ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "เจดีย์ และสถูปสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า"(ยกเครดิตให้ศิษย์ครูนภา)  (อ่าน 3931 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28487
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
"เจดีย์ และสถูปสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า"


"เจดีย์" มีความหมายว่า ที่เคารพนับถือ , บุคคล สถานที่ หรือวัตถุที่ควรเคารพบูชา ,เจดีย์เกี่ยวกับเจดีย์ และสถูปสำคัญมี ๔ อย่างคือ

          ๑. ธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
          ๒. บริโภคเจดีย์ คือสิ่งหรือสถานที่ที่เจดีย์ พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย
          ๓. ธรรมเจดีย์ บรรจุพระธรรมคือ พุทธพจน์
          ๔. อุทเทสิกเจดีย์ คือพระพุทธรูป

ในที่นี้จะกล่าวถึงบริโภคเจดีย์ นอกเหนือไปจากสังเวชนียสถานทั้ง ๔ และกุฏิวิหารที่พระพุทธเจ้าทรงเคยใช้สอย ซึ่งได้กล่าวถึงไปแล้ว

ส่วน "สถูป" มีความหายว่าสิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา เป็นอนุสรณ์ที่เตือนใจให้เกิดปสาทะและกุศลธรรมอื่น ๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงพระสถูปที่มีความเกี่ยวข้องกับบริโภคเจดีย์

ส่วนสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือธาตุเจดีย์นั้น ได้แยกไปกล่าวถึงในหมวดที่ ๘ หัวข้อ "พระสถูปเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ"แล้ว

สำหรับเจดีย์และสถูปสำคัญอันนับเนื่องอยู่ในบริโภคเจดีย์ เท่าที่นำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ มีดังนี้

    ๑. จุฬามณีเจดีย์ ตั้งอยู่ ณ สวรรคชั้น ๒ คือ ดาวดึงสเทวโลกเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระจุฬาโมลี (มวยผม) ของพระสิทธัตถะ เมื่อครั้งเสด็จออกบรรพชา ครั้งเสด็จข้ามแม่น้ำอโนมาแล้ว จะอธิฐานเพศบรรชิต ทรงตัดมวยพระเกศาขว้างไปในอากาศ พระอินทร์นำผอบแก้วมารองรับนำไปประดิษฐานในพระจุฬามณี

     ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานแล้ว ในขณะแจกพระบรมสารีริกธาตุ พระอินทร์ได้นำเอาพระทาฐธาตุคือพระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวาที่โทณพราหมณ์ซ่อน ไว้ในผ้าโพกศีรษะ ใส่ผอบทองนำไปบรรจุในจุฬามณีด้วย นอกจากนั้นพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า)เบื้องขวาก็ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์สถานเช่นกัน

     ๒. โคตมกเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ทางทิศใต้ของนครเวสาลีนครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยเสด็จประทับหลายครั้งและเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

     ๓. ทุสสเจดีย์ เจดียสถาน ณ พรหมโลก ซึ่งฆฏิการพรหมหรือพระพรหมผู้นำสมณบริขารมีบาตรและจีวร เป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์เมื่อคราวออกบรรพชา และนำพระภูษาเครื่องทรงในฆาราวาสที่พระโพธิสัตว์ สละออกเปลี่ยนมาทรงจีวร นำไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ครั้นพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว พระรากขวัญเบื้องซ้ายกับพระอุณหิส (มงกุฎจากเครื่องอาภรณ์มหาลดาปสาธน์ที่นางมัลลิกาทูลอัญเชิญสวมพระพุทธสรีระศพ) ถูกนำไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก

     ๔. ปาวาลเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ที่เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ พระมหาสาวกอุปัฏฐากประจำพระองค์ เป็นครั้งที่ ๑๖ และครั้งสุดท้ายจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายะสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ ในวันเพ็ญเดือน ๓ ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน

     ๕. ปาสาณเจดีย์ เจดีย์สถานในแคว้นมคธซึ่งมาณพ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพท แก่ศิษย์อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธารรี ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ พราหมณ์พาวรีได้ส่งศิษย์ ทั้ง ๑๖ คนไปถามปัญหาพระบรมศาสดา เพื่อจะทดสอบว่าพระพุทธองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงหรือไม่ ณ ปาวาลเจดีย์แห่งนี้ ภายหลังได้รับคำตอบ พราหมณ์พาวรีบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีส่วนศิษย์ ทั้ง ๑๖ ได้บรรลุพระอรหัต และถูกจัดเป็นพระมหาสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์ ทุกองค์ด้วยกัน

     ๖. พหุปุตตเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ทางตอนเหนือของเมืองเวสาลีนครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

     ๗. เจดีย์พุทธคยา เจดีย์สถานอยู่ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในแคว้นมคธสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ได้เสด็จมาประทับที่ใต้ต้นโพธิ์ และได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่นี่ พระวิหารเจดีย์พุทธคยาสูง ๑๖๐ ฟุต สร้างเป็นหอสูงรูปสี่เหลี่ยมพีระมิดปลายยอดตัดรองรับพระสถูปที่ด้านบนยอดสุด องค์พระเจดีย์สร้างตั้งแต่หลังสมัยพุทธกาล ปัจจุบันเป็นตำบลพุทธคยา รัฐพิหาร

     ๘. มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ อยู่ทางทิศตะวันออกของนครกุสินารา แคว้นมัลละ มกุฏพันธนเจดีย์อยู่ห่างจากสาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานประมาณ ๑ กิโลเมตร

     ๙. รัตนฆรเจดีย์ เจดีย์เรือนแก้ว อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงประทับพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกเป็นเวลา ๗ วัน เป็นสัปดาห์ที่ ๔ แห่งการเสวยวิมุตติสุขถายหลังจากตรัสรู้

     ๑๐. รัตนจงกรมเจดีย์ เจดีย์ที่จงกรมแก้ว อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างกลางแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างกลางแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์กับอนิมิสเจดีย์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงเสด็จจงกลมตลอด ๗ วัน นับเป็นสัปดาห์ที่ ๓ แห่งการเสวยวิมุตติสุข ภายหลังจากตรัสรู้

     ๑๑. สัตตัมพเจดีย์ เจดีย์สถานที่นครเวสาลี นครหลวงแคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

     ๑๒. สารันทเจดีย์ เจดีย์สถานที่นครเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์

     ๑๓. อนิมิสเจดีย์ สถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จยืนจ้องดูต้นพระศรีมหาโพธิโดยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด ๗ วัน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ นับเป็นสัปดาห์ที่ ๒ แห่งการเสวยวิมุตติสุขทังหมดรวม ๗ สัปดาห์ ภายหลังจากทรงตรัสรู้

     ๑๔. อัคคาฬวเจดีย์ อยู่ใกล้อาฬวีนคร หลังจากทรงทรมาณอาฬวยักษ์ให้สิ้นพยศและตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดชาวเมืองอาฬวีให้ตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๖ ภายหลังจากตรัสรู้ ณ สถานที่แห่งนี้

     ๑๕. อานันทเจดีย์ เจดียสถานในเขตโภคนคร ระหว่างทางจากเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ไปสู่เมืองปาวา แคว้นมัลละ ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ทรงประทับแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองโภคนคร พระพุทธเจ้าตรัสมหาปเทศ ๔ ฝ่ายพระสูตร(หลักอ้างอิงสำหรับเทียบเคียง ๔) จากนั้น พระบรมศาสดาเสด็ดต่อไปยังปาวานคร แล้วเสด็จไปยังสาลวโนทยาน ใกล้เมืองกุสินารา ทรงดับขันธปรินิพพาน



ในส่วนของพระสถูปที่มีความเกี่ยวพันถึงบริโภคเจดีย์ ได้ประมวลนำมาไว้ ณ ที่นี้ ๔ พระสถูปด้วยกันดังนี้
 
     ๑. เจาคันธีสถูป สถูปแห่งนี้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเป็นที่ระลึกที่พระพุทธเจ้าทรงพบปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ภายหลังจากทรงตรัสรู้ สร้างขึ้นภายหลังพุทธปรินิพพานแล้วกว่า ๒๐๐ ปี ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี

     ๒. ธัมเมกขสถูป อยู่ใกล้เคียงกับเจาคันธีสถูป เป็นสถานที่ระลึกถึงในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ในวันเพ็ญเดือน ๘ พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก ณ ที่ แห่งนี้

     ๓. ตุมพสถูป พระตุมพเจดีย์อยู่ที่เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ พระสถูปแห่งนี้บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อแบ่งปันให้กษัตริย์ทั้งปวง โดยโทณพราหมณ์ เป็นผู้ตักตวงพระบรมธาตุแบ่งปันถวายกษัตริย์ทั้งหลาย และขอประทานทะนานทองตวงพระบรมธาตุอัญเชิญไปสร้างตุมพสถูปเจดีย์

     ๔. อังคารสถูป พระอังคารสถูปเจดีย์อยู่ที่เมืองปิปผลิวัน โดยโมริยกษัตริย์ผู้ครองเมือง ได้ทราบข่าวพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานจึงส่งราชทูตให้มาทูลขอพระบรม สารีริกธาตุ ณ นครกุสินารา ทั้งยกพลหยุหเสนาตามมาภายหลัง

ครั้นกษัตริย์มัลลราชแห่งกุสินาราแจ้งว่าพระบรมสารีริกธาตุนั้น กษัตริย์ทั้ง ๘ พระนครได้ไปประชุมแบ่งปันกันหมดสิ้นแล้ว ยังอยู่แต่พระอังคาร (ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ) ขอให้เชิญพระอังคารไปทำการสักการบูชาเถิด โมริยกษัตริย์จึงอัญเชิญพระอังคารมาประดิษฐาน ณ พระอังคารสถูปเจดีย์ เมืองปิปผลิวัน




สำหรับพระบริขารพุทธบริโภค (เครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้า)
ทั้งหลายนั้นได้รับอัญเชิญไปบรรจุไว้ในสถูป ๑๑ แห่งตามนครต่าง ๆ ดังนี้

     ๑. พระกายพันธ์ (ประคตเอว,สายรัดเอว) สถิตอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร
     ๒. พระอุทมสาฎก (ผ้าคลุมอาบน้ำ) สถิตอยู่ที่เมืองปัญจาลราฐ
     ๓. พระจัมมขันธ์ (เครื่องหนังต่าง ๆ) สถิตอยู่ที่เมืองโกสลราฐ
     ๔. ไม้สีฟัน สถิตอยู่ที่เมืองมิถิลา
     ๕. พระธมกรก (กระบอกกรองน้ำ) สถิตอยู่ที่เมืองวิเทหราฐ
     ๖. มีด กับ กล่องเข็ม สถิตอยู่ที่เมืองอินทปัตถ์

     ๗. ฉลองพระบาทและถลกบาต (รองเท้าและถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า) สถิตอยู่ที่เมืองอุสิรพราหมณคาม
     ๘. เครื่องลาด (เครื่องปูนั่งนอน) สถิตอยู่ที่เมืองมกุฏนคร
     ๙. ไตรจีวร (ผ้าสามผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวคือ ผ้าทาบ, ผ้าห่ม(จีวร),ผ้านุ่งสบง) สถิตอยู่ที่เมือง ภัททาราฐ
     ๑๐. บาตร เดิมสถิตอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร ภายหลังไปอยู่ที่เมืองลังกาทวีป
     ๑๑. นิสีทนะสันถัต (ผ้าปูนั่ง,ผ้ารองนั่ง) สถิตอยู่ที่เมืองกุรุราฐ


ที่มา  http://www.dhammathai.org/buddha/g47.php



สังเวชนียสถาน ๔ (สถานที่เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, สถานที่เนื่องด้วยพุทธประวัติ ซึ่งพุทธศาสนิกชนควรไปดูเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดความไม่ประมาท จะได้เร่งขวนขวายประกอบกุศลกรรม และสำหรับผู้ศรัทธาจะได้จาริกไปชม เพื่อเพิ่มพูนปสาทะ กระทำสักการบูชา อันจะนำให้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์)

๑. ชาตสถาน (ที่พระพุทธเจ้าประสูต คือ อุทยานลุมพินี)
๒. อภิสัมพุทธสถาน (ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ควงโพธิ์ที่ตำบลพุทธคยา)
๓. ธัมมจักกัปปวัตตนสถาน (ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เรียกปัจจุบันว่า สารนาถ)
๔. ปรินิพพุตสถาน (ที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน คือ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา)


ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)



"พระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุิ"


          พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าถูกตวงด้วยทนานทอง ถวายแก่กษัตริย์ ทั้ง ๘ พระนคร คือ

          ๑. พระเจ้าอชาตศัตตุราช ผู้ครองนครราชคฤห์ แคว้นมคธ
          ๒. พระเจ้าลิจฉวี ผู้ครองนครพระนครไพศาลี แคว้นวัชชี
          ๓.พระเจ้ามหานาม ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
          ๔.พระเจ้าฐลิยราช ผู้ครองนครอัลลกัปปนคร
          ๕.พระเจ้าโกลิยราช ผู้ครองนครนครรามคาม แคว้นโกลิยะ
          ๖.พระเจ้ามัลลราช ผู้ครองเมืองปาวานคร แคว้นมัลละ
          ๗.มหาพราหมณ์ ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกนคร
          ๘.กษัตริย์มัลลราช ผู้ครองนครกุสินารา แคว้นมัลละ


          พระบรมสารีริกธาตุซึ่งตวงด้วยทะนานทองทั้งหมด ๑๘ ทะนาทด้วยกันโดยแบ่งให้กษัตริย์ ทั้ง ๘ พระนคร ได้พระนครละ ๒ ทะนานเท่า ๆ กันบรรดากษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อได้รับส่วนแบ่งบรมสารีรืกธาตุแล้ว ต่างองค์ต่างกันจัดขบวนอันมโหฬาร อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ไปยังพระนครของตนด้วยเกียรติยศอันสูง แล้วให้ก่อพระสถูปเจดีย์ ขึ้นบรรจะพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นที่สักการบูชาของมหาชน จึงปรากกว่ามีพระสูปเจดีที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดังนี้
 
          ๑. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองราชคฤห์
          ๒.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองไพศาลี
          ๓.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองบิลพันดุ์
          ๔.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองอัลลกัปปนคร
          ๕. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองรามนคร
          ๖. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองเวฏฐาทีปนคร
          ๗. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองปาวานคร
          ๘.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองกุสินารานคร


          นอกจากนั้นกษัตริย์แห่งเมืองโมรีนครซึ่งเดินทางมาถึงภายหลังได้ประชุมแบ่งปันพระสารีริรธาตุกันหมดสิ้นแล้ว ได้อัญเชิญ พระอังคาร (ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ) ไปสักการบูชาที่พระสถูปเจดีย์ ในพระนครของตน คือ

          ๙. พระอังคารเจดีย์ ที่เมืองโมรีนคร

          ส่วนพระทนานทองที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุซึ่งโทณพราหมร์เป็นผู้สร้างนั้นได้ถูกบรรจุไว้ในเมืองต่าง ๆ ดังนี้
 
          ๑. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา กับพระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไป ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์สถาน ณ ดาวดึงสเทวโลก
          ๒. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำกว่าเดิมไปประดิษฐาน ณ เมืองกาลิราฐแต่บัดนี้ไปสถิตอยู่ในลักกาทวีป
          ๓. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารราฐ
          ๔. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ในนาคพิภพ
          ๕. พระรากขวัญเบื้องซ้ายกับพรุอุณหิสปัฏ ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก

          ส่วนพระทนต์ (ฟัน) ทั้ง ๓๖ และพระเกศา (ผม) พระโลมา(ขน) กับพระนขา (เล็บ) ทั้ง ๒๐ นั้นเทพยดาอัญเชิญไปองค์ละองค์สู่จักรวาลต่าง ๆ
     
ที่มา  http://www.dhammathai.org/buddha/g82.php



เชิญหมู่สมาชิกทุกท่าน ลงรูปภาพ หรือ โพสต์ข้อมูลเพิ่มเติม

หรือแสดงความเห็นอื่นๆ ตามอัธยาศัยครับ

 :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 16, 2010, 08:20:09 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

narunta2550

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 10
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในเมืองไทยมีสถูปหรือเปล่า
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28487
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"พระสถูปเจดีย์" ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 23, 2010, 01:03:10 pm »
0
วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร


พระปฐมเจดีย์ วัดพระปฐมเจียดีย์ราชวรวิหารเป็นพระสถูปเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จังหวัดนครปฐมได้ใช้พระปฐมเจดีย์เป็นตราประจำจังหวัด  พระปฐมเจดีย์ที่เห็น อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นองค์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2396 โดยโปรดเกล้าฯให้สร้างครอบพระเจดีย์องค์เดิมซึ่งเป็นเจดีย์เก่าแก่มีฐานแบบ โอคว่ำและมียอดปรางค์อยู่ข้างบน

สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 4 เนื่องจากรูปร่างของเจดีย์แบบโอคว่ำ มีลักษณะคล้ายกับสาญจีเจดีย์ในอินเดียซึ่งสร้างสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช การก่อสร้างเจดีย์ครอบองค์ใหม่เสร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2413 รวมเวลาก่อสร้าง 17 ปี

พระเจดีย์องค์ใหม่มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม รูประฆังคว่ำแบบลังกา มีความสูงจากพื้นดินถึงยอดมงกุฎ 3 เส้น 1 คืบ 10 นิ้ว (หรือประมาณ 120.5 เมตร) ฐานวัดโดยรอบได้ 5 เส้น 17 วา 3 ศอก (หรือประมาณ 233 เมตร) ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้
 

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรงบูรณะวัดพระปฐมเจดีย์ให้สง่างามมากขึ้น และถือว่าวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 พระปฐมเจดีย์  เปิดตั้งแต่เวลา 07.00-20.00 น. ค่าเข้าชมชาวต่างประเทศ 40 บาท ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปีจะมีงานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์   นอกจากนี้ภายในวัดพระปฐมเจดีย์ยังมีสิ่งที่น่าสนใจต่างๆ ดังนี้

พระร่วงโรจนฤทธิ์  เป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ประดิษฐานในซุ้มวิหารทางทิศเหนือหน้าองค์พระปฐมเจดีย์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยได้พระเศียร พระหัตถ์ และพระบาท มาจากเมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ช่างทำรูปปั้นขี้ผึ้งปฏิสังขรณ์ให้บริบูรณ์เต็มองค์ ทำพิธีหล่อที่วัดพระเชตุพนฯ เมื่อ พ.ศ. 2456

แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในซุ้มวิหารด้านทิศเหนือตรงกับบันไดใหญ่ และพระราชทานนามว่า “พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรมโมภาส มหาวชิราวุธราชปูชนียบพิตร”   และที่ฐานพระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว

พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์   ตั้งอยู่บริเวณชั้นลดด้านทิศตะวันออกตรงข้ามพระอุโบสถ ภายในเก็บวัตถุโบราณที่ขุดพบได้จากสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดนครปฐมทั้งสมัยบ้านเชียง สมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูป หินบดยา ลูกประคำดินเผา กำไลข้อมือ เงินโบราณ ฯลฯ

และยังเป็นที่เก็บหีบศพของย่าเหลและโต๊ะหมู่บูชาซึ่งใช้ในพิธีศพของย่าเห ลซึ่งเป็นสุนัขที่รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดปรานมากและถูกคนลอบยิงตาย พระองค์ทรงเสียพระทัยมาก โปรดฯให้สร้างอนุสาวรีย์ไว้อาลัย  พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-16.30 น. (ปิดช่วงเวลา 12.00–13.00)

ที่มา  http://www.2-teen.com/community/viewthread.php?tid=12186



อ่านเรื่องสถูปเิพิ่มเติมได้ตามลิงค์นี้นะครับ
http://board.palungjit.com/f10/พระสถูปเจดีย์ในอินเดียและแผ่นดินสยาม-50039.html
http://www.soonphra.com/content/view...icdetailid=110
http://th.wikipedia.org/wiki/เจดีย์
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เท่าที่อ่านใน ตำนานการสืบพระกรรมฐาน ของหลวงพ่อ พระครูสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม

ผู้สืบกรรมฐาน องค์ปัจจุบัน นั้น อ่านแล้วจึงได้รู้ว่า ปฐมเจดีย์ นี้มีเพราะ ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

สาธุ สาูธุ สาธุ

รักหนอ เคยไป แค่ครั้งเดียวเอง ตอนนั้นก็ไปเที่ยว

คราวนี้ไป ต้องไปทำ ประทักษิณ ให้ครบ 9 รอบแล้ว

 :25: :25:
บันทึกการเข้า