ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบ ลักษณะ ของศีลขาด ศีลด่าง ศีลพร้อย ครับ  (อ่าน 5603 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรมิต

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 89
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบ ลักษณะ ของศีลขาด ศีลด่าง ศีลพร้อย ครับ สำหรับคนถือศีล 5 นะครับ คือไม่ค่อยจะเข้าใจครับ
ศีลขาด คือ การละเมิดศีล อันนี้พอเห็นและเข้าใจครับ แต่ ศีลด่าง ศีลพร้อย นี้เป็นอย่างไรครับ

  :13: :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28525
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ ลักษณะ ของศีลขาด ศีลด่าง ศีลพร้อย ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2012, 02:16:42 pm »
0



บทความธรรมะเรื่อง : อย่างไรเรียกว่า ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่างพร้อย
โพสต์โดยคุณ I am

การรักษาศีล

อันศีลที่บริสุทธิ์นั้นต้อง ไม่เป็นท่อน ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง ไม่พร้อย

ศีลที่เป็นท่อนนั้น คือ ศีลขาด เหมือนอย่างผ้าที่เป็นผืนเดียวแล้ว ก็ขาดออกจากกันเป็นสองผืน
   ดั่งนี้เรียกว่าขาด ศีลที่ขาดนั้นคือ ศีลที่ได้ละเมิดออกไปอย่างเต็มที่จนบรรลุถึงที่สุด ดั่งเช่นข้อปาณาติบาตินั้น ฆ่าสัตว์ตั้งต้นแต่มีอกุศลเจตนาที่จะฆ่า แล้วก็ทำการฆ่า แล้วสัตว์นั้นตายด้วยอกุศลเจตนานั้น แปลว่าครบองค์


ยกตัวอย่างเช่นศีลข้อ ๑ นี้ ที่ท่านแสดงไว้มีองค์ ๕ คือ
     ๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
     ๒. ปาณสญฺญิตา ตนรู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
     ๓. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า
     ๔. ตชฺโชวายาโม ความเพียรที่เกิดจากเจตนานั้น
     ๕. เตน มรณํ สัตว์นั้นตายด้วยความเพียรนั้น
     ดั่งนี้เรียกว่าศีลขาด


ทีนี้หากสัตว์นั้นไม่ตายด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตาม แต่ว่าได้มีจิตคิดจะฆ่า ได้มีความเพียรที่จะฆ่า น้อยหรือมากก็ตาม แต่ว่าสัตว์ไม่ตาย
     ดั่งนี้เรียกว่าศีลเป็นช่อง คือ เหมือนอย่างผ้าที่ขาดเป็นช่องเล็กช่องใหญ่ แต่ว่าไม่ถึงกับขาดเป็น ๒ ท่อน แต่ว่าเป็นช่องๆ ทะลุเป็นช่องๆ ดั่งนี้เรียกว่าศีลเป็นช่อง

คราวนี้หากว่ามีจิตคิดจะฆ่าและไม่ถึงกับได้ประกอบความเพียรออกไป คิดงุ่นง่านอยู่ในใจละเมินอยู่ในใจ ไม่ถึงกับจะทำออกไป
     ดั่งนี้เรียกว่าศีลด่างศีลพร้อย เหมือนอย่างผ้าที่ไม่ขาดเป็นท่อน ไม่ทะลุเป็นช่อง แต่ว่าเปรอะเปื้อนด่างพร้อย ไม่เป็นผ้าที่สะอาด


     ฉะนั้นแม้มีจิตงุ่นง่านคิดที่จะฆ่าอยู่ดั่งนี้ ก็เรียกว่าศีลด่างศีลพร้อย คือ ถ้าคิดว่าจะฆ่าอย่างแรง

     ถ้าหากว่าไม่ถึงคิดว่าจะฆ่า แต่จิตเดือดร้อนคิดที่จะทำร้าย
     ก็แปลว่าไม่ถึงกับด่างทีเดียว แต่ว่าพร้อย ก็เป็นอันว่าไม่บริสุทธิ์



อ้างอิง
ลักษณะพุทธศาสนา ๑๙ กันยายน ๒๕๒๖
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=4662
ขอบคุณภาพจาก http://variety.teenee.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ ลักษณะ ของศีลขาด ศีลด่าง ศีลพร้อย ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2012, 06:49:24 pm »
0
อนุโมทนา สาธุ คะ มีคำตอบที่ได้รวดเร็วดีคะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28525
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ ลักษณะ ของศีลขาด ศีลด่าง ศีลพร้อย ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2012, 07:13:52 pm »
0




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

  [๘๗] ศีลมีที่สุดก็มี ศีลไม่มีที่สุดก็มี ในศีล ๒ อย่างนั้น

       ศีลมีที่สุดนั้นเป็นไฉน
       ศีลมีที่สุดเพราะลาภก็ดี ศีลมีที่สุดเพราะยศก็มี ศีลมีที่สุดเพราะญาติก็มี ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะก็มี ศีลมีที่สุดเพราะชีวิตก็มี ฯ

      ศีลมีที่สุดเพราะลาภนั้นเป็นไฉน
      บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้เพราะเหตุแห่งลาภ เพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ ศีลนี้เป็นลาภปริยันตศีล ฯ


      ศีลมีที่สุดเพราะยศนั้นเป็นไฉน
      บุคคลบางคนในโลกนี้ ...เพราะเหตุแห่งยศ .. ศีลนี้เป็นยสปริยันตศีล ฯ

      ศีลมีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน
      บุคคลบางคนในโลกนี้ ...เพราะเหตุแห่งญาติ ...ศีลนี้เป็นญาติปริยันตศีล ฯ


      ศีลมีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉน
      บุคคลบางคนในโลกนี้ ...เพราะเหตุแห่งอวัยวะ ...ศีลนี้เป็นอังคปริยันตศีล ฯ

      ศีลมีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน
      บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งชีวิต เพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต ศีลนี้เป็นชีวิตปริยันตศีล


      ศีลเห็นปานนี้เป็นศีลขาด เป็นศีลทะลุ ด่าง พร้อย
      ไม่เป็นไทย วิญญูชนไม่สรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิจับต้องแล้ว
      ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์
      ไม่เป็นที่ตั้งแห่งปีติ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความสุข
      ไม่เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
      เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง
      เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็นปริยันตศีล ฯ





  [๘๘] ศีลไม่มีที่สุดนั้นเป็นไฉน
      ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติก็มี ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะก็มีศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตก็มี ฯ

      ศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภเป็นไฉน
      บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อจะล่วงสิกขาบทตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งลาภเพราะปัจจัยแห่งลาภ เพราะการณ์แห่งลาภ อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่าศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะลาภ ฯ

      ศีลไม่มีที่สุดเพราะยศนั้นเป็นไฉน
      บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะเหตุแห่งยศ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะยศ ฯ

      ศีลไม่มีที่สุดเพราะญาตินั้นเป็นไฉน
      บุคคลบางคนในโลกนี้ ... เพราะเหตุแห่งญาติ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะญาติ ฯ


      ศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะนั้นเป็นไฉน
      บุคคลบางคนในโลกนี้ ...เพราะเหตุแห่งอวัยวะ ... ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะอวัยวะ ฯ

      ศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิตนั้นเป็นไฉน
      บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้ความคิดก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อล่วงสิกขาบท ตามที่ตนสมาทานไว้ เพราะเหตุแห่งชีวิตเพราะปัจจัยแห่งชีวิต เพราะการณ์แห่งชีวิต อย่างไรเขาจักล่วงสิกขาบทเล่า ศีลนี้เป็นศีลไม่มีที่สุดเพราะชีวิต 


      ศีลเห็นปานนี้เป็นศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
      เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่จับต้อง
      เป็นไปเพื่อสมาธิ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อน เป็นที่ตั้งแห่งความปราโมทย์
      เป็นที่ตั้งแห่งปีติ เป็นที่ตั้งแห่งความระงับ เป็นที่ตั้งแห่งความสุข
      เป็นที่ตั้งแห่งสมาธิ เป็นที่ตั้งแห่งยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
      เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง
      เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว ศีลนี้เป็นอปริยันตศีล ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๙๕๑ - ๑๐๘๗.  หน้าที่  ๓๙ - ๔๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=951&Z=1087&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=86
ขอบคุณภาพจาก http://cdn.gotoknow.org/,http://www.rakbankerd.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28525
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากทราบ ลักษณะ ของศีลขาด ศีลด่าง ศีลพร้อย ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 19, 2012, 07:47:11 pm »
0



บทที่ 7 การรักษาศีล

7.2 องค์แห่งศีล
          แม้ว่าเราจะตั้งใจรักษาศีลอย่างดี แต่ก็มีบางครั้งบางคราวที่เราอาจพลาดพลั้งเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น โดยที่เราเองก็มิได้ตั้งใจ  ซึ่งก็อาจเป็นไปเพราะความจำเป็นบางอย่าง  หรืออาจเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ละเหตุผลนั้นล้วนเป็นเหตุให้เราเกิดความไม่สบายใจ หรือเกิดความสงสัยขึ้นว่า การกระทำของเรา ผิดศีล หรือ ศีลขาดหรือไม่ และบางคนถึงกับเกิดความทุกข์ใจในการรักษาศีล ว่าเป็นเรื่องที่ยากเกินกว่าวิสัยของเรา หรือไม่ ซึ่งความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย
 
          เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถรักษาศีลอย่างถูกต้อง  จึงมีความจำเป็นที่เราต้องศึกษา ข้อวินิจฉัยของศีลแต่ละข้อ ว่าการกระทำอย่างใดจึงถือว่าศีลขาด อย่างไรถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อยซึ่งข้อวินิจฉัย มีดังต่อไปนี้

           7.2.1 การฆ่าสัตว์

          องค์แห่งการฆ่าสัตว์  การฆ่าสัตว์ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ
          1. สัตว์นั้นมีชีวิต 
          2. รู้อยู่ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
          3. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
          4. มีความพยายามฆ่าสัตว์นั้น
          5. สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น

 
          การฆ่าอันประกอบด้วยองค์ 5 นี้ ไม่ว่าจะฆ่าเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นฆ่า หรือแม้แต่การยุยงให้สัตว์ ฆ่ากันเองจนกระทั่งตายไปข้างหนึ่งก็ตาม เช่น การจับไก่มาตีกัน จนกระทั่งไก่ตายไป หรือที่เรียกว่า ชนไก่ ทั้งหมดเรียกว่าศีลขาดทั้งสิ้น แต่หากไม่ครบองค์ เช่น พยายามฆ่า แต่สัตว์นั้นไม่ตาย ก็เรียกว่า ศีลทะลุ และถ้าลดหลั่นลงมาอีก ก็เรียกว่า ศีลด่าง ศีลพร้อย

          อนุโลมการฆ่า 
          นอกจากการฆ่าสัตว์โดยตรงดังที่กล่าวมาแล้ว การทำร้ายร่างกาย การทรมานให้ได้รับ ความลำบาก เรียกว่า อนุโลมการฆ่า ก็เป็นสิ่งที่ควรเว้น 

          อนุโลมการฆ่า มีลักษณะดังต่อไปนี้
          - การทำร้ายร่างกาย ในที่นี้หมายถึงการกระทำต่อมนุษย์ด้วยกัน อันได้แก่
          - ทำให้พิการ
          - ทำให้เสียโฉม
          - ทำให้บาดเจ็บ
          - การทารุณกรรม ในที่นี้หมายถึงการทำต่อสัตว์เดรัจฉาน อันได้แก่
          - การใช้ เช่น การใช้งานเกินกำลังของสัตว์ ไม่ให้สัตว์ได้พักผ่อน หรือไม่บำรุงเลี้ยงดูตามสมควร
          - กักขัง เช่น การผูกมัด หรือขังไว้ โดยที่สัตว์นั้นไม่สามารถเปลี่ยนอิริยาบถได้ หรือไม่มีความสุข เช่น ขังนก ขังปลาไว้ในที่แคบ 
          - นำไป เช่น การผูกมัดสัตว์แล้วนำไป โดยผิดอิริยาบถของสัตว์ ทำให้สัตว์ได้รับความทุกข์ทรมาน
          - เล่นสนุก ได้แก่ การรังแกสัตว์ต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน
          - ผจญสัตว์ ได้แก่ การนำสัตว์มาต่อสู้กัน เช่น ชนโค

 
     การฆ่าโดยตรงถือว่าศีลขาด ส่วนอนุโลมการฆ่า ไม่นับว่าศีลขาด แต่ถือว่า ศีลทะลุ ศีลด่าง ศีลพร้อย
     ซึ่งจะให้ผลมากน้อยแตกต่างกันไป



อ้างอิง
หนังสือ วิถีชาวพุทธ
http://main.dou.us/view_content.php?s_id=389&page=5
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ