ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ทินกร
หน้า: 1 [2]
41  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / ชินบัญชร1 เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2009, 09:58:34 pm
42  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / เอกสารที่ใช้ในการฝึกมัชฌิมา กรรมฐาน เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 09:04:49 pm
เอกสารที่ใช้ในการฝึกมัชฌิมา กรรมฐาน
เอกสารทั้งหมดนี้นำมาจากเว็ป www.somdechsuk.com และท่านสามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้

เข้าคืบ เข้าสับ ปิติ ๕http://www.madchima.org/forum/index.php?action=dlattach;topic=55.0;attach=9
43  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / รบกวนลูกศิษย์พระอาจารย์นะครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 01:12:10 pm
เนื่องจากตอนนี้ผมเพิ่งได้งาน การเงินช่วงนี้เลยแย่ รบกวนลูกศิษย์พระอาจารย์ มาเป็นผู้ดูแลบอร์ดครับ
ด่วน!!!
เพราะเน็ตที่้บ้านผมอาจจะถูกตัดเมื่อไรไม่รู้ แต่คงเร็วๆ  นี้  หลังทำงานสักเดือน สองเดือน ถึงจะต่อใหม่
(ไม่ต้องช่วยเหลืออะไรผมนะครับ สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม) ด่วน!!! จริงๆครับ
44  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พิมพ์เผยแพร่ ผดุงพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของ เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 11:20:29 am
ตำนานสืบทอดพระกรรมฐาน
มัชฌิมา  แบบลำดับ
ของพระราหุลเถรเจ้า
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ)

พิมพ์เผยแพร่ ผดุงพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ของ

พระราหุลเถรเจ้า องค์ต้นพระกรรมฐานมัชฌิมา

สืบทอดต่อมาโดย
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

เชิญดาว์นโหลดไฟล์ไปนะครับข้อมูลเยอะพิมพ์ไม่ไหว
45  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เข้าคืบ เข้าสับ ปีติ ๕ เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 11:05:18 am
   เข้าคืบ เข้าสับ ปีติ ๕   
๑.นั่งเอายังพระลักษณะ และพระรัศมี ปีติ๕ เป็นอนุโลม เป็นปฏิโลม   (ตั้งสะดือ)
เป็นอนุโลม คือ  พระขุททกาปีติ พระขณิกาปีติ  พระโอกกนฺติกาปีติ  พระอุเพงคาปีติ พระผรณาปีติ 
เป็นปฎิโลม คือ  พระผรณาปีติ พระอุพฺเพงคาปีติ พระโอกกนฺติกาปีติ พระขณิกาปีติ  พระขุททกาปีติ
   ๒.เข้าสับปีติห้าเป็นอนุโลม   เข้าสับปีติห้าเป็นปฏิโลม
           รวมตั้งที่นาภี          รวมตั้งที่นาภี
   ๑.พระขุททกาปีติ       (ดิน)   ๑.พระผรณาปีติ         (อากาศ)
   ๒.พระโอกกันติกาปีติ(น้ำ)   ๒.พระโอกกันติกาปีติ (น้ำ)
   ๓.พระขณิกาปีติ        (ไฟ)   ๓.พระอุพเพงคาปีติ    (ลม)
   ๔.พระอุพเพงคาปีติ   (ลม)   ๔.พระขณิกาปีติ         (ไฟ)
   ๕.พระโอกกันติกาปีติ(น้ำ)   ๕.พระโอกกันติกาปีติ  (น้ำ)   
   ๖.พระผรณาปีติ         (อากาศ)    ๖.พระขุททกาปีติ        (ดิน)
   ๓.เข้าคืบพระปีติห้าเป็นอนุโลม   เข้าคืบพระปีติห้าเป็นปฏิโลม
              รวมตั้งที่นาภี              รวมตั้งที่นาภี
   ๑.พระขุททกาปีติ (ดิน)   ๑.พระอุพเพงคาปีติ (ลม)
   ๒.พระโอกกันติกา (น้ำ)   ๒.พระขณิกาปีติ  (ไฟ)
   ๓.พระผรณาปีติ (อากาศ)   ๓.พระผรณาปีติ(อากาศ)
                           ๔.พระขณิกาปีติ  (ไฟ)    ๔.พระโอกกันติกาปีติ(น้ำ)
   ๕.พระอุพฺเพงคาปีติ (ลม)   ๕.พระขุททกาปีติ (ดิน)
เพื่อฝึกจิตให้แคล่วคล่อง
   ๖.เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นอนุโลม   เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นปฏิโลม
                    ๑.พระขุทฺทกาปีติ        (ดิน)   ๑.พระผรณาปีติ         (อากาศ)
   ๒.พระขณิกาปีติ         (ไฟ)   ๒.พระอุพฺเพงคาปีติ    (ลม)
   ๓.พระโอกกันติกาปีติ  (น้ำ)   ๓.พระโอกกันติกาปีติ  (น้ำ)
   ๔.พระอุพฺเพงคาปีติ     (ลม)   ๔.พระขณิกาปีติ         (ไฟ)
   ๕.พระผรณาปีติ          (อากาศ)   ๕.พระขุททกาปีติ        (ดิน)
   การเข้าสับ เข้าคืบ เข้าวัด ออกวัด พระปีติห้า เป็นอนุโลมปฏิโลม ทำให้จิตชำนาญ แคล่วคล่อง เป็นวสี    ในเบื้องต้น


ขั้นตอนการนั่งพระยุคลธรรม ๖   
   เข้าสับพระยุคลหกเป็นอนุโลม   เข้าสับพระยุคลหกเป็นปฏิโลม
                      รวมลงที่นาภี             รวมลงที่นาภี
   ๑.พระกายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ            ๑.พระกายชุคคะตา-จิตชุคคะตา
   ๒.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา                  ๒.พระกายกมฺมัญญะตา-จิตกมฺมัญญะตา
๓.พระกายลหุตา-จิตลหุตา                     ๓.พระกายปาคุญญะตา-จิตปาคุญญะต
   ๔.พระกายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา    ๔.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา             
                 ๕.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา                     ๕.พระกายกัมมัญญะตา-จิตกัมมัญญะตา
   ๖.พระกายปาคุญญะตา-จิตปาคุญญะตา    ๖.พระกายละหุตา-จิตละหุตา     
   ๗.พระกายกัมมัญญะตา-จิตกัมมัญญะตา    ๗.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา   
   ๘.พระกายชุคคะตา-จิตชุคคะตา                    ๘.พระกายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ             
---------------------------------
   เข้าคืบยุคลหกเป็นอนุโลม      เข้าคืบยุคลหกเป็นปฏิโลม
           รวมลงที่นาภี              รวมลงที่นาภี
   ๑.พระกายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ                   ๑.พระกายชุคคะตา-จิตชุคคะตา        
   ๒.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา                         ๒.พระกายกัมมัญญะตา-จิตกัมมัญญตา
   ๓.พระกายปาคุญญะตา-จิตปาคุญญะตา      ๓.พระกายลหุตา-จิตลหุตา                 
   ๔.พระกายลหุตา-จิตลหุตา                        ๔.พระกายปาคุญญะตาจิตปาคุญญะตา
   ๕.พระกายกัมมัญญะตา-จิตกัมมัญญะตา      ๕.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา                 
   ๖.พระกายชุคคะตา-จิตชุคคะตา                     ๖.พระกายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ           
--------------------------------
   เข้าวัดออกวัดสกดยุคลหก   เข้าวัดออกวัดสะกดยุคลหก
                     เป็นอนุโลม             เป็นปฏิโลม
   ๑.พระกายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ           ๑.พระกายชุคคะตา-จิตชุคคะตา         
   ๒.พระกายลหุตา-จิตลหุตา                  ๒.พระกายปาคุญญะตา-จิตปาคุญญะตา 
   ๓.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา                   ๓.พระกายกัมมัญญะตา-จิตกัมมัญญะตา 
   ๔.พระกายกัมมัญญะตา-จิตกัมมัญญะตา   ๔.พระกายมุทุตา-จิตมุทุตา                   
   ๕.พระกายปาคุญญะตา-จิตปาคุญญะตา   ๕.พระกายลหุตา-จิตลหุตา           
   ๖.พระกายชุคคะตา-จิตชุคคะตา                ๖.พระกายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ   
----------------------


พระสุขสมาธิ ๒ ประการ
๑.พระกายสุข  จิตตะสุข(สบาย)
๒.พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ
ขั้นตอนการนั่งสุขสมาธิ
ขั้นตอนที่ ๑-๒-๓  เหมือนพระยุคลหก
ขั้นตอนที่ ๔
เข้าวัดออกวัด  เข้าสะกดพระสุขพระพุทธา    เข้าวัดออกวัดเข้าสะกดพระสุขพระพุทธา
            เป็นอนุโลม                                                           เป็นปฏิโลม
๑.พระกายสุข-จิตสุข   ๑.พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ
๒.พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ                              ๒.พระกายสุขจิตสุข
46  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ประวัติพระราหุลเถระเจ้า เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 10:10:25 am
พระราหุลเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
******
       พระราหุลกุมาร เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พุทธโอรส) กับพระนางยโสธรา หรือ พิมพา เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์  ประสูติวันเดียวกันกับที่พระบิดาเสด็จออกบวช ดังนั้น ท่านจึงเจริญพระชันษาเติบโตขึ้นมาโดยมิเคยเห็นพระพักตร์รู้จักพระบิดาเลย จวบจนครั้นเมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ ณ นิโครธารามซึ่งพระประยูรญาติสร้างถวาย  ในวันรุ่งขึ้นเวลาเช้า ทรงปฏิบัติพุทธกิจ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาในระหว่างถนนให้พระบิดาดำรงอยู่ใน พระโสดาปัตติผล
     ในวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระบิดาและพระนางมหาปชาบดีโคตมี เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระบิดาดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ส่วนพระนางมหาปชาบดีโคตมีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
     เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ว่าพระพุทธองค์จะเสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาทในพระราชนิเวศน์ถึง ๖ วันแล้วก็ตาม แต่พระนางพิมพาพระมารดาของราหุลกุมาร ก็มิได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ดุจบุคคลอื่นๆ เลย
                           ราหุลกุมารทูลขอทรัพย์สมบัติ
      ครั้นล่วงถึงวันที่ ๗ แห่งการเสด็จเยือนพระนครกบิลพัสดุ์ พระนางพิมพาราชเทวี ประดับตกแต่งองค์ราหุลกุมารราชโอรสด้วยอาภรณ์อันวิจิตร แล้วตรัสว่า .-
      “พ่อราหุลลูกรัก พ่อจงไปดูพระสมณะผู้มีผิวพรรณผ่องใส มีรูปงามดุจท่านท้าวมหาพรหม แวดล้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเป็นจำนวนมาก พระสมณะองค์นั้นคือพระบิดาของเจ้า พระองค์มีขุมทรัพย์มหาศาลอันสุดจะคณนา นับแต่พระบิดาของเจ้าออกบวช เจ้าก็เหมือนหมดหวังในราชสมบัติ เจ้าจงไปกราบไหว้พระบิดาแล้วกราบทูลขอทรัพย์สมบัตินั้น ในฐานะเป็นทายาทสืบสันตติวงศ์ต่อพระองค์เถิด”
      ราหุลกุมาร เสด็จเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามพระดำรัสของพระมารดา กราบถวายบังคมแล้ว ทอดพระเนตรดูพระสัพพัญญู บังเกิดความรักในพระบิดา ทรงปราโมทย์โสมนัสตรัสชมว่า  “ร่มเงาของพระองค์เย็นสดชื่นยิ่งนัก พระพักตร์ของพระองค์สดใสสุดประมาณ” ดังนี้แล้ว ก็ตรัสเรื่องอื่นๆ ต่อไป โดยมิได้กราบทูลขอทรัพย์สมบัติ
      พระพุทะองค์ ทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสอนุโมทนา เสด็จกลับสู่นิโครธาราม ส่วนราหุลกุมารก็เสด็จติดตามไปจนถึงอาวาส มิมีผู้ใดจะสามารถกราบทูลทัดทานได้ เมื่อสบโอกาสจึงกราบทูลขอทรัพย์สมบัติอันเป็นสิ่งที่รัชทายาทผู้สืบราชสันตติวงศ์จะพึงได้รับ
                                 พระราชทานอริยทรัพย์
      พระบรมศาสดา ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงดำริว่า “ราหุลกุมารปรารถนาทรัพย์สมบัติอันเป็นของพระบิดา ถ้าตถาคตจะให้ขุมทองแก่เธอแล้ว ก็จะเป็นสิ่งชักนำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ด้วยเป็นสิ่งหาสาระแม้สักนิดหนึ่งก็หามีไม่ อย่ากระนั้นเลย เราจะมอบอริยทรัพย์อันเป็นสิ่งประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนานี้แก่เธอ ซึ่งจะทำให้เธอเป็นโลกุตรทายาท สืบสกุลในพุทธวงศ์นี้สืบไป”
      ครั้นแล้ว ทรงมีพระดำรัสสั่งพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจัดการบรรพชาให้แก่ราหุลกุมารในวันนั้น ด้วยวิธีให้รับไตรสรณคมน์  และสามเณรราหุลได้ชื่อว่าเป็นสามณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา
                            พระเจ้าสุทโธทนะทูลขอพร
     พระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทราบว่าราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ทรงโทมนัสเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งด้วยหวังไว้แต่เดิมว่า เมื่อพระราชโอรสสิทธัตถะออกบวชแล้ว ก็หวังจะได้นันทกุมารสืบราชสมบัติต่อ แต่พระบรมศาสดาก็ทรงพานันทะออกบวช ทำให้ผิดหวังเป็นคำรบสอง แต่ก็ยังมีหวังอยู่ว่าจะให้ราหุลกุมารหลานรัก เป็นทายาทสืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำไปบวชเสียอีก จึงหมดสิ้นผู้จะสืบสายรัชทายาท ทรงดำริต่อไปอีกว่า หากปล่อยไว้อย่างนี้อีกไม่นาน บรรดากุมารในศากยสกุลก็จะถูกนำไปบวชจนหมดสิ้น อนึ่ง ความทุกขโทมนัสอย่างนี้ ก็จะเกิดแก่บิดามารดาในสกุลอื่นๆ  ด้วยเหตุสิ้นคนสืบสกุล จึงรีบเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่นิโครธาราม กราบทูลขอประทานพรพุทธานุญาตว่า.-
     “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับต่อแต่นี้ไป ถ้ากุมารผู้ใดแม้ประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนา หากมารดาบิดายังมิยอมพร้อมใจกันอนุญาตให้บวชแล้ว ขอได้โปรดงดเสีย อย่าได้ให้บรรพชาแก่กุลบุตรผู้นั้นเลย”
       พระบรมศาสดา ได้ประทานพรตามที่พระพุทธบิดากราบทูลขอ แล้วถวายพระพรลา พาพระนันทะและสามเณรราหุล พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จกลับสู่มหานครราชคฤห์
      เมื่อพระราหุลกุมารบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ตามเสด็จพระบรมศาสดา และพระสารีบุตรเถระอุปัชฌาย์ของตนไปสถานที่ต่างๆ
     วันหนึ่ง ขณะที่พระราหุลพักอยู่ที่สวนมะม่วง ในกรุงราชคฤห์ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาราหุโลวาทสูตรให้ท่านฟัง   หลัง
จากนั้นทรงสอนในทางวิปัสสนา ทรงยกอายตนะภายในและภายนอกขึ้นแสดง สามเณรราหุลส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
                  เป็นอนุบัญญัติให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
      ในขณะเมื่อท่านเป็นสามเณรเล็กๆ อยู่นั้น ท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย จนเป็นที่เลื่องลือในหมู่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่า ครั้งหนึ่ง พุทธบริษัททั้งหลาย ฟังธรรมกันยามค่ำคืน โดยมีพระเถระผลัดเปลี่ยนกันแสดงธรรม เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ต่างก็กลับที่พักของตน ส่วนพระภิกษุผู้บวชใหม่ และสามเณร รวมทั้งอุบาสก ที่ไม่สามารถจะกลับที่พักได้ เพราะค่ำมืด จึงอาศัยนอนกันในโรงธรรมนั้น เนื่องจากเป็นพระบวชใหม่ จึงไม่สำรวมในการนอน ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดู รุ่งเช้าอุบาสกทั้งหลายพากันติเตียนและความทราบไปถึงพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์จึงรับสั่งประชุมสงฆ์ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท “ห้ามภิกษุนอนร่วมในที่มุงที่บังเดียวกันกับอนุปสัมบัน (อนุปสัมบัน คือผู้มิใช่พระภิกษุ) ถ้านอนร่วมต้องอาบัติปาจิตตีย์”
       ครั้นกาลต่อมา สามเณรราหุลไม่สามารถจะนอนร่วมกับพระภิกษุได้ และเมื่อไม่มีที่จะนอน ท่านจึงเข้าไปนอนในเวจกุฎี (ส้วม) ของพระบรมศาสดา เมื่อเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธองค์เสด็จไปเวจกุฎีส่งเสียงกระแอมออกไปแล้วได้สดับเสียงกระแอมตอบจากข้างในและได้พบเธอนอนในที่นั้น และทรงทราบว่า เพราะเธอไม่มีที่นอนอันเนื่องมาจากพุทธบัญญัติ ทำให้พระองค์สลดพระทัย จึงดำริว่า “ต่อไปภายหน้า สามเณรน้อยๆ จะได้รับความลำบาก เพราะขาดผู้ดูแล เอาใจใส่” จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า .-
       “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนอนรวมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ถ้าเกิน ๓ คืน พระภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์”
      ในพุทธบัญญัตินี้ หมายถึงให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ในคืนที่ ๔ ให้เว้นเสีย ๑ คืน แล้วค่อยกลับมานอนรวมกันใหม่ได้โดยเริ่มนับ ๑ ใหม่ จึงถึงคืนที่ ๓ ปฏิบัติโดยทำนองนี้ จนกว่าจะมีสถานที่นอนแยกกันเป็นการถาวร
                       ได้รับยกย่องเป็นผู้ใคร่การศึกษา
      สามเณรราหุล เมื่ออายุครบ ๒๐ พรรษา ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เป็นผู้มีอัธยาศัยใคร่ต่อการศึกษาพระธรรมวินัย ทุกวันที่ท่านตื่นขึ้นมาเวลาเช้า ท่านจะกำทรายให้เต็มฝ่ามือแล้วตั้งความปรารถนาว่า “วันนี้ ข้าพเจ้าพึงได้รับคำสั่งสอนจากสำนักพระบรมศาสดา สำนักพระอุปัชฌาย์ และสำนักพระอาจารย์ทั้งหลาย ให้ได้ประมาณเท่าเม็ดทรายในกำมือของข้าพเจ้านี้”
       ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา ให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ใคร่ในการศึกษา
       ท่านพระราหุลเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพานที่บัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ ณ ดาวดึงสเทวโลก
      ท่านมีอายุไม่มากนัก เพราะท่านนิพพานก่อนพระพุทธองค์ผู้เป็นพระบิดา ก่อนพระสารีบุตรผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นพระอาจารย์

                                  *********
Aeva Debug: 0.0007 seconds.Aeva Debug: 0.0007 seconds.
47  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / กำเนิดพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ จากพระราหุล มหาเถระเจ้า พุทธชิโนรส เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 09:50:25 am
    กำเนิดพระกัมมัฏฐานแบบลำดับนั้นถือว่ามาจากพระบรมศาสดาโดยตรงเป็น คำสอนที่ พระภิกษุในสมัยพุทธกาลนั้นเล่าเรียนปฏิบัติเพื่อความหลุดพัน ในสมัยที่พระบรมศาสดาทรงมีพระชนม์ชีพอยู่นั้นภิกษุที่บวชเข้ามาในพระศาสนาจะ เข้าศึกษารับการอบรมจากพระเถระที่ตนเห็นว่ามีนิสัยที่ต้องกันเพื่อรับคำสอน ต่างๆ มาปฏิบัติโดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน ในครั้งนั้นพระราหุลซึ่งเป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะก่อนที่จะทรงผนวชเป็น พระพุทธเจ้า ก็มาออกผนวชตามพระราชบิดาด้วย พระพุทธองค์ทรงให้ศึกษากับพระเถระที่ทรงยกย่องว่ายอดเยื่ยมในคุณธรรมต่างๆ กัน จนพระบรมศาสดาได้ตรัสยกย่องว่า พระราหุลนั้นเป็นยอดในผู้ศึกษาเล่าเรียน หลังจากที่พระบรมศาสดาละสังขารปรินิพพานแล้ว ศิษย์ของพระราหุลท่านนี้เองที่เป็นกำลังสำคัญของพระศาสนา สืบต่อแนวทางปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทาต่อมาจนสืบสายมาถึง สุวรรณภูมิจึงจะขอเล่า ท้าวความถึงประวัติพระราหุลเพื่อจะได้เข้าใจถึงความเป็นมาของพระกัมมัฏฐาน สายนี้ว่ามีที่ไปที่มาอย่างไร ?  จะได้เห็นว่าควรหวงแหนรักษาไว้เป็นสมบัติล้ำค่าของพระพุทธศาสนาชิ้นนี้ไว้เพียงไหน ด้วยพระกัมมัฏฐานสายนี้มีแบบแผน ที่ผ่านการกล่อมเกลาจากพระบรมศาสดา และ บรรดา พระอรหันต์ระดับปฏิสัมภิทาญาณ (ชั้นอัครมหาสาวก มหาสาวก สาวก) มากมายและัยังมีหลักฐานบันทึกปรากฏแม้ในสิงหลประเทศ(ลังกา) จนทั่วแคว้นแดนสุวรรณภูมิ จึงมิใช่นั้นสมาธิแล้วเกิดนิมิต นึกสำคัญเอาว่าตัวสำเร็จเป็ฯผู้วิเศษเกิด แนวทางปฏิบัิตใหม่ หนักเข้าก็ตีเหมาเอาว่าเป็นของเก่าสมัยพุทธกาลที่สาบสูญไปตัวเป็นคนมีบารมี สูงจึงนั้งนึกเอาได้กลับคืนมาอย่างนี้ก็มี ซ้ำยังมีพุทธศาสนิกชนที่หลงเชื่อเข้าใจว่าเป็นจริง เป็นจำนวนมาก บางคราวก่อครุกรรมถึงทำสัทธรรมปฏิรูปปฏิเสธพระไตรปิฎกก็มี ให้เห็นอยู่เป็นอันมาก พุทธศาสนิกชนทั้งหลายท่านควรทราบว่า ความจริงพระสัทธรรมของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นยังไม่สาปสูญหายไปไหนได้ดอก  ด้วยยังไม่ถึงอายุขัยพระศาสนาประการหนึ่งและพระเถระผู้ทรงคุณอันยิ่ง ใหญ่ที่ได้บรรลุธรรมวิเศษก็ยังมีมากมายที่รับเป็นธุระในกิจพระศาสนาอธิษฐาน กายธรรมเจโตวิมุตติสุขสัญญา ลหุสัญญาไม่ด่วนดับขันธ์(กายเนื้อดับแต่อธิษฐานกายธรรมไว้) คอยเกื้อกูลผู้ สัมมาปฏิบัติก็มีเป็นอันมากแต่เป็นเรื่องอจินไตยจึงขอเว้นไม่กล่าวเสียใน รายละเอียด

    ประเทศไทยเรานับว่ามีวาสนามากมายนัก ด้วยเป็นที่สถิตตั้งมั่นของบวรพุทธศาสนาทั้งหลักธรรมที่สืบทอดมาแต่ครั้งพระบรมศาสดาก็ยังมีอยู่อย่างครบถ้วนเพียงแต่เรายังไม่รู้และยังไม่ตื่นตัว การเขียนคอลัมน์นี้ผู้เขียนอุทิศให้พระพุทธศาสนาด้วยแรงกาย แรงใจ ด้วยสติปัญญา อันมีเจตนาบริสุทธิ์ที่จะนำของวิเศษที่สุดมานำเสนอให้ท่านได้รู้ ได้เรียน ได้ศึกษาเป็นของดี ที่อยู่ใกล้ตัวแค่เือื้อมไม่ต้องข้ามน้ำข้ามทะเลไปหาจากแดนไกล แม้ฝรั่งต่างเมืองที่เข้ามาทำงานวิจัยเรื่องการปฏิบัติกัมมัฏฐานใน สุวรรณภูมิก็ยังยอมรับว่าของไทยเรานั้นยังมีอยู่ครบถ้วน จึงขอนำตำนานการสืบพระกัมมัฏฐานที่ท่านพระครู สังฆรักษ์(วีระ) ฐานะวีโร ได้เรียบเรียงมาให้ท่านได้ทราบพอสังเขปดังนี้

ที่มา : จากหนังสือ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ (ฉบับสำหรับขึ้นกรรมฐาน)Aeva Debug: 0.0005 seconds.
48  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธาตุสัมปยุต เข้าถึงปิติ เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 09:21:05 am
ธาตุสัมปยุต เข้าถึงปิติ

๑.พระขุททกาปีติ (ธาตุดิน) มี ๒๑ จุด

   ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ลำไส้ สำไส้สุด อาหารในกระเพาะ อุจจาระ มันสมอง เยื่อมันสมอง
   มีลักษณะ ๔ ประการ
มึนตึง เวียนหัว แลหนัก แลเย็น ไม่ใช่ ขนลุกขนพองบนศรีษะและกาย

๒.พระขณิกาปีติ (ธาตุไฟ) มี ๖ จุด

   วัตถุทางตา วัตถุทางหู วัตถุทางจมูก วัตถุทางลิ้น วัตถุทางกาย วัตถุทางใจ
   มีลักษณะ ๖ ประการ
เกินในจักขุทวารเป็นเหมือนดังสายฟ้าแลบ เกิดในทวารอื่นเป็นดังปลาตอด เกิดเหมือนเอ็นชักก็มี เกิดเหมือนแมลงบินไต่ตามตัว เกิดร้อนทั่วตัว และเกิดในหัวใจ สั่น ไหว เกิดดังไฟไหม้ลามไป

๓.พระโอกกันติกาปีติ (ธาตุน้ำ) มี ๑๒ จุด

    น้ำดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำลื่นหล่อข้อ น้ำเมือก น้ำมูตร
    มีลักษณะ ๖ ประการ
เกิดดังฟองน้ำเป็นน้ำกระเพื่อม เกิดดังขี่เรือบนระลอกคลื่น เกิดดังไม้ปักไว้ที่กลางสายน้ำไหลสั้นระรัวอยู่ก็มี เกิดดังหัวใจและท้องน้อยผัดผันก็มี เกิดเป็นลมพัดทั่วกายก็มี

๔.พระอุพเพงคาปีติ (ธาตุลม) มี ๗ จุด

    อารมณ์ร่วมทางจักษุ อารมณ์ร่วมทางหู อารมณ์ร่วมทางจมูก อารมณ์ร่วมทางลิ้น อารมณ์ร่วมทางกาย
อารมณ์ร่วมทางจิต อารมณ์ร่วมทางใจ
    มีลักษณะ ๗ ประการ
ให้กายสูงขึ้น ให้กายเบาขึ้น ให้กายลอยขึ้น ให้กายเยิบๆแยบๆ ให้กายเหมือนไรไต่ก็มี ให้ลงท้องบิด ให้รู้สึกว่าเป็นไข้อยู่

๕.พระผรณาปีติ (ธาตุอากาส) มี ๑๐ จุด

    ช่องตาซ้าย ช่องตาขวา ช่องจมูกซ้าย ช่องจมูกขวา ช่องหูซ้าย ช่องหูขวา ช่องทวารหนัก ช่องทวารเบา ช่องปาก ช่องหทัย
    มีลักษณะ ๖ ประการ
ให้กายนั้นพร่างพรายก็มี เกิดให้กายเย็นประดุจอาบน้ำ ให้กายเย็นซาบซ่านไปทั่วกาย ให้กายเย็นเหมือนลงแช่น้ำ ให้รู้สึกว่าเป็นดังว่างๆดุจอากาศ ให้รู้สึกความเย็นแผ่ขึ้นแผ่ลง



ลักษณะของพระธรรมปีติ

    พระปีติ หมายถึง ความอิ่มใจ ความปราโมทย์ ความยินดียิ่ง ความบันเทิง ความร่งเริง ความรื่นเริง ความตื่นเต้น ความชื่นชมยินดี


ภาวนาธาตุสัมปยุต (เบื้องต้น)
    กายนี้ไม่ใช่เรา เรานี้ไม่ใช่กาย กายนี้ไม่ใช่เรา เรานี้ไม่ใช่กาย กายนี้ไม่มีในเรา เรานี้ไม่มีในกาย มีแต่จิตล้วนๆ


คัดลอกจากหนังสือ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ (ฉบับสำหรับขึ้นกรรมฐาน)
49  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / พระอาจารย์มีกิจลงใต้ ไปชุมพร เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 08:57:21 am
ท่านใดมีความประสงค์ จะฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา ถ้าต้องการขึ้นกรรมฐาน
กรุณามาหลังวันที่ 27 เพราะกำหนดการกลับของพระอาจารย์สนธยา
วันที่ 28  พ.ย. ครับAeva Debug: 0.0004 seconds.
50  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / ย้ายแล้ว: ถ้าต้องการทำบุญเพื่อให้เกิดความสบายใจควรเริ่มจากตรงไหนก่อนครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2009, 02:43:40 pm
หัวข้อนี้ได้ถูกย้ายไปบอร์ด สนทนาธรรม.

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=44.0
51  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ธรรมะจากผึ้ง เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 05:10:12 pm
ธรรมะจากผึ้ง

พระราชสุทธิญาณมงคล (จรัญ ฐิตธมฺโม)
เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี และ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี
ผู้มีปณิธานมั่นคง และ มีผลงานพัฒนาคนให้สูงด้วยคุณธรรม
 
ผึ้ง หรือ แมลงผึ้ง ทุกคนคงรู้จักกันดี เพราะเคยรับประทานน้ำหวานที่มีรสหวานอร่อยของแมลงผึ้ง หรือ เคยรับประทานน้ำผึ้งด้วยกันทุกคน สังคมจะอยู่ร่มเย็นได้ด้วยบุคคลในสังคมนั้นต้องเจริญพระกรรมฐาน นำธรรมะที่ได้จากตัวผึ้งมาสอนใจคน ซึ่งใช้ได้เป็นอย่างดี ธรรมะ ๕ ประการจากตัวผึ้งดังกล่าวได้แก่
๑.  ขยันหากิน
๒.  บินไม่สูง
๓.  รักความสะอาด
๔.  ฉลาดสะสม
๕.  นิยมสามัคคี

ชน เหล่าใดปลูกป่า คือ ปลูกไม้ดอกและไม้ใบ ปลูกไม้ยืนต้น คือ ให้ได้ที่ร่มเงาเป็นทาน ขุดบ่อน้ำสร้างน้ำประปาให้ที่พักเป็นทาน บุญกุศลย่อมเจริญแก่คนเหล่านั้นทั้งกลางวันและกลางคืนเป็นต้น ให้ข้าวน้ำเป็นทานได้ชื่อว่าให้กำลัง ให้ผ้าผ่อนท่อนสไบเป็นทานเชื่อว่าให้ผิวพรรณ ให้ยานพาหนะเป็นทานชื่อว่าได้ให้ความสุข ให้แสงสว่างเป็นทานชื่อว่าได้ให้ดวงตาเห็นธรรม สร้างที่พักอาศัยให้เขาอยู่อาศัยกันเจริญพระกรรมฐานเป็นทานชื่อว่าได้ให้ ทุกอย่าง เกิดทุก ๆ ภพ ทุก ๆ ชาติ ย่อมเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ อย่างดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ดังกล่าวแล้ว

 ให้ทานของเลิศก็ย่อมได้ ของเลิศตอบแทน ให้ทานของดีของประเสริฐก็ย่อมได้ของดีของประเสริฐตอบแทน ให้ทานของอันเป็นที่พึงพอใจก็ย่อมได้รับของที่เป็นที่พึงพอใจ ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาชื่อว่าสร้างความเป็นผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ หรือ ตำแหน่งให้แก่ตัวของตัวเอง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้กระทำลงไป ย่อมเป็นเงาสะท้อนย้อนกลับคืนมาหาตัวของเราเอง ฉันใดก็ฉันนั้นเช่นเดียวกัน ชีวิตท่านจะสูงค่า ถ้าท่านจะใฝ่หาประโยชน์เกื้อกูล ได้สนับสนุนความีน้ำใจ เอื้ออารีต่อกันนั่นเอง

 มนุษย์ผู้เกิดมาได้คุณค่าคุณธรรมไว้ค้ำจุน พระพุทธพจน์ ท่านกล่าวมาชัดเจนมาก คือ ทานนั่นเอง เกิดเป็นชายควรพยายามเรื่อยไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จในอนาคตท่านชายทั้ง หลายเอ๋ย จงพยายามเถิดประเสริฐแล้ว เกิดมาทั้งทีชายชาติเชื้ออย่าเหลือวิสัย ชายจริงหญิงแท้ จะเป็นคนแก่ที่น่าบูชา มีประโยชน์ต่อชีวิตของท่านเอง ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ที่ทำงานโดยไม่เบื่อหน่ายท้อถอย ค่าของคนอยู่ทีผลของงานนั้น คนที่ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่อากูรเกื้อหนุนตลอดเวลากาล พระพุทธเจ้าทรงแสดงพุทธพจน์ไว้ว่า ย่อมฉิบหายล่มจมแน่นอนที่สุด

 ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลัง อุปสรรคนั้นเป็นยาชูกำลังชีวิตให้เจริญก้าวหน้า โปรดอย่าได้ท้อถอย หดหู่ ท้อแท้ อันธรรมดาว่าวจะขึ้นสูงได้ต้องโต้ลม ถ้าไม่มีลมโต้ว่าวขึ้นสูงไม่ได้ ท่านโปรดตีความหมายข้อนี้ให้ได้ปลาที่เป็น ๆ มีชีวิตจะต้องแหวกว่ายทวนกระแสน้ำ ไม่มีปลาตัวใด จะว่ายลงตามกระแสน้ำนอกจากปลาตาย ต้องทนลำบากไปก่อนจึงค่อยสบายในภายหลัง ถ้าเหลือกำลังมากจงช่วยออกปากบอกแขกแบกหาม ความทุกข์ยากความลำบากเป็นครูสอนตัวท่านได้ดี

 ท่านสาธุชนทั้งหลาย ถ้าท่านประสบความทุกข์ยากลำบากมา จะเป็นครูสอนตัวท่านได้ดีที่สุด คนที่ท้อแท้ไม่เคยลำบากไม่มีครู เหงื่อไม่ออกเมื่อยังเป็นเด็กหนุ่ม จะไปออกเป็นน้ำตาเมื่อคราวแก่ เพราะไม่มีสมบัติอะไรจะเหลือแต่ประการใด แม้แต่ข้าวจะกรอกปากก็ยังหายาก อยู่กินอย่างคนรวยจะยากจนเมื่อภายแก่ อยู่กินอย่างคนยากจนจะร่ำรวยไปจนวันตาย แต่งตัวเหมือนเทวดาไม่มีปัญญาหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เกิดเป็นคนก็ต้องทนลำบาก ถึงตกยากก็ต้องอยู่สู้ไม่หนี

 ท่านสาธุชน วิกฤตการณ์เช่นนี้อย่าหนี ต้องต่อสู้ต่อไป อดทนสู้ไป สู้ไม่หนี ความทุกข์ยากเป็นครูสอนคนได้ดี ไม่ถึงที่ก็ต้องหัดกัดฟันทน มีเงินทองข้าวของและเครื่องใช้ ใช้จ่ายไปก็ต้องตรองมองเห็นผลอย่าฟุ่มเฟือยเกินไป ยุคใหม่สมัยนี้ขอเตือนท่านสาธุชน ทำบุญก็พิจารณาก่อนทำ อย่าให้มันมากไป ทำพอสมควรพอจะทำได้ มองเห็นผลอย่าฟุ่มเฟือย จ่ายมากจะยากจน ประคองตนไว้ให้ถูกทุกข์ไม่มี มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ มีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน เป็นมนุษย์บุรุษโชคอย่าโศกเศร้า ให้เร่งเข้าสร้างฐานะมาต่อสู้ หนักก็เอาเบาก็รับประดับชู เป็นเกียรติคู่ความดีศักดิ์ศรีตัว มีความหมายมาก เงินและงานการศึกษาควรหาก่อน อย่ารีบร้อนไปหารักงานจักเสีย ถ้าขาดเงินขาดงานพาลขาดเมีย งานไม่เสียเมียคงมีเงินคงมา ถ้ารักยศรักศักดิ์อัครฐาน ต้องรักงานไว้ประกันขันอาสา ถ้างานลดยศก็ถอยด้วยราคา มีปัญญาอย่าขี้ฉ้องอมือตัว

  โบราณท่านสอนว่า รกคนดีกว่ารกหญ้า แต่ถ้าคนขาดคุณธรรมขาดสติปัญญาแล้ว รกหญ้าที่กว่ารกคน อันทางคดลดเลี้ยวป่าเปลี่ยวรก ก็พอโศกถางดายให้หายรก แต่นิสัยคนขี้ปดมักคนโกง ยากจะจรรโลงให้หายโล่งเหมือนทางเตียน อีกคำหนึ่งว่า เลี้ยงคนดีกว่าเลี้ยงหมา ถ้าเลี้ยงคนทรามปัญญาเป็นอันธพาล สร้างปัญหาหนักอกรกสมอง ก่อกวนให้ชาวบ้านเดือดร้อน นอนตาไม่หลับแล้วเลี้ยงหมาดีกว่าเลี้ยงคน เลี้ยงหมาก็ยังได้อาศัยเฝ้าสมบัติเวลาหลับ หรือ เวลาออกไปธุระนอกบ้าน เราเลี้ยงหมายังได้เฝ้าสมบัติ ขอจงดัดนิสัยให้เข้าที่ดีกว่าเลี้ยงศัตรูหมู่ไพรี ซึ่งคอยหาช่องทางทำลายเรา

 จะ เลี้ยงคนเลี้ยงสัตว์นั้นไม่ว่า ขอจงอย่าเลี้ยงไว้ให้ไร้ผล เลี้ยงคนและสัตว์หัดบ้างงอย่าห่างตน จะได้ผลคุ้มค่าพาสุขใจ อันเสือสิงห์ลิงค่างและช้างแรด บุกรุกแดดหญ้าคาในดงป่า นำมาเสริมเติมตัดหัดกายา ค่อยสูงค่าพาโชคโรคทางกาย

 โบราณท่านสอนไว้ อีกว่า จงเอาเยี่ยงกาแต่อย่าเอาอย่างกา ธรรมดานกกา หรืออีกานั้น มันตื่นแต่เช้ามืด รู้สึกว่ามันจะตื่นก่อนสัตว์ทุกชนิดในบรรดาสัตว์ที่หากินยามเช้า ท่านจึงสอนให้เราดูเยี่ยงมันแต่อย่าเอาอย่างมัน เอาเยี่ยงมันได้คือตื่นแต่เช้ามืด แต่อย่าเอาอย่างมันเพราะสันดานของอีกา ถึงมันจะตื่นแต่เช้ามืดก็จริง แต่มันไม่ได้หากินโดยสุจริต ด้อม ๆ มอง ๆ ลักของเขา เวลาคนเขาเผลอแล้วเมื่อใด ได้โอกาสก็ฉวยลับกายตัวไป เหมือนคนบางประเภทที่มีสันดานโสโครกที่มักทำนาบนหลังคน เผลอไม่ได้ประมาทไม่ได้ต้องคอยระมัดระวัง แม้เวลาจะหลับจะนอนก็ต้องระแวดระวัง หลับไม่สนิทติดกาย

  พระพุทธองค์ยังทรงตำหนิคนประเภทนี้ว่าคนที่มีสันดานโสโครก มักเห็นแก่ได้ คนพวกนี้ไม่ได้ด้วยเล่ห์ต้องเอาด้วยมนต์ ไม่ได้ด้วยกลก็ต้องเอาด้วยคาถา หามาโดยสุจริตไม่พอต่อความต้องการ ไม่สมอยากสมหิวเพราะใจมันเป็นเปรต เป็นผีหิวอยู่เรื่อยไป เอาได้ทุกอย่าง ทำได้ทุกอย่าง ลักปล้นจี้โกงทุกอย่าง มีจิตวิปลาสขาดยางอาย

  ตำนานของพระพุทธศาสนา ท่านเล่าไว้ว่าเปรตนั้นมีร่างกายใหญ่โต ท้องโตเท่าภูเขา ปากเท่ารูเข็ม กินอาหารกินเท่าไรก็ไม่รู้สึกอิ่มสักที เพราะท้องมันโต ปากมันเท่ารูเข็ม แต่ก็ยังดียังพอมีส่วนเกินเหลือเอาไว้เผื่อแผ่ให้คนอื่นเขาบ้าง แต่เปรตในหัวใจคนยุคนี้สมัยนี้ไม่ไหวเลยกินไม่เลือก เขากลืนลงไปได้แล้วเอาไปซ่อนไว้ในท้องได้ เขาคงกลืนไปนานแล้ว เราคงไม่มีโอกาส ไม่มีกรรมสิทธิ์จะอยู่กับเขาได้แล้ว ณ บัดนี้ฉันใดก็ฉันนั้น เป็นอย่างนี้แล้ว ขอเทวดาฟ้าดินโปรดดลบันดาล อย่าให้คนพวกนี้กลืนโลกเข้าไปย่อยในกระเพาะอาหารเลย ข้าขอส่วนแบ่งไว้ให้ได้มีโอกาสไว้ได้อยู่ดูโลกเถิด

  โบราณท่านสอนไว้อีกว่า อย่าเอาอย่างแมลงวัน ธรรมดาแมลงวันเป็นสัตว์ที่มีสันดานโสโครกชอบลูบ ๆ คลำ ๆ ไต่ตอมแต่ของสกปรก แตกต่างจากแมลงผึ้งราวฟ้ากับกิน ผึ้งหรือแมลงผึ้งทุกคนคงรู้จักดี เพราะเคยกินน้ำหวานที่มีรสหวานอร่อยของแมลงผึ้ง หรือ เคยกินน้ำผึ้งด้วยกันทุกคน

นำมาคิดเป็นธรรมะสอนใจคนได้ ๕ ประการ เป็นธรรมะของผึ้งคือ
๑.  ผึ้งขยันหากิน
๒.  บินไม่สูง
๓.  รักความสะอาด
๔.  ฉลาดสะสม
๕.  นิยมความสามัคคี
  พระ พุทธพจน์ยังสอนเตือนว่า เกิดเป็นคนอย่าลืมตนเย่อหยิ่ง โปรดอย่าลืมว่า ไม้สูงเกินต้นมักโค่นเพราะลมบน คนสูงเกินคนมักจะทนอยู่ลำบาก ตัวผึ้งนั้นไม่มีสันดานขี้เกียจ ขยันหากินทุกตัว ถ้าตัวไหนขี้เกียจไม่บินออกไปหากิน จะถูกผึ้งตัวอื่นรุมต่อยจนตาย ตัวผึ้งบินไม่ต่ำนักและไม่สูงจนเกินไป นำมาคิดเป็นธรรมะสอนใจคนได้ คือเกิดเป็นคนนั้นอย่ามักใหญ่ใฝ่สูงจนเกินไป จองหอง พองขน ข่มคนอื่นอวดดี อวดเด่นเกินมนุษย์มากไป และตัวผึ้งรักความสะอาด นำมาคิดเป็นธรรมะสอนใจคนคือ เป็นคนนั้นต้องรักษาความสงบเรียบร้อย จะยืน หรือ จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะกิน ก็ต้องสะอาดเรียบร้อย อย่าสกปรก จะนุ่งห่ม จะบ้วนน้ำลาย จะคายน้ำมูก จะถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ต้องมีสติเรียบร้อย ราดน้ำด้วย ช่วยกันสร้างความสะอาด คือ เลือกที่เลือกทาง ตลอดถึงที่หลับที่นอนด้วย ช่วยกันดูแลความสะอาด ถ้วยโถโอชามต้องสะอาดเรียบร้อย

   ตัวผึ้งฉลาดสะสมคือ สะสมอาหาร และน้ำหวานไว้เลี้ยงตัวมันเอง เลี้ยงลูกอ่อนเป็นเวลาแรมปีสะสมไว้มากเพียงพอ แถมมนุษย์เดินดินกินของไม่เลือกยังไปแย่งมันกินอาหารของมันมา มิหนำซ้ำยังฆ่าเจ้าทรัพย์ตายเกลื่อนอย่างน่าอนาถ แถมเจ็บใจเสียเหลือเกิน เราเป็นมนุษย์อย่าให้แพ้ตัวผึ้ง หาทรัพย์สินเงินทองโดยขยัน ประหยัด มัธยัสถ์ ในยุคใหม่สมัยนี้อย่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยนัก รอบคอบในการใช้การจ่ายหัดกินน้อย ๆ ใช้น้อย ๆ แล้วทรัพย์สินจะได้มีส่วนเกินพอกพูนขึ้น ๆ จนเหลือใช้ เหลือจ่ายไปเอง
 
  นอก จากนี้ตัวผึ้งนิยมความสามัคคี จะอยู่รวมกันเป็นฝูงเป็นหมู่คณะ ช่วยกันสร้างบ้านหรือรังมันทำงาน คือ หาอาหารช่วยกันทำความสะอาดรัง ช่วยกันเลี้ยงลูกอ่อน ไม่ผิดอะไรกับคน ตัวไหนขี้เกียจจะถูกผึ้งตัวอื่นรุมต่อยจนตายทุกตัว ฉะนั้นพวกเราผู้เป็นมนุษย์ทั้งหลายเอ๋ย ได้คติธรรมจากตัวผึ้งแล้วให้นำมาคิดสอนใจตัวบ้าง โดยเฉพาะข้อที่ ๕ สามัคคี รักกัน ๆ รักพ่อ รักแม่ รักพี่รักน้อง ปรองดอง ความสามัคคี อย่าทะเลาะวิวาทกันเลย ยุคใหม่นี้รักญาติพี่น้องของตัว รักเพื่อนร่วมบ้าน ร่วมโรงเรียน เพื่อนร่วมโรงงาน เพื่อนร่วมบริษัท รักเพื่อนร่วมครูบาอาจารย์ ตลอดถึงรักเพื่อนร่วมประเทศชาติ รักประเทศชาติบ้านเมืองของตัว รักกันดีกว่าชังกัน ถึงคราวผิดพลาดรู้จักให้อภัยกันนะ ให้ถือคติที่ว่า รักก็อย่าไปรักทั้งหมด ให้เหลือไว้เกลียดกันบ้าง เกลียดชังก็อย่าเกลียดกันทั้งหมด ให้เหลือไว้รักกันบ้าง เดี๋ยวจะมองหน้ากันไม่สนิท

  ท่านสาธุชนทั้ง หลายเอ๋ย คนเราบางเวลามันน่ารักจริง ๆ บางเวลามันก็น่าเกลียดพิลึก น่าชังบางเวลาแบ่งใจไว้นะ เตรียมใจไว้รับทั้ง ๒ อย่าง อย่าไปรักทั้งหมด อย่าไปเกลียดทั้งหมด ยุคใหม่สมัยนี้เราช่วยเขาได้มาก เขาก็รักเรามาก เราช่วยเขาได้น้อย เราก็รักเขาน้อย ยังไม่ได้ช่วยใครเขาก็ยังไม่รักเราเลยนะ ไม่มองหน้าเราเลยนะ เดี๋ยวนี้คนขาดคุณธรรม ไม่มีหลักธรรมของผึ้งดังกล่างมา เห็นแก่ตัวจริง ๆ มักได้ มักง่าย ขาดหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

    ชีวิตจะรุ่งเรือง หรือ เรืองรุ่ง จะทำสิ่งใดได้ประโยชน์โสตถิผล ถ้ารู้จักใช้ธรรมะที่ได้จากตัวผึ้งนี้จะช่วยให้โลกได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุข ทั่วหน้า ถ้าท่านไม่เจริญพระกรรมฐาน ท่านจะไม่รู้ธรรมะ ๕ ประการคืออะไร ท่านจะพึ่งตัวเองได้ประการใดหรือ ท่านจะก้าวหน้าได้อย่างไร ธรรมะช่วยให้โลกได้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขกันถ้วนหน้า ท่านต้องเจริญพระกรรมฐาน เอาบุญมาใส่ใจถึงจะถูกทาง

    พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสประกาศให้รักสมัครสมาน ถ้าเราไร้รักสมัครสมาน จะทำการสิ่งใดก็ไร้ผล แม้ชาติย่อยยับอับจน ประชาชนจะเป็นสุขได้อย่างไร ผู้มีมีอิจฉาพยาบาท ใจสะอาดสิ้นทุกข์เป็นสุขหนา ผู้มีจิตเต็มเปี่ยมด้วยเมตตา ประชาชนทั่วหล้าสาธุการ อันนี้ก็เป็นเรื่องจำเพาะตัว เพราะฉะนั้นท่านสาธุชนทั้งหลายที่มาเจริญพระกรรมฐานก็ต้องการจุดนี้ ท่านมาปฏิบัตินี้ อย่างทำจิ้ม ๆ จ้ำ ๆ มันไม่เกิดประโยชน์โสตถิผลแต่ประการใด บางคนมาบอกจะมา ๗ วัน อยู่ได้ ๒ วัน หนีกลับไปแล้ว เสียสัจจะ ตรงนี้สำคัญมาก ระวังอย่าให้เสียสัจจะ บางคนโทรศัพท์บอกให้หาห้องดี ๆ ขนาดปลัดกระทรวงรัฐมนโทจะมา โทรมาย้ำจนตี ๒ ยังโทรมาอีกบอกเจ้านายจะมาช่วยต้อนรับหน่อย ส้วมชักโครกมีไหม ห้องแอร์มีไหม ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้ อาตมาอยากจะหนีไปเลย อย่างนี้ขอถามหน่อยเป็นแมลงวันหรือผึ้ง

   ท่านทั้งหลายเอ๋ย อย่ามักง่ายมาสร้างบุญกุศล พระพุทธเจ้าเป็นจักรพรรดิ พระองค์เสียสละราชสมบัติเงินทองท้องพระคลังมากมาย ออกไปบรรพชาเพื่อไปเอาวิชามาให้เรา วิชานี้คือ วิชาแก้ปัญหาชีวิต วิชาแก้ปัญหาทุกข์ ท่านได้ใช้เวลาเรียนถึง ๑๖ ปี ไม่มีครูอาจารย์ ต้องไปฝึกเอาเองในป่า ไปเรียนวิชาเหาะเหินเดินอากาศ แหวกดินได้ กลับไปทิ้งเสียอีก โทรศัพท์มาที่วัดอัมพวันมาบังคับให้เราหาห้องพักดี ๆ วัดเราก็เลยกลายเป็นโฮเต็ลไปแล้วหรือนี่ มาวัดมาปฏิบัติธรรม ให้กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำความเพียรให้มาก ขนาดนายพล เขายังมาช่วยล้างชาม เอ่ยชื่อก็ได้เดี๋ยวก็มาแล้ว พลโทวิศาล ธนรักษ์ ล้างชามทุกวัน ไม่เห็นถือตัว แต่นี่ขนาดเป็นนายหมื่นนะ ให้อาตมาหาห้องดี ๆ ห้องต้องสะอาด แหมพวกแมลงหวี่แมลงวันนี่ชอบห้องสะอาด เสียใจด้วยมาบังคับเรา มาเลย แม่มา มาเลยพ่อมา ตะวันจะสาย สายบัวจะเน่า พายแม่พายเดี๋ยวจะสาย สายบัวนะเน่า เข้าใจคำนี้ไหม พายได้อย่างไร โซ่ไม่แก้ ลูกกุญแจไม่ไข พายติดโซพายได้อย่างไร ไม่ได้อะไรเลยพวกนี้

    อันทรัพย์สินและถิ่นฐาน ทั้งบ้านช่องอีกเงินทองไร่นามหาศาล เป็นสมบัติของตัวได้ชั่วกาล จะต้องผ่านจากกันเมื่อวันตาย ส่วนความดีมีความสัตย์สมบัติแท้ ถึงตัวแก่กายดับไม่ลับหาย จะสถิตติดแน่นแทนร่างกาย ถึงตัวตายชื่อยังอยู่เชิดชูเอย

    ขอฝากคติธรรม ปฏิบัติพระกรรมฐานดีที่สุดไม่มีอะไรดีกว่านี้แล้ว ชีวิตนี้จะมีค่าเพราะทำเวลาให้มีคุณ คุณสมบัติประจำชีวิต คือ สุจริตประจำใจ ความเจริญทางวัตถุ ยั่วยุให้คนลืมตัว อย่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่เสียไป จงพอใจในสิ่งที่มีอยู่ พระดังอาจจะไม่ดี พระดีอาจจะไม่ดัง ความขยันเป็นคุณสมบัติของคน ความอดทนเป็นสมบัติพระ ขอฝากคติธรรมไว้พอสมควรแก่เวลา ขอยุติการแสดงธรรมไว้แต่เพียงนี้ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติอย่างแท้จริง ชีวิตท่านจะไม่อับเฉาจะไม่เบาปัญญา ชีวิตท่านจะรุ่งโรจน์โชตนาการ..
52  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / เชิญผู้มีจิตศรัทธา ร่วมสร้างรอยพระพุทธบาทจำลอง เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2009, 08:40:45 am


เชิญผู้มีจิตศรัทธา ร่วมสร้างรอยพระพุทธบาทจำลอง
           เพื่อประดิษฐานคู่รูปหล่อหลวงปู่ สุก ไก่เถือนขนาดความกว้าง ๑ x ๑ เมตรบนฐานไม้สักจำนวน 1 คู่ เพื่อนำฉลองสมโภชน์หลวงปู่ซึ่งต้องใช้ยอดในการจัดสร้างเป็นจำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท ผู้ใดสนใจร่วมจัดสร้าง รอยพระพุทธบาทจำลอง ติดต่อได้ที่ พระอาจารย์สนธยา


วัดแก่งขนุน จ.สระบุรี โทรศัพท์ ๐๘๑-๔๓๓-๓๖๕๙ Aeva Debug: 0.0004 seconds.
53  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การไหว้ขอขมา 7 ครั้งก่อนนอน ของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2009, 10:48:14 pm

“ การไหว้ขอขมา 7 ครั้งก่อนนอน ”
ของสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

1. ไหว้ครั้งแรก เพื่อบูชาและขอขมาพระพุทธเจ้า น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่ช่วยชี้ทางสว่างให้สัตว์โลก พร้อมสำนึกน้อมรับในสิ่งที่พระพุทธองค์ฝากเราไว้ให้ปฏิบัติได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา


2. ไหว้ครั้งที่สอง เพื่อบูชาและขอขมาพระธรรม น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของพระธรรมคำสั่งสอนที่เป็นสัจธรรมที่ช่วยรื้อถอน กิเลสให้สัตว์โลกและนำพาสัตว์โลกสู่ความสุขอย่างแท้จริง พร้อมสำนึกและน้อมรับพระธรรมที่พอจะนึกออกมาพิจารณาเนือง ๆ


3. ไหว้ครั้งที่สาม เพื่อบูชาขอขมาพระสงฆ์ สาวกผู้มีพระคุณสานต่อจากพระพุทธเจ้าในการช่วยกันนำพาสัตว์โลกสู่ทางสว่าง ระลึกถึงพระที่ท่านเคารพรักนับถือแล้วอธิษฐานให้มาเป็นครูบาอาจารย์เพื่อปก ปักรักษาท่าน พร้อมสำนึกและน้อมรับในการช่วยส่งเสริมสถาบันสงฆ์ เพื่อช่วยการสานต่อศาสนาเช่น บำรุงสงฆ์ น้อมรับคำสอน ทำบุญตักบาตร และช่วยเผยแพร่ธรรม เป็นต้น


4. ไหว้ครั้งที่สี่ เพื่อ กราบไหว้บูชาขอขมาพ่อแม่ ไม่ว่าท่านทั้งสองจะล่วงลับหรือยังอยู่ การกราบไหว้ท่านก่อนนอนเป็นประจำจะช่วยสร้างสิริมงคลให้ชีวิตและส่งเสริมให้ ผู้กราบได้บุตรที่ดีในอนาคต การงานและชีวิตส่วนตัวของผู้กราบจะเจริญรุ่งเรือง ด้วยอานุภาพแห่งความกตัญญู ขอให้ท่านน้อมระลึกถึงพระคุณของพ่อแม่ในขณะที่กราบพร้อมขอขมาท่านด้วยใจจริง น้อมสำนึกว่าจะไม่ทำความผิดต่อพ่อแม่อีกทั้งในภพนี้และภพหน้า


5. ไหว้ครั้งที่ห้า เพื่อกราบไหว้บูชาขอขมาพระสยามเทวาธิราชและพระมหากษัตริย์ ท่านเหล่านี้ล้วนมีบุญบารมีในการปกปักรักษาบ้านเมือง บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้บ้านเมืองของพวกเรา พึงกราบไหว้ก่อนนอนเพื่อขอขมาและขอบารมีท่านมาปกปักรักษาสร้างสิริมงคลให้ ชีวิต ขณะกราบพึงน้อมระลึกสำนึกในหน้าที่ที่ท่านต้องทำเพื่อประเทศชาติ สิ่งศักดิ์สิิทธิ์จะมาอนุโมทนาและคอยส่งเสริมกิจการงานท่านให้เจริญ รุ่งเรือง


6. ไหว้ครั้งที่หก เพื่อกราบไหว้บูชาขอขมาครูบาอาจารย์ทั้งทางโลกและทางธรรมทั้งหลาย ไม่ว่าท่านเหล่านั้นจะมาในรูปแบบไหน ( เช่น เป็นเพื่อน เป็นครู เป็นคนรู้จัก เป็นเจ้านาย ฯลฯ ) พึงน้อมระลึกสำนึกในบุญคุณของพวกท่านเหล่านั้นและขอขมาต่อสิ่งที่ได้ทำผิด พลาดลงไป


7. ไหว้ครั้งที่เจ็ด เพื่อ กราบไหว้ขอขมาเจ้ากรรมนายเวร ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเป็นดวงวิญญาณจากหลายภพหลายชาติ ( แม้แต่สัตว์ที่ท่านทานเข้าไป ) ให้ท่านน้อมระลึกในความทุกข์ของท่านที่กำลังประสบอยู่ ยิ่งทุกข์มาก แสดงว่ากรรมท่านก็มาก เพราะเคยทำผิดไว้มาก ตามกฏแห่งกรรมธรรมดาโลก

ให้ท่านขอขมาเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ท่านเคยล่วงเกินไว้ไม่ว่าจะในภพนี้ หรือภพที่ผ่านๆมา เพื่อขออโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวร พึงน้อมสำนึกว่าจะไม่ก่อกรรมร้ายใดๆอีกตราบเท่าที่จะพยายามทำได้เพื่อไม่ให้ เป็นภาระในกาลข้างหน้าอีก ( การไม่ก่อกรรมชั่ว คือการไม่สร้างหนี้สินให้ตัวเอง )


หลังจากไหว้ครบ 7 ครั้ง พึงน้อมจิตแผ่เมตตาดังนี้

“ พรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก นรกโลก มารโลก ตลอดทั่วขอบรอบจักรวาล ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรุปทุกนาม จงมีแต่ความสุขกาย สุขใจ อย่าได้มีความทุกข์กายทุกใจเลย ขอให้ทุกรูปทุกนาม จงมีแต่ความสบายจิตสบายใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งหลายทั้งสิ้นเทอญ ”



** อานิสงค์จากการไหว้บูชาขอขมา 7 ครั้งก่อนนอน **

1. ทำให้เป็นที่รักใคร่ของมวลสัตว์โลก และโลกวิญญาณทั้งเบื้องล่างและเบื้องบน

2. หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรือง ทำมาค้าขึ้น ยศตำแหน่งรุ่งเรือง เจ้านายเมตตา

3. สิ่งศักดิ์สิิทธิ์คุ้มครอง ไปที่ไหนก็แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง

4. จิตแจ่มใส มีสติ มีความเมตตาและความอ่อนโยนอยู่เนือง ๆ

5. สติปัญญาดี ไม่อับจนหนทาง

6. ปราศจากเจ้ากรรมนายเวรอาฆาตพยาบาท

7. เงินทองไหลมาเทมาด้วยอานุภาพของสิ่งทั้ง 7 ที่กราบไหว้

8. จิตเกิดสมาธิได้เร็ว จิตไม่มีมารมาคอยทำให้ฟุ้งซ่าน

9. ปัญหาชีวิตคลี่คลาย จากหนักเป็นเบา

10. ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง รักใคร่ปรองดอง


54  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / วิธีการสมัครสมาชิกในบอร์ด มัชฌิมา เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2009, 10:13:52 pm



ตรงช่องของ Verification ก็ให้ใส่ตัวอักษรตามภาพนะครับ อย่าให้ผิดมันอาจจะแสดงเหมือนหรือไม่เหมือนกันทุกครั้งก็ได้

อย่าลืมตั้ง password หรือ รหัสผ่าน นะครับ

***บอท คือ โปรแกรมของผู้ต้องการโฆษณาขายสินค้า ซึ่งมีทั้งดีและไม่ดี(แต่ส่วนใหญ่ไม่ดี)***Aeva Debug: 0.0004 seconds.
55  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ยันต์ป้องกันภัยพิบัติ เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2009, 09:50:32 pm



ด้านบนนะครับเป็นยันต์ของลุงท่านนึง
ซึ่งอ้างว่า เคยเข้าไปในเมืองบังบด แล้วเห็นยันต์ที่เค้าติดกันหน้าบ้าน เลยคัดลอกมา
กว่าจะคัดลอกเสร็จ ก็แทบแย่
ผมเลยเอามาลงไว้ เพื่อมีใครสนใจ เอาไปทำติดไว้หน้าบ้าน (เป็นกำลังใจ)

โหลดไฟล์ขนาดใหญ่ด้านล่างนะครับ

http://www.madchima.org/forum/gallery/1_21_11_09_11_20_30.jpeg
56  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เวรกรรม (ท.เลียงพิบูลย์) เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2009, 07:49:22 am


เวรกรรม
โดย ท.เลียงพิบูลย์

จากหนังสือกฎแห่งกรรม
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เล่ม ๑


หลังจากพิธีพระราชทานน้ำสังข์แก่คู่บ่าวสาวจากองค์พระประมุขของชาติไทย ในงานสมรสที่มีเกียรติสูงผู้หนึ่ง ในเดือนพฤศจิกายน เวลาย่ำค่ำวันนั้น เจ้าภาพได้เชิญผู้ที่เคารพรักคุ้นเคย และผู้มีเกียรติมาประสาทพรแก่คู่บ่าวสาว โดยจัดห้องโถงใหญ่ในโรงแรมมีชื่อแห่งหนึ่งไว้รับรอง

เจ้าภาพผู้เป็นญาติของคู่บ่าวสาว และตัวบ่าวสาวก็เป็นผู้มีชื่อเสียงกว้างขวางในสังคม เป็นผู้ที่รู้จักทั้งชาวต่างประเทศและข้าราชการ พ่อค้าทุกสาขาทั่วไป เมื่อได้เวลาคืนนั้น ผู้มีเกียรติผู้ใหญ่พร้อมทั้งญาติมิตรสหายของเจ้าภาพและคู่บ่าวสาว ที่รับเชิญมากมายทั้งหญิงชายผู้ลงนามอวยพรให้บ่าวสาว ห้องรับรองกว้างใหญ่โตในโรงแรมก็อัดแอ ไปด้วยผู้มีเกียรติทยอยกันเข้ามาไม่ขาดสาย บรรยากาศเป็นกันเอง

แขกที่คุ้นเคยกันมาก่อนเมื่อพบก็ได้ทักทายปราศรัยดีใจ ได้สนทนากันอย่างสนุกสนาน ยืนเป็นกลุ่มเป็นหมู่ ส่วนพวกสุภาพสตรีก็ได้นั่งสนทนากันตามสะดวกสบาย หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส เมื่อได้พบปะเพื่อนฝูงที่สนิทสนมที่รักใคร่ถูกอกถูกใจ เพราะการเลี้ยงคืนนั้นเป็นงานค็อกเทลปาร์ตี้

ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปในงานคืนนั้น ได้พบเพื่อนเก่าแก่หลายท่าน บางท่านไม่ได้พบหน้ากันมานับยี่สิบสามสิบปี บางท่านจำไม่ได้ เราต้องจ้องดูกันอย่างสงสัย เพื่อให้แน่ใจก่อนที่จะทักทายปราศรัยว่าไม่ผิดตัว เหตุเพราะสังขารร่างกาย ต่างก็เปลี่ยนแปลงร่วงโรยไปตามอายุ เวลา วัน เดือน ปีที่ล่วงไป เมื่อได้ทราบว่าไม่ผิดตัว เราต่างก็ดีอกดีใจ หัวเราะขำธรรมชาติที่ได้เปลี่ยนแปลงรูปร่าง เกือบจำกันไม่ได้เนื่องจากไม่ได้พบกันนาน เราจึงมีเรื่องพูดกันมาก เราจึงสนทนาถึงความหลังต่างก็ถามถึงเรื่องเก่าแก่เมื่อยังอยู่ในวัยสนุกสนาน หัวหกก้นขวิด และถามถึงคนโน้นคนนี้ที่เคยสนุกด้วยกันมา ก็ได้ทราบว่าหลายคนได้ล่วงลับไปตามอายุขัย ตามธรรมชาติกำหนดไว้ในกรรมลิขิตในโลกมนุษย์นี้มีสิ่งแน่นอนก็คือความตาย ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ใหญ่น้อยจะต้องตายทั้งสิ้น ผิดกันแต่ว่าจะเร็วหรือช้าเท่านั้น

คืนนั้น ข้าพเจ้าได้ถูกแนะนำให้รู้จักมากท่านด้วยกัน บางท่านก็จำชื่อไม่ได้และที่จำได้แม่นยำผู้หนึ่งในคืนนั้น ก็เพราะได้ยืนสนทนากันนานกว่าผู้อื่น และเป็นผู้หาเรื่องมาคุยกับข้าพเจ้าอย่างสนุกสนาน มีทั้งขบขันและเรื่องเศร้า เหมาะสมที่จะนำมาเขียนนำมาเล่าให้ท่านที่สนใจได้มีโอกาสได้รู้ได้ฟังบ้าง ท่านผู้นั้นมีอายุประมาณ ๓๕ ไม่เกิน ๔๐ เมื่อได้พบรู้จักกันแล้ว ก็รู้สึกสนิทสนมกันรวดเร็ว ข้าพเจ้าชอบนิสัยตรงไปตรงมา แม้จะอ่อนอายุกว่าข้าพเจ้า แต่เราก็เข้ากันได้ดีเหมือนคุ้นเคยกันมาแรมปี ตอนหนึ่งสหายใหม่ของข้าพเจ้าพูดขึ้นว่า “คืนนี้ผมมีความดีใจมากที่ได้รู้จักคุณอา”

ข้าพเจ้ากล่าวขอบคุณ และข้าพเจ้าก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกัน แล้วท่านผู้นั้นก็กล่าวต่อไป “ผมเชื่อกฎแห่งกรรม ที่คุณอาเขียน เหมาะกับคนทุกชั้นทุกยุคสมัย ถ้าได้อ่านแล้วพิจารณาดู ก็จะเห็นจริงที่คนเกิดมาเพราะกรรมหนุนนำ ใครจะทำอะไร จะเป็นบุญหรือบาปก็จะเกิดผลกรรมดีกรรมชั่วติดตามสนองไม่ช้าก็เร็ว นี่เป็นความจริงครับ ผมเชื่อ”

ข้าพเจ้าได้ฟังก็มีความรู้สึกยินดีว่า ท่านผู้นี้สนใจ เข้าใจในเรื่องกรรม ย่อมจะมีจิตใจเป็นกุศล อยู่ในขอบเขตของศีลธรรมจึงสนับสนุนความจริงใจว่า

“ผมรู้สึกมีความยินดีที่คุณเข้าใจ เรื่องกฎแห่งกรรมดี เชื่อว่าใครทำดีทำชั่วย่อมจะมีกรรมนั้นตามสนอง และเชื่อว่ามนุษย์ตายแล้วก็กลับมาเกิดตามกรรมลิขิต หากใครไม่เชื่อกรรมลิขิต ไม่เชื่อกฎแห่งกรรม ไม่เชื่อทำดีจะได้ดี ทำชั่วจะได้ชั่วและไม่เชื่อว่ามนุษย์เราตายแล้วจะต้องมาเกิดใหม่ มาใช้กรรมที่ตนทำไว้ตามกรรมลิขิต ไม่เชื่อหลักการปฏิบัติทางพุทธศาสนาสามารถจะดับทุกข์ให้หลุดพ้นจากการเวียน ว่ายตายเกิด ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ผู้ที่ไม่เชื่อนั้นจะเป็นผู้ที่ไม่ต้องพูดถึงศาสนาต่อไป ตามที่ท่านผู้ทรงความรู้ได้เคยกล่าวไว้”

ท่านผู้นั้นนิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วพูดขึ้นว่า “ผมว่าพวกที่รู้สึกอย่างคุณอาว่านั้น คงเป็นคนบาปหนามากจนพระโปรดไม่ถึง เพราะตามืดบอด มองไม่เห็นแสงสว่างของธรรม”

ข้าพเจ้าพยักหน้าแล้วพูดว่า “คงจะเป็นอย่างคุณและผมเข้าใจ และผู้มีจิตใจเป็นปกติทั่วไป ก็คงจะเข้าใจเช่นเดียวกันกับเรา นอกจากผู้ที่มีจิตใจผิดปกติเท่านั้น ที่จะมองเห็นตรงกันข้ามเห็นผิดเป็นชอบ” ท่านผู้นั้นหัวเราะ แล้วพูดว่า

“กฎแห่งกรรมที่คุณอาเขียน เป็นที่สนใจของผู้ที่ได้อ่านทุกคน ในบ้านผมติดตามอ่านหนังสือของคุณอาทุกคน ตลอดทั้งเด็กๆ ที่อ่านหนังสือออก อ่านแล้วก็เอาไปเล่าให้เพื่อนเด็กๆ ฟังจึงเป็นที่สนใจของเด็กที่ได้รู้ได้อ่าน”

เมื่อพูดแล้วก็นิ่งครู่หนึ่ง แล้วเว้นระยะ เราก็ดื่มน้ำมะเขือเทศแทนสุรา เพราะเราต่างก็ไม่นิยมดื่มสุราด้วยกัน และเลือกกินของว่างเท่าที่เขาจัดไว้สำหรับต้อนรับแขก เมื่อนิ่งไปครู่ใหญ่ ท่านผู้นั้นจึงเริ่มเอ่ยขึ้นว่า

“ผมอยากจะเล่าให้คุณอาฟังสักเรื่องหนึ่ง คิดว่าเรื่องนี้คงเข้าหลักกฎแห่งกรรม และเป็นเรื่องที่ผมได้ประสบเหตุการณ์มาด้วยตนเอง เป็นเรื่องทั้งน่าขำและเศร้ามาก คิดว่าคุณอาคงไม่รังเกียจ”

ข้าพเจ้าตอบว่า “อย่าใช้คำว่ารังเกียจเลย ทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในขอบเขตของกฎแห่งกรรม หรือกรรมลิขิตทั้งนั้น ฉะนั้นผมจึงยินดีฟังทุกเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว”

ท่านผู้นั้นยิ้มแล้วพูดขึ้นว่า “ขอบคุณครับ ที่กรุณายอมเสียเวลาฟังผมเล่า”

วันหนึ่งผมได้เข้าไปในร้านขายเครื่องดื่มอยู่ริมถนนใหญ่ เป็นสถานที่นัดพบกับเพื่อน เห็นนาฬิกายังมีเวลาอีกนานกว่าเพื่อนจะมาตามเวลานัด ผมจึงสั่งเครื่องดื่มพร้อมทั้งขนมมานั่งกินรอเวลา และกางหนังสือพิมพ์ออกอ่าน ไม่สนใจต่อสิ่งใด มองดูในหนังสือพิมพ์รายวัน มีข่าวรถคว่ำ รถชนคนตายคนขับหนีไม่เว้นแต่ละวัน จนถือเป็นข่าวธรรมดาไม่ตื่นเต้นเหมือนข่าวนานๆ ครั้ง

ในร้านนั้นก่อนที่ผมจะเข้าไป มีคนขับรถแท็กซี่กับหญิงอีกผู้หนึ่ง เข้าใจว่าเป็นภรรยา และมีเด็กชายอายุไม่เกินสองขวบกำลังซนนั่งกินกาแฟอยู่ด้วยกัน การที่ผมรู้ว่าเป็นคนขับรถแท็กซี่ ก็เพราะเห็นหมวกแก็ปวางไว้บนโต๊ะ และอกเสื้อมีป้ายติดเป็นเลขเครื่องหมาย

ชายคนขับแท็กซี่คนนั้นคุยเสียงดังและท่าทางวางโต เพราะไม่ประหยัดคำพูด และไม่มีความเกรงใจใครจะรำคาญหรือไม่ คล้ายจะอวดความยิ่งใหญ่ในทางนักเลง แต่แล้วก็มีเด็กหนุ่มวัยรุ่นแต่งตัวแบบผู้ใหญ่ เห็นแล้วรีบห้ามลูกหลานไม่ให้เอาเยี่ยงอย่าง แต่หนุ่มวัยรุ่นคิดว่าโก้เก๋ในสายตาคนอื่น เดินเข้ามาในร้านเครื่องดื่มสองคน ได้เข้าไปนั่งร่วมโต๊ะกับคนขับรถแท็กซี่ชายหนุ่มคนนี้ได้พูดถึงข่าว อุบัติเหตุบนท้องถนนหลวง แต่ผมก็สะดุ้งเมื่อได้ยินคนขับรถพูดกับชายหนุ่มวัยรุ่นกางเกงขาลีบว่า “กูอยากจะชนอ้ายพวกห่าคนข้ามถนนเดินอ้อยอิ่งให้มันตายโหงตายห่าให้หมด กูเกลียดมันจริงๆ”
เสียงเด็กวัยรุ่นคนหนึ่งกล่าวว่า “ก็เขาเดินข้ามถนนตามทางม้าลายล่ะลูกพี่ ไปชนเขาก็ต้องมีความผิดซิ”

เสียงคนขับรถแท็กซี่หัวเราะพูดขึ้นคล้ายกับว่า ผู้มีอำนาจยิ่งใหญ่ในที่นั้นว่า “เฮ้ย มือชั้นกูแล้วลองทำอะไร ไม่มีใครจับกูได้หรอกวะ” พูดแล้วก็หัวเราะ หญิงผู้เป็นเมียก็พลอยหัวเราะชื่นชมยินดีว่าผัวเป็นคนจริงคนเก่ง ส่วนเด็กเข้าใจว่าเป็นลูกชายอายุไม่เกินสองขวบก็วิ่งเข้าออกภายในร้าน เครื่องดื่มด้วยความซุกซนไม่เดียวงสา ผู้เป็นแม่คอยเรียกและวิ่งไล่จับ และคอยดุด่าไม่หยุดปากอยู่เสมอ นั่งไม่เป็นสุข

แต่แล้วเสียงเด็กหนุ่มวัยรุ่นอีกผู้หนึ่งพูดขึ้นว่า “มึงไม่รู้หรือ ลูกพี่เคยขับรถชนเด็กตายมาแล้วไม่มีเรื่อง เพราะหนีรอดไปได้”

คนขับรถตกใจร้องด่าไปว่า “อ้ายห่า มึงเอาอะไรมาพูด ปิดปากโสโครกของมึงเสียบ้าง ปากมีหูประตูมีช่อง”

เสียงเด็กหนุ่มยังไม่ยอมหยุด พูดต่อไปว่า “เรื่องมันนานตั้งปีมาแล้ว ไม่มีหลักฐานอะไรมายืนยันความผิดของลูกพี่ แล้วจะต้องกลัวทำไม ถึงรู้ก็ทำอะไรไม่ได้”

เสียงคนขับรถพูดอย่างไม่พอใจว่า “พอทีอ้ายห่า ถึงอย่างไรมึงก็ไม่ควรเอามาพูดในที่นี้ อ้ายนี่จะนำเอาความฉิบหายมาให้กู”

แต่แล้วการโต้ตอบก็สงบลง เด็กหนุ่มทั้งสองก็ออกจากร้านไป เสียงเมียของคนขับรถแท็กซี่พูดว่ากับผัวว่า “พี่ก็มีเรื่องอะไรชอบพูดชอบอวดกับอ้ายพวกปากสว่างดีนัก ระวังเถิด ปลาหมอจะตายเพราะปาก อ้ายพวกนี้จะไว้ใจมันได้หรือ”

เสียงผัวตอบว่า “เออ อ้ายพวกนี้บางเวลากูก็ใช้มันทำประโยชน์ได้เหมือนกัน แต่มันปากสว่างหน่อย ก็ต้องคอยระวัง ถ้ากูห้ามมันไม่เชื่อ กูจะทำโทษเล่นงานมันสะบักสะบอม พักเดียวมันก็กลัวลาน”

เสียงเมียพูดว่า “ระวังนะพี่ ตีงูพิษ ระวังมันจะแว้งมากัดเอา”

ผมนั่งเอาหนังสือพิมพ์บังหน้า ชำเลืองดูสองผัวเมียสนทนากัน หลังจากเด็กวัยหนุ่มออกจากร้านเครื่องดื่มไปแล้ว ทันใดนั้นทางนอกร้านขายเครื่องดื่ม มีผู้วิ่งผ่านหน้าร้านอย่างเกรียวกราวผิดปกติ มีเสียงโจษกันว่า รถชนคนกลางถนนทางม้าลาย เสียงภรรยาเรียกลูกมากอดไว้แน่น พลางพูดกับผัวว่า “พี่รถยนต์ชนคนอีกแล้ว ไม่ไปดูหรือ”

เสียงผัวพูดอย่างดุๆ ว่า “ช่างหัวมัน ให้มันชนกันตายโหงตายห่ายิ่งดี ขืนไปดู ประเดี๋ยวจะต้องพามันขึ้นรถกูไปโรงพยาบาลฟรี ไม่รู้จะไปเอาเงินกับใคร”

ผมเองก็ไม่สนใจในเรื่องรถชนคน เพราะมันจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เคยมีข่าวบ่อยๆ อยู่แล้ว จึงนั่งคอยเพื่อนอยู่ในร้านไม่ตื่นเต้น ฟังสามีภรรยานั่งคุยกันโดยทำเป็นอ่านหนังสือพิมพ์ไม่สนใจในเรื่องอื่น ไม่ช้าในร้านเครื่องดื่มก็มีโต๊ะสองผัวเมียกับลูกเล็กและคนชงกาแฟอีกคนหนึ่ง เท่านั้น นอกนั้นเขาวิ่งออกไปดูรถชนคนกันหมด

เสียงเขาถามกันหน้าร้านขายเครื่องดื่ม ได้ยินเข้ามาข้างในว่า “ตายไหม ผู้หญิงหรือผู้ชาย”

เสียงผู้ไปดูกลับมาบอกว่า “ยังไม่ตาย ถ้าอาการสาหัสยังสลบ ยังมีลมหายใจไม่รู้สึกตัว เป็นเด็กผู้หญิง โน่นแน่เขากำลังอุ้มหารถไปส่งโรงพยาบาล”

แล้วมีพลเมืองดีคนหนึ่งกดแตรรถแท็กซี่ที่จอดอยู่หน้าร้าน เสียงผัวบ่นว่า “กูละซิ กูจะต้องส่งมันไปโรงพยาบาล” เสียงเมียอ้อนวอน “โธ่พี่ไปส่งเขาหน่อยเถิดน่า นึกว่าเอาบุญ”

ผัวทำท่าทางลุกขึ้นอย่างเสียไม่ได้ แล้วบอกคนชงกาแฟว่า “เฮ้ย อ้ายโกค่ากาแฟคิดไว้ก่อนนะ แล้วกูจะนำมาเฉ่ง”

พูดแล้วก็ลุกเดินออกไปหน้าร้านเมียอุ้มลูกเดินตาม ผมก็เกิดสนใจเดินตามออกมาดูว่า คนขับรถแท็กซี่จะแสดงอาการอย่างไร แต่แล้วก็เห็นหน้าเพื่อนที่ผมนัดพบกำลังช้อนร่างของเด็กหญิงอายุราว ๗-๘ ขวบ ด้วยสองแขนแนบไว้กับอก มือเท้าของเด็กหญิงห้อยตกแกว่งไปตามจังหวะเดินของผู้อุ้ม ยังมีลมหายใจแต่ไม่รู้สึกตัว เลือดออกจากปากจมูก เลือดเปื้อนเสื้อเชิ้ตขาวตรงหน้าอกของผู้อุ้ม เพื่อได้แสดงถึงมนุษยธรรมโดยไม่มีความรังเกียจ ภาพของเด็กหญิงหมดสติอยู่ในอ้อมแขนของเพื่อนผมทำให้คนขับแท็กซี่สองผัวเมีย อ้าปากค้างตะลึก เสียงเมียร้องไห้โฮปากก็พูดออกมาว่า

“โธ่ อีหนูลูกของแม่ ลูกของแม่ไม่น่าเลย จะมาถูกรถชน ใช้ให้ไปซื้อขนมครกกับถั่วมาให้น้องกินจนลืมลูก แม่สั่งแล้วไม่ให้ลูกข้ามถนน โถ เขาโจษกันแม่ก็ไม่นึกว่าเป็นลูก”

รำพันแล้วก็ร้องไห้ ส่วนคนขับรถแท็กซี่ผู้ผัวตกใจจนหน้าซีด แล้วก็โกรธขบกรามแน่น คำรามแสดงสีหน้าใส่เพื่อนผมที่กำลังอุ้มเด็กอยู่ในมือ แกร้องตวาดเสียงดังตาลุกวาวเหมือนคนบ้าว่า

“แกขับรถชนลูกข้าหรือ” เพื่อนผมตอบอย่างสุภาพว่า “เปล่า ผมไม่มีรถขับ รถที่ชนเด็กเป็นรถแท็กซี่ เมื่อชนแล้วเขาก็รีบขับหนีไป ผมเห็นเด็กล้มกลิ้งอยู่กลางถนนก็สงสาร จึงรีบวิ่งไปอุ้มมาเพื่อหารถรีบจัดส่งโรงพยาบาลด่วนให้หมอช่วย”

เสียงเมียของคนรถแท็กซี่ร้องไห้ พลางบอกให้ผัวรีบจัดการพาลูกส่งโรงพยาบาลด่วน อย่ามามัวเสียเวลา ฉะนั้น คนขับรถแท็กซี่จึงเปิดประตูหลังให้เพื่อนผมพร้อมทั้งเมียแล้วลูกเล็กของคน ขับขึ้นไปนั่งข้างหลัง ทันใดนั้นตำรวจจราจรวิ่งมาบอกให้หยุดก่อน ตัวแกจะต้องตามไปเพื่อสอบสวนด้วย แล้วก็บอกว่า รถแท็กซี่คันที่ชนนั้นจับไม่ทัน มันหนีรอดไปได้ เพราะมันรีบขับหลบหนีไปอย่างรวดเร็ว เลขเบอร์ท้ายรถตัวหน้าสองตัวสีดำก็กะเทาะออกเห็นแต่เนื้อเหล็กสังกะสี ตัวเลขเลือนลางไม่ชัด เพราะมันขับหนีห่างออกไป มองเห็นไม่ถนัดแล้วก็มองดูเลขท้ายรถคันที่คนขับกำลังจะออก พลางชี้แล้วพูดว่า

“ตัวเลขสีดำมันก็กะเทาะเหมือนรถคันนี้ไม่มีผิด นี่ต่อไปจัดการทำป้ายให้เห็นตัวเลขชัดเจน เอาหมึกดำมาเขียนเสียใหม่ ไม่เช่นนั้นจะมีความผิด เข้าใจไหม” แล้วก็เปิดประตูหน้าเข้าไปนั่งข้างคนขับ สั่งให้ไปโรงพยาบาลทันที คนขับรถแท็กซี่คันนั้นหันไปมองดูเด็กกำลังสลบ ก็ครางออกมาอย่างเจ็บแค้นซึ่งอัดอยู่ในใจว่า
57  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กรรมที่ทำกับแมว เมื่อ: พฤศจิกายน 21, 2009, 06:58:27 am
กรรมที่ทำกับแมว
เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้วเป็นเรื่องที่เกิด ขึ้นกับครอบครัวหนึ่ง ซึ่งตาของเพื่อนเล่าให้เพื่อนฟังอายุ 10 ขวบเห็นจะได้ เล่าให้ฟังว่า ตาได้สร้างเวรสร้างกรรมไว้อย่างสาหัส ตอนนั้นยายเรียกให้ทุกคนในบ้านออกมากินข้าว โดยที่วางสำรับข้าวไว้ ขณะที่ตากำลังเดินออกมา ก็บังเอิญเห็นเจ้าแมวตัวหนึ่งกำลังคาบเอาปลาดุกย่างไป ตาจึงวิ่งไล่ตาม หวังให้มันปล่อยปลาดุกอย่างตัวนั้นออกจากปาก แต่มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เจ้าแมวตัวนั้นกระโดดเข้ากองฟาง ตาเห็นดังนั้นก็ย้อนเข้าบ้านสักครู่ก็ออกมาพร้อมกับปืนลูกซองพร้อมกับไม้ขีด ไฟ ยายพยายามห้ามตาว่าให้ปล่อยมันไป ตาก็ไม่ยอมฟัง แล้วตาก็เริ่มเผากองฟางกองนั้น เมื่อไฟโหมแรงขึ้น เจ้าแมวตัวนั้นก็กระโดดออกมาจากกองฟาง แต่ครั้งนี้ในปากของมันจากที่เป็นปลาดุกย่างตัวนั้น มันกลายเป็นลูกแมวที่ยังไม่ลืมตา เจ้าแมวตัวนั้นวิ่งออกมา ส่วนทางตาที่เตรียมขึ้นไกปืนไว้รอท่าอยู่แล้วก็ยิงสวนออกไป สิ้นเสียง เจ้าแมวตัวนั้นก็ลอยกระเด็นเข้ากองฟางไป ตาหัวเราะชอบใจในฝีมือของตัวเอง แต่ยายปล่อยน้ำตาไหลออกมา ก่อนที่จะลุกขึ้นไปดูมัน สภาพนางแมวสาวตัวนี้มีเต้านมถึงสี่เต้าแสดงว่ามันไม่ได้มีลูกแค่ตัวเดียว อย่างน้อยต้องมีสักสี่ตัว ซึ่งบัดนี้คงนอนตายอยู่กลางเพลิงไฟไปเรียบร้อยแล้ว
บุญเจ้าแมวน้อยที่แม่ คาบออกมา ยายจึงรีบจับมันมา หวังชุบเลี้ยงแทนแม่ของมัน เราไม่มีโอกาสรู้เลยว่า กรรมที่ตาสร้างไว้ครั้งนี้จะส่งย้อนกลับมายังตาในวันหนึ่ง ขณะที่ตาจูงควายจะไปเทียบเกวียน แต่ควายตัวนั้นมันดื้อ ตาจึงใช้ไม้ฟาดมันอย่างหนัก ตามนิสัยโมโหร้ายของตา ครั้งนี้เจ้าควายตัวนั้น ตัวที่ตามักจะระบายอารมณ์ใส่มันด้วยความเกลียดชังกลับโต้ตอบ มันแว้งขวิดเข้าที่สะโพก แล้วตาก็ยิงมันตายในที่สุด แผลที่เกิดจากควายขวิดไม่คิดว่าจะส่งผลต่อมาให้ตา แต่แรกก็รักษาด้วยยาสามัญประจำบ้านกันไปตามมีตามเกิด อีกทั้งไม่คิดว่า แผลที่ว่านั้นจะหนักหนา แต่แล้วมันกลับสาหัสมากขึ้น จนกระทั่งตาลุกเดินไปไม่ได้ ขาข้างหนึ่งของตาลีบเล็กลงไม่นานแผลนั้นก็เริ่มเน่าเฟอะส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว ตาเริ่มร้องด้วยความทรมานทุกวัน มีคนพูดว่าเสียงร้องด้วยความเจ็บปวด เหมือนเสียง “วัว” เสียง “ควาย” สร้างความทุกข์ทรมานให้ตาอยู่ทุกวัน และวาระสุดท้ายของตาก็มาถึง
วันนั้นพ่อแม่เพื่อนผมพากันออกไปดูหนังขายยา ที่เข้ามาในหมู่บ้านของเรา ปล่อยให้ตายายอยู่บ้าน ขณะที่กำลังดูหนังอยู่นั้นก็มีเสียงตะโกนว่า
“ไฟไหม้” พอหันไปมองแสงสีเพลิงที่เด่นเป็นสง่ากลางความมืด ไฟที่รุกโชติช่วงอยู่นั้น เป็นบ้านของเพื่อนผม พ่อแม่วิ่งกลับไปทันทีพร้อมๆ กับเพื่อนพ่อแม่ต่างก็วิ่งไปช่วยกันเป็นการใหญ่ แต่ดูเหมือนจะสายไปแล้ว พอถึงบ้านแม่ก็เห็นยายนั่งร้องไห้อยู่กับพื้นดิน ได้แต่ร้องเรียกตาที่อยู่ในกองเพลิง ไฟไหม้หมดไปทั้งหลัง สภาพศพของตานั้นดูไม่เหมือนคนเดิม เพราะสภาพบัดนี้ได้กลายเป็นเถ้าถ่านไปแล้ว
ยายเล่าให้ฟังว่า ขณะที่นอนอยู่กับตานั้น มีแมลงทับบินเข้ามาเล่นตะเกียงไฟ ลูกแมวกำลังซนจึงวิ่งเล่นไล่จับแมลงทับ แล้วไปโดนตะเกียงไฟล้มไปติดมุ้ง ไฟก็เริ่มติด ยายพยายามที่จะดึงตาออกมา แต่ยายดึงไม่ไหว ตาเป็นคนรูปร่างใหญ่ ยายไม่สามารถลากเอาตาออกมาได้ ทุกคนแม้กระทั้งยาย ยังพูดออกมาเหมือนกันว่า “ตา ตายเพราะใช้กรรมที่ทำไว้กับแมวแท้ๆ

นี่แหละที่ว่า สร้างเวรสร้างกรรมอย่างไรไว้ ก็ต้องชดใช้กันไปเช่นนั้นเหมือนกัน อย่างที่ตาโดน


ที่มา : http://thaniyo.pantown.com/
58  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / รุกขเทวดามากราบนมัสการ พระอาจารย์สุก เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2009, 12:51:30 pm
รุกขเทวดามากราบนมัสการ
พระอาจารย์สุก


เมื่อครั้งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงมหาปราบดาภิเษก สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงจัดการแต่งตั้งขุนนาง ทางฝ่ายราชอาณาจักร พระองค์ท่านก็ทรงระลึกถึง โอวาทเตือนพระสติ ของพระอาจารย์สุก อยู่เสมอว่า จะกระทำการสิ่งไรให้น้อมระลึกถึง คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งที่อาศัย ให้เป็นประธานของใจ มีน้ำจิตประกอบไปด้วยเมตตาธรรม มีเมตตาธรรมให้มาก ในเพื่อนมนุษย์ จากนั้นจึงได้โปรดเกล้าฯให้ นำขบวนเรือ ไป อาราธนานิมนต์พระอาจารย์สุกมากรุงเทพฯ ครั้งนั้นพระอาจารย์สุกท่านรับนิมนต์ด้วยนิมิตกิจจิตว่าจำเป็นจะต้องมาเพื่อ สืบการพระศาสนา ท่านได้ทรงเลือก ศิษย์เอกสามรูป เป็นพระสงฆ์อนุจร ติดตามท่านมาด้วย และโปรดที่จะมาประทับที่วัดพลับร้าง ณ ฝั่งทิศตะวันตกของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่สงัดเงียบเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา

ณ บริวเณวัดพลับร้าง …
ตอนเช้ามืดใกล้สว่าง คณะของพระอาจารย์สุก ลุกขึ้นสวดมนต์ทำวัตรเช้ามืดประจำกลด แผ่เมตตาออกบัวบานพรหมวิหาร ไปทั่วบริเวณวัดพลับร้าง ตามต้นไม้ใหญ่ๆ นั้น เป็นที่สถิตของรุกข์เทวดาน้อย-ใหญ่ จากนั้นพระองค์ท่าน และคณะสงฆ์อนุจร ก็นั่งเจริญภาวนาสมาธิจิต อยู่สักครู่หนึ่ง จึงออกจากสมาธิ

ขณะนั้นมีชายนุ่งขาวห่มขาวประมาณ ๕ ท่าน ทั้งแก่ และหนุ่ม เดินออกมาจากชายป่าด้านทิศตะวันตก ของวัดพลับร้าง ซึ่งเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ เป็นพญาไม้ นานาพันธุ์ ชายนุ่งขาวห่มขาวทั้ง ๕ ต่างมีท่าทียิ้มแย้ม เข้ามากราบนมัสการ พระอาจารย์สุกกับพระสงฆ์อนุจร

พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในที่นั้นทั้งหมด ล้วนมีฌานแก่กล้า ทรงอยู่ในเมตตาฌานตลอด จึงสามารถแลเห็น รุกข์เทวดาได้ด้วยตาเปล่า

เหล่ารุกข์เทวดาเหล่านั้น ต่างแสดงอาการดีใจออกมาให้เห็น ทั้งนี้เพราะได้รับการแผ่เมตตาจาก พระอาจารย์สุก และพระสงฆ์อนุจรทั้งสามรูป ทำให้รุกข์เทวดาเหล่านั้นมีความสุขเกษมสำราญ เหมือนเมื่อครั้งพระอาจารย์สุก พระอาจารย์จ้าว วัดเกาะหงส์ ท่านแผ่เมตตาให้ เมื่อ ๑๕ ปีก่อน เมื่อสมัยที่เคยมารุกขมูลบริเวณนั้น รุกข์เทวดาเหล่านั้น ได้อาราธนานิมนต์ให้พระอาจารย์สุก และคณะพระสงฆ์อนุจรอยู่ที่วัดพลับ พระองค์ท่านทรงตอบว่า ฉันก็ตั้งใจว่าจะมาอยู่ที่นี่ เหมือนกัน รุ่งเช้าพระอาจารย์สุก และคณะพระสงฆ์อนุจร ออกเที่ยวบิณฑบาต โดยแยกกันไปตามบริเวณละแวกบ้าน ใกล้วัดหงส์บ้าง บริเวณบ้านเรือนใกล้วัดพระนอนบ้าง โดยถือไม้เท้าไผ่ยอดตาลคู่บารมีไปด้วย พระมหาเถรเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ กลับมาถึงกลดแล้ว ก็มีชาวบ้านตามมาถึงบริเวณที่ปักกลด เพื่อปรนนิบัติรับใช้ พระมหาเถรเจ้าทั้ง ๔ ซึ่งเมื่อคืนนี้ ชาวบ้านก็ได้ยินเสียงร้อง ของเหล่าสัมภเวสี ฝูงเปรต ที่จะร้องออกมาทุกครั้ง เมื่อถึงวันพระ ชาวบ้านเคย ได้ยิน ได้ฟัง เสียงนี้มาจนเคยชิน

เนื่องจากคืนนั้นเป็นวันพระขึ้น ๘ ค่ำ อีกหนึ่งอาทิตย์ก็จะเข้าพรรษาแล้วคณะของพระอาจารย์สุก ทุกท่านเป็นพระมหาเถรที่ถือธุดงค์ตลอดชีวิต ๓ ข้อ คือ ถือครองผ้าไตรจีวรสามผืนเป็นวัตร ๑ ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ๑ ถือฉันอาหารในบาตรเป็นวัตร ๑ ทั้งสามข้อนี้พระองค์ท่านทรงถือ และถือ ตลอดพระชนม์ชีพ และตลอดชีวิต ทุกพระองค์ขณะที่ชาวบ้าน เดินตามมาเพื่อปรนนิบัติรับใช้ พระมหาเถรเจ้าทั้ง ๔ พระองค์ ที่กลดนั้น พวกบรรดาชาวบ้าน ก็ได้มองเห็นฝูงไก่ป่าจำนวนมาก มารุมล้อม พระอาจารย์สุก อยู่รอบกลด

ไก่ป่านั้นมีมากมายหลายชนิด ในบริเวณป่าวัดพลับร้างแห่งนี้ ชาวบ้านทั้งหลายก็พากัน อัศจรรย์ใจ ที่เห็นไก่ป่ามารุมล้อมพระอาจารย์สุกมากมายเช่นนี้ โดยไม่กลัวผู้คน และแตกตื่นบินหนีหายเข้าป่าไป เหมือนทุกครั้ง ที่ไก่ป่าได้กลิ่นคน แลเห็นคนพระมหาเถรเจ้าทั้ง ๔ ท่าน ฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำการอนุโมทนา

พระอาจารย์สุก ท่านก็กล่าวขึ้นว่า ให้ตรวจน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตตนนั้น ที่อยู่ในป่าวัดพลับร้างนี้ด้วย เพราะพระองค์ท่านทรงทราบด้วยญาณวิถีจิตว่า ณ. ที่นั้นมีบรรดาญาติ ของเปรตมัคนายก ตนนั้นอยู่ด้วย บรรดาญาติทั้งหลายอุทิศกุศลให้ เปรตตนนั้นๆ ก็รับอนุโมทนาส่วนบุญนั้นชาวบ้านได้ สนทนาปราศรัย กับพระอาจารย์สุกว่า วัดพลับแห่งนี้ร้างมานาน ๑๕ ปีแล้ว มีเสียงเปรตร้องขอส่วนบุญ ขอส่วนกุศล ทุกๆวันพระ


ขณะนั้น บรรดาคนในที่นั้นคนหนึ่ง ตั้งใจจะถามเรื่อง รุกข์เทวดา แต่ ยังไม่ทันจะเอ่ยปากถาม พระอาจารย์สุก ก็ทรงกล่าวด้วยน้ำเสียงเมตตาเบาๆ ขึ้นก่อนว่า ที่นี่แน่นขนัดไปด้วยต้นไม้ใหญ่-น้อย ร่มเย็นมาก เป็นที่สิงสถิตของเหล่ารุกข์เทวดา ทั้งหลาย


ขณะนั้นมีชาวบ้านอีกคนหนึ่ง นึกในใจว่า จะกล่าวอาราธนานิมนต์ให้พระองค์ท่านพำนักอยู่ที่วัดพลับ ยังไม่ทันจะเอ่ยปาก อาราธนานิมนต์พระองค์ท่าน ก็ทรงกล่าวต่อเนื่องขึ้นว่า ฉันตั้งใจไว้ว่าจะมาอยู่ที่นี่ เพราะสงบเงียบ ร่มเย็นดี ครั้นชาวบ้านกลุ่มนั้น กลับไปแล้ว ต่างก็นำเรื่องราวที่พบเห็น ไปบอกกล่าวเล่าลือกัน สนั่นไป ทั่วทั้งหมู่บ้านนั้น และละแวกหมู่บ้านใกล้เคียงว่า มีพระสงฆ์รุกข์มูลมาปักกลดที่วัดพลับร้างคณะหนึ่ง ท่านกำหนดรู้ใจคนทั้งหลายได้ ทั้งพระองค์ท่านยังมีเมตตาจิต แก่กล้า จนทำให้ไก่ป่าเชื่อง มารุมล้อมพระองค์ท่านอยู่มากมาย ข่าวนี้ก็เรื่องลือระบือกันไป เหมือนไฟไหม้ป่า นานแล้วพวกชาวบ้าน จะได้พบเห็นพระภิกษุผู้มีเมตตาสูง มีความอัศจรรย์ยิ่งอย่างนี้ ผู้คนทั้งหลายจึงกะเกณฑ์นัดหมายกันว่า เวลาตอนเย็นๆเสร็จธุระการงานแล้ว จะรวมตัวกันมา กราบนมัสการ พระอาจารย์สุก และคณะพระสงฆ์อนุจร ณ. ที่บริเวณวัดพลับร้าง แห่งนี้

คัดความจาก หนังสือพระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน) ยุคกรุงรัตนโกสินทร์วัดราชสิทธารามวรวิหาร (วัดพลับ) อิสรภาพ ๒๓ กทม. ๑๐๖๐๐
http://www.somdechsuk.com

59  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บุญนี้ เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2009, 12:16:30 pm
ด้วยบุญที่ข้ืาพเ้จ้ากระทำนี้ ตั้งแต่อดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติขณะนี้
ข้าพเจ้าขอให้สำเร็จแก่ มารดา นางปรานอม เศรษฐพงษ์ และ บิดา นายธนวัฒน์ ทัศนะภาค
ขอให้บุคคลทั้งสอง มีความสุข ความเจริญ ยิ่งๆขึ้นไป ทั้งชาตินี้และชาติหน้า
ตราบเข้าสู่มรรคผลนิพพาน เทอญ
60  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / ปฏิทินกิจกรรมงานบุญประเพณี วัดแก่งขนุน เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 09:34:16 pm
ปฏิทินกิจกรรมงานบุญประเพณี วัดแก่งขนุน
๑.งานปริวาสกรรม ๑๑ ม.ค. ถึง ๒๑ ม.ค. ทุกปี
๒.งานฟังเทศน์มหาชาติ ทุกปี
๓.งานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ทุกปี 28 มี.ค. - 15 เม.ย.
๔.งานประเพณีสงกรานต์ 13 - 14 เม.ย.
๕.งานเวียนเทียนในสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๖.งานปฏิบัติธรรม ในวันแม่
๗.งานปฏิบัติธรรม ในวันพ่อ

และงานย่อยอื่นๆ อีก สอบถามได้ที่
พระมหาภีรญาณ ปุณฺณฉนฺโท
เจ้าอาวาสวัดแก่งขนุน
๐๘๖-๐๑๐๐๘๘๓Aeva Debug: 0.0004 seconds.Aeva Debug: 0.0004 seconds.
61  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / 10 อันดับวัดสวยที่สุดในโลก เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 04:50:55 pm
1 - Tiger's Nest Monastery, Phutan



ถือเป็นวัดที่มีชื่อเสียงที่สุด ของภูฐาน ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 700 เมตร
จากพื้นล่างในหุบเขาปาโร และด้วยระดับความสูง 3,120 เมตร
จากระดับน้ำทะเล ฉายาว่า “รังเสือ” ของวัดนี้ ได้มาจากตำนานเก่า
ที่เล่าว่า พระรินโปเช (Padmasambhava - Guru Rinpoche)
ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่นิกายมหายานในภูฐาน ได้เหาะมาที่นี่บนหลังเสือ
และได้เข้าไปนั่งวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในถ้ำ เป็นเวลาถึง 3 เดือน
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2227 จึงเริ่มมีการสร้างวัดขึ้น

2 - Wat Rong Khun in Chiang Rai



วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun) ออกแบบและก่อสร้างโดย
อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัด
ให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540
จากเดิมมีเนื้อที่ 3 ไร่ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มและมีผู้บริจาคคือ
คุณวันชัย วิชญชาคร จนปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ไร่

3 - Prambanan : Hindu temple, Indonesia


วัดฮินดูพรัมบานัน : Prambanan Temple
พรัมบานันเป็นวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซียหรือจะเรียกว่า
ใหญ่ที่สุดในเอเซียอาคเนย์เลยก็ได้ ตั้งอยู่ที่เมืองพรัมบานัน
ตอนกลางของเกาะชวา และอยู่ไม่ไกลจากยอกยากาตาร์มากนัก
วัดถูกสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1340 โดยสันนิษฐานว่า
น่าจะสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์ Rakai Pikatan
จากราชวงศ์ Mataram ที่ 2 หรืออาจะสร้างในสมัยกษัตริย์
Balitung Maha Samba จากราชวงศ์ Sanjaya
ได้รับความเสียหายมากในช่วงปี 2006 เพราะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่นี่

4 - The Shwedagon Paya (or Pagoda), Myanmar



พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ
เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุ
พระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น
ตามตำนาน เจดีย์ชเวดากองนั้นสร้างเมื่อง 2,500 ปีที่แล้ว
แต่นักโบราณคดีเชื่อกันว่าสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6-10
สร้างโดยชาวมอญ ตามตำนานนั้นเริ่มจากว่า มีสองพี่น้อง
พ่อค้า 2 คน ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ามา พระองค์จึง
ประทานพระเกศามา 8 เส้น พระเจดีย์ได้ถูกทิ้งร้าง
จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 รัชสมัยพระเจ้าพินยาอู
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหม่สูง 18 เมตร
พระเจดีย์ได้ถูกซ่อมแซมมาเรื่อยมา จนมามีความสูง 98 เมตรในปัจจุบัน
บนยอดสุดของพระเจดีย์ มีเพชรอยู่ 5,448 เม็ด โดยเฉพาะ
ชั้นข้างบนสุดมีเพชรเม็ดใหญ่อยู่ 72 กะรัต และทับทิม 2,317 เม็ด

5 - Temple of Heaven : a Taoist temple in Beijing



หอฟ้าเทียนถานเป็นสถานบวงสรวงเทพยดาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง
ซึ่งยังคงรักษาไว้ในจีน ประกอบด้วยตําหนักฉีเหนียนเตี้ยน ตําหนักหวงฉงอี่
และลานหยวนชิว เป็นต้น เทียนถานตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง
มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๗๓ เฮกต้าร์ เป็นสถานซึ่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง
และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา ในระยะย่างเข้าฤดูหนาว
ถึงเดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปี พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบ
พระราชพิธีบวงสรวงที่นั่นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดม

6 - Chion-in Temple : Kyoto, Japan



วัดจิออนอิน (Chion-in temple) พื้นที่ของวัดนั้ใหญ่โตอลังการ
แทรกตัวอยู่ในเขาเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นมาก
วัดนี้สร้างในปี ค.ศ. 1234 เพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้ก่อตั้ง
ศาสนาพุทธนิกายโจโด เป็นนักบวช ชื่อว่า Honen

7 - Borobudur, Indonesia



บุโรพุทโธ ( Borobudur ) พุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์
ที่สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 8-9 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร
ตั้งอยู่บนเนินสูงของเกาะชวาภาคกลาง ห่างจากเมือง
ยอกยากาตาร์ ( Yogyakata ) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ประมาณ 40 กิโลเมตร ถือเป็นโบราณสถาานขนาดใหญ่
และเป็นศูนย์รวมแห่งความภาคภูมิใจของชาวอินโดนิเซีย
และชาวพุทธทุกคน ซึ่งหวังจะไปแสวงบุญสักครั้งในชีวิต
เจดีย์บุโรพุทโธรูปทรงดอกบัวนี้ก่อสร้างตามแบบศิลปะฮินดู-ชวา
หรือศิลปะชวาภาคกลางที่ผสมผสาานระหว่างอินเดียและอินโดนีเซีย
ได้อย่างกลมกลืนที่สุด บุโรพุทโธเปรียบเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

8 - The Harmandir Sahib : the Golden Temple in Punjab



วิหารฮัรมันดิร ซาฮิบ หรือ วิหารทองคำ เป็นวิหารที่สำคัญที่สุด
ในศาสนาซิก ตั้งอยู่ที่เมืองอัมริตสาร์ เมืองหลวงของ
แคว้นปัญจาบ ทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย

9 - The Temple of Srirangam
( Sri Ranganathaswamy Temple)



วัดนี้อยู่ในประเทศอินเดีย เมือง Tiruchirapalli
หรือ Trichy เป็นวัดของศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในโลก

10 - Ankor Wat : the largest temple in history



ปราสาทนครวัด (Angkor Wat) เป็นเทวสถานฮินดูลัทธิไวษณพนิกาย
ที่นับถือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุด สร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
เมื่อช่วงครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 12 เพื่ออุทิศถวาย
แด่องค์พระวิษณุที่พระองค์เชื่อว่า เป็นร่างของพระองค์เอง
ในขณะที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ และหลังจากสิ้นพระชนม์ไปแล้ว
ศาสนสถานแห่งนี้ ก็จะเป็นพระราชสุสานที่พระองค์
จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระวิษณุ

ที่มา รูป 10 Most Wonderful Temples of the World
62  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / ส่วนนี้ให้ลงข่าวสารของทางวัดได้เลยนะครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 04:28:12 pm
ส่วนนี้ให้ลงข่าวสารของทางวัดได้เลยนะครับ
จะประชาสัมพันธ์ แจ้งประกาศ ต่างๆ ได้เลยครับ
63  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การโพสรูปในบอรด์นะครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 03:30:19 pm

การโพสรูปในบอรด์นะครับ


นี่เป็นวิธีการใส่รุปในบอรด์แบบเต็มนะครับ ไม่เปลืองเนื้อที่ด้วยครับ

1. ไปที่ เว็บฝากไฟล์นี้ได้นะครับดีเลย http://imageshack.us

2. กด browse หาไฟล์ที่ต้องการอัพโหลดในเครื่อง แล้ว ไปที่ start upload นะ





3. copy image's address(location) จาก imageshack.us มาใส่ไว้ที่ บอรด์เรา





4.ไฺฺฮไลน์ ลิงค์ รุปที่เราเอามา แล้วไปกดที่ ไอคอน รุปภาพ จะมี tag   img เกิดขึ้นนะ




โค้ตจะหน้าตาประมาณนี้


[ img ]http://img192.imageshack.us/img192/9601/55138330.jpg[ /img ]


5.  กด ตั่งกระทุ้ได้เลยAeva Debug: 0.0004 seconds.
64  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / วิธีลงรูปใหญ่ในการโพส์ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 03:25:09 pm


นี่เป็นวิธีการใส่รุปในบอรด์แบบเต็มนะครับ ไม่เปลืองเนื้อที่ด้วยครับ

1. ไปที่ เว็บฝากไฟล์นี้ได้นะครับดีเลย http://imageshack.us

2. กด browse หาไฟล์ที่ต้องการอัพโหลดในเครื่อง แล้ว ไปที่ start upload นะ


3. copy image's address(location) จาก imageshack.us มาใส่ไว้ที่ บอรด์เรา



4.ไฺฺฮไลน์ ลิงค์ รุปที่เราเอามา แล้วไปกดที่ ไอคอน รุปภาพ จะมี tag   img เกิดขึ้นนะ



โค้ตจะหน้าตาประมาณนี้

[ img ]http://img192.imageshack.us/img192/9601/55138330.jpg[ /img ]


5.  กด ตั่งกระทุ้ได้เลย
65  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / วิชากรรมฐานและคำสอนของหลวงปู่ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 03:06:42 pm
วิชากรรมฐานและคำสอนของหลวงปู่

ทุกอย่างขอบารมีพระพุทธเจ้า
วิชากรรมฐานและคำสอนของหลวงปู่


๑. วิชาบังคับธาตุขันธ์
ให้บังคับจากรูปกายทิพย์ ให้เปลี่ยนอริยาบทต่างๆ เช่น ยืนเป็นนั่ง เป็นนอน เป็นเดิน ทำให้กายทิพย์เป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นแก่
ประโยชน์ ยกสมาธิจิตให้สูงขึ้น จิตมีอานุภาพมากขึ้น

๒. วิชาแยกธาตุขันธ์
แยกธาตุน้ำก่อนแยกธาตุดินแยกธาตุไฟแยกธาตุลมไม่มีกายมีแต่ธาตุเท่านั้น>
ีีประโยชน์ ใช้ทางมรรค ผล จิตขาดจากการยึดมั่นถือมั่น ในรูปกาย

๓. วิชาคุมจิตคุมธาตุ
ใช้สมาธิขั้นเอกัคตาจิต คุมจิตตัวเอง คุมธาตุทั้ง ๔ ของตัวเอง
ประโยชน์ ทำให้มีสติมีสมาธิเข็มแข็ง


วิชาธาตุปีติ ยุคล สุข

๑. ธาตุปีติ ยุคล สุข รวมกัน เรียกว่าธาตุธรรมกาย
ใช้ทำเป็นพื้นฐานแห่งอภิญญา จิตแก่กล้าใช้ตติยฌาน(สุข)ได้เลย
ถ้ายังไม่แก่กล้าใช้ถึงจตุถะอรูปฌาน ถอยมา ตติยฌาน(สุข)

๒. ธาตุปีติอย่างเดียว เรียกว่า ธาตุปีติวิมุติธรรม
ทำให้กิเลสทั้งปวงหลุด พิจารณาโดยวิธี บริกัมว่า นิพพาน

๓.ธาตุธาตุยุคลหก เรียกว่า ธาตุกายอมตะ
ประโยชน์ใช้ทำจิตให้สงบจากกิเลส พิจารณาว่า สงบ

๔. ธาตุสุขสมาธิเรียกว่าธาตุ สุขนิโรธธัม
ประโยชน์ ทางสุขอยู่ในความว่าง เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์

ธาตุปีติทั้งห้า (ธาตุเทวดา) ใช้ได้ทุกอย่างแล้วแต่จิต
ธาตุยุคล(ธาตุพรหม) ใช้ทางเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ธาตุสุข(ธาตุพระพุทธเจ้า) ธาตุกายสุข จิตสุข มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

ทำจิตเป็นสุข สยบกิเลส ธาตุ อุปจารพุทธานุสติ ใช้สยบมารทั้งภายนอก ภายใน
ใช้สยบภายในภายนอก


วิชาทำฤทธิ์

อธิฐานตั้งธาตุ ห้าดวง ดิน น้ำ ไฟ ลม วิญญาณธาตุ ให้ทำลายธาตุ น้ำ ทำลายธาตุ ไฟ ทำลายธาตุดิน ทำลายธาตุลม เหลือวิญญาณธาตุ ก่อนทำให้อธิฐานเอาฤทธิ์ก่อน

 

 

 

 

ธาตุภูสิโต

(ธาตุยิ่งใหญ่)

๑. ชุมนุมธาตุว่า เอหิปถวีพรหมา เอหิเตโชอินทรา เอหิวาโยนรายนะ เอหิอาโบอิสสรัง ว่าสามหน ธาตุทั้งสี่มาตั้งที่หทัยประเทศ
๒. เรียกภูตเข้าตัวธาตุ ว่าสามหน จตุรภูตา เอหิสมาคมะ ธาตุทั้งสี่ ปรากฏที่สะดือ
๓. เรียกภูตเข้าตัวธาตุ เตโช วาโย อาโบ ปถวี กสินะ นะโมพุทธายุ ภินทะติ นะพุทธัง นะปัจจักขามิ นะสิริ พันธนัง ธาเรมิ ให้ว่าสามหน เป่าเข้าตัวภูตมิออก ธาตุทั้ง ๔ ที่สะดือ มารวมที่หทัย

องค์ธรรมเก้า แห่งของ จุดอานาปาน

๑. ที่สะดือ ตั้งมั่น คือองค์ธรรมพระนาคี ที่ชุมนุมธาตุ
๒. จะงอยปาก รู้กำเนิดชีวิต คือองค์ธรรมของ พระธรรมวิมุติ
๓. ขื่อจมูก การดำเนินของชีวิต คือองค์ธรรมของพระธรรมกลาง
๔. ปลายจมูก ตั้งอยู่ของชีวิต คือองค์ธรรมของ น้ำ
๕. ระหว่างตา ความรอบรู้ คือองค์ธรรมของ ไฟ
๖. ระหว่างคิ้ว ความเป็นไปเบื้องหน้า คือองค์ธรรมของ สังฆราชา สงฆ์ผู้ใหญ่>
๗. กลางกระหม่อม รู้แจ้ง คือองค์ธรรมของ ครูบาอาจารย์ และพระพุทธเจ้า
๘. ลิ้นไก่ รู้ปัจจุบัน ธรรมชาติ คือองค์ธรรมของ แผ่บารมี
๙. กลางหทัย สูญรวมความรู้ต่างๆ คือองค์ธรรมของ พระพุทโธ


วิชาสลายจิต
สยบจิต ด้วยเมตตา –อุเบกขา ประโยชน์คือ
สกดจิต ใช้เอกัคคตาจิต ประโยชน์คือ
ปลดปล่อยจิต นั่งดูจิต ดูกิเลส ผ่านไปเฉย ประโยชนคือ


วิชาโลกุดร สยบมาร
๑. ตั้งที่กลางสะดือ ภาวนาว่า สติสัมโพชฌงค์
๒. ตั้งที่เหนือสะดือ ๒ นิ้ว ภาวนาว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. ตั้งที่หทัย ภาวนาว่า วิริยะสัมโพชฌงค์
๔. ตั้งที่คอกลวง ภาวนาว่า ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ทั้งที่โคตรภูท้ายทอย ภาวนาว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. ตั้งที่กลางกระหม่อม ภาวนาว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. ตั้งที่ระหว่างคิ้ว ภาวนาว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
แล้วเปลี่ยนมา ภาวนาว่า โลกุตตะรัง จิตตัง ฌานัง

ผลประโยชน์ของวิชาโลกุดร สยบมาร
๑. แผ่ให้ผู้ที่ลำบาก
๒. แผ่บารมีให้มาร
๓. ทำจิตให้หลุดพ้น
๔. บูชาคุณครูบาอาจารย์
๕. เมตตา
๖. ปราบมาร
๗. มีความเพียร
๘. ปราบคนทุศีล
๙. รักษาโรคกาย โรคจิต ตนเอง และผู้อื่น

วิชาสำรวมอินทรีย์

๑. ที่สะดือตั้ง ศีลวิสุทธิ
๒. ที่เหนือนาภีตั้ง จิตวิสุทธิ
๓. ที่หทัยตั้ง ทิฏฐิวิสุทธิ
๔. ที่คอกลวงตั้ง กังขาวิตรวิสุทธิ
๕. ที่โคตรภูท้ายทอยตั้ง มัคคามัคคญาณวิสุทธิ
๖. ที่กลางกระหม่อมตั้ง ปฏิปทาญาณทัสนวิสุทธิ
๗. ที่หว่างคิ้วตั้ง ญาณทัสนวิสุทธิ แล้วว่า โลกุตรัง จิตตัง ฌานัง
ประโยชน์ คล้ายกับ วิชาโลกุตรสยบมาร สำรวมตนเอง ตรวจศีลบริสุทธิ


วิชาสำหรับผู้มีจิตทิพย์ สำรวจโลกภายนอก
๑. สะดือตั้ง อุทยัพพยญาณ เกิด ดับ
๒. เหนือสะดือ ภังคญาณ ดับอย่างเดียว
๓. หทัย ภยตูปัฏฐานญาณ คือความกลัวทั้งปวง
๔. คอกลวง อาทีนวญาณ เป็นโทษทั้งปวง
๕. ท้ายทอย นิพพิทาญาณ เกิดความเบื่อหน่าย
๖. กลางกระหม่อม มุญจิตุกามยตาญาณ เหมือนอยู่ในแหในชะลอม
๗. ระหว่างคิ้ว ปฏิสังขารุเปกขาญาณ อยากพ้นทุกข์แล
๘. ระหว่างตา สังขารุเปกขาญาณ วางเฉยสละเสียให้สิ้น
๙. ปลายจมูก สัจจานุโลมมิกญาณ หาทางไปนิพพาน

เข้าจักรสุกิตติมา

๑. สะดือ ตั้งสุกิตติมา
ใช้ประโยชน์ เจริญแล้วเป็นสมาธิสงบ เกิดปัญญา เรียน
๒. เหนือสะดือ ตั้งสุภาจาโร อะไรก็ได้ จำแม่นเกิดปัญญา
๓. หัวใจ ตั้งสุสีลวา
๔. คอกลวง ตั้งสุปากโต
๕. ท้ายทอย ไม่มี
๖. กลางกระหม่อม ตั้งยสัสสิมา
๗. ระหว่างคิ้ว ตั้งวสิทธิโร
๘. ระหว่าตา ตั้งเกสโรวา
๙. ปลายนาสิก ตั้งอสัมภิโต
เรียนปฏิจสมุปบาท เพื่อสลายความหลง มีชีวิต ก็มีวิญญาณ มีวิญญาณ ก็มีความยึดมั่น

 

ทางไปนิพพาน พิจารณาสังเวศสาม
๑. ปลงต่อความตาย
๒. หน่ายนามรูปแล้ว เอาชีวิตแลกเอาพระนิพพาน
๓. พิจารณาให้เห็นสังขารธรรม รูปธรรม นามธรรม วิบัติไปต่างๆ
ปลงตามปัญญาพระไตรลักษณะ

นั่งจุกหู ใช้ปิดหู ปิดตา ไม่รับกิเลสภายนอก เหมาะสำหรับคนฟุ้งซ่าน
ทำเอาหูไปนา เอาตาไปไร่ ท่านให้ตั้งสมาธิที่หทัย ให้ตึงก่อน
แล้วยกสมาธิมาปิดหูขวาก่อน สมาธิตึงดีแล้ว ยกมาที่หทัยตึงดีแล้ว
ยกสมาธิไปปิดหูซ้าย ตึงดีแล้ว ยกมาที่หทัย ทำปิดตาก็เหมือนกัน

การเอาชนะกิเลส ให้ตรวจกิเลส ตัวไหนเกิดให้จดจำเอาไว้
แล้วเอาชนะกิเลสตัวนั้น

กิเลสตัวไหนเกิด ให้แผ่เมตตาให้กิเลส ให้อภัยกิเลส กิเลสจะไม่มาอีก
คือมีสตินั้นเอง ให้เจริญความดีงามเหนือกิเลส ให้ยิ่งๆ ขึ้นๆ ไปAeva Debug: 0.0007 seconds.
66  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 03:05:36 pm
พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ข้าพเจ้าได้รวบรวม และเรียบเรียงมาจาก พระคัมภีร์กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ฝ่าย เถรวาท ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฎิบัติเป็นแบบแผนไ้ว้เมื่อครั้งตติยสังคายนา และนับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา เป็นของ เก่า สืบทอดต่อมาโดยสมเด็จพระสังฆราชญานสังวร (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม แต่ได้มาอธิบาย พระกรรมฐานของเก่าขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเพิ่มศรัทธา ให้มีผู้เข้ามาปฎิบัติธรรม ของเก่าดั้งเดิมกันมากขึ้น เป็นการจรรโลงการปฎิบัติธรรมของเก่ามิให้คลาย เสื่อมสลาย สูญสิ้นไป

สม ดังปณิธาน ของสมเด็จสังฆราช ไก่เถื่อน และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ได้ทรงกระทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา ภาคปฎิบัติเอาไว้ ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔

พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับนี้ เป็นของเก่าเล่าเรียนปฎิบัติ สืบต่อกันมาช้านาน แต่ครั้งพุทธกาล โดยพระราหูเถรเจ้า ทรงเป็นต้นสาย สืบต่อมา ถึงครั้งตติยสังคายนา นำเข้ามาสู่ลังกา และนำเข้ามาสู่สุวรรณภูมิ โดยพระโสฌเถรเจ้า พระอุตระเถรเจ้า พระองค์ท่านได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับผ่านสมัยเรื่อยมาจนถึงยุคศรี ทวารวดี

ต่อมาประมาณปีพระพุทธศักราช ๖๐๑-๖๕๓ พระอุปติสสะเถรเจ้า แห่งลังกาทวีป ได้นำเอาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน ภาคปฎิบัติ อันทรงจำสืบกันมา นำมาแต่งจารึกลงเป็นอักษร เรียงลำดับ เรียงหมวดหมู่กรรมฐานไว้เป็นภาคปริยัติ เรียกว่า คัมภีร์วิมุตติมรรค เพื่อให้ผู้ปฎิบัติกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับมาแล้ว ได้ศึกษาหาความรู้ภาคปริยัติต่อไป

ต่อ มาประมาณปีพระพุทธศักราช ๙๕๖ พระพุทธโฆสะ ได้นำคัมภีร์วิมุตติมรรคมาแต่งเป็น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค เพื่อแสดงปัญญาให้ได้มาซึ่งคัมภีร์อรรถคาถา ศรีทวารวดี ยุคสุโขทัย ยุคอยุธยา และยุครัตนโกสินทร์

ในยุครัตนโกสินทร์นี้ เอง พระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ได้เรื่มเสื่อมถอยลงเรื่อยๆ ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ พระสงฆ์ สามเณร ปะขาว ชี เริ่มประพฤติปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา ออกนอกลู่ นอกทาง การปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แต่ก่อนมา ไม่ปฎิบัติเป็นขั้น เป็นตอน ทำให้พระพุทธศาสนาภาคปฎิบัติเสื่อมถอยลง

ต่อมาล้น เกล้ารัชกาลที่ ๒ จึงได้ให้ชุมนุมพระสงฆ์ วิปัสนา-พระกรรมฐานมัชฌิมา มาร่วมกัน ทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาไว้ และทรงแต่งตั้งพระภิกษุไปเป็นพระอาจารย์บอกพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ และสมถะพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงมีมาจนทุกวันนี้ ซึ่งบางสมัยก็เจริญ บางสมัยก็เสื่อม โดยความรู้ไม่ทั่วถึง จึงต้องมีการฟื้นฟู ผดุงรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

ฉะนั้น โบราณจารย์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าวเป็นคติพยากรณ์ถึงการรักษาแบบแผน การปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้เป็นสามคาบว่า

สัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา

ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา

ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา

ดังเช่น..... หลวงปู่สมเด็จพระสังฆราชญานสังวรมหารเถระเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ดังนี้ เป็นต้น

พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม

โทรศัพท์-โทรสาร ๐-๒๔๖๕-๒๕๕๒ , ๐๘๙-๓๑๖-๒๕๕๒




หมายเหตุโดยผู้พิมพ์ : เนื้อหา บทความจะยาวมาก ผู้พิมพ์พยายามจัดหมวดหมู่ให้อ่านได้ง่าย ขอให้กัลยาณมิตรที่สนใจอ่านทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ ตรงไหนที่ไม่เข้าใจขอให้โทรกราบเรียนถามหลวงพ่อท่านโดยตรง หรือ ถ้ามีเวลาและอยากจะเริ่มการฝึกกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ อย่างจริงจัง ขอแนะนำให้เข้าไปที่พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม (พลับ) ถ.อิสรภาพ ๒๓ วัดอรุณ บางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร จะมีครูบาอาจารย์ทางกรรมฐานเป็นผู้ฝีกสอน ชี้แนะให้ค่ะ

อานิสงส์ จากการพิมพ์เผยแผ่่เป็นธรรมทานในครั้งนี้ ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญให้กับกัลยาณมิิตร ญาติธรรม สหธรรมมิกทุกท่าน ทุกชาติภพที่มีส่วนร่วมในการช่วยกันดำรงเผยแพร่พระพุทธศาสนา ขอให้ทุกท่านเจริญด้วยสติปัญญาและพาตนของตนถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือพระนิพพานเทอญ สาธุ

testขอบคุณที่มา : หนังสือ คู่มือสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
สมเด็จพระสังฆราชญานสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราขวรวิหาร (พลับ) บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
67  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / บทนำ ตำนานการสืบพระกรรมฐาน เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 02:29:46 pm
ประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๕๖-๒๗๔ พระเจ้าอโศกมหาราช ส่งคณะพระโสมณเถรเจ้า พระุอุตรเถรเจ้า พร้อมพระสงฆ์ทศวรรค เข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ ไทย พม่า ลาว เขมร ในปัจจุบันนี้ พระสงฆ์ำ้ได้สืบทอดพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัย สืบกันเรื่อยมา จวบจนปัจจุบันนี้

พระสงฆ์ืที่อยู่วัดใกล้บ้าน เรียกว่าพระสงฆ์คามวาสี
พระสงฆ์ีที่อยู่วัดในป่า เรียกว่า พระสงฆ์อรัญวาสี
พระสงฆ์ที่อยู่วัดคามวาสี และวัดอรัญวาสี ต้องศึกษาพระธรรมวินัยทั้งปริยัติ และปฎิบัติควบคู่กันไป ไม่มีการแบ่งแยกทางการศึกษา ว่าจะศีกษาทางไหนก่อนหลัง

แต่ถ้าจะศีกษาปฎิบัติต้องไปยังสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ อันเป็นศูนย์กลางของการปฎิบัติพระกรรมฐานเจริญภาวนา ในยุคต่างๆ เช่น

ยุคสุวรรณภูมิ สำนัก พระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดท้าวอู่ทอง เมืองสุวรรณสังข์ (เมืองอู่ทอง) มีพระโสณเถร พระอุตรเถร เป็นเจ้าสำนัก และเป็นพระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุคสุวรรณภูมิ

ยุคกรุงศรีทวารวดี สำนัก พระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดแสนท้าวโคตร กรุงศรีทวารวดี มีพระญานไตรโลกมหาเถรเจ้า เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางของพระกรรมฐานในยุคอาณาจักรศรีทวารวดี

สำนักพระกรรมฐานเล็ก คือ
- วัดพญารามศรีทวารวดี
- วัดสุวรรณาราม กรุงศรีทวารวดี ฯ

ยุคศรีทวาราวดี พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุค คือ พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า (เพชร)

ยุคสุโขทัย สำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดป่าแก้ว มีพระวันรัตมหาเถรเจ้าเป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางพระกรรมฐาน ในยุคอาณาจักรสุโขทัย

สำนักพระกรรมฐานเล็ก คือ
- วัดป่ารัตนา พระครูญานไตรโลกเป็นเจ้าสำนัก
- วัดสุทธาวาส พระครูญานสิทธิ เป็นเจ้าสำนัก

ยุคสุโขทัย พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุค คือ พระญานสุวรรณมหาเถรเจ้า(สิงห์)

ยุคกรุงศรีอยุธยา สำนัก พระกรรมฐานหลัก สำนักพระกรรมฐานใหญ่ คือ วัดป่าแก้ว หรือเรียกกันอีกอย่างว่า วัดเจ้าพญาไท พระพนรัตน พระสังฆราช ฝ่ายซ้าย เป็นพระอาจารย์ใหญ่ เป็นเจ้าสำนัก เป็นศูนย์กลางพระกรรมฐาน ในยุคอาณาจักรอยุธยา

สำนักพระกรรมฐานเล็ก คือ
- วัดศรีอโยธยา พระพากุลเถร เป็นเจ้าสำนัก
- วัดโบสถ์ราชเตชะ พระพุทธาจารย์ เป็นเจ้าสำนัก
- วัดโรงธรรม พระญานไตรโลก เป็นเจ้าสำนัก
- วัดกุฎ พระอุบาลี เป็นเจ้าสำนัก
- วัดเจ้ามอน พระญานโพธิ เป็นเจ้าสำนัก
- วัดประดู่ พระธรรมโกษา เป็นเจ้าสำนัก
- วัดกุฎิดาว พระเทพมุนี เป็นเจ้าสำนัก
- วัดสมณะโกฎ พระเทพโมฬี เป็นเจ้าสำนัก
- วัดมเหยงค์ พระธรรมกิติ เป็นเจ้าสำนัก
นับว่าสมัยกรุงศรีอยุธยา มีวัดอรัญวาสี เป็นสำนักพระกรรมฐานมาก เปรียบเทียบได้ว่ามี มหาวิทยาลัยพระกรรมฐานทางพระพุทธศาสนามาก

ยุคอยุธยา พระอาจารย์ใหญ่กรรมฐานประจำยุค คือ พระพนรัต(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า พระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี

ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีวัดอรัญวาสีสำนักพระกรรมฐานหลัก สำนักกรรมฐานใหญ่ ๑ วัดคือ วัดราชสิทธาราม (พลับ) สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก) เป็นเจ้าสำนัก เป็นพระอาจารย์ใหญ่ ประจำยุครัตนโกสินทร์ วัดราชสิทธารามจึงเป็นศูนย์กลางกรรมฐานมัชฌิมา ประจำกรุงรัตนโกสินทร์

สำนักพระกรรมฐานเล็ก คือ
- วัดราชาธิวาส พระปัญญาวิศาลเถร (ศรี) เป็นเจ้าสำนัก

ยุครัตนโกสินทร์ พระอาจารย์กรรมฐานประจำยุค คือ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน (สุก)
จึงนับได้ว่ายุคกรุงรัตนโกสินทร์ มีมหาวิทยาลัยพระกรรมฐาน ทางพระพุทธศาสนาเพียง ๒ แห่ง

สำหรับสำนักวัดราชาธิวาสนั้น เมื่อพระปัญญาวิศาลเถร (ศรี) มรณภาพลงแล้ว พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ก็เสื่อมลงเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันหมดไปแล้ว มีแบบแผนใหม่เข้ามาแทนที่ เนื่องจากตั้งอยู่ในที่ใกล้ความเจริญมากกว่า ด้วยความเจริญของสมัยใหม่เข้ามาเร็ว และไม่มีการบำรุงรักษาแบบแผนเดิมไว้

ต่อมาเหลือเพียงวัดราชสิทธาราม (พลับ) เพียงวัดเดียว ที่รักษาแบบแผน และความเป็นสำนักพระกรรมฐานใหญ่ สำนักพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับเป็นหลักแบบวัดแสนท้าวโคตร ยุคทวารวดี แทนวัดป่าแก้ว ยุคสุโขทัย แทนวัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ไว้ได้ยาวนานที่สุด

ซึ่งแต่ละยุคมีการศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา เป็นแบบเดียวกัน เป็นทางเดียวกัน จนกระทั่งถึงบัดนี้ โดยมีพระอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายกรรมฐานมัชฌิมาสืบทอดมาโดยไม่ขาดสาย ไม่ขาดระยะมาถึง ๑๒ รุ่น บางยุคก็เจริญ บางยุคก็เสื่อมลงบ้าง เป็นไปตามหลักของพระำไตรลักษณ์ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของกรุงรัตนโกสินทร์นี้ นำสืบทอดมาจากกรุงศรีอยุธยา สู่กรุงรัตนโกสินทร์ โดยการนำมาประดิษฐานของ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม (พลับ) ซึ่งต่อมาถึงรัชสมัยรัชกาลที่ ๒ ในปีพระพุทธศักราช ๒๓๖๔ ทรงมีพระราชดำริว่า พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของเก่าดั่งเดิม กำลังจะแตกกระจาย ไปเป็นสายต่างๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการศึกษาพระกรรมฐานภาคปฎิบัติจะไม่เป็นระเบียบแบบแผน เป็นลำดับเหมือนแต่ก่อน ว่าพระกรรมฐานไหน ควรเรียนก่อน พระกรรมฐานไหน ควรเรียนหลัง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการชุมนุมพระอริยสงฆ์สมถะ วิปัสสนา ทั้งนอกกรุงในกรุง ทำการสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เพื่อรักษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มิให้แตกกระจาย สูญหาย ทำให้เป็นปึกแผ่นเหมือนดังแต่ก่อน สังคายนาโดยพระอริยสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

โดยมีสมเด็จพระสังฆราชญานสังวร (สุก ไก่เถื่อน) เป็นองค์ประธานสังคายนาฝ่ายสงฆ์ เมื่อสังคายนาเสร็จแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระสงฆ์ ปะขาว ชีไปเป็นพระอาจารย์ บอกพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตามพระอารามต่างๆ พระกรรมฐานมัชฌิมา จึงได้สืบทอดมาจนทุกวันนี้

พระกรรมฐานนั้นมี ๒ ภาค
๑. พระกรรมฐานภาคปริยัติ คือ เรียนรู้ได้ตามพระคัมภีร์ ได้แก่ พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระคัมภีร์มูลกรรมฐาน

๒. พระกรรมฐานภาคปฎิบัติ คือ พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สืบทอดมาโดยการประพฤติปฎิบัติ และทรงจำสืบต่อๆ กันมา โดยไม่ขาดสาย เพื่อป้องกันอุปาทานและทางเดินของจิตเสีย

เมื่อเรียนภาคปฎิบัติตามขั้นตอนแล้ว จึงจะเรียนพระกรรมฐานภาคปริยัติ คือ การอ่าน พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค คัมภีร์มูลกรรมฐาน เพื่อนำความรู้ทางจิต ออกมาเป็นคำพูด เพื่อทำความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง และอธิบานให้ได้ใจความ


สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ทรงเป็นครั้งแรก ของกรุงรัตนโกสินทร์ หลายอย่าง หลายประการ ๑. ทรงเป็นพระอาจารย์ พระองค์แรก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ ทรงอาราธนามากรุงเทพฯ

๒. ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นที่ พระญานสังวร พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๓. ทรงเป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่ พระญานสังวร พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๔. ทรงเป็นเจ้าอาวาส พระองค์แรก ของวัดราชสิทธาราม ของกรุงรัตนโกสินทร์

๕. ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่สมเด็จพระญานสังวร พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๖. ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะ พระองค์แรก ที่นั่งหน้า สมเด็จพระสังฆราช องค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากมีพรรษากาลมากกว่า

๗. ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มาจาก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๘. ทรงเป็นองค์ประธานสังคายนาพระกรรมฐาน พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๙. ทรงเป็นพระสงฆ์และสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรก ที่ได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่

๑๐. ทรงได้รับพระราชทานพระโกศทองใหญ่ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๑. ทรงเป็น พระองค์แรก ที่มีลูกศิษย์ เป็นพระสังฆราชถึง ๕ พระองค์

๑๒. ทรงเป็น พระองค์แรก ที่มีลูกศิษย์ เป็นสมเด็จราชาคณะถึง ๑๐ พระองค์

๑๓. พระเจ้าแผ่นดินทรงให้ช่างปั้นรูปเหมือนของพระองค์เป็น พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๔. ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูง พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๕. ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระเ้จ้าแผ่นดินถึง ๔ พระองค์เป็น พระองค์แรก และองค์สุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๖. ทรงเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๗. ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช ที่พระอัฎฐิธาตุ พระเกศาธาตุ พระอังคารธาตุ แปรเป็นพระธาตุ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๘. ทรงพระราชทานฉัตรเจ็ดชั้น เมื่อคราวออกพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง เป็น พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๑๙. ทรงได้รับพระราชทาน พัดสองด้าม พัดแฉกใบสาเก ฝ่ายคันถธุระ๑ พัดงาสาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ๑ ครั้งเป็นสมเด็จราชาคณะ พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๒๐. ทรงได้รับพระราชทาน พัดสองด้าม พัดแฉกใบสาเก ฝ่ายคันถธุระ๑ พัดงาสาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ๑ ครั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงถือเป็นประเพณีสืบมา ทรงโปรดพระราชทานสมเด็จพระสังฆราชองค์ต่อมาด้วย มายกเลิกในรัชกาลที่ ๕

๒๑. ทรงพระราชทาน ผ้ารัตประคตพระอุระ (อก) หนามขนุนสีทอง พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์

๒๒. ทรงพระราชทานของที่ระลึก แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงสามพระองค์เป็น พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์
- ทรงถวายพระตะกรุดมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระอรหัง แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑
- ถวายสมเด็จพระอรหัง แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓

๒๓. ทรงเป็นพระสงฆ์ปาปมุต พ้นจากบาปทั้งปวง พระองค์แรก ของกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนองค์ที่ ๒ คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

ฯลฯAeva Debug: 0.0008 seconds.Aeva Debug: 0.0008 seconds.
68  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / เรื่อง รูปฌาน และอรูปฌาน เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 02:24:12 pm
เรื่อง รูปฌาน และอรูปฌาน

                              พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช(สุก)
                 
                  แลฌาน อันได้แต่งให้ไปเกิดในพรหมโลกนั้น ถ้าจะจัดโดยจตุกกนัยแจกออกไปเป็น ๔ ประการคือ ปฐมฌานประการหนึ่ง ทุติยฌานประการหนึ่ง ตติยฌานประการหนึ่ง จตุตถฌานประการหนึ่ง เป็น ๔ ประการด้วยกัน   ถ้าจะจัดด้วยปัญจกนัยนั้น แจกออกไปเป็น ๕ ประการด้วยกัน 

เมื่อจัดโดยจตุกนัยนั้น ปฐมฌานมีองค์ ๕ คือ  วิตกหนึ่ง วิจารหนึ่ง ปีติหนึ่ง สุขหนึ่ง เอกัคตาหนึ่ง ทุติยฌานมีองค์ ๓ ประการคือ ปีติหนึ่ง สุขหนึ่ง เอกัคตาหนึ่ง  ตติยฌานมีองค์ ๒ คือ สุขประการหนึ่ง เอกัคตาประการหนึ่ง จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ เอกัคตาประการหนึ่ง อุเบกขาประการหนึ่ง  อันนี้จัดโดยจตุกกนัย

                ถ้าจัดโดยปัญจกนัย ปฐมฌานมีองค์ ๕ ประการเหมือนกัน ต่างกันแต่ทุติยฌาน จตุตถฌาน  ทุติยฌานข้างจตุกกนัยนั้น เว้นแต่วิตก วิจาร และทุติยฌานข้างปัญจกนัย เว้นแต่วิตกสิ่งเดียว   ทุติยฌานมีองค์ ๔ คือ  วิจารประการหนึ่ง ปีติประการหนึ่ง สุขประการหนึ่ง เอกัคตาประการหนึ่ง  ครั้นขึ้นตติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติประการหนึ่ง สุขประการหนึ่ง เอกัคตาประการหนึ่ง  ครั้นขึ้นจตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ สุขประการหนึ่ง เอกัคตาประการหนึ่ง   ครั้นถึงปัญจมฌาน ๆ มีองค์ ๒ คือ เอกัคตาประการหนึ่ง อุเบกขาประการหนึ่ง  จตุกกนัยกับปัญจกนัยนี้ ต่างกัน อาจารย์พึงรู้โดยพิจารณานี้เถิด 

จะเเก้ไขในลักษณะแห่งวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา อุเบกขา ที่จัดเป็นองค์ฌานทั้งปวง วิตก·   มีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์  วิจาร· มีลักษณะวิจารณ์ซึ่งอารมณ์นั้นเนื่อง ๆ จะมีครุวนา·ไฉน   มีครุวนาดุจดังเสียงระฆัง อันบังเกิดด้วยไม้เคาะ อันบุคคลประหารขณะเมื่อบุคคลเอาไม้เคาะ ตีระฆังมีเสียงนั้น  มีครุวนาดั่งวิตก อันยกขึ้นซึ่งจิตสู่อารมณ์ เมื่อเสียงระฆังอันคร่ำครวญไปนั้น มีครุวนาดั่งพิจารณาซึ่งอารมณ์   

ถ้ามิดังนั้นก็เปรียบประดุจดังว่า สกุณาทวิชาติทั้งหลาย อันปรารถนาจะบินไปในนภาลัยประเทศอากาศ นกทั้งหลายนั้นกวัก1 ปีกบินขึ้นไป ครั้นแล้วนกนั้นก็แผ่ปีกออก ร่อนไปในอากาศเวหา เสยยถา มีครุวนาไฉน   วิตก วิจาร   ก็อุปไมยดังนั้น   วิตก นั้นถ้าบังเกิดแล้ว ก็ย่อมยกซึ่งจิตสู่อารมณ์ เปรียบประดุจดังว่านกกวักปีกบินขึ้นไป วิจาร เมื่อบังเกิดแล้วก็ย่อม พิจารณาอารมณ์ เปรียบประดุจดังนกที่เหยียดปีกออกแล้ว เวียนไปใน นภาลัยประเทศอากาศนั้น  วิตก มีลักษณะยกขึ้นซึ่งจิตสู่อารมณ์อันเป็นประการใด  วิจาร มีลักษณะอันพิจารณาซึ่งอารมณ์นั้นประการใด   อธิบายว่า ขณะเมื่อพิจารณาอารมณ์แห่งพระกัมมัฏฐาน มีปฏิภาคนิมิตแห่งกสิณเป็นที่นั้น    นักปราชญ์พึงรู้ว่า เมื่อ แรกยกขึ้นซึ่งจิต สู่ปฏิภาคนิมิตเป็นอาทิ เป็นกิจ แห่งวิตก  เมื่อพิจารณาโดยพิศดารแห่งปฏิภาคนิมิตเป็นกิจแห่ง วิจาร

นัยหนึ่ง  วิตก วิจาร ที่ท่านเปรียบคือแมลงภู่ อันธรรมดาแมลงภู่อันหมายเอาชาติเรณูนวลห้องเกสรนั้นก็บินโฉบลงจำเพาะหา เกสรดอกบัว บินเวียนอยู่เบื้องบนดอกบัวนั้นก่อน ครั้นแล้วจึงโดดดิ่งเอาชาติเกสรเมื่อภายหลัง   ไฉนก็ดี   วิตก  วิจาร  ก็มีอุปมัยดังนั้น วิตก นั้นมีลักษณะยกขึ้นซึ่งจิตสู่อารมณ์เปรียบประดุจ แมลงภู่ที่บินโฉบลงจำเพาะมาสู่ดอกบัว วิจาร นั้นมีลักษณะให้พิจารณาโดยรอบคอบไป เปรียบดังแมลงภู่ที่บินเวียนอยู่เบื้องบนแห่งดอกบัวนั้น 

นัยหนึ่ง ก็เปรียบบุคคลอันขัดภาชนะเป็นสนิม  ธรรมดาอันบุคคลอันขัดภาชนะอันเป็นสนิมนั้น  ก็หยิบภาชนะไว้ด้วยมือข้างหนึ่ง  มือข้างหนึ่งก็ขัดสีเวียนไป มือที่หยิบภาชนะเปรียบประดุจ วิตก มือข้างหนึ่งที่ขัดสีเวียนไปเปรียบประดุจ วิจาร

                ทีนี้จะสำเเดง2ในลักษณะปีติสืบต่อไป    องค์อันใดชื่อปีตินั้นด้วย   อรรถว่า  ยังกายและจิตให้เต็ม  2.2อตฺถวิคฺคหกายจิตฺตานํ  ปิยณตีติ ปิติยา ธมฺมชาติอันธรรมชาติใด  กายจิตฺตานํ  ยังกายและจิตทั้งหลายนี้    ปิณยตีติ อิติ โหนตุ ดังนั้น  ธมฺมชาติ  นั้น  ปีติ นาม ชื่อว่าปีติ  ธมฺมชาติ  ปีติยังกายและจิตให้เต็ม อธิบายว่า ธมฺมชาติ อันกระทำให้กายและจิตปรีเปรมเต็มขึ้นนั้น ได้ชื่อว่า ปีติ เหมือนสาผกพรหม จะว่าโดยลักษณะปีตินี้ มีลักษณะ ๕ ประการคือ 

พระขุททกาปึติ  ประการหนึ่ง 

พระขณิกาปีติ  ประการหนึ่ง 

พระโอกกันติกาปีติ  ประการหนึ่ง   

พระอุพเพงคาปีติ   ประการหนึ่ง 

พระผรณาปีติ  ประการหนึ่ง     เป็น ๕ ประการ ด้วยกัน       

พระขุททกาปีติ  เมื่อบังเกิดขึ้นแล้ว  ขนผองสยองเกล้า  มีประการต่าง ๆ  ขณะเมื่อจำเริญภาวนาและมีความยินดีปรีดาในสันดาน ให้บังเกิดขนพองสยองเกล้านั้น  ใช่อื่นใช่ไกล พึงเข้าใจเถิดว่า  พระขุททกาปีติได้บังเกิดขึ้นแล้วในสันดานแล     

พระขณิกาปีติ  นั้นเมื่อบังเกิดแล้ว  ก็ย่อมให้เห็นปรากฏ วิชุลตา  วิย  ดุจดังว่าสายฟ้า อันแลบฉวัดเฉวียนในประเทศอากาศนั้น เห็นปรากฎดุจพระขณิกาปีตินี้   เมื่อบังเกิดขึ้นในสันดานแล้วก็ให้ปรากฏดุจดังนั้นแล

พระโอกกันติกาปีติ   เมื่อบังเกิดขึ้นในสันดาน ก็มีครุวนาดั่งคลื่นกระทบฝั่ง  น้ำเข้ามาแล้วก็อันตรธานหายไป ฉันใดก็ดี  เมื่อพระโอกกันติกาปีตินั้น เมื่อหยั่งลงสู่กายแล้ว ก็ให้ปรากฏ ดังนั้น ๆ อยู่ น้ำเข้ามาแล้ว ดังโคลกคลาก  เข้าแล้วแลหายไป  อย่างนี้นี่เป็นลักษณะแห่งพระโอกกันติกาปีติแล   

พระอุพเพงคาปีติ   เมื่อบังเกิดขึ้นแก่กายแล้ว  ก็ให้กายลอยไปในอากาศ  เสมือนหนึ่งลูกสกุณาปีกยังมิกล้า บังเกิดกระทำให้พอแต่ไหวกายแต่เพียงนั้น  เหมือนเราท่านทุกวันนี้ เป็นผู้ที่มีศรัทธาได้เล่าเรียนพระวิปัสสนา  ในอุพเพงคาปีตินั้น พึ่งเข้าใจว่าได้ โอน ๆ  เป็นแต่อย่างกลาง  บางทีนั้น กายหกคะมำไปก็มี  เป็นอย่างนี้อาศัยด้วยมิได้ที่กล้าหาญ  ถ้าได้พระอุพเพงคาปีติที่กล้าที่หาญนั้นแล้ว กายก็ลอยไปในอากาศเวหาเป็นแท้

พระผรณาปีตินั้น เมื่อบังเกิดขึ้นแล้วก็ให้เย็นแผ่ไปทั่วสรรพางค์กาย ปีติจัดโดยลักษณ์มี   ๕  ประการ  ดุจพรรณนามานี้  ถ้าบังเกิดเป็นหลายครั้งหลายคราแล้ว ก็มีกิจอันกระทำให้กายอิ่มให้จิตอิ่มเหมือนสาผกพรหม     อุทกสปญฺจมฐาโน  ปีตินี้ย่อมกระทำให้กายและจิตนั้นจำเริญขึ้นเป็นผล   อธิบายว่า ปีตินี้   ถ้าบังเกิดกล้าหาญเป็นหลายครั้งหลายคราแล้ว ก็ยังเจตสิกธรรมทั้ง ๒ คือ กายปัสสัทธิ  จิตตปัสสัทธิ    ให้บังเกิดขึ้นในสันดานแล   กายปัสสัทธิ  จิตตปัสสัทธินี้  ท่านจัดเป็นยุคล3ประการหนึ่ง

ถ้าจะว่าในพระยุคลนั้น  พระยุคลมี  ๖ ประการ   กายปัสสัทธิ  จิตตปัสสัทธิ  จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง   กายลหุตา  จิตตลหุตา จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง  กายมุทุตา  จิตตมุทุตา  ก็จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง  กายกัมมัญญตา   จิตตกัมมัญญตา   ก็จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง   กายปาคุญญตา    จิตตปาคุญญตา ก็จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง     กายชุคตา   จิตตุชุคตา   ก็จัดเป็นยุคลประการหนึ่ง        ประสมเข้ากันเป็นยุคล ๖  ประการด้วยกัน    อรรถที่ว่า

กายปัสสัทธิ  จิตตปัสสัทธิ   กระทำให้กายแล    จิตนี้ระงับจากกระวนกระวายทั้งปวง  กายปัสสัทธิ เป็นพนักงานระงับกาย  จิตตปัสสัทธินั้น เป็นพนักงานระงับจิต  เมื่อกายปัสสัทธิบังเกิดแล้ว ความกระวนกระวายในกายอันตรธานหาย    จิตตปัสสัทธิบังเกิดแล้ว ความกระวนกระวายในจิตอันตรธานหาย

แลพระยุคลที่ ๒ ชื่อ กายลหุตา จิตลหุตา  นั้น  เมื่อบังเกิดแล้วทำให้กายและจิตนั้นเบา  มิให้หนักอยู่ในที่จำเริญ  สมถะกัมมัฎฐานภาวนาและพระวิปัสสนากัมมัฎฐานภาวนา  กายลหุตานั้นเป็นพนักงานบรรเทาเสียซึ่งความหนักในกาย จิตลหุตานั้น บรรเทาเสียซึ่งความหนักแห่งจิต   เมื่อกายลหุตา  จิตตลหุตา เกิดแล้ว ที่หนักกายและจิตก็อันตรธานหาย

แลยุคลอันที่ ๓ กายมุทุตา จิตมุทุตานั้น เมื่อบังเกิดแล้ว ก็ทำให้กายและจิตนั้นอ่อน มิให้กระด้างอยู่ในที่จำเริญ3.3  สมถะกัมมัฎฐานภาวนาและวิปัสสนากัมมัฎฐานภาวนา  กายมุทุตานั้น เป็นพนักงานระงับเสียซึ่งกระด้างในกาย  จิตมุทุตานั้นเป็นพนักงานระงับเสียซึ่งความกระด้างแห่งจิต    เมื่อกายมุทุตา จิตมุทุตา   นี้บังเกิดขึ้นแล้ว อันความกระด้างในกายและจิตก็ระงับหาย   

แลพระยุคลอันดับที่ ๔  ที่ว่า กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตานั้นเล่า ก็เป็นพนักงานที่จะบำรุงกายและจิตให้ดี อยู่ในที่จำเริญสมถะกัมมัฎฐานภาวนา  และวิปัสสนากัมมัฎฐานภาวนา

แลพระยุคลอันดับที่ ๕ ชื่อ กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตานั้น  เมื่อบังเกิดแล้วในสันดาน ก็ระงับเสียซึ่งความลำบาก     กายปาคุญญตานั้น  เป็นพนักงานระงับเสียซึ่งความลำบากแห่งกาย  จิตปาคุญญตานั้น เป็นพนักงานระงับเสียซึ่งความลำบากแห่งจิต   เมื่อ กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตาบังเกิดแล้ว  ความลำบากกายและจิตก็ระงับหาย     

แลยุคล ๖ อรรถที่ว่า   กายชุคตา จิตตุชุคตานั้นเล่า   ถ้าบังเกิดในสันดานแล้ว ก็กระทำให้กายและและจิตนั้นตรงอยู่ในที่จำเริญสมถกัมมัฎฐานภาวนา   และวิปัสสนากัมมัฎฐานภาวนา   กายชุคตาเป็นพนักงานกระทำให้กายนั้นตรง  จิตตุชุคตานั้นเล่าเป็นพนักงานทำให้จิตนั้นตรง  เมื่อกายชุคตา จิตตุชุคตาบังเกิดแล้ว  กายและจิตที่คดอันตรธานหาย   

พระยุคล ๖ ประการมีคุณต่าง ๆ กัน เป็นต่าง ๆ กัน ดุจพรรณนามานี้     พึงเข้าใจเป็นใจความว่า    ปีติอันมี ลักษณะ ๕  ประการดังพรรณนามาแต่หนหลังนั้น   ถ้าบังเกิดในสันดานแล้ว  ก็ยังพระยุคลธรรม อันเป็นปฐมคือ   กายปัสสัทธิ  จิตปัสสัทธิ  อันให้บังเกิด กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ  เมื่อบังเกิดขึ้นในสันดานแล้ว  ก็ยังให้กายเป็นสุข  จิตเป็นสุข    ก็ทำให้บังเกิดสมาธิ ๓ ประการ คือ   ขณิกสมาธิ  อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ 

ขณิกสมาธิ คือน้ำจิต3.4ตั้งมั่นแต่ละขณะ ๆ   เมื่อจำเริญเมตตาภาวนา หรือฟังธรรมเทศนา  และน้ำจิตตั้งมั่นลงได้มินาน   แต่มากกว่าช้างขยับหูทีหนึ่ง  แต่เท่านั้นก็ได้ชื่อว่า ขณิกสมาธิ   

แลอุปจารสมาธินั้น    ได้แก่น้ำจิตตั้งมั่นในที่ใกล้จะได้ซึ่งฌาน ใกล้จะได้ปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  จตุตถฌาน และปัญจมฌานอยู่แล้ว  น้ำจิตตั้งมั่นลงแล้วได้ชื่อว่าอุปจารสมาธิ 

แลอัปปนาสมาธินั้นได้แก่ ฌาน มีปฐมฌาน เป็นต้น เป็นประธาน  น้ำจิตที่ตั้งมั่นอยู่ในฌานนั้นได้ชื่อว่า  อัปปนาสมาธิ    สมาธิ ๓ ประการนี้     จะบังเกิดมีนั้นอาศัยแต่สุข     สุขจะบังเกิดมีได้นั้นอาศัยแต่ปัสสัทธิ  ปัสสัทธิจะบังเกิดมีก็อาศัยแต่ปีติ     

ปีตินี้เป็นราก   เป็นเง่า  เป็นโต   เป็นมูล    ให้บังเกิดสมาธิจิต  ปีตินี้เรียกชื่อว่า  ปกิณกเจตสิก4      ด้วยอรรถว่า   เกิดเรี่ยรายไป  จะให้บังเกิดทั่วไปในจิตทั้ง  ๘๙  ดวง5 นั้นหามิได้  ปีตินี้เกิดได้ในจิตอันเป็น   โสมนัสสัมปยุตจิต  ที่เป็นโทมนัสสัมปยุตจิต และจิตที่เป็นอุเบกขาสัมปยุต  ปีติจิตบังเกิดหามิได้     และปีตินี้เมื่อบังเกิดในสันดานแล้ว  อันชื่นบานเพียรไปในการกุศล  ปีตินี้แล    ในอัฏฐสาลินี   ปีตินี้จะมีครุวนาไฉน  มีครุวนาดุจบุคคลเดินมรรคากันดาร  ร้อนรนกระวนกระวายกระหายน้ำเป็นกำลัง  ปฏิรูปเถปุริส  ภายนั้นเมื่อเห็นบุรุษผู้หนึ่งเดินมาตามรรคาหนทางกันดาร    ดูก่อนที่อันใดจะมีน้ำบ้าง บุรุษผู้นั้นก็พึงจะบอกว่า ชาตสระ6 อันหนึ่งมีอยู่ในที่    ข้างโน้น  ท่านอุตส่าห์เดินไปสักพักหนึ่งเถิด  ไปถึงฟากโน้นแล้ว ก็จะพบ ชาตสระ   ท่านจะได้อาศัยน้ำในสถานที่นั้น     ชายผู้นั้นกระหายน้ำ  ได้ฟังก็ชื่นชมยินดี มีน้ำใจขึ้นนักหนา  ว่าที่นี้มีน้ำเป็นแน่แล้ว    จะได้กินน้ำแล้ว  ก็อุตสาหะทรมาน   เดินดำเนิน  เนินลำเนา  หมดประเทศมรรคา   พานพบเห็นกลีบอุบลตกเรี่ยรายตามมรรคา  ก็ยินดีปรีดาภิญโญ ภาวะยิ่งขึ้นไปกว่าเก่า   มีน้ำใจยินดีหนักหนา   เดินไปในเบื้องหน้าก็เห็นบุรุษชายมากนักหนาอันเดินไปอาบน้ำชำระกาย ในชาตสระอันนั้นแล้ว  ก็กลับมามีผ้าอันชุ่มไปด้วยน้ำ   มีผมอันชุ่มไปด้วยน้ำ  แล้วก็ได้ยินสรรพสำเนียงใกล้ป่าละเมาะ  เสียงนกร้องกึกก้องไพร  เห็นแต่รุกขชาติพันธุ์ไม้ทั้งหลาย  อันบังเกิดริมขอบชาตสระ  มีกิ่งก้านสาขามีใบอันเขียวสดชอุ่ม   กิ่งน้อยและกิ่งใหญ่เข้าเกี่ยวประสานกัน เปรียบดังประดุจข่ายแก้วมณี  เห็นทั้งอุบลจงกลนี   โกมุทแดง  โกมุทขาว   สัตตะบุด   สัตตะบัน    บัวตูมบัวบาน เพิ่งจะ เเย้มกลีบ และเกสรอันกลิ่นหอมฟุ้งกระจุยกระจาย  อบอวนเอาใจ  เห็นน้ำใสอันปราศจากมลทิน   น่าจะได้กินได้อาบ  ชายนั้นก็ชื่นชมโสมนัสยินดีไปกว่าเก่า   ชายนั้นก็ลงสู่ ชาตสระถึงน้ำแล้ว   สบายอก สบายใจ   ทั้งกินทั้งอาบระงับกระวนกระวายลงแล้ว   ชายนั้นก็ขุดเอารากบัว และเง่าบัว  กับทั้งฝักบัวมาบริโภคเป็นอาหารอิ่มหนำสำราญเสร็จแแล้ว    ก็เก็บเอาดอกบัวจงกลนีมาทัดมาทรง  เก็บดอกบัว รากบัว  เง่าบัว  มาแบกขึ้นบ่าแล้วก็ขึ้นมาจาก ชาตสระ  ผัดผ้าสาฎกแล้ว  เอาชุดอาบนั้นมาตากเอาไว้ในที่แดด  ชายนั้นก็เข้าไปนั่งในร่มไม้อันมีลม อันพัดวายุมาเฉื่อย ๆ  เย็นสบายใจหนักหนา   ชายผู้นั้นก็เปล่งซึ่งอุทานวาจา  อโห สุขํ  ปรมํ  สุขํ   ดังเราชมสถานที่อันนั้นเป็นสุขนักหนา  บรมสุขนักหนา  เสยฺยถา อนิลฺเล มีไฉน  อุปไมยดังพระโยคาวจรเจ้าอันจำเริญซึ่งสมาบัติ   บุรุษอันเดินบนมรรคา นั้นเปรียบดังพระโยคาวจรเจ้า   ขณะเมื่อบุรุษเดินทางร้อนรนกระหายน้ำเป็นกำลังนัก   เปรียบประดุจดังพระโยคาวจรเจ้า  อันมีจิตเดือดร้อนอยู่ ด้วยราคะ  โทสะ  โมหะ  ยังกระสันกระส่ายทุรนทุราย  ด้วยอกุศลวิตกทั้ง  ๓   คือ   กามวิตก  พยาบาทวิตก   วิหิงสาวิตก   ขณะเมื่อบุรุษเดินทางเห็นบุรุษผู้หนึ่ง เดินผ่านมาตามมรรคา  ก็ไถ่ถามเนื้อความ  ข้างหน้ามีน้ำแล้ว ดังอารมณ์ไปในที่ใกล้ซึ่งน้ำนั้น  เปรียบประดุจดังพระโยคาวจรเจ้า6.1   วิตกและวิจารอันยกขึ้นซึ่งจิตสู่อารมณ์ และวิตกวิจารอันเป็นอารมณ์นั้นเมื่อเกิดแล้วก็ย่อมยกซึ่งจิตขึ้นพิจารณา  ซึ่งอารมณ์และฌานเปรียบประดุจบุรุษอันอารมณ์ไปในที่จะใกล้ได้น้ำ   ในขณะเมื่อบุรุษเดินทางไปใกล้ ชาตสระเข้าแล้ว ก็เห็นซึ่งกลีบอุบล ตกเรี่ยรายอยู่ตามมรรคาและบังเกิดความยินดีหนักหนา      มีครุวนาดุจลักษณะปีติอยู่อ่อน บังเกิดขึ้นอยู่ในสันดานแห่งพระโยคาวจรเจ้า   ขณะ เมื่อบุรุษเดินทางแลเห็นบุรุษทั้งหลายไปอาบน้ำใน ชาตสระแล้ว ดังอุปมามีผ้าชุ่มด้วยน้ำ มีผมชุ่มด้วยน้ำ แลเห็นต้นไม้อันบังเกิดขึ้นแถบชาตสระมีใบเขียวสดชอุ่มเห็นดอกอุบลจงกลนี   เห็นน้ำอันใสแลบังเกิดความยินดีปรีดาภิญโญภาวะยิ่งขึ้นไปนั้น  เปรียบประดุจพระโยคาวจรเจ้า  อันได้ซึ่งลักษณะปีติ  อันกล้าหาญ  และปีติอันแก่กล้าอยู่แล้ว  ขณะเมื่อบุรุษเดินทางไปพบชาตสระแล้วแล ลงอาบน้ำชำระกายดำผุดดำว่ายอันควรแก่ความพอใจ  ทั้งกินและอาบค่อยระงับกระวนกระวาย  ในกายและจิตนั้น  มีครุวนาดุจพระโยคาวจรเจ้าอันได้พระยุคลอันหนึ่งคือ  กายปัสสัทธิ  ขณะเมื่อบุรุษเดินกินรากบัว และเง่าบัว ฝักบัว  มาทัดมาทรงซึ่งดอกอุบลอันหอมรื่นชื่นกมลจิตนั้น เปรียบดุจพระโยคาวจรเจ้ามี  ปัสสัทธิ  อันได้กล้าหาญแล้ว ได้ชื่อว่าสุข กายก็เป็นสุข จิตก็เป็นสุข  เสวยอารมณ์อันเป็นสุขกายและสุขจิต     เหมือนเมื่อบุรุษขึ้นจากชาตสระ   ผัดผ้าสาฎกแล้ว  แลมานั่งอยู่ใต้ร่มไม้  ลมพัดมาเฉื่อย ๆ   เย็นสบายอารมณ์ เป็นสุขนั้น   เปรียบดังพระโยคาวจรเจ้า  อันได้ซึ่ง อัปปนาสมาธิ  มีจิตแนบแน่นอยู่ใน    สมาบัตินั้น    และเจตสิกธรรมนั้น  จัดเป็นพระลักษณะประการหนึ่ง  สุขอันเกิดในลำดับปัสสัทธิ  อันมีลักษณะให้กายเป็นสุขนั้น   ท่าน จัดเป็นองค์ฌานประการหนึ่ง แลเอกัคตาจิตนั้นก็จัดเป็นองค์ฌานประการหนึ่ง แลเอกัคตาจิตนี้มีลักษณะทำให้น้ำจิต แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว มิให้จิตพรุ่งพร่านกระวนกระวาย กระสับกระส่ายไปในอารมณ์อันอื่นๆ  อันเป็นพาหิรเหตุนั้นได้แก่ เอกัคตาที่เป็นคุณแก่กุศลธรรมทั้งหลายทั้งปวงจะให้สำเร็จกิจเหล่านั้นได้  ก็อาศัยเอกัคตาเป็นที่ประชุมไว้ซึ่งกุศลธรรมทั้งปวง   เปรียบประดุจยอดกุตตาคารปราสาท อันเป็นที่ประชุมแห่งทัพพะสัมภาระเครื่องไม้ทั้งปวง ย่อมประชุมกันในยอดกุตตาคาร ๆ  เป็นประธานแก่ทัพพะสัมภาระทั้งปวง  ไฉนก็ดี    เอกัคตา ก็เป็นที่ประชุมแก่กุศลธรรมทั่งปวง  มีอุปมาดังนั้น    พึงเข้าใจเถิดว่า  เอกัคตาจิตเป็นองค์แห่งธรรมประการหนึ่ง

และอุเบกขานั้นเล่าก็จัดเป็นองค์ธรรมประการหนึ่ง ประสงค์เอาซึ่ง ฉฬังคุ เบกขา พรหมวิหารอุเบกขา โพชฌังคุเบกขา วิริยะอุเบกขา สังขารุเบกขา เวทนูเบกขา วิปัสสนูเบกขา ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ฌานุเบกขา ปริสุทธุเบกขา    ประสมกันเข้าเป็นอุเบกขา ประการหนึ่ง 

ฉฬังคุเบกขา นั้น  ได้แก่อุเบกขาอันบังเกิดขึ้นในทวารทั้ง ๖ แห่งพระขีณาสพเจ้า    อธิบายว่าพระขีณาสพนั้น       ถ้าท่านเห็นรูปที่ดีก็ตาม   ท่าน ก็ไม่ชื่นชมโสมนัสยินดีปรีดา ถ้าเห็นรูปที่ชังก็ตาม ท่านก็ไม่โทมนัสขัดเคือง ได้ฟังสรรพเสียงสำเนียงอันดีนี้อันไพเราะท่านก็ไม่ชื่นชมยินดี ได้ฟังเสียงที่ชัง ท่านก็ไม่ยินร้าย  ได้ดมกลิ่นที่หอมที่ดีท่านก็ไม่ชื่นชมโสมนัส ได้ดมกลิ่นที่ชังท่านก็ไม่โทมนัสขัดเคือง  ได้ลิ้มชิมรสอาหารอันมี โอชาอันดี  ท่านก็ไม่ยินดีปรีดา ได้ลิ้มชิมรสอันชังท่านก็ไม่ยินร้าย  ได้ ผัสสะถูกต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ดี ท่านก็ไม่ ชื่นชมโสมนัส ได้สัมผัสถูกต้องสิ่งที่ชังท่านก็ไม่โทมนัส ที่ปรากฎแจ้งในมโนทวารนั้นแล ที่ปรากฏดีท่านก็ไม่ชื่นชมยินดี ที่ปรากฏชังท่านก็ไม่ยินร้าย   อุเบกขาที่เกิดขึ้นในทวารทั้ง ๖ คือ จักขุทวาร  โสตทวาร ฆานทวาร  ชิวหาทวาร  มโนทวาร    ก็ให้มีจิตมัธยัตอยู่ในอารมณ์ทั้งปวงมิได้ยินดียินร้ายบังเกิดในสันดานแห่งพระขีณาสพเจ้าทั้งปวง   ได้ชื่อว่า  ฉฬังคุเบกขา   

แลพรหมวิหารุเบกขา   และอุเบกขานั้น  ได้แก่อุเบกขาพรหมวิหาร  อธิบายว่า  พระโยคาวจร  อันจำเริญอุเบกขาพรหมวิหารตั้งจิตมัธยัตอยู่ในสัตว์ทั้งปวง มิได้รักใครชังใคร  แต่แผ่อุเบกขาไปในสัตว์ทั่วทิศานุทิศทั้งปวง  มิได้รักใครชังใคร     อุเบกขานี้แล  ได้ชื่อว่า พรหมวิหารอุเบกขา

แลพระโพชฌังคุเบกขา ได้แก่พระอุเบกขาโพชฌงค์ พระโยควจรเจ้าอันจำเริญซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์  มีอุเบกขาธรรมเจ้าเป็นองค์ให้ตรัสรู้จตุริยะสัจอุเบกขานั้นได้ชื่อว่า โพชฌงค์อุเบกขา

แลพระวิปัสสนูเบกขานั้น  ได้แก่อุเบกขา อันยุติในวิปัสสนาปัญญา  พระโยคาวจรเจ้าอันจำเริญวิปัสสนาปัญญา พิจารณาตาม อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา   ปัญญานั้นแก่กล้าขึ้นทุก ๆ ชั้น ตราบเท่าถึงสังขารุเบกขา  ปัญญาให้บังเกิดมัธยัติอยู่ใน สังคหธรรม  เปรียบประดุจดังบุรุษ อันมีภรรยาหย่าขาดกันแล้ว  และมีจิต มัธยัติอยู่   แลอุเบกขาอย่างหนึ่งได้ชื่อว่า วิปัสสนูอุเบกขา    พุทธชิโนรสปฎิบัติพึงเข้าใจเถิดว่า  สังขารุเบกขาญาน  อันมีลักษณะให้มัธยัติอยู่ใน  สังขาร   เปรียบประดุจดังบุรุษอันมัธยัติในภรรยาอันหย่าขาดกันแล้วนั้น   ได้ชื่อว่าวิปัสสนูเบกขา

และวิริยะอุเบกขานั้นได้แก่   อุเบกขาอันประกอบในความเพียร  อธิบายว่าพระโยคาวจรเจ้า อันกระทำความเพียรกล้าหาญมีกำลัง   เมื่อเห็นว่าจิตนั้น  ดังจะตกไป ฝ่ายอุทธัจจะฟุ้งซ่านไปแล้ว แลประพฤติมัธยัติอยู่มิได้ อยู่ในที่ปรารภความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป  เป็นอุเบกขาอยู่ในความเพียรฉะนี้แล  ได้ชื่อว่า  วิริยะอุเบกขา

และสังขารุเบกขานั้น   ได้แก่อุเบกขาอันให้มัธยัติ  มิให้ยินดียินร้าย ในที่พิจารณาซึ่งธรรมเป็นต้น เป็นประธาน    จิตอันเป็นปานกลางอยู่ในที่พิจารณาซึ่งนิวรณ์ธรรมเป็นอาทิ  มิได้ยินดียินร้ายในขณะเมื่อพิจารณาซึ่งนิวรณ์ธรรมเป็นอาทินั้น   และได้ชื่อว่า สังขารุเบกขา 

แลเวทนูเบกขานั้น  ได้แก่อุเบกขาอันเกิดในสันดานแห่งเราท่านทั้งปวง   เมื่อกามาวจรกุศลจิตบังเกิดให้คิดเป็นอาทิ  จะกระทำกุศลนั้นก็ดี  ขณะเมื่อกระทำกุศลเป็นต้นว่า  ให้ทาน รักษาศีล  จำเริญเมตตาภาวนา  สดับฟังธรรมเทศนานั้น  ก็ดี    และมีจิตมิได้ยินดียินร้ายจะชื่นชมยินดีหามิได้   จะโทมนัสขัดเคืองก็หามิได้   จะเกิดเฉย ๆ เป็นท่ามกลางอยู่      อุเบกขาอย่างนี้แลได้ชื่อว่า เวทนูเบกขา

แลฌานุเบกขา   ได้แก่อุเบกขาอันเกิดในฌาน  อุเบกขาอันบังเกิดยั่งยืนในสันดาน  มิได้ปะปนไปด้วยสุขและทุกข์    โทมนัสและโสมนัส   ได้ชื่อว่า  ฌานุเบกขา

แลปริสุทธุเบกขานั้น   ได้แก่อุเบกขาอันบริสุทธิ์จากปัจจนีกธรรม ทั้งปวง    อุเบกขาอันบังเกิดในจตุตถฌาน บริสุทธ์เลื่อมประภัสสร ปราศจากข้าศึกคือ  วิตก  วิจาร ปีติ สุข  แลครอบงำมิได้นั้นไซร้ ชื่อว่า  ปริสุทธุเบกขา     

แลตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้น  ได้แก่อุเบกขาอันบังเกิดขึ้นแล้วแลประชุมไว้ ซึ่งสหชาตธรรมทั้งปวง  เป็นไปตามชื่อว่า  ฉันทุเบกขา       พรหมวิหารอุเบกขา  โพชฌังคุเบกขา   ฌานุเบกขา  และปริสุทธุเบกขา นั้นก็อันเดียวกัน    ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้น จะได้ต่างกันก็หามิได้     ตัตรมัชฌัตตุเบกขานี้ เมื่อบังเกิดมีในทวารทั้ง ๖  แห่งพระขีณาสพเจ้านั้น   ก็ได้ชื่อว่า  ฉฬังคุเบกขา   เมื่อบังเกิดในขณะจำเริญอุเบกขาพรหมวิหาร  ก็ได้ชื่อว่า  พรหมวิหารอุเบกขานี้  ๆ   เมื่อเกิดในขณะจำเริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์  ก็ได้ชื่อว่า โพชฌังคุเบกขา  เมื่อบังเกิดในปฐมฌาน ทุติยฌาน  ตติยฌาน  ก็ได้ชื่อว่า  ฌานุเบกขา  เมื่อบังเกิดในจตุตถฌาน  ก็ได้ชื่อว่า  ปริสุทธุเบกขาเป็นแท้     ก็แต่ตัตรมัชฌัตตุเบกขาสิ่งเดียวนั้นแล  ตัตรมัชฌัตตุเบกขานี้มีลักษณะให้มัธยัติ  มิได้ให้ตกไปในภายสุขและทุกข์    และโสมนัส -โทมนัส   

อนาโภคตสยา  ตัตรมัชฌัตตุเบกขา   มิได้กระทำตามเป็นนิจกิจ   อธิบายว่า  ตัตรมัชฌัตตุเบกขา  เมื่อบังเกิดหลายครั้งหลายคราแล้ว ก็ย่อมทำให้จิตนั้น  ปราศจากกระวนกระวาย   มิให้วิตกวิจารอยู่ด้วยสิ่งอันใดอันหนึ่ง   พยาปารปทฎฺฐานา ตัตรมัชฌัตตุเบกขา  เมื่อบังเกิดกล้าหาญอยู่ในสันดานแล้ว  ก็ย่อมทำให้ปราศจาก ขวนขวาย  มิให้อารมณ์ขวนขวายไปในกิจอันใดอันหนึ่ง    ตัตรมัชฌัตตุเบกขานี้    จัดเป็นองค์ฌานประการหนึ่งแล    ตัตรมัชฌัตตุเบกขาจะมีในปฐมฌาน   ทุติยฌาน  ตติยฌาน  บ้างหรือหามิได้  หรือว่าจะมีแต่ในจตุตถฌานสิ่งเดียว  ตัตรมัชฌัตตุเบกขานี้มีทั่วไปในฌานทั้ง ๓ คือ  ปฐมฌาน ทุติยฌาน  ตติยฌาน  จะมีแต่ในจตุตถฌานสิ่งเดียวหามิได้   ตสฺมา   โหนฺตุ ท่านจึงมิได้จัดขึ้นเป็นองค์แห่ง  ปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  ท่านเอาอุเบกขานี้  ขึ้นเป็นองค์แต่ใน จตุตถฌานนั้น ด้วยเหตุว่าผล เป็นประการใด 

อธิบายว่า   ตัตรมัชฌัตตุเบกขา อันบังเกิดใน ปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  ยังมิปรากฎ วิตก วิจาร ปีติ สุขนั้นกล้าหาญมีกำลังด้วยครอบงำอยู่  ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้น ยังไม่ผ่องแผ้วหามิได้ อาศัยเหตุดังนั้น  ตัตรมัชฌัตตุเบกขานี้   มีในปฐมฌาน  ทุติยฌาน ตติยฌาน  นั้น  ท่านมิได้จัดขึ้นเป็นองค์แท้จริง    ตัตรมัชฌัตตุเบกขา  ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌานนั้น    วิตก วิจาร ปีติ สุข  ครอบงำอยู่มิได้ปรากฏแจ้ง  เปรียบดุจแสงพระจันทร์ อันมิได้ปรากฎอยู่ในเพลากลางวัน  ธรรมดาว่าพระจันทร์ในเวลากลางวันนั้นแสงพระอาทิตย์ครอบงำอยู่  จะได้ปรากฎแสงหามิได้   เสยฺยถา ถ้าอันนี้แลจะมีครุวนาไฉน   ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้น มีอุปมาดุจ วงพระจันทร์  วิตก วิจาร ปีติ สุข อันมีกำลังกล้า ครอบงำ  ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้นไว้  มีอุปมาเปรียบดังแสงพระอาทิตย์  อันบังบดครอบงำไว้ซึ่งแสงพระจันทร์   มิได้ปรากฏแจ้งนั้นมีอุปมาดัง ตัตรมัชฌัตตุเบกขาอันมีใน ปฐมฌาน  ทุติยฌาน ตติยฌาน   วิตก วิจาร ปีติ สุข  มีกำลังกล้าหาญ  บดบังกำบังไว้  มิให้ปรากฎนั้น   เหตุที่มิได้ปรากฎแจ้งนี้แล้ว  ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้น   ท่านจึงมิได้จัดขึ้นเป็นองค์แห่งปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน   เปรียบประดุจดังพระจันทร์ในเวลากลางวันมีแสงมิได้ปรากฎแจ้ง  และจะนับว่าราตรีนั้นมิได้   คือถึงจตุตถฌาน   ระงับวิตก วิจาร ปีติ สุข สิ้นแล้ว  ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้น  จึงผ่องแผ้ว  บริสุทธิ์ เป็นอันดีมีกำลังปรากฎ     ครั้นจะจัดขึ้นเป็นองค์ฌาน   จะมีครุวนาไฉน   มีครุวนาดั่งพระจันทร์เมื่อเพลาราตรี ธรรมดาว่าพระจันทร์นั้น ครั้นพระอาทิตย์อัสดงคต  ลดลงต่ำ  เข้ายามค่ำ สนธยาไปแล้ว  ก็มีรัศมีอันปรากฎประจักษ์แจ้งเป็นอันดี   พระจันทร์อันได้เหมือนกล่าวคือราตรี    และรัศมีอันผ่องแผ้วใส    ไฉนนั้นก็ดี    ตัตรมัชฌัตตุเบกขา  ในจตุตถฌานนี้ก็เป็นเหมือนกล่าวคือ  เอกัคตาแล้วก็มีกำลัง  ก็ปรากฏเห็นผ่องใส มีอุปมาดังนั้น  เหตุ อันนี้แล ตัตรมัชฌัตตุเบกขาในจตุตถฌานนี้ ท่านจึงจัดขึ้นเป็นองค์ฌาน มีครุวนาดั่งพระจันทร์ในเพลาราตรี มีอยู่ปรากฎแล้ว ควรจะนับว่าเป็นราตรีได้นั้น นักปราชญ์พึงรู้ว่าปฐมฌานนั้น เป็นพนักงานให้ผลในรูปพรหมทั้ง ๑๖ ชั้น มีพรหมปาริชัชฌา เป็นต้น

69  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / ตำนาน "คาถาไก่เถื่อน" เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 02:18:41 pm

คาถาไก่เถื่อน
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน)

      สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถร ทรงมีประรามเดิมว่า สุก ประสูติเมื่อวันศุกร์ขึ้น 10 ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช 1095 ตรงกับวันศุกร์ ที่ มกราคม พุทธศักราช 2276 ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ พระองค์ทรงเป็นชาวกรุงเก่า ไม่ปรากฏพระนามบิดามารดา

      เด็กชายสุกมาอยู่ศึกษาเล่าเรียนกับพระอาจารย์ของท่านตั้งแต่อายุ 12-13 จนล่วงเลยมาหลายปีอายุท่านก็จะย่างเข้า 20-21 ปี บิดา-มารดา ปละพระอาจารย์ของท่าน เห็นว่าท่านสมควรที่จะบรรพชา-อุปสมบทได้ อีกทั้งท่านต้องการที่จะอุปสมบท เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา

      ครั้งนั้นท่านจึงได้อุปสมบทที่วัดอรัญวาสีที่เป็นวัดหลวงแห่งหนึ่ง ในที่บางแห่งได้บันทึกไว้ว่าท่านอุปสมบทที่วัดโรงธรรม เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้นามทางพระพุทธศาสนาว่าญาณสังวโรภิกขุ อุปสมบทแล้วจึงกลับมาอยู่วัดเดิมกับพระอาจารย์ของท่าน โดยพระอาจารย์ของท่านเป็นพระกรรมวาจาจารย์

      เมื่อถึงคราวออกธุดงค์ ท่านก็ได้ธุดงค์ไปกับอาจารย์ของท่านอีกเช่นเคย จนกระทั้งสิ้นบุญอาจารย์ท่าน ต่อมาท่านก็ได้ออกธุดงค์เดี่ยวด้วยจิตใจที่กล้าแข็งมุ่งมั่น บางครั้งไปพบอาจารย์ในระหว่างทาง ท่านก็ตามอาจารย์นั้นไปเรียนวิชาเพิ่มเติม ถ้าได้ข่างที่ไหนมีอาจารย์ดีๆ พระองค์ท่านก็จะดั้นด้นไปผากเรียนวิชา มีทั้งวิชากรรมฐาน วิชาสูญทกลา-จันทกลา วิธีเดินจิตรักษาตัวเอง รวมทั้งวิชาแพทย์แผนโบราณ วิชาญาณโลกุตร 19 รวมทั้งวิชาทำธาตุ

      บางครั้งพระองค์ท่านก็ไปจำพรรษาวัดต่างเมือง 1 ปี บ้าง 1 เดือนบ้าง จึงกลับมาวัดเดิม ในตำนานกล่าวไว้ว่าท่านเคยไปศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐานเพิ่มเติมที่ วัดกุฎีดาว อันเป็นวัดอรัญวาสีของกรุงศรีอยุธยา ท่านยังเคยได้ธุดงค์ไปประเทศราช เช่น ลาวเขมร โดยเฉพาะทางเหนือ คือ เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน อันเป็นเมืองประเทศราช และที่เมืองลำพูนนี้เองท่านได้พบของดีอย่างหนึ่งดังจะได้กล่าวต่อไป



รุกขมูลเมืองเหนือพบพระคาถาไก่เถื่อน

       ในปีต่อมา เมื่ออกพรรษาแล้ว ท่านก็ได้ไปธุดงค์อีกเช่นเคย ครั้งนี้ท่านต้องการไปทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ หัวเมืองฝ่ายเหนือนั้นบางคราวก็อยู่ในอำนาจของพม่า บางคราวก็อยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา ฉะนั้นบ้าน วัดในหัวเมืองเหนือจึงเต็มไปด้วยบ้านร้าง วัดร้าง เมืองเป็นป่า ป่าเป็นเมืองวัดเป็นป่า ป่าเป็นวัด พระที่ธุดงค์ไปทาเหนือ จะต้องมีวิชาแก่กล้าถึงจะไปไกลๆได้โดยไม่มีอันตราย

      แต่ในครั้งนั้นหัวเมือง ผ่ายเหนือตกอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระอาจารย์สุกไป ครั้งนั้นไปปักกลดตามป่าบ้าง วัดร้างบ้าง วันหนึ่งท่านเดินมาที่วัดร้างในป่าแห่งหนึ่ง ณ เมืองลำพูน เมื่อมาถึงท่านก็ได้เดินสำรวจที่สำหรับปักกลดมาถึงที่แห่งหนึ่ง พบแผ่นหินแผ่นหนึ่งท่านจึงปักกลดที่ข้างแผ่นหินนั้น พอตกเวลากลางคืนเงียบสงัดท่านก็เข้าที่ภาวนา

      เมื่อท่านภาวนาอยู่นั้น ท่านก็ได้เห็นนิมิตเป็นอักษรขอมโบราณ พอรุ่งเช้าท่านก็ออกบิณฑบาตกลับมาฉันเรียบร้อยแล้วท่านจึงรวบมุ้งกลด จึงใช้สมาธิมองไปที่แผ่นหินนั้น ท่านก็เห็นอักษรอยู่ใต้หินแผ่นหิน ท่านจึงหงายแผ่นหินขึ้นพบอักษรภาษาขอมเป็นคาถา 16 ตัว



      ท่านจึงท่องจำพระคาถานั้นให้ขึ้นใจแล้วท่านจึงพัก ณ ที่นั้นอีกหนึ่งคืน กลางดึกคืนนั้นท่านก็นั่งเข้าที่ภาวนาพระคาถานั้น จึงทราบว่า คาถานี้ คือ คาถา "ไก่เถื่อน" รุ่งเช้าอีกวันฉันอาหารบิณฑบาตแล้ว ก็นั่งภาวนาอีก สักครู่ก็มีไก่ป่า จำนวนมากมารุมล้อมท่าน ท่านจึงรู้ว่าคาถานี่ดีทางด้านเมตตา และสามารถเรียกได้ต่างๆ พระคาถามีความดังนี้

เว ทา สา กุ  กุ สา ทา เว

ทา ยะ สา ตะ  ตะ สา ยะ ทา

สา สา ทิ กุ  กุ ทิ สา สา

กุตะ กุ ภู  ภู กุ ตะ กุ

      หลวงปู่สุกท่านถอนกลดเดินทางในป่านั้น เดินไปเรื่อยๆ จนใกล้ค่ำ จึงปักกลด ตกกลางคืนก็เข้าที่ภาวนา พอเช้าฉันบิณฑบาตแล้ว ตอนสายแก่ๆ ท่านก็ภาวนา พระคาถาไก่เถื่อนอีก คราวนี้มีไก่ป่ามามากมายหลายสายพันธุ์มารุมล้อมท่าน บางตัวก็ขึ้นไปยืนบนเข้าท่านทั้งสองข้าง ท่านจึงทราบว่า เป็นคาถาที่ทำให้ไก่ป่าเชื่องได้ ปละเป็นคาถาที่ใช้สร้างสมในทางเมตตาบารมี



      ต่อมาเมื่อท่านไปปักกลดที่ไหนเพียงนึกถึงไก่ป่าเท่านั้น ยังมิได้ภาวนาพระคาถาไก่เถื่อน ก็มีไก่ป่ามารุมล้อมตัวท่านแล้ว นับได้ว่าท่านได้สำเร็จเมตตาบารมีไปอีกขั้นหนึ่ง แล้ว ไก่ป่านี้เป็นสัตว์ที่เชื่องคนยากมาก เมื่อเห็นคนหรือได้กลิ่นมนุษย์ ก็จะบินหนีหลบซ่อนทันที โดยที่คนไม่ทันได้เห็นตัวมัน

      ดังจะยกตัวอย่างเกี่ยวกับไก่ป่า ในนิราศธารทองแดง ในพระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษ กล่าวถึงไก่ป่าไว้ว่า


ไก่ป่าเจ้าเสียงเตี้ย
เห็นคนก่นวิ่งบิน
ไก่ป่าขันเจี่อยแจ้ว
ลูกเมียเขี่ยหากิน
เห็นคนก่นวิ่งบิน
ซอกซอนซ่อนตัวเร้น
พาลูกเมียเขี่ยหากิน
เข็นเร็นรอกซอกซอนหาย

กลางดิน
กกเหล้น
ถาบตื่น
พุ่มไม้สูญหาย


      ด้วยเหตุที่หลวงปู่สุก พระองค์ท่านอบรมบารมีมาในเมตตา และเมื่อพระองค์ท่านเป็นสมเด็จพระราชาคณะแล้ว พระคาถานี้จึงเรียกว่า พระคาถาพระยาไก่เถื่อน ตั้งแต่นั้นมา ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น คาถาไก่เถื่อนนี้เป็นคาถาที่สร้างสม ในทางเมตตาบารมี

      แต่มีที่มาที่กล่าวไว้ในหนังสือ พระประวัติและพระนิพนธ์ สมเด็จพระอริยวงศาญาณฯ สังฆราชสุก ไก่เถื่อน ญาณสังวร ของนายสุเชาวน์ พลอยชุม ได้เขียนไว้ว่า
      "หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบได้ในขณะนี้ คือ จารึกที่ฐานพระพุทธรูป "พระเจ้าล้านทอง" ที่เมืองพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จารึกโดยพระติกขปัญญาเถระ ปละพระพลปัญญาเถระ เมื่อ พ.ศ. 2069 พระคาถานี้ในทางภาคเหนือเรียกกันว่า พระคาถาไก่แก้วกุกลูก และหลักฐานอื่นๆ เกี่ยวกับคาถาไก่เถื่อนนั้นมาในชั้นหลังของสมเด็จพระสังฆราชสุก เสียส่วนมาก"


      เมื่อหลวงปู่สุกออกป่า และได้ประสบเหตุการณ์ต่างๆ ในป่าเขา ท่านก็ได้รอดพ้นมาด้วยพระคาถาไก่เถื่อนนี้ คนในสมัยนั้นเรียกพระคาถานี้ว่า เป็นพระคาถาที่เกิดจากอกหลวงปู่สุก หมายถึง เกิดจากการปฏิบัติธรรม ยังมีคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีการใช้ และสรรพคุณ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนพระธรรมดังนี้

      ๑. พระคาถาไก่เถื่อนนี้ผู้ใดภาวนาได้ 3 เดือน ทุกๆวันอย่าได้ขาด ผู้นั้นจะมีปัญญาดังพระพุทธโฆษาจารย์
      ๒. แม้สวดเทศนาร้องหรือพูดจาสิ่งใดให้สวดเสีย สามที่ มีตบะเดชะนัก
      ๓. แม้สวดได้ถึงเจ็ดเดือนอาจสามารถรู้ใจคน
      ๔. ถ้าสวดได้ครบ 1 ปี มีตบะเดชะนัก ทรงธรรมรู้ยิ่งกว่าคนทั้งหลาย
      ๕. แม้จะเดินทางไกลให้สวด 8 ทีเป็นสวัสดีแก่คนทั้งหลาย


      ๖. ให้เสกหินเสกแร่ไว้สี่มุมเรือน โจรผู้ร้ายเข้าปล้นสะดมมิได้ ผีร้ายมิกล้าเข้ามาในเขตบ้าน คร้ามกลัวยิ่งนัก คนเดินไปถูกเข้าก็ล้มลงแล แพ้อำนาจแก่เรา
      ๗.ให้เขียนอักขระนี้ลงเป็นยันต์ประสาท ลงด้วยเงินก็ดี ทองก็ดี เอาพระคาถานี้เสก 3 คาบไปเทศนาดีนักเป็นเมตตาแก่คนทั้งหลายให้เขียนยันต์ประสาทนี้ไว้กันเรือน กันโจรภัย อันตรายทั้งหลาย


       ๘. เสกปูน ใส่บาดแผลและฝีดีนัก
       ๙. เสกน้ำมันงาใส่กระดูกหัก
       ๑๐. เสกเมล็ดข้าวปลูกงอกงามดีนัก
       ๑๑. เสกน้ำมนต์พรมของกำนัลไปให้ขุนนางท้าวพระยา รักเราแล
       ๑๒. เสกหมาก เมี่ยงทางเมตตา
       ๑๓. ต้องยาแฝด ต้องภัยอันตรายต่างๆก็ดี ให้เสกส้มป่อยหายสิ้นแล
       ๑๔. พระคาถานี้ผู้ใดทรงไว้มีปัญญามาก



ที่มา http://www.thaijunglefowl.com/topic-t430.html
โพสต์โดย คุณหมู
ขอบคุณภาพจาก http://lh4.ggpht.com/,http://www.dhammajak.net/,http://farm4.static.flickr.com/


   ขออนุญาตแก้ไข เพื่อความสะดวกในการอ่าน
    :c017: :s_good: :25:
70  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน) ทรงเป็นพระอาจารย์ พระเจ้าแผ่นดิน ๔ พระองค์ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 02:14:37 pm
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ทรงเป็นพระอาจารย์ พระเจ้าแผ่นดิน ถึง ๔ พระองค์


สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๔ ของกรุงรัตนโกสินทร์
วัดราชสิทธาราม(วัดพลับ) ฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ
(ศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ประจำยุครัตนโกสินทร์)

-------------------------------------------------------------------------------------

สมเด็จฯ ทรงเป็นพระอาจารย์ ของพระเจ้าแผ่นดิน ถึง ๔ พระองค์ (รัชกาลที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔)

สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน(สุก) ได้ทรงถวายแนวทางปฏิบัติพระกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับเบื้องต้น ๓ ห้องแรกคือ พระปีติธรรมห้า พระยุคลธรรมหก พระสุขสมาธิธรรมสอง แด่พระเจ้าแผ่นดินไทยถึง ๔ รัชกาล คือ

๑.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑
ครั้งเสด็จมาทรงทบทวนพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อประมาณปี พระพุทธศักราช ๒๓๓๖

๒.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
เมื่อครั้งทรงผนวช ปีพระพุทธศักราช ๒๓๓๑ ครั้งดำรงพระราชอิสริยะยศเป็น เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร(ฉิม)

๓.พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ครั้งทรงผนวช และทรงจำพรรษาที่วัดราชสิทธาราม ๑ พรรษา ปีพระพุทธศักราช ๒๓๕๑ ครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็น กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์

๔. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ทรงผนวชเป็นสามเณร(พ.ศ. ๒๓๖๐) ครั้งดำรงพระราชอิสริยะยศเป็น พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งทรงผนวชทั้งสามพระองค์ มีสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) ทรงเป็น พระราชกรรมวาจาจารย์ และพระราชอุปัชฌาจารย์ ผนวชแล้ว ทรงถวาย พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ตลอดระยะเวลาที่ทรงผนวชอยู่นั้น

โดยเฉพาะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ ตำหนักเก๋งจีน และพระตำหนักจันทน์ (วัดพลับ)เป็นที่ประทับเจริญพระกรรมฐานมาตลอด และยังปรากฏเป็นอาคารถาวรวัตถุจนถึงทุกวันนี้

ยังมีพระราชานุสาวรีย์คือ พระเจดีย์สององค์ (วัดพลับ) องค์ซ้ายมีจารึกอักษรขอมอ่านได้ว่าพระสิราสนเจดีย์ องค์ข้างขวาอ่านได้ว่า พระสิรจุมภฎเจดีย์ เป็น เจดีย์แบบลังกาทรงเครื่องมีปูนปั้นเป็นสังวาลย์ พาดถึงแท่นบัลลังก์ และลายปูนปั้นตามปล้องไฉนลวดลายละเอียดงดงาม ฐานเจดีย์เส้นผ่าศูนย์กลาง ๘.๒๕ เมตร สูงประมาณ ๒๐.๐๐เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มุมกำแพงทั้งสี่มีเจดีย์องค์เล็กๆเป็นบริวารมุมละองค์

ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ผู้ใหญ่ ผู้น้อย รวมทั้งพระสงฆ์ พระเถรานุเถระ ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนใหญ่
ได้ทรงเป็น และได้เป็นศิษย์ รับการอบรมพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จากสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) มาด้วยกันทั้งนั้น



--------------------------------------------------------------------------------------

ขอบพระคุณ ที่มา (คัดลอกมาบางส่วน) :
พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)
http://www.somdechsuk.com
71  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / รูปหลวงปู่สุก ไก่เถื่อนครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 02:09:16 pm
เอามาจากเว็ปพลังจิต



72  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / แก้กรรมด้วยพลังธรรม หยั่งรู้พฤติกรรมด้วยบารมีทาน กับแม่ชีทศพร เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 01:59:34 pm

แก้กรรมด้วยพลังธรรม หยั่งรู้พฤติกรรมด้วยบารมีทาน

ทานบารมี........ คือการสละสิ่งของ ของตน เพื่อให้เป็นผลแก่ผู้รับให้ได้ ประโยชน์จริงๆ ทำให้เกิดเป็น คุณสมบัติอันยิ่งยวด คือปฏิปทาประจำอยู่ในจิต ของพระโพธิสัตว์ทุกองค์

ด้วยผลบุญที่เกิดขึ้นด้วย ทานบารมีนี้ จึงมีผู้แสวงหาความสุข ได้เพียรพยายามที่จะทานปฏิบัติ ด้วยหวังผลว่า ในภพหน้าจะได้เสวยสุข จากผลบุญที่สร้างไว้

และก็มีบางท่านที่ไม่ต้องรอนานขนาดนั้น เพียงชาตินี้ก็รับผลบุญ จากทานบารมีแล้ว.......เธอคือ "แม่ชีทศพร ชัยประคอง"



แม่ชีทศพร ชัยประคอง อายุ 47 ปี เกิดที่บ้านอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ปัจจุบันจำศีลอยู่ที่ วัดพิชัยญาติ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯฝั่งธนฯ เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นผู้มีนิสัยชอบทำบุญทำทานมาตั้งแต่เด็กๆ

ในช่วงเป็นฆราวาสประกอบอาชีพในการรับเหมาก่อสร้างและอื่นๆ จนฐานะมั่นคงในระดับคหบดี วันหนึ่งเกิดนิมิตขึ้นกับตนเอง ในขณะที่อยู่ในเครื่องนุ่งห่มสีขาว มีความรู้สึก ว่าเกิดความปีติสุขมาก เมื่อหายจากนิมิตแล้วจึงมีความ ปรารถนาที่จะเข้าบวชเป็นชี

เมื่อตัดสินใจแน่ว แน่จึงได้บริจาคทรัพย์สินส่วนหนึ่งให้เป็นทาน แล้ว จึงไป บวชเป็นแม่ชีที่ "วัดเขาอิติสุขโต" อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำวัดอยู่ที่นั่น 5 ปี......แล้วจึงเดินทางมาจำวัดในกรุงเทพฯ




ด้วยพลังแห่งทานบารมี หลังจากที่ "แม่ชีทศพร"บวชได้ 6 วัน เกิดประสาทมีสัมผัสที่ 6 ขึ้นมาอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งมีความ สามารถหยั่งรู้ ในเรื่องของ "กรรม" ได้จากฌาน ว่าผู้ใดในอดีตชาติก่อนๆ นั้นอยู่ในฐานะอะไร ทำกรรมชั่วกรรมดีอะไรไว้บ้าง ปัจจุบัน เป็นอย่างไร และ อนาคตจะต้องเผชิญ ปัญหาอะไรบ้าง......บอกให้รู้ได้ โดยไม่มีการคิดเงินคิดทอง แต่อย่างใด และเมื่อได้รู้ในเส้นทางแห่งชีวิตแล้ว ก็ไม่ได้แสวงหาผลประโยชน์ อย่างรายอื่นๆ ที่จะต้องสะเดาะเคราะห์ อะไรอย่างนั้น เพียงแต่ "แม่ชีทศพร" จะให้ผู้ที่อยู่ในห้วงแห่งทุกข์นั้น มีการแก้กรรมด้วยการบวชพระ หรือบวชพราหมณ์ และหากว่าขัดสนก็จะมีชุด และเครื่องบวชให้.....โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆเลย

นายวรพล ภมรเวชวรรณ เป็น ผู้หนึ่งที่ เข้าไปสัมผัสกับฌานของ "แม่ชีทศพร" โดยรู้จักครั้งแรกทางโทรทัศน์ในรายการหนึ่งซึ่งได้พูดถึงเรื่องของกรรม ซึ่ง ตอนนั้นตัวเขาเองมีปัญหาในเรื่องเงินxxx้ อยากจะให้คลี่คลาย จึงได้ไปหา "แม่ชีทศพร" ที่วัดพิชัยญาติ....เพื่อที่จะถามถึงความทุกข์ว่า เงินที่เขาให้xxx้ไปนั้นจะถูกโกงหรือไม่...!!!

กับสัมผัสที่ 6 ของ "แม่ชีทศพร" เมื่อได้พบกัน ยังไม่ทันได้ถามถึงเรื่องของ ความทุกข์แต่อย่างใด.....แม่ชีพูดว่าในเรื่องทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้น ให้กลับบ้านไปทำกล่องกระดาษเหมือนลูกเต๋า 3 ลูก แล้วจุดไฟเผา เงินทองที่เขาค้างอยู่จะกลับมา......แต่อาจจะไม่ได้ครบ จะต้องทำใจ

แล้วเขากลับบ้านก็ได้ทำตามคำแนะนำ ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ ในวันรุ่งขึ้น ลูกหนี้เอาเงินมาคืนให้ สามแสนบาทโดยไม่ได้ไปทวงถามแต่อย่างใด ทั้งๆที่ก่อนนี้ได้ไปทวงถามตั้งหลายครั้งก็ไม่ได้ จนคิดว่าจะเป็นหนี้สูญแทบจะฟ้องร้องกัน

แต่พอทำตามแม่ชีเท่านั้น เงินก็กลับมาเฉย โดยไม่ต้องออกแรงเลย.....จึงเกิดความศรัทธาต่อแม่ชีทศพรมาก




อีกรายที่ เข้าไปแก้กรรมกับ "แม่ชีทศพร" คือ นางอนงค์รัตน์ พุ่มวิจิตร หรือ ชื่อเล่นๆว่า "รุจ" ทำงานอยู่สำนักงาน การบินไทย.....ตอนนั้นเธอมีปัญหา ในเรื่องรายรับไม่เท่ารายจ่าย แม้ว่ารายได้จะสูง แต่ ก็ยังไม่พอเพียง

ตอนนั้นคิดอะไรไม่ออก เพื่อนๆราว 30 กว่าคนได้ไปหาแม่ชีทศพร เพื่อนั่งสมาธิแล้วก็ชวนเธอไปด้วย ใจไม่ชอบแต่จำยอม จึงได้ไปนั่งหลับตากับเพื่อนๆ

จนกระทั่งจบแม่ชีจึงเดินเข้ามาหาเธอ แล้วพูดขึ้นว่า .....คุณอาภา พุ่มวิจิตร มาอนุโมทนากับเธอด้วยนะ...!!!

....พอได้ยินคำนี้ เธอตกใจมาก เพราะชื่อที่เอ่ยนี้เป็นญาติทางสามี และก็เสียชีวิตไปแล้ว แม่ชีรูปนี้รู้จักชื่อได้ยังไง แถมยังบอกถึงความสัมพันธ์ ระหว่างเธอกับผู้ตายเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ได้ถูกต้องด้วย

ด้วยความแปลกใจนี้ ทำให้อยากรู้ถึงเรื่องวิบาก-กรรมของตนเอง ว่าทำไมจึงประสบปัญหากับชีวิตไม่รู้จบ แล้วแม่ชีทศพรก็ได้บอกถึง กรรมเก่าของ "รุจ" ที่ได้ปกปิดมานาน โดยที่ใครๆไม่รู้ได้ถูกต้องตรงเผงเลย

คือว่าตัวของ "นางรุจ" นั้นมองข้ามคุณบิดามารดา ไม่ยอมเลี้ยงดู แถมยังเบียดเบียนทำให้พ่อแม่เกิดความทุกข์ด้วย อีกทั้งพูดจาไม่เคารพนบนอบต่อพ่อแม่ ในครั้งแรกเธอก็ไม่ยอม ปฏิเสธในเรื่องที่แม่ชีเล่า...

แล้วแม่ชีจึงบอกให้คิดและทบทวนใหม่ เธอจึงยอมจำนนกับเหตุการณ์ที่ผ่าน และ เมื่อกลับไปถึงบ้าน ก็เป็นครั้งแรกที่เธอก้มลงกราบที่เท้าแม่ แม้ว่าจะออกดูขวยเขิน แต่พอทำแล้วสบายใจ

เมื่อเธอสบายใจก็มีสติที่จะคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ในเรื่องหนี้สินก็มีโอกาสค่อยๆชดใช้จนหมด และผู้ที่เคยเป็นหนี้ก็นำเงินมาใช้คืน



ด้วยผลกรรมในการทำให้ปัญหาต่างๆ ในตัวเธอและครอบครัว คลี่คลายไปในทางที่ดี "นาง รุจ" จึงบังเกิดความเลื่อมใส และประทับใจต่อคำสอน ของแม่ชีทศพร คือ ใช่เฉพาะธรรมะเท่านั้น ยังชี้ทางในการแก้ไข และปฏิบัติให้ด้วย

จากนั้นในช่วงที่มีเวลาว่าง หรือในช่วงที่ไม่สบายใจ "นางรุจ" ก็จะมาบวชชีพราหมณ์ที่วัดพิชัยญาติ และ ปฏิบัติธรรมกับแม่ชีทศพรแทบทุกวันเสาร์และอาทิตย์

ซึ่งใน วันเสาร์กับอาทิตย์ ช่วงที่เวลาว่าง แม่ชีทศพรก็จะตรวจเช็กกรรมให้กับผู้ที่ต้องการทราบว่าอดีตชาติ และในอนาคตที่จะต้องเผชิญกับอะไร และจะหาทางแก้ไขอย่างไรจึงจะผ่อนหนักให้เป็นเบา

และ แม่ ชีทศพรก็จะปฏิบัติให้ฟรีๆไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ (อาหารก็มีโรงทานกินฟรี)...จะมีการเสียเงินก็จำพวกที่ ทะเล่อทะล่าเดินสูบบุหรี่ในบริเวณวัด ซึ่ง ท่านพระธรรมโมลี หรือ "เจ้าคุณสมศักดิ์ อุปสโม" เจ้าอาวาสวัดพิชัยญาติ ท่านตั้งกติกาและปิดป้ายประกาศว่า....

...วัดเป็นที่สาธารณะ ห้ามสูบบุหรี่ ฝ่าฝืนปรับ 2,000 บาท งานนี้ละต้องเสียเงินจริงๆ...และเบี้ยวไม่ยอมจ่ายไม่ได้ซะด้วย...!!!


"ก้อง กังฟู"
....................

คัดลอกจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันพุธที่ 16 มีนาคม 2548
http://www.thairath.com/thairath1/25...t/24_10_47.php



.......................

กระทู้ที่มีข้อความเกี่ยวแม่ชีทศพร

สัมภาษณ์พิเศษ "แม่ชีทศพร" ผู้สามารถหยังรู้กรรมเก่า

http://www.dhammajak.net/webboard/sh...mmajak&No=1524

http://www.dhammajak.net/webboard/sh...mmajak&No=1525

...
กะเทาะชีวิต แม่ชีธนพร ผู้หยั่งรู้ "เกิดแต่กรรม"!

http://www.dhammajak.net/webboard/sh...y=d_kam&No=960
__________________
http://www.ponboon.com/forum/index.p...g70.html#msg70
73  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / หลักการปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 09:20:41 am
 
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ฝึกโดย เริ่มจาก พุทธานุสสติ
มีห้องการฝึก ๓ ห้อง
   ๑.ห้องพระธรรมปีติ ๕
   ๒.ห้องพระยุคลธรรม ๖
   ๓.ห้องพระสุขสมาธิ ๒

เพื่อความสำเร็จ ๓ ประการ
   ๑.สำเร็จอุคคหนิมิต เพื่ออัปปนาสมาธิ
   ๒.สำเร็จอุปจารสมาธิ เพื่อวิปัสสนา
   ๓.บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน

มีการตั้งบริกรรมในการฝึก ๑ บริกรรม คำบริกรรมใช้คำว่า “พุทโธ”


มีการตั้งจิตในการฝึก ๓ นิมิต
     ๑.สมาธินิมิต เครื่องหมายของสมาธิสำหรับภาวนา อยู่ตามจุด ตามห้องที่ฝึก
     ๒.ปัคคาหะนิมิต เป็นการกำหนดยกจิตไว้ที่ สมาธินิมิต ในระหว่างภาวนา
     ๓.อุเบกขานิมิต เป็นการกำหนดวางเฉยต่อ อดีต อนาคต เพื่อขจัดความฟุ้งซ่าน


ทำไมต้องมีบริกรรม ๑ และนิมิตทั้ง ๓
     ๑.การกำหนด สมาธินิมิต โดยส่วนเดียว ย่อมเป็นเหตุให้จิตเกียจคร้าน ขาดความเพียร
     ๒.การกำหนด ปัคคาหะนิมิต โดยส่วนเดียว ย่อมเป็นเหตุให้ฟุ้งซ่าน กระสับกระส่าย
     ๓.การกำหนด อุเบกขานิมิต โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตไม่ตั้งมั่น รวมศูนย์ไม่ได้


ลำดับการภาวนา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
     ๑.   ทำวัตรพระตามแบบเดิม ถ้าไม่มีเวลา ก็สวด พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
     ๒.   กล่าวคำขอขมาต่อพระรัตนตรัย ( สำคัญมาก )
     ๓.   อธิษฐาน กรรมฐาน ตามระดับ
     ๔. ภาวนา ตามระดับ กรรมฐาน ( ควรตั้งสติ กำหนดเวลา )
     ๕. เมื่อจะออกจากกรรมฐาน ให้อธิษฐานความสำเร็จในกรรมฐานทุกครั้ง ( ไม่ใช่เป็นการอ้อนวอน ให้เป็นอธิษฐานบารมี )
     ๖.   ทำการกล่าวคำแผ่ส่วนกุศล ถ้าไม่ม่เวลา ให้กล่าวแผ่เมตตา โดยการแผ่ให้ตัวเราก่อนเป็นลำดับแรก แล้วจึงแผ่ออกไป
     ๗.จบการภาวนากรรมฐาน แล้วก็กล่าวคำลาต่อพระรัตนตรัย


๑.พระขุททกาปีติธรรมเจ้า
   เป็นองค์กรรมฐาน ที่กำหนดจิตไว้ที่ต่ำกว่าสูญนาภี(ต่ำจากสะดือ ๒ นิ้ว)เป็นที่รวมสัมปยุตธาตุ จุดนี้เป็นจุดธาตุดิน มีการภาวนาเริ่มต้น โดยการกำหนดลักษณะให้ผู้ฝึกภาวนาวิจารที่ลักษณะ โดยการกำหนดรู้ ลักษณะ ไม่ใช่เป็นการสร้างลักษณะ


   ลักษณะที่เกิด เช่นอาการ ขนลุก ขนพอง เป็นต้น
   การกำหนดลักษณะที่ดี ต้องกำหนดรู้ลักษณะในธาตุดิน ซึ่งมีอยู่ ๒๑ ส่วน ดังนี้
   ๑. เกสา ผม ๒.โลมา ขน ๓.นะขา เล็บ ๔.ทันตา ฟัน ๕.ตะโจ หนัง
   ๖.มังสัง เนื้อ ๗.นะหารู เอ็น ๘.อัฏฐิ กระดูก ๙.อัฏฐิมิญชัง เยื่อในกระดูก




  ขออนุญาตแก้ไขให้ดูง่ายขึ้น
    :25:
74  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สาเหตุของการไม่มีสมาธิ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 07:15:46 am
สาเหตุของการไม่มีสมาธิ
๑. ขาดความสนใจในสิ่งที่ทำ
๒. สนใจในสิ่งที่ทำมากจนเกินไป
๓. สนใจหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน
๔. ความเป็นคนหัวดี ปัญญาดี ทำให้คิดไปที่อื่นเร็ว
๕. จิตครอบงำด้วยนิวรณ์

การสร้างนิสัยให้มีสมาธิในชีวิตประจำวัน
๑. สร้างนิสัย “ลงมือทำทันที”
๒. สร้างนิสัย “เรียนล่วงหน้า” มิใช่แค่ “เรียนตาม”
๓. สร้างนิสัยมุ่งมั่นว่า “ถ้าทำไม่เสร็จจะไม่ใส่ใจอะไรอื่น”
๔. จัดลำดับของเรื่องที่จะทำก่อนลงมือ
๕. หัดคิดทีละเรื่อง โดยให้เจาะลึกในเรื่องนั้นๆ อย่าผิวเผิน
๖. สร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่การมีสมาธิ
๗. รู้จักพักเป็นช่วงๆ
๘. สร้างความเต็มใจและจริงใจที่จะทำสิ่งนั้นๆ
๙. พยายามหัดคิดในเรื่องสร้างสรรค์
๑๐. เลิกนิสัยมากเรื่องในการจะทำอะไรสักอย่าง

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน ได้แนะนำวิธีการทำสมาธิในห้องเรียนว่า
๑. หาที่นั่งที่สามารถมองเห็นครูและกระดานได้ชัดเจน
๒. เมื่อครูเดินเข้ามา ส่งจิตไปรวมที่ครูผู้สอน
๓. จับใจความให้ได้ตามที่ครูต้องการ
๔. เวลาว่างแทนที่จะนั่งคิดสิ่งอื่น ก็นำบทเรียนมาคิด
๕. ให้สติรู้ตัวทุกอิริยาบถ ในการทำ พูด คิด


...............................................................
ขอบคุณบทความจากพลังจิตดอทคอม
75  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บำบัดความเครียด.......... สมาธิบำบัด เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2009, 07:01:18 am
บำบัดความเครียด.......... สมาธิบำบัด



เครียด เครียด เครียด .........
เครียด เครียด เครียด ชีวิตประจำวันของคนทำงานทำให้ดัชนีความเครียดของคนไทยพุ่งสูงปรี๊ด ความเครียดทำให้สุขภาพเราแย่ลง ทำให้เราป่วยง่ายขึ้น ที่สำคัญสำหรับสาวๆ เครียดมากๆทำให้หน้าแก่ก่อนวัยได้นะ เมื่อเรารู้สึกเครียดร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมน Adrenaline จากต่อมหมวกไต ถ้าเครียดมากก็หลั่ง Adrenaline มากขึ้นฮอร์โมนความเครียดก็จะไปยับยั้งการทำงานของอวัยวะสำคัญทั้งหมด เช่นหัวใจ ไต ตับ ปอด ทำให้อวัยวะสำคัญของเราเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว สุดท้ายก็พร้อมใจกันหยุดทำงานเพราะฮอร์โมนความเครียดไปทำให้ภูมิต้านของร่าง กายเราต่ำลง ต่ำลง เรียกว่าโรคเครียดนอกจากทำแก่ง่ายแล้วยังทำให้ถึงตายได้นะเนี่ย


- ผ่อนคลายความเครียดด้วยการทำสมาธิ
การทำสมาธิถือได้ว่าเป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ลึกซึ้งที่สุด สมาธิทำให้จิตใจสงบนิ่ง แต่มีสติ หยุดความคิดที่ฟุ้งซ่าน วิตกกังวล หรืออารมณ์ด้านลบทั้งหลาย เมื่อเราทำสมาธิจะรู้สึกสบายขึ้นเพราะจะมี Hormoneชื่อ Endorphins หลั่งออกมาในขณะที่จิตใจสงบนิ่ง ฮอร์โมน Adrenaline จากต่อมหมวกไต ก็จะหยุดหลั่ง และในขณะนั้นเองเมื่อจิตสงบสมองส่วน Hypothalamus จะสั่งให้เม็ดเลือดขาวแข็งแรงขึ้น ภูมิต้านทานของเราก็จะสร้างเพิ่มขึ้นหลังจากถูกยับยั้งด้วยฮอร์โมนความ เครียด การทำสมาธินี้ดีมาก มาก สำหรับคนที่กำลังบำบัดมะเร็งเพราะ เมื่อภูมิต้านทานกระเตื้องขึ้นการกำจัดcell มะเร็งก็จะเป็นไปตามที่ต้องการ


- ทำสมาธิแบบไหนดี?
การทำสมาธิที่สามารถบำบัดโรคที่เกิดจากความเครียด ความกังวล ไม่ใช่โรคที่เกิดจากเชื้อโรคโดยตรง แต่สามารถรักษาใจที่เป็นทุกข์อันเกิดจากโรคได้ วิธีฝึกสมาธิบำบัดมีหลายวิธี ได้แก่ การนั่งภาวนา เดินจงกรม การแผ่เมตตา การอธิษฐานจิต การฝึกใช้พลังภายในร่างกาย การใช้พลังภายนอก การฝึกเพ่งลูกแก้ว และอย่างน้อยควรทำวันละ 2 ครั้ง ถ้าทำได้


- ท่าที่สบายที่สุด
จะนั่งขัดสมาธิหรือจะนอนหงายวางแขนไว้ข้างตัวก็ได้ ให้เป็นท่าที่เรารู้สึกสบายตัวที่สุด แล้วก็เลือกสถานที่ที่เรารู้สึกผ่อนคลาย สบายๆไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป อุณหภูมิในห้องสบาย ๆ
หลับตาลงจะได้ตัดตัวเองออกจากโลกภายนอก จิตจะได้สงบง่ายขึ้น แล้วเริ่มด้วยการกำหนดลมหายใจโดยสูดหายใจเข้าช้า ๆ ให้ท้องพอง หายใจออกช้า ๆให้ท้องแฟบ สัก 3 ครั้ง ให้สังเกตลมที่ผ่านเข้าออกทางจมูกว่ากระทบถูกอะไรบ้าง

จากนั้นให้หายใจให้สบาย กำหนดจิตของตนไปรับรู้ลมหายใจเข้าออก โดยไม่ต้องสนใจเสียงรอบข้าง ให้รับรู้เฉย ๆ ถ้าจิตมันจะวอกแวกนึกนั่นนึกนี่ แว่บไปหาเพื่อนคนโน้นคนนี้ นึกห่วงงานที่นั่นที่นี่บ้างก็ดึงสมาธิกลับมาอยู่กับลมหายใจ แรก ๆ อาจทำยากมาก เหมือนเราหัดเดินตั้งไข่ครั้งแรก ล้มบ้าง ลุกบ้างแต่ถ้าพยายามเข้าในที่สุดเราก็จะเดินได้การทำสมาธิก็เช่นกัน ถ้าเราพยายามขยันดึงจิตกลับมาอยู่กับลมหายใจ ทำซ้ำ ๆ สม่ำเสมอ ในที่สุดจิตก็จะเชื่อง และเริ่มนิ่ง เมื่อเข้าถึงสมาธิก็จะได้ความรู้สึกปีติรู้สึกสบายอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมา ก่อน เพราะ ฮอร์โมนEndorphins หลั่งออกมา และ ฮอร์โมนความเครียด Adrenaline ที่ต่อมหมวกไตก็จะหยุดหลั่งออกมา และเมื่อเข้าสมาธิได้แล้วก็ควรทำเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ๆ ละไม่ต่ำกว่า 15 นาที

- เทคนิคการฝึกหายใจ
โดยปกติแล้วการหายใจด้วยอก ชีพจรจะเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย ต้องหายใจถี่ๆแต่ถ้าหายใจด้วยท้องชีพจรจะเต้นช้า ในทางวิทยาศาสตร์เราอธิบายได้ว่าเป็นการกระตุ้นกะบังลม ที่กะบังลมจะมีเส้นประสาทวากัส (Vagus) ซึ่งเส้นประสาทตัวนี้เป็นพาราซิมพาเทติก เป็นเส้นประสาทมีผลต่อการผ่อนคลายของกล้ามเนื้อ เพิ่มการทำงานของลำไส้ เส้นประสาทวากัส (Vagus) จะส่งคลื่นไปที่สมอง ทำให้หลอดเลือดขยาย ความดันเลือดลดลง ชีพจรเต้นช้า หายใจช้า ดังนั้นเราจึงต้องฝึกหายใจลงไปที่ท้องแทน
เทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อทุกระบบในร่างกายหดตัว เวลาเครียดเรามักจะทำหน้านิ่วคิ้วขมวด กำหมัด กัดฟัน ทุกครั้งที่รู้สึกเครียด ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวเกิดอาการเจ็บปวด เช่น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดไหล่

- การฝึกคลายกล้ามเนื้อ

จะช่วยลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อลง เพราะในขณะที่ฝึก จิตใจ ของเราจะจดจ่ออยู่กับการคลายกล้ามเนื้อ ความคิดฟุ้งซ่าน และความวิตกกังวลก็ลดลง ช่วยให้จิตใจจะมีสมาธิมากขึ้น

วิธีการฝึก เลือกนั่งในท่าที่สบาย เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ถอดรองเท้า หลับตา ทำใจให้ว่าง ตั้งใจจดจ่ออยู่ที่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ 10 กลุ่ม โดยการปฏิบัติดังนี้คือ

1. มือและแขนขวา โดยกำมือ เกร็งแขน แล้วคลาย
2. มือและแขนซ้าย ทำเช่นเดียวกัน
3. หน้าผาก เลิกคิ้วสูงแล้วคลาย ขมวดคิ้วแล้วคลาย
4. ตา แก้ม จมูก ให้หลับตาแน่น ย่นจมูก แล้วคลาย
5. ขากรรไกร ลิ้น ริมฝีปาก โดยกัดฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานปากแล้วคลาย เม้มปากแน่นแล้วคลาย
6. คอ โดยก้มหน้าให้คางจรดคอแล้วคลาย เงยหน้าจนสุดแล้วคลาย
7. อก ไหล่ และหลัง โดยหายใจเข้าลึกๆกลั้นไว้ แล้วคลาย ยกไหล่สูงแล้วคลาย
8. หน้าท้องและก้น โดยการแขม่วท้อง แล้วคลาย ขมิบก้นแล้วคลาย
9. เท้าและขาขวา โดยเหยียดขา งอนิ้ว แล้วคลาย เหยียดขา กระดกปลายเท้าแล้วคลาย
10. เท้าและขาซ้าย ทำเช่นเดียวกัน

ข้อแนะนำ
ระยะเวลาที่เกร็งกล้ามเนื้อ ให้น้อยกว่าระยะเวลาที่ผ่อนคลาย เช่น เกร็ง 3-5 วินาที ผ่อนคลาย 10-15 วินาที
ควรฝึกประมาณ 8-12 ครั้ง เพื่อให้เกิดความชำนาญ
เมื่อคุ้นเคยกับการผ่อนคลายแล้ว ให้ฝึกคลายกล้ามเนื้อได้เลยโดยไม่ต้องเกร็งก่อนหรืออาจเลือกคลายกล้ามเนื้อ เฉพาะส่วนที่มีปัญหาก็ได้ เช่น บริเวณใบหน้า คอ หลัง ไหล่ เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องคลายกล้ามเนื้อทั้งตัวแต่ถ้ามีเวลาทำได้ทั้งหมดก็จะดีมากมาก สำหรับตัวคุณเอง


- ฝึกสมาธิประจำ แก้ได้หลายโรค
หากฝึกสมาธิเป็นประจำ จิตใจก็เบิกบาน สมองแจ่มใส จิตใจเข้มแข็ง อารมณ์เย็น พร้อมตลอดเวลาไม่ว่าจะมีปัญหาอะไรมากระทบ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยความมั่นใจในตัวเอง เมื่อมีสมาธิที่เข้มแข็ง ปัจจุบันมีการวิจัยและค้นพบข้อดีของการทำสมาธิเช่น

    * ช่วยปรับสภาวะสมดุลของร่างกายให้เป็นปกติ ทำให้อัตราการหายใจและชีพจรช้าลง
    * ทำให้คลื่นสมองสงบ กล้ามเนื้อผ่อนคลายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ระดับฮอร์โมนที่ถูกระตุ้นจากความเครียดลดลง
    * แก้ปัญหานอนไม่หลับได้ถึงร้อยละ 75 และ
    * ช่วยให้ผู้ที่ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ใช้ยาแก้ปวดลดลงจาก เดิมร้อยละ 34
    * ช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคเอดส์ มีอาการทุกข์ทรมานลดน้อยลงกว่าการรักษาเฉพาะทางทางยา
    * ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน ความถี่หรือความรุนแรงของอาการจะลดลงร้อยละ 32

และยังพบอีกว่าในการรักษาผู้ป่วยโรค หลอดเลือดหัวใจตีบตัน ผู้ที่มีความเชื่อมั่นในศาสนาจะหายเร็ว กว่า ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่นับถือศาสนาอะไรเลย จะมีอัตราการตายมากกว่าผู้นับถือศาสนาถึง 3 เท่า

ในสหรัฐอเมริกา มีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย พบผลตรงกันว่า ชาวพุทธที่นั่งสมาธิเป็นประจำ สมองในส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับอารมณ์ที่ดี และ ความคิดด้านบวกจะทำงานกระฉับกระเฉงกว่า ช่วยผ่อนคลายความเครียด และทำให้สมองส่วนที่เป็นศูนย์กลางความทรงจำด้านร้ายสงบลง และการนั่งสมาธิอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้อารมณ์แปรปรวน ตกใจ เกรี้ยวกราด หรือหวาดกลัวลดลงด้วย

แพทย์โรคหัวใจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ให้คนไข้โรคหัวใจฝึกสมาธิระหว่างบำบัดด้วยยาไปด้วยและได้ผลเป็นที่น่าพอ ใจ เพราะทำให้ความดันโลหิตและความเครียดลดลงอย่างมาก

ฉะนั้นถ้าอยากมีสุขภาพดี ไม่แก่ง่าย ตายเร็ว ก็ต้องเริ่มการฝึกทำสมาธิและต้องเริ่มทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้เลย อย่าได้ผัดผ่อนเด็ดขาด

..................

บทความจาก

http://kullastree.com
76  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ฤทธิ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร โดย หลวงพี่เล็ก เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2009, 10:26:28 pm




ถาม : แล้วอย่างนี้พวกฤทธิ์ หรืออะไรต่าง ๆ นี่มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรเจ้าคะ ?

ตอบ : เกิด ขึ้นจากการฝึก เกิดขึ้นจากกรรมเก่า เกิดขึ้นจากบุญเก่าเหล่านี้เป็นต้น ฤทธิ์ไม่ได้มีอย่างเดียว ฤทธิ์ที่เกิดจากการฝึก เรียกว่า วิกุพนาฤทธิ์ เรียกว่าฌานฤทธิ์

วิกุพนาฤทธิ์ คือ พวกที่ฝึกกสิณสิบสามารถสำแดงฤทธิ์ด้วยวิธีประหลาด...พิลึกพิลั่นเกินกว่าชาว บ้านเขาทำได้อย่างพวกเดินน้ำ - ดำดิน - เหาะเหิน อะไรพวกนี้เป็นต้น

ฌานฤทธิ์ คือฤทธิ์ที่เกิดจากผู้ที่ทรงฌาน ทรงสมาบัติ กำลังจิตสูงมาก ต้องการให้เป็นอย่างไร ก็เป็นไปได้

บุญฤทธิ์ ฤทธิ์ที่เกิดจากการสั่งสมบุญมาระยะเวลายาวนานถึงเวลาปรารถนาอะไรก็จะเป็นไปตามที่ตนต้องการ

อธิษฐานฤทธิ์ ฤทธิ์ที่เกิดจากการตั้งใจมั่น ในเมื่อตั้งใจมั่นแล้ว กำลังใจส่งผลให้สิ่งนั้น ๆ เกิดขึ้นได้

กรรมวิปากชาฤทธิ์ ฤทธิ์ ที่เกิดจากวิบากกรรม อย่างเช่นว่า นกทำไมถึงบินได้โดยไม่ต้องฝึกกสิณ ปลาทำไมอยู่ในน้ำได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องฝึกกสิณ...ทำไมไส้เดือนมันมุดดินได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกกสิณเลย อย่างนี้เป็นต้น

ฐานาฐานะฤทธิ์ ฤทธิ์ อันเกิดจากฐานะอันสูงอย่างเช่น พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าพระยามหากษัตริย์ เจ้าคนนายคน บัญชาการได้ สั่งให้เป็นก็ต้องเป็น สั่งให้ตายก็ต้องตาย เป็นต้น ไล่ไปเรื่อย ๆ จนถึงประเภท

วิชามัยฤทธิ์ ฤทธิ์ที่เกิดจากวิชาการสร้างเสริมมา ทำไมเหล็กหนักเป็นตัน ๆ ถึงเอาไปบินบนฟ้าได้ ทำไมเอาไปลอยในน้ำได้อย่างนี้

พระ พุทธเจ้าท่านตรัสไว้ครบทุกอย่างแล้ว ฉะนั้นถึงได้ถามว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มันก็หลายวิธีด้วยกัน สร้างขึ้นมาก็มี บุญเก่าเสริมก็มี กรรมเก่าเสริมก็มี ฝึกฝนขึ้นมาก็มี




สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ เดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
77  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2009, 05:05:44 pm

องค์สมเด็จพระอุปัชฌายะ  ญาณะสังวรเจ้า
ศักดิ์สิทธิ์ราชสิทธิ์พเน้า หนักข้างวิปัสสนายิ่งแล
เกริกฉายานามะประกาศ  สังฆราชไก่เถื่อนนั้น
เดชวิศิษฏ์เมตตาจิตชั้น   ไก่ป่ากล้าบูชาโฉมชิดแล
บทนิพนธ์ สมเด็จพระนราธิปพงษ์ประพันธ์

จากหนังสือ พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน
เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร
จัดทำเป็นวีดีโอ โดย สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน จ.สระบุรี



องค์ที่ ๔ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
ทรงดำรงตำแหน่ง พ.ศ. ๒๓๖๓-๒๓๖๔ ในรัชกาลที่ ๒ รวมเป็นเวลา ๑ ปี ๑๐ เดือน ๑๑ วัน
พระนามเดิม สุก
พระฉายาไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ วันศุกร์ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ยี่ ปีฉลู จ.ศ. ๑๐๙๕ ตรงกับวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๒๗๖
ทรงอุปสมบท -
ทรงสถาปนา วันพฤหัสบดี ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน อ้าย ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๖๓
ที่มาหนังสือ ๑๙ ปี แห่งการสถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร ๒๑ เมษา ๒๕๓๒ - ๒๕๕๑

สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๓ อยู่ในตำแหน่ง ๓ พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา

พระองค์ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๖ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี ได้เป็นพระอธิการอยู่วัดท่าหอย แขวงรอบกรุงเก่า มีพระเกียรติคุณในทางบำเพ็ญสมถภาวนา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้โปรดให้นิมนต์พระองค์มาอยู่ที่วัดพลับ และให้เป็นที่ พระญาณสังวรเถร พระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ตั้งแต่ยังอยู่ที่วัดท่าหอย การที่โปรดให้นิมนต์มาอยู่ที่วัดพลับ ก็เนื่องจากเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของกรุงธนบุรี ซึ่งต่อมาในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ จึงได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า วัดราชสิทธาราม พระองค์ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระญาณสังวรณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชในอีก ๔ ปีต่อมา เมื่อมีพระชนมายุได้ ๘๘ พรรษา

ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร นับว่าเป็นตำแหน่งพิเศษ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นตำแหน่งที่พระราชทานแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ

นอกจากนั้น พระองค์ยังได้รับการถวายสมัญญาว่า สังฆราชไก่เถื่อน จากชาวบ้านทั่วไป เนื่องจากการที่พระองค์ทรงคุณธรรมทางวิปัสสนาธุระดังกล่าวแล้ว

เมื่อครั้งเกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๓ มีผู้คนเสียชีวิตมากมาย ประมาณถึง สามหมื่นคนเศษ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงให้ตั้ง พระราชพิธีอาพาธพินาศ โดยพระองค์ทรงศีลและให้ตั้งโรงทาน ส่วนสมเด็นพระสังฆราชทรงให้สังคายนาบทสวดมนต์ เพื่อใช้ในพระราชพิธีดังกล่าวAeva Debug: 0.0005 seconds.
78  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ลมหายใจที่ปลายจมูก เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2009, 04:59:35 pm
ลมหายใจที่ปลายจมูก


หลักสมาธิวิปัสสนา
พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป

----------------------------------------------


เมื่อมีคนป่วยใกล้ตาย มักมีคำพูดกันเล่นๆ ว่า "ให้หายใจเข้าไว้แล้วจะไม่ตาย"

คำนี้เล่นๆ แต่ว่าเป็นจริงนะ เพราะถ้ายังหายใจอยู่ คนมันก็ไม่ตายอย่างแน่นอน แต่ถ้าไม่หายใจ มันก็ตายเท่านั้นเอง

แสดงให้เห็นว่า คนเราสำคัญที่ลมหายใจ ลมหายใจบางคนเป็นเงินเป็นทอง ลมหายใจบางคนเป็นหนี้เป็นสิน ควรกำหนดทางใจให้ดีๆ พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป เจ้าสำนักวัดอรัญญวิเวก (บ้านปง) อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านสอนให้ใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออกไว้ที่ปลายจมูกด้วยการบริกรรมพุทโธ

เมื่อเรานั่งดีแล้ว ให้กำหนดลมหายใจเข้าออกอยู่ที่ปลายจมูกกำหนดไว้ในใจ บริกรรมว่า หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ และให้ตั้งสติปัญญาประคับประคองจิตใจของตนเอง ให้มาคิดหรือให้มากำหนดรู้อยู่ที่ลม ที่ถูกต้องสัมผัสที่ปลายจมูกของตนเองอยู่ก็ให้รู้ นี้เรียกว่าการเจริญอานาปานุสติกัมมัฏฐานเป็นข้อบริกรรมภาวนา

เมื่อเรารู้จักว่าจิตของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกพร้อมกับข้อ บริกรรมพุทโธสัมพันธ์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ก็ให้รู้ (แต่ห้ามไม่ให้ส่งจิตของตนเองเดินตามลมลงไปที่หัวใจหรือลมลงไปที่ท้องน้อย เป็นอันขาด) เพราะการทำสมาธิชนิดนี้หรือแบบนี้ เป็นการทำทางลัด เป็นทางที่ทำให้จิตสงบ เป็นสมาธิได้ง่ายที่สุดจึงให้กำหนดเอาแต่ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก กับพุทธโธอย่างเดียว เท่านั้นเป็นข้อเจริญ

เมื่อจิตใจของเราไม่อยู่กับลมที่ปลายจมูกก็ให้รู้จักว่าไม่อยู่ เราก็พยายามใช้สติปัญญาติดตาม ดึงจิตใจของตนเองที่ฟุ้งซ่านไปติดอยู่กับสิ่งอื่นนั้น ตามสัญญาอารมณ์ภายนอกที่เป็นกิเลสมารนั้น ให้จิตใจของตนเองมาติดอยู่กับข้อธรรมกัมมัฏฐาน คือ ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกของตนอย่างเดิม เมื่อเรารู้ว่า จิตของเราอยู่กับลมที่ปลายจมูก และข้อธรรมกัมมัฏฐาน สัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว

ต่อไปให้เราหายใจให้สบาย ให้ปลอดโปร่ง แล้วอย่าไปสะกดจิตของตนเองมาก ถ้าบุคคลใดบังคับ และสะกดจิตของตนเองเกิดไปแล้ว เมื่อบุคคลกำลังภาวนาอยู่ จะมีอาการปวดศีรษะบ้าง บางรายจะปวดประสาทมาก บางรายจะมีอาการตัวร้อน เหงื่อแตกอึดอัดแล้ว ก็ออกจากนั่งสมาธิทันทีทนไม่ไหว เป็นอย่างนี้แล บุคคลบางคนนั่งทำสมาธิจึงไม่สงบ อีกอย่างหนึ่งการนั่งทำสมาธินี้ เราอย่าไปอยากเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือบังคับจิตใจของตนเองให้สงบเร็วที่สุดอย่างนี้

บุคคลที่อยากเห็นก็ยิ่งจะไม่เห็นอะไรเลย บุคคลอยากสงบเกินไปก็ยิ่งไม่สงบ นี่เป็นเหตุให้จำเอาไว้ เมื่อเรารู้ว่าจิตของเราอยู่กับลมที่ปลายจมูกของตนแล้ว ให้เราตั้งสติสังเกตดูลมที่เดินเข้าเดินออกอยู่ที่ปลายจมูกนั้น ว่าลมเข้าแรงหรือออกแรงก็ให้รู้ ลมเข้าสั้นหรือออกสั้นก็ให้รู้ ลมเข้ายาวหรือออกยาวก็ให้รู้จักในกองลม และก็ให้สังเกตดูจิตของตนเองว่า จิตของเรานิ่งอยู่กับลมแน่นอน

เมื่อรู้ว่าจิตของตนอยู่จริงแล้ว ต่อไปเราก็ให้หายใจเบาๆ ลงอีกกว่าเดิม ตอนนี้เราก็ประคองจิตใจของตนเองไว้กับลมหายใจเข้าออก กับข้อบริกรรมพุทโธตามเดิมเหมือนแต่ก่อน แต่ตอนนี้บางบุคคลนั้นนั่งนานแล้ว ก็จะรู้สึกมีเวทนาความเจ็บปวดตามร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง บางบุคคลจะเจ็บแข็งขาหรือเจ็บหลัง หรือเจ็บปวดบั้นเอวเกิดขึ้น

จิตก็จะวิ่งออกไปตามที่เจ็บปวดนั้น จิตก็จะไม่นิ่งอยู่กับข้อธรรมกัมมัฏฐาน คือลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกอันเราตั้งไว้นั้น แต่อย่างไรก็ตาม เราก็พยายามใช้สติปัญญาดึงเอาจิต ของตนเองให้วางจากเวทนา ความเจ็บปวดนั้น ไม่ให้จิตของเราไปยึดไปถืออยู่กับเวทนานั้น ก็ให้พยายามปล่อยวางจนได้ แต่วิธีปล่อยวางเวทนาทั้งหลายนั้น คือว่าเราไม่เอาจิตของตนไปคิดอยู่กับความเจ็บปวดนั้นเอง ให้จิตของเราไปคิดอยู่กับข้อธรรมกัมมัฏฐาน คือ ลมหายใจเข้าออกตามเดิม

แต่ถ้ายิ่งพยายามปล่อยวางก็ยิ่งมีความเจ็บปวดมากขึ้นจนทนไม่ไหวอย่างนี้ ให้เราตั้งใจว่าเราจะทำจริง หาความสงบจริง เราไม่ต้องกลัวความตาย ทำให้กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ไม่ท้อแท้อ่อนแอกับเวทนาทั้งหลายเหล่านี้ ว่าถ้ามันเจ็บขา หรือบั้นเอวอย่างนี้ ก็ให้ตั้งมั่นคงว่าเอาเถอะ ขามันจะขาดก็ให้มันขาดออก หรือบั้นเอวมันปวดมาก บั้นเอวมันอยากขาดออกไป ก็ให้มันขาดจากกันลองดู

เรากล้าหาญ เอาจริงอย่างนี้ไม่ต้องกลัวตาย แม้ร่างกายจะแตกหักทำลายขาดออกจากกันหมด ก็ให้มันเป็น ลองดูมันจะเป็นไหม ถ้าเรามีความตั้งใจ ทำจริงอย่างนี้ได้ จิตใจของเราจึงจะปล่อยวางเวทนาความเจ็บปวดนั้นได้ เราต้องทำจริงอย่างนี้ เอาจริงอย่างนี้ จิตใจของตนจึงจะสงบเป็นสมาธิได้

เมื่อจิตของตนเองมาอยู่กับลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกตามเดิมแล้ว ก็ให้เราสังเกตดูลม ว่าลมนี้เบากว่าเดิม ละเอียดกว่าเดิมก็ให้รู้ ลมหายใจเข้าสั้นออกสั้นและเบาก็ให้รู้ ลมหายใจเข้ายาว ออกยาว และเข้าก็ให้รู้ตลอด ให้เราพยายามประคองเรือคุมจิตของตนอยู่แน่นอน ตอนนี้ให้เราเอาแต่ลมหายใจอย่างเดียวให้วางพุทโธเสีย ก็ให้เราหายใจให้เบาๆ ละเอียดสุขุมลงกว่าเดิมอีก และก็ให้ประคองจิตใจของตนให้อยู่กับลมนั้นตามเดิมอีก

ตอนนี้เมื่อลมเดินละเอียดสุขุมมาก เบามาก เราก็จะปรากฏว่าร่างกายของตนก็เบามาก เราก็จะปรากฏเห็นชัดว่า เวทนาที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แต่ก่อนนั้นก็รู้สึกว่าเบาลงไปมาก ไม่เจ็บมากเหมือนแต่ก่อนเลย เพราะเหตุไรเวทนาจึงเบาลงไปมาก ไม่เจ็บมากเหมือนแต่ก่อนเลย เพราะเหตุไรเวทนาจึงเบาลงมากให้เราเห็นชัด ก็เพราะเหตุเราหายใจให้เบาละเอียดสุขุมนั่นเองเป็นเหตุ

แต่ตอนนี้ บางบุคคลนั้น ก็จะมีปีติเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งเล็กน้อย จะเป็นปีติขนลุกขนพองก็ตาม จะเป็นแบบน้ำตาไหลก็ตาม จะเป็นแบบเหมือนมีลมถูกต้องกายเบาๆ ก็ตาม จะเป็นแบบแปลบปลาบในหัวใจก็ตาม จะเป็นแบบตัวเบาเหมือนตัวจะลอยขึ้นไปบนอากาศก็ตาม ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงปิติเท่านั้น เมื่อปีติหายไปแล้ว ก็จะมีความสุขเกิดขึ้นแทนเล็กน้อยต่อไป

นี้แล เราจะเห็นว่าของเหล่านี้ เกิดจากการทำความสงบที่เราไม่เคยได้รู้ได้เห็นมาก่อน จึงทำให้บุคคลเกิดปีติและความสุขได้แต่เราก็มาพิจารณาดูจิตของตนเองดีกว่า จิตของเราอยู่กับลมเบาละเอียดกับความสุขนั้นไหม ถ้าเรารู้ว่าจิตของเราอยู่กับลมสัมพันธ์ อยู่กับลมแน่นอนแล้วและอยู่ประมาณ ๑๕ - ๒๕ นาที แล้วก็ถอยออกจากสมาธิ

ถ้าบุคคลใด เจริญภาวนามาถึงที่นี่ ก็เรียกว่าจิตสงบแต่เพียงแค่ขนิกสมาธิเท่านั้น เรียกว่าสมาธิเพียงเฉียดๆ นิดๆ หน่อยๆ เท่านั้นเอง

ต่อไป เมื่อบุคคลได้เจริญภาวนามาถึงที่นี้แล้ว ก็อย่าได้หยุดอยู่เพียงเท่านี้ ให้พยายามทำความเพียรต่อไปอีก คือเมื่อเรารู้ว่าจิตของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออกที่เบาและละเอียดสุขุมแล้ว ลมหายใจสั้นเบาละเอียดสุขุมมากก็ให้รู้ ว่าลมหายใจเข้ายาวออกยาวและละเอียดมากกว่า

เหมือนจะไม่มีลมอยู่ที่ปลายจมูกเลยก็ให้รู้ แต่ลมยังมีอยู่ เพราะลมเดินละเอียดสุขุมมากไปตามร่างกาย เราจะรู้ปรากฏทันทีว่าร่างกายของตนเองก็เบามากขึ้นทุกที เวทนาที่มีความเจ็บปวดในร่างกาย ก็เหมือนจะหายไปหมด จะทำให้เราได้รู้รส สัมผัสของความสงบเกิดขึ้น และตื่นเต้นมีปีติแรงมาก แล้วแต่จะเกิดปีติชนิดใดก็ตาม

เมื่อปีตินั้นหายไป ก็จะมีความสุขเกิดขึ้นทันที แล้วจิตของเราก็จะอยู่กับความสุขนั้น เมื่อเรามาสังเกตดูจิตของตนเองอยู่กับลมละเอียดสุขุมที่ปลายจมูก และทรงความสุขอยู่ตามเดิมแน่นอน

ต่อไป ให้เราหายใจให้สบาย ปลอดโปร่ง หายใจเบาๆ ละเอียดสุขุมที่สุด เบาที่สุดจนเหมือนไม่มีลมปรากฏอยู่ที่ปลายจมูกของเราเลยแม้แต่นิดเดียว เมื่อเราพิจารณาและสังเกตดูอยู่ว่า แหมกายของตนเบามาก ไม่มีเวทนาและลมก็มองไม่ปรากฏเลย ตอนนี้ให้เราปล่อยวางเสีย เมื่อเราปล่อยวางลมแล้ว ลมก็จะไม่ปรากฏ แม้เรามองไม่เห็นลมปรากฏอยู่ที่ปลายจมูกของเรา

ตอนนี้ ขอเตือนนักปฏิบัติทั้งหลายให้เข้าใจ เอาไว้ให้จงดี อย่าพากันกลัวตาย ว่าลมหายใจของตนหมดสิ้นแล้ว เราจะตายหรืออย่างไร อย่าไปเกิดความสงสัยขึ้นมาอย่างนี้ ก็ให้เราตั้งใจเอาไว้ว่า เราไม่ต้องกลัวความตาย ถ้าเราไม่กลัวความตายแล้ว จิตของเราก็จะนิ่งอยู่เป็นสมาธินั้นเอง

แต่บางบุคคล เมื่อเจริญภาวนามาถึงที่นี้แล้ว มองหาลมหายใจเข้าออกของตนไม่เห็น ก็เลยมาเกิดสัญญาว่าเราจะตายแล้ว ก็มีความอึดอัดในหัวใจเดือดร้อน หรือเหงื่อแตกออกมาเต็มร่างกายก็มี เพราะกลัวตนเองตายเป็นเหตุ เมื่อได้เป็นเช่นนี้ขึ้นมาแล้ว จิตของบุคคลนั้นก็ถอนออกมาจากสมาธิ วิ่งออกไปตามสัญญาอารมณ์ภายนอกอีก แล้วก็จะได้เริ่มต้นทำสมาธิใหม่

เมื่อทำสมาธิใหม่ก็เข้าไปได้ถึงที่เดิมก็มาเกิดความกลัวว่าตนเองจะตายอีก อย่างเดิม แล้วจิตของตนก็ถอนออกจากสมาธิอีก ถ้าบุคคลใดทำการเจริญภาวนาอยู่อย่างนี้ บุคคลนั้นจะเจริญภาวนาเนิ่นช้า จิตใจของบุคคลนั้นก็ไม่อาจสามารถจะสงบเป็นสมาธิลึกซึ้ง หนักแน่นลงไปได้เลย แม้บุคคลนั้นจะพยายามเท่าไรก็ไปถึงแต่ที่เดิมเท่านั้นเอง ฉะนั้น จึงขอให้นักปฏิบัติจงพากันเข้าใจเอาไว้

แต่ถ้าบุคคลใด เจริญภาวนามาถึงตอนนี้แล้วเป็นคนกล้าหาญองอาจสามารถไม่กลัวตายแล้ว บุคคลนั้นก็จะเจริญภาวนาต่อไปได้และทำจิตของตนให้สงบ เป็นสมาธิหนักแน่นมั่นคงได้ ต่อไปจิตของตนก็จะมีความเพ่งอยู่กับความสุข และความเบานั้นสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียว เราก็ให้รู้ว่าจิตของเราอยู่ เมื่อจิตอยู่นิ่งตอนนี้จะเกิดปีติแรงมากขึ้นอีก แม้จะเป็นปิตีแบบไหนก็ตามเมื่อปีติหายไปความสุขก็เกิดขึ้นตามที่หลัง ว่าเป็นสุขมาก สุขุมมาก

จะทำให้บุคคล ผู้เจริญภาวนาได้ประสบพบเห็นด้วยตนเองว่า การเจริญภาวนาหา ความสงบนี้ ก็เป็นของที่มีความสุขอันยิ่งจริงหนอ ก็หากเป็นของเกิดขึ้นมาเอง เป็นเอง

เมื่อเราทำจิตใจของตนให้สงบแล้ว มันก็เกิดขึ้นมาเองเท่านั้นเมื่อจิตของตนนิ่งอยู่กับความสุขและความเบา ก็ขอให้ใช้สติปัญญาประคับประคองจิตใจของตนให้สงบนิ่งอยู่กับอารมณ์นั้น เมื่อรู้ชัดว่า จิตของตนอยู่แน่นอนแล้วไม่ออกไปไหน จิตก็ยิ่งจะสงบเป็นสมาธิหนักแน่นมั่นคงเข้าทุกที

เมื่อจิตของตนหนักแน่นอยู่อย่างนี้ ตอนนี้ก็จะเกิดนิมิตสีแสงสว่างเกิดขึ้น บางบุคคลก็เห็นแสงสว่างแบบหลอดไฟฟ้านีออน หลอดไฟฟ้านีออนแบบสั้นๆ บางคนบุคคลก็เห็นแสงสว่างเหมือนแสงไฟฉายผ่านหน้าตนเอง ส่วนบางคนนั้นก็จะเห็นแสงสว่างอยู่ตรงหน้าตนเอง ไม่มีดวง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เดี๋ยวก็หายไป เดี๋ยวก็เกิดขึ้นมาอีกใหม่ ก็เพราะเหตุใดจึงเกิดแล้วก็ดับอย่างนี้ เมื่อเราเห็นใหม่ ก็เพราะว่าจิตของตนยังไม่ตั้งมั่นนั้นเอง จึงเป็นอย่างนี้

ต่อไป ให้เราจงประคับประคองจิตของตนเองให้ตั้งมั่นอยู่กับความเบาและความสุขที่ ละเอียด จะพิจารณาให้จิตของตนอยู่ตรงหน้าอกของตนก็ได้ ไม่ให้เอาจิตไปเพ่งอยู่ที่อื่น ให้เพ่งอยู่ที่เดียวนั้น

เมื่อจิตของเรานิ่งอยู่นั้นนาน ก็จะยิ่งมีแสงสว่างเกิดมากขึ้น และเป็นแสงสว่างแบบดวงอาทิตย์ หรือแบบดวงจันทร์สว่างจ้า แต่บางบุคคลนั้นก็จะเห็นแสงสว่างสีขาวนวล แต่ก็สว่างไสวไปรอบๆ ตัวกว้างประมาณ ๑ กิโลเมตร

เมื่อเราประคองจิตของตนให้ตั้งอยู่ตรงอยู่ในแสงสว่างนี้ เราก็จะมองเห็นภาพนิมิตต่างๆกัน ไม่เห็นเหมือนกันทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม ก็ชื่อว่าเห็นนิมิตแต่ละบุคคลนั้น บางคนจะเห็นนิมิตเป็นภาพ เห็นตนเองตายแล้ว เปื่อยเน่าขาดผุพัง ลงไปเป็นกระดูกก็มี บางคนนั้นจะเห็นตัวเองนั่งอยู่ตรงข้างหน้าของตน

บางคนนั้นจะเห็นภาพพระพุทธรูปสวยงามตั้งอยู่ตรงหน้าของตนเอง บางคนก็จะเห็นครูบาอาจารย์มานั่งอยู่ตรงหน้าเทศนาธรรมสั่งสอนตนเองอยู่ก็มี บางคนนั้นจะเห็นภาพร่างกระดูกเดินมาหาตนเอง บางคนนั้นก็จะเห็นร่างกระดูกลอยอยู่บนอากาศก็มี บางคนนั้นก็จะเห็นเหมือนรถเหมือนเรือมาชนตนเอง บางคนนั้นก็จะเหมือนตนเองอยู่บนอากาศ

บางคนนั้นก็จะเห็นเหมือนตนเองตกลงไปนั่งอยู่ในเหวลึกๆ บางคนนั้นก็จะเห็นคนไปมาหาตนเองผ่านไปผ่านมา เกิดๆ ดับๆ นิมิตนี้เกิดขึ้นดับไป นิมิตใหม่ก็เกิดขึ้นอีกเหมือนๆ กันกับเราดูภาพยนต์ แต่อย่างไรก็ตาม ก็เรียกว่าการเห็นนิมิตกันทั้งนั้น

ก็ขอเตือนไว้ว่าเราอย่าไปกลัวในนิมิต จะนิมิตแบบไหนก็ตามเกิดขึ้นก็อย่าไปเกรงกลัวมันเลย ให้ทำจิตใจของตนเองให้กล้าหาญ ไม่ต้องเกรงกลัวมันล่ะ ให้ตั้งใจ ให้มั่งคงอย่างนี้ แม้เราจะเห็นนิมิตสิ่งใดแบบไหนก็ตาม เห็นแจ้งเห็นชัด เห็นจริงก็ตาม ตามที่เราได้เห็นนั้น แต่เราอย่าไปถือตามนิมิตนั้นว่าเป็นจริงอย่างนั้น อย่าไปเล่นนิมิต อย่าไปยึดนิมิต อย่าไปเชื่อนิมิต อย่าไปติดนิมิต

นิมิตเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน นักปราชญ์ทั้งหลายท่านไม่ให้เล่นนิมิตเลย ไม่ให้เราติดนิมิต ขอเตือนบุคคลที่ปัญญายังอ่อน ห้ามเล่นนิมิตเลย เอาละเมื่อจิตของเรามายับยั้งตั้งอยู่ในที่นี้แล้ว เราก็ควรพยายามประคองของตนให้สงบอยู่กับความเบา และความสุขที่ละเอียดยิ่งเข้าทุกที

เมื่อจิตของเรายิ่งสงบนานเข้าเท่าไร แสงสว่างก็ยิ่งเกิดขึ้น มองไปได้เห็นไกลมาก เป็นแสงสว่างชนิดที่ไม่ปรากฏเป็นดวงตอนนี้ แต่หากเป็นแสงสว่างสีขาวนวลมองได้รอบตัวและไปไกลมาก ก็ยิ่งเห็นนิมิตแจ้งชัดแน่นอนกว่าเดิม แม้จะเห็นนิมิตแบบไหน ชนิดใดก็ตาม ก็เห็นแจ้ง เห็นชัดมาก ในตอนนี้ แต่ก็จะเกิดปิตีแรงมากขึ้นแต่ตื่นเต้นมาก เพราะไม่เคยรู้เคยเห็นสิ่งเหล่านี้มาก่อน จึงทำให้บุคคลผู้ปฏิบัติได้พบได้เห็นเอง ได้รับความสุขสุขุมละเอียดยิ่งขึ้น

การที่บุคคลเจริญภาวนามาถึงที่นี้ และเราก็ประคับประคองจิตของตนให้อยู่กับความเบา และความสุขละเอียดสุขุมประณีต พร้อมทั้งมีแสงสว่างก็แจ่มแจ้งชัดเจน แล้วก็เห็นภาพนิมิตต่างๆ ที่เป็นเหตุการณ์ต่างๆ นั้นก็ดี ก็เห็นชัดเจนแจ่มแจ้งเหมือนไม่มีอะไรปิดปังไว้เลย แต่อย่างไรก็ตาม แม้ของเหล่านี้ก็เป็นของ หากเกิดขึ้นมาเองเพราะเกิดจากการทำความสงบเท่านั้น ถ้าบุคคลไม่ทำความสงบนั้น แม้จะปรารถนาอยากเห็นเพียงใดก็ไม่เห็นอยู่นั่นเอง

ถ้าบุคคลทำจิตใจของตนให้สงบแล้ว ของนั้นหากเกิดขึ้นมาเองเท่านั้น เมื่อเรามาเองเท่านั้น เมื่อเราเห็นชัดเจนแจ่มแจ้งอย่างนี้ ที่จิตของตนมาตั้งอยู่ ทรงอยู่ในอารมณ์ที่สุขุมประณีตในความเบามาก สุขมาก ให้เราสังเกตดูจิตของตนเองว่า จิตของเราตั้งนานเท่าไรถ้าเราสังเกตดูว่าจิตของตนนี้ตั้งนาน ๔๕ นาที หรือ ๑ ช.ม นั้น ก็ถือว่าจิตของเราสงบถึงอุปจารสมาธิ เพราะจิตของเรามายึดหน่วงอารมณ์เบาๆ เพราะความสุขุมประณีต และเห็นแสงสว่างแจ่มแจ้งไปไกล แล้วก็เห็นภาพนิมิตชัดเจนแจ่มแจ้ง ก็คือว่าจิตของตนให้เจริญภาวนาสงบมาถึง อุปจารสมาธิเพียงแค่นี้เท่านั้น ต่อไปจะได้ทำความเพียรให้จิตใจของตนให้สงบลึกซึ้งลงไปอีก

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเจริญภาวนาได้มาถึงที่นี่แล้ว ถ้าเราเห็นแสงสว่างและเห็นนิมิตแจ้งชัดเจนแล้วเพียงใดก็ตาม หรือจิตของเราได้เสวยอยู่ในอารมณ์เบาและความสุขมากเพียงใดก็ตาม แต่เราก็อย่าไปติดอยู่กับแสงสว่างอันนั้นความเบา ความสุขนั้น ให้เราปล่อยวางสิ่งของเหล่านั้นเสีย วิธีปล่อยนิมิตนั้น คือว่า เมื่อจิตของตนจ้องมองดูภาพนิมิตอยู่ หรือวิ่งตามนิมิตอยู่ ก็ให้เราไม่ต้องสนใจกับภาพนิมิตทั้งหลายเราเห็นอยู่นั้น ถ้าจิตของตนยังอยากจะดูภาพนิมิตอยู่อีก ยังไม่ปล่อยวาง ก็ให้เราพยายามใช้สติปัญญาของตนประคองจิตของตน หรือดึงรั้งเอาจิตของตนมาคิดอยู่กับอารมณ์ที่เบาๆ และความสุขุมที่มีอยู่เดิมนั้นอีก

แต่ถ้าจิตของตนก็ยังดื้อดึง และยินดีเพ่งมองดูภาพนิมิตนั้นอยู่อีก ไม่ยอมปล่อยวางออกจากนิมิตนั้น ก็ให้เราอุบายใช้สติปัญญายกไตรลักษณ์ขึ้นมาพิจารณาว่า นิมิตนี้ก็เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน คงที่อยู่อย่างเดิมสมดั่งปราถนา ก็หากเป็นของที่เสื่อมหายไปได้ แม้บุคคลมีความปรารถนาอยากให้นิมิตนั้นตั้งอยู่ก็ตาม

ย่อมไม่ได้ตามใจหวังของตน นิมิตนี้ก็ยังเลอะเลือนหายไปได้ จึงทำให้ทุกข์เมื่อนิมิตได้เป็นเช่นนี้แล้ว นิมิตนี้ก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตนตัวของใคร ของบุคคลใดเลย แต่เราก็ไปหลงยึดมั่นถือมั่นในนิมิต แต่นิมิตนั้นเมื่อได้หายไปแล้ว ก็ไม่เห็นว่ามีคนมีตัวอยู่ที่ไหน ก็มองไม่เห็นเลยเช่นนี้ จึงว่าเป็นอนัตตา ก็ทำไมเล่าเราจึงไปยึดถือนิมิตเล่า เมื่อมาพิจารณาอยู่อย่างนี้ จิตของตนก็จะยอมจำนนต่อสติปัญญา จิตของเราก็จะกลับคืนมาพิจารณาอยู่ที่ความเบาและความสุขสุขุมละเอียดนั้น

ถ้าเราพิจารณาอีกแบบใหม่ คือว่า ยกตัวอย่างเปรียบเทียบการหาอุบายให้เรา ทำจิตของตนไม่สนใจกับนิมิตอะไรเลย ให้ทำจิตของตนให้ตั้งอยู่กับอารมณ์ที่มีความรู้ว่าเบา และความสุข ไม่ให้จิตของตนไปสนใจกับนิมิต เหมือนบุคคลคนหนึ่งไปยืนอยู่ที่ทางสี่แยก ที่มีรถหรือหมู่คนเดินผ่านสัญจรไปมาไม่ขาดสาย แล้วให้เราทำจิตของตนนิ่งอยู่กับอารมณ์เบา และความสุขนั้น ไม่สนใจกับนิมิตเลย

เปรียบเหมือนบุคคลหนึ่งนั้น ที่เขายืนอยู่ทางสี่แยก แต่เขาบุคคลนั้น เขาก็ไม่ได้สนใจอยากจะไต่ถามหมู่ฝูงคนที่เดินผ่านไปมาที่ผ่านสายตาของบุคคล นั้น เขาก็ยืนดูเฉยอยู่ ไม่สนใจเลยว่าใครไปอะไรมาอะไร เขาปล่อยวางเฉย

เมื่อเราปล่อยวางนิมิตได้อย่างนี้แล้ว เราก็พยายามสังเกตดูจิตของตนเองว่าตั้งอยู่กับอะไรให้รู้ เมื่อเรารู้ว่าจิตของตนนั้นตั้งอยู่กับอารมณ์เบา และความสุขละเอียดแล้ว เราก็พยายามประคองจิตของตนให้นิ่งอยู่ เมื่อจิตของตนนิ่งอยู่ก็ให้รู้ แล้วจิตก็จะปล่อยวางทั้งนิมิตและเสียงภายนอก จิตของตนก็จะสงบลึกซึ้งละเอียดลงทุกที อีกพักหนึ่ง ตอนนี้เมื่อจิตหยุดอยู่ในอารมณ์ที่สุขุมละเอียดกว่าเดิม แต่ก็ให้สังเกตดูจิตของตนให้รู้ด้วยว่า

จิตของตนได้เสวยอารมณ์สุขุมละเอียดกว่าแต่ก่อนแน่นอน ตอนนี้จะเกิดปีติแรงมากขึ้น และความสุขก็ยิ่งมากขึ้นตามมา

ต่อไปเมื่อจิตของตนสงบอยู่ ก็รู้สึกว่าเสียงภายนอกเบาลงแล้วจะเกิดได้ยินเสียงอยู่ภายในความสงบ การที่ได้ยินเสียงภายในนั้น คือว่าเสียงที่คนอื่นพูดเรื่องของเราอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาพูดอยู่ไกลๆ ก็ได้ยิน ในเรื่องที่เขาพูดนั้นจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เราจะได้ยินแน่นอนในตอนนี้

เมื่อจิตของเราสงบอยู่ แต่บางบุคคลนั้น จะได้ยินเป็นเสียงเหมือนครูบาอาจารย์เทศนาสั่งสอนธรรม หรือบอกภาษิตธรรมเป็นบาลีหลายอย่าง หลายข้อ แต่เราก็ทำได้แม่นยำไม่หลง บางบุคคลนั้นจะปราฏมีความรู้ความจำในสิ่งต่างๆ เกิดขึ้น เช่นเราดูหนังสือธรรมต่างๆ หรือท่องสวดมนต์บทใดบทหนึ่งได้ไว้แต่ก่อนแล้วนั้น เป็นบาลีธรรมก็จะมีความจำได้ดี และแปลได้ทุกอย่าง

เหมือนเกิดปัญญาแตกฉานในธรรม ว่องไวคล่องแคล่ว เหมือนรู้แจ้งในธรรมแน่นอนแล้ว ก็เกิดทิฏฐิมีความผิดว่า ตนรู้แจ้งในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ว่าไม่มีคนอื่นใดรู้ธรรมเหมือนตนเองเลย เมื่อคนเห็นนี้เกิดขึ้นแล้ว จิตก็ถอนออกจากสมาธิอยู่ปกติตามเดิม บัดนี้เมื่อคนอื่นมาหาก็อยากเทศน์ธรรมให้เขาฟังว่า ตนนี้รู้แล้วก็เทศนาไปไม่หยุดยั้ง จนคนอื่นมาหาก็อยากเทศน์ธรรมให้เขาฟังรำคาญเบื่อหูแล้วก็ลุกหนีจาก

ถ้าบุคคลใดเจริญภาวนามาถึงตอนนี้ไม่หลงแล้ว ต่อไปนั้นก็ให้ประคับประคองจิตของตนเองให้นิ่งอยู่กับอารมณ์เบาๆ และสุขุมละเอียดนั้นแล้ว ให้วางเสียทั้งภายในและภายนอก คือไม่สนใจกับเสียงอะไรทั้งหมด แม้จะเป็นเสียงดีเพราะเสนาะหูก็ดี หรือเสียงไม่ดีก็ตาม ก็ปล่อยวางให้หมดสิ้น เมื่อจิตของเราปล่อยวางเสียทั้งหมดไปแล้ว

ตอนนี้จิตของเราก็สงบลึกลงไป และดับเสียงทั้งภายในและเสียงภายนอกทั้งหมด จิตก็วางเป็นอุเบกขา จิตของเราก็นิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ว่างเปล่า และมีความสุขสุขุมละเอียดยิ่งมาก ในตอนนี้ดูเหมือนหนึ่งว่าร่างกายของตนว่างเปล่า เหมือนอากาศ หรือว่าเหมือนไม่มีร่างกาย เวทนา ความเจ็บปวดในร่างกายหายหมดสิ้น

ก็เหลือแต่จิตที่ตั้งอยู่กับความว่างเปล่าและความสุขอันประณีตอยู่เฉพาะหน้า ตนเองเท่านั้น ถ้าจะเปรียบเทียบอย่างหนึ่งนั้น ก็เหมือนแยกจิตออกจากกายนั้นเอง แต่ก็จริง กายกับจิตนั้น ก็แยกออกจากกันได้ เพราะเป็นคนละอย่าง

เหตุไฉนจึงพูดอย่างนั้น ว่ากายกับจิตแยกออกจากกันได้ ตัวอย่างว่าตัวเราเองนั่งอยู่ในสถานที่หนึ่ง แล้วเราก็คิดไปอีกสถานที่อื่นแล้วเราก็จะรู้ว่าจิตของตนก็จะไม่อยู่กับตัว เราเลย เรารู้ได้ทันทีหรืออีกอย่างหนึ่งเมื่อเราตายลงไปแล้วจิตวิญญาณก็จะออก จากร่างกาย ไปเกิดภพใหม่อีกได้ที่อย่างหนึ่งนี้แล เราจะเห็นได้ว่ากายกับจิตนี้แยกออกจากกันได้แน่นอน

เมื่อเราเจริญภาวนามาถึงตอนนี้ จิตของตนตั้งอยู่ในความว่างเปล่า และความสุขอันประณีตเยือกเย็นสมทบ จิตสงบได้นานมาก บุคคลนี้จะนั่งเป็นวันเป็นคืนตามความต้องการได้ตามสบาย ไม่รู้ความเหนื่อยอ่อนเพลีย ไม่รู้ร้อน รู้หนาว ไม่อยากกินข้าว กินน้ำ ไม่หิวอะไร ไม่อยากคิดอะไร ไม่อยากได้อะไรเสียเลยทั้งหมด มีแต่ความสุขและอิ่มอยู่ตลอดเวลา

ถ้าออกจากสมาธิแล้วก็ยังมีความสุขอยู่ แล้วก็อยากหลบเข้าไปอยู่ที่เดิม เพราะเห็นเป็นที่ว่างเปล่าและมีความสุขมาก ปราศจากการคลุกคลีและเสียงต่างๆ ว่างจากความเจ็บปวดเวทนาในร่างกาย เป็นสถานที่หลบเวทนาความเจ็บปวดของร่างกายได้ดีมาก

เมื่อมีความเจ็บปวดในร่างกายเกิดขึ้น ก็หลบหนีเข้าไปอยู่ที่นั้น ก็สบาย ไม่มีความเจ็บปวดร่างกาย ฉะนั้น เมื่อจิตของเรามาตั้งอยู่สงบอยู่ในสถานที่อันว่างเปล่า และมีความสุขสุขุม ประณีตดับจากเสียงทั้งหมดแล้วก็ตั้งอยู่อย่างนี้แล้ว จะสมมุติว่าอะไร ว่าจิตสงบถึงภวังค์จิตหรือว่า ภพจิตอันหนึ่งหรือจะสมมุติว่าอยู่ในองค์ฌาน หรืออัปปนาสมาธิแล้วแต่จะสมมุติเอา แต่จะสมมุติว่าภพจิตอันหนึ่งก็ว่าได้ เพราะมีความเพ่งอยู่ในความสุขยินดีอยู่ในความสุขก็เกิดอยู่ในภพอีกนั่นเอง ถ้าจะสมมุติอยู่ในองค์ฌานนั้นก็เหมือนกันเพราะมีความเพ่งอยู่ในความว่างและ ความสุข แล้วแต่จะสมมุติขึ้น ก็จะเป็นสมมุติอันนั้น

แต่ในสถานที่นี้ เมื่อจิตของเราทรงอยู่นี้ตั้งอยู่นี้ และมาติดอยู่นี้ จิตของเราก็จะไม่เจริญขึ้น เพราะไม่อยากอะไร ไม่ค้นคิดอะไร อยากอยู่เฉยๆ แล้วก็ไม่เกิดปัญญาขึ้น มาติดอยู่ ก็ไม่มีปัญญาเกิดขึ้นเลย.

-------------------------------------------------

คัดลอกจาก: หลักสมาธิวิปัสสนา
วิธีปฏิบัติธรรม สำหรับชาวพุทธ
79  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / รบกวนคุณ ปุ้ม สมัครสมาชิกใหม่นะครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2009, 04:25:42 pm
เนื่องจากมีความผิดพลาด ขั้นตอนการลง databass ทำให้ฐานข้อมูลไม่เป็น
utf-8 ซึ่งทำให้เกิดภาษาต่างดาว ผมได้ทำการลงใหม่ ฐานเดิมไม่สามารถ drum กับที่
เดิมได้

จึงรบกวนคุณปุ้ม สมัครใหม่ พร้อมกับ เสนอให้คุณปุ้มเป็นผู้ดูแล บอร์ดด้วยได้ไหมครับ
ถ้าพอมีเวลา สักนิดสักหน่อย ก็ทำได้นะครับ เพียงแค่เข้ามาเสนอบทความหรือ เปิดบอร์ด
ใหม่ถ้าเห็นสมควร

ด้วยความนับถือ
ทินกร ทัศนะภาค
80  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ตำนานธารพระกร ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2009, 04:14:59 pm

 ตำนานธารพระกร ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง

   

      ตำนานธารพระกร ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) สืบทอดมาแต่องค์ต้น กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ฝ่ายเถรวาทซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้ เมื่อครั้ง
ปฐมสังคายนา และนับถือแพร่หลายในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา คือพระราหุลเถรเจ้า


     นับเป็นบริโภคเจดีย์ ของสำคัญทางพระพุทธศาสนา ฝ่ายหินยาน แบบเถรวาทที่สืบทอดผ่านยุค ผ่านสมัย มาหลาย
ยุคตั้งแต่ยุดพุทธกาล มาลังกาทวีป มายุคศรีทวารวดีมาสู่ยุค สุโขทัย ยุคอยุธยา และมาถึงยุครัตนโกสินทร์

     ข้าพเจ้าเห็นว่าถ้าไม่พิมพ์ตำนาน ไม้ธารพระกร ไผ่ยอดตาลออกไป คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนา
ก็จะเสื่อมศูนย์ไป และหายไปจากความทรงจำในที่สุด

 
ตำนานธารพระกรของสมเด็จพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน)
สืบทอดมาจากพระราหุลเถรเจ้า องค์ต้นกรรมฐานมัชฌิมา
แบบลำดับ แบบหินยานฝ่ายเถรวาท

 
   

 


ภาพธารพระกร ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
และธารพระกร คู่พระบารมี คู่พระกรรมฐาน เกิด
แก่ท่านพระราหุลเถรเจ้า อ่านต่อ


 
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม
โทร.๐๒-๔๖๕-๒๕๕๒,๐๘๔-๖๕๑-๗๐๒๓
E:mial : weera2548@yahoo.co.thอีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปเพื่ออ่านมันได้
www.somdechsuk.com Aeva Debug: 0.0004 seconds.
หน้า: 1 [2]