซี คืองี้ เมื่อพระท่านไม่มีผมมาปกป้องหนังศีรษะเนี่ย ทั้งความร้อน ฝุ่นละออง เชื้อโรคต่างๆ ก็จะเข้าถึงหนังศีรษะของท่านได้โดยตรง แถมการรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของหนังศีรษะก็จะเสียไป เพราะไม่มีผมปกคลุม ทำให้หนังศีรษะของพระ มักจะแห้ง และเกิดโรคผิว

หนังอยู่เสมอ เช่น ชันตุ เป็นต้น สิ่งที่จะช่วยบรรเทาได้ก็คือ แชมพูยา ที่มีส่วนผสมปกป้องหนังศีรษะ รักษาสมดุล สังเกตง่ายๆ ที่ฉลากจะมีคำว่า "Scalp" เป็นสำคัญ ยี่ห้อที่เป็นแบบนี้ก็มักจะเป็นพวก แชมพูขจัดรังแค อย่างคลินิค, แพนทีน, Head & Shoulder, ไนโซรัล เป็นต้น แต่น่าเศร้าใจ ที่ไม่มีใครถวายแชมพู พระท่านจึงจำต้องใช้สบู่แก้ขัด ซึ่งทำให้ยิ่งคันหัว ศีรษะแห้งไปกันใหญ่ ดังนั้นจึงขอท่านโปรดจำไว้ ว่าเราควรซื้อแชมพูไปถวายพระ แต่ก็เลือกสูตรกันนิดนึงนะคะ ให้เป็นสูตรดูแลหนังศีรษะ

เพราะถ้าเกิดเราเลือกสูตร "เพื่อผมนิ่มสลวยดำเงางาม" ไปถวายท่าน... ท่านอาจเข้าใจผิด คิดว่าเราแซวได้ค่ะ

การทำสังฆทาน นอกจากจะถวายเป็นสิ่งของแล้ว
อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ การบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลสงฆ์ เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุที่อาพาธค่ะ

PS. เนื้อหา จาก FW Mail ที่เพื่อนส่งมาให้น่ะค่ะ ไม่ทราบว่าเป็นเครดิตของใคร
ที่มา เว็บพลังจิต
28214  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เปรียบเทียบ อานิสงส์ของการทำทาน เมื่อ: มกราคม 01, 2010, 07:51:05 pm
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ


๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัยแม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ

พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป

ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ "พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า" และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น)

๗. ถวายทานแก่พระโสดาบันแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม

๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า "การถวายวิหารทาน" แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน"

อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น "โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ" ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

๑๔. การถวายวิหารทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "ธรรมทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ"

๑๕. การให้ธรรมทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ "การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู" ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน

เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ "ละโทสะกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท"

 ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง
 
อย่างไรก็ดี การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่น ๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า "ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน

โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ที่มา เว็บพลังจิต
28215  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อานิสงส์ของการทำทาน เมื่อ: มกราคม 01, 2010, 07:46:53 pm
ทาน

การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ


องค์ประกอบข้อที่ ๑. "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์"
วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ

ตัวอย่าง ๑ ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตและเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีก หากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่จะได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหามาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์นั้นก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่น ๆ ด้วย

ตัวอย่าง ๒ ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ รวมตลอดถึงการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะที่ไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ทรัพย์นั้น ย่อมเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ ด้วยนำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า "บริโภคโดยความเป็นหนี้" แม้จะนำเอาไปทำบุญ ให้ทาน สร้างโบสถ์วิหารก็ตาม ก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างไร สมัยหนึ่งในรัชการที่ ๕ มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อ "ยายแฟง" ได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง ๒๕ สตางค์ แกจะชักเอาไว้ ๕ สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ ๒,๐๐๐ บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปนมัสการถาม

หลวงพ่อโตวัดระฆังว่าการที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงินของแกทั้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ ๑ สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็นวิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะว่าเบียดเบียนมาจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้น บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ซื้อของถูก ๆ แต่มาขายแพงจนเกินส่วนนั้น ย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์โดยนัยเดียวกัน

วัตถุทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรมดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลว ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีต มากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่


องค์ประกอบข้อที่ ๒. "เจตนาในการสร้างทานต้องบริสุทธิ์"
การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่นความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ "โลภกิเลส" และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย เมตตาธรรมของตน อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตา พรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น

ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ

(๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะทานก็จะมีจิตที่โสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน

(๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังมือให้ทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตใจโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น

(๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้น ๆ
เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องจากเมตตาจิต ที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์ และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตน นับว่าเป็นเจตนาบริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้ จะทำให้ยิ่ง ๆ บริสุทธิ์มากขึ้นไปอีก หากผู้ใดให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยการวิปัสสนาปัญญา กล่าวคือ ไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า

อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงวัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นของที่มีมาตั้งแต่

ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งท่านตั้งแต่ก่อนนั้น ได้ล้มหายตายจากไปแล้วทั้งสิ้น ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลยจนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ไดยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่น ๆ ต่อ ๆ ไปเช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จึงนับว่าเป็นสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปใน

วันนี้ก็ต้องจากไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลงนับว่าเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเราได้ถาวรได้ตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว ก็ต้องอยูในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างไร

แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็แก่เฒ่าและตายไปในที่สุด เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง

เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาแล้วด้วย เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมากหากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของบริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้ แต่ก็ยังมีข้ออันควรระวังอยู่ก็คือ "การทำทานนั้นอย่าได้เบียดเบียนตนเอง" เช่นมีน้อย แต่ฝืนทำให้มาก ๆ จนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้ เมื่อได้ทำไปแล้วตนเองและสามี ภริยา รวมทั้งบุตรต้องลำบาก ขาดแคลน เพราะว่าไม่มีจะกินจะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง เจตนานั้นย่อมไม่บริสุทธิ์ ทานที่ได้ทำไปแล้วนั้น แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ คือ

ตัวอย่าง ๑ ทำทานเพราะอยากได้ ทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลใส่ชื่อของตน ไปยืนถ่ายภาพลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อให้ได้รับความนิยมยกย่องนับถือ โดยที่แท้จริงแล้วตนมิได้มีเจตนาที่จะมุ่งสงเคราะห์ผู้ใด เรียกว่า "ทำทานด้วยความโลภ" ไม่ทำเพื่อขจัดความโลภ ทำทานด้วยความอยากได้ คืออยากได้หน้า ๆได้เกียรติ ได้สรรเสริญ ได้ความนิยมนับถือ

ตัวอย่าง ๒ ทำทานด้วยความฝืนใจ ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำด้วยความเสียหาย เช่นทีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะทำ หรือมีศรัทธาอยู่บ้างแต่มีทรัพย์น้อย เมื่อมีพวกมาเรี่ยไรบอกบุญ ต้องจำใจทำทานไปเพราะความเกรงใจพวกพ้อง หรือเกรงว่าจะเสียหน้า ตนจึงได้สละทรัพย์ทำทานไปด้วยความจำใจ ย่อมเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่หวงแหน ทำทานด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ทำทานด้วยจิตเมตตาที่มุ่งจะสงเคราะห์ผู้อื่น ซึ่งยิ่งคิดก็ยิ่งเสียดาย ให้ไปแล้วก็เป็นทุกข์ใจ บางครั้งก็นึกโกรธผู้ที่มาบอกบุญ เช่นนี้จิตย่อมเศร้าหมอง ได้บุญน้อย หากเสียดายมาก ๆ จนเกิดโทสะจริตกล้าแล้ว นอกจากจะไม่ได้บุญแล้ว ที่จะได้ก็คือบาป

ตัวอย่าง ๓ ทำทานด้วยความโลภ คือทำทานเพราะว่าอยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ อันเป็นการทำทานเพราะว่าหวังสิ่งตอบแทน ไม่ใช่ทำทานเพราะมุ่งหมายที่จะขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ทำทานแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอพรให้ชาติหน้าได้เป็นเทวดา นางฟ้า ขอให้รูปสวย ขอให้ทำมาค้าขึ้น ขอให้รำรวยเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ทำทาน ๑๐๐ บาท แต่ขอให้ร่ำรวยนับล้าน ขอให้ถูกสลากกินแบ่งกินรวบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมบัติสวรรค์ หากชาติก่อนไม่เคยได้ทำบุญใส่บาตรฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆก็มาขอเบิกในชาตินี้ จะมีที่ไหนให้เบิก การทำทานด้วยความโลภเช่นนี้ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลย สิ่งที่จะได้พอกพูนเพิ่มให้มากและหนาขึ้นก็คือ"ความโลภ"

ผลหรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ ๓ ประการนั้น ย่อมมีผลให้ได้ซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเอง แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้ล่วงหน้าก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อทำเหตุครบถ้วนย่อมมีผลเกิดขึ้นตามมาเอง เช่นเดียวกับปลูกต้นมะม่วง เมื่อรดน้ำพรวนดินและใส่ปุ๋ยไปตามธรรมดาเรื่อยไป แม้จะไม่อยากให้เจริญเติบโตและออกดอกออกผล ในที่สุดต้นไม้ก็จะต้องเจริญเติบโตและผลิตดอกออกผลตามมา

สำหรับผลของทานนั้น หากน้อยหรือมีกำลังไม่มากนัก ย่อมน้อมนำให้เกิดในมนุษย์ชาติ หากมีกำลังแรงมากก็อาจจะน้อมนำให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น เมื่อได้เสวยสมบัติในเทวโลกจนสิ้นบุญแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่บ้าง ประกอบกับไม่มีอกุศลกรรมอื่นแทรกให้ผลก็อาจจะน้อมนำให้มาบังเกิดในมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวยมั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่มีลาภผลมาก ทำมาหากินขึ้นและร่ำรวยในภายหลัง ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปเพราะวินาศภัย โจรภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ

แต่จะมั่งคั่งร่ำรวยในวัยใดก็ย่อมแล้วแต่ผลทานแต่ชาติก่อน ๆ จะส่งผล คือ

๑. ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ก่อนจะทำทาน คือก่อนที่จะลงมือทำทานก็มีจิตเมตตาโสมนัสร่าเริง เบิกบานยินดีในทานที่ตนจะได้ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น แล้วก็ได้ลงมือทำทานไปตามเจตนานั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมโชคดี โดยเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย ชีวิตในวัยต้นอุดมสมบูรณ์พูนสุขไปด้วยทรัพย์ ไม่ยากจนแร้นแค้น ไม่ต้องขวนขวายหาเลี้ยงตนเองมาก แต่ถ้าเจตนานั้นไม่งามบริสุทธิ์พร้อมกันทั้ง ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นก็ย่อมส่งผลให้ไม่สม่ำเสมอกัน คือแม้ว่าจะร่ำรวยตั้งแต่วัยต้นโดยเกิดมาบนกองเงินกองทองก็ตาม

หากในขณะที่กำลังลงมือทำทานเกิดจิตเศร้าหมองเพราะหวนคิดเสียดายหรือหวงแหนทรัพย์ที่จะให้ทานขึ้นมา หรือเกิดหมดศรัทธาขึ้นมาเฉยๆแต่ก็ยังฝืนใจทำทานไปเพราะเสียไม่ได้หรือเพราะตามพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ เช่นนี้ผลทานย่อมหมดกำลังให้ผลระยะที่ ๒ ซึ่งตรงกับวัยกลางคน ซึ่งจะมีผลทำให้ทรัพย์สมบัติหายนะไปด้วยประการต่างๆแม้จะได้รับมรดกมาก็ไม่อาจจะรักษาไว้ได้ หากเจตนาในการทำทานนั้นเศร้าหมองในระยะที่ ๓ คือทำทานไปแล้วหวนคิดขึ้นมาทำให้เสียดายทรัพย์ ความหายนะก็มีผลต่อเนื่องมาจนบั้นปลายชีวิตด้วย คือทรัพย์สินคงวิบัติเสียหายต่อเนื่องจากวัยกลางคนตลอดไปจนถึงตลอดอายุขัยชีวิตจริงของผู้ที่เกิดบนกองเงินกองทองก็มีให้เห็น เป็น

ตัวอย่างที่เมื่อได้รับทรัพย์มรดกแล้วก็วิบัติเสียหายไป หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวัยต้นแต่ก็ต้องล้มละลายในวัยกลางคน และบั้นปลายชีวิต แต่ถ้าได้ตั้งเจตนาในการทำทานไว้บริสุทธิ์ครบถ้วนพร้อม ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นย่อมส่งผลสม่ำเสมอ คือร่ำรวยตั้งแต่เกิด วัยกลางคนและจนปัจฉิมวัย

๒. ร่ำรวยในวัยกลางคนการที่ร่ำรวยในวัยกลางคนนั้น สืบเนื่องมาจากผลของทานที่ได้ทำเพราะเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๒ กล่าวคือไม่งามบริสุทธิ์ในระยะแรก เพราะก่อนที่จะลงมือทำทานก็มิได้มีจิตศรัทธามาก่อน ไม่คิดจะทำทานมาก่อนแต่ก็ได้ตัดสินใจทำทานไปเพราะเหตุบางอย่าง เช่นทำตามพวกพ้องอย่าเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ลงมือทำทานอยู่ก็เกิดโสมนัสรื่นเริงยินดีในทานที่กำลังกระทำอยู่นั้น

ด้วยผลทานชนิดนี้ย่อมทำให้มาบังเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้สร้างตนเองมาในวัยต้น ครั้นเมื่อถึงวัยกลางคน กิจการหรือธุรกิจที่ทำก็ประสบความสำเร็จรุ่งเรื่อง และหากเจตนาในการทำทานได้งามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ ด้วย กิจการหรือธุรกิจนั้นย่อมส่งผลรุ่งเรื่องตลอดไปจนถึงบั้นปลายชีวิต หากเจตนาในการทำทานไม่บริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ แม้ธุรกิจหรือกิจการงานจะประสบความสำเร็จรุ่งเรืองในวัยกลางคน แต่ก็ล้มเหลวหายนะในบั้นปลาย ทั้งนี้เพราะผลทานหมดกำลังส่งผลไม่ตลอดจนถึงบั้นปลาชีวิต

๓. ร่ำรวยปัจฉิมวัย คือร่ำรวยในบั้นปลายชีวิตนั้น สืบเนื่องมาจากผลทานที่ผู้กระทำมีเจตนางามไม่บริสุทธิ์ในระยะแรกและระยะที่ ๒ แต่งามบริสุทธิ์เฉพาะในระยะที่ ๓ กล่าวคือ ก่อนและในขณะลงมือทำทานอยู่นั้น ก็มิได้มีจิตโสมนัสยินดีในการทำทานนั้นแต่อย่างใด แต่ได้ทำลงไปโดยบังเอิญ เช่น ทำตามๆพวกพ้องไปอย่างเสียมิได้ แต่เมื่อได้ทำไปแล้วต่อมาหวนคิดถึงผลทานนั้น ก็เกิดจิตโสมนัสร่าเริง ยินดีเบิกบาน

หากผลทานชนิดนี้จะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลที่ยากจนข้นแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนศึกษาเล่าเรียนและขวนขวายสร้างตนเองมากตั้งแต่วัยต้นจนล่วงวัยกลางคนไปแล้ว กิจการงานหรือธุรกิจนั้นก็ยังไม่ประสบกับความสำเร็จ เช่นต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดมา แต่ครั้นถึงบั้นปลายชีวิตก็ประสบช่องทางเหมาะ ทำให้กิจการนั้นเจริญรุ่งเรื่องทำมาค้าขึ้นและร่ำรวยอย่างไม่คาดหมาย ซึ่งชีวิตจริง ๆ ของคนประเภทนี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มาก


องค์ประกอบข้อที่ ๓. "เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์"
คำว่า "เนื้อนาบุญ" ในที่นี่ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้ที่ได้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล
เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา ๑ กำมือ
แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม (วัตถุทานบริสุทธิ์)

และผู้หว่านคือกสิกรก็มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป้นอาชีพ (เจตนาบริสุทธิ์) แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่สม่ำเสมอกัน เมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ดี ก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้ง มีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย การทำทานนั้น ผลิตผลที่ผู้ทำทานจะได้รับก็คือ "บุญ" หากผู้ที่รับการให้ทานไม่เป็นเนื้อนาที่ดีสำหรับการทำบุญแล้ว ผลของทานคือบุญก็จะได้เกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ไม่สมบูรณ์ เพราะแกร็นหรือแห้งเหี่ยวเฉาไปด้วยประการต่าง ๆ

ฉะนั้นในการทำทาน ตัวบุคคลผู้รับของที่เราให้ทานจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เราผู้ทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้ คนที่รับการให้ทานนั้นหากเป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง ก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรม ผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้บุญน้อย

ฉะนั้นคติโบราณที่กล่าวว่า "ทำบุญอย่าถามพระ หรือ ตักบาตรอย่าเลือกพระ" เห็นจะใช้ไม่ได้ในสมัยนี้ เพราะว่าในสมัยนี้ไม่เหมือนกับท่านในสมัยก่อนๆที่บวชเพราะมุ่งจะหนีสงสาร โดยมุ่งจะทำมรรคผลและนิพพานให้แจ้ง ท่านจึงเป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ แต่ในสมัยนี้มีอยู่บางคนที่บวชด้วย

คติ ๔ ประการ คือ "บวชเป็นประเพณี บวชหนีทหาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน" ธรรมวินัยใดๆท่านไม่สนใจ เพียงแต่มีผ้าเหลืองห่มกาย ท่านก็นึกว่าตนเป็นพระและเป็นเนื้อนาบุญเสียแล้ว ซึ่งป่วยการจะกล่าวไปถึงศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ แม้แต่เพียงศีล ๕ ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ว่าท่านจะมีหรือไม่ การบวชที่แท้จริงแล้วก็เพื่อจะละความโลภ ความโกรธ ความหลง ปัญหาว่า


ทำอย่างไรจึงจะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ข้อนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับวาสนาของเราผู้ทำทานเป็นสำคัญ หากเราได้เคยสร้างสมอบรมสร้างบารมีมาด้วยดีในอดีตชาติเป็นอันมากแล้ว บารมีนั้นก็จะเป็นพลังวาสนาน้อมนำให้ได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ

ทำทานครั้งใดก็มักโชคดี ได้พบกับท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไปเสียทุกครั้ง หากบุญวาสนาของเราน้อยและไม่มั่นคง ก็จะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญบ้าง ได้พบกับอลัชชีบ้าง คือดีและชั่วคละกันไป เช่นเดียวกับการซื้อสลากกินแบ่งสลากกินรวบ หากมีวาสนาบารมีเพราะได้เคยทำบุญให้ทานฝากกับสวรรค์ไว้ในชาติก่อน ๆ ก็ย่อมมีวาสนาให้ถูกรางวัลได้ หากไม่มีวาสนาเพราะไม่เคยทำบุญทำทานฝากสวรรค์เอาไว้เลย ก็ไม่มีสมบัติสวรรค์อะไรที่จะให้เบิกได้ อยู่ ๆ ก็จะมาขอเบิก เช่นนี้ก็ยากที่จะถูกรางวัลได้
28216  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การทำสังฆทานที่ไม่ถูกต้องในปัจจุบัน เมื่อ: มกราคม 01, 2010, 07:39:29 pm
การทำสังฆทานที่ไม่ถูกต้องในปัจจุบัน

ชาวพุทธในปัจจุบัน เข้าใจผิดว่าการถวายสังฆทาน คือ การนำของใส่ถังไปถวายพระหนึ่งรูปบ้าง สองรูปบ้าง แท้จริงแล้วการทำบุญแบบนั้นเป็นสังฆทานที่ผิดได้บุญต่ำ บางสิ่งอาจได้ทำบาปอีกด้วย ถ้ามีการถวายเงินแล้วพระรับกับมือหรือครอบครองเงินนั้นไว้กับตัว

การถวายสังฆทานที่ถูกต้อง และวิธีการปฎิบัติที่ถูกต้อง

1. ต้องเป็นอาหารที่พระฉันได้ในเวลานั้น และต้องถวายก่อนเที่ยงเหมือนกับการถวายภัตราหารเพลพระนั่นเอง

2. ต้องกล่าวคำถวายสังฆทาน ดังนี้ “อิ มานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคันหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะฯ” (ในหัตถบาสใช้อิมานิ นอกหัตถบาสใช้เอตานิ)

3. พระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป (ครบองค์สงฆ์) พระน้อยกว่า 4 รูป ไม่สามารถรับสังฆทานได้ เป็นบาป เพราะเป็นเพียงบุคคลเท่านั้น เมื่อพระครบ 4 รูป จึงจะถือว่าเป็นสงฆ์ จะถวายพระ 1 รูป ได้ก็ต่อเมื่อ พระรูปนั้นเป็นพระอรหันต์ เพราะท่านเองเป็นสงฆ์นั่นเอง

4. จะต้องทำการอุปโลกข์สังฆทาน
หลัง จากที่พระรับสังฆทานแล้ว พระรูปที่ 2 จะต้องทำการอุปโลกข์สังฆทาน (คือ ประชุมสงฆ์ เพื่อทำการแบ่งปันอาหารมาตามลำดับจนถึงให้ญาติโยม)

หากไม่ได้ทำการอุปโลกข์ อาหารทุกชิ้นที่เป็นของสงฆ์ ใครจะนำไปกินไม่ได้เด็ดขาด พระบางรูปจะบอกยกให้ก็กินไม่ได้ แม้แต่พระผู้รับสังฆทาน ก็จะฉันไม่ได้ ถ้าผู้ใดกินเข้าไป เมื่อตายไปแล้วต้องไปเกิดเป็นเปรตประมาณ 92 กัลป์ (1 กัลป์ คือ 6,420 ล้านปี) ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมากของชาวพุทธที่ไม่รู้ธรรมะ

คำอุปโลกข์สังฆทานก็คือ ยัคเฆ ภัณเต สังโฆ ชานาตุ อะยัง ปะฐะมะ ภาโค มะหาเถรัสสะ ปาปุณาติ อะวะเสสา ภาคา อัมหากัง ปาปุณาติ
     

ที่มา  เว็บพลังจิต
28217  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การถวาย สังฆทาน แบบไหนถูก เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 04:02:12 pm
ขอติดไว้ก่อน ปีหน้าจะตอบให้
28218  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การปฏิบัติภาวนา เพื่อสู่การเป็นพุทธสาวกนั้น ต้องมีสมาธิ ระดับไหนครับ เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 03:58:07 pm
ขอติดเอาไว้ก่อน ปีหน้า จะหาคำตอบโดนๆ มาฝาก

อดใจรอสักนิด
28219  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ไร้รูปแบบ แล้วสำเร็จธรรมจริงหรือ ? เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 03:54:02 pm
ขอติดเอาไว้ก่อน ปีหน้าฟ้าใหม่ จะมาตอบ

จะหาคำตอบงามๆ มาเป็น ส.ค.ส.ให้อาจารย์
28220  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ลำดับสายถูกหรือป่าว เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 03:37:13 pm
คุณอุทาปาติครับ เชิญไปดูประวัติที่มาของ กรรมฐาน มัชฌิมา
ได้ในห้อง กรรมฐาน มัชฌิมา ได้เลยนะครับ สงสัยอะไร
ถามอาจารย์สนธยาได้โดยตรง

โดยส่วนตัวถ้าจำไม่ผิด พระอภิธรรม ไม่ได้เกิดจากพระสารีบุตรโดยตรง
เกิดจาก เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าขึ้นไปโปรดพระมารดาที่ดาวดึงษ์
แล้วใช้อิทธิฤทธิ์ของท่าน มาปรากฏกายให้พระสารีบุตรเห็น
โดยที่ดาวดึงษ์พระองค์ก็ยังปรากฏกายแสดงอภิธรรมอยู่
การแสดงอภิธรรมให้พระสารีบุตร เป็นแบบวันต่อวัน
พระสารีบุตรก็ถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ท่าน แบบวันต่อวันเช่นกัน

ถ้าจำผิดก็ขออภัย อนุโมทนาครับ

28221  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พุทธภูมิ กับ สาวกภูมิ นั้น ผมจะไม่แปลละครับ แต่จะบอกถึงเจตนา เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 03:18:21 pm
ขออภัยที่ตอบช้าไปหน่อย กระทู้ใดไม่มีผู้ตอบ ผมจะไล่ตอบให้ทุกกระทู้
กะให้เสร็จก่อนปีใหม่

พุทธภูมิ กับ สาวกภูมิ นั้น ผมจะไม่แปลละครับ แต่จะบอกถึงเจตนา

 การปรารถนาพุทธภูมิ คือ ต้องการเป็นพระพุทธเจ้านั่นเอง

 การปรารถนาปัจเจกภูมิ คือ ต้องการเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

 การปรารถนาสาวกภูมิ คือ ต้องการเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า แต่ไม่ใช่เป็นศิษย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า
เนื่องจากพระปัจเจกพุทธเจ้า บำเพ็ญบารมีมาเพื่อให้ตัวเอง ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ
เท่่่านั้น แต่ไม่ต้องการสั่งสอนใคร (ใช้เวลาบำเพ็ญบารมีน้อยกว่าพระพุทธเจ้า)

การลาพุทธภูมิ คือ การยกเลิกคำิอธิษฐานของตนเอง ที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า
เมื่อลาแล้ว ก็ต้องเป็นสาวกภูมิโดยอัตโนมัติ หรืออาจจะมีใครอธิษฐานใหม่ของเป็น
พระปัจเจกฯก็ไม่ผิดกติกา

ขอยกตัวอย่าง อาจารย์มั่น(หลวงปู่มั่น) เล่ากันว่า อาจารย์มั่นเคยปรารถนาพุทธภูมิมาก่อน
ขณะท่านบำเพ็ญเพียร มีญาณหยั่งรู้ว่า ในชาติก่อน ตนเอง ได้เคยอธิษฐานปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า
ทำให้ในชาตินี้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้(หากบรรลุธรรมในชาตินี้จะเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันทันที)

อาจารย์มั่นในขณะนั้นเกิดความเบื่่อหน่ายทางโลกเต็มทน เลยอธิษฐานจิตขอลาพุทธภูมิ
ทำให้อาจารย์มั่น บรรลุธรรมเป็นอริยสงฆ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ของพระป่าในปัจจุบัน

มีเกร็ดประวัติอาจารย์มั่นอยู่ว่า  ท่านเคยชวนครูบาศรีวิชัย ลาพุทธภูมิด้วยกัน
แต่ครูบาฯปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า ครูบาฯได้รับการพยากรณ์แล้ว
(หมายถึงมีพระพุทธเจ้าในอดีตกาล ได้เคยทำนายครูบาศรีวิชัยว่า จะได้เป็นพระพุทธเจ้า
ในอนาคตข้างหน้า)

สำหรับการลาปัจเจกภูมิ นั้น ศิษย์อาจารย์มั่นหลายองค์ เคยประรถนาปัจเจกภูมิมาก่อน
สุดท้ายก็ต้องลา ขอเป็นเพียงสาวก เช่น หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม สุรินทร์

ในส่วนของการลาสาวกภูมิ ไม่น่ามีใครลานะครับ ยกเว้นจะไปนับถือศาสนาอื่น
หรือไม่ก็ อธิษฐานใหม่ ว่า จะขอเป็นพระพุทธเจ้า หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้า

ผมตอบได้ตรงใจไหมครับคุณปกรณ์  สงสัยอะไรก็ถามได้

อนุโมทนาครับ
[/color][/color]
28222  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: คุณคิดอย่างผมหรือป่าว เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 01:36:48 pm
คุณกำลังส่งจิตออกนอก

ความคิดเหล่านั้นเป็นกุศล คุณจะทำลายทำไม

จะทำให้ความคิดนั้นให้เป็นจริง

ต้องเริ่มที่วิปัสสนากรรมฐาน

ใช้สติปัฏฐาน ๔ เลือกเอาสักฐานหนึ่ง

ที่คุณชอบ ปรึกษาอาจารย์สนธยาได้ครับ

ไม่จำเป็นต้องบวช

ฆราวาสก็บรรลุธรรมได้
28223  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: คำพยากรณ์ ของพระศาสดา เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 01:25:16 pm
อนุโมทนาครับคุณอุทาปาติ
28224  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พญานาค บั้งไฟพญานาค มีจริง หรือป่าวครับ เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 01:22:54 pm
        นาคสั่งสีกา มีจริงแน่นอน

       "โอ้ละหนอ แม่ทองพันชั่ง พี่นาคขอสั่ง วันละกั้ก วันละแบน"

       นาคตัวนึ้ ทำผิดศีลข้อ ๕ ต้องปลงอาบัติ


       ผมนึกอะไรไม่ออก ดูเหมือนเพื่อนๆจะตอบไปหมดแล้ว


      แต่มีอยู่นาคหนึ่่ง เป็นที่เลื่องลือ
 
      อยู่ในมิลินทปัญหา พระนาคเสน ไงครับ


      ขอให้ความรู้นิดหนึ่ง วัดถ้ำพระโพธิสัตว์  อยู่แก่งคอย สระบุรี
      ที่สำนักกรรมฐานของวัด มีบ่อพญานาค บ่อนี้ถูกปรับปรุง
      โดยการสร้างศาลากลางน้ำ ตามนิมิตของเจ้าอาวาสวัดนี้
       สวยมากครับ ร่มรื่น ร่มเย็น อากาศดี เหมาะที่จะนั่งสมาธิ

       และที่สำคัญ โยมอุปฐากวัดนี้(ผู้บริจาครายใหญ่)เป็นคนตระกูล "นาคะประทีป"
       รูปปั้นพญานาคของวัดนี้ ดูตระการตามากครับ อย่าลืมไปดูให้ได้นะคุณแบน

28225  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / “บุคคลที่จะมีอุเบกขาที่สมบูรณ์ได้ ต้องเป็นอริยบุคคล” เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 12:45:36 pm
คุณนพดลถามว่า เคยเสียโอกาส แบบนี้ไหม
ผมตอบว่า เคยครับ และบ่อยครั้งด้วย

ส่วนคุณอุทาปาติ ถามภาษาบาลีมา  ผมตอบไม่ได้ ไม่สันทัด

แต่ คำว่า  “พึ่งนิ่งเสีย” กับคำว่า “อุเบกขา  การวางเฉย” นั้น
โดยส่วนตัวเข้าใจว่า น่าจะเหมือนกัน

หากจะให้แสดงความเห็นให้มากกว่านี้  คงต้องเล่าประสบการณ์ให้ฟัง

ผมเคยคุยกับแม่ชีทศพร สองสามครั้ง และติดตามรายการทีวีที่มีแม่ชีมาออกหลายครั้ง

แม่ชีจะเน้นให้กตัญญูกับพ่อแม่  อย่าทำให้ท่านเสียใจ

ท่านจะอยู่ในสถานะใด ทำถูกหรือทำผิด มันเป็นเรื่องของท่าน
การวิพากษ์วิจารณ์หรือ  พูดถึงท่านในทางที่ไม่ดี(ถึงแม้จะเป็นความจริง)
บาปจะตกกับลูก(ที่พูด)

ผมเคยไปวัดพิชัยญาตฯมีผู้หญิงคนหนึ่งมาถามเรื่องคู่ของตัวเอง
ทำนองว่ามีปัญหาอยู่เรื่อยๆ แม่ชีตอบว่าเป็นกรรมที่รับมาจากพ่อ
(มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์) เนื่องจากพ่อทำผิดศีลข้อ ๕
ผู้หญิงคนนั้น เลย พูดความจริงออกมาว่า พ่อของตัวเองเจ้าชู้มาก
สาธยายอย่างละเอียด แม่ชีได้ฟังก็เอ่ยปากว่า ห้ามพูดถึงพ่อแบบนั้น
มันจะเป็นบาป  เขาจะเป็นอย่างไรเป็นเรื่องของเขา

เท่าที่ฟังแม่ชีพูดเรื่องพ่อแม่มาหลายรายการ แม่ชีจะเน้นมาก
ให้กตัญญู อย่าทำให้ท่านเสียใจ ขัดใจหรือลำบากใจ
หน้าที่ของลูกมีอย่างเดียวคือ ทำให้ท่านสบายใจ

ในกรณีของคุณนพดล มีแต่คุณนพดลคนเดียวที่รู้ว่า
ในสถานการณ์อย่างนั้นควรทำอย่างไร
คนอื่นไม่อยู่ในเหตุการณ์ไม่สามารถกล่าวอะไรได้เลย
(ผมตอบตรงดีไหมครับ)

การอธิบายความต่างๆเพื่อแก้ปัญหาหรือชี้แจ้งให้เข้าใจ
สื่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ

      “ถูกที่ ถูกเวลาหรือเปล่า”


ถึงแม้เหตุผลจะดีหรือถูกต้องเพียงใด บางครั้งพูดไป ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
เนื่องจากไม่ถูกที่ไม่ถูกเวลา(ไม่ดูกาละเทศะ,ไม่ดูตาม้าตาเรือ)


การใช้อุเบกขาอย่างมีปัญญาจะช่วยลดความขัดแย้งได้
แต่อุเบกขาจะเกิดได้ต้องมีศีลก่อน โดยเฉพาะ กุศลกรรมบถ ๑๐ จะช่วยได้มาก

ตัวผมเองทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เนื่องจากอินทรีย์ยังอ่อนอยู่
บางครั้งต้องปลีกตัวออกมา ก่อนที่ตบะจะแตก



ขอฝากไว้ก่อนจากว่า

 “บุคคลที่จะมีอุเบกขาที่สมบูรณ์ได้ ต้องเป็นอริยบุคคล”
หรืออย่างน้อยต้องได้ “สังขารุเปกเขาญาณ”

ขอนำคำเทศน์ของ ลพ.ฤาษีลิงดำ เรื่องวิปัสสนาญาณ ในส่วนของ สังขารุเปกขาญาณ
มาให้อ่านดังนี้(จากเว็บพระรัตนตรัย)

ญาณที่  ๘  องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า  สังขารุเปกเขาญาณ   ญาณอันนี้พิจารณาคำนึงถึงความวางเฉย  เฉยในอะไรบรรดาท่านพุทธบริษัท  เฉยในโลกธรรมเป็นอันดับแรก  โลกธรรม ๘ ประการโยนทิ้งไปเลยจากใจ  อะไรบ้างที่มันจะเข้ามาสิงในใจ  จับมันโยนทิ้งไป

มาเฉยอีกจุดหนึ่งก็เฉยกาย  กายมันจะแก่เชิญแก่ตามสบาย  ฉันรู้แล้วว่านายจะแก่  กายมันจะป่วยเชิญป่วยตามสบาย  ฉันจะรักษานายเพื่อเป็นการระงับเวทนา  จะรักษาหายไม่หายตายแหล่ก็ช่างมัน  เฉยจากอาการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ  ตามสบาย  มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน  นี่เรียกว่าเฉยทั้งหมด  ถือว่ายอมรับนับถือว่านี่มันเป็นเรื่องธรรมกา

 ถ้าอาการเกิดมีมามันก็ต้องมีอาการอย่างนี้ปรากฏเฉยจริง ๆ ให้มันเฉยได้ทั้งหมด  เช่นว่า
มีลาภ เสื่อลาภ มียศ เสื่อมยศ  นินทา  สรรเสริญ สุข ทุกข์  ไอ้สุขในกามารมณ์ก็โยนทิ้งไป  ทุกข์จากการกระทบกระทั่งใจ  สิ่งทีไม่ชอบ  ไม่สบายกาย  ไม่สบายใจก็โยนทิ้งไปเฉย

นอนนึกให้สบาย ๆ วาดภาพไว้ว่า  ถ้าตายเมื่อไร พังเมื่อไร เราไปนิพพานเมื่อนั้น  ยิ่งเวลากาลผ่านไปมากเท่าไรความดีใจย่อมปรากฏ  ถ้าคิดว่าเราพอจะมีความสุขตามที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตทรงแนะนำไว้แล้ว เฉย

ใครจะมาบอกเรื่องรัก เฉย ใครจะมาบอกเรื่องรวย เฉย ใครจะมาบอกเรื่องความโกรธ  ความพยาบาท เฉย  ใครจะมาบอกว่า  โน่นก็ของเรา  นี่ก็ของเรา เฉย

เรารู้อยู่แล้วว่า  แม้แต่ร่างกายก็ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่ของเราแล้วของภายนอกกายจะมีอะไรเป็นของเราอีก  นี่เป็นญาณที่ ๘

28226  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระพุทธเจ้าทรงทำนาย พระสุบินของพระเจ้าปัสเสนทิโกศล เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 09:53:41 am
พระพุทธเจ้าทรงทำนายพระสุบินของพระเจ้าปัสเสนทิโกศล

พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ทรงสุบิน ๑๖ ข้อ แล้วไปทูลขอให้พระพุทธองค์ ทรงวินิจฉัยว่าเกิดอะไรขึ้น
พระพุทธองค์ทรงแสดงชาดกเรื่อง พระโพธิสัตว์เป็นฤษี แล้วทรงพยากรณ์วินิจฉัยสุบินของพระเจ้าพาราณสี ซึ่งพระสุบิน ๑๖ ข้อและพุทธพยากรณ์ มีดังต่อไปนี้


ข้อ ๑ ทรงสุบินว่า ทรงเห็นโคอุสุภราชดำสี่ตัวมาจาก สี่ทิศ ทำท่าว่าจะชนกันที่พระลานหลวง แต่พอมีคนมาดูมากกลับถอยหายไปหมดมิได้ชนกันเลย

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลเมื่อผู้บริหารบ้านเมือง ไม่ประพฤติธรรมมีแต่ทุจริต กรรมจะเกิดภาวะทุพภิกขภัย เมฆฝนตั้งท่าขึ้นแล้วไม่ยอมตก เกิดข้าวยากหมากแพง ลำบากกันไปทั่ว

ข้อ ๒ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นต้นไม้เล็กๆ ผลิดอกออกผลผิดปกติ
 
พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคต คนจะราคะจัด มีเพศสัมพันธ์กันตั้งแต่อายุยังน้อย หมกมุ่นหลงไหลพัวพันกันอยู่ในเรื่องกามตัณหา

ข้อ ๓ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นแม่โคดูดน้ำนมลูกโคซึ่งเกิดในวันนั้น

ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลผู้น้อยจะขาดความเคารพในผู้ใหญ่ ในบิดามารดา ผู้ใหญ่หรือพ่อแม่จะถูกลูกหลานทอดทิ้ง ให้ได้รับความลำบากต้องถึงกับขอเขากิน

ข้อ ๔ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นคนปล่อยโค ที่ชำนาญการในการลากไถลากเกวียนทิ้งหมด แล้วเอาโคหนุ่มที่ยังไม่เคยหัดมาเทียมเกวียนแทน
 
พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยข้อนี้ว่า ในอนาคตกาล ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้เป็นปราชญ์ จะถูกทอดทิ้งเหยียดหยาม ส่วนคนหนุ่มด้อยประสบการณ์ ยังเป็นพาลชน จะได้รับยกย่องเชิดชู ในตำแหน่งยศฐาบรรดาศักดิ์จนเสียหาย


ข้อ ๕ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นม้าตัวเดียวสองปากกินข้าวกล้าอ่อนๆที่เขาป้อนไม่หยุด

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลเมื่อผู้บริหารบ้านเมืองไม่มีธรรม มีแต่อธรรม
เขาจะแต่งตั้งคนโลเลกลับกลอกให้เป็นใหญ่ แล้วประพฤติอธรรมจนชาวบ้านเดือดร้อนต้องป้อนเขาไม่หยุด



ข้อ ๖ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นคนขัดถาดทองคำราคานับแสนให้สุนัขจิ้งจอกแก่ถ่ายปัสสาวะรด

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลเมื่อผู้บริหารบ้านเมืองไม่ประพฤติธรรม จะมีอคติยกย่องคนพาลล้างผลาญคนดีมีชาติตระกูล คนพาลจะได้เป็นใหญ่ แต่คนดีมีชาติตระกูลจะตกต่ำลำบากต้องยกลูกสาวให้คนพาลผู้เป็นใหญ่


ข้อ ๗ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็น บุรุษนายหนึ่งนั่งฟั่นเชือกหนังปลายเชือกห้อยลง มีนางสุนัขจิ้งจอกแก่ๆนอนกัดกินปลายเชือกนั้นไปไม่หยุด
 
พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตตกาลข้างหน้าสตรีจะไล่คว้าหาบุรุษ คลุกเคล้าชายชู้ไม่ดูแลกิจการงานเรือน ผลาญโลเลลุ่มหลงมัวเมาในบุรุษชอบเสพสุรายาเมา ทรัพย์อับปัญญาหุงข้าวปลาไม่สุก


ข้อ ๘ ทรงสุบินว่า ทรงเห็น กะละออมใหญ่ใบหนึ่งมีน้ำเต็ม มีโอ่งเปล่าจำนวนมากตั้งล้อมอยู่ แต่มีคนมากมายตักน้ำใส่กะละออมใบนั้น หาได้ใส่โอ่งเปล่าไม่

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตโลกจะทรามลง ผู้บริหารบ่ารนเมืองจะมีวาสนาน้อยตกอับ จนต้องบังคับให้ ชาวบ้านชาวเมืองส่งส่วย ชาวบ้านเดือดร้อนระทมทุกข์กันทั่วหน้า


ข้อ ๙ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นสระโบกขรณีมีน้ำลึก มีบัวเบญจพรรณ มีท่าขึ้นลงรอบสระสัตว์ทุกชนิดลงไปดื่มน้ำในสระนั้น แต่มีน้ำขุ่นอยู่กลางสระ ส่วนรอบๆ สระที่สัตว์ลงไปดื่มน้ำเหยียบย่ำไปมาหาได้ขุ่นไม่

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาล เมื่อผู้บริหารบ้านเมืองไม่ดำรงมั่นอยู่ในธรรม จะมีอคติมีประพฤติทุจริต โลภจัด โกรธจัด หยาบช้า หาเมตตาขันติไม่ได้ บีบคั้นประชาชนให้ทุกข์ทรมานเดือดร้อน ต้องหนีออกไปอยู่ชนบทปลายแดน ทำให้สังคมเมืองว่างจากผู้ดีมีศีลมีธรรม


ข้อ ๑๐ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นข้าวที่เขาหุงในหม้อใบหนึ่งที่บางส่วนดิบ บางส่วนเปียกแฉะ บางส่วนทั้งดิบทั้งแฉะ

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาล เมื่อผู้บริหารบ้านเมืองไม่ตั้งอยู่ในธรรม พราหมณ์ สมณะ คฤหบดี ก็จะพากันประพฤติอธรรม เป็นเหตุให้ฝนตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล วิปริตผิดเพี้ยนไปทั่ว พืชพรรณธัญญาหารเสียหาย มีความพอเหมาะพอดีเลยสักทีเดียว
(คิดดูแล้วเหมือนลมฟ้าอากาศในปัจจุบัน)



ข้อ ๑๑ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นคนจำนวนมากเอาแก่นจันทร์หอมราคานับแสน ไปแลกกับนมบูด(เปรี้ยวเน่า)

ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลภิกษุอลัชชีจะมีมาก โลภจัดในปัจจัยสี่ ไม่มีความคิดแสวงนิพพาน มีแต่พาลหาลาภยศสรรเสริญ กามสุข


ข้อ ๑๒ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นน้ำเต้าเปล่าที่ควรจะลอยน้ำกลับจมน้ำ

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตกาลภายภาคหน้าโลกจะแปรปรวน (บริหารบ้านเมืองจะห่างธรรมะ บัณฑิตจะถูกหยาม คนพาลจะได้ดีมีคนยกย่อง คำพูดคนพาลเหมือนน้ำเต้าเปล่า สมณะผู้ทุศีล เหมือนน้ำเต้าเปล่า แต่มีคนเชื่อฟัง ส่วนคำพูดของบัณฑิตกลับไม่ได้รับความใส่ใจ จากผู้น้อยผู้ใหญ่ในบ้านเมือง


ข้อ ๑๓ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นศิลาแท่งใหญ่ๆลอยอยู่ในน้ำ
 
พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตยุคที่ผู้บริหารราชการบ้านเมืองขาดธรรมประจำใจ จะแต่งตั้งคนด้อยตระกูลผู้ไกล้ชิดตนให้เป็นใหญ่ เขาพูดจาสามหาวไม่เคารพผู้ใหญ่ แม้พระภิกษุผู้มีศีลก็จะไม่ได้รับการแสดงความเคารพ คนชั่วที่เป็นจึงไม่ต่างอะไรกับแผ่นศิลาลอยน้ำ


ข้อ ๑๔ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นเขียดตัวน้อย ไล่กัดกินเนื้องูเห่า

ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในอนาคตข้างหน้า คนจะมีราคะกล้า ลุ่มหลงอยู่ในอำนาจกิเลส ประพฤติตัวต่ำทราม บุรุษทั้งหลายจะหลงไหลเมียสาว แม้โดนเมียสาวด่าก็รู้สึกว่าไพเราะ เพราะหลงรสกามจนทำลายตนเองทรัพย์สินและครอบครัวจนประสบความหายนะ


ข้อ ๑๕ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นพระยาหงส์ทองแวดล้อมอีกาเที่ยวไปอยู่

ข้อนี้พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในกาลข้างหน้าเมื่อผู้บริหารบ้านเมืองไม่ฉลาดในศีลปศาสตร์ต่างๆ จะทำความพินาศให้แก่บ้านเมือง จะยกย่องคนที่ไม่ควรได้รับยกย่อง และในที่สุดผุ้ดีมีตระกูลจะทำตัวต่ำต้อยไปสวามิภักดิ์อุปถัมภ์บำรุงยกย่องคน ชาติต่ำขึ้นเป็นใหญ่ในบ้านเมือง


ข้อ ๑๖ ทรงพระสุบินว่า ทรงเห็นแพะไล่ติดตามเสือเหลือง จับเสือกินเสียมันปาก จนเสืออื่นๆวิ่งหนีเอาตัวรอดกันสุดชีวิต

พระพุทธองค์ทรงวินิจฉัยว่า ในกาลข้างหน้าคนด้อยการศึกษา หรือศิษย์ไร้ครูจะอยู่ในที่เรืองอำนาจ ส่วนผู้มีการศึกษามีครูบาอาจารย์จะหมดโอกาสเป็นใหญ่ พูดอะไรก็ไม่มีใครรับฟัง แม้พระภิกษุอลัชชีมีบาปหยาบช้า ก็จะได้รับความยกย่องให้เป็นพระผู้ใหญ่ ส่วนภิกษุผู้มีศีลพูดอะไรก็ไม่มีใครเขารับฟัง จนคนดีต้องหมดอาลัยไปหาที่อยู่ตามยถากรรมของตนเอง


มหาสุบิน ๑๖ ข้อนี้ปรากฏแก่พระเจ้าปัสเสนทิโกศล ทีแรกทรงถามพวกพราหมณ์ว่าเป็นเช่นไร ได้ทรงรับคำวินิจฉัยว่าจะมีอันตราย ๓ อย่าง

อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อันตรายแก่ชีวิต อันตรายแก่ราชสมบัติ อันตรายแก่พระมเหสี หรืออาจจะทั้ง ๓ อย่าง ทรงตกพระทัยมาก

ให้ทำพิธีบูชายัญเพื่อพ้นภัยด้วยการเอาของอย่างละสี่ มีมนุษย์สี่คนเป็นต้นเครื่องบูชา แต่นางมัลลิกาทรงแนะนำไปเฝ้า ทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงทรงมีพุทธทำนาย

ดังที่ย่อกล่าวมาให้ผู้อ่านได้ศึกษาใคร่ครวญด้วยประการฉะนี้ เราจะเห็นได้ว่าพระพุทธองค์ทรง มีพระเมตตาในทุกเรื่อง ทั้งทางโลกทางธรรม


******************************
ที่มา   http://www.bcoms.net/buddhism/detail.asp?id=222

พระเจ้าปเสนทิโกศล จะไปตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตข้างหน้า
เป็นองค์ที่ ๓ ในพระอนาคตวงศ์  ๑๐ พระองค์

๑.พระศรีอาริยเมตไตร(พระอชิตเถระ)
๒.พระรามเจ้า
๓.พระธรรมราช(พระเจ้าปเสนทิโกศล)
๔.พระธรรมสามี(พระยามาธิราช)
๕.พระนารทะ(พระยาอสุรินทราหู)
๖.พระรังสีมุนีนาท(โสณพราหณ์)
๗. พระเทวเทพ(สุภพราหมณ์)
๘.พระนรสีหะ(โตไทยพราหมณ์)
๙. พระติสสะ (ช้างนาฬาคีรี)
๑๐.พระสุมงคล(ช้างปาลิไลยกะ)

ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้เลยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=160.0


28227  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ฝากกลอนดี ๆ ให้เพื่อน ๆ ( ชอบเมา ) เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 08:39:50 am

ขออนุโมทนากับคุณวิโรจน์

ขอแนะนำให้ดู องค์ของศีล(ข้อ ๕) ในกระทู้ของคุณสาคร ตามลิงค์ข้างล่าง

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=177.0


28228  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ฝากประวัติ หลวงพ่อคล้าย วาจาสิทธิ์ด้วยนะครับ เมื่อ: ธันวาคม 28, 2009, 08:31:47 am
ขออนุโมทนากับคุณสาธุครับ

หากมีเวลา รบกวน นำเอาประวัติย่อ มาลงให้ด้วย นะครับ
28229  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ลำดับขั้น.......เข้าสู่อริยมรรค เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 02:49:28 pm

13. โคตรภูญาณ
 
คำสอนที่เผยแพร่ หากบารมีแก่กล้าก็วืบเดียวอนุโลมญาณ แล้วโคตรภูญาณมัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ เกิดสืบต่อกัน
 
ปริยัติธรรม
ญาณครอบโคตรคือความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู้ภาวะอริยบุคคคล

ความรู้จากการปฏิบัติ
ถึงขั้นนี้ทั้งคำสอนที่เผยแพร่กัน และคำสอนทางปริยัติธรรมเข้าไม่ถึงเสียแล้ว
จึงไม่สามารถจำแนกอธิบายลักษณาการของโคตรภูญาณได้ แล้วเอาคำว่าวืบมาใช้ ความจริงไม่มีคำว่าวืบ หรือวูบ เพราะขณะนั้นสติสัมปชัญญะจะแจ่มใสตลอด โคตรภูญาณเป็นญาณหยั่งรู้ว่า ขณะนั้นกระแสจิตที่ส่งออกนอกไประลึกรู้อารมณ์จะปล่อยวางอารมณ์แล้วถอยย้อนคืนเข้าหาตัวจิตผู้รู้ มันไม่ได้เกาะเกี่ยวกับอารมณ์จึงไม่อาจจัดเป็นโลกียญาณ และไม่ได้เข้าถึงธาตุรู้อันบริสุทธิ์แท้จริง จึงไม่ใช่โลกุตรญาณแต่เป็นรอยต่อตรงกลางนั่นเอง ในช่วงที่จิตถอยออกจากอารมณ์นั้น เป็นการรวมของจิตคล้ายกับอัปปนาสมาธินั่นเอง

แต่อาจเป็นการผ่านฌานที่ 1 แล้วเข้าถึงจิตผู้รู้เลย หรือผ่านฌานที่ 2 - 8 แล้วจึงเข้าถึงจิตผู้รู้ก็ได้
แล้วแต่กำลังฌานของแต่ละบุคคล (จุดที่ต่างจากอัปปนาสมาธิคือ มันไม่ได้ถอยมาหยุดเฉยอยู่กับจิตผู้รู้อย่างกับอารมณ์ฌาน หากแต่เป็นการถอยเข้ามารวมกำลังของกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้เข้าไว้ด้วยกันที่จิตผู้รู้ เพื่อแหวกมโนวิญญาณที่ปกคลุมธาตุรู้อันบริสุทธิ์ให้แตกกระจายออกไปในขั้นของมัคคญาณ)

14. มัคคญาณ


คำสอนที่เผยแพร่ อธิบายไม่ได้แล้ว

ปริยัติธรรม
ญาณหยั่งรู้ในอริยมัคค์ คือความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อสติซึ่งเคยระลึกรู้อารมณ์ย้อนตามโคตรภูญาณเข้ามาระลึกรู้จิตผู้รู้ ซึ่งตัวจิตผู้รู้เองก็มีสัมปชัญญะอยู่ก่อนแล้ว ทั้งสติ ทั้งสัมปชัญญะ ทั้งกุศลธรรมฝ่ายการตรัสรู้ทั้งปวงที่รวมเรียกว่าโพธิปักขิยธรรม ประชุมรวมลงที่จิตผู้รู้ดวงเดียว ในขณะนั้นมโนวิญญาณที่ห่อหุ้มธาตุรู้ถูกกำลังของมรรคหรือมัคคสมังคีแหวกออก ธาตุรู้ซึ่งถูกห่อหุ้มมานับกัปป์กัลป์ไม่ถ้วนก็ปรากฏตัวขึ้นมา สภาพที่มัคคสมังคีแหวกมโนวิญญาณอันนั้นเกิดในขณะจิตเดียว บางคนตามรู้ได้ บางคนตามรู้ไม่ทันเพราะปัญญาอบรมมาได้ไม่เท่ากัน

15. ผลญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ อธิบายไม่ได้แล้ว

ปริยัติธรรม
ญาณในอริยผล คือความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลขั้นนั้นๆ

ความรู้จากการปฏิบัติ
เมื่อมโนวิญญาณถูกแหวกออกแล้ว ธาตุรู้อันบริสุทธิ์หรือจิตอันบริสุทธิ์แท้จริงก็ปรากฏขึ้น มันไม่มีรูปร่างตัวตนใดๆทั้งสิ้น ปรากฏเป็นแสงสว่าง ว่างบริสุทธิ์ เป็นตัวของตัวเอง มีอาการเบิกบานร่าเริงโดยปราศจากอารมณ์ปรุงแต่ง

16. ปัจจเวกขณญาณ


คำสอนที่เผยแพร่ บางคนอ่อนก็พูดไม่เป็น บางคนญาณแก่ก็พูดได้ประกาศร้อง ตะโกนว่าเรารู้แล้ว มรรคนี้ถูกต้องแล้ว พิจารณากิเลสที่ละได้ และกิเลสที่ยังเหลืออยู่

ปริยัติธรรม ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือสำรวจรู้มรรคผลและกิเลสที่ ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน


ความรู้จากการปฏิบัติ
ในขณะที่บังเกิดมรรคผลนั้น ปราศจากความคิดมีแต่ความรู้ เมื่อมัคคญาณยังไม่ถึงขั้นอรหัตมัคค์ ย่อมมีกำลังไม่มากพอที่จะส่งผลให้จิตจริงแท้หลุดพ้นได้ถาวร แต่จะปรากฏเพียงเล็กน้อยก็จะถูกมโนวิญญาณกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมอีก เมื่อสัญญาเกิดขึ้นแล้ว ผู้ปฏิบัติจะคิดนึกได้และรู้ชัดว่า อ้อพระพุทธเจ้ามีจริง ทรงสอนธรรมเป็นของจริง ปฏิบัติแล้วหลุดพ้นได้จริง

ผู้ปฏิบัติสามารถหลุดพ้นเป็นอริยสาวกตามพระองค์ได้จริง จะรู้ชัดว่าความเป็นตัวตนไม่มีอยู่จริง โดยเฉพาะจะเห็นชัดว่าจิตไม่ใช่ตัวเรา ความเป็นตัวเราหรือสักกายทิฏฐิเกิดจากสังขารหรือความคิดเข้ามาปรุงแต่งหลอกลวงจิตเท่านั้น จะหมดความลังเลสงสัยในพระศาสนาสิ้นเชิง ไม่มีทางปฏิบัตินอกลู่นอกทางใดๆ ได้อีก
กล่าวโดยย่อ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส เป็นอันหมดไปเด็ดขาด กิเลสในจิตใจเหลือมากน้อยเพียงใดก็รู้ชัดในใจตนเอง


ความเข้าใจผิดที่ต่อเนื่องจากเรื่องโสฬสญาณ
 
ในสำนักที่เผยแพร่คำสอนเกี่ยวกับญาณ 16 ที่ว่าผิดเพี้ยนนั้น
มีความสำคัญผิดอย่างร้ายแรงว่านิพพานเป็นสภาพที่หมดความรู้สึก
ผู้ปฏิบัติจะนั่งตัวแข็งไปชั่วขณะแม้หลังบรรลุมรรคผลแล้ว
ต่อมาเมื่อเข้าผลสมาบัติ ซึ่งเป็นการระลึกรู้อารมณ์นิพพานก็จะมีอาการดังนี้

"เมื่อเข้าสมาบัติ ตัวแข็งแจ้งชัด
ประสาทหยุดงานหมดความรู้สึก คิดนึกทุกสถาน
อารมณ์นิพพาน บรมสุขสันต์"



แท้จริงสภาวะที่ปราศจากความรู้สึกนึกคิดนั้น
เป็นสภาวะของอสัญญีพรหม หรือพรหมลูกฟัก
คือมีแต่รูปกายนั่งตัวแข็งเป็นก้อนหินอยู่
ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวข้องกับการสำเร็จมรรคผลนิพพานแต่ประการใดเลย



ที่มา  เว็บพลังจิ
28230  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ลำดับขั้น.......เข้าสู่อริยมรรค เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 02:44:08 pm
ลำดับขั้น...เข้าสู่อริยมรรค

หนทางสายตรง...ที่จะนำท่านไปสู่อริยมรรค มุ่งตรงเข้าสู่นิพพานนั้น ...
ลำดับขั้นในการฝึกฝนเรียกว่า “โสฬสญาณ”
มีผู้อธิบายเปรียบเทียบในหลากมุม ไว้เป็นขั้นตอน อย่างน่าสนใจ ...
ซึ่งมีเนื้อหาที่แตกต่างจากที่เคยได้อ่าน และเห็นว่า...
น่าจะเป็นเข็มทิศนำทางผู้ปฏิบัติหลายๆท่านไม่ให้เดินหลงทาง
จึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ต่อในที่นี้
(คาดว่าเจ้าของบทความคงจะยินดีแบ่งปันความรู้นี้ต่อผู้ปฏิบัติท่านอื่นๆด้วยค่ะ)


อ้างอิงแหล่งที่มา : http://www.bangkokmap.com/pm/content/view/87/40/<O </
 

พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นศาสดาเอกของโลก
ทรงแสดงกาลามสูตรว่า อย่าเชื่อเพราะฟังตามกันมา
อย่าเชื่อเพราะถือสืบๆ กันมา อย่าเชื่อเพราะคำเล่าลือ
อย่าเชื่อเพราะอ้างคัมภีร์และตำรา
อย่าเชื่อเพราะการใช้ตรรก อย่าเชื่อเพราะการอนุมาน
อย่าเชื่อเพราะการคิดตามแนวเหตุผล
อย่าเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีเดิม
อย่าเชื่อเพราะเห็นรูปลักษณะว่าน่าจะเป็นไปได้
และอย่าเชื่อเพราะเห็นว่าผู้สอนเป็นครูของเรา
ต่อเมื่อใดรู้และเข้าใจด้วยตนเองจึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น

 
ปัจจุบันมีสำนักสอนปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ยากที่ผู้เริ่มปฏิบัติจะจำแนกแยกแยะได้ว่า
คำสอนใดเป็นคำสอนที่แท้จริงทางพระพุทธศาสนา
และคำสอนใดเป็นความคิดเห็นโดยอัตโนมัติของผู้เป็นอาจารย์
หนทางที่ดีที่สุดก็คือ ผู้ปฏิบัติควรทำใจให้เป็นกลางต่อคำสอนทั้งปวง
เปิดใจให้กว้าง พยายามศึกษาเปรียบเทียบว่า
คำสอนนั้นตรงตามหลักตัดสินธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้หรือไม่
เช่น ธรรมนั้นเป็นไปเพื่อความหน่ายและความคลายกำหนัดหรือไม่
เป็นไปเพื่อพ้นจากความอยากหรือไม่ และเป็นไปเพื่อความสงบวิเวกหรือไม่ เป็นต้น


นอกจากนี้อาจศึกษาเปรียบเทียบกับหลักปริยัติธรรม
แล้วทดสอบด้วยการปฏิบัติจนเข้าใจความจริง นั่นแหละจึงควรเชื่อถือว่าธรรมนั้นเป็นของจริง 
มีหลักธรรมเรื่องหนึ่งคือเรื่องโสฬสญาณหรือวิปัสสนาญาณ 16 ขั้น ที่มีการนำมาสั่งสอนอย่างผิดพลาดในปัจจุบัน
 
ความจริงเรื่องญาณ 16 นี้ ไม่ใช่คำสอนโดยตรงของพระพุทธเจ้า ไม่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชั้นพระไตรปิฎก
แต่เป็นเรื่องที่พระอรรถกถาจารย์รุ่นหลังแต่งขึ้น ปรากฏในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ และวิสุทธิมัคค์


อย่างไรก็ตาม การลำดับญาณมีความถูกต้อง สอดคล้อง ลงกันได้กับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่เรื่องเสียหายที่เราจะศึกษากัน
แต่จะไม่ศึกษาก็ได้ เพราะหากปฏิบัติธรรมถูกต้องจิตจะดำเนินไปตามลำดับญาณโดยอัตโนมัติ

 การที่จิตดำเนินไปตามลำดับญาณนั้น อย่าไปสำคัญผิดว่าจิตจะดำเนินเป็นขั้นๆเหมือนการเรียนหนังสือที่เลื่อนไปปีละชั้น

ในความเป็นจริงของการปฏิบัตินั้น เมื่อเราเจริญสติสัมปชัญญะอย่างถูกต้อง คือ
มีสติ ระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่กำลังปรากฏด้วยความรู้ตัว ไม่หลงส่งจิตไปตามอารมณ์นั้น
เมื่อจิตสะสมความรู้เพียงพอแล้ว จิตจะรวมลงเป็นสมาธิ อาจจะรวมเพียงขณะจิตเดียว
หรือรวมเป็นอัปปนาสมาธิก็ได้ พอจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้น
อาจเกิดรวดเดียวตลอดสายบรรลุมรรคผลเลยก็ได้ หรือเกิดแล้วไปหยุดอยู่ในลำดับญาณใดก็ได้
มากน้อยแล้วแต่กำลังปัญญาอันเกิดจากการเจริญสติสัมปชัญญะ

แต่ถ้าในระหว่างเจริญสติสัมปชัญญะอยู่นั้น จิตเกิดความอ่อนแอเฉื่อยชาลง
มีโมหะเข้าแทรก แทนที่จิตจะรวมลงเป็นสมาธิ จิตจะกลับพลิกไปสู่ฌานโดยไม่รู้ตัว
เป็นการตกภวังค์วูบวาบบ้าง โงกง่วงบ้าง ลืมตัวไปบ้าง
แล้วเกิดความรู้ความเห็นต่างๆ ไปตามอำนาจของกิเลส
เมื่อกลับรู้ตัวในภายหลัง ก็สำคัญผิดว่าความรู้ความเห็นนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ
ทั้งที่เป็นความรู้ของกิเลสทั้งสิ้น ผู้ที่ติดอยู่ตรงนี้จะเชื่อตัวเองอย่างงมงาย อันเป็นอาการของวิปัสสนูปกิเลสสนั่นเอง

ขอยกตัวอย่างคำสอนเรื่องโสฬสญาณ ซึ่งมีผู้นำหลักปฏิบัติเข้ามาจากพม่า
และอาศัยการตีความพระอภิธรรมด้วยการตรึกตรองเทียบเคียงอาการของจิตที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติ

แล้วบัญญัติเทียบเคียงเข้ากับลำดับญาณตามตำรานำออกสั่งสอนแพร่หลาย เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติที่มุ่งตรงต่อมรรคผลนิพพาน

การชี้ประเด็นความผิดพลาดนี้ ไม่ได้มุ่งติเตียนตัวบุคคล แต่เป็นการวิจารณ์เพื่อความสะกิดใจของผู้สนใจปฏิบัติ

โดยจะเทียบเคียงคำสอนที่ผิดพลาดนั้นกับหลักปริยัติธรรมและลำดับญาณที่พบเห็นมาจากการปฏิบัติจริง

ผู้อ่านไม่ควรเชื่อว่าการเทียบเคียงนี้ถูกหรือผิด จนกว่าจะได้ปฏิบัติรู้เห็นด้วยตนเอง
จึงจะรู้ว่าคำสอนเรื่องโสฬสญาณที่แพร่หลายนั้นผิด หรือคำวิจารณ์นี้ผิด
หากปักใจเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งเสียก่อนแล้ว ย่อมไม่ใช่ชาวพุทธที่ดีจริง


การเปรียบเทียบลำดับญาณ

1. นามรูปปริจเฉทญาณ
 
คำสอนที่เผยแพร่ เห็นว่าพองกับยุบเป็นคนละอัน บางคนมีนิมิตเห็นตัวเองอยู่ข้างหน้า หรือข้างหลัง เป็นการเห็นด้วยอำนาจของญาณเครื่องรู้อันวิเศษที่เราซักล้างด้วย อินทรีย์สังวรศีล ด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์สะอาดของเรา ตัวที่เห็นอยู่ข้างหน้าข้างหลังนั้นคือรูปใจที่รู้ว่า นั่นคือเรา คือ นาม
 
ปริยัติธรรม (ขอใช้พจนานุกรมพุทธศาสตร์ของพระเทพเวที ประยุทธ์ ปยุตโต เป็นหลัก เนื่องจากท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตเอกทางปริยัติธรรมในยุคปัจจุบัน ซึ่งวงการศึกษายกย่องว่าเป็นเอกในยุครัตนโกสินทร์)

ระบุว่านามรูปปริจเฉทญาณคือญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือรู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม และอะไรเป็นนามธรรม

ความรู้จากการปฏิบัติ ผู้แรกปฏิบัติจะต้องมีเครื่องระลึกของสติ ซึ่งจะเป็นรูปหรือนามก็ได้ เช่นกำหนดยุบพอง(รูป) กำหนดลมหายใจ (รูป) กำหนดอิริยาบถยืน-เดิน-นั่ง-นอน (รูป) กำหนดบริกรรมพุทโธ-สัมมาอรหัง (นาม) หรือกำหนดควบรูปนามก็ได้ เช่นกำหนดยุบพองพร้อมทั้งบริกรรมหนอ เป็นต้น
 
ผู้ปฏิบัติจะต้องจำแนกให้ได้ว่า รูปก็ดี นามก็ดีที่กำลังกำหนดรู้ในปัจจุบันนั้น เป็นเพียงอารมณ์ที่ถูกจิตรู้ ตัวจิตผู้รู้อยู่ต่างหาก หากยังแยกจิตกับอารมณ์ หรือผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ไม่ได้ ยังไม่จัดเป็นวิปัสสนาญาณ แต่เป็นเพียงการทำสมถะเท่านั้น
 
ผลอันเกิดจากการทำสมถะคือนิมิต เช่นเห็นตัวเองนั่งอยู่ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง มันเป็นนิมิตทั้งสิ้น ซึ่งสามารถรู้เห็นได้เพราะกำลังสมถะ ไม่ใช่เพราะอำนาจของญาณเครื่องรู้อันวิเศษที่เราซักล้างด้วยอินทรีย์สังวรศีล หรือด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์สะอาดของเราแต่อย่างใด เพียงจิตสงบเล็กน้อยก็เห็นได้แล้ว แต่บางคนแม้จะสงบเท่าใดก็ไม่เห็น ซึ่งไม่ใช่สาระสำคัญแต่อย่างใด

2. ปัจจยปริคคหญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ รู้ปัจจัยของรูปนาม พอมันสุดพองมันก็ต้องยุบ พอมันสุดยุบมันก็ต้องพอง รู้เหตุปัจจัยของรูปนามว่า หน้าที่ของเขาทำงานตามหน้าที่ ตาก็เห็นหนอ หูก็ได้ยินหนอ ใจที่รู้รูปรู้เสียงเป็นนาม รู้ปัจจัยว่าเกิดดับ รู้ว่าสังขารปรุงแต่งจิต ต่อมาจิตสงบมากขึ้น เริ่มเป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ
พองยุบจึงหายไปก็ให้กำหนดหายหนอ

ปริยัติธรรม ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของรูปนาม คือ รู้ว่ารูปนามทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาทก็ดี ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ดี ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ดี
 
ความรู้จากการปฏิบัติ การรู้ว่าสุดยุบแล้วพอง สุดพองแล้วยุบ ไม่ใช่การรู้ของปัจจยปริคคหญาณ แต่เป็นการรู้ว่ายุบก็ไม่เที่ยง พองก็ไม่เที่ยง ส่วนที่ว่าต่อมาจิตเป็นสมาธิพองยุบก็หายไปให้มากำหนดว่าหายหนอนั้น จิตจะเป็นสมาธิจริงหรือไม่ ยังไม่แน่ เพราะพองยุบอาจหายไปเพราะขาดสติก็ได้ ไม่ใช่หายเพราะสมาธิ
 
นอกจากนี้เรื่องของสมาธิกับเรื่องของวิปัสสนาญาณก็เป็นคนละส่วนไม่ควรนำมาอธิบายปะปนกัน
ปัจจยปริคคหญาณจริงๆ นั้น คือความหยั่งรู้ของจิตที่เห็นว่า เหตุปัจจัยของรูปนามคือวิญญาณ (ความรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ)
 
สมดังที่พระพุทธเจ้าทรงสอนอย่างแจ้งชัดว่า"วิญญาณ ปัจจยา นามรูปัง" คือ วิญญาณเป็นปัจจัยของนามรูป กล่าวคือเมื่อเราเจริญสติสัมปชัญญะ โดยมีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่เป็นรูปหรือนามก็ตาม เราจะค่อยๆ เรียนรู้ว่า แท้จริงแล้วรูปนามปรากฏขึ้นได้เป็นคราวๆ ก็เพราะจิตส่งออกไปรู้มันเข้า โดยวิญญาณหยั่งเข้าที่รูป รูปก็ปรากฏ วิญญาณหยั่งเข้าที่นาม นามก็ปรากฏ หากวิญญาณไม่หยั่งลง สิ่งนั้นก็ไม่ปรากฏมาสู่ภูมิความรับรู้ของจิต เช่นในขณะที่อ่านหนังสืออยู่นั้น เราเห็นตัวหนังสือ สลับกับการรู้ความหมายของมัน เพราะเรามีวิญญาณทางตาและวิญญาณทางใจ แต่ในขณะนั้นเราไม่ได้ยินเสียงเพลงจากวิทยุ เพราะเราไม่มีวิญญาณทางหู เสียงจึงไม่ปรากฏทั้งๆ ที่มีเสียงอยู่ เราจะรู้ความจริงว่า รูปนามเป็นของแยกต่างหากจากจิตชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเห็นชัดว่า รูปนามปรากฏได้เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย

 
3. สัมมสนญาณ


คำสอนที่เผยแพร่ สำนึกรู้บาปบุญคุณโทษ จิตใจเยือกเย็น เสียงนิ่ม เสียงอ่อนโยนกว่าเดิม และนึกถึงบุญคุณของพ่อแม่ปู่ย่าตายาย แล้วต่อด้วยปิติทั้ง 5 เช่นขนลุก ตัวโยก ตัวเบา ฯลฯ
 

ปริยัติธรรม ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
 

ความรู้จากการปฏิบัติ การรู้สำนึกบาปบุญคุณโทษเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ใช่เรื่องของวิปัสสนาญาณซึ่งเป็นเรื่องที่มุ่งเรียนรู้ธรรมชาติทั้งปวงตามความเป็นจริง ว่ามันเป็นไตรลักษณ์ ตามธรรมดาคนที่จิตสงบลง

บรรดาจิตใต้สำนึกหรือวิบากกรรมที่เก็บไว้ในภวังคจิตมักจะโผล่ขึ้นมา เช่น เคยจับลิงกดน้ำก็จะระลึกได้ถึงบาปที่ทำ เคยเลวร้ายต่อพ่อแม่ก็จะระลึกได้ ที่ว่าจิตใจเยือกเย็น เสียงนิ่ม เสียงอ่อนโยนนั้น เป็นอาการของจิตที่ติดอารมณ์สงบทั้งสิ้น

บรรดาท่านไม่ได้ติดในอารมณ์สมถะ ท่านเคยพูดอย่างไรท่านก็พูดอย่างนั้น เพียงแต่จิตของท่าน ประกอบด้วยเมตตา ไม่มีอาการเสียงอ่อนเสียงนิ่มเป็นคราวๆ แต่อย่างใด และยิ่งสอนว่าเกิดปิตินั้น ยิ่งเป็นการฟ้องให้เห็นว่าสิ่งที่เข้าใจว่าทำญาณนั้น จริงๆ คือการทำสมถะเท่านั้นเอง

สัมมสนญาณ เป็นสภาวะต่อเนื่องจากปัจจยปริคคหญาณ คือเมื่อเราเห็นว่านามรูปมีวิญญาณ (ความรับรู้) เป็นปัจจัยให้มันปรากฏ เมื่อเจริญสติสัมปชัญญะมากขึ้น จิตจะเห็นความจริงชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย สัมมสนญาณว่า ทั้งรูปและนามล้วนแต่ปรากฏเป็นคราวๆ ถ้าจิตไม่ไปรู้มันเข้า มันก็ไม่ปรากฏ และสิ่งที่ปรากฏนั้นมันตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ คือ มันไม่เที่ยง (อนิจจัง) และเป็นของที่ทนอยู่ได้ชั่วขณะแล้วก็ดับหรือเปลี่ยนสภาพไป (ทุกขัง) ทั้งนี้เป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน และสิ่งที่ปรากฏให้จิตรู้นั้น เป็นของภายนอกที่ถูกรู้ ไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา(อนัตตา) ความรู้เหล่านี้เป็นเรื่องของปัญญาล้วนๆ ไม่มีอาการของสมถะเข้ามาปะปนเลย

4. อุทยัพพยญาณ


คำสอนที่เผยแพร่ เห็นการเกิดดับของรูปนาม เช่นกำหนดยุบหนอพองหนออยู่ จิตสงบเงียบ งีบผงะไปข้างหลัง ใช่แล้วได้ญาณที่ 4 หรือเดินจงกรมอยู่มีอาการเหมือนตกวูบ อันนี้ชื่อว่าเห็นการเกิดดับของรูปนามแล้ว


ปริยัติธรรม  ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือพิจารณาความเกิดขึ้นและดับไปแห่งขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วดับไปทั้งหมด ในตำราอื่นๆ กล่าวถึงอุทยัพพยญาณว่ามี 2 ระดับคือ

 (1) ตรุณอุทยัพพยญาณ เป็นญาณอย่างอ่อน และหากดำเนินผิดพลาดจะเกิดวิปัสสนูปกิเลส และ
 
(2) พลวอุทยัพพยญาณ เป็นญาณเห็นความเกิดดับที่มีความเข้มแข็ง พ้นจากวิปัสสนูปกิเลส


ความรู้จากการปฏิบัติ อาการผงะ หรือตกวูบ เป็นอาการของจิตที่ขาดสติอย่างหนึ่ง หรือเป็นอาการที่จิตรวมเพราะอำนาจสมถะแต่ขาดความชำนาญอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่มีปัญญา แต่มันเกิดจากการที่สติอ่อนเกินไป ในทางปฏิบัติจะสอดคล้องกับปริยัติธรรม คือ ญาณนี้จำแนกเป็น 2 ช่วงตอน ได้แก่

 
•   ตรุณอุทยัพพยญาณ ญาณช่วงนี้เป็นอุทยัพพยญาณขั้นเริ่มต้น ได้แก่การมีสัมปชัญญะคือความรู้ตัว และมีสติระลึกรู้อารมณ์คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายและธรรมารมณ์(ความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ) เช่นรู้รูปนั่ง รูปเดิน รูปยุบ รูปพอง รู้ความคิด รู้บริกรรมพุทโธ รู้บริกรรมสัมมาอรหัง รู้บริกรรมหนอ และรู้ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ตามสัญญาอารมณ์ เช่น รู้ว่ากำลังคิดถึงบ้าน และคิดถึงลูก เป็นต้น ผู้ปฏิบัติจะเห็นว่าอารมณ์ที่ถูกรู้ทั้งปวงนั้นเกิดดับสืบต่อกันไปเรื่อยๆ

ในขั้นนี้หากสัมปชัญญะคือความรู้ตัวอ่อนลง จิตจะไหลตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์ที่จิตรู้ เช่นกำลังเดินจงกรม จิตก็ไปอยู่ที่เท้า กำลังเคลื่อนไหวมือ จิตก็ไปอยู่ที่มือ กำลังบริกรรมพุทโธหรือบริกรรมหนอ จิตก็ไปอยู่กับพุทโธหรือหนอ สภาพนี้คือจิตพลิกจากการทำวิปัสสนาซึ่งต้องประกอบด้วยความรู้ตัวไม่หลงตามอารมณ์ ไปเป็นสมถะคือการที่จิตหลงตามสติไปเกาะอยู่กับอารมณ์อันเดียว ในขั้นนี้หากสิ่งใดปรากฏขึ้น เช่นเกิดแสงสว่าง เกิดปัญญาแตกฉาน เกิดญาณพิเศษต่างๆ เกิดการตั้งสติแข็งกล้าจนอึดอัด ฯลฯ ผู้ปฏิบัติจะเกิดสำคัญมั่นหมายว่า สิ่งที่เกิดนั้นเป็นของดีของวิเศษ เกิดมานะอัตตารุนแรง นั่นคือ วิปัสสนูปกิเลส
 
•   พลวอุทยัพพยญาณ เป็นอุทยัพพยญาณที่มีกำลังเข้มแข็ง คือแทนที่ผู้ปฏิบัติจะหลงดูแต่อารมณ์หยาบๆ เช่นรูปนั่ง รูปเดิน หรือคำบริกรรม หรือความคิดนึกปรุงแต่งต่างๆ ผู้ปฏิบัติที่มีกำลังของสัมปชัญญะและสติปัญญามากขึ้น สามารถดูเข้าไปถึงปฏิกิริยาของจิตที่เกิดขึ้นเมื่อจิตไปรู้อารมณ์ต่างๆ เช่นในขณะที่เดินจงกรมเกิดความรู้สึกตัวเบา แทนที่สติจะรู้แค่ว่าเดินและตัวเบา
สติกลับเห็นลึกซึ้งต่อไปว่า ในขณะนั้นจิตมีความเบิกบาน เพลิดเพลินยินดีมีราคะที่ตัวเบาสบาย และมีตัณหาอยากให้ตัวเบาอยู่อย่างนั้นนานๆ หรือบริกรรมหนออยู่ จิตเกิดอึดอัด สติก็รู้ว่าจิตไม่ชอบใจหรือมีโทสะต่อความอึดอัด และจิตมีตัณหาคืออยากให้หายจากความอึดอัด หรือในขณะนั้นความจำ (สัญญา) เกี่ยวกับลูกเกิดขึ้น แล้วจิตคิดกลุ้มใจไปต่างๆ นานาๆ สติปัญญาก็กล้าแข็งพอที่จะเห็นว่า จิตส่งออกไปเกาะเกี่ยวพัวพันเรื่องลูก จิตเป็นทุกข์ไม่สบาย เห็นโทสะที่เกิดขึ้น

และเห็นความอยากจะให้ความทุกข์ดับไป หรือขณะนั้นนั่งดูจิตเห็นว่างๆ ระเดี๋ยวความคิดผุดขึ้นไม่ว่างเสียแล้ว เดี๋ยวคิดดี เดี๋ยวคิดร้าย เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ และเห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า เป็นราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง เป็นบุญบ้าง เป็นกลางๆบ้าง สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปไม่ขาดสาย นี่เป็นอุทยัพพยญาณที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น อีกชั้นหนึ่ง คือเปลี่ยนจากการเห็นสิ่งที่มากระทบ เป็นการเห็นปฏิกิริยาของจิตต่อสิ่งที่มากระทบนั้น และเป็นขั้นที่วิปัสสนูปกิเลสแผ้วพานไม่ได้ เพราะจิตฉลาดรู้เท่าทันกลมายาของกิเลส เนื่องจากอ่านจิตใจของตนเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
 
5. ภังคญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เห็นความเกิดดับถี่เข้า บางทีก็วืบบ่อย บางทีได้ยินยังไม่ทันจะหนอก็วืบที่หู บางทียก(มือ) ยังไม่ทันจะหนอก็แวบที่มือ คือการขาดความรู้สึกขณะหนึ่ง บางทีร่างกายหายไปเป็นท่อนๆ เดี๋ยวมือหาย เดี๋ยวแขนหาย เดี๋ยวก็หายหมดทั้งตัว
 

ปริยัติธรรม ญาณอันตามเห็นความสลาย คือเมื่อเห็นความเกิดดับแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด


ความรู้จากการปฏิบัติ อาการวืบก็ดี กายหายไปทั้งหมดหรือบางส่วนก็ดี เป็นอาการของสมถะ ยิ่งยอมรับว่าเป็นการขาดความรู้สึกชั่วขณะ ยิ่งเป็นเรื่องที่ตรงข้ามกับการเจริญสติและสัมปชัญญะซึ่งหมายถึงความรู้ตัวไม่เผลอ เมื่อเห็นอารมณ์เกิดดับบ่อยเข้า และเห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์บ่อยเข้า ผู้ปฏิบัติที่มีสติสัมปชัญญะเข้มแข็งจะพบว่า เมื่อจิตเกิดปฏิกิริยาใดๆ ต่ออารมณ์เพียงแวบเดียว พอรู้ทัน ปฏิกิริยานั้นก็จะดับไปทันที เช่นกำลังรู้ตัวอยู่ ได้ยินเสียงลูกร้องไห้เสียงดัง จิตมีปฏิกิริยาต่อเสียงคือเกิดความโกรธผ่านแวบเข้ามา สติรู้ทันความโกรธที่กำลังปรากฏ จิตไม่เผลอไปตามความโกรธ ความโกรธจะดับวับไปต่อหน้าต่อตาทันที แม้อารมณ์อื่นเกิดแล้วพอรู้ก็ดับเช่นกัน จิต จะกลับเข้าสู่สภาวะดั้งเดิมคือเป็นกลางและรู้ตัว จะขาดความรู้ตัวไม่ได้เลย

สภาวะที่เห็นปฏิกิริยาของจิตต่ออารมณ์ขาดหายไปต่อหน้าต่อตานั้นคือภังคญาณ ขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า อารมณ์ภายนอกที่มากระทบนั้น มันเกิดดับไปตามเหตุปัจจัยภายนอก เช่นลูกร้องไห้ เราก็ได้ยินเสียงร้องไห้ จะห้ามไม่ให้ได้ยินไม่ได้ สิ่งที่เราแก้ไขได้ก็คือ เมื่อเราได้ยินเสียงนั้นแล้ว หากจิตไม่เป็นกลาง เช่นเกิดโกรธหรือเกิดห่วงใย สติจะรู้ทันอย่างว่องไว แล้วปฏิกิริยาของจิตเช่นความโกรธหรือความห่วงใยจะดับไป จิตกลับเข้าสู่ความเป็นกลางดังเดิม

6. ภยญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ แปลว่ากลัวภัยในวัฏสงสาร โยคีจะเกิดความหวาดกลัว กลัวอะไรบอกไม่ถูก บางทีเหมือนคนมานั่งแอบข้าง จะลืมตาก็ไม่กล้าลืม อยากลืมก็อยากลืม หวาดๆ ว่าผีหลอก บางทีคนมาเดินตามหลังเหลียวไปก็ไม่มี บางทีกลัวผี มันปรุงแต่งจิตให้กลัวเองโดยอำนาจของญาณ บางทีนิมิตเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย เห็นเด็ก บางทีเอ๊กซเรย์ตัวเองเห็นโครงกระดูก น่ากลัวเหลือเกิน บางทีนิมิตให้เกิดปัญญา เช่นนิมิตอสุภะตัวขึ้นอืด ตัวบวม นิ้วมือเน่า ลืมตาขึ้นดูไม่มีอะไร

ปริยัติธรรม ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือเมื่อพิจารณาเห็นความแตกสลายอันมีทั่วไปแก่ทุกสิ่งนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไปไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น

ความรู้จากการปฏิบัติ ที่เกิดความกลัวต่างๆ นั้นเพราะจิตไปหลงตามอารมณ์ปรุงแต่งของจิตที่รักตัวกลัวตายด้วยความยึดมั่นถือมั่น แล้วไม่มีปัญญารู้เท่าทันจิตตนเอง อย่าว่าแต่ผู้ปฏิบัติจะกลัวเป็นเลย แม้แต่มดหรือยุงมันก็กลัวเป็น ทั้งที่ไม่มีญาณทัศนะใดๆ ส่วนการเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ล้วนแต่เป็นนิมิต อันเป็นเครื่องแสดงว่าที่ปฏิบัติอยู่นั้นคือสมถะทั้งสิ้น ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพบว่า ไม่ว่าอารมณ์ชนิดใดเกิดขึ้น จะเป็นอารมณ์ภายนอกเช่นรูปและเสียง หรืออารมณ์ภายในเช่นความสุขและความทุกข์ ความดีและความชั่ว ความฟุ้งซ่านและความสงบ อันเป็นปฏิกิริยาของจิตต่อสิ่งที่มากระทบก็ตาม ก็ล้วนแต่จะต้องดับไปทั้งสิ้น

แม้กระทั่งอารมณ์ที่ละเอียดประณีต เช่นฌานสมาบัติ แม้กระทั่งความว่างของจิต ก็ยังเป็นของไม่เที่ยง อันแสดงว่าภพชาติทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง พึ่งพาอาศัยถาวรไม่ได้ (ภพก็คือจิตที่เกาะเกี่ยวอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ถ้าเกาะอารมณ์ละเอียดก็เป็นภพละเอียดเช่นเทวดาและพรหม ถ้าเกาะภพหยาบก็เป็นสัตว์ในอบายภูมิ มีความทุกข์ความเร่าร้อนมาก) ผู้ปฏิบัติไม่ได้เกิดความกลัวตายเพราะความรักตัวกลัวตาย แต่กลัวเกิดเพราะเห็นว่าไม่ว่าเกิดเป็นอะไรก็ต้องทนทุกข์เวียนว่ายไม่รู้จบสิ้น
 
7. อาทีนวญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เห็นทุกข์เห็นโทษของรูปนาม ญาณที่ 6, 7, 8 และ 9 เหมือนกัน เป็นอันเดียวกันโดยจะมีอาการหวาดๆกลัวๆ ญาณที่ 7 ไม่เคยเจ็บก็เจ็บ ไม่เคยปวดก็ปวด ทุกข์ทรมานมาก เพราะโรคภัยไข้เจ็บเริ่มถูกทำลายจึงออกอาการ เป็นการใช้หนี้ตามกฏแห่งกรรม
 
ปริยัติธรรม ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือเมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่องจะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์
 

ความรู้จากการปฏิบัติ ญาณเหล่านี้ไม่ใช่ญาณขี้กลัว และไม่ใช่ญาณใช้หนี้กรรม เพราะกรรมนั้นแม้ไม่มีญาณก็ต้องใช้หนี้อยู่แล้วตามธรรมดา แต่เป็นปัญญาของจิตที่เห็นว่าภพทั้งปวงเป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้ ภพทั้งปวงล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ระคนอยู่เสมอ ไม่ว่าภพหยาบหรือละเอียด สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือทุกข์ สิ่งที่ดับไปก็คือทุกข์ นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรเกิด ไม่มีอะไรดับ มันเป็นปัญญาเห็นความจริงของภพทั้งปวง หรืออารมณ์ทั้งปวงนั่นเอง
 
8. นิพพิทาญาณ
 
คำสอนที่เผยแพร่ ญาณนี้จะเกิดอาการเบื่อเอามากๆ อยากกลับบ้านไม่อยากภาวนาต่อไป

ปริยัติธรรม ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่ายคือเมื่อพิจารณาเห็นสังขาร(ความปรุงแต่งต่างๆ) ว่าเป็นโทษแล้ว ย่อมเกิดความหน่ายไม่เพลิดเพลินติดใจ

ความรู้จากการปฏิบัติ ความเบื่อหรืออยากกลับบ้านเป็นอารมณ์ธรรมดาไม่ใช่ญาณใดๆ ทั้งสิ้นเพราะจิตติดอยู่ในกามสุข เมื่อจากบ้านมาปฏิบัติ และต้องปฏิบัติอย่างเหน็ดเหนื่อยก็อยากกลับบ้านเป็นธรรมดา

แม้แต่นกกาหากินเหนื่อยอ่อนแล้ว ก็ยังอยากกลับรัง ทั้งที่มันไม่เคยมีญาณทัศนะใดๆเลย นิพพิทาญาณไม่ใช่อารมณ์เบื่อแบบโลกๆ แต่มันเป็นสภาพที่จิตหมดความเพลิดเพลินมัวเมาในภพหรืออารมณ์ต่างๆ

เพราะเห็นจริงแล้วว่าภพทั้งปวงเจือระคนด้วยทุกข์โทษ ในขณะที่คนทั่วไปเพลิดเพลินมัวเมาในภพ
คือจิตมีเยื่อใยยึดเกาะรุนแรงในอารมณ์ทั้งปวงที่จรมา

9. มุญจิตุกัมยตาญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ เป็นญาณอยากหนี อยากหลุด อยากพ้น จะมีความรู้สึกอึดอัดหรือแน่น บางทีก็มีแมลงหรือมดตัวโตๆมาไต่มาเกาะ ญาณที่ 2 - 3 จะเป็นแมลงตัวเล็ก พอถึงญาณที่ 9 ตัวโตแล้ว เช่นรู้สึกว่ามดง่ามหรือผึ้งเข้าไปในผ้าซิ่น กำลังนอนมืดๆ รู้สึกว่าแมลงสาปวิ่งเข้ามาไต่


ปริยัติธรรม ญาณอันคำนึงด้วยความใคร่จะพ้นไปเสียคือเมื่อหน่ายสังขารทั้งหลาย แล้วย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น


ความรู้จากการปฏิบัติ ความอึดอัดแน่นเกิดจากการที่ไปพยายามบังคับจิต ส่วนความรู้สึกว่าสัตว์มาไต่ตอมเป็นอาการของนิมิตเช่นกัน รวมความแล้วจนถึงญาณที่ 9 ก็ยังเป็นเรื่องของนิมิตอยู่นั่นเอง เพราะสิ่งที่ปฏิบัติบังคับจิตใจตนเองนั้น คือการทำสมถะเบื้องต้นทั้งนั้น ที่จริงญาณนี้เป็นปัญญาที่เมื่อหมดความเพลิดเพลินในอารมณ์ต่างๆแล้ว จิตจะมีปฏิกิริยาอยากจะข้ามพ้นภพชาติทั้งปวง คืออยากพ้นจากอารมณ์อย่างสิ้นเชิง จิตจะมีความเพียรพยายามค้นคว้าพิจารณา เพื่อพ้นเด็ดขาดจากอารมณ์ แต่ก็สามารถพ้นได้ชั่วคราว พออารมณ์หนึ่งแก้ไขได้ ก็มีอารมณ์ใหม่มาให้พิจารณาแก้ไขอีก เป็นช่วงที่จิตหมุนตัวติ้วๆ เพื่อหาทางออกจากภพ


10. ปฏิสังขาญาณ

คำสอนที่เผยแพร่
ญาณนี้มีความเข้มแข็ง ขยัน อดทน ตายเป็นตาย สู้ยิบตาเลยตั้งใจนั่งสมาธิ เดินจงกรม ความปิติต่างๆก็แก่กล้าขึ้น เดินเป็นชั่วโมงๆ ตัวก็เบา ญาณนี้จะรู้สึกเสียดายเวลาว่า น่าจะพบทางปฏิบัติตั้งนานแล้ว มีความเข้มแข็งสุขกายสุขใจ กายไม่เจ็บปวด จิตไม่เศร้าหมอง
 
ปริยัติธรรม ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทางคือเมื่อต้องการพ้นไปเสีย จึงกลับมายกเอาสังขารทั้งหลายทั้งปวงขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป
 
ความรู้จากการปฏิบัติ การที่จิตเข้มแข็งเดินจงกรมได้นานตัวเบา ก็เพราะปิติ อันเป็นผลของสมถะอีกเช่นกัน ในความเป็นจริง เมื่อจิตค้นคว้าพิจารณาที่จะออกจากภพหรือพ้นจากอารมณ์ปรุงแต่งด้วยอุบายต่างๆ มากมาย แต่ไม่สามารถพ้นไปได้ จิตจะค่อยๆ สังเกตเห็นว่า เราไม่สามารถดับอารมณ์ทั้งปวงได้ ตราบใดที่มันมีเหตุ มันก็ต้องเกิด เมื่อหมดเหตุมันก็ดับ อารมณ์ทั้งปวงหมุนเวียนเกิดดับไปตามเหตุปัจจัย

ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของเรา นั่นคือการเริ่มเห็นว่า อารมณ์ต่างๆ ไม่เที่ยง เป็นของทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวเราของเรา ไม่อยู่ในบังคับบัญชา ซึ่งก็คือเห็นไตรลักษณ์นั่นเอง

11. สังขารุเบกขาญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ ญาณนี้มีอะไรมากระทบพอเห็นหนอก็ดับ กระทบแล้วดับทันทีเป็นกิริยาของพระอรหันต์ วางเฉยต่อรูปนาม คนหนึ่งตาเหล่และหูหนวก ก็หาย ปัญญาอ่อนก็หายสามารถแต่งกลอนสดุดีแม่อย่างไพเราะ

ปริยัติธรรม
ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือเมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่ามีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกาะเกี่ยวกับสังขารเสียได้

ความรู้จากการปฏิบัติ
เรื่องหายหูหนวก ตาเหล่ หรือปัญญาอ่อนนั้น ก็พอเป็นได้ด้วยอำนาจของบุญที่อุตส่าห์ทำสมถภาวนา แต่ไม่ใช่เรื่องของสังขารุเบกขาญาณแต่อย่างใด เมื่อจิตพิจารณาเห็นว่าอารมณ์เป็นไตรลักษณ์ จิตจะรู้ความเกิดดับของอารมณ์ด้วยความเป็นกลางไม่ยินดียินร้าย สติ สมาธิ ปัญญา

ก็จะเข้มแข็งขึ้นตามลำดับ แต่ในขั้นนี้คงเห็นว่าอารมณ์เป็นไตรลักษณ์เท่านั้น แต่ตัวจิตเองยังรู้สึกเป็นตัวตนของตน ไม่เห็นเป็นไตรลักษณ์ไปด้วย ญาณนี้เป็นญาณที่สำคัญมาก หากจิตของผู้ปฏิบัติมีสัมปชัญญะคือรู้ตัว เป็นกลางและไม่เผลอเลื่อนไหลไปตามอารมณ์ มีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่กำลัง

ปรากฏ ตามที่มันเป็นจริง จิตจะเห็นอารมณ์ทั้งปวงผ่านมาแล้วผ่านไป เหมือนนั่งอยู่บนฝั่งน้ำเห็นสิ่งของลอยตามน้ำมา เป็นของดีของสวยเช่นดอกไม้บ้าง ของสกปรกเช่นสุนัขเน่าบ้าง แต่จิตก็เป็นกลางระหว่างทั้ง 2 สิ่งนั้น ไม่ยินดีกับดอกไม้ ไม่ยินร้ายกับสุนัขเน่า จิตรู้ว่าดอกไม้ลอยมาแล้วก็ต้องลอยไป สุนัขเน่าลอยมาแล้วก็ต้องลอยไป ไม่มีความอยากเจือปนว่า อยากให้ดอกไม้ลอยมาอีก หรือไม่อยากให้ดอกไม้ลอยตามน้ำไป แม้ความไม่อยากให้สุนัขลอยมาอีก หรือลอยมาแล้วอยากให้รีบลอยพ้นๆ ไป ก็ไม่มีเช่นกัน นี่คือสภาวะของการเจริญมหาสติปัฏฐานที่แท้จริง มันเกิดขึ้นโดยไม่ต้องข่มบังคับจิตให้เป็นกลาง ญาณนี้เป็นทางแยก ผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิจะก้าวล่วงเข้าสู่ความเป็นพระโพธิสัตว์ส่วนผู้ที่ปรารถนาสาวกภูมิ จิตจะดำเนินพัฒนาต่อไป

 
12. อนุโลมญาณ

คำสอนที่เผยแพร่ อนุโลมญาณมีมาแล้วตั้งแต่ญาณที่ 3 อย่างแก่ เป็นญาณพี่เลี้ยงมาเรื่อย คอยปลอบใจสอนใจให้อดทนต่อสู้กับความยากลำบากในการปฏิบัติ จะตั้งอกตั้งใจเรียกรวมพลคือโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เรียกว่ามรรคสมังคีอยู่ตรงนี้

ปริยัติธรรม ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์ คือการวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการรู้อริยสัจจ์ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปเป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ

ความรู้จากการปฏิบัติ
การปลุกปลอบใจหรือสอนใจตนเองเป็นความคิดหรือสังขารฝ่ายดีเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยกับอนุโลมญาณ และมรรคสมังคีก็ไม่ได้เกิดที่ตรงนี้ อนุโลมญาณนั้นเป็นสภาวะสืบต่อจากสังขารุเบกขาญาณ คือเมื่อจิตเป็นกลางรู้สังขารหรืออารมณ์ที่เกิดดับต่อเนื่องเฉพาะหน้าตามความเป็นจริงแล้ว จิตจะมาถึงอนุโลมญาณ คือหมดความดิ้นรนที่จะบรรลุมรรคผลนิพพานเพื่อให้พ้นจากอารมณ์ทั้งปวง สิ่งใดจะเกิดมันก็เกิด สิ่งใดจะดับมันก็ดับ ความอยากพ้นจากความเกิดดับไม่มีเลย มีแต่การอนุโลมยอมรับสภาพว่า สิ่งทั้งหลายเมื่อมีเหตุมันก็เกิด เมื่อหมดเหตุมันก็ดับ
28231  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / วิปัสสนาญาณ vs โสฬสญาณ เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 02:14:34 pm
ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด — insight; knowledge)

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปเป็นธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม — knowledge of the delimitation of mentality-materiality)

๒. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็นต้น — knowledge of discerning the conditions of mentality-materiality)
 
๓. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน — knowledge of comprehending mentality-materiality as impermanent, unsatisfactory and not-self)

๔-๑๒. ได้แก่ วิปัสสนาญาณ ๙

๑๓. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล — knowledge at the moment of the Change-of-lineage’)

๑๔. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น —knowledge of the Path)

๑๕. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ — knowledge of Fruition)

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่ — knowledge of reviewing)

ในญาณ ๑๖ นี้ ๑๔ อย่าง (ข้อ ๑-๑๓ และ ๑๖) เป็น โลกียญาณ, ๒ อย่าง (ข้อ ๑๔ และ ๑๕) เป็น โลกุตตรญาณ
 
ญาณ ๑๖ (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ ๑๖ นั่นเอง) ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้ มิใช่มาในพระบาลีเดิมโดยตรง พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมา โดยประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา
(พึงดู ขุ.ปฏิ.๓๑/มาติกา/๑-๒ = Ps.1  และ วิสุทธิ.๓/๒๐๖-๓๒๘ = Vism. 587-678)
________________________________________



วิปัสสนาญาณ ๙ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง — insight-knowledge)
 
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on rise and fall)

๒. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on dissolution)

๓. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น — knowledge of the appearance as terror)

๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์ — knowledge of contemplation on disadvantages)

๕. นิพพทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ — knowledge of contemplation on dispassion)

๖. มุญฺจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น — knowledge of the desire for deliverance)

๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป — knowledge of reflective contemplation)

๘. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร, คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้ — knowledge of equanimity regarding all formations)

๙. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป — conformity-knowledge; adaptation-knowledge)

ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเติม สัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ ๕ ตามแนวไตรลักษณ์ — Comprehension-knowledge) เข้ามาเป็นข้อที่ ๑ จึงรวมเป็น วิปัสสนาญาณ ๑๐ และเรียกชื่อญาณข้ออื่นๆ สั้นกว่านี้ คือ เรียก อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ


ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม ของ ท่าน ป.อ.ปยุตโต
28232  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ญาณใจน้อย กับ ญาณม้วนเสื่อ เป็นอย่างไงหนอ ??? เมื่อ: ธันวาคม 27, 2009, 01:57:50 pm
ญาณใจน้อย กับ ญาณม้วนเสื่อ เป็นอย่างไงหนอ ???

   ขออนุญาตช่วยคุณฟ้าใสสักเล็กน้อย
   ขอนำคำเทศนาเรื่อง “ลำดับโสฬสญาณ” ของพระธรรมธีรราชมหามุนี(โชดก  ญาณสิทธิ)
มาให้อ่าน  น้อยท่านนัก ที่จะทราบว่า  ท่านเป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐาน ให้กับสมเด็จย่า  ขอบอกก่อนว่าสำนวนโวหารที่ใช้ เป็นภาษาพูดพื้นๆ และได้ถอดเทปมาพิมพ์ 
   ตัวผมเองได้ทำการคัดลอกมาจากหนังสือ “ลำดับโสฬสญาณ”มาอีกทีหนึ่ง
   ท่านเทศน์สนุก  ขอเชิญทุกท่านหาความสำราญได้ ณ บัดนี้


ทีนี้ญาณที่ ๘ นิพพิทาญาณ ญาณนี้ไม่อยากเอาแล้วเบื่อ อาหารก็น้อย  นอนก็นอนหลับๆตื่นๆ เมื่อก่อนโน้นแต่งเนื่อแต่งตัว พอมาถึงญาณนี้เฉยๆ ปล่อยตามบุญตามกรรมเถอะ ก็แล้วแต่จิตใจ รู้สึกบอกบุญไม่รับแล้ว เคยเห็นคนที่รักก็ไม่ค่อยอยากพูดอยากจา อยากจะอยู่คนเดียวซึมๆ หน้าตาเหี่ยวแห้งบอกบุญไม่รับ

   สมเด็จพระราชชนนี  แม่ในหลวง เคยปฏิบัติกับอาตมา พอถึงญาณนี้ท่านคล้ายๆไม่อยากแต่งเนื้อแต่งตัว ใตรเห็นก็แปลกใจว่า ทำไมสมเด็จเป็นอย่างนี้ ที่จริงเป็นญาณนี้ เบื่อจริงๆ ข้าวปลาอาหารก็ทานน้อยอิ่มตื้อๆ เห็นคนที่เคยพูดเคยจาดี ก็ไม่อยากพูด อยากจะนั่งคนเดียว ใครขัดคอก็ไม่ค่อยได้  โกรธง่าย  เขาโขลกน้ำพริก แต่ก่อนอยู่ได้ พอวันนี้หนวกหู ไม่อยากฟังแล้ว พูดไม่ดี   บางทีแฟนไปเข้ากรรมฐาน  ผัวส่งข้าวเลยเวลาก็โกรธ หาว่าไม่ค่อยเอาใจใส่อะไรต่างๆ

   ญาณนี้ต้องรู้ใจกัน เขาเรียกว่า ญาณใจน้อย พอถึงญาณนี้ อาหารน้อย นอนน้อย พูดน้อย โกรธง่าย หงุดหงิด ใจคอไม่ดี เบื่อๆ  เขาเรียกนิพพิทาญาณ โกรธก็ง่าย นอนก็ไม่ค่อยหลับ แต่ก็ยังปฏิบัติอยู่นะ ทำก็ไม่ค่อยดีแต่ก็ทำ  อันนี้ไม่นาน จากญาณสี่จะมาชัดตรงนี้  อันเดิมนี่แหละ แต่ว่าแก่หรืออ่อนกว่ากันเท่านั้น อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน ถึงได้พวกเดียวกัน แต่แก่กว่ากันนิดหน่อย  เมื่อเบื่อแล้วก็เห็นว่า  แล้วมันจะได้อะไรหนอ ประโยชน์อะไรหนอ

   ญาณที่ ๙  มุญจิตุกัมยตาญาณ  อยากออก อยากหนี อยากพ้น คัน กระวนกระวาย เกาแล้วเกาอีก อะไรก็ไม่รู้ บางทีเหมือนเอาบุ้ง ตัวหนอนตัวใหญ่ๆ เข้าไปในเสื้อเรา บางทีก็ไม่มี บางทีก็คันเหมือนหมามุ่ย เหมือนตำแย เอ้...ใครเอาหมามุ่ยเอาตำแย มาคัน เณรน้อยมักบ่นอาจารย์ว่ามีอะไร  เอามุ้งไปตากก็ยังคันอยู่ เอาสบงจีวรไปฟอกก็ยังคันอยู่ อาจารย์นั่งหัวเราะ  เณรน้อยมาถึงญาณนี้ ญาณที่ ๙ กระวนกระวายใจ

   ถึงญาณนี้แหละ ใจไม่เอาแล้ว บางคนจะม้วนเสื่อม้วนหมอนจะกลับ มีโยมคนหนึ่ง(พูดว่า) “ท่านเจ้าคุณฉันจะกลับบ้าน”    เป็นไงโยมนั่งไม่ค่อยดี มันกระวนกระวายใจ เลยนึกว่าดิฉันหมดบุญวาสนาบารมีแล้ว คงทำไม่ได้หรอก กลับไปอยู่กับลูกหลาน  โยมอันนี้ต้องบอก  นี่ถึงญาณม้วนเสื่อแล้ว จวนแล้ว  ดีแล้วนะ  นี่แหละญาณม้วนเสื่อ ญาณที่ ๙ จวนแล้ว อย่ากลับ เอาเสื่อกลับไปคลี่ปฏิบัติต่อไปอีก

   มีฝรั่งคนหนึ่งมาปฏิบัติ อาตมาไปชลบุรีคืนหนึ่งกลับมา หอบเสื่อหอบหมอนไปนอนโรงแรมเอราวัณ ระหว่างนั่งคุยกันบอกว่า คุณวันดีถึงญาณม้วนเสื่อแล้ว  ให้รับกลับมาปฏิบัติต่อ  เวลาฟังเทศน์บันทึกไว้หมด  เลยหัวเราะชอบใจ เพราะตรงกันกับของแก่

   ไปอยู่อังกฤษก็มีผู้หญิงผู้ชายคนหนึ่งปฏิบัติถึงญาณนี้ อาตมาไปอบรมที่ประเทศลอนดอน แกเปิดหนีกลับบ้าน ต้องให้เจ้าคุณโสภณตามไปสอน ได้เอาบ้านเป็นที่ปฏิบัติกรรมฐานด้วย   คนนี้ดี

   บางทีก็เกิดสงสัย เอ้จะดีหรือเปล่า  ถูกหรือไม่ถูกหนอ  จิตมันก็คิดไปเรื่อย  นี่เขาเรียกว่าอวิชชา เป็นเหตุให้สร้างสังขารนี่แหละ ปฏิจจสมุปบาทเกิดชัด  มันเกิดอย่างนี้ แต่ผู้นั้นจะไม่รู้นะ

   พอถึงญาณนี้อาจารย์บอก   ไม่เปิดหนีแล้ว  ญาณนี้ดีแล้วต้องเพียรแล้ว   พอบอกกำลังใจมันก็เกิดขึ้น  กำลังใจเกิดขึ้นมันก็นึกว่าดี   แต่ก่อนนึก  ว่าไม่ดี   อาจารย์ชอบใจถ้าเป็นอย่างนี้   แต่ลูกศิยษ์ไม่ค่อยพอใจเพราะคิดว่าไม่ดี




ขอคอมเม้นต์เป็นพิธี

   ท่านหญิงที่ต้องการลดความอ้วน   ขอให้เร่งปฏิบัติให้ถึง นิพพิทาญาณ เร็วๆนะครับ
   
        ใครที่ชอบเที่ยว  อย่าได้อ้างญาณที่ ๙ เพื่อหนีเที่ยวนะครับ

         ผมไตร่ตรองอย่างรอบครอบ แล้วสรุปเอาเอง(อีกแล้ว) ว่า

        “นักโทษที่อยู่ในคุก มีญาณม้วนเสื่อ ด้วยกันทุกคน”

28233  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ได้เวลาตอบคำถามของ คุณสาธุครับ และคุณปกรณ์ เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:48:33 pm
ขออนุญาตตีกรอบแค่ ศีล ๕ นะครับ

ตอบคุณสาธุครับ

          ขอให้อ่านหัวข้อ องค์ของศีล ให้ดีนะครับ
เอาไว้เป็นเครื่องมือ ตัดสินว่าผิดศีลหรือไม่


ตอบคุณปกรณ์

      ขอตอบดังนี้ครับ

      เมื่อเราอาราธนาศีลแล้ว พลาดพลั้งทำอะไรที่คิดว่าผิดศีลลงไป
ให้นำองค์ของศีล(ตามข้อความด้านบน)มาวินิจฉัยว่า ศีลขาดหรือไม่
 
กรณีที่วินิจฉัยแล้วว่า ศีลขาด

      โดยความเห็นส่วนตัวผม  จะหาโอกาสอาราธนาใหม่ให้เร็วที่สุด
ในกรณีที่จิตตก ขาดกำลังใจ หดหู่ ผมจะพยายามวางเฉย หากิจกรรมอื่นๆทำ
เพื่อให้ลืมเรื่องนั้น แล้วอาราธนาใหม่อีกครั้ง

ในส่วนคำถามของคุณปกรณ์ที่ถามว่า

“.......ผิดศีล แล้วศีลขาด ขาดนานไหม”

    ผมขอแนะนำว่า “อย่าให้ความสำคัญมั่นหมายกับเวลาเลย
จะนานหรือไม่นาน ไม่ควรให้ค่ากับมัน จะทำให้คุณเครียดเปล่าๆ”

ครูบาอาจารย์หลายท่านแนะนำว่า ให้แบ่งเวลาแต่ละวันเป็นช่วงๆ

เช่น เราอาราธนาศีลตอนเช้า ตอนกลางวันเผลอไปพูดเท็จด้วยเหตุอะไรก็ตาม

สมมติว่า เราใช้เวลาพูดเท็จประมาณ ๓ นาที หลังจากนั้นก็ไม่ได้ทำอะไรที่ผิดศีลอีก
จนถึงเช้าของอีกวันหนึ่ง

     เราสามารถที่จะภูมิใจได้เลยว่า วันหนึ่งตั้ง ๒๔ ชั่งโมง เราทำผิดศีลแค่ ๓ นาทีเอง
นี่เป็นวิธีคิดบวก เพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวเองครับ


ฝากข้อคิดเอาไว้นิดหนึ่งว่า

“การอาราธนาศีล ไม่ว่าจะมีพยานรู้เห็นหรือไม่ เป็นการตั้งสัจจะอธิษฐานต่อตนเอง

 การละเมิดศีล เป็นการไม่ทำตามสัจจะอธิษฐาน

โทษอย่างหนึ่งของมันก็คือ กำลังใจจะถดถอยลงไป”


ท้ายนี้ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ
28234  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การถือศีล ได้บารมีหลายอย่าง เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:28:58 pm
          ศีลบารมี

          ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย  วันนี้ก็มาปรารภกันถึงบารมีที่ ๒ คือ ศีลบารมี วันก่อนได้พูดถึง ทานบารมี  มาแล้ว

          แต่ทว่าขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงอย่าลืม  คำว่าบารมี  บารมี  นี่แปลว่า กำลังใจ  ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า  “ท่านที่มีบารมีเต็มแล้วย่อมเป็นพระอรหันต์ได้ และเข้าถึงพระนิพพาน”  ก็จงเข้าใจว่า  คำนี้พระพุทธเจ้าหมายถึงว่า ท่านทั้งหลายมีกำลังใจเต็มที่จะทรงศีลบารมีให้ครบถ้วน

          คำว่า  ศีล  แปลว่า  ปกติ, บารมี  แปลว่า  เต็ม  ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงรักษาความปกติให้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์  อาตมาจะไม่พูดถึงลักษณะของศีลทั้งหมดจะพูดเฉพาะศีล ๕ ประการ

          แต่ว่าทั้งนี้ขอบรรดาท่านพระโยคาวจรทั้งหลายที่ปฏิบัติพระกรรมฐาน  หรือหวังดีตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็จงเข้าใจว่า คำว่า ศีล นี่แปลว่า ปกติ  แล้วก็ปกติท่านปฏิบัติอยู่ในศีลประเภทไหน เป็นศีล ๕ ก็ตาม ศีล ๑๐ ก็ตาม ศีล ๘ ก็ตาม ศีล ๒๒๗ ก็ตาม  จงรักษาความปกติของศีลประเภทนั้นไว้ให้ครบถ้วน อย่าให้ขาดตกบกพร่อง

          และอีกประการหนึ่ง  คำว่าศีลแปลว่าปกตินี้  เพราะปกติคนก็ดี สัตว์ก็ดี มีความพอใจตามนั้น  นี่ขอให้สร้างความเข้าใจตามนี้เข้าไว้  จะขอพูดเรื่องคำว่าปกติของศีลให้ฟังจะได้ง่ายต่อการปฏิบัติ  เอาเฉพาะ  ศีล ๕  จัดว่าเป็นศีล  ที่มีอันดับต่ำที่สุด  ศีล ๕ นี้  ปกติของบุคคลที่เป็นปุถุชนคนธรรมดามีความต้องการกัน แม้แต่สัตว์เดียรัจฉานก็ต้องการศีล ท่านอาจจะแปลกใจว่าทำไมอาตมาจึงพูดอย่างนั้น  อาจจะบอกว่าพระพุทธเจ้าไม่เคยเทศน์อย่างนี้

          ปกติของคนก็ดี  สัตว์ก็ดี ไม่ต้องการให้ใครมาทำร้ายร่างกาย  และก็ไม่ต้องการให้ใครมาทำลายร่างกายถึงกับสิ้นชีวิต  นี่ขอให้ท่านทั้งหลายถือความรู้สึกของท่านเป็นสำคัญว่า  ตัวท่านเองน่ะมีความรู้สึกอย่างนี้บ้างหรือเปล่า…?  ถ้าหากว่าท่านต้องการให้ใครเขามาฆ่าให้ท่านตายละก็โปรดแจ้งให้ทราบด้วย  จะได้ช่วยสงเคราะห์ให้เร็วเข้า  และถ้าท่านต้องการให้ใครเขาทรมานบีบคั้นร่างกายท่านให้เจ็บปวด  มีทุกขเวทนาอย่างหนักก็โปรดแจ้งให้ทราบด้วย

          ประการที่สอง  ท่านมีทรัพย์สมบัติอยู่แล้ว  ท่านต้องการให้ใครมายื้อแย่งทรัพย์สมบัติท่านหรือเปล่า….?  เอาตัวของท่าน เอาใจของท่านเป็นประกัน เป็นเครื่องยอมรับ หมายความว่าเอาตัวของท่านนี่แหละเป็นตัวยืน  เอาจิตใจของท่านเป็นจิตใจยืน  ท่านมีทรัพย์สมบัติทั้งหลาย  ท่านต้องการให้ใครเขามาลักเขามาขโมย มายื้อมาแย่ง มีบ้างไหม …?  เคยคิดบ้างหรือเปล่า…? ไม่มี  ถ้าคนไม่ไร้สติเขาตอบว่าไม่มี  ฉันหามาลำบาก

          และคนที่เรารัก เราต้องการให้ใครเขามายื้อแย่งความรักของเราไหม…?

          นี่ยามปกติถ้าเราจะพูดกันอย่างเป็นการเป็นงาน เราต้องการให้ใครเขามาโกหกมดเท็จเราบ้างหรือเปล่า…?

          ยามปกติเราต้องการให้ชาวบ้านเขาเห็นว่าเราเป็นคนบ้าไหม….?

          ไม่มี อาตมาพูดเองตอบเอง  ตอบได้  ตอบแทนท่าน  นี่ส่วนใหญ่กำลังใจของเรา   นอกจากว่าเราจะมีประสาทหรือว่าจิตวิปริตจึงจะคิดฝืนอารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ 
   
          อารมณ์ทั้ง ๕ ประการนี้ทั้งคนและสัตว์มีความปรารถนาเสมอกัน  ที่คนเรามีความรู้สึกว่าสัตว์เกิดมาเพื่อเป็นอาหารของตนนี่คิดด้วยความโง่เท่านั้น  ไม่ใช่ความฉลาด  อาตมาขอพูดตรงไปตรงมา  ถ้าสัตว์มันเกิดมาเพื่อเป็นอาหารของเรา  เวลาที่เราเดินเข้าไปหามัน  มันก็ต้องรับเดินเข้ามาหาเรา เต็มใจให้เรากินมันเป็นอาหาร หรือฆ่ามันมาเพื่อเป็นอาหารของเรา  แต่ทว่าสัตว์ทั้งหลายไม่ได้มีความคิดอย่างนั้น  ในเมื่อเราจะไปจับมันก็วิ่งหนี ปลาก็ว่ายน้ำหนี  นกก็บินหนี สัตว์เดินดินก็เดินหนี สัตว์เลื้อยคลานก็เลื้อยหนี  อาการที่หนีนี่แสดงว่าเขารักชีวิตของเขา  เขาไม่ต้องการให้เราไปทำลายชีวิตของเขา  ความรู้สึกของคนและสัตว์มีความรู้สึกเสมอกัน มีความต้องการแบบนี้เท่ากัน

          รวมความว่า  ปกติคนและสัตว์มีความประสงค์ในกฎ ๕ ประการเท่านั้น  พระพุทธเจ้าจึงเรียกกฎ ๕ ประการ  ว่า  ศีล  แปลว่า  ปกติ  คือว่าเป็นปกติที่คนและสัตว์ทั้งหมดต้องการ  คือไม่ต้องการให้ใครมาทำอันตรายกับเราแบบนั้น

          ไม่ต้องการให้ใครเขามาฆ่า   ไม่ต้องการให้ใครเขามาทำร้าย
          ไม่ต้องการให้ใครเขามาลักของขโมยของ  ยื้อแย่งของและทรัพย์สิน
          ไม่ต้องการให้ใครมายื้อแย่งความรัก
          ไม่ต้องการให้ใครโกหก
          ไม่ต้องการให้ใครเขาเห็นว่าเราเป็นคนบ้า

คำว่า  คนบ้า  ในที่นี้ก็ได้แก่ การดื่มสุราเมรัย  ของมึนเมา  อาการที่มึนเมาเข้าไปแล้ว  บรรดาท่านทั้งหลายมันก็ไม่ต่างอะไรกับคนบ้า ดีไม่ดีคล้ายสัตว์สี่เท้าเสียอีก  นอนเหมือนสัตว์ที่เท้า มีอาการเหมือนสัตว์สี่เท้าก็ยังทำได้

          นี่สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันไม่ใช่ปกติ  ปกติของมนุษย์แปลว่าใจสูง  ไม่ต้องการอย่างนั้น  นี่พูดถึง  ศีลบารมี  ถ้าเป็นพระ เป็นเณร หรือผู้รักษาอุโบสถ ก็ทรงอาการอย่างนั้นให้ครบถ้วนบริบูรณ์ให้มันเป็นปกติ

          ทีนี้การรักษาศีลให้เป็นปกติทำยังไง…?  ใน อุทิมพริกสูตร องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงตรัสกับนิโครธะปริพาชกว่า

          “สาวกของเราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง  ไม่แนะนำให้บุคคลอื่นทำลายศีล  และก็ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว” อาการอย่างนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท  ใจของท่านทรงได้แล้วหรือยัง…?

          ถ้าจะถามว่าปฏิบัติศีลแบบไหนเป็น ปรมัตถศีล  จึงจะ เข้าถึงพระนิพพานได้  ถ้าเราตอบกันไปแบบเล่นสำนวนก็ตอบกันได้แบบสบาย ๆ เมื่อไรมันก็ไม่จบ

          ถ้าเรามาสรุปตามแบบฉบับขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ที่ตรัสกับนิโครธะปริพาชกว่า

          “เราแนะนำบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของเรา (ในนั้นท่านเรียกกันว่า  ยามสี่ คือ ไม่มีสุรา และเวลานี้เรามาเทียบกันได้กับศีล ๕)  เราแนะนำแบบนี้ว่า

1.  เธอจงอย่าเป็นผู้ทำลายศีลด้วยตนเอง
2.  เธออย่ายุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล และก็
3.  ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว


          เราสอนแบบนี้  สาวกของเรารับฟังแล้วปฏิบัติตามเรา จึงประกาศผล และสาวกของเราจึงยอมรับผลว่าได้มรรคได้ผลสมความปรารถนา”

          นี่ว่ากันโดยใจความเป็นภาษาไทย ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายถามว่า  จะรักษาศีลอย่างไหนจึงจะเข้าถึงพระนิพพานได้…?  ก็ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัทยึดศีลข้อนี้เข้าไว้  แบบนี้นี่แหละ ๓ ประการ

          ถ้าจะถามว่า ถ้าเราปฏิบัติอยู่ในศีลบารมี ถ้ามีกำลังใจครบถ้วน เรามีทานบารมีควบด้วยหรือเปล่า…? อาตมาก็ต้องตอบว่ามี ที่มีก็คือ อภัยทาน เพราะคนที่จะมีศีลได้ต้องมี เมตตา  และมี  กรุณา  ทั้ง ๒ ประการ เราก็มีทาน การให้คืออภัยทาน ให้อภัยแก่บุคคลผู้ผิด เขารู้เท่าไม่ถึงการณ์

          เว้นไว้แต่ว่าบุคคลผู้มีเจตนาปฏิบัติผิดพระวินัย  หรือ ระเบียบกฎข้อบังคับ อย่างที่เป็นกฎข้อบังคับที่องค์สมเด็จพระสัมมาสุมพุทธเจ้าทรงวางไว้  พระองค์ก็ยังทรงลงโทษ ถ้าผิดแบบนี้เราไม่ให้อภัย เพราะเรามีความรักในเขา เรามีความสงสารในท่านผู้นั้น ถ้าไม่ลงโทษตามระเบียบวินัยก็จะปล่อยให้เขาเลวเกินไป เป็นอันว่าเราไม่รัก

          ตามคติโบราณท่านบอกว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี  ท่านว่าอย่างนั้น ถ้าวัวควายของเราถ้าไม่ผูกไว้มันก็จะอดหญ้าตาย ดีไม่ดีผู้ร้ายก็ขโมยเอาไปฆ่าหรือเอาไปทรมาน ก็จัดว่าเป็นการไม่รักวัวรักควาย  ถ้ามีลูกหญิงลูกชายเราปล่อยให้เหลิงกันไปตั้งแต่เด็ก  พอโตแล้วเอาไม่ไหว  ก็แสดงว่าเราไม่รักลูก ลูกเลวเราจะมาร้อนใจอะไร

          นี่ถ้าหากว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี  ท่านว่าอย่างนั้น  ถ้าเขาผิดระเบียบวินัย เราก็ต้องลงโทษ ถ้าหากว่าถ้าเป็นความผิดอย่างอื่นที่ไม่เสียหาย เราก็ให้อภัย  จัดเป็นอภัยทาน นี่รักษาศีลเราก็มีทานด้วย

          ในด้าน เนกขัมมะ เนกขัมมะ  นี่เขาเรียกว่า  ไม่มีการพยาบาท  ไม่โกรธไม่พยาบาท  ในเมื่อเรามีเมตตาเสียแล้ว  ไอ้ตัวโกรธตัวพยาบาทที่มันเนื่องไปด้วยกิเลสมันจะมีขึ้นมาได้ยังไง  นี่เรารักษาศีลเราก็มีเนกขัมมะ  บารมีมันรวมตัวกัน

          ถ้าจะถามว่ารักษาศีลมี ปัญญาบารมี  ควบด้วยไหม…? ก็ตอบได้ง่าย ๆ ว่า  คนโง่น่ะไม่มีใครเขารักษาศีล คนที่ทำลายศีลน่ะไม่ใช่คนฉลาด  เพราะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตน นี่คนที่รักษาศีลได้ครบถ้วนบริบูรณ์ก็เป็นคนมีปัญญาบารมีอยู่แล้ว ไม่ยาก  ไม่เห็นอะไรจะยาก

          ถ้าจะถามว่ารักษาศีลแล้ว  วิริยบารมี  ตามมาด้วยหรือ เปล่า…? ก็ต้องตอบว่ามี เพราะนิสัยเดิมของเราเป็นคนใจโหดร้าย ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต  คิดว่าสัตว์เป็นอาหารของเรา แต่เรางดเว้นเสีย ต้องหักห้ามอารมณ์แบบนี้เป็นต้น เราเคยยิงเนื้อยิงสัตว์ ทำลายชีวิตสัตว์ ทำลายร่างกายบุคคลอื่น เรางดไม่ทำ แทนที่จะใช้ความโหดร้ายเข้ามาประจำใจ เรากลับมีเมตตา กรุณา คือความรัก ความสงสารเข้ามาประจำ ฝืนอารมณ์เดิม หักห้ามอารมณ์เดิมเข้าไว้ กว่าจะทำได้มันต้องใช้เวลา นี่ต้องใช้ วิริยะ ความเพียร

          ถามว่า ขันติบารมี ล่ะมีไหม…?  อ๋อ… ก็การอดกลั้นยังไวล่ะ… สมมุติว่าท่านทั้งหลายที่อยากจะกินเหล้าเมาสุราเคยกินเหล้าเมาสุรามาแล้ว รักษาศีลอยากจะให้ศีลบริสุทธิ์มันมีความอยากเข้ามาก็ต้องอดเข้าไว้ กลั้นเข้าไว้คิดว่าเราจะเอาดี  หรือว่าคนที่ชอบเจ้าชู้ ลูกเขาเมียใคร ผัวเขาผัวใครไม่เลือก ชอบใจสัมผัสดะ เราก็ต้องใช้ขันติบารมีว่าเวลานี้เรารักษาศีล เราไม่ทำ ใช้ขันติเข้าควบ ใช้วิริยะ  ใช้ปัญญา

          ทีนี้ถามว่า ถ้าเราปฏิบัติแต่ศีลบารมีอย่างเดียว สัจจบารมี จะมีด้วยหรือเปล่า…? สัจจะนี่แปลว่า ความจริง ตั้งใจไว้โดยเฉพาะ เราเป็นคนจริง เราไม่ใช่คนหลอก เราจะรักษาศีลจริง ๆ เราไม่ได้รักษาศีลหลอก ๆ เราก็ต้องมีความจริงว่าเราจะไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดมุสาวาท ไม่ดื่มสุราเมรัย เราต้องมีความจริงใจว่า เราจะไม่ทำเองด้วย เราจะไม่ยุให้คนอื่นเขาทำ และจะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นเขาทำแล้ว ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส สัจจะคือความจริงตัวนี้  ต้องทรงอยู่เป็นปกติ ถ้าขาดสัจจะเมื่อไรศีลพังเมื่อนั้น เห็นหรือยังว่า สัจจบารมีก็มี

          ทีนี้ถ้าจะถามว่าถ้าเจริญศีลบารมีแล้ว  อธิษฐานบารมี มีไหม…?  อธิษฐานนี่มันตัวตั้งใจไว้แต่เดิมนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าความตั้งใจไม่ทรงอยู่ เปลี่ยนแปลงเมื่อไร ศีลพังเมื่อนั้น  ถ้าคิดว่าไม่เป็นไร จะกินเหล้าสักประเดี๋ยว ลาศีลนิดหนึ่ง เห็นไหม เวลานี้เราต้องการประโยชน์ ขอโกหกสักนิดเถอะ ลาศีลก่อน นี่ถ้าไร้อธิษฐานบารมีมันเป็นอย่างนั้น อธิษฐานบารมีตัวตั้งใจเดิม ต้องทรงไว้ว่าเราจะเป็นคนที่มีศีลบริสุทธิ์ มันต้องมี อธิษฐาน

          สำหรับ  เมตตาบารมี  ไม่ต้องพูดกัน เพราะการทรงศีลต้องมีเมตตาอยู่แล้ว  ถ้าไม่มีเมตตาศีลไม่มี

          เวลาที่เราจะรักษาศีล  อุเบกขาบารมี  ต้องมีไหมล่ะ…?  ก็ขอตอบได้ว่า อุเบกขาบารมีมันต้องมีซิ…อย่างชนิดที่เรียกว่าเราไม่ทำร้ายเขา แต่เขากลั่นแกล้งเรา เราก็อดไว้ ใจมัยอยากจะสู้  ใจมันอยากจะสู้เขา ใจมันอยากจะทำร้ายเขาต้องใช้ ขันติ ความอดทน วิริยะ คุมเข้าไว้  ปัญญา คอยห้ามปราม สัจจะ ทรงตัวเข้าไว้ บอกไม่ได้ เราตั้งใจไว้แล้ว  อธิษฐาน  ทรงจิตเข้าไว้ว่าปักหลักนิ่งเข้าไว้แล้วจะทำเขาไม่ได้ อุเบกขา เลยต้องพยายามทรงตัว  ยืนเฉยเข้าไว้ อะไรมันจะมาที่มันจะเป็นอันตรายเป็นเครื่องทำลายศีล เรายืนเฉยเข้าไว้

          เฉยทำไม…?  เพราะเราต้องการ พระนิพพาน  เราไม่ต้องการความเกิดอีก  เราจะปิดกั้นความเกิด เราต้องมีอุเบกขา อุเบกขาตัวนี้ความจริงในด้านบารมีนี่เป็นตัวสูงมาก แต่เราจะเอาไว้พูดกันในคราวหลัง บารมีนี่จะพูดกันมากก็คงไม่มีกี่บารมีนัก

          นี่เราจะเห็นได้ว่าการบำเพ็ญบารมีอย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องมีบารมีอีก ๙ อย่าง มาประกอบเข้าเป็นเครื่องประดับหรือเป็นเครื่องประคับประคองหมดทั้ง ๙ อย่าง รวมเป็น ๑๐ อย่างด้วยกัน
          นี่เป็นอันว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายที่มีความเข้าใจว่า  บารมีของเรายังไม่ครบถ้วน ยังบกพร่อง  หรือว่า เราเป็นคนไม่มีบารมีเลย  ก็จงทราบว่า  บารมีน่ะมีอยู่ องค์สมเด็จพระบรมครูไม่ได้กีดไม่ได้กันเรื่องบารมี  ทุกคนมีบารมีได้ พระพุทธเจ้าก็ทรงแจกบารมีให้แก่บรรดาท่านพุทธบริษัท คำว่า แจก ก็หมายถึงว่า การแนะนำ  ไม่ใช่ยกบารมีส่วนตัวมาแจกแก่บรรดาท่านพุทธบริษัท นี่มันแจกกันไม่ได้ เพราะอะไร  เพราะมันเป็นกำลังใจของแต่ละคน

          มีหลายท่านด้วยกันเคยมาหาอาตมา บอกว่าอยากจะขอบารมีให้ช่วยสงเคราะห์ให้ตัวของท่านดีขึ้น แต่เพื่อความสุขของท่านผู้นั้น  อาตมาก็บอกว่า “สาธุ ดีแล้วอาตมาจะสงเคราะห์ในการแบ่งปันบารมีให้”  ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ว่าทำได้หรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท เพื่อเป็นการรักษากำลังใจของท่านผู้พูด  ความจริงบารมีมันอยู่ที่ตัวท่านแล้ว  แต่ทว่าถ้าเราขาดกำลังใจเสียอย่างเดียว ทุกอย่างมันก็ทำไม่ได้ ถ้าท่านทั้งหลายพวกนั้นยังมีความรู้สึกอยู่ว่า ตัวท่านเองเป็นผู้ไม่มีบารมี ท่านก็จะขาดกำลังใจ

          ในเมื่อท่านมาขอบารมีก็บอกว่า เอ้า! ให้ สงเคราะห์ให้ เต็มใจให้ รับก็แล้วกัน อาตมาพร้อมที่จะมอบให้เสมอ เมื่อเวลามอบให้ท่านก็คือมอบกำลังใจ เพราะว่าถ้าเราไม่ให้กำลังใจท่านผู้นั้น ท่านผู้นั้นก็จะไม่ทรงความรู้สึกว่าท่านมีกำลัง

          ทีนี้เมื่อรับฟังอย่างนี้แล้วท่านอาจจะคิดว่าอาตมาน่ะช่วยได้ สามารถจะสงเคราะห์ให้ท่านเป็นผู้มีบารมีสูงสุดได้ ก็จะเกิดกำลังใจขึ้นมาว่าเราได้พระช่วยแล้ว นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านทั้งหลายถ้าเคยฟังมาก็อาจจะคิดว่าอาตมานี่เป็นผู้แจกบารมีได้เก่ง แต่คงจะไม่เป็นเช่นนั้น

          มีหลายท่านด้วยกันมากัน  บางทีหลาย ๆ ท่านมักจะมา  พอถามว่า “มาทำไม”  บอกว่า
“มาชมบารมี”  คำนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท  ฟังแล้วก็ไม่สะดุดใจอะไร  แต่ทว่าท่านทั้งหลายเราคิดกันใหม่ดีกว่า  บารมีของใครไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่บารมีของเรา  เราตั้งใจจะเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่นิพพาน  แล้วก็สร้างบารมีของเราให้ครบถ้วน  คือกำลังใจ  ตั้งใจไว้

          โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานี้พูดเฉพาะ ศีลบารมี  เราพยายามทรงศีลของเราให้บริสุทธิ์  ระมัดระวังทุกสิกขาบท อย่าลืมว่า ท่านเป็นปุถุชนคนธรรมดา มีศีล ๕ ต้องบริสุทธิ์ ถ้าท่านยังบอกว่าจำเป็นจะต้องละเมิดอย่างโน้นข้ามอย่างนี้  ก็ถือว่าท่านไม่พร้อมที่จะแสวงหาความดี

          ท่านที่รักษาอุโบสถ  เป็นสามเณร  เป็นภิกษุ  จงถือสิกขาบททุกสิกขาบทยิ่งกว่าชีวิต  จงคิดว่าถ้าเราบกพร่องในสิกขาบทหนึ่ง นั้นคือศีลของเราพังไปเสียแล้ว เราเองก็ถือว่าไม่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  จะเป็นยังไงล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัทก็เราฝ่าฝืนพระพุทธบัญญัติที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ ให้ปฏิบัติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งศีลนี่เป็นกฎข้อบังคับว่าเราจะต้องทำ ถ้าไม่ทำแล้วเราจะทรงตัวเป็นพุทธสาวกไม่ได้

          ถ้าสรุปรวมความแล้ว  หากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายทรงกำลังใจ 3 ประการครบถ้วน คือ

๑.  เราจะไม่ทำลายศีลด้วยตนเอง
๒.  เราจะไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลใดทำลายศีล
๓.  เราจะไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว


          เท่านี้เป็นที่พอใจขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ชื่อว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายเป็นผู้มีศีลบารมีครบถ้วนเต็มจำนวนที่พระพุทธเจ้าต้องการ

          ถ้าท่านมีศีลครบถ้วน บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้เข้าถึง สรณคมน์ ตามนิยมของพระพุทธศาสนา  คนประเภทนี้จะลงอบายภูมิไม่ได้ อย่างเลวก็เกิดเป็นมนุษย์ แต่ว่าเป็นมนุษย์ชั้นดี  มีรูปร่างหน้าตาสวย มีความเฉลียวฉลาด มีทรัพย์สมบัติเยือกเย็น มีคนใต้บังคับบัญชาก็ตั้งอยู่ในโอวาท บริวารตั้งอยู่ในโอวาท มีวาจาเป็นสัจจะ มีวาจาเป็นทิพย์ พูดอะไรใครก็ชอบ ไม่ขาดสติสัมปชัญญะ

          เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัท  ว่ากันมาถึงเรื่องศีล และการประกอบของบารมีอื่นกับศีล  ก็พอสมควรแก่เวลา  สำหรับวันนี้ก็ขอยุติเรื่องศีลไว้แต่เพียงเท่านี้  ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล  จงมีแต่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน สวัสดี

ที่มา   www.praratanatrai.com
(เป็นการเทศน์ของ ลพ.ฤาษีลิงดำ)
28235  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ศีลจะขาดหรือไม่ ให้นำองค์ของศีลมาวินิจฉัย เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:17:23 pm
คำสมาทานศีล 5 (เพื่อการถือเอาศีลมาถือปฏิบัติ)
 
          1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
           (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และใช้ผู้อื่นให้ฆ่า)
 
          2. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
           (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และใช้ให้ผู้อื่นลัก)
 
          3. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
          (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม)
 
          4. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
          (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ และพูดคำหยาบ)
 
          5. สุรา เมระยะ มัชชะ ปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
          (ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือ เจตนาเครื่องงดเว้นจากการดื่มสุราเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท)

7.4 ธรรมที่เกื้อกูลต่อการรักษาศีล


          การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ได้นั้น สำหรับปุถุชนคนธรรมดา ซึ่งต้องอยู่ท่ามกลางสิ่งล่อลวงใจ หรือบางคนตกอยู่ในภาวะที่ขัดสน หรือแม้แต่อยู่ในที่ลับปราศจากการรู้เห็นของผู้คน นับเป็นเรื่องที่ยากต่อการจะหักห้ามใจไม่ให้ล่วงละเมิดศีลได้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร การรักษาศีลก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเหลือวิสัยที่จะ ทำได้นัก ขอเพียงแค่เรามีความตั้งใจจะทำจริง ก็ย่อมจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้อย่างแน่นอน

          7.4.1 หิริ โอตตัปปะ เหตุแห่งการรักษาศีล
 
          การที่จะสามารถรักษาศีลให้ได้นั้น จะต้องมีคุณธรรมประจำใจที่สำคัญคือ หิริ และโอตตัปปะ
 
          เพราะ หิริ คือ ความละอายใจต่อการทำชั่ว สิ่งใดก็ตาม หากเป็นความชั่วเลวทราม จะไม่กล้าคิด ไม่กล้าพูด ไม่กล้าทำ ด้วยความที่รังเกียจ และขยะแขยง เห็นเป็นสิ่งสกปรก
 
          ส่วน โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว เมื่อรู้ว่าการทำความชั่วจะมีผลร้ายตามมา จึงเกรงกลัวอันตรายของความชั่ว ราวกับคนกลัวงูพิษ
 
          เมื่อ หิริ และ โอตตัปปะ เป็นคุณธรรมที่ทำให้เกลียดกลัวความชั่วเช่นนี้ ผู้มีหิริ โอตตัปปะ เป็น ธรรมประจำใจ ย่อมมีศีลบริสุทธิ์เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน อย่างไร จะต่อหน้าหรือลับหลังใคร ก็จะไม่ยอมให้ ความชั่วใดๆ มาแปดเปื้อนเลย ดังเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล่าแก่ภิกษุทั้งหลายในสีลวีมังสชาดก ว่า

                                                            สีลวีมังสชาดก

           ครั้งหนึ่ง พระภิกษุ 500 รูป ณ วัดเชตวัน ได้เกิดกามวิตกขึ้นในยามค่ำคืน ต่างคิดถึงความสุขที่เกิดจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่เคยพบมา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้ทิพยจักขุญาณตรวจดูวาระจิตของภิกษุเหล่านั้นด้วย ความห่วงใย ดุจบิดามารดาห่วงใยบุตร ทรงเล็งเห็นทุกข์ภัยที่จะเกิดขึ้นแก่ภิกษุเหล่า นั้น จึงโปรดให้พระอานนท์ จัดการให้พระภิกษุเหล่านั้นมาประชุมพร้อมกัน แล้วพระพุทธองค์จึงตรัสว่า
   
                    " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ลับย่อมไม่มีในโลก บัณฑิตในกาลก่อน  เห็นอย่างนี้แล้ว จึงไม่ทำบาปกรรม"

          จากนั้นพระพุทธองค์จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาแสดงแก่ภิกษุเหล่านั้น
 
          เมื่อครั้งที่พระเจ้า พรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้นเจริญวัยก็ไปศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยา ในสำนักอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงแห่งกรุงพาราณสี และได้เป็นหัวหน้าของมานพ 500 คน ซึ่งเล่าเรียนอยู่ในสำนักเดียวกัน 
          ท่านอาจารย์มีธิดาผู้กำลังเจริญวัย ซึ่งท่านคิดจะยกให้กับมานพผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ท่านจึงคิดจะทดสอบการรักษาศีลของมานพเหล่านั้นดู
          อาจารย์จึงเรียกมานพทั้งหลายมา แล้วกล่าวว่า
   
          "ธิดาของเราเจริญวัยแล้ว เราจะจัดงานวิวาห์ให้แก่นาง จึงจำเป็นต้องใช้ผ้า และเครื่องประดับต่างๆ พวกเธอจงไปขโมยผ้าและเครื่องประดับจากหมู่ญาติของเธอมา โดยอย่าให้ใครเห็น เราจะรับเฉพาะผ้าและเครื่องประดับที่ขโมยมาโดยไม่มีใครเห็นเท่านั้น ของที่มีคนเห็นเราจะไม่รับ"
 
          มานพทั้งหลายรับคำ แล้วก็ไปขโมยของจากหมู่ญาติของตนโดยไม่ให้ใครเห็น จากนั้นก็นำมามอบ ให้กับอาจารย์ คงมีเพียงพระโพธิสัตว์เท่านั้น ที่ไม่นำสิ่งใดมาเลย อาจารย์จึงถามพระโพธิสัตว์ว่า
 
          "เธอไม่นำสิ่งใดมาเลยหรือ"
 
          พระโพธิสัตว์จึงตอบว่า

          "ครับ อาจารย์"
 
          เมื่ออาจารย์ถามถึง เหตุผล พระโพธิสัตว์จึงตอบว่า "เพราะว่าอาจารย์จะรับเฉพาะของที่เอามา โดยไม่มีใครเห็น ผมคิดว่าไม่มีการทำบาปใดๆ จะเป็นความลับไปได้เลย"
 
          แล้วพระโพธิสัตว์จึงกล่าวพระคาถาว่า
       
                    "ในโลกนี้ ย่อมไม่มีที่ลับแก่ผู้กระทำบาปกรรม ต้นไม้ที่เกิดในป่า
            ยังมีคนเห็น คนพาล ย่อมสำคัญผิด คิดว่าบาปกรรมนั้นเป็นความลับ
            ข้าพเจ้าย่อมไม่เห็นที่ลับ แม้ที่ว่างเปล่าก็ไม่มี ในที่ใดว่างเปล่า ถึงแม้
            ข้าพเจ้าจะไม่เห็นใคร ที่นั้น ย่อมไม่ว่างเปล่าจากตัวข้าพเจ้า"

          เมื่ออาจารย์ได้ฟังดังนั้นก็เกิดความรู้สึกเลื่อมใสในตัวพระโพธิสัตว์ยิ่งนัก จึงกล่าวกับพระโพธิสัตว์ว่า
   
          "ดูก่อนพ่อ ในเรือนของเราไม่มีทรัพย์สินอะไร แต่เรามีความประสงค์จะมอบธิดาของเราให้แก่ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยศีล เราต้องการทดสอบมานพทั้งหลาย จึงได้ทำอย่างนี้ และธิดาของเราเหมาะสมกับท่าน เท่านั้น แล้วจึงประดับตกแต่งธิดามอบให้แก่พระโพธิสัตว์ พร้อมทั้งกล่าวกับมานพทั้งหลายว่า
   
          "สิ่งของที่พวกเธอได้นำมา จงนำกลับไปคืนยังเรือนของพวกเธอเถิด"
 
          ครั้นพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าแสดงพระธรรมเทศนานี้จบลง  ภิกษุเหล่านั้นจึงเกิดความละอายและเกรงกลัวบาปอกุศล ต่างรักษาสติอยู่ในธรรมจนกระทั่งจิตเป็นสมาธิ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทราบว่าจิตของภิกษุเหล่านั้นเป็นสมาธิดีแล้วจึงทรงประกาศอริยสัจ ในเวลาจบอริยสัจนั้นเอง ภิกษุทั้ง 500 รูปได้ตั้งอยู่ในพระอรหัต
 
          พระโพธิสัตว์สามารถรักษา ศีลได้อย่างหมดจดงดงามทั้งที่ท่านเป็นเพียงคนธรรมดาสามัญ เป็นมานพผู้อ่อนเยาว์อยู่ในวัยเล่าเรียน ทั้งยังต้องตกอยู่ในภาวะบีบคั้น อันเนื่องมาจากคำสั่งของผู้เป็นอาจารย์ แต่ท่านกลับเลือกที่จะทำในสิ่งที่สวนทางกับสังคมคนรอบข้างอย่างไม่หวั่นไหว ทั้งนี้เพราะท่านมีหิริ โอตตัปปะ อยู่ในใจ จึงไม่ยอมให้สิ่งใดมาเป็นข้ออ้าง หรือเงื่อนไขให้กระทำผิดศีลได้เลย
 
          ผู้รักษาศีลด้วย หิริ โอตตัปปะ จึงรักษาได้อย่างมั่นคง และรักษาด้วยความจริงใจโดยไม่ต้อง ให้ใครมาดูแลกำกับ
 
          ตรงข้ามกับผู้ที่ปราศจาก หิริ โอตตัปปะ นอกจากจะเป็นผู้ไม่ขวนขวายในการสมาทานศีลแล้ว ยัง เป็นผู้ที่ล่วงละเมิดศีลได้ง่าย ไม่ว่าเวลาใด หรือในที่แห่งใด ไม่ล่วงในที่แจ้ง ก็ล่วงในที่ลับ เพราะไม่มี หิริ   โอตตัปปะ คอยดูแลกำกับนั่นเอง
 
          ดังคำกล่าวที่ว่า
 
          "เมื่อมีหิริ และโอตตัปปะอยู่            ศีลก็เกิดขึ้น และตั้งอยู่ได้
           เมื่อไม่มีหิริ และโอตตัปปะ            ศีลก็ไม่เกิดขึ้น และตั้งอยู่ไม่ได้
 
          หิริ โอตตัปปะ จึงเป็นธรรมะที่สร้างสรรค์สังคมให้ร่มเย็นเป็นสุข ให้ทุกชีวิตปลอดภัย ได้พบ แต่สิ่งที่ดีงาม มีความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งในชาติปัจจุบัน และสัมปรายภพ

          การเกิดหิริ
 
          แม้ว่า หิริ โอตตัปปะ จะเป็นธรรมะที่สูงส่งถึงเพียงนี้ แต่กลับเป็นธรรมะที่สร้างสมขึ้นได้ ด้วยวิธีง่ายๆ กล่าวคือ
 
          หิริ ความละอายต่อบาป เกิดขึ้นด้วยการพิจารณาถึงฐานะของตนเอง 4 ประการ คือ
 
          1. พิจารณาถึงชาติกำเนิดของตนเองว่า ตัวเราเกิดในตระกูลที่ประกอบอาชีพสุจริต เราจึง ไม่ควรผิดศีล เลี้ยงชีพในทางที่ผิด ให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล
 
          2. พิจารณาถึงอายุของตน เองว่า คนมีอายุเช่นเรา ได้รับการสั่งสอนอบรมมาแล้ว ทั้งยังได้เรียน รู้จากประสบการณ์ชีวิตว่า อะไรดี อะไรชั่ว ถ้าเรายังผิดศีล ก็เสียทีที่มีอายุมากเสียเปล่า แต่ไม่มีสติปัญญา ตักเตือนตนเองเสียเลย

          3. พิจารณาถึงความกล้าหาญของ ตนเองว่า ตัวเราต้องมีความกล้าหาญ ตั้งใจมั่นอยู่ในคุณความดี บำเพ็ญประโยชน์เพื่อตนเอง และผู้อื่น ต่างจากผู้ที่ทำผิดศีล เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อน เพราะมีจิตใจอ่อนแอ ตกอยู่ในอำนาจของกิเลส
 
          4. พิจารณาถึงความเป็นพหูสูตของ ตนเองว่า ตัวเรานั้นเป็นผู้ศึกษาธรรมะมามาก มีหลัก ธรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เราจึงควรเป็นผู้มีศีล มีการกระทำอันงาม ต่างจากคนพาลซึ่งทำบาปอกุศล เพราะไม่มีหลักธรรมใดๆ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

          การเกิดโอตตัปปะ
 
          โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป เกิดขึ้นได้เพราะกลัวว่าตนเองจะเดือดร้อนในภายหลัง จากภัย 4 ประการ คือ
 
          1. ภัยเพราะติเตียนตนเอง เมื่อทำผิดศีล เราย่อมรู้สึกเดือดร้อน กระวนกระวายใจในภายหลัง เพราะนึกติเตียนตนเองที่ทำในสิ่งไม่สมควร
 
          2. ภัยจากการที่ผู้อื่นติเตียน เมื่อบัณฑิต ได้รู้ถึงการกระทำที่ผิดศีลของเรา เขาย่อมติเตียนว่า เราเป็นคนพาล เป็นผู้กระทำบาปกรรม เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อน
 
          3. ภัยจากอาชญา เมื่อเราผิดศีลจนเป็นผลให้ผู้อื่นเดือดร้อน ย่อมต้องถูกลงโทษจากกฎหมาย บ้านเมือง ได้รับความเดือดร้อนตอบแทนกลับมา
 
          4. ภัยในทุคติ การผิดศีล ย่อมจะนำเราไปสู่อบายภูมิ มีนรก สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ทำให้ต้องประสบทุกข์ภัยเป็นอันมากในภพชาติเบื้องหน้า เมื่อละจากโลกไปแล้ว
 
          ด้วยวิธีการหมั่นฝึกคิด พิจารณาเช่นนี้ ในที่สุด หิริ โอตตัปปะ จะเกิดขึ้นในใจของเราอย่างแน่นอน และเมื่อนั้นการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ย่อมไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป


บทสรุปอานิสงส์ของศีล


          อานิสงส์ของศีล สามารถกล่าวโดยสรุปได้เป็น 3 ข้อใหญ่ ได้ดังนี้
 
                    "สีเลนะ  สุคะติง  ยันติ
                     สีเลนะ  โภคะสัมปะทา
                     สีเลนะ  นิพพุติง  ยันติ
                     ตัสมา  สีลัง  วิโสธะเย" 


          มีความหมายดังต่อไปนี้
 
          1. สีเลนะ สุคะติง ยันติ แปลว่า ศีลทำให้ไปสู่สุคติ 
 
          2. สีเลนะ โภคะสัมปะทา  แปลว่า ศีลทำให้มีโภคทรัพย์
 
          3. สีเลนะ นิพพุติง ยันติ  แปลว่า ศีลทำให้ไปพระนิพพาน 


          โดยเฉพาะในข้อ 3 นี้ หมายความว่า ศีลมีส่วนทำให้ไปถึงพระนิพพานได้ ถ้าไม่มีศีลก็ไปพระ-นิพพานไม่ได้ และพระนิพพานมีความหมายเป็น 2 นัย ด้วยกัน คือ
 
          1. พระนิพพานขั้นต้น หมายถึง คนที่มีศีลย่อมเกิดความสบายใจ จะอยู่ที่ใดก็สงบร่มเย็นเป็นสุข
 
          2. พระนิพพานขั้นสูง หมายถึง ศีลทำให้ผู้รักษาหมดกิเลส ผู้ที่หมดกิเลสย่อมได้ไปพระนิพพานทั้งสิ้น


ที่มา   http://main.dou.us/view_content.php?s_id=383
28236  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ศีลจะขาดหรือไม่ ให้นำองค์ของศีลมาวินิจฉัย เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:13:51 pm
          องค์แห่งการประพฤติผิดในกาม
 
          การประพฤติผิดในกามต้องประกอบด้วยองค์ 41 คือ
 
          1. หญิงหรือชายที่ไม่ควรละเมิด
 
          2. มีจิตคิดจะเสพเมถุน
 
          3. ประกอบกิจในการเสพเมถุน
 
          4. ยังอวัยวะเพศให้ถึงกัน

          หญิงที่ต้องห้าม มี 3 จำพวก
 
          1. หญิงมีสามี
 
          2. หญิงที่อยู่ในความปกครองดูแลของบิดามารดาหรือญาติ
 
          3. หญิงที่ประเพณีหวงห้าม เช่น หญิงที่กฎหมายหวงห้าม หญิงนักบวช

          ชายที่ต้องห้าม มี 2 จำพวก
 
          1. ชายที่ไม่ใช่สามีของตน
 
          2. ชายที่ประเพณีหวงห้าม เช่น นักบวช
         
          การประพฤติผิดในกาม มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ   
          1. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
 
          2. ความแรงของกิเลส
 
          3. ความเพียรพยายามในการประพฤติผิดในกามนั้น

          7.2.4 การพูดเท็จ

          องค์แห่งการพูดเท็จ
          การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
 
          1. เรื่องไม่จริง
 
          2. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
 
          3. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
 
          4. คนฟังเข้าใจความที่พูดนั้น

          ลักษณะของการพูดเท็จ การพูดเท็จ มี 7 ประการ คือ
 
          - การพูดปด ได้แก่ การโกหก
 
          - การสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อด้วยการสาบาน
 
          - การทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง
 
          - มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง
 
          - ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด
 
          - พูดเสริมความ ได้แก่ การเสริมให้มากกว่าความเป็นจริง
 
-   พูดอำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน


          การพูดอนุโลมการพูดเท็จ มี 2 ประการ คือ
 
          1. อนุโลมพูดเท็จ คือ เรื่องที่ไม่จริง แต่พูดโดยมีเจตนาให้คนอื่นเชื่อถือ ได้แก่
 
          - เสียดแทง เป็นการว่าผู้อื่นให้เจ็บใจ เช่น การประชด การด่า
 
          - สับปลับ เป็นการพูดปดด้วยความคะนองปาก
 
          2. ปฏิสสวะ คือ การรับคำของผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจไม่ทำตามที่รับนั้น ได้แก่
 
          - ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตาม ที่สัญญาไว้
 
          - เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตย์ไว้ แต่ภายหลังได้บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น
 
-   คืนคำ คือการรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่



                    ยถาสัญญา คือ การพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ ถือว่าไม่ผิดศีล มี 4 ประการ
 
          1. พูดโวหาร ได้แก่ การพูดหรือเขียนตามธรรมเนียม เช่น ขอแสดงความเคารพอย่างสูง ซึ่งใจจริงอาจไม่เคารพ เลยก็ได้ เช่นนี้ถือว่าไม่ผิดศีล
 
          2. การเล่านิทานหรือนิยายให้ผู้อื่นฟัง หรือแต่งเรื่องขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละคร หรือภาพยนตร์
 
          3. การพูดด้วยความเข้าใจผิด
 
          4. การพูดเพราะความพลั้งเผลอ

                    การพูดเท็จ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
 
          1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
 
          2. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
 
          3. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น
 
          - คฤหัสถ์ที่โกหกว่า "ไม่มี" เพราะไม่อยากให้ของของตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยาน เท็จมีโทษมาก
 
          - บรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน "รู้เห็น" ในคุณวิเศษที่ตนไม่รู้ไม่เห็นมีโทษมาก

          7.2.5 การดื่มน้ำเมา

          องค์แห่งการดื่มน้ำเมา
 
          การดื่มน้ำเมาต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
 
          1. น้ำที่ดื่มเป็นน้ำเมา
 
          2. มีจิตคิดจะดื่ม
 
          3. พยายามดื่ม
 
          4. น้ำเมานั้นล่วงพ้นลำคอลงไป

          การดื่มน้ำเมา มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 
          1. อกุศลจิตหรือกิเลสในการดื่ม
 
          2. ปริมาณที่ดื่ม
 
          3. ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาด ชั่วร้าย ที่ตามมาจากการดื่มน้ำเมา
 
          - สุรา ได้แก่ น้ำเมาที่ถูกกลั่นให้มีรสชาติเข้มข้น เช่น เหล้าต่างๆ
 
          - เมรัย ได้แก่ น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น เช่น เหล้าดิบ กระแช่ น้ำตาลเมา ฯลฯ
 
          นอกจากนี้ การงดเว้นจากการเสพสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน รวมถึงวัตถุทุก ชนิดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ก่อให้เกิดความมึนเมา ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนได้ ก็รวมอยู่ในศีลข้อนี้เช่นกัน
 
          จากความรู้ในเรื่อง องค์วินิจฉัยศีล เราจะสามารถตอบข้อสงสัยได้ว่า การกระทำใดเป็นการกระทำที่ผิดศีล ทำให้ศีลขาด ทะลุ ด่าง หรือพร้อย ตัวอย่างเช่น การที่เราไล่ยุง แล้วบังเอิญทำให้ยุงตาย โดยที่เรามิได้มีจิตคิดจะฆ่ายุงเลย อย่างนี้เรียกว่ายังไม่ผิดศีล ศีลยังไม่ขาด เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ครบ องค์ 5 ของการฆ่าสัตว์
 
          อย่างไรก็ตาม การละเมิดศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง หรือศีลพร้อย หากเกิดขึ้นด้วยเจตนาที่จะล่วงละเมิด แม้ว่าบางกรณีศีลจะยังไม่ขาดก็ตาม แต่บาปได้เกิดขึ้นมาในใจ เป็นเหตุให้ใจต้องเศร้าหมอง และหากละเมิดศีลในกรณีที่เกิดโทษมาก เป็นบาปมาก คุณภาพใจจะยิ่งถูกทำลายให้เศร้าหมองมากยิ่งขึ้น เราจึงควรศึกษาในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้การรักษาศีลของเรา เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจ อันจะนำมาซึ่งการรักษาใจได้อย่างบริสุทธิ์ สะอาด ไม่เดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง

7.3 วิธีการรักษาศีล

          การรักษาศีลสามารถกระทำ ได้อย่างง่ายๆ  โดยมีเจตนาหรือมีความตั้งใจจะรักษาศีล  ละเว้นความชั่วทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ โดยระลึกนึกถึงศีลไปทีละข้อ ด้วยความรู้สึกว่า จะพยายามรักษาศีลแต่ละข้อนั้นให้ดี เพียงเท่านี้เราก็พร้อมแล้วที่จะรักษาศีล และหากว่าต้องประสบกับเหตุการณ์ หรือโอกาสที่อาจล่วงละเมิดศีล ก็พยายามหลีกเลี่ยงเสีย ด้วยคิดว่าเราได้ตั้งใจสมาทานศีลมาแล้ว เช่นนี้ชื่อว่าเราได้รักษาศีลแล้ว
 
          จากนั้นในแต่ละวัน ก็หมั่นนึกถึงศีลเราว่า เราได้รักษาศีลได้ดีมากน้อยเพียงใด หากพลาดพลั้งกระทำผิดศีลเข้า จะด้วยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เราก็เริ่มต้นรักษาใหม่ ด้วยความตั้งใจว่า เราจะไม่ล่วงละเมิดอีก ส่วนศีลข้อใดที่เรารักษาไว้ดีแล้ว ก็ให้ตั้งใจรักษาต่อให้ยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ทำให้เป็นความเคยชิน จนกระทั่งกลายเป็นนิสัยติดตัวไป ด้วยวิธีการอย่างนี้ การรักษาของเราก็สามารถกระทำได้โดยง่าย โดยไม่รู้สึกว่า เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสแต่อย่างใด
 
          นอกจากนี้ยังมีวิธีการ ที่จะช่วยให้เราสามารถรักษาศีลได้อย่างมั่นคง นั่นคือ การกล่าวคำสมาทานศีล เพราะการสมาทานศีล เป็นการแสดงออกซึ่งความสมัครใจอย่างเต็มที่ที่จะรักษาศีล โดยขอให้พระภิกษุสงฆ์เป็นสักขีพยานในการทำความดีอันยิ่งใหญ่นี้ แล้วเราจึงอาราธนาและสมาทานศีล ด้วยการเปล่งวาจาอย่างอาจหาญให้พระภิกษุสงฆ์ได้ยินอย่างชัดเจน
 
          เมื่อ กาย วาจา ใจ ของเราได้แสดงความมุ่งมั่น ยืนยันที่จะรักษาศีลต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นสักขีพยานแล้ว  เราย่อมมีความรัก  และความเคารพในศีลของเราอย่างเต็มเปี่ยม เมื่อเรารักษาศีลด้วย ความรู้สึกอันงดงามเช่นนี้ ศีลของเราก็ย่อมจะบริสุทธิ์งดงามโดยไม่ต้องสงสัยใดๆ
 
คำอาราธนาศีล 5
 
          มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล)
 
          ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล แม้ครั้งที่สอง)
 
          ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะฯ
          (ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออาราธนาศีล 5 พร้อมด้วยไตรสรณะ เพื่อประโยชน์แก่ การรักษาศีล แม้ครั้งที่สาม)
 
          (ถ้าอาราธนาศีลเพื่อตนเองตามลำพัง ให้เปลี่ยน มะยัง เป็น อะหัง และ ยาจามะ เป็น ยาจามิ)

           นมการคาถา (กล่าวคำนอบน้อม)
          นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะฯ (กล่าว 3 หน)
          (ขอนอบน้อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ห่างไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง)
 
          คำขอสรณคมน์
 
          พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ)
 
          ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ)
 
          สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ)
 
          ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)
 
          ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)
 
          ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สอง)
 
          ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)
 
          ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)
 
          ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
          (ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ แม้ครั้งที่สาม)

          คำสมาทานศีล 5 (เพื่อการถือเอาศีลมาถือปฏิบัติ)
 
28237  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ศีลจะขาดหรือไม่ ให้นำองค์ของศีลมาวินิจฉัย เมื่อ: ธันวาคม 26, 2009, 05:11:29 pm
                                              การรักษาศีล
7.1 วิรัติ หรือ เวรมณี

          แม้ว่า ศีล จะเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมนุษย์ก็ตาม แต่การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีลนั้น ย่อมมิใช่เพียงแค่การไม่ทำความชั่วแต่เพียงอย่างเดียว เพราะบางคนที่ยังไม่ทำความชั่ว อาจเป็นเพราะยังไม่มีโอกาสที่จะทำ เช่น นักโทษที่ถูกกักขังไว้ ไม่มีโอกาสไปเบียดเบียนใคร ย่อมไม่อาจบอกได้ว่า เขาเป็นผู้  รักษาศีล หรือเด็กทารกที่นอนอยู่ในแปล แม้จะไม่ได้ทำความชั่วอะไร แต่ก็เป็นไปเพราะความที่ไม่รู้เดียงสา จึงไม่อาจกล่าวว่าเด็กนั้นรักษาศีลได้
 
          เพราะศีลนั้น สำคัญที่เจตนา การจะได้ชื่อว่าเป็นผู้รักษาศีล จึงต้องเริ่มต้นที่ความตั้งใจ และ ความตั้งใจงดเว้นจากความชั่ว นี่เอง คือความหมายของคำว่า วิรัติ หรือ เวรมณี
 .
          "วิรัติ" จึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงการมีศีล บุคคลใดก็ตาม จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีศีล รักษาศีล ก็ต่อเมื่อมีวิรัติ     
อย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
 
          1. สมาทานวิรัติ
 
          2. สัมปัตตวิรัติ

          3. สมุจเฉทวิรัติ

          7.1.1 สมาทานวิรัติ
          สมาทานวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาป เพราะได้สมาทานศีลไว้แล้ว หมายความว่าเราได้  ตั้งใจไว้ก่อนว่าจะรักษาศีล ครั้นไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็ไม่ยอมให้ศีลขาด ดังมีเรื่องเล่าถึง การสมาทานวิรัติของอุบาสกท่านหนึ่ง

                                                  อุบาสกผู้หนึ่ง
          ณ ประเทศศรีลังกา  อุบาสกผู้หนึ่งได้รับศีลจากพระปิงคลพุทธรักขิตเถระแห่งอัมพริยวิหาร วันหนึ่ง อุบาสกผู้นี้ได้ออกไปไถนา พอถึงเวลาพัก ก็ปลดโคออกจากไถปล่อยให้กินหญ้าไปตามสบาย ปรากฏว่า โคได้หายไป เขาจึงออกตามหา จนไปถึงภูเขาชื่อทันตรวัฑฒมานะ ณ ที่นั้นเอง เขาได้ถูกงูเหลือมตัวหนึ่งรัด เข้า จึงชักมีดอันคมกริบออกมา เงื้อขึ้นหมายจะฆ่างูนั้น แต่แล้วเขากลับฉุกคิดได้ว่า
 
          "ตัวเรานี้ได้รับศีลจากพระเถระผู้เป็นที่เคารพศรัทธา การจะมาล่วงละเมิดศีลเช่นนี้ช่างไม่สมควรเลย�
 เขาได้เงื้อมีดขึ้นถึง 3 ครั้ง แต่ในที่สุดก็ตกลงใจว่า เราจะยอมสละชีวิต แต่จะไม่ยอมสละศีล"
 
          คิดได้ดังนี้จึงโยนมีดทิ้งไป ด้วยเดชแห่งศีลที่ตั้งใจรักษา จึงทำให้งูเหลือมใหญ่นั้นคลายตัวออก แล้วเลื้อยหนีเข้าป่าไป

           7.1.2 สัมปัตตวิรัติ
           สัมปัตตวิรัติ คือ ความตั้งใจงดเว้นจากบาปเมื่อเกิดเรื่องขึ้นเฉพาะหน้า แม้ว่าเดิมทีนั้น ไม่ได้สมาทานศีลไว้ แต่เมื่อไปพบเหตุการณ์ที่ชวนให้ล่วงละเมิดศีล ก็คำนึงถึง ชาติ ตระกูล การศึกษา หรือความดีต่างๆ เป็นต้น จึงทำให้เกิดความตั้งใจที่จะงดเว้นจากบาปเวรขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง ดัง เช่นเรื่องราวของจักกนอุบาสก

                                                  จักกนอุบาสก
 
          เมื่อครั้งที่จักกนะ อุบาสกยังเล็กอยู่นั้น มารดาของเขาได้ล้มป่วยลง หมอบอกว่าต้องใช้เนื้อกระต่าย เป็นๆ มาทำยารักษาจึงจะหาย พี่ชายของจักกนะจึงบอกให้เขาไปหากระต่ายมา จักกนะจึงออกไปที่ทุ่งนา และได้พบกระต่ายน้อยตัวหนึ่งกำลังกินข้าวกล้าอยู่ เมื่อกระต่ายน้อยเห็นจักกนะ มันจึงรีบวิ่งหนี แต่ก็หนีไม่พ้น เพราะบังเอิญไปถูกเถาวัลย์พันตัวไว้ ได้แต่ร้องอยู่ จักกนะจึงจับตัวมาได้ แต่เมื่อเห็นอาการลนลานด้วยความ กลัวของกระต่ายน้อย เขาเกิดความสงสาร คิดขึ้นมาว่า

          "ควรหรือที่เราจะเอาชีวิตของผู้อื่นมาเพื่อช่วยชีวิตมารดาของเรา"

          จักกนะจึงปล่อยกระต่ายน้อยตัวนั้น พร้อมกับกล่าวว่า

          "เจ้าจงไปกินหญ้ากินน้ำของเจ้าตามสบายเถิด"
 
          เมื่อกลับมาถึงบ้าน จักกนะถูกพี่ชายซักถาม จึงเล่าความจริงให้ฟัง และถูกพี่ชายต่อว่าอย่างมากมาย แต่เขาก็มิได้โต้ตอบ ได้แต่ขยับเข้าไปใกล้ๆ มารดา แล้วกล่าวสัจวาจาว่า
 
          ตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิดมา ยังไม่เคยจงใจฆ่าสัตว์ใดเลย ด้วยคำสัตย์นี้ ขอให้มารดาจงหายจากโรคเถิด
 ทันใดนั้นเอง มารดาของเขาก็หายป่วยเป็นอัศจรรย์

           7.1.3 สมุจเฉทวิรัติ
          สมุจเฉทวิรัติ หรือ เสตุฆาตวิรัติ คือ การงดเว้นจากบาปได้อย่างเด็ดขาด เป็นวิรัติของพระอริยเจ้า ซึ่งละกิเลส คือ ความโลภ โกรธ หลง ได้แล้ว เมื่อใจท่านปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้ทำความชั่ว จึงไม่มีการผิดศีลอย่างแน่นอน
 
          จะเห็นว่า วิรัติ นั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะการกระทำใดๆ ก็ตาม หากปราศจากความตั้งใจมุ่งมั่น แล้ว การกระทำนั้นๆ ย่อมไม่หนักแน่นมั่นคง พร้อมจะแปรเปลี่ยนอยู่เรื่อยไป ดังนั้น แม้จะยังไม่ได้ทำความ ชั่วขึ้นก็ตาม แต่ถ้าหากไม่มีวิรัติ ก็ไม่จัดว่าเป็นการรักษาศีล

7.2 องค์แห่งศีล
 
          แม้ว่าเราจะตั้งใจรักษา ศีลอย่างดี แต่ก็มีบางครั้งบางคราวที่เราอาจพลาดพลั้งเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น โดยที่เราเองก็มิได้ตั้งใจ  ซึ่งก็อาจเป็นไปเพราะความจำเป็นบางอย่าง  หรืออาจเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ละเหตุผลนั้นล้วนเป็นเหตุให้เราเกิดความไม่สบายใจ หรือเกิดความสงสัยขึ้นว่า การกระทำของเรา ผิดศีล หรือ ศีลขาดหรือไม่ และบางคนถึงกับเกิดความทุกข์ใจในการรักษาศีล ว่าเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าวิสัยของเรา หรือไม่ ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย
 
          เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถรักษาศีลอย่างถูกต้อง  จึงมีความจำเป็นที่เราต้องศึกษา ข้อวินิจฉัยของศีลแต่ละข้อ ว่าการกระทำอย่างใดจึงถือว่าศีลขาด อย่างไรถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อยซึ่งข้อวินิจฉัย มีดังต่อไปนี้

           7.2.1 การฆ่าสัตว์
 
          องค์แห่งการฆ่าสัตว์ 
          การฆ่าสัตว์ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ
 
          1. สัตว์นั้นมีชีวิต
 
          2. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
 
          3. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
 
          4. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น
 
          5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น
 
          การฆ่าอันประกอบด้วยองค์ 5 นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือแม้แต่การยุยงให้สัตว์ ฆ่ากันเองจนกระทั่งตายไปข้างหนึ่งก็ตาม เช่น การจับไก่มาตีกัน จนกระทั่งไก่ตายไป หรือที่เรียกว่า ชนไก่ ทั้งหมดเรียกว่าศีลขาดทั้งสิ้น แต่หากไม่ครบองค์ เช่น พยายามฆ่า แต่สัตว์นั้นไม่ตาย ก็เรียกว่า ศีลทะลุ และถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็เรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย

          อนุโลมการฆ่า 
          นอกจากการฆ่าสัตว์โดยตรง ดังที่กล่าวมาแล้ว การทำร้ายร่างกาย การทรมานให้ได้รับ ความลำบาก เรียกว่า อนุโลมการฆ่า ก็เป็นสิ่งที่ควรเว้น
 
          อนุโลมการฆ่า มีลักษณะดังต่อไปนี้
 
          - การทำร้ายร่างกาย ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน อันได้แก่
 
          - ทำให้พิการ
 
          - ทำให้เสียโฉม
 
          - ทำให้บาดเจ็บ
 
          - การทารุณกรรม ในที่นี้หมายถึงการทำต่อสัตว์เดรัจฉาน อันได้แก่
 
          - การใช้ เช่น การใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ไม่ให้สัตว์ได้พักผ่อน หรือไม่บำรุงเลี้ยงดูตามสมควร
 
          - กักขัง เช่น การผูกมัด หรือขังไว้ โดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่มีความสุข เช่น ขังนก ขัง
           ปลาไว้ในที่แคบ
 
          - นำไป เช่น การผูกมัดสัตว์แล้วนำไป โดยผิดอิริยาบถของสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน
 
          - เล่นสนุก ได้แก่ การรังแกสัตว์ต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน
 
          - ผจญสัตว์ ได้แก่ การนำสัตว์มาต่อสู้กัน เช่น ชนโค
 
          การฆ่าโดยตรงถือว่าศีลขาด ส่วนอนุโลมการฆ่า ไม่นับว่าศีลขาด แต่ถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย ซึ่งจะให้ผลมากน้อยแตกต่างกันไป

          การฆ่าสัตว์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 
          1. คุณของสัตว์นั้น การฆ่าสัตว์ที่มีคุณมาก จะมีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์มีคุณน้อยหรือไม่มีคุณ เช่น ฆ่าพระอรหันต์ มีโทษมากกว่าฆ่าปุถุชน ฆ่าสัตว์ช่วยงานมีโทษมากกว่าฆ่าสัตว์ดุร้าย เป็นต้น
 
          2. ขนาดกาย สำหรับสัตว์เดรัจฉาน เมื่อเทียบกับพวกที่ไม่มีคุณเหมือนกัน การฆ่าสัตว์ใหญ่ มีโทษมากกว่าการฆ่าสัตว์เล็ก
 
          3. ความพยายาม มีความพยายามในการฆ่ามาก มีโทษมาก มีความพยายามน้อย มีโทษน้อย
 
          4. กิเลสหรือเจตนา กิเลส หรือเจตนาแรง มีโทษมาก กิเลสหรือเจตนาอ่อน มีโทษน้อย เช่นการฆ่าด้วยโทสะ หรือความเกลียดชัง มีโทษมากกว่าการฆ่าเพื่อป้องกันตัว

          7.2.2 การลักทรัพย์
          องค์แห่งการลักทรัพย์ 
          การลักทรัพย์ต้องประกอบด้วยองค์ 51 คือ
 
          1. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
 
          2. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
 
          3. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
 
          4. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น
 
          5. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น

          ลักษณะของการลักทรัพย์ 
          การลักทรัพย์แยกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
 
          1. โจรกรรม มี 14 ประเภท ได้แก่
 
          - ลักขโมย ได้แก่ การขโมยทรัพย์ผู้อื่น เมื่อเขาไม่รู้ไม่เห็น
 
          - ฉกชิง ได้แก่ การแย่งเอาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งๆ หน้า
 
          - ขู่กรรโชก ได้แก่ การทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความกลัว แล้วยอมให้ทรัพย์
 
          - ปล้น ได้แก่ การยกพวก ถือเอาอาวุธเข้าปล้นทรัพย์ผู้อื่น
 
          - ตู่ ได้แก่ การกล่าวตู่เอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
 
          - ฉ้อโกง ได้แก่ การโกงเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
 
          - หลอก ได้แก่ การพูดปด เพื่อหลอกเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
 
          - ลวง ได้แก่ การใช้เล่ห์เหลี่ยม ลวงเอาทรัพย์ผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โกงตาชั่ง
 
          - ปลอม ได้แก่ การทำของไม่แท้ ให้เห็นว่าเป็นของแท้
 
          - ตระบัด ได้แก่ การยืมของผู้อื่น แล้วยึดเป็นของตน
 
          - เบียดบัง ได้แก่ การกินเศษกินเลย เบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นของตน
 
          - สับเปลี่ยน ได้แก่ การแอบเอาของๆ ตน ไปเปลี่ยนกับของผู้อื่นซึ่งดีกว่า
 
          - ลักลอบ ได้แก่ การหลบภาษีการค้าขายสิ่งของผิดกฎหมาย
 
          - ยักยอก ได้แก่ การที่ทรัพย์ของตนจะถูกยึด จึงยักยอกเอาไปไว้ที่อื่นเสีย เพื่อหลบเลี่ยง การถูกยึด
 
          2. อนุโลมโจรกรรม มี 3 ประเภท ได้แก่
 
          - การสมโจร เป็นการสนับสนุนให้เกิดการโจรกรรม เช่น การรับซื้อของโจร การให้ที่พักอาศัย ให้ข้าวให้น้ำแก่โจร
 
          - ปอกลอก เป็นการคบหาผู้อื่นด้วยหวังทรัพย์ พอเขาสิ้นทรัพย์ก็เลิกคบ เป็นการ ทำให้คนสิ้นเนื้อประดาตัว
 
          - รับสินบน เช่น การที่ข้าราชการยอมทำผิดหน้าที่ เพื่อรับสินบน
 
          3. ฉายาโจรกรรม (การกระทำที่เข้าข่ายการลักขโมย) มี 2 ประการ ได้แก่
 
          - ผลาญ คือ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิได้มุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของ  ผู้อื่นมาเป็นของตน เช่น การวางเพลิง
           
 
          - หยิบฉวย คือ การถือทรัพย์ผู้อื่นมาด้วยความมักง่าย ถือวิสาสะ

          การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 
          1. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
 
          2. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
 
          3. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น

          7.2.3 การประพฤติผิดในกาม
28238  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สมัยพุทธกาล มีการอุทิศบุญกุศล และการกรวดน้ำ แต่........... เมื่อ: ธันวาคม 25, 2009, 07:46:50 pm
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ติโรกุฑฑสูตร

ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคาถาว่า

[๘] ฝูงเปรตพากันมายังเรือนของตน ยืนอยู่ที่

นอกฝาเรือนบ้าง ยืนอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่งบ้าง

ยืนอยู่ใกล้บานประตูบ้าง.

เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกินเขาวางไว้เป็นอัน

มาก ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น ก็ระลึกไม่ได้ เพราะ

กรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย.

ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ

ข้าว อันสะอาด ประณีต อันสมควร ตามกาล อุทิศ

เพื่อญาติทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่

ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงมีสุขเถิด.

ส่วนฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น มาแล้ว พร้อม

แล้ว ก็ชุมนุมกันในที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาโดย

เคารพ ในข้าวน้ำเป็นอันมากว่า เราได้สมบัติเพราะ

เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้น ของเรา จงมี

ชีวิตยั่งยืน ทั้งการบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้กระทำแก่

พวกเราแล้ว อนึ่ง ทายกทั้งหลาย ย่อมไม่ไร้ผล.

ในปิตติวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรมการทำไร่การทำ

นาไม่มีโครักขกรรม การเลี้ยงโค. ในปิตติวิสัยนั้น การ

ค้าเช่นนั้น การซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็น

ไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์

โลกนี้.

น้ำตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด

ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้นเหมือนกัน.

ห้วงน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มฉันใด ทาน

ที่ทายกให้ไปนากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้น เหมือนกัน.

บุคคลเมื่อระลึกถึงกิจที่ท่านทำมาแต่ก่อนว่าท่าน

ได้ทำกิจแก่เรา ได้ให้แก่เรา ได้เป็นญาติมิตรเป็นเพื่อน

ของเรา ดังนี้ จึงควรให้ทักษิณาแก่ฝูงเปรต.

การร้องไห้ การเศร้าโศก หรือการพิไรรำพัน

อย่างอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น

ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลาย ก็

คงอยู่อย่างนั้น.

ทักษิณานี้แล อันทายกให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วใน

พระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ทายกนั้น โดยฐานะ

ตลอดกาลนาน.

ญาติธรรมนี้นั้น ก็ทรงแสดงแล้ว การบูชาผู้ล่วง

ลับไปแล้ว ก็ทรงทำโอฬารแล้ว ทั้งกำลังของภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญพระองค์ก็ทรงขวน

ขวายไว้มิใช่น้อย.

จบติโรกุฑฑสูตร

อ่านและตีความให้ดีนะว่า คำว่าพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ติโรกุฑฑสูตร

ว่าด้วยการให้ส่วนบุญแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสาร เป็นคาถาว่า

[๘] ฝูงเปรตพากันมายังเรือนของตน ยืนอยู่ที่

นอกฝาเรือนบ้าง ยืนอยู่ที่ทาง ๔ แพร่ง ๓ แพร่งบ้าง

ยืนอยู่ใกล้บานประตูบ้าง.

เมื่อข้าวน้ำ ของเคี้ยว ของกินเขาวางไว้เป็นอัน

มาก ญาติไร ๆ ของเปรตเหล่านั้น ก็ระลึกไม่ได้ เพราะ

กรรมของสัตว์ทั้งหลายเป็นปัจจัย.

ชนเหล่าใด เป็นผู้เอ็นดู ชนเหล่านั้นย่อมให้น้ำ

ข้าว อันสะอาด ประณีต อันสมควร ตามกาล อุทิศ

เพื่อญาติทั้งหลาย อย่างนี้ว่า ขอทานนี้แล จงมีแก่

ญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลาย จงมีสุขเถิด.

ส่วนฝูงเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้น มาแล้ว พร้อม

แล้ว ก็ชุมนุมกันในที่ให้ทานนั้น ย่อมอนุโมทนาโดย

เคารพ ในข้าวน้ำเป็นอันมากว่า เราได้สมบัติเพราะ

เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้น ของเรา จงมี

ชีวิตยั่งยืน ทั้งการบูชา ญาติผู้เป็นทายกก็ได้กระทำแก่

พวกเราแล้ว อนึ่ง ทายกทั้งหลาย ย่อมไม่ไร้ผล.

ในปิตติวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรมการทำไร่การทำ

นาไม่มีโครักขกรรม การเลี้ยงโค. ในปิตติวิสัยนั้น การ

ค้าเช่นนั้น การซื้อขายด้วยเงิน ก็ไม่มี.



พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ผู้ทำกาลกิริยาละไปแล้ว ย่อมยังอัตภาพให้เป็น

ไปในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทานที่ญาติให้แล้วจากมนุษย์

โลกนี้.

น้ำตกลงบนที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด

ทานที่ทายกให้ไปจากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้นเหมือนกัน.

ห้วงน้ำเต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มฉันใด ทาน

ที่ทายกให้ไปนากมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่ฝูง

เปรตฉันนั้น เหมือนกัน.

บุคคลเมื่อระลึกถึงกิจที่ท่านทำมาแต่ก่อนว่าท่าน

ได้ทำกิจแก่เรา ได้ให้แก่เรา ได้เป็นญาติมิตรเป็นเพื่อน

ของเรา ดังนี้ จึงควรให้ทักษิณาแก่ฝูงเปรต.

การร้องไห้ การเศร้าโศก หรือการพิไรรำพัน

อย่างอื่น ๆ ก็ไม่ควรทำ เพราะการร้องไห้เป็นต้นนั้น

ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ญาติทั้งหลาย ก็

คงอยู่อย่างนั้น.

ทักษิณานี้แล อันทายกให้แล้ว ตั้งไว้ดีแล้วใน

พระสงฆ์ ย่อมสำเร็จประโยชน์แก่ทายกนั้น โดยฐานะ

ตลอดกาลนาน.

ญาติธรรมนี้นั้น ก็ทรงแสดงแล้ว การบูชาผู้ล่วง

ลับไปแล้ว ก็ทรงทำโอฬารแล้ว ทั้งกำลังของภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ทรงเพิ่มให้แล้ว บุญพระองค์ก็ทรงขวน

ขวายไว้มิใช่น้อย.

จบติโรกุฑฑสูตร


คำ แปล....ยถา วาริวหา ปูรา ปริปูเรนฺติ สาครํ....เอวเมว อิโต ทินฺนํ เปตานํ อุปกปฺติ....ห้วงน้ำที่เต็ม ย่อมยังสมุทรสาคร ให้บริบูรณ์ได้ฉันใด....ทานที่ท่านอุทิศให้แล้วแต่โลกนี้ ย่อมสำเร็จประโยชน์ แก่ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้ว ฉันนั้น

อิจฺฉิตํ ปตฺถิตํ ตุมฺหํ...ขิปฺปเมว สมิชฺฌตุ ขออิฏฐผล ที่ท่านปรารถนาแล้ว ตั้งใจแล้ว.... จงสำเร็จโดย ฉับพลัน

สพฺ เพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา....จนฺโท ปณฺณรโส ยถา.... มณิ โชติรโส ยถา ขอความดำริทั้งปวง จงเต็มที่....เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ....เหมือนแก้วมณี อันสว่างไสว ควรยินดี


คำว่าถวายน้ำทักษิโณทก แปลว่ากรวดน้ำหรือ ? ไม่ใช้มั๊ง! พระเจ้าพิมพิสารถวายน้ำให้พระพุทธองค์แล้วคิดอุทิศบุญให้ชาวทิพย์ที่เป็น ญาติทันทีต่างหากนะ และคำที่พระท่องยถาก็มีคำแปลอยู่แล้วไม่เห็นบอกว่าให้หยาดน้ำลงอะไรให้เลอะเทอะ

    คุณลองไปทำดูนะตามนี้แหละ ให้ทานวางของปั๊บอุทิศให้ญาติทิพย์ทันที ใครเข้ามาอ่านก็ลองทำดู ให้ทานวางของปั๊บอุทิศบุญทันที แล้วชีวิตจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงอีกเยอะ เพราะการอุทิศบุญด้วยการเทน้ำนั้น ไม่มีสอนในศาสนาพุทธ แน่นอน ไม่มีกล่าวไว้ในพระสูตรใด ๆ เลย


ถ้าใครอ่านพระไตรปิฎกพบว่า การทำบุญอุทิศโดยการเทน้ำลงพื้นหรือภาชนะรองรับน้ำนั้นมีกล่าวไว้ในพระสูตร ใด เล่มไหน หน้าที่เท่าไหร่ ช่วยบอกด้วยนะ ถ้ามีปรากฎในพระสูตรอะไรจะยอมแพ้ทันที

    เพราะเวลานี้ชาวพุทธทั่วโลกทำบุญ ทำทานกันคิดว่าจะอุทิศไปให้ญาติในโลกทิพย์ แต่ทำไมเดือดร้อนกันไปทั่วโลก ไปอ่านพระไตรปิฎกกัน เถิดชาวพุทธอย่าหลงเชื่อที่ใครเขากล่าว อ่านแล้วพิสูจน์ สมกับที่เป็นศาสนาที่นักวิทยาศาสตร์อย่างไอสไตล์ยอมแพ้ ....อย่างเงียบ ๆ ...เพราะเขากลัวว่านักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังจะอาย...

 

ที่มา   http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=20380&start=0&st=0&sk=t&sd=a


28239  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สมัยพุทธกาล มีการอุทิศบุญกุศล และการกรวดน้ำ แต่........... เมื่อ: ธันวาคม 25, 2009, 07:37:41 pm
 ความคิดเห็นที่ 7 : (tchurit)

    ผมว่าตอนนี้บุญน่าจะไปถึงแล้วละครับ
    ถ้าคุณหายสงสัยว่า  ทำไมตอนกรวดน้ำเสร็จแล้วพระท่านให้เทใส่กระบอกแทนที่จะให้ไปเทที่ต้นไม้
    "เลยงงๆค่ะ แล้วอย่างงี้ผลบุญจะส่งถึงเจ้ากรรมนายเวรรึเปล่า ???"
    ผมว่าหายงง หายสงสัยเมื่อไหร่จิตคุณก็ส่งถึงเจ้ากรรมนายเวรเมื่อนั้นละครับ
    เออ! หรือว่าจะค้างอยู่กระบอก หรือ ถูกต้นไม้ดูดเอาไปกินอย่างที่คุณศิษย์โง่เรียนเซ็นว่านะ ???
    ขอบคุณสำหรับความรู้ว่าการกรวดน้ำมาได้อย่างไรครับ

 จากคุณ : tchurit [ 30 ก.ย. 2543 / 16:51:21 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 8 : (คัดลอกมาให้อ่านครับ)

    ผู้ ถาม : กราบเรียนหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง สามีของลูกเลิกกันไปแล้ว ก็ตายไปแล้ว ประมาณสัก 10 วัน กว่า ก็ได้มีโอกาสถวายสังฆทานที่วัดแห่งหนึ่ง แล้วท่านก็นำน้ำมาให้กรวด แต่เวลากรวดน้ำจริงๆ ปรากฏว่าในเหยือกน้ำนั้นมีตะไคร่ดำปิ๊ดปี๋ไหลออกมา ลูกตกใจเป็นอย่างมาก ไม่ทราบว่าสามีแกจะได้รับอานิสงส์เป็นประการใดเจ้าคะ?
    หลวงพ่อ :  คิดว่าสามีแกจะกินน้ำเรอะ...มันไม่ใช่ การใช้น้ำเป็นวิธีการของพราหมณ์ ไม่ใช่พุทธ ตามพิธีกรรมของพราหมณ์ เขาจะยกอะไรให้ ยกลูกสาวให้ ยกควายให้ ยกวัวให้ ยกสมบัติให้ เขาให้คนที่รับแบมือมาแล้วเอาน้ำราดมือ เป็นการแสดงของการให้ ทีนี้การอุทิศส่วนกุศลครั้งแรกที่ พระเจ้าพิมพิสาร ทำน่ะนะ อย่าลืมว่าพระเจ้าพิมพิสารทำเป็นคนแรก และท่านเป็นพราหมณ์มาก่อน ชื่อว่า กุเวรพราหมณ์ ไงล่ะ
    ในเมื่อท่านเป็นพราหมณ์มาก่อน เวลาอุทิศส่วนกุศลตามที่พระพุทธเจ้าแนะนำ ท่านก็ใช้น้ำตามพิธีกรรมของพราหมณ์ แต่วาจาที่กล่าวเป็นลีลาของพระว่า "อิทัง โน ญาตินัง โหตุ..." แปลว่า "ขอผลบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติของข้าพเจ้า" เท่านี้เอง

    เท่านั้นบรรดา เปรตทั้งหลายก็ได้โมทนา แต่เนื้อแท้จริงๆ การอุทิศส่วนกุศลในพระพุทธศาสนาไม่จำเป็นต้องใช้น้ำ เพราะผีไม่กินน้ำนั้น เขากินอานิสงส์ มันไม่เกี่ยวกันนะ

 จากคุณ : คัดลอกมาให้อ่านครับ [ 1 ต.ค. 2543 / 15:48:54 น. ]

ที่มา   www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/001686.htm
____________________________________________________________________






การกรวดน้ำ

ที่มาของธรรมเนียมการกรวดน้ำ


ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้า
ทรงออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปช่วงแรกๆนั้น
ยังไม่มีธรรมเนียมการกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ผู้ตาย
หรือบรรพบุรุษของผู้กระทำกุศลแต่อย่างใด

จนกระทั่งพระเจ้าพิมพิสาร มหาราชแห่งแคว้นมคธ
ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
และทรงถวายสวนไผ่ให้เป็นวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า

ซึ่งสวนไผ่แห่งนั้นได้กลายเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
ที่มีชื่อว่า “วัดพระเวฬุวัน”

แต่การบำเพ็ญกุศลอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าพิมพิสารครั้งนี้
ก็ยังไม่ได้มีการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย
เนื่องจากยังไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติ

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารบรรทมในคืนนั้น
ก็ทรงพระสุบินเห็นเปรตหลายตนมาขอส่วนบุญ
รุ่งเช้าพระเจ้าพิมพิสารจึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์จึงตรัสให้พระเจ้าพิมพิสาร
ทรงถวายทานแก่พระสงฆ์อีกครั้ง
พร้อมกับให้ตั้งจิตอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
พระเจ้าพิมพิสารทรงกระทำตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ

พอตกดึก เหล่าเปรตทั้งหลายก็ได้มาปรากฏตัว
ในพระสุบินของพระเจ้าพิมพิสารอีกครั้งหนึ่ง
แต่มาด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย
และขออนุโมทนาในส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารทรงอุทิศไปให้

เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ
พระพุทธองค์ตรัสว่าพวกเปรตเหล่านั้นในอดีตชาติ
เคยเป็นพระญาติของพระองค์

โดยครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งหมู่ญาติ
ได้ตระเตรียมจะถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์
อันมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข

แต่เมื่อพระภิกษุสงฆ์ยังมิได้ฉันภัตตาหารนั้น
พวกญาติบางคนเกิดหิว จึงหยิบอาหารที่เตรียมไว้มารับประทาน
ด้วยผลกรรมนั้นพวกเขาจึงเกิดเป็นเปรต
เรียกว่า “ปรทัตตูปชีวิต”
(เปรตผู้อาศัยส่วนบุญที่คนเขาอุทิศให้ยังชีพ)


[พระเจ้าพิมพิสารทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต
เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ]


แต่เมื่อไม่มีญาติพี่น้องอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้
จึงผอมโซไปตลอดกาล
แต่เมื่อพระองค์ทรงอุทิศส่วนบุญไปให้
พวกเขาก็ได้รับดังกล่าวแล้ว

เหล่านี้คือที่มาของการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลในสมัยพุทธกาล

แต่การเอาน้ำมารินที่เรียกว่ากรวดน้ำนั้น มีมาเพิ่มในภายหลัง
โดยบางท่านสันนิษฐานว่าในสมัยก่อนนิยมใช้น้ำรินลงที่มือคนรับ

ดังเช่นพระเวสสันดรตอนพระราชทานสองกุมารแก่พราหมณ์ชูชก
ทรงยกคนโทน้ำรินน้ำลงที่มือของพราหมณ์
เป็นสัญลักษณ์ว่าให้เป็นการเด็ดขาด

แต่ในปัจจุบันนี้การใช้น้ำริน
อันเรียกกันตามภาษาเขมรว่า “กรวด”
จึงเรียกธรรมเนียมนี้ว่า “กรวดน้ำ”

มีระเบียบปฏิบัติที่ว่า

ให้เริ่มรินน้ำตอนที่พระรูปแรกสวด

“ยถา วาริวาหา...”

เมื่อพระสงฆ์รับพร้อมกัน
ก็ให้รินน้ำที่ยังเหลือให้หมด
แล้วประนมมือรับพรจากพระสงฆ์
โดยไม่ต้องเอานิ้วจับชายเสื้อของคนรินน้ำ

แต่ถ้าจะกรวดน้ำโดยไม่มีพิธีการทำบุญอย่างอื่น
เช่น การกรวดน้ำหลังจากการใส่บาตร
ก็นำพุทธวจนะสั้นๆ มาสวดว่า

“อิทํ โน ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหนฺตุ ญาตโย”....ก็ได้


[พระเจ้าพิมพิสารเลื่อมใส ทรงหลั่งน้ำถวายวัดเวฬุวันเป็นปฐมสังฆาราม]

หมายเหตุ
“อุททิโสทก” แปลว่ากรวดน้ำมอบถวาย
ใช้กรณีเมื่อถวายของใหญ่โต
ไม่สามารถยกประเคนใส่มือได้ เช่น ที่ดินและวัด
(พระเจ้าพิมพิสารหลั่งน้ำจากน้ำพระเต้าลงพระหัตถ์ของพระพุทธองค์)

“ทักษิโณทก” กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลแก่คนตาย

   
ความเห็นของคุณกุหลาบสีชา



เมื่อกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญ

๑. ควรเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะที่ง่ายแก่การหลั่งริน

๒. มือขวาใช้จับ มือซ้ายประคองหลั่งน้ำ

๓. เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาบท “ยะถา วาริวหา ปูรา” ให้เริ่มกรวดน้ำ

๔. น้ำที่กรวดควรให้ไหลติดต่อกันไม่ขาดสาย
ไม่หลั่งน้ำลงบนฝ่ามือหรือใช้นิ้วรองน้ำ

๕. ตั้งใจอุทิศส่วนบุญในใจไปจนจบหรือกล่าวคำอุทิศส่วนบุญว่า

“อิทัง เม ญาตินัง โหตุ”
ขอบุญกุศลนี้ จงสำเร็จประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าด้วยเถิด

๖. เมื่อพระสวดถึงตอนที่ว่า “มะณิ โชติระโส ยะถา”
ควรหลั่งน้ำที่มีอยู่ให้หมดแล้วประนมมือรับพรจากพระ




อนึ่งหากหลั่งบนพื้นดินควรเลือกที่สะอาดหมดจด
ถ้าอยู่ในอาคารสถานที่ควรมีภาชนิรองรับอันสมควร

ไม่ใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองรับ
ควรหลั่งน้ำกรวดให้หมด
เมื่อเสร็จพิธีแล้ว จึงนำน้ำที่กรวดนั้นไปเทลงในดินที่สะอาด

การกรวดน้ำเป็นหน้าที่ของเจ้าของงานโดยตรง
เพราะถือเป็นเจ้าของบุญกุศล
เมื่อจะให้แก่ใคร เจ้าของต้องให้เอง




รวบรวมและเรียงเรียงมาจาก :
สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
http://www.kalyanamitra.org/

ที่มา   http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=20380&start=0&st=0&sk=t&sd=a

__________________________________________________________   

ความเห็นของคุณ nene

   
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284
พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอุทิศทานแก่เปรตพวกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รับ. พระราชาเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์ จัดแจงมหาทาน แล้วให้กราบทูลเวลา

ภัตตาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าภายในพระราช-

นิเวศน์ ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

เปรตพวกนั้น พากันไปยืนที่นอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยหวังว่า วันนี้

พวกเราคงได้อะไรกันบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำโดยอาการที่เปรตพวก

นั้น จะปรากฏแก่พระราชาหมดทุกตน.

พระราชาถวายน้ำทักษิโณทก

ทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงมีแก่พวก

ญาติของเรา. ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดารดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่เปรต

พวกนั้น. เปรตพวกนั้นก็อาบและดื่มในสระโบกขรณีนั้น ระงับความกระวน

กระวายความลำบากและหิวกระหายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง.

ลำดับนั้น พระราชาถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินเป็นต้น

แล้วทรงอุทิศ. ในทันใดนั้นเอง ข้าวยาคูของเคี้ยวและของกินอันเป็นทิพย์ ก็

บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. เปรตพวกนั้น ก็พากินบริโภคของทิพย์เหล่านั้น มี

อินทรีย์เอิบอิ่ม.

ลำดับนั้น พระราชาถวายผ้าและเสนาสนะเป็นต้น ทรงอุทิศให้

เครื่องอลังการต่าง ๆ มีผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาดและที่นอน

เป็นต้น ก็บังเกิดแก่เปรตพวกนั้น. สมบัติแม้นั้นของเปรตพวกนั้น ปรากฏ

ทุกอย่างโดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงอธิษฐาน (ให้พระราชา

ทรงเห็น) โดยประการนั้น. พระราชาทรงดีพระทัยยิ่ง. แต่นั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เสวยเสร็จแล้ว ทรงห้ามภัตตาหารแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺนฺติ เป็นต้น เพื่อทรงอนุโมทนาแก่พระเจ้ามคธรัฐ.

ผู้ตั้งกระทู้ควรไปอ่านพระไตรปิฎกและสอบทานให้ดี เดี๋ยวชาวพุทธที่ไม่ค่อยจะอ่านพระไตรปิฎกกันจะเข้าใจเลอะเทอะไปกันใหญ่
28240  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สมัยพุทธกาล มีการอุทิศบุญกุศล และการกรวดน้ำ แต่........... เมื่อ: ธันวาคม 25, 2009, 07:18:49 pm
พระเจ้าพิมพิสาร

                    พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ครองเมืองราชคฤห์แคว้นมคธ สืบต่อจากพระราชบิดา เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชแล้วได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ปัณฑวบรรพต แคว้นมคธ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ข่าวจึงเสด็จไปนมัสการ และชักชวนให้สละเพศบรรพชิตมาครองราชย์ด้วยกัน เมื่อได้รับคำปฏิเสธจึงขอคำปฏิญญาว่า หากทรงค้นพบสิ่งที่แสวงหาเมื่อใด ขอให้มาสอนพระองค์เป็นคนแรก

                    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าเมื่อโปรดปัญจวัคคีย์ โปรดพระยสะและสหาย มีพระอรหันต์ จำนวน  60  องค์  ทรงส่งไปประกาศพระศาสนายังแคว้นต่างๆแล้ว พระองค์จึงเสด็จมุ่งตรงไปยังเมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ   เพื่อเปลื้องคำปฏิญญาที่ประทานให้กับพระเจ้าพิมพิสารนั้นเอง
                   
     พระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่า พระเจ้าพิมพิสารเป็นผู้นำแคว้นใหญ่   ถ้าพระเจ้าพิมพิสารทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้ว ประชาชนคนอื่นๆ ก็จะดำเนินรอยตาม ทรงดำริเช่นนี้จึงเสด็จไปยังเมืองราชคฤห์

                    สมัยนั้นพระเจ้าพิมพิสารและชาวเมืองทรงเคารพนับถือชฏิลสามพี่น้องอยู่   พระพุทธองค์จึงต้องไปโปรดสามพี่น้องก่อน  เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมโปรดชฏิลสามพี่น้องสละลัทธิความเชื่อดั้งเดิมมาเป็นสาวกของพระองค์แล้ว ก็พาสาวกใหม่จำนวนพันรูปไปพักยังสวนตาลหนุ่มใกล้เมืองราชคฤห์
 
                    เมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้สดับข่าวนี้ จึงเสด็จพร้อมประชาชนจำนวนมากไปยังสวนตาลหนุ่ม ได้เห็นอาจารย์ของตนนั่งคุกเข่าประคองอัญชลีต่อพระพุทธเจ้า ประกาศเหตุผลที่สละลัทธิความเชื่อถือเดิมหันมานับถือพระพุทธศาสนา ก็หายสงสัย ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วนับถือพระรัตนตรัย และถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้า พร้อมภิกษุสงฆ์ที่พระราชวังในวันรุ่งขึ้น

                    หลังจากนั้นไม่กี่วันก็ถวายสวนไผ่นอกเมืองให้เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา  เรียกว่า  วัดเวฬุวัน   เวฬุวันนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กัลบทนิวาปสถาน คือ สถานที่ให้เหยื่อแก่กระแต

                    พระเจ้าพิมพิสารเป็นคนแรกที่ทำพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย เรื่องมีอยู่ว่า หลังจากถวายวัดเวฬุวันแล้วคืนนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงฝันร้าย เห็นพวกเปรตมาร่ำร้องอยู่ต่อหน้า น่าเกลียดน่ากลัวมาก รุ่งเช้าขึ้นมาพระองค์เสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อทรงทราบว่าเปรตเหล่านั้นเคยเป็นพระญาติของพระองค์มาของส่วนบุญ และได้รับคำแนะนำให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้พวกเขา วันต่อมาพระเจ้าพิมพิสารจึงได้นิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวย ภัตตาหารในพระราชวังแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่พวกเปรตเหล่านั้น ตกดึกคืนนั้นพวกเปรตมาปรากฏโฉมอีก แต่คราวนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ขอบคุณที่แบ่งส่วนบุญให้แล้วก็อันตรธานหายวับไป

                    เมื่อหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระเจ้าพิมพิสารทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม   พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่าโกศลเทวี หรือ เวเทหิ  เป็นพระกนิษฐาของพระเจ้าปเสนทิโกศล   พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน

                    มีพระโอรสนามว่า อชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) ในช่วงตั้งครรภ์พระนางเวเทหิทรงแพ้พระครรภ์ใคร่เสวยพระโลหิตของพระสวามี โหราจารย์ทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิทรงแยแสต่อคำทำนาย

                    เมื่อพระโอรสประสูติแล้ว ทรงให้การศึกษาอบรมเป็นอย่างดี เจ้าชายน้อยก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตล้างสมองให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหารจนสิ้นพระชนม์   พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จเดินจงกรมยังชีพอยู่ในคุกได้ด้วยพระพุทธานุสสติ คือ มองลอดช่องหน้าต่างทอดพระเนตรดูพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นลงเขาคิชฌกูฏพร้อมภิกษุสงฆ์ทุกวัน   เมื่อรู้ว่าเสด็จพ่อยังเดินอยู่ได้ กษัตริย์อกตัญญูก็สั่งให้เอามีดโกนเฉือนพระบาทเอาเกลือทา ย่างด้วยถ่านไฟร้อน พระเจ้าพิมพิสารทนทุกขเวทนาไม่ไหวก็สิ้นพระชนม์ ณ ที่คุกขังนั้นแล

                    พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาหยั่งรากลงในแคว้นมคธและเจริญแพร่หลายชั่วระยะเวลาอันรวดเร็ว ชาวพุทธจึงควรระลึกถึงพระคุณของพระองค์ในข้อนี้

ที่มา  http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/budda/pim-pi-sarn.htm
_____________________________________________________________


ตอบปัญหาเรื่องการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลครับ

คำถาม

ครับผม ผมเรียนถามหลวงพี่เรื่องนึงครับ เรื่องการกรวดน้ำ
การที่ผมตักบาตรให้กับพ่อผม บางครั้งผมก็กรวดน้ำ บางครั้งผมก็ไม่ได้กรวด
พ่อผมจะได้สิ่งที่ผมทำบุญไปให้หรือเปล่าครับ

คำตอบ

     ตอบช้าหน่อยครับ พอดีไปงานศพมา โยมแม่ของพระที่วัดเสียชีวิตครับ ก็พอดีกันกับที่โยมถามเรื่องการกรวดน้ำครับ ก็จะไขข้อข้องใจดังนี้ครับ

การกรวดน้ำ หรือตรวจน้ำ เริ่มมาจาก พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ เลื่อมใสในพระศาสดา ได้ทำบุญเป็นอันมาก ตกตอนกลางคืนพระองค์เห็นฝูงเปรต มาร้องโหยหวน น่ากลัวมาก จึงทูลถามพระตถาคต ได้ความว่า เปรต นั้นเป็นอดีตญาติ ๆ ของพระเจ้าพิมพิสาร ต้องเกิดเป็นเปรตเพราะกรรมที่เคยกิน หรือให้กินอาหารที่เตรียมไว้ถวายพระ มาขอแบ่งส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารทรงประกอบในชาตินี้ เพราะพระเจ้าพิมพิสารไม่ได้กรวดน้ำให้ พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงกรวดน้ำพร้อมกับตรัสพระคาถาที่พระพุทธองค์ทรงสอนว่า "อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ ญาตโย" เปรตเหล่านั้นได้อนุโมทนาและได้กลายเป็นเทวดามีอาหาร อาภรณ์ ปราสาท ทิพย์ เสวยสุขกันถ้วนหน้า ( นี่เล่าอย่าง ย่อ ๆ นะครับ คลิ๊กดูหัวข้อในพระไตรปิฏก )

     สำหรับการอุทิศส่วนกุศลจะสำเร็จต้องประกอบด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้ครับ

     ๑. มีบุญกุศลให้อุทิศ-ต้องทำความดีก่อนครับ

     ๒. มีผู้รับผลบุญ-ผู้ที่จะรับผลบุญได้ ต้องเป็นเปรตชนิด ปรตูปชีวีเปรต เท่านั้นครับ อ้าวแล้วถ้าญาติเราไม่เป็นเปรตละ? ต้องมีครับ ตลอดวัฏฏะอันแสนนาน เราต้องมีญาติอย่างน้อยสักคนที่เป็นเปรตละครับ

     ๓. มีการอุทิศให้-ก็กรวดน้ำ จะกรวดแห้งก็ได้ครับ-ตั้งจิตอธิษฐานเอา-ระบุชื่อผู้รับก็ได้-โดยส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบระบุชื่อครับ มักจะว่า ให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหมด เผื่อญาติที่เราไม่รู้ชื่อด้วยไงครับ
     ๔. เปรตนั้นรู้ และยินดีด้วยกับบุญที่เราทำและอุทิศให้ด้วยครับ จึงจะได้ผล

     แล้วถ้าบังเอิญขาดข้อใดข้อหนึ่งหล่ะ ? บุญตีกลับ เหมือนจดหมายตีกลับเพราะไม่มีผู้รับ หรือจ่าหน้าซองไม่ชัดเจนครับ รับรองว่าบุญไม่หายไปไหน อย่างไรก็อยู่ที่คนทำอยู่แล้ว

     ถ้าอุทิศให้เขาหมดเราจะเหลืออะไรเล่า ? ไม่เหมือนให้ของ ให้แล้วหมด แต่การอุทิศส่วนกุศลเหมือนการต่อเทียน ต่อ ๆ กัน ๑ เล่ม เป็น ๒ เป็น๔..๘..๑๖..๓๒.. เป็น mega เป็น giga ครับ ยิ่งให้ยิ่งสว่างครับ

     ถ้าลืมละ ? กรวดย้อนหลังครับ พยายามนึกถึงบุญที่เราได้กระทำ แล้วเลื่อนเมาส์ขึ้นไปคลิ๊ก play ที่เครื่องเล่นด้านบน ๆ ได้เลยครับ ใส่บทสวดอนุโมทนาและให้พรไว้แล้ว หรือถ้าไม่สะดวกก็ระลึก อธิษฐานเป็นภาษาไทยก็ได้ครับ คำบาลีไว้ให้พวกมหาเขาว่ากันเถอะครับ เราเอาใจความพอแล้ว ว่าอย่างนี้ครับ "ขอบุญนี้จงเกิดแก่ญาติ ๆ ของข้าพเจ้า ขอให้ญาติ ๆ ของข้าพเจ้ามีความสุข" นี่แปลมาจากบทที่พระตถาคตทรงสอนพรเจ้าพิมพิสารครับ

อย่างไรก็ตามการกรวดน้ำย้อนหลังอาจไม่ได้ผลแรงเท่าสด ๆ ร้อน ๆ นะครับ ขึ้นอยู่กับสภาวะจิตที่ผ่องใสครับ ทำบุญใหม่ ๆ สด ๆ จิตจะใสมากครับ

     เอาละครับ  ถามนิดเดียว ตอบซะยาวยืดเลยเรา ( น้ำลายแตกฟอง ) ถ้าสงสัยอะไรก็ถามกันมานะครับ สาธุ
 
เพิ่มเติมครับ

มีความเห็นจากพระแทน กิตฺติทตฺโต ว่า
tan พูดว่า:
หลวงพี่เข้าไปอ่านเรื่องกรวดน้ำแล้ว ขอโอกาสแสดงความเห็นด้วยครับ

สำคัญที่สุด คือ จิต

แผ่กุศล กรวดน้ำ กรวดแห้ง ได้เช่นกัน เอ่ยยังไงก็ได้ แต่ตั้งจิตให้มั่น ให้แผ่ออกไป
แล้วจะรู้สึกได้ถึงกระแสบุญที่ไหลออกไป

คำภาวนา และ การเทน้ำ เป็นเพียงอุบายเหนี่ยวนำจิต

หลวงปู่หล้าว่าธรรมทั้งหลายทั้งปวงทั้ง 84000 ย่อเหลือจิตเพียงอย่างเดียว

หลวงปู่ดุลย์ ว่า จิตคือพุทธะ

พระครูเกษม ว่า เจอจิต จึงจะแจ้งธรรม
 
สาธุ สาธุ

ที่มา    http://maha-oath.spaces.live.com/blog/cns!6D66525A182F717E!374.entry
___________________________________________

    กรวดน้ำ

 เนื้อความ :

    ไปทำบุญวันเกิดมาค่ะ  สงสัยว่า ทำไมตอนกรวดน้ำเสร็จแล้ว
    พระท่านถึงไม่ให้ไปเทที่ต้นไม้ แต่ท่านเทใส่กระบอก อีกอันนึงข้างตัวท่าน เลยงงๆค่ะ  แล้วอย่างงี้ผลบุญจะส่งถึงเจ้ากรรมนายเวรรึเปล่า

 จากคุณ : บุษ [ 28 ก.ย. 2543 / 13:27:29 น. ]
     
 ความคิดเห็นที่ 1 : (4)

    การกรวดน้ำจริงๆแล้วเป็นพิธีของพราหมณ์ ตามพุทธพิธีเพียงแค่เรากล่าว
    และนึกอุทิศก็พอแล้ว ใช้ได้

 จากคุณ : 4 [ 28 ก.ย. 2543 / 14:46:00 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 2 : (ศิษย์โง่เรียนเซ็น)

    ไม่ถึงหรอกครับ
    บุญถูกขังไว้ในกระบอกแล้วล่ะ
    แต่ถ้าไปเทที่ต้นไม้ ก็ถูกต้นไม้ดูดเอาไปกินอยู่ดีแหละครับ

 จากคุณ : ศิษย์โง่เรียนเซ็น [ 28 ก.ย. 2543 / 19:20:15 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 3 : (สาธิต)

    พุทธ กับพราห์มนั้นแทบจะแยกไม่ออกเลยจริงๆ ครับ  คุณลอง search ในพระไตรปิฎกดูนะครับ ไม่เคยมีกล่าวถึงคำว่ากรวดน้ำเลย การทำบุญอุทิศส่วนกุศลด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์จึงไม่จำเป็นต้องกรวดน้ำครับ ขอแนะนำธรรมะเพื่อชีวิตใน web site http://easy.to/alternative ครับ คุณจะได้ทราบอีกหลายๆ เรื่องที่ชาวพุทธไม่เคยทราบมาก่อน

 จากคุณ : สาธิต [ 29 ก.ย. 2543 / 06:23:23 น. ]


 ความคิดเห็นที่ 4 : (ดังตฤณ)

    น้ำเป็นสื่อครับสำหรับคนทั่วไป
    ถ้าจิตตั้งมั่นเป็นหนึ่งได้ ก็มีกำลังเป็นกระแสแรงพอจะถึงตัวได้
    แต่ให้คนทั่วไปซึ่งยังมีจิตไม่ตั้งมั่นคิดอุทิศนั้น
    มโนภาพของเป้าหมายไม่ชัดพอ เลยต้องอาศัยสื่อ
    ซึ่งก็ไม่มีอะไรดีกว่าธาตุน้ำ อันเป็นธาตุเย็น
    และจูงใจให้เย็น มีอาการไหลลงสู่เป้าหมายเช่นพื้นที่ถูกน้ำกระทบ

    พูดกันตรงไปตรงมา เป็นไปได้ยากครับ
    ที่อุทิศบุญกุศลให้คนตายแล้วจะถึงเจ้าตัว
    แต่บุญอันเกิดจากการอุทิศอย่างหนักแน่น อันนั้นแหละ
    เกิดกับเราจริง จัดเป็นทานชนิดหนึ่ง
    เป็นส่วนหนึ่งของการเปิดใจให้กว้างออก
    ไม่คับแคบ ไม่อึดอัดตระหนี่
    ความรู้จักให้นั้นแหละเป็นความสุขชนิดหนึ่ง
    เป็นการระงับเหตุแห่งทุกข์ขั้นพื้นฐานได้อย่างหนึ่ง

 จากคุณ : ดังตฤณ [ 29 ก.ย. 2543 / 16:41:18 น. ]
     

 ความคิดเห็นที่ 5 : (เณรน้อย)

    สมัย ก่อน......ก่อนพระผู้มีพระภาคจะตรัสรู้นั้น  ลัทธิต่างๆกำลังเกิดขึ้นมากโดยเฉพาะ ลัทธิพราหมณ์  ที่ไม่สามารถแยกออกจากพระพุทธศาสนาได้ และการให้ของหรือให้ทานในลัทธิพราหมณ์นั้น  เขาถือว่าต้องเทน้ำลงพื้นดินจึงถือว่าของที่ให้นั้นได้ขาดจากเจ้าของโดย สมบูรณ์  และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้แล้ว  ประเพณีการเทน้ำยังมีอยู่  และพระผู้มีพระภาคก็ไม่ได้ทรงตำหนิแต่อย่างใด ทรงอณุโลมให้เป็นตามที่เคยปฏิบัติมา  แต่ท่านทรงตรัสว่าการอุทิศส่วนกุศล  ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำแต่อย่างไร  เมื่อทำบุญแล้วเพียงแต่นึกถึงผู้ที่จะอุทิศให้  ก็น่าจะถึงแล้ว  หากผู้ที่เราอุทิศให้อยู่ในฐานะที่จะรับได้ครับ  ขอให้สบายใจได้หากไม่สบายใจก็ทำใหม่แล้วอุทิศใหม่ก็ไม่เป็นไร 

 จากคุณ : เณรน้อย [ 29 ก.ย. 2543 / 17:22:22 น. ]


 ความคิดเห็นที่ 6 : (ดังตฤณ)

    ถ้าทำบุญอุทิศแล้ว เทวดา พรหมที่มีญาณหยั่งรู้
    ประกอบกับการอุทิศมีแรงสะเทือนพอ ก็อาจสะกิดให้ส่งใจอนุโมทนา
    และเอาเท่าที่หามาให้ได้แบบเร็วๆนะครับ
    เปรตบางประเภทสามารถอนุโมทนาบุญได้เช่นกัน
    ถ้ามีแต่การอุทิศ แต่ปราศจากการยินดีอนุโมทนา
    ผลก็ไม่บังเกิด (ความจริงมีเรื่องเปรตที่เป็นญาติพระเจ้าพิมพิสารรอรับส่วนบุญ
    แต่หาไม่เจอในตอนนี้ครับ)

    ------------------------------------------------------------------------
    ๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ
    ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร

          พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระเจ้าพิมพิสารว่า
          [๙๐] เปรตทั้งหลายพากันมาสู่เรือนของตนแล้ว ยืนอยู่ภายนอกฝาที่ตรอก
                กำแพง และทาง ๓ แพร่ง และยืนอยู่ที่ใกล้บานประตู เมื่อข้าว น้ำ
                ของกิน ของบริโภคเป็นอันมากเขาเข้าไปตั้งไว้แล้ว แต่ญาติไรๆ ของ
                สัตว์เหล่านั้นระลึกไม่ได้ เพราะกรรมเป็นปัจจัย เหล่าชนผู้อนุเคราะห์
                ย่อมให้น้ำและโภชนะอันสะอาด ประณีตสมควรแก่ญาติทั้งหลายตามกาล
                ดุจทานที่มหาบพิตรทรงถวายแล้วฉะนั้น ด้วยเจตนาอุทิศว่า ขอทานนี้แล
                จงสำเร็จผลแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลายของเราจงเป็นสุข
                เถิด ส่วนเปรตผู้เป็นญาติเหล่านั้น พากันมาชุมในที่นั้น เมื่อข้าว
                และน้ำมีอยู่บริบูรณ์ ย่อมอนุโมทนาโดยเคารพว่า เราได้สมบัติเพราะ
                เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติของเราเหล่านั้น จงมีชีวิตอยู่ยืนนาน
               
                การบูชาเป็นอันพวกญาติได้ทำแล้วแก่เราทั้งหลาย และญาติทั้งหลายผู้ให้
                ก็ไม่ไร้ผล เพราะในเปรตวิสัยนั้น ไม่มีกสิกรรม ไม่มีโครักขกรรม ไม่
                มีการค้าขายเช่นนั้น ไม่มีการซื้อการขายด้วยเงิน เปรตทั้งหลายผู้ไปใน
                ปิตติวิสัย ย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยทานที่ญาติหรือมิตรให้แล้วแต่มนุษย-
                โลกนี้ น้ำฝนอันตกลงในที่ดอน ย่อมไหลไปสู่ที่ลุ่ม ฉันใด ทานอัน
                ญาติหรือมิตรให้แล้วในมนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลาย
                ฉันนั้นเหมือนกัน ห้วงน้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังสาครให้เต็มเปี่ยม
                ฉันใด ทานอันญาติหรือมิตรให้แล้ว แต่มนุษยโลกนี้ ย่อมสำเร็จผล
                แก่เปรตทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน กุลบุตรเมื่อระลึกถึงอุปการะที่ท่าน
                ทำแล้วในกาลก่อนว่า ญาติมิตรและสหายได้ให้สิ่งของแก่เรา ได้ช่วย
                ทำกิจของเรา ดังนี้ พึงให้ทักษิณาแก่เปรตทั้งหลาย ความเศร้าโศก

                หรือความร่ำไรอย่างอื่น ไม่ควรทำเลย เพราะความร้องไห้เป็นต้นนั้น
                ไม่เป็นประโยชน์แก่เปรตทั้งหลาย ญาติทั้งหลายย่อมดำรงอยู่โดยปกติ
                ธรรมดา อันทักษิณานี้แลที่ท่านเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในสงฆ์ ให้แล้ว ย่อม
                สำเร็จประโยชน์แก่เปรตนั้นโดยพลัน สิ้นกาลนาน ญาติธรรมมหาพิตร
                ได้แสดงให้ปรากฏแล้ว การบูชาอันยิ่งเพื่อเปรตทั้งหลาย มหาพิตรทรง
                ทำแล้ว และกำลังกายมหาบพิตรได้เพิ่มให้แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว บุญมี
                ประมาณไม่น้อยมหาบพิตรได้ทรงขวนขวายแล้ว.

    จบ ติโรกุฑฑเปตวัตถุที่ ๕.

 จากคุณ : ดังตฤณ [ 29 ก.ย. 2543 / 21:19:12 น. ]
หน้า: 1 ... 704 705 [706] 707 708