ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
 11 
 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 08:15:48 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี  : นตฺถิ ตณฺหาสมา นที
โดย สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่ง กล่าวไว้แปลความว่า “แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาไม่มี” คือ ไม่มีแม่น้ำใดที่จะกว้างใหญ่ไพศาลปราศจากขอบเขตเสมอด้วยตัณหา

    ตัณหา คือ ความดิ้นรนทะยานอยาก แบ่งออกเป็นสาม คือ
    กามตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในสิ่งที่น่าใคร่ น่าปรารถนาพอใจทั้งหลาย
    ภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากมี อยากเป็น
    วิภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไม่มี ไม่เป็น

แม้พิจารณาตัณหาทั้งสามประการแล้วย่อมจะเห็นว่าครอบคลุมไปกว้างใหญ่ไพศาลหาขอบเขตไม่ได้จริงๆ ไม่มีเพียงความอยากในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจเท่านั้น ยังมีความอยากมีอยากเป็น และความอยากไม่มี ไม่เป็นอีกด้วย อันสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจนั้น มีอยู่เต็มไปทั้งโลกก็ว่าได้ ความดิ้นรนทะยานอยากในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจจึงเต็มไปทั้งโลกเช่นกัน

ดังนั้นจึงพึงเห็นได้ว่า แม้เพียงตัณหาอย่างเดียวคือกามตัณหา ก็มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลยิ่งนักแล้ว เกินกว่าแม่น้ำใดๆ ทั้งหมดแล้ว เมื่อรวมภวตัณหาและวิภวตัณหาเข้าด้วย ก็ย่อมจะยิ่งกว้างใหญ่ไพศาลเกิน กว่าจะประมาณขอบเขตได้

@@@@@@@

พระพุทธภาษิตอีกบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ความอยากละได้ยากในโลก” แม้พิจารณาก็ย่อมจะเห็นตามความจริงนี้ ความอยากในกามคือ สิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาพอใจเป็นสิ่งละได้ยากแน่นอน แม้พิจารณาความรู้สึกในใจตนของแต่ละคนก็ย่อมจะเห็นจริง ไม่มีปุถุชนใดจะสามารถละความอยากในกามได้ ไม่ในเรื่องนั้นก็ในเรื่องนี้ ย่อมมีความอยากได้ด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อเห็นว่าเป็นสิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ ความอยากมีอยากเป็นก็เช่นกัน ไม่มีปุถุชนคนใดที่สามารถละความอยากมีอยากเป็นได้อย่างง่ายดาย

ทุกคนลองพิจารณาใจตนเองให้เห็นความอยากมีอยากเป็นในใจตน แล้วลองพยายามละความอยากมีอยากเป็นนั้นดู ก็ย่อมจะเห็นว่า เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ยากยิ่ง และสำหรับคนส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถทำได้ ทั้งยังไม่สามารถจะพยายามทำเสียอีกด้วย มีแต่เพลิดเพลินติดอยู่กับกามตัณหานั้น ความอยากไม่มีอยากไม่เป็นก็เช่นกัน ไม่มีปุถุชนใดสามารถละได้อย่างง่ายดาย

ความอยากมีอยากเป็น กับความอยากไม่มีไม่เป็นนั้น จะกล่าวว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก็เกือบได้ เมื่ออยากมีสิ่งหนึ่ง ก็ย่อมอยากไม่มีอีกสิ่งหนึ่งที่ไม่ตรงกันไม่เหมือนกัน หรือเมื่อเป็นอย่างหนึ่งก็ย่อมอยากไม่เป็นอีกอย่างหนึ่ง  เหมือนเช่นอยากเป็นคนรวยก็ย่อมอยากไม่เป็นคนจน หรืออยากมีเงินก็ย่อมอยากไม่ไม่มีเงิน เป็นเช่นนี้นั่นเอง ความอยากทั้งสองนี้คือ ภวตัณหาและวิภวตัณหา จึงเรียกได้ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน




แม้พิจารณาตัณหาทั้งสามอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว ย่อมจะเห็นว่าเป็นความเกี่ยวเนื่องกันชนิดไม่อาจแยกออกจากกันได้ ทำลายข้อหนึ่งข้อใดได้พร้อมกันทุกข้อ ดังนั้น แม้เห็นโทษของตัณหา ก็ไม่เป็นการบกพร่องที่จะจับข้อหนึ่งข้อใดในใจตนขึ้นพิจารณาหาอุบายทำลายถอนรากถอนโคน ไม่จำเป็นต้องสับสนวุ่นวาย จับข้อนั้นขึ้นพิจารณาพุ่งตรงไปที่ตัณหาข้อหนึ่งข้อใดในสามประการดังกล่าวแล้วก็ได้

กามตัณหาความดิ้นรนทะยานอยากในสิ่งน่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ ก็คือ ภวตัณหาอยากมีอยากเป็นนั่นเอง คืออยากได้อยากมีของคนทั้งหลาย ก็ต้องเป็นไปในสิ่งที่น่าใคร่น่าปรารถนาพอใจ ขณะเดียวกันก็ไม่อยากได้ไม่อยากมีในสิ่งที่ไม่น่าใคร่ไม่น่าปรารถนาพอใจ ซึ่งกล่าวอีกอย่างก็กล่าวว่า อยากไม่ได้ไม่มีในสิ่งที่ไม่น่าใคร่ไม่น่าปรารถนาพอใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดังนี้ เพราะฉะนั้น แม้จะทำลายตัณหาก็เพียงพิจารณาใจของตนให้เห็นชัดว่ามีความปรารถนาต้องการอย่างไร เพราะนั่นคือ กามตัณหาต้นสายของภวตัณหาและวิภวตัณหา พิจารณาให้เห็นแล้วก็ทำลายเสีย ดับเสีย

ทำไมจึงสมควรดับตัณหาแม้ตั้งปัญหานี้ขึ้น ก็อาจตอบได้ง่ายๆ ว่าเพราะตัณหาเป็นเหตุแห่งความดิ้นรนกระเสือกกระสนไปไม่รู้หยุด มีความเหน็ดเหนื่อยนักหนา ดับตัณหาเสียได้ก็จะหยุดความดิ้นรนได้ หายเหน็ดเหนื่อยทุกข์ยาก ได้คำตอบนี้แล้ว ผู้มาบริหารจิตควรตั้งคำถามต่อไป ว่าตนมีความต้องการอย่างไร กระเสือกกระสนไป ไม่รู้หยุดเพื่อสนองตัณหาเช่นนั้นหรือ หรือต้องการหยุดสงบอยู่อย่างสบายใจ ก็จะได้คำตอบที่ตรงกันทุกคน จะเกิดกำลังใจ เพียรดับตัณหาด้วยกันทุกคน






ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
อ้างอิง : สมเด็จพระญาณสังวร. “พุทธศาสนสุภาษิต.” ศุภมิตร. มีนาคม – เมษายน ๒๕๓๒, หน้า ๒๗-๒๙
ที่มา : เฟซบุ้ค เล่าเรื่อง..วัดบวรฯ
https://www.facebook.com/100069144534492/posts/971387536602284/

 12 
 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 06:44:11 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



เณรน้อย 8 ขวบ สอบผ่าน สวด "ปาติโมกข์" รวดเดียวจบใน 55 นาที

"สามเณรกานต์กวินต์ ธานีวรรณ" วัย 8 ขวบ สอบผ่านโครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ ท่องจบในเวลา 55 นาที

วัดตะโก จ.พระนครศรีอยุธยา ร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) จัดโครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีสามเณรเข้าร่วมโครงการ 72 รูป มาจากทั้ง 4 ภาค 17 จังหวัด ระหว่างเดือน เมษายน - กรกฎาคม 2567



ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก

ต่อมาเพจเฟซบุ๊ก "โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์-วัดตะโก" แสดงความยินดีกับสามเณรกานต์กวินต์ ธานีวรรณ อายุเพียง 8 ขวบ วัดนิคมผัง 16 จ.นครราชสีมา ซึ่งได้สอบผ่านเป็น "สามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์" โดยใช้เวลาในการสอบรวม 55 นาที


ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก


ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก

อาจารย์ผู้สอบทาน พระมหาใจ เขมจิตโต (ป.ธ.9) ประธานดำเนินโครงการฯ เริ่มสอบเวลา 06.05 น. สอบจบเวลา 07.01 น. ใช้เวลาในการสอบรวม 55 นาที ท่องจบวันที่ 27 เม.ย.2567

นอกจากนี้ยังมี สามเณรภานุวัฒน์ กองทุ่งมน อายุ 17 ปี วัดโมลีโลกยาราม สามเณรอายุน้อยที่สุดในประวัติศาตร์ที่สอบบาลีได้เปรียญธรรม 9 ประโยค เข้าร่วมโครงการในปีนี้ด้วยเช่นกัน โดยสอบผ่านโครงการนี้แล้ว โดยสอบผ่านเป็นรูปที่ 22 ใช้เวลาสอบ 50 นาที ท่องจบวันที่ 22 เม.ย. 2567 เริ่มสอบเวลา 08.35 น. สอบจบเวลา 9.25 น.



สามเณรภานุวัฒน์ กองทุ่งมน อายุ 17 ปี เปรียญธรรม 9 ประโยค วัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ


"ปาติโมกข์" คืออะไร.?

ปาติโมกข์ คือ คัมภีร์เป็นที่รวมพระวินัย ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ เป็นพุทธอาณาสำหรับพระสงฆ์ คือ ศีล 227 ข้อ ของภิกษุ และ ศีล 311 ข้อ ของภิกษุณี โดยมีพระพุทธานุญาต ให้พระสงฆ์สวดในที่ประชุมสงฆทุกกึ่งเดือน เรียกว่า สวดพระปาติโมกข์

สำหรับเนื้อหาปาติโมกข์ เป็นภาษาบาลี ทบทวนศีลภิกษุ 227 ข้อ โดยเมื่อพระรูปทำหน้าที่ กำลังสวดพระปาติโมกข์ จะมีพระอีกรูป ทำหน้าที่ทบทวน คัมภีร์ปาติโมกข์เล่มใหญ่ ตัวหนังสือใหญ่ พิมพ์แบบพับเปิดต่อกันได้ตลอดเล่ม โดยขนาดเล่มใหญ่ทั้งหนา ความยาวไม่นับกันเป็นตัวอักษร แต่นับกันด้วยเวลาที่ใช้สวด สวดอย่างเร็ว ต่อเนื่องไม่ขาดตอน ราวหนึ่งชั่วโมง



ภาพจากเพจ : โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ - วัดตะโก





Thank to : https://www.thaipbs.or.th/news/content/340081
17 พ.ค. 67 11:02

 13 
 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 06:30:08 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ชื่นชม สามเณรกานต์กวินต์ วัย 8 ขวบ สอบผ่าน สามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์ ท่องจบใน 55 นาที

เป็นที่ชื่นชมไม่น้อย กับเรื่องของ สามเณรกานต์กวินต์ ธานีวรรณ อายุ 8 ขวบ จากวัดนิคมผัง 16 จ.นครราชสีมา ที่ สอบผ่านเป็นสามเณรผู้ทรงพระปาติโมกข์ โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดโดยวัดตะโก ร่วมกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ซึ่ง สามเณรวัย 8 ขวบรูปนี้ สามารถสอบผ่าน ใช้เวลาในการสอบ 55 นาที ตั้งแต่เริ่มสอบเวลา 06.05 – 07.01 น. โดยมีคนเข้าไปชื่นชมจำนวนไม่น้อย














ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4580698
วันที่ 17 พฤษภาคม 2567 - 12:49 น.   

 14 
 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2024, 06:24:18 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ศน.จัดวิสาขบูชาอาเซียน กระชับสัมพันธ์ไทย-ลาว ด้วยมิติทางศาสนา

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม นายชัยพล  สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา เปิดเผยว่า กรมการศาสนา (ศน.) ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด และศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์ลาว (อ.พ.ส.)จัดโครงการจัดงานสัปดาห์ “วิสาขบูชาอาเซียน เพื่อส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับประเทศอาเซียน ในมิติพระพุทธศาสนา” จ.หนองคาย ประจำปี 2567 ระหว่างวันที่ 16-17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ณ จ.หนองคาย และนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว อย่างยิ่งใหญ่ในฐานะวันสำคัญสากลของโลก

ซึ่งจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านคือ สปป. ลาว และมีเครือข่ายพระพุทธศาสนาเข้มแข็ง ผู้นำศาสนาสมเด็จพระสังฆราช สปป.ลาว และเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ชัย  ร่วมส่งเสริมสัมพันธไมตรีในมิติพุทธศาสนา ซึ่งการร่วมจัดวิสาขบูชากับพระและชาวลาวที่วัดพระธาตุหลวง เสียงจันทน์ เป็นโอกาสดี เพราะต่างก็เป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา จะมีการทำบุญตักบาตร ไหว้พระ ทอดผ้าป่าบำรุงพุทธศาสนา เวียนเทียนในฝั่งลาว

รวมทั้งกิจกรรมทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และพระพุทธศาสนาของสปป.ลาว  ณ วัดพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ วัดศรีเมือง และวัดองค์ตื้อมหาวิหาร ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศานิกชนไทยที่ข้ามมากราบไหว้ด้วยความศรัทธา รวมถึงเยี่ยมชมตลาดวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นของลาว ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรม




“นอกจากทำบุญตักบาตรข้าวเหนียว รับฟังพระธรรมเทศนา ปฏิบัติธรรม เนื่องในเทศกาลวันวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ. 2567 ยังมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จัดทำแผนการขับเคลื่อนงานและกิจกรรมด้านศาสนาของประเทศอาเซียน ร่วมกับศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์ลาว ณ วัดพระธาตุหลวง  ซึ่งอยู่บนแนวคิดใช้ศาสนาเชื่อมความสัมพันธ์ ภายใต้โครงการศาสนิกสัมพันธ์ทางศาสนาของอาเซียน 

ซึ่งจะขับเคลื่อนในมิติหลากหลาย ทั้งกิจกรรมร่วมกันทางศาสนา การท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒธรรม  การส่งเสริมท่องเที่ยววัดโพธิ์ชัย ฝั่งไทย และข้ามไปวัดพระธาตุหลวง ลาว รวมถึงขยายผลกิจกรรมตักบาตรริมโขงให้เป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มนักท่องเที่ยว  ปัจจุบันมีหลายวัดในจังหวัดริมโขงจัดกิจกรรม อาทิ หนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี เลย“ นายชัยพล กล่าว






อธิบดีศน. กล่าวต่อว่า งานสัปดาห์วิสาขบูชาอาเซียนไทย-ลาว จะกระชับความสัมพันธ์ประชานสองประเทศที่เป็นบ้านพี่เมืองน้อง  เกิดการไปมาหาสู่กันโดยใช้มิติพุทธศาสนานำทาง การทำบุญตักบาตรในวันและเทศกาลสำคัญต่างๆ เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรทางศาสนาแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น พระสงฆ์ไทย-ลาว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน  เกิดงานและกิจกรรมแลกเปลี่ยนด้านศาสนาของอาเซียน ซึ่งมองว่า ภาคอีสานของไทยมีศักยภาพด้านวิปัสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา จะเป็นพื้นที่สำคัญจัดกิจกรรมวิปัสนาครั้งใหญ่ภายในปีนี้






ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4581583
วันที่ 17 พฤษภาคม 2567 - 17:18 น.   

 15 
 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 09:53:28 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 16 
 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 07:11:11 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 17 
 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 04:02:46 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 18 
 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 11:17:18 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้

 19 
 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 08:21:49 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



อานิสงส์ถวายข้าวมธุปายาส
     
ร่างกายที่เราต้องใช้อยู่ทุกวัน ในการประกอบภารกิจการงาน มีความจำเป็นจะต้องชำระล้างให้สะอาดด้วยน้ำ ฉันใด  จิตใจก็เช่นกัน จำเป็นต้องชำระล้างให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการเจริญภาวนา ฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสั่งสอนให้พุทธบริษัทเจริญภาวนา อยู่ในหนทางสายกลาง  ให้เราเห็นความสำคัญของการฝึกฝนใจว่า ใจที่ผ่องใส ย่อมเป็นเหตุแห่งความสุข ใจที่ผ่องใสเป็นทางมาแห่งมหากุศล เป็นเครื่องนำสัตวโลกทั้งหลายไปสู่สุคติภูมิ และนำทุกชีวิตไปสู่เป้าหมายอันสูงสุด คือการบรรลุมรรคผลนิพพาน
     
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ในสุมนสูตรว่า   
    “ยถาปิ จนฺโท วิมโล    คจฺฉํ อากาสธาตุยา
     สพฺเพ ตารคเณ โลเก    อาภาย อติโรจติ ฯ     
     ดวงจันทร์ปราศจากมลทิน โคจรไปในอากาศ ย่อมสว่างกว่าหมู่ดาวทั้งหลาย ด้วยรัศมี ฉันใด บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล มีศรัทธา ย่อมไพโรจน์กว่าผู้ตระหนี่ทั้งหลายในโลก ด้วยการให้ ฉันนั้น”
     
มนุษย์ทุกคนเกิดมาในโลกนี้ ต่างก็ปรารถนาความสุขและความสำเร็จในชีวิต อยากเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ คุณสมบัติ สมบัติทั้ง ๓ นี้จะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยบุญเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง อย่างน้อยผู้นั้นต้องเริ่มต้นด้วยการให้ คือต้องสามารถเอาชนะความตระหนี่ที่มีอยู่ในใจให้ได้เสียก่อน เปรียบเสมือนดวงจันทร์ เมื่อพ้นจากเมฆหมอกมาได้ ย่อมปรากฏความสว่างไสว ใจที่หลุดพ้นจากกระแสแห่งความตระหนี่ ก็เช่นเดียวกัน จะใสสว่างเหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญกุศล และสามารถดึงดูดมหาสมบัติที่จะบังเกิดขึ้นได้โดยง่าย 
     
ปกติของคนตระหนี่จะไม่ชอบให้ทาน เพราะเขากลัวความจน กลัวว่าทรัพย์ที่ให้ไปจะสูญเปล่า  แต่ผู้รู้กลับบอกว่า ยิ่งให้ก็จะยิ่งได้ เพราะการทำความดีใดๆ ที่จะไม่ส่งผลนั้น เป็นไม่มี หากเริ่มดำรงตนอยู่ในสถานะของผู้ให้ ใจของเราจะสูงขึ้น เป็นอิสระจากความตระหนี่ และจะขยายออกไปอย่างไม่มีประมาณ เมื่อถึงคราวที่บุญส่งผล ก็จะส่งผลเกินควรเกินคาด แม้ตัวเราก็จะอัศจรรย์ในตัวเอง

     
@@@@@@@

*ดังเช่นเรื่องของสามเณรอรหันต์ ที่ในอดีตชาติเคยยากจนมาก่อน แต่ด้วยอานิสงส์ที่ทำบุญชนิดทุ่มสุดใจ เพราะเห็นคุณค่าของบุญยิ่งชีวิต ทำให้บุญลิขิตได้มาเกิดเป็นลูกของมหาเศรษฐี

___________________   
*มก. เล่ม ๔๑ หน้า ๒๕๙

ในสมัยพุทธกาล พระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านมีความกรุณามาโปรดมหาเสนพราหมณ์ เพราะปรารถนาจะให้อริยทรัพย์อันประเสริฐ ติดตัวเขาไปในสังสารวัฏ จึงไปบิณฑบาตหน้าบ้านของพราหมณ์บ่อยๆ พราหมณ์เห็นพระสารีบุตรแล้วคิดว่า “ทรัพย์สมบัติในบ้านของเราไม่มีเลย เครื่องไทยธรรม ที่พอจะใส่บาตรพระก็ไม่มี” จึงไม่กล้าออกมาพบพระเถระ ได้แต่หลบหน้าอยู่ในบ้าน
     
วันหนึ่ง พระเถระก็ได้ไปที่บ้านของพราหมณ์อีก เผอิญเช้าวันนั้น พราหมณ์ได้ข้าวปายาสมาถาดหนึ่งกับผ้าสาฎกเนื้อหยาบอีกผืนหนึ่ง พอท่านเห็นพระเถระบิณฑบาตผ่านมา ก็คิดว่า
    “ขณะนี้ไทยธรรมของเรามีพร้อม ศรัทธาของเราก็เต็มเปี่ยม เนื้อนาบุญอันบริสุทธิ์ก็อยู่ตรงหน้าแล้ว ฉะนั้นเราควรถวายทานแก่พระเถระในวันนี้แหละ” 
    จึงนิมนต์พระเถระให้รับบาตร แล้วน้อมถวายข้าวปายาสลงในบาตรของพระเถระ ด้วยความปีติเป็นอย่างยิ่ง
     
ขณะที่พราหมณ์ถวายข้าวไปได้ครึ่งหนึ่ง พระเถระก็ปิดบาตร พราหมณ์จึงกล่าวว่า “ขอท่านอย่าได้อนุเคราะห์กระผมเพียงแค่ชาตินี้เลย ท่านโปรดอนุเคราะห์กระผมในภพชาติเบื้องหน้าด้วยเถิด”  ว่าแล้วก็ถวายอาหารจนหมดถาด พร้อมกับผ้าสาฎกอีกหนึ่งผืน นับตั้งแต่วันนั้น พราหมณ์ก็ตามนึกถึงบุญใหญ่ที่ตนเองได้ทำแบบทุ่มสุดใจเรื่อยมา

     


ด้วยผลแห่งทานบารมีที่ได้ทำบุญถูกทักขิไณยบุคคล เมื่อละโลกไปแล้ว บุญก็ส่งผลให้พราหมณ์ไปเกิดในตระกูลอุปัฏฐากพระเถระ ในเมืองสาวัตถี  ในวันที่ท่านเกิด พวกญาติได้นิมนต์พระเถระมาฉันภัตตาหารที่บ้าน ทันทีที่เด็กน้อยได้เห็นพระเถระ ก็ระลึกชาติได้ว่า ที่ตนได้เกิดมาในตระกูลของมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ ก็เพราะอาศัยพระเถระรูปนี้  วันนี้นับว่าเป็นบุญลาภอันประเสริฐที่จะได้ถวายทานแก่พระเถระอีก 
     
พอพวกญาติจะอุ้มเข้าไปหาพระเถระ เด็กน้อยจึงใช้นิ้วมือเกี่ยวผ้ากัมพลไว้ไม่ยอมปล่อย ญาติเห็นอาการนั้น จึงอุ้มเด็กเข้าไปหาพระเถระพร้อมผ้ากัมพล พอเข้าไปถึงเบื้องหน้าพระเถระ เด็กน้อยก็ปล่อยผ้าให้ตกลงแทบเท้าท่าน  พวกญาติจึงหยิบผ้าผืนนั้นขึ้นมาถวายพระเถระ แล้วพากันตั้งชื่อเด็กน้อยนั้นว่า “ติสสะ” เหมือนชื่อเดิมของพระเถระก่อนที่จะบวช
     
ต่อมาเมื่อติสสะอายุได้เพียง ๗ ปี บุญในตัวของเขาก็เต็มเปี่ยม เห็นทุกข์ภัย ในการเกิดบ่อยๆ จึงขอบวชเป็นสามเณรอยู่กับพระสารีบุตรเถระ  ฝ่ายบิดามารดาก็ไม่ได้ขัดข้องทั้งยังมีจิตยินดีและอนุโมทนา จึงพาไปหาพระสารีบุตรที่วัด 

พระเถระได้ถามเพื่อทดสอบกำลังใจว่า
    “การบรรพชาเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เมื่อต้องการของร้อนก็ได้ของเย็น เมื่อต้องการของเย็นก็ได้ของร้อน เธอจะอดทนต่อความลำบากได้หรือ” 

ติสสะตอบด้วยความมั่นใจว่า
    “กระผมอดทนได้ และจะทำทุกอย่างตามที่พระอาจารย์สั่งสอน” พระเถระจึงรับเป็นอุปัชฌาย์บวชให้
     
เมื่อออกบวชแล้ว สามเณรได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี ด้วยอานิสงส์ ที่เคยถวายทานแด่พระสารีบุตรเถระด้วยความเคารพ โดยไม่มีความตระหนี่ติดค้างอยู่ในใจ ทำให้ชาวเมืองเกิดความรักและศรัทธาในตัวสามเณรมาก จึงชักชวนกันมาถวายทานกันมากมาย

     
@@@@@@@

ในช่วงฤดูหนาว สามเณรได้เห็นเหล่าภิกษุนั่งผิงไฟด้วยความหนาวสั่น จึงได้นิมนต์ภิกษุทั้งพันรูปเข้าไปบิณฑบาตในเมือง แล้วแจ้งความประสงค์ว่า ต้องการผ้ากัมพลสำหรับพระภิกษุเพื่อห่มกันหนาว ขณะนั้น มีชายคนหนึ่งเห็นว่า การทำทานไม่มีประโยชน์ มีแต่จะทำให้ทรัพย์หมดไป เขาจึงเที่ยวป่าวประกาศ ห้ามชาวพระนครไม่ให้มาทำบุญ แต่ด้วยบุญกุศลที่สามเณรได้ทำไว้ดีแล้ว ทำให้ชาวเมืองที่ได้เห็นสามเณรและพระภิกษุจำนวนนับพันรูป เกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่างเปี่ยมล้น ต่างก็ช่วยกันบอกบุญรวบรวมผ้ากัมพลจนครบทั้งหนึ่งพันผืนมาถวายสามเณรได้อย่างอัศจรรย์
     
สามเณรติสสะจึงเป็นที่รักของหมู่พระภิกษุทั้งหลาย และถึงแม้จะมีลาภเกิดขึ้น มีบริวารห้อมล้อมมากมาย แต่สามเณรก็มิได้ยึดติดในสิ่งเหล่านั้น ท่านได้หาโอกาสไปบำเพ็ญเพียรภาวนาในป่าตามลำพัง ตั้งใจปฏิบัติจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย
     
เราจะเห็นได้ว่า ชีวิตนี้เราลิขิตเอง เทวดาหรือพรหมไม่สามารถมาลิขิตแทนเราได้ เราปรารถนาจะให้ชีวิตเป็นเช่นไร ก็อยู่ที่เราจะเลือกเดินเอง วิสัยของนักปราชญ์บัณฑิตนั้น แม้จะพรั่งพร้อมไปด้วยทรัพย์สมบัติ รูปสมบัติ คุณสมบัติ ท่านก็ไม่ประมาท เพลิดเพลินอยู่เพียงแค่นั้น ยังคงมุ่งหวังจะทำกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป เพื่อให้เข้าถึงความบริสุทธิ์ที่แท้จริง
     
พวกเรานักสร้างบารมีก็เช่นเดียวกัน ต้องตั้งมั่นในคุณความดี เพื่อสั่งสมบุญบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป อย่าได้ย่อท้อต่ออุปสรรค เพราะบุญที่เราทำ จะเป็นพลวปัจจัยเกื้อหนุนให้เราสร้างบารมีได้อย่างสะดวกสบาย เนื่องจากเรายังต้องสร้างบารมีกันเรื่อยไป สร้างกันเป็นทีมใหญ่จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง เพื่อช่วยเหลือทั้งตัวเองและมวลมนุษยชาติ ให้เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิต คือให้เข้าถึงพระธรรมกายเหมือนๆ กัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าเราจะอยู่ในอิริยาบถใด จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็อย่าลืมนำใจมาไว้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ซึ่งเป็นแหล่งแห่งบุญกุศล เอาบุญใสใสจากการทำใจให้หยุดนิ่ง  เป็นบุญพิเศษที่จะเป็นเหตุให้เราหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะได้  ดังนั้นให้ทุกๆ ท่านตั้งใจหยุดนิ่งกันให้ดี ให้เห็นดวงธรรมชัดใสสว่าง เข้าถึงพระธรรมกายกันทุกคน
     




ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
พระธรรมเทศนาโดย : พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
URL : https://buddha.dmc.tv/dhamma/11499

 20 
 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2024, 07:31:45 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



วิธีทำ “ข้าวมธุปายาส” แจกสูตร-ส่วนผสม รับวันวิสาขบูชา

แจกสูตร พร้อมส่วนผสม “ข้าวมธุปายาส” หรือ “ข้าวทิพย์” รับวันวิสาขบูชา ตามความเชื่อที่ว่าหากใครได้ถวายเป็นพุทธบูชาจะนำพามาซึ่งความสุขสวัสดี

“ข้าวมธุปายาส” หรือที่คนไทยมักคุ้นหูกันว่า “ข้าวทิพย์” ถือเป็นอาหารในตำนานพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับวิสาขบูชา เนื่องจากก่อนที่พระพุทธเจ้าจะบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์ได้รับข้าวที่หุงด้วยน้ำผึ้ง น้ำอ้อย จากนางสุชาดาหลังพระองค์ตัดสินใจเดินทางสายกลางแทนการบำเพ็ญทุกรกิริยา

ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมทำบุญด้วย “ข้าวมธุปายาส” ในวันวิสาขบูชา และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา



ข้าวมธุปายาส

โดยเชื่อว่าการได้ถวายเป็นพุทธบูชาจะนำพามาซึ่งความสุขและบุญกุศลมาให้แก่ตน มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ มีอนามัยดี หรือมีสุขภาพดีและสมองปลอดโปร่ง

วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีจึงได้นำสูตรและเคล็ดลับการทำข้าวมธุปายาสมาฝากทุกคนกัน

ส่วนผสมข้าวมธุปายาส

    1. ข้าวสาร/ข้าวเหนียว
    2. ถั่วดำ/ถั่วแดง/ถั่วแปบ/ถั่วลิสง
    3. งาดำ/งาขาว/งาหอม
    4. น้ำตาลทราย/น้ำตาลปีบ
    5. น้ำอ้อย
    6. มะพร้าวแห้งสำหรับทำน้ำกะทิ
    7. น้ำเปล่า สำหรับคั้นกะทิ
    8. นมสด/นมกระป๋อง
    9. น้ำอ้อยสด
   10. น้ำตาลสด
   11. น้ำผึ้งแท้

วิธีทำข้าวมธุปายาส

    1. นำ ข้าวสาร/ข้าวเหนียว ลงไปแช่ให้พองตัว
    2. ขูด มะพร้าว ให้เพียงพอ แล้ว คั้นกะทิ เตรียมไว้
    3. นำ ถั่ว และ งา มาล้างให้สะอาด
    4. อุ่นกระทะร้อน หม้อ หรือเตาอั้งโล่
    5. นำ ข้าวสาร/ข้าวเหนียว ที่แช่จนพองตัวแล้วมาซาวน้ำให้สะเด็ด เสร็จนำไปนึ่งต่อจนสุก
    6. เมื่อกระทะร้อน ให้เท น้ำกะทิ ลงไป คนจนเดือดแล้วนำ น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง และ นม เทลงไป
    7. เมื่อกวนจนน้ำตาล น้ำอ้อยละลายได้ที่แล้ว ให้นำ ข้าวสุก ลงไปคน เพื่อให้ข้าวและกะทิเข้ากันอย่างดี ต่อมาให้ใส่ ถั่ว งา ต่างๆ ลงไป กวนสลับกันไปมาเพื่อไม่ให้ไหม้ก้นกระทะ เพราะไม่เช่นนั้นข้าวมธุปายาสจะไม่อร่อยเท่าที่ควร
    8. กวนจนได้ที่แล้ว ให้เทลงไปใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย


ข้าวมธุปายาส


คำกล่าวถวายข้าวมธุปายาส

โดยส่วนมากแล้วชาวบ้านในแต่ละชุมชนมักจะมารวมตัวกันประกอบพิธีทำข้าวมธุปายาส ซึ่งจะมีสาวพรหมจารีเป็นผู้กวนข้าว หรือมีคนผู้สูงวัยที่หมดประจำเดือนแล้วถือศีล เป็นผู้ช่วยอีกแรงหนึ่ง

อย่างไรก็ตามในการประกอบพิธีกรรม จะมีการกล่าวคำถวายข้าวมธุปายาสไปด้วย สามารถดูได้ที่ลิงก์นี้ (คลิก)

ทั้งนี้หากใครที่อยากทำข้าวมธุปายาสเองเพื่อนำไปทำบุญด้วยตัวเองก็สามารถทำได้ หรืออยากไปร่วมประกอบพิธีก็ทำได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้หากจะทำเพื่อนำไปกินเอง เป็นอาหารสุขภาพ ข้าวมธุปายาสนี้ก็ถือเป็นอาหารที่อุดมประโยชน์จากข้าว ธัญพืช ถั่ว และนม





ขอขอบคุณ :-
ข้อมูลจาก : กระทรวงวัฒนธรรม
URL : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/223817
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 15 พ.ค. 2567 ,13:24 น.


 :25: :25:

การกล่าว คำถวาย ข้าวมธุปายาส

สมภารเจ้าอาวาสหรือปู่อาจารย์ เป็นผู้แทนศรัทธาประชาชนกล่าวคำถวาย ศรัทธาประชาชนที่มาร่วมถวายประณมมือตั้งปณิธานตามปรารถนา ปู่อาจารย์กล่าวเป็นคำร่าย ที่คนโบราณได้รจนาไว้ ดังต่อไปนี้

@@@@@@@

โย สันนิสินโน วรโพธิมูเล มารัง สะเสนัง มหันติ๋ง วิชะโย สัมโพธิมาคัจฉิวะ อนันตะญาโน โย โลกกุดตะโม ตัง ปะนะมามิ

พุทธัง ตัง ปะนะมามิ ธัมมัง ตัง ปะนะมามิ สังฆัง ตัง ปะนะมามิ คุณสาครันตัง นะมามิ ธัมมัง มุนิราชะเทสิตัง นะมามิ สังฆัง มุนิราชะสาวะกัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา

สุณัณตุ โภนโต เทวทัสสะโน อนุโมทะนามิมัง เอกุนปัญญาสะวจัตตา ปิณฑานิ ยาวะ เทวะปริสายะ วิโนทยา มะยะ กาตานีติ

    สาธุ โอกาสะ  ข้าแต่สะหรี่สัพพัญญู
    พระพุทธเจ้า  ตนสร้างโพธิสมภาร
    มานานว่าได้สี่สูงขัย  ปลายแสนมหากัปป์
    จึงจักได้ตรัส  ผญาสัพพัญญู
    นั่งเหนือแท่นแก้ว  แทบเค้าไม้มหาโพธิรุกขา
    มีหมู่อะระหันตาสาวะกะเจ้าตั้งแปด  นั่งแวดล้อมเป็นบริวาร
    ดูรุ่งเรื่องงามเป็นมหามังคละอันประเสริฐ  ล้ำเลิศกว่านระและเทวา
    บุคคลผู้ใดมีศรัทธาสักการะบูชา  ด้วยข้าวน้ำโภชนาหาร
    แลข้าวตอกดอกไม้ทังมวล  ก็จึงจักได้พ้นจากทุกข์แล้วได้เถิงสุข
    อันมีในชั้นฟ้าและเมืองคน  มีเนรพานเจ้าเป็นยอด เที่ยงแท้ดีหลี
   
    บัดนี้หมายมี  สมณศรัทธาและมูลศรัทธา
    ผู้ข้าทั้งหลาย  ชุตนชุองค์ชุผู้ชุคน
    ก็ได้ตกแต่งพร้อมน้อมนำมา  ยังข้าว ๔๙ ก้อน
    และปานิยังน้ำกิน  เอามารูปนาตั้งไว้
    ในสมุขีกลางคลอง  ส่องหน้าแห่งองค์
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่อสวะซวาง
    วางเวนเคนหื้อเป็นทาน  แก่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จุ่งจักอว่ายหน้า  ปฏิคคาหกะรับเอา
    ยังข้าว ๔๙ ก้อน  และปานิยังน้ำกิน
    พยัญชนะของไขว่  ทั้งหลายมวลถ้วนฝูงนี้ แท้ดีหลี
    ด้วยผู้ข้าจักวางเวน  ตามพระบาลีว่า

    สารโอกาสะ มะยัมภันเต  อิมานิ ปถมัง
    โพธิบังงังกัง ทุติยัง  อะนิมิสสะกัง
    ตะติยัง จังกมะเสฏฐัง  จตุตถัง รัตนฆะรัง
    ปัญจะมัง อัชชะปาลัญจะ  ฉัฏฐมุจจลินกัญจะ สัตตะมัง ราชายะตะนัง

    เอกัสมิง ฐาเน เอเตสัตตเหยัตตกัง วโรพุทโธ วสิ
    เอกนปัญญาสะ นวจัตตาพิสะ สัพพะหิตัง

    ติรัตนพุทธะ จุฬะมณี สิงกุตตะระ บุปผาลาชา
    ติรัตนพุทธะ ธัมมะ สังฆะ

    มหาโพธิ จุฬะมณี สิงกุตตะระ สรีระธาตุ
    ศิริวิหาระ สัจจะคันธะ สมันตา คุตตะ
    สะยัง ภาชนัง ฐเปตวา มัณฑะเร ติรัตตะนัส

    ทุติยัมปิ... ฯลฯ ...
    สักกัจจัง เทมะ ปูเชมะ
   
    ตติยัมปิ สาธุโอกาส มะยังภันเต ... ฯลฯ ...
    สักกัจจัง เทมะ ปูเชมะ

อิทัง โน เอกูนะปัญญาสะ นวจัตตาฬีสะ สัมมาสัมพุทธัสสะ อยัง มหาปูชโก อนุกัมปัง อุปทายะ ทีฆะรัตตัง อัตถายะ หิตายะ สุขายะ ยาวะ นิพพานายะปัจจะโย โหตุ โน นิจจัง

@@@@@@@

เสร็จแล้วนำเอาข้าวมธุปายาส เข้าประเคนพระประธานเป็นเสร็จพิธี

ข้าวมธุปายาสนี้ เรียกว่าข้าวทิพย์ ประชาชนเชื่อกันว่าหากใครได้รับประธานจะมีอายุ วรรณะ สุขะ พละ มีอนามัยดี จึงนิยมแบ่งกันรับประทาน หากเด็กๆ ได้รับประธาน ก็จะทำให้ผิวพรรณน่ารัก มีสุขภาพดี สมองปลอดโปร่ง นิยมทำเป็นประเพณีตราบเท่าทุกวันนี้


 :96: :96: :96:

หมายเหตุ : ไม่ยืนยันความถูกต้อง ห้ามนำไปอ้างอิง ผู้รู้ช่วยตรวจสอบด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง





ขอบคุณที่มา : https://www2.m-culture.go.th/lampang/ewt_news.php?nid=2172&filename=index

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10