ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 09:56:04 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:09:57 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



การตั้งสตรีหรือบุรุษมีศีล ให้เป็นใหญ่ในเรือน

พระพุทธเจ้าตรัสถึงแนวคิดเกี่ยวกับผู้บริหารหรือผู้นำที่ดีมีคุณธรรมศีลธรรม มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของตระกูลหรือองค์กรหรือองค์การไว้ว่า

    “เมื่อฝูงโคข้ามน้ำไป ถ้าโคจ่าฝูงไปตรง โคทั้งฝูงก็ไปตรงตามกัน ในเมื่อโคจ่าฝูงไปตรง ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ผู้ใดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นใหญ่ ถ้าผู้นั้นประพฤติชอบธรรม ประชาชนชาวเมืองนั้น ก็จะประพฤติชอบธรรมตามไปด้วย หากพระราชาตั้งอยู่ในธรรม ชาวเมืองนั้นก็อยู่เป็นสุข”

การแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลให้รับผิดชอบงาน จึงต้องมีการกำหนดคุณสมบัติให้เหมาะสม

@@@@@@@

๑. แนวคิดการกำหนดคุณสมบัติผู้รับผิดชอบงาน

พระพุทธองค์ตรัสถึง ผลกระทบด้านบวกของความมีศีล ที่มีต่อเสถียรภาพของตระกูลหรือองค์การว่า บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือ ตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณมหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล เป็นตระกูลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่าปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์และธัญชาติมากมาย และเขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก ได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป และเขาก็ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์

ตรัสว่า บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมสว่างโชติช่วงดังดวงไฟ เมื่อบุคคลสะสมโภคทรัพย์อยู่ดังตัวผึ้งสร้างรัง โภคทรัพย์ของเขาก็ย่อมเพิ่มพูนขึ้น ดุจจอมปลวกที่ตัวปลวกก่อขึ้น ฉะนั้น...

คนชอบนอนหลับในกลางวัน ไม่ลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมาประจำ ไม่สามารถครองเรือนได้ ประโยชน์ทั้งหลายย่อมล่วงเลยหนุ่มสาวที่ละทิ้งการงานโดยอ้างว่า เวลานี้หนาวเกินไป เวลานี้ร้อนเกินไป เวลานี้เย็นเกินไป เป็นต้น ส่วนผู้ใดทำหน้าที่ของบุรุษ ไม่ใส่ใจความหนาว ความร้อน ยิ่งไปกว่าหญ้า ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุข

ในสาธุสีลชาดก พราหมณ์ถาม พระโพธิสัตว์ผู้เป็นอาจารย์ว่า ข้าพเจ้าขอถามท่านพราหมณ์ว่า บรรดาคน ๔ คน คือ
    (๑) คนมีรูปงาม
    (๒) คนมีอายุ
    (๓) คนมีชาติสูง
    (๔) คนมีศีลธรรม
ท่านจะเลือกใครหนอ.? อาจารย์ฟังคำของพราหมณ์นั้นแล้ว กล่าวว่า ร่างกายก็มีประโยชน์ ข้าพเจ้าขอทำความนอบน้อมต่อท่านผู้เจริญวัย ชาติสูงก็มีประโยชน์ แต่ข้าพเจ้าชอบใจศีล


@@@@@@@

๒. แนวคิดการแต่งตั้งและมอบหมายงาน

แนวคิดในการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานนี้ มีปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่ง เช่น การแต่งตั้งพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ การแต่งตั้งเจ้าอธิการต่าง ๆ และมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้ง หรือมอบหมายให้รับผิดชอบงานไว้อย่างชัดเจน

    ๒.๑ การแต่งตั้งอุปัชฌาย์ อาจารย์ และคุณสมบัติผู้ควรเป็นอุปัชฌา อาจารย์
    พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตอุปัชฌาย์ คือ ทรงแต่งตั้งมอบหมายพระอรหันตสาวกให้ดำรงตำแหน่งเป็พระอุปัชฌาย์ เพื่อช่วยให้อุปสมบทคอยตักเตือนพร่ำสอนภิกษุเกี่ยวกับวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทรงตั้งอาจารย์ เพื่อให้นิสสัยแก่อันเตวาสิกผู้อยู่อาศัยด้วย

ทรงกำหนดคุณสมบัติของภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ไว้ว่า ภิกษุผู้ควรเป็นอุปัชฌาย์ให้อุปสมบท ควรเป็นอาจารย์ให้นิสสัย ควรใช้สามเณรให้อุปัฏฐาก ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๖ ประการ คือ
    (๑) รู้จักอาบัติ
    (๒) รู้จักอนาบัติ
    (๓) รู้จักอาบัติเบา
    (๔) รู้จักอาบัติหนัก
    (๕) จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
    (๖) มีพรรษาครบ ๑๐ หรือมีพรรษาเกิน ๑๐ และคุณธรรม ๑๐ ประการ

    ๒.๒ การตั้งเจ้าอธิการ และคุณสมบัติผู้ควรเป็นเจ้าอธิการ
    พระพุทธเจ้าได้ตั้งพระภิกษุให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอธิการต่างๆ เพื่อช่วยรับภาระในกิจการงาน คณะสงฆ์ที่มีเพิ่มขึ้นตามการเจริญรุ่งเรืองและการขยายตัวขององค์กรสงฆ์ พร้อมทรงกำหนดคุณสมบัติสำหรับภิกษุผู้ควรดำรงตำแหน่งเจ้าอธิการต่าง ๆ ไว้ด้วย เช่น พระภัตตุทเทสก์ มีหน้าที่แจกภัตพระเสนาสน ปัญญาปกะ มีหน้าที่จัดเสนาสะที่พักอาศัย พระเจ้าหน้าที่รักษาเรือนคลัง ภิกษุผู้รับจีวร ภิกษุผู้แจกจีวร ภิกษุผู้ใช้คนวัด ภิกษุผู้ใช้สามเณร พร้อมกำหนดคุณสมบัติไว้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น

         ๒.๒.๑ ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งพระภัตตุเทเทสก์มีหน้าที่ในการแจกภัตหรือจัดกิจนิมนต์ กำหนดคุณสมบัติไว้ว่าต้องมีคุณสมบัติ ๕ อย่าง คือ
         (๑) ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
         (๒) ไม่ลำเอียงเพราะชัง
         (๓) ไม่ลำเอียงเพราะหลง
         (๔) ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
         (๕) รู้จักอาหารที่แจกและอาหารที่ยังไม่ได้แจก

         ๒.๒.๒ ทรงอนุญาตให้แต่งตั้งพระผู้ใช้สามเณร กำหนดคุณสมบัติไว้ว่าต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการ คือ
         (๑) ไม่ลำเอียงเพราะชอบ
         (๒) ไม่ลำเอียงเพราะชัง
         (๓) ไม่ลำเอียงเพราะหลง
         (๔) ไม่ลำเอียงเพราะกลัว
         (๕) รู้จักงานที่ควรใช้และงานที่ยังไม่ได้ใช้

    ๒.๓ การตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือคณะกรรมการรับผิดชอบงาน
    ทรงตั้งพระสารีบุตรให้เป็นทูตประสานภิกษุชาววัชชีผู้บวชใหม่ประมาณ ๕๐๐ รูป นำกลับคืนสู่คณะสงฆ์ คราวพระเทวทัตชักชวนเข้าพวกทำลายสงฆ์ ทรงกำหนดคุณสมบัติของภิกษุ ผู้ควรทำหน้าที่ทูต ไว้ว่า ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง คือ
         (๑) รู้จักฟัง
         (๒) สามารถพูดให้ผู้อื่นฟังได้
         (๓) ใฝ่ศึกษา
         (๔) ทรงจำได้ดี
         (๕) เป็นรู้ได้เข้าใจชัด
         (๖) สามารถพูดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
         (๗) ฉลาดในสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
         (๘) ไม่ก่อความทะเลาะวิวาท

ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยคุณสมบัติ ๘ อย่าง(นี้) ควรทำหน้าที่ทูตได้

หลังพุทธปรินิพพานแล้ว สงฆ์ได้แต่งตั้งภิกษุ ๕๐๐ รูป ให้จำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสังคายนาพระธรรมและวินัย ด้วยวิธียัติทุติยกรรมวาจาที่พระมหากัสสปะประกาศให้สงฆ์ทราบ

และคราวทำสังคายนาครั้งที่ ๒ สงฆ์ประสงค์จะระงับอธิกรณ์เรื่องวัตถุ ๑๐ ประการของภิกษุชาวเมืองวัชชี จึงประชุมกัน และได้คัดเลือกภิกษุชาวปราจีน ๔ รูป คือ พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระอุชชโสภิตะ และพระวาสภคามิกะ และภิกษุชาวเมืองปาเฐยยะอีก ๔ รูป คือ พระเรวตะ พระสัมภูตสาณวาสี พระยสกากัณฑกบุตร และพระสุมนะ แล้วแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานเพื่อระงับอธิกรณ์





ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
บทความ : แนวคิดพระพุทธศาสนา เพื่อการบริหารจัดการองค์การที่ดี อย่างมีเสถียรภาพ , โดย พระมหาวิศิต ธีรวํโส ผศ., ป.ธ.๙ , วารสาร พุทธจักร : ปีที่ ๗๗ ฉบับที่ ๖ [พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๖๖] , หน้า ๙๗-๙๙

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:08:38 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



การรู้จักประมาณในการบริโภค - ฉลาด เหมาะสม พอเพียง มีคุณค่า

๑. แนวคิดการวางแผนใช้สอยโภคทรัพย์

พระพุทธเจ้าตรัสหลักการแบ่งโภคทรัพย์เพื่อการใช้จ่ายเรียกว่า โภควิภาค ทรงจัดสรรออกเป็น ๔ ส่วน คือ
    (๑) เอเกน โภเค ภุญฺยเชยฺย ส่วนหนึ่งใช้ ได้แก่ ใช้จ่ายเลี้ยงตน เลี้ยงคนที่ควรบำรุงและทำประโยชน์
    (๒-๓) ทฺวีหิ กมฺมํ ปโยชเย สองส่วนใช้ประกอบการงาน ได้แก่ ใช้ลงทุนประกอบการงาน
    (๔) จตุตฺถญฺจ นิธาเปยฺย ส่วนที่สี่เก็บไว้ใช้ยามมีอันตราย ได้แก่ เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น

ทรงวางแผนใช้โภคทรัพย์ที่หามาได้กำหนดเป็นแผนรายจ่ายได้ ๔ หมวดอย่างเหมาะสม คือ
    (๑) ใช้จ่ายเพื่อการบำรุงตนเอง มารดาบิดา บุตรภรรยา ทาสกรรมกร คนรับใช้ มิตรและอำมาตย์ให้เป็นสุขโดยชอบ
    (๒) ใช้จ่ายเพื่อการป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟ น้ำ พระราชา โจร คนที่ไม่ชอบกัน หรือจากทายาท
    (๓) ใช้จ่ายเพื่อการทำพลี ๕ อย่าง ได้แก่ การสงเคราะห์ บวงสรวง น้อมให้ หรือส่วย ประกอบด้วยญาติพลี สงเคราะห์ญาติ อติพลี ต้อนรับแขก ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย ราชพลี ถวายเป็นของหลวงมีเสียภาษีอากร เป็นต้น และเทวตาพลี ทำบุญอุทิศให้เทวดา
    (๔) ใช้จ่ายเพื่อการบริจาคทำบุญกุศลในพระพุทธศาสนา ในสมณพราหมณ์ ผู้ทรงศีล

และทรงรับรองว่า บุคคลผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ตามแผนการที่กำหนดไว้นี้แล้ว พึงหวังได้ความเจริญอย่างเดียว ไม่มีความเสื่อมเลย คือ
    (๑) เจริญด้วยนาและสวน
    (๒) เจริญด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก
    (๓) บุตรและภรรยา
    (๔) เจริญด้วยทาส กรรมกรและคนใช้
    (๕) เจริญด้วยสัตว์สี่เท้า
    (๖) เจริญด้วยศรัทธา
    (๗) เจริญด้วยศีล
    (๘) เจริญด้วยสุตะ
    (๙) เจริญด้วยจาคะ
   (๑๐) เจริญด้วยปัญญา

ทรงสรรเสริญกามโภคีบุคคลคือ คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ผู้แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ด้วยการงานที่ไม่ผิด ครั้นแสวงหาได้แล้ว บำรุงเลี้ยงตนให้อิ่มหนำสำราญ และแจกจ่าย ทำบุญ ทั้งเป็นผู้ไม่มัวเมา ไม่หมกมุ่น ไม่จดจ่อเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก ใช้สอยโภคทรัพย์เหล่านั้นอยู่ว่า เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นหัวหน้าสูงส่ง ล้ำเลิศ

๒. แนวคิดการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมพอเพียง

พระองค์ตรัสถึงคุณสมบัติของผู้ใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมพอเพียง เพื่อสร้างความมั่งคั่งหรือรักษาความมั่งคั่งให้มีเสถียรภาพยิ่งขึ้นว่า จะต้องรู้ทางเจริญแห่งโภคทรัพย์และทางเสื่อมแห่งโภคทรัพย์ แล้วเลี้ยงชีวิตแต่พอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเฟือยนัก ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ด้วยคิดว่า ด้วยการใช้จ่ายอย่างนี้ รายรับของเราจักเกินรายจ่าย และรายจ่ายของเราจักไม่เกินรายรับ การรู้จักประมาณในการบริโภคนี้ แม้ในการดำรงชีวิตของปัจเจกบุคคล พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเป็นเหตุให้มีอายุยืน ดำรงชีวิตอยู่ได้นาน

๓. แนวคิดการบริโภคคุณค่าแท้

พระพุทธเจ้าตรัสลักษณะของการรู้จักประมาณในการบริโภคใช้สอยว่า ต้องพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงบริโภคใช้สอย ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อมัวเมา ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพียงเพื่อความดำรงอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้ เพื่อกำจัดความเบียดเบียน เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์

และตรัสว่า ผู้ประกอบด้วยคุณธรรม คือ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคนี้ไม่อาจเสื่อม คือ ไม่อาจเสื่อมจากสมถะและวิปัสสนา หรือมรรคและผล กล่าวคือ ไม่เสื่อมจากสมถะและวิปัสสนาที่ได้บรรลุแล้ว และจะได้บรรลุมรรคและผลที่ยังไม่ได้บรรลุ ชื่อว่าอยู่ใกล้นิพพาน

เมื่อถือเอาความตามแนวคิดนี้ ก็จะเห็นได้ว่า การใช้สอยอย่างรู้คุณค่าเน้นประหยัดที่สุดประโยชน์สูงสุด สามารถดำรงองค์การให้คงอยู่ได้ต่อไป ไม่มีล่มสลาย






ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
บทความ : แนวคิดพระพุทธศาสนา เพื่อการบริหารจัดการองค์การที่ดี อย่างมีเสถียรภาพ , โดย พระมหาวิศิต ธีรวํโส ผศ., ป.ธ.๙ , วารสาร พุทธจักร : ปีที่ ๗๗ ฉบับที่ ๖ [พฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๖๖] , หน้า ๙๕-๙๖

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:17:26 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



เคล็ดลับจับโกหก
22 Feb 2022 | ผศ. ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา



 :96: :96: :96:

คุณคิดว่าการโกหกเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหนคะ

นักจิตวิทยาชาวต่างประเทศกลุ่มหนึ่งที่อยากทราบคำตอบนี้ ได้ให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยจดบันทึกประจำวันอย่างละเอียดแล้วนำมาวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์ปรากฏว่า คนทั่วไปมักพูดโกหกโดยเฉลี่ยวันละ 1-2 ครั้ง นั่นแปลว่าในแต่ละวัน เรามีโอกาสไม่น้อยเลยนะคะที่จะต้องเจอกับคำโกหก และบางครั้ง เราเองก็พูดโกหกบ้างเหมือนกันใช่ไหมคะ แล้วเรื่องอะไรบ้างที่คนเรามักพูดโกหก นักจิตวิทยากลุ่มดังกล่าวพบว่า เรื่องที่คนเราพูดโกหกบ่อยที่สุด คือ เรื่องความรู้สึก ความชอบ เจตคติ ความคิดเห็น รองลงมาคือเรื่องการกระทำที่ได้ทำไปแล้ว หรือแผนการว่าจะทำอะไร รวมไปถึงความสำเร็จและล้มเหลวของตนเอง

ทำไมคนเราต้องพูดโกหกเรื่องเหล่านี้ด้วย

เหตุผลของการโกหกมีตั้งแต่เพื่อผลประโยชน์ เพื่อความสะดวกสบายของตัวเอง หรืออาจปกปิดการกระทำที่ผิดศีลธรรม จริยธรรม เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ บ่อยครั้งการโกหกก็มีเป้าหมายเพื่อปกป้องจิตใจตนเองและผู้อื่นจากความเจ็บปวด ความขัดแย้ง ไม่ลงรอยกัน เช่น บางคนอาจเล่าเรื่องโกหกที่ทำให้ตนเองดูดีในสายตาคนอื่น เพื่อให้ดูโก้หรู ดูเก่งกว่าความจริงที่ตนเองเป็น ซึ่งอาจทำให้รู้สึกดีกับตัวเองได้ชั่วคราว หรือบางครั้งก็ต้องพูดโกหกเพื่อถนอมน้ำใจ รักษาหน้า รักษาความรู้สึกของคู่สนทนา

คงเห็นแล้วว่าการโกหกเป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในคนที่ทำความผิดร้ายแรงซึ่งโกหกเพื่อเอาตัวรอดจากการสืบสวนสอบสวน ชนิดที่ต้องทดสอบกันด้วยเครื่องจับเท็จเท่านั้น การโกหกเกิดขึ้นรอบตัวเรา ในชีวิตประจำวันของเรา จากปากคนรอบข้างที่เราสนทนาด้วย แล้วเราจะรู้ได้อย่างไราคู่สนทนาของเรากำลังโกหก มีสัญญาณหรือเบาะแสอะไรบ้างไหมที่จะช่วยบอกเราได้ นักจิตวิทยามีคำตอบเหล่านี้ค่ะ

นักจิตวิทยากลุ่มหนึ่งได้ทำการทดลองความสามารถในการจับโกหกของคนทั่วไป โดยให้นักศึกษาจำนวนมากมาพูดโกหกบ้างจริงบ้างเกี่ยวกับเจตคติเรื่องต่าง ๆ ของตนให้แนบเนียนที่สุด ให้ผู้ร่วมการทดลองนับหมื่นคน จากหลากหลายอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ นักจิตบำบัด นักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ ศิลปินดารา มาจับโกหก พบว่าความพยายามของคนส่วนใหญ่ในการจับโกหก ไม่ได้ทำให้เขาจับโกหกได้ดีไปกว่าการเดาสุ่มเลย คือ มีอัตราการตอบถูกว่าผู้พูดกำลังโกหกหรือพูดจริงเพียงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง

เมื่อผู้วิจัยถามผู้ร่วมการทดลองจำนวนหนึ่งที่สามารถบอกได้ถูกต้อง 90 เปอร์เซ็นต์ ว่าผู้พูดกำลังพูดจริงหรือโกหก ในการทดลองทุก ๆ รอบ ซึ่งมีอยู่เพียง 0.1 เปอร์เซ็นต์ของผู้ร่วมการทดลองทั้งหมด คนที่เก่งกาจในการจับโกหกเหล่านี้ตอบตรงกันว่า เขาสังเกตจากอวัจนภาษา และวิธีการใช้คำพูดของผู้พูดแต่ละคน ดังนั้น นักจิตวิทยาจึงได้เสนอแนะวิธีสังเกตเบาะแสของการพูดโกหกที่เกิดขึ้นระหว่างปฏิสัมพันธ์กันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องจับเท็จ โดยเราสามารถสังเกตสัญญาณของการโกหกได้จากสีหน้าท่าทาง วิธีการพูด การใช้ภาษา




สัญญาณจากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการจับโกหก

1. สัญญาณด้านอารมณ์ความรู้สึก

นักจิตวิทยาที่ศึกษาเรื่องอารมณ์ความรู้สึกให้เหตุผลว่า การพูดโกหก คือการพูดเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้น หรือสิ่งที่ผู้พูดไม่ได้เชื่อ ไม่ได้มีความรู้สึกเช่นนั้นจริง ดังนั้น ผู้พูดอาจเกิดความรู้สึกกลัวว่าจะถูกจับได้ว่ากำลังโกหก หรือความรู้สึกละอายใจที่พูดโกหก หรือกรณีการแสร้งแสดงอารมณ์ความรู้สึกอื่นที่ไม่ตรงกับอารมณ์ความรู้สึกจริง ๆ ย่อมมีร่องรอยของอารมณ์ความรู้สึกที่ซ่อนอยู่รั่วไหลออกมาทางสีหน้า ท่าทาง หรือแม้แต่น้ำเสียง ซึ่งเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติที่ยากจะควบคุมไว้ให้แนบเนียนได้ตลอดเวลา เมื่อผู้พูดเกิดความรู้สึกกลัวว่าจะถูกจับได้ว่าโกหก เราอาจสังเกตเห็นสัญญาณของความกลัว

ซึ่งแสดงออกมาได้หลายอย่าง เช่น พูดด้วยน้ำเสียงที่สูงกว่าปกติ พูดเร็ว และดังกว่าปกติ พูดติดขัด พูดผิดบ่อย ๆ สัญญาณดังกล่าวจะยิ่งชัดเจนขึ้นหากผู้พูดคาดว่าและกลัวว่าจะถูกจับได้ โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นเรื่องเสี่ยง และผู้พูดรู้สึกว่ากำลังถูกจับตามองอยู่ แต่เมื่อใดที่คู่สนทนาเป็นคนที่ไว้วางใจในตัวผู้พูดมาก หรือรู้สึกว่าเป็นการพูดโกหกเป็นสิ่งที่ผิด ไม่ควรทำ แต่ตนเองก็กำลังพูดโกหก ผู้พูดอาจเกิดความรู้สึกผิด หรือละอายที่พูดโกหก สัญญาณต่าง ๆ ที่แสดงถึงความรู้สึกละอายใจหรือรู้สึกผิดก็จะรั่วไหลออกมาให้เราสังเกตได้ เช่น การพูดด้วยน้ำเสียงต่ำกว่าปกติ พูดช้า สีหน้าเศร้า และมักเหลือบตามองลงต่ำบ่อย ๆ

ส่วนกรณีที่เป็นการพยายามซ่อนความรู้สึกที่แท้จริง โดยโกหกว่ากำลังรู้สึกอีกอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อนของคุณอาจไม่ชอบหนังที่คุณชวนไปดูเลย แต่เขาก็พยายามแสดงออกว่าชอบมากเพื่อไม่ให้คุณเสียใจ เขาจึงต้องเผชิญกับความขัดแย้งระหว่างการแสดงอารมณ์ความรู้สึก 2 อย่าง แต่อย่างที่กล่าวไปเมื่อสักครู่นี้ว่า ปฏิกิริยาทางอารมณ์มักเป็นไปโดยอัตโนมัติ

ดังนั้น ความรู้สึกแรกที่แท้จริงอาจปรากฏขึ้นบนสีหน้าทันทีในแวบแรกที่พูดกันถึงหนังเรื่องดังกล่าว แต่เพื่อไม่ให้คู่สนทนาเสียใจ ผู้พูดก็จะพยายามยิ้มแย้มเพื่อกลบเกลื่อนและบอกกับคุณว่า เขาชอบ หนังเรื่องนี้สนุกดี หากเราสังเกตพบว่าคู่สนทนามีสีหน้าแวบแรกที่ขัดแย้งกับสีหน้าและคำพูดที่เขาแสดงต่อมา นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าเขากำลังปิดบังความรู้สึกที่แท้จริงของเขาไม่ให้คุณรู้

2. สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางปัญญา

พูดง่าย ๆ ก็คือ สัญญาณที่บ่งบอกว่าผู้พูดจะต้องใช้ความคิดมากกว่าปกติ หรือมากกว่าที่จำเป็นต้องใช้เวลาพูดความจริง ทำไมการพูดเรื่องโกหกใช้ความพยายามทางปัญญามากกว่าการพูดความจริง นักจิตวิทยาให้เหตุผลว่า เป็นเพราะการพูดโกหกคือการพูดสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริง ดังนั้น ผู้พูดจะต้องใช้สมอง ใช้ความคิดเพื่อสร้างเรื่องราวขึ้นมา ในขณะที่การพูดความจริง ผู้พูดไม่ต้องใช้ความพยายามในการแต่งเรื่องมากนัก เพียงแค่เล่าไปตามสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น นอกจากความพยายามที่ใช้ไปในการสร้างเรื่องราวที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงแล้ว คนที่กำลังพูดโกหกยังต้องพยายามควบคุมสีหน้าท่าทางของตัวเองให้ดูสมจริงสมจัง ดูเป็นธรรมชาติ ไม่มีพิรุธ ซึ่งเป็นงานที่ต้องใช้ความคิดจดจ่ออยู่พอสมควร

ดังนั้น คนที่กำลังพูดโกหกจึงอาจมีกิริยาท่าทางที่แสดงให้เห็นถึงการที่ต้องใช้ความพยายามทางความคิดมากกว่าปกติ เช่น การตอบสนองกลับ เช่น การตอบคำถามจะช้ากว่า มีท่าทีลังเลในการพูด การเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้มือไม้ประกอบจะน้อยลงกว่าปกติ เพราะเกิดอาการเกร็ง จดจ่ออยู่กับการตั้งใจแต่งเรื่องให้สมเหตุสมผลให้มากที่สุด และควบคุมกิริยาอาการไม่ให้มีพิรุธนั่นเอง และหากต้องทำอะไรที่ใช้ความคิดไปด้วย

 คนที่กำลังโกหกมักทำงานนั้นได้ไม่ดี เช่น จำข้อมูลอื่น ๆ ที่เข้ามาในขณะนั้นไม่ค่อยได้ เพราะสมองกำลังยุ่งอยู่ สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ข้อสังเกตนี้จะใช้ได้ดีก็เมื่อคนที่พูดกับคุณคือคนที่คุณรู้จักหรือเคยคุยด้วยแล้ว เพราะการตอบช้า พูดช้า ไม่มีเกณฑ์สากลตายตัว แต่เป็นการเปรียบเทียบกับเวลาปกติที่คนคนนั้นพูดความจริงมากกว่าค่ะ บางคนอาจเป็นคนคิดช้าตอบสนองช้าโดยธรรมชาติอยู่แล้วนะคะ นอกจากนั้น ท่าทีลังเลก็อาจเป็นเพราะเรื่องที่กำลังพูดเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนก็ได้

3. ลักษณะของเรื่องราวและคำพูด

เรื่องราวที่เป็นเรื่องโกหก หากผู้พูดไม่มีโอกาสเตรียมตัวซักซ้อมการเล่าเรื่องมาก่อน เรื่องราวที่เล่าก็จะไม่ค่อยราบรื่น เนื้อเรื่องมักมีแต่ข้อมูลพื้น ๆ ไม่มีรายละเอียด คลุมเครือ ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง เช่น ไม่บอกเวลาหรือสถานที่ที่แน่ชัด นักจิตวิทยาให้เหตุผลว่า ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเรื่องโกหกเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เวลาแต่งเรื่องภายในเวลาที่จำกัด คนเราก็มักสร้างเรื่องราวที่น่าจะเป็นไปได้เท่าที่นึกออกในขณะนั้น ซึ่งเมื่อไม่ได้เกิดจากประสบการณ์จริง ก็ย่อมไม่สามารถนึกถึงรายละเอียดที่จำเพาะเจาะจงอะไรได้มากไปกว่าข้อมูลคร่าว ๆ

แต่บางที ถ้าผู้พูดเตรียมตัวมาดีเกินไปก็จะดูเหมือนซ้อมมา ท่องบทมา และราบรื่นเกินไปจนไม่น่าเชื่อ นักจิตวิทยาพบว่า เวลาคนเราเล่าเรื่องจริงที่เกิดขึ้น เราไม่ได้ใส่ใจจดจ่ออยู่กับคำพูดของเรามากนัก เราอาจพูดผิดออกเสียงผิดบ้าง และกรณีที่เป็นเรื่องจริงที่ผ่านมานานพอสมควร เราอาจหลงลืมจำไม่ได้ เล่าไปแล้วอาจย้อนกลับมาแก้ กลับมาเติมรายละเอียด แต่ผู้พูดโกหกที่มีเวลาเตรียมตัวซักซ้อมมาดีมักไม่ค่อยมีการพูดผิดพลาด และเล่าเรื่องยาว ๆ ได้ราบรื่นดี ไม่มีอาการหลงลืม ไม่มีการย้อนกลับมาเติมข้อมูลอะไรในภายหลัง

ด้านการใช้คำพูด นักจิตวิทยาในต่างประเทศวิเคราะห์คำพูดที่โกหก พบว่า จะมีถ้อยคำที่แสดงความรู้สึกทางลบมากกว่าปกติ นอกจากนี้ยังใช้สรรพนามเรียกตัวเองน้อยกว่าเวลาพูดเรื่องจริง และมักพูดไม่เต็มเสียง โดยเฉพาะกรณีที่เป็นการโกหกที่ทำให้ผู้พูดรู้สึกผิดหรือละอายใจ เช่น โกหกคนที่รักและไว้วางใจตนเอง คาดว่าเป็นเพราะความรู้สึกผิดที่โกหก

@@@@@@@

สุดท้ายนี้ อยากฝากไว้ว่า การที่เราสังเกตเห็นสัญญาณต่าง ๆ ที่กล่าวมา ไม่ได้ทำให้เราสามารถสรุปได้ทันทีว่าผู้พูดกำลังโกหก สัญญาณเหล่านี้เป็นข้อสังเกตเบื้องต้นที่ต้องพิจารณาร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ ด้วย เช่น แรงจูงใจของผู้พูด บุคลิกลักษณะโดยธรรมชาติของผู้พูดด้วยนะคะ


 

 
Thnak to : https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/catch-out
บทความจากสารคดีทางวิทยุรายการจิตวิทยาเพื่อคุณ – วิทยุจุฬาฯ FM 101.5 MHz
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาสังคมพื้นฐานและประยุกต์ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 5 
 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2024, 08:44:10 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 6 
 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2024, 08:05:51 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 7 
 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2024, 05:48:24 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 8 
 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2024, 04:51:43 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 9 
 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2024, 10:45:34 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



กว่าจะเป็นสังคีติได้ ก็สาธยายกันแม่นแล้ว

     ๒. ในเรื่องการสาธยายที่ใช้ในวงกว้าง คือ การรักษาคําสอนของพระพุทธเจ้า ขอพูดเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย

     บอกแล้วว่า ในสมัยก่อนโน้น ยังไม่มีเครื่องบันทึกเสียง และ โรงพิมพ์ก็ยังไม่มี ต้องยอมรับว่าความถูกต้องแม่นยําเที่ยงตรงของ ข้อมูล เป็นฐานเป็นจุดเริ่มสําคัญที่สุด ทําอย่างไรจะมีข้อมูลที่แม่น ที่แท้ไว้ใช้ไว้ศึกษา ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พระภิกษุแต่ละรูปจึงท่องจํากันจนชํานาญ คือมีการสาธยายกันจนเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตประจําวัน ซึ่งกลายเป็นการฝึกความจําไปในตัว

     อย่างที่เราจะเห็นได้ชัดว่า คนเรานี้ที่จริงมีความสามารถใน การจํามากกว่าที่หลายคนคิดว่าจะเป็นไปได้ เช่นเวลานี้มีพระพม่า สืบต่อกันมาไม่ขาด ที่จําพระไตรปิฎกได้ทั้งหมดเป็นหมื่นๆหน้า

     ในพุทธกาลนั้น พระภิกษุแต่ละรูปคอยตามข่าวว่า วันนี้ พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเรื่องอะไร ถ้าตัวไม่ได้ไปฟังเอง ก็จะถาม องค์ที่ไปฟังมาว่า วันนี้พระพุทธเจ้าเทศน์อะไร เอ้า... ท่านว่ามาให้ ฟังซิ องค์ที่ถูกถามก็สาธยายให้ฟัง องค์ที่ถาม ฟังแล้ว ก็สาธยาย เพื่อให้แน่ใจว่าตนได้พระเทศนานั้น ที่จะได้นําไปศึกษา

    นี่คือ การสาธยายจึงสําคัญมาก เพราะจะได้แน่ใจว่า
    หนึ่ง. ตัวเองได้สิ่งที่ฟังมา
    สอง. แล้วก็มาบอกคนอื่นได้ถูกต้อง
    ต้องบอกให้ตรงนะ เดี๋ยวกลายเป็นบอกผิดไป ถ้าบอกผิดไป ถือว่าเสียหาย มาก จะกลายเป็นคู่พระพุทธเจ้า หรือทําให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป จึง ต้องสาธยายให้แม่น ให้ตรง

โดยเฉพาะพระที่เป็นครูอาจารย์จะติดตามพระธรรมเทศนา ของพระพุทธเจ้าเป็นพิเศษ เพื่อว่า เวลาพบปะสอนลูกศิษย์ ก็จะได้ บอกเล่าพระธรรมเทศนานั้นให้ได้ทั่วกัน ในพุทธกาลจึงสืบต่อพระ พุทธศาสนากันมาได้อย่างดี ทั้งที่ไม่มีเครื่องมือสื่อสารอย่างปัจจุบัน ในบรรยากาศของพุทธกาลอย่างที่ว่านั้น พระภิกษุทั้งหลาย

จึงมีการฟัง มีการสาธยายเป็นเรื่องของชีวิตประจําวันอย่างที่ว่า แล้ว เรื่องที่ได้แล้ว ท่านก็สาธยายทบทวนไว้ เรื่องใหม่ก็เพิ่มมา เรื่อย จึงเป็นธรรมดาว่ามีพระเถระมากมายที่รักษาคือจําพุทธพจน์ จําพระสูตรไว้ได้มากมายเท่ากับชีวิตในพระศาสนาของตัวท่าน บางองค์ก็จําได้แทบจบแทบครบทั้งหมด

ในปัจจุบันนี้ก็ยังเห็นได้ ที่ว่าในเมืองพม่าหรือเมียนม่าร์ ยังมี คล้ายเป็นประเพณีให้มีพระที่มีตําแหน่งเป็นติปิฎกธร คือผู้ทรง พระไตรปิฎก และบางทียังมีอยู่พร้อมกันหลายองค์ด้วย แต่ละองค์ ท่องจําพระไตรปิฎกได้หมดทั้ง ๒๐,๐๐๐ กว่าหน้า โดยมีการสอบ ตามที่จะจัด แสดงว่าพระไตรปิฎกเป็นหมื่นๆ หน้านี่คนเดียวจําได้ และมีจริงเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน

@@@@@@@

ในสมัยพุทธกาล ก็มีเป็นปกติอย่างที่ว่าเมื่อกี้ คือ พระแต่ละรูปถือเป็นหน้าที่หรือเป็นเรื่องชีวิตประจําวันของตัว ที่จะต้องตามรู้ ตามฟังคําสอนของพระพุทธเจ้า ให้ทันกับพระธรรมวินัยที่เวลานั้น ยังมีเพิ่มเติมอยู่เรื่อยแทบทุกเวลา พูดเทียบคําสมัยนี้ว่าไม่ให้ตก ข่าว ทั้งตัวเองก็อยากรู้ อย่างพระปุถุชนก็ว่าต้องให้ทันพวก ไปฟัง มาแล้ว พอได้โอกาส ก็ปลีกตัวไปเข้าที่สงบหลีกเร้น แล้วก็มีสติทํา การสาธยาย แล้วก็พินิจพิจารณาวิจัยไป ให้เกิดให้เจริญปัญญา ก็เป็นการศึกษา และนี่ก็คือการปฏิบัติธรรม

ทีนี้ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน จะทําอย่างไร อย่างที่รู้กันดีแล้ว พระมหากัสสปะก็ชวนบรรดาพระอรหันตเถระ ที่มาพร้อมกันมากที่สุดในคราวถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ให้ มาประชุมกันรวบรวมพระธรรมวินัย พูดง่ายๆ ว่าคําสั่งสอนทั้งหมด ของพระพุทธเจ้า ที่จะได้ยอมรับยืนยันพร้อมกันแล้ว รักษาไว้เป็น หลักสืบไป

ทีนี้ก็เลือกได้พระอานนท์ ที่เป็นพระอุปัฏฐากประจําพระองค์ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งจําพระสูตร พระพุทธธรรมเทศนาไว้ได้มาก ที่สุดแม่นที่สุด ให้ทําหน้าที่วิสัชนาพระสูตร ที่จริงองค์อื่นก็จํากันได้ มากมาย องค์อื่นก็เท่ากับเป็นผู้สอบทาน คือมาตรวจสอบคําของ พระอานนท์ แล้วพระอุบาลีผู้เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้ทรง พระวินัย (วินัยธร) ก็ได้ทําหน้าที่วิสัชนาพระวินัย

เมื่อเข้าที่ประชุมแล้ว พระมหากัสสปะ องค์ประธาน ก็ทํา หน้าที่ปุจฉา คือถามพระอุบาลีจนจบเรื่องพระวินัยแล้ว ก็ถามพระ อานนท์จนจบพระสูตร จบทั้ง ๕ นิกาย ก็สาธยายให้ได้บันทึกคือ จํากันไว้ เช่นว่า พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จประทับที่นั่น มีเรื่องนี้ๆ เกิดขึ้น ได้บัญญัติวินัยข้อนี้ว่าอย่างนี้ หรือได้ตรัสแสดงธรรมว่า อย่างนี้ ท่านผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นก็รู้มาคราวเดียวกันบ้าง ต่างคราว กันบ้าง บางองค์ก็รู้มาก บางองค์ก็รู้น้อย บางองค์ก็รู้เรื่องที่นั่น บาง องค์ก็รู้เรื่องที่นี่ ก็ได้ตรวจสอบพระอุบาลี และพระอานนท์ไปด้วย ว่าตรงกันไหม

จนกระทั่งในที่สุด เมื่อยอมรับร่วมกัน โดยทวนทานกันแล้ว ยอมรับตกลงเป็นมติที่ลงกันแล้ว ก็ตั้งเป็นแบบไว้สืบต่อไป ด้วย การสวดพร้อมกัน เรียกว่า “สังคายนา"

หลังจากสังคายนา ถือว่ามีพระธรรมวินัยกันครบถ้วนเท่านี้ แล้ว ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของพระทุกรูปที่จะรักษาไว้ ทั้งเพื่อถือและ ใช้เป็นหลัก เช่นในการตัดสินวินิจฉัยเรื่องพระธรรมวินัย แล้วก็ใช้ เพื่อการศึกษา การสั่งสอนเผยแพร่ทุกอย่าง

ทีนี้ การที่จะรักษาไว้ได้ วิธีการก็คือสาธยายอย่างที่ว่า มาแล้ว ตั้งแต่การสาธยายเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล และที่เป็น ของกลางก็คือการประชุมหรือชุมนุมกันสาธยายพร้อมกันเป็นหมู่ เป็นคณะ ที่เรียกว่า “คณสาธยาย”

คณสาธยาย คือการสาธยายพร้อมกัน สวดพร้อมกันนี้ แหละ ที่เป็นหลักในการรักษาพระธรรมวินัยสืบกันมา ท่านทํามาเหมือนกับแบ่งงานแบ่งหน้าที่กัน จะเรียกว่าจัดหน้าที่ให้ก็ได้

นี่ก็คือ พุทธพจน์ หรือเรียกรวมๆ ว่าพระไตรปิฎกนี้ แบ่งเป็น หมวดๆ เรียกว่า ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตร นิกาย ขุททกนิกาย ก็จัดแบ่งภาระกันไป พระเถระองค์นี้เชี่ยวชาญ ในทีฆนิกาย ก็เป็นหัวหน้า แล้วก็มีลูกศิษย์จํานวนมากมารวมกัน เป็นคณะใหญ่ นอกจากศึกษาให้รู้ชํานาญในทีฆนิกายนั้นแล้ว ก็ พร้อมกันสาธยายทีฆนิกายนั้นเป็นประจํา เพื่อรักษาไว้ให้มั่นใจ ก็ รวมเรียกคณะนี้ว่า ทีฆภาณกา

@@@@@@@

นี่เห็นไหม ที่นี่ใช้คําว่า "ภาณ" อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่าสวดบาง ทีก็ใช้คําว่า “ภาณ” ที่นี่ ทีฆภาณุกา ก็แปลว่า เป็นพระพวกที่สวด ทีฆนิกาย และอย่างที่ว่าแล้ว ที่ว่าสวด ไม่ใช่หมายความว่าสวด เฉยๆ ต้องถึงขั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในทีฆนิกายนั้นเลยทีเดียว หมายความว่า รู้ความหมาย รู้คําสอนในทีฆนิกายนั้น อธิบายได้ ด้วย แล้วก็มีหน้าที่จํารักษาไว้ให้แก่ส่วนรวมทั้งหมดด้วย

ต่อจากทีฆภาณุกา ก็มีภาณกาคณะอื่นๆ ทั้งมัชฌิมภาณกา ส่งยุค ภาณการ อังคุตตรภาณกา ขุททกภาณกา แม้กระทั่งชา ก ภาณกา ธรรมบทภาณกา ตลอดจนขันธกภาณกาทางด้านพระ วินัย และนักอภิธรรมก็เป็นอาภิธัมมิกา

นี่ก็คือว่า เมื่อได้ผลมติจากการสวดพร้อมกันใน “สังคายนาแล้ว ก็เอามารักษาสืบทอดด้วยการสวดพร้อมกัน โดยสาธยายเป็นหมู่ หรือประชุมกันทํา “คณสาธยาย”

จากการที่แต่ละองค์สาธยายของตนๆ แล้ว ๑๐ องค์ ๑๐๐ องค์ ก็มาสาธยายพร้อมกันเป็นคุณสาธยาย เหมือนพระสวดมนต์นี่ เมื่อเป็นคณะสวดพร้อมกัน องค์ไหนๆ ก็สวดผิดไม่ได้ เพราะถ้า ผิดตัวเดียว ก็ขัดกับพวก แล้วไปไม่ได้

เพราะฉะนั้น วิธีสวดพร้อมกันนี้ จึงถือเป็นสําคัญในการที่จะ รักษาค่าสอนให้คงทนอยู่ได้แม่นยํา ขอให้ดู อย่างของพราหมณ์นั่น เขาสวดกันมาตั้งแต่ยุคพระเวท ๒-๓-๔-๕ พันปี จนเดี๋ยวนี้ พวก ฝรั่งที่เขียนตําราเรื่องของอินเดีย ก็ยอมรับว่า พวกฤษี ท่องจําทรง จําพระเวทไว้อย่างเดิมเลย ไม่มีเปลี่ยนไม่มีผิดพลาด ของพุทธเรา นี้ ก็ต้องมีคุณสาธยายไว้ การที่ว่า พระทีฆภาณกาก็สวดทีฆนิกาย มัชฌิมภาณกาก็สวดมัชฌิมนิกาย อะไรอย่างนี้ จัดเป็นพวกๆไป ก็รักษาพุทธพจน์ไว้ได้

    เป็นอันว่า การสาธยายนี้
    หนึ่ง. ใช้ในการศึกษาในส่วนของ แต่ละบุคคล
    สอง. ใช้ในการรักษาพุทธพจน์คําสอนของพระพุทธเจ้า
    โดยกลุ่มโดยหมู่ที่ใช้วิธีคุณสาธยาย คือ สวดพร้อมกัน และนั่นก็เป็นแบบแผนสืบมา ที่ทําให้เราได้มีการสวดมนต์ทั้งส่วน ตน และเป็นกลุ่มเป็นหมู่ในปัจจุบันนี้ จะเรียกว่าเป็นต้นทางก็ได้

แต่ทีนี้ ระบบการปฏิบัติของเราเวลานี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว เรา ไม่ค่อยใช้สาธยายในการเรียนส่วนตัว และก็ไม่ได้ใช้คุณสาธยาย ในการรักษาค่าสอน เราบอกว่ามีคัมภีร์พระไตรปิฎกจารึกไว้แล้ว พิมพ์เป็นเล่มแล้ว มีแม้กระทั่งที่เป็นดิจิทัล เพราะฉะนั้น เราก็จึง ละเลย ไม่ใช้วิธีสาธยาย ซึ่งก็ทําท่าจะค่อยๆ เลือนหายไป แล้วเราก็เหลือแต่การสวดมนต์

แต่แล้วก็เข้าทํานองเดียวกันอีก เราสวดมนต์ไปสวดมนต์มา เราก็ลืมความหมายเดิมที่ว่า ท่านให้สวดมนต์เพื่อจะได้สาธยายคํา สอนของพระพุทธเจ้า แล้วเราจะได้คิดพิจารณาคําสอนของ พระองค์ ให้ได้ศึกษาและนําไปใช้ไปปฏิบัติ เออ.. พระพุทธเจ้าสอน ไว้อย่างนี้ เราเอามาสวดมาสาธยาย ก็ดูสิว่าเราเข้าใจความหมาย ดีไหม และเราจะเอาไปใช้ไปปฏิบัติอย่างไร อย่างนี้จึงจะเรียกว่า ตรงตามความหมายเดิมของการสวดสาธยาย

แต่ตอนนี้เราสวดกันไปอย่างนั้นเอง ใช่ไหม ก็สวดไปเพลินๆ แล้วบางทีก็เคลิบเคลิ้ม เลยจะกลายเป็นกล่อมตัวเองหรือกล่อม กันเอง จะว่าเจริญสมาธิก็ไม่ใช่ แต่คือเขวออกไปแล้ว ที่จะได้ก็คือ อาจจะหลับไปเลย แล้วเราก็อาจจะบอกว่า นี่ก็เป็นการใช้ ประโยชน์ได้อย่างหนึ่ง คือช่วยให้นอนหลับ

แต่อย่าพอใจแค่นั้น ควรจะพากันไปให้เข้าถึงหลักคําสอนของ พระพุทธเจ้า แล้วอีกขั้นหนึ่งคือรักษาคําสอนของพระพุทธเจ้าไว้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สาธยายที่ใช้ในการศึกษานี่ อย่าลืม อย่าทิ้ง แม้มีคําสอน มีคัมภีร์ มีการพิมพ์แล้ว เราก็เอาสาธยายมาใช้เป็น ประโยชน์ได้ต่อไป

@@@@@@@

ตัวหนังสือก็เขียนกันได้ ทําไมไม่เอามาใช้

ทีนี้ก็มีคําถามแทรกเข้ามาว่า เอ้อ.. สมัยก่อนนี้ที่บอกว่าใน พุทธกาลเรียนโดยใช้ความจํา ด้วยการสาธยายท่องเอา นี่ หมายความว่า สมัยนั้นไม่มีการเขียนหรืออย่างไร ก็เลยเอาเรื่องนี้ มาคุยมาบอกกันไว้หน่อย

ก็ตอบสั้นๆ ก่อนว่า มีแล้ว ในสมัยพุทธกาลก็มีการเขียนหนังสือ
ก็ถามอีกว่า อ้าว.. แล้วทําไมจึงไม่ใช้วิธีเขียน ทําไมจึงไม่จารึกพุทธพจน์ไว้ด้วยการเขียนล่ะ

อันนี้ก็จะเล่าให้ฟัง ดูง่ายๆ อย่างในวินัยปิฎก มีสิกขาบทที่ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้ ตั้งแต่ห้ามาสก คือบาทหนึ่งขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก ในวินัยปิฎก ตอนนั้น ก็พูดถึงเรื่องโจรขโมยต่างๆ แล้วต่อมาในตอนอื่น ก็มีเรื่อง ที่เกี่ยวกับการบวชด้วย คือ คนที่ไปลักขโมย ที่เรียกว่าโจรนั้น ก็มี พุทธบัญญัติไม่ให้พระบวชให้โจร

โจรนี่มีหลายระดับ โจรอย่างองคุลิมาล เขาเรียกว่าโจรถือธง หมายความว่าเป็นโจรที่ใหญ่จริงๆ เรียกว่า มีธงนําเลยทีเดียว

ทีนี้โจรอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า “ลิขิตกโจร” ลิขิตแปลว่าเขียนใช่ ไหม ภาษาบาลีว่า “ลิขิตโก โจโร" แปลว่า โจรที่มีหมายจับ คือ หมายจับของพระราชา ท่านอธิบายว่า โจรพวกนี้ พระราชาทรง ออกหมายไว้ในหมายนั้นจะเขียนว่า โจรคนนี้ชื่อนี้ ใครเจอที่ไหน ก็ ให้ฆ่าเสียที่นั่น หรือว่า โจรผู้นี้ ใครเจอที่ไหน ก็ให้จับตัวไว้ อะไร อย่างนี้ นี่เรียกว่ามีหมายของพระราชา เป็นลิขิตโก โจโร ก็แสดงว่า สมัยนั้นมีการเขียนหนังสือแล้ว

อ้าว.. ก็เมื่อมีตัวหนังสือ มีการเขียนหนังสือแล้ว ทําไมจึงไม่ ใช้ในการเล่าเรียน ต้องเข้าใจว่า การเขียนสมัยนั้นน่ะ มันไม่ เหมือนพิมพ์

ในการพิมพ์นี้ เราตรวจให้ถูกต้องแน่ใจดีแล้วครั้งเดียว แล้วก็ พิมพ์ออกไปเท่าไรๆ เป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสนฉบับ มันก็เหมือนกันหมด ถ้าตรวจแน่นอนทีเดียวแล้ว ก็ไว้ใจได้ แน่ใจว่าเป็นแบบแผน

ทีนี้ในสมัยพุทธกาลนั้น คนเขียนโดยไม่มีเครื่องพิมพ์ การ เขียนก็เป็นเรื่องส่วนตัวสิ ใครมีความรู้แค่ไหน เข้าใจถูกต้องไหม จําไว้ได้แม่นยําหรือผิดเพี้ยน หรือแม้แต่ถ้อยคําภาษา เขามีความ เข้าใจภาษาถูกต้องไหม บางคนเขียนอักขระจะบอกคําสอน แต่ตัว ก ข ค ง บางทีก็สะกดไม่ถูก ทําให้คนที่อ่านเข้าใจผิด

@@@@@@@

เพราะฉะนั้นท่านจึงถือว่า การเขียนนี่ไว้ใจไม่ได้ ในสมัยก่อน เมื่อยังไม่มีการพิมพ์ ถือว่าการเขียนใช้เป็นทางการหรือเอาจริงจัง ไม่ได้ ให้เป็นเรื่องของการใช้ส่วนตัว เช่น อยากจะเรียนอะไร ทบทวนเขียนอะไร ก็เขียนเฉพาะตัว เราไปเห็นใครเขียนอะไรไว้บอกอะไรไว้ เชื่อได้ที่ไหนล่ะ เราไม่รู้ว่าคนเขียนนี่มีความรู้จริงหรือ เปล่า ไว้ใจได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้นในเรื่องสําคัญ เรื่องจริงจัง เขา ไม่เอาเลย เขาต้องใช้วิธีทรงจํา เพราะมันจะมีแบบให้แม่นยํา เดี๋ยวจะเล่าต่อ

ทีนี้แทรกเข้ามา คือว่า การใช้วิธีเขียนในสมัยก่อนนี่ มันเข้าคติ ที่บอกในเรื่องตํารายาว่า “ลอกสามที่กินตาย” เคยได้ยินไหม เอ๊ะ.. ลอกกี่ทีกินตายนะ อันนี้ชักจําไม่แม่นแล้ว เอาเป็นว่า จะลอกสามที่ กินตาย หรือลอกเจ็ดทีกินตาย หรือกี่ทีก็แล้วแต่ ก็คือว่าคัดลอก ต่อๆ กันไป พอเอาไปทํายากิน แทนที่จะโรคหาย คนก็เลยตาย

ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง มีตํารายาบอกว่า “ลูกประคําดีควาย รากขี้กาแดง" ทีนี้ คนที่มาคัดลอกไปไม่มีความรู้ว่าต้นไม้ที่เป็นตัว ยาชื่อนี้คือต้นอะไร ก็ได้แต่ลอกตัวหนังสือไปตามนั้น แต่เพราะว่า ไม่รู้จักของจริง ไม่มีความรู้ ก็นึกเอาตามความรู้ความเข้าใจของตัว ก็เขียนแยกวรรคผิด หรือแยกวรรคไม่ผิด แต่เขียนติดกันเป็นพืดไปเลย คนอ่านไม่รู้จักของจริง ก็แยกวรรคไม่ถูก

ทีนี้ ลูกประคําดีควายรากขี้กาแดง ก็มาแยกเอาสิ ลูกประคํา เออ.. ใช่แล้ว ลูกประคํา ได้ตัวยาหนึ่งแล้ว ดีควาย เออ... ดีควาย ก็ ได้แล้ว ดีควายไปเอามา ต่อไปว่า ราก อ๋อ... ราก คนก็รากออกมา คืออาเจียน ขี้ ก็ได้ละ แล้วก็ กาแดง เอ... ตัวนี้หายากจริงๆ หา เท่าไร ก็ไม่ได้

เอาละสิ ทําไงล่ะ ตํารับยานี้กินเข้าไปก็มีหวัง ถ้าไม่ตาย ก็ ปางตายใช่ไหม ทีนี้ที่จริงมันเป็นอย่างไร

“ประคําดีควาย” เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ผลของมัน ก็เป็นลูก ประคําดีควาย ใช่ไหม คือลูกของต้นประคําดีควาย แล้วก็ราก ขี้กาแดง "ขี้กาแดง" นี่เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ก็เอารากของต้น ขี้กาแดงนั้นมา เป็นอันว่ามีตัวยาสองอย่างนี้เท่านั้นเอง

นี่อย่างนี้ก็เป็นตัวอย่างของคําที่ว่า ลอกสามทีกินตาย

เพราะฉะนั้นก็จึงเป็นอันว่า เรื่องการเขียนนี่เสี่ยงอันตราย มาก แต่วิธีท่องของท่านนี้ ใช้วิธีสังฆะที่ประชุมส่วนรวม ต้องมีการ สาธยายสอบทานกันจนมั่นใจได้

@@@@@@@

ต่อหนังสือ ไม่ต้องใช้ตัวหนังสือ

เมื่อกี้นี้บอกว่า วิธีสาธยายนั้น มีการท่อง ทวน ทาน นี่คือ สําทับว่าต้องเอามาทานกัน คือต้องมีการสอบทาน หรือตรวจทาน

ถึงจะเรียนมาแล้ว ท่องแล้ว ทวนแล้ว จําได้ ก็ต้องเอามาให้ที่ ประชุมยอมรับ หรืออย่างน้อยเอาพระอาจารย์ที่มีความรู้แม่นยํา ชัดเจนมา ว่าให้ท่านฟัง แล้วท่านจะได้ยอมรับว่าถูกหรือผิด และ แก้ไขได้ให้มั่นใจว่าถูกต้อง

ทีนี้ก็มาพูดถึงวิธีเรียนสมัยโบราณสักหน่อย เคยได้ยินไหม การเรียนแบบต่อหนังสือ เป็นวิธีเรียนที่มีการสาธยายอย่างนี้ วันนี้ ก็เลยมาพูดคุยเรื่องนี้หน่อย จะได้รู้ว่าในสมัยโบราณ เขามีวิธีเรียน กันอย่างไร บางทีอาจจะได้แง่ที่เป็นประโยชน์ ที่เอามาใช้ในสมัยปัจจุบันที่เจริญด้วยเทคโนโลยีได้

วิธีเรียนแบบต่อหนังสือนี่ ตัวผู้พูดเองก็ไม่ทันนะ แต่ทันได้รู้ บ้างจากรุ่นหลวงพ่อที่ท่านถือคัมภีร์แบกคัมภีร์ไปต่อหนังสือ หลวงพ่อนั้นท่านมรณภาพไป ๔๐ ปีแล้ว เมื่อมรณภาพนั้นท่านอายุ ๙๐ ปี ก็เป็นอันว่านับอายุท่านมาถึงเดี๋ยวนี้ก็ ๑๓๐ ปี เป็นศตวรรษ นี่ก็ บอกไว้ก่อนว่าไม่ใช่รู้ชัดเจนมาโดยตรง เป็นการปะติดปะต่อให้ฟัง

ทีนี้ คนรุ่นเก่าสมัยนั้นยังไม่มีระบบการพิมพ์ที่เจริญ การพิมพ์หนังสือก็มีแล้ว แต่ยังน้อย ไม่แพร่หลาย ในการเรียนยังต้อง ใช้วิธีเก่า บางทีก็จารใบลานเอามาสําหรับตัว แล้วก็แบกคัมภีร์ไป หาอาจารย์ และเรียนโดยใช้วิธีต่อหนังสือ

“ต่อหนังสือ” ทําอย่างไร เอาอย่างนี้คือ คัมภีร์เป็นตัวช่วย เท่านั้น ตัวอาจารย์นั่นแหละเป็นตัวหลักตั้งไว้ ลูกศิษย์มา อาจจะ คนเดียวหรือกลุ่มเล็กๆ ๒-๓ องค์ เรียนกันแทบจะเป็นแบบตัวต่อตัว

เออ.. ลูกศิษย์มาต่อหนังสือ มาถึงแล้ว เริ่มต้น... อาจารย์ก็ บอกอุเทศ (บาลี "อุทเทส") ก่อน

อุเทศ คืออะไร อุเทศก็คือ ตัวบท บทตั้ง หัวข้อหลัก แม่บท เฉพาะอย่างยิ่งพุทธพจน์ ซึ่งถือเป็นอุเทศ เป็นแม่บท เป็นหัวข้อ เป็นหลัก ที่เราจะต้องทําความเข้าใจ พระอาจารย์ก็ตั้งอุเทศขึ้นมา ถ้าอุเทศนั้นเป็นคาถาสั้นๆ ก็ว่าให้ฟัง ก็คือสาธยายนั่นแหละ แล้ว ให้ลูกศิษย์สาธยายตามนั้น สาธยายให้ได้ให้ถูกต้องให้เต็มอย่าง นั้น ถ้ายังไม่ได้ ฉันยังไม่สอน ต้องสาธยายให้แม่นก่อน

ทีนี้บางทีอุเทศเป็นพระสูตรที่ยาว ก็ต้องสาธยายกันเป็นสูตร เลย นี่เรียกว่าอุเทศ คือตั้งตัวบทให้ เป็นบทตั้ง นี่คือต้องสาธยาย เป็นการท่องจนจ๋าได้ว่าได้แม่นยํา

พอได้อุเทศแม่นยําแล้ว ก็ไม่อยู่แค่ท่อง ไม่อยู่แค่จํา เอาละนะ เธอได้ตัวบทคืออุเทศ สาธยายได้แม่นยําแล้ว ต่อไปก็ถึงปริปุจฉา

ปริปุจฉา แปลว่า ซักรอบสอบถาม ซักกันให้ปริ ให้ปรุโปร่ง กันไปเลย ซักถามไปและอธิบายกันไป ปุจฉาแปลว่าถาม เดิม “ปริ” เข้าไป “ปริ” แปลว่า รอบ หมายความว่าซักถาม แล้วฟังตอบ ชี้แจงอธิบายกันไปจนปรุโปร่ง

@@@@@@@

นี่ก็หมายความว่า อาจารย์อธิบายให้ฟัง บรรยายชี้แจงว่า อุเทศที่ตั้งขึ้นมาเมื่อกี้นี้ มีความหมาย มีเนื้อความอย่างไร เอ้า... ถ้า สงสัย ก็ถามมา ตอบกันไป จนชัดเจนแล้ว ก็บอกว่า เอาละ รู้เข้าใจ ดีแล้ว วันนี้พอ กลับไปได้ และอาจารย์ก็นัด หรืออาจจะมีวันที่ กําหนดไว้แล้ว ที่จะมาในครั้งต่อไป

ควรย้ําไว้เป็นสําคัญว่า ในการเรียนทั้งหมดนั้น ต้องมีโยนิโสมนสิการ รู้จักใส่ใจพิจารณาโดยแยบคายให้สว่างชัดพัฒน์ปัญญา ไปโดยตลอด และเมื่อกลับถิ่นไปที่วัด ตัวเองก็สามารถสาธยาย และโยนิโสมนสิการอีก เพื่อทบทวนและจะได้เกิดมีความรู้ความ เข้าใจกว้างลึกทั่วตลอดเห็นรอบเห็นไกลยิ่งขึ้นไป จนถึงวันนัด ก็มาหาอาจารย์

พอเริ่มครั้งใหม่ อาจารย์บอกว่า เออ... ฉันจะต่อให้เธอก็ต้อง ได้ของเก่าให้แน่ก่อน ใช่ไหม ถ้าของเก่าเธอยังไม่ได้ จะไปต่อให้ได้ อย่างไรล่ะ

นี่คือต่อหนังสือ จะต่อ ก็ต้องได้ของครั้งก่อนแล้ว เอ้า.. ที่ เรียนวันก่อนนั้น ว่ามา นี่คือต้องทวนของเก่าทั้งหมด อาจารย์บอก ว่า เอาละนะ อุเทศว่ามา ก็ว่าอุเทศให้อาจารย์ฟัง เออ.. ใช้ได้

ทีนี้ที่เธอว่าอุเทศมานี่ ความหมายเนื้อความทั้งหมดของ อุเทศนั้น เธอมีความเข้าใจอย่างไร ว่ามาให้ฉันฟัง ลูกศิษย์ก็ต้อง อธิบายสิว่าตัวมีความเข้าใจอย่างไร อาจารย์ก็บอกว่า เออ... คนนี้ ถูก คนนั้นไม่ถูก ตรงไหนผิดถูก เป็นอย่างไร หรือเพื่อนนักเรียนที่ ฟังอยู่ด้วย ก็ช่วยกันตรวจสอบ ถ้าอาจารย์เห็นว่ายังมีข้อที่ไม่ได้ เล็กๆ น้อยๆ ก็บอกอธิบายแก้ไขทําให้ถูกให้ชัด จนกระทั่งแน่ใจว่า ลูกศิษย์คนนี้จําได้ รู้เข้าใจชัดเจน มั่นใจแล้ว ก็ยอมรับ แล้วก็ต่อ หนังสือ คือให้อุเทศต่อ แล้วก็ปริปุจฉากันต่อไป

แต่ถ้ายังไม่เป็นที่พอใจ อาจารย์ก็ยังไม่ต่อหนังสือให้ ต้อง เอาอันเก่าให้ได้ก่อน จึงต่อให้

จะเห็นว่า วิธีศึกษาแบบนี้ค่อนข้างเป็นการเรียนตัวต่อตัว เป็นวิธีศึกษาแบบเอาจริงเอาจัง

ดังนั้น ถ้าอาจารย์ หนึ่ง เป็นผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญจริงๆ สอง เป็นคนเอาจริงในการสอน ตั้งใจมุ่งมั่นในการที่จะให้เขาศึกษาได้ จริง สาม มีวิธีสอนที่ดีด้วย ก็จะได้ลูกศิษย์ที่ดีที่เก่งมากเลย ใช่ไหม

อันนี้เป็นวิธีศึกษาที่เรียกว่า “ต่อหนังสือ”  ทีนี้สมัยนี้เราไป ไว้ใจเทคโนโลยีมาก อย่าไปประมาทนึกว่าจะเก่งกว่าคนเก่า ลองนึกดูว่า วิธีต่อหนังสืออย่างนี้ได้ผลดีไหม ถ้าอาจารย์เอาจริง เอาให้แม่น ให้รู้จริง ให้คิดขยายและเห็นทางใช้ ต้องไว้ใจได้จริง จึงจะยอมต่อให้

ทีนี้เอาอย่างที่ว่านั้นลองมาเทียบกับเวลานี้ที่คนเรียนไปฟัง กันเป็นร้อย หรือหลายร้อย บางทีไม่ได้เข้าถึงตัวอาจารย์ แทบไม่ได้ สื่อสัมพันธ์กัน เทคโนโลยีนั้นช่วยได้เยอะ แต่ในเวลาเดียวกันมันก็ มีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไข ทําอย่างไรจะไม่ให้แพ้วิธีต่อหนังสือได้ ต้องให้มั่นใจ นี่ก็เอามาเล่าให้ฟังพอที่จะเข้าใจ

เป็นอันว่า เรื่องสาธยาย หรือสัชฌายะ ก็ใช้ในการศึกษาเล่า เรียน จนกระทั่งมาอยู่ในวิธีที่เป็นระบบของการต่อหนังสือนี้ แล้วก็ นํามาใช้เป็นสําคัญในการรักษาพุทธพจน์ คําสอนของพระพุทธเจ้า โดยเน้นคุณสาธยาย ก็ทรงจํากันมา พระไตรปิฎกและคัมภีร์ ทั้งหลายก็รักษากันมาได้ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ จึงมาถึงพวกเรา โดยถือเป็นเรื่องสําคัญมากว่าจะต้องให้แม่นยําด้วยการที่จะต้องตรวจสอบ ที่เรียกว่าสอบทานกัน

ในเมืองไทยเราเดี๋ยวนี้ก็เหลือแค่มาสอบทาน เอาคัมภีร์มา เทียบเคียงกัน แล้วก็มาตรวจสอบอ่านกัน องค์นั้นอ่านของอักษร พม่า องค์นั้นอ่านของอักษรสิงหล คนนี้อ่านของอักษรโรมัน มา เทียบกันดู มีผิดกันต่างกันตรงไหน ก็บันทึกเป็นหลักฐานไว้ แต่ถ้า ได้พระที่จําแม่นหมดทั้งพระไตรปิฎก ก็ยิ่งดีใหญ่ มั่นใจยิ่งขึ้น

(ยังมีต่อ..)

 10 
 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2024, 10:39:56 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ตอน ๓. ถึงไม่ร่ายมนต์ ก็สาธยายธรรม



 :25: :25: :25:

สาธยายเป็นจุดเริ่มจุดรวมงานของการปฏิบัติธรรม

ทีนี้มาศึกษาถ้อยคํากันหน่อย คําว่า “สวด” นี่เราลองมาดูคําพระ ว่าได้แก่อะไร

คําหนึ่งที่เราแปลว่าสวด คือ “สาธยาย” ใช่ไหม
อีกคําหนึ่ง คือ “คายนะ” หรือ “คายนา” เช่น สังคายนา = คายนาพร้อมกัน คือสวดพร้อมกัน

แล้วก็คําเดียวกัน คือ "คายนะ” นี้ ออกไปเป็น “คีตะ” เป็น “คีติ” ซึ่งคนไทยได้ยินบ่อย อย่างสังคายนา ก็เรียกว่า “สังคีติ” แต่ โยมคงบอกว่า เอ๊ะ.. คีตะ และ คีติ ก็เป็นเพลง ใช่แล้ว สวดก็ใช่ ร้องเพลงก็ใช่ หรือขับร้องก็ได้ คือคําเดียวกันแปลออกมาเป็นไทย ยักเยื้องไปได้

ที่พูดนี้หมายความว่า คําว่า “สวด” ในภาษาไทยนี่เทียบ ภาษาทางพระ เราใช้สําหรับคําบาลีสันสกฤต ๒ คํา คือ หนึ่ง “สาธยาย” ซึ่งเราได้ยินกันบ่อย และสอง คือ “คายนา” “คีตะ” “คีติ” “อภิคีติ” ทั้งหมดนี้แปลว่าสวดได้ทั้งนั้น อย่างพระทําวัตรค่ํา ก็มีบทที่ ขึ้นว่า หนุท มย์ พุทธาภิคีต กโรมเส (มักเขียนเป็น กโรม เส) "อภิคีติ" ก็คือบทสวดชื่นชม นกร้องเจื้อยแจ้ว ก็เป็นอภิคีตะ

แล้วยังมีอีกคําหนึ่ง คือ “ภาณะ” หรือ “ภณนะ” (จาก คํากริยาว่า “ภณ”) เช่น สวดภาณยักษ์ สวดภาณพระ ภาณ แปลว่าคําสวดก็ได้ แล้วใช้ในเชิงกิริยาอาการ ก็เป็น ภณนะ แปล เป็นกลางๆ ว่า การกล่าว ท่านกล่าว แต่เราฟังว่าสวด อย่างพระ สวดพระปริตร ก็ขึ้นว่า ปริตฺตนฺตมภณามเส (มักเขียนเป็น ภณาม เส)

เอาละ.. เป็นอันว่า เรามองจากไทยกลับไปทางบาลีว่า “สวด” มีคําว่า สาธยาย แล้วก็มี คายนา คีตะ คีติ แล้วก็ ภณนะ ภาณะ ภาณ ก๊วนกันอยู่ในนี้ รวมแล้ว สวดของไทย มักใช้กับ ๓ ศัพท์ของบาลี

@@@@@@@

เริ่มด้วย “สาธยาย” แปลว่า ท่อง แปลว่า ทวน แปลว่า ทาน ท่องก็ได้ ทวนก็ได้ ทานก็ได้ ที่นี้ คําบาลีว่าอย่างไร บาลี และ สันสกฤต ต้องดูทั้งคู่

สาธยาย บาลีเรียกว่า “สัชฌายะ” ไม่ค่อยเข้ากับลิ้นไทย คน ไทยไม่ใช้ แต่เราไปเอาสันสกฤต สันสกฤตว่า “สวาธยายะ” ออก เสียงยากพูดลําบาก คนไทยก็ไม่ไหวอีก จะเอาอย่างไรดี

สวาธยายะ นี้เอา “ยายะ” ตัวท้ายเป็น “ยาย” เป็น “สวาธยาย แล้ว ก็ยังว่ายาก จะทําอย่างไรดี เอาอย่างนี้สิ ก็ตัด “สวา” เหลือแต่ “สา” ให้ง่ายขึ้น สวาธยาย ก็มาเป็น “สาธยาย” นี่ทางหนึ่งละ

แต่นั่นก็ยังไม่เต็มใจ มานึกว่า ที่ไปตัดของเขา เอา สวา เป็น สานั้นไม่ถูกนะ แต่จะว่าสวาธยาย ก็ยาก มีอีกทางหนึ่งคือแปลง “สวาธ” เป็น “สังวัธ” ได้ “สังวัธยาย” ค่อยถนัดหน่อย

ตกลงว่า สวาธยายของสันสฤกตนี้ ไทยเอามาใช้เป็น ๒ อย่าง อย่างสั้นว่า “สาธยาย” อย่างยาวว่า “สังวัธยาย" มีใช้ทั้งสอง อย่าง แต่ที่ได้ยินบ่อยคือ “สาธยาย”

ทีนี้ ที่ว่าสาธยาย หรือสังวัธยาย คือ ท่อง ทวน ทานนั้น ก็ เนื่องจากว่า เรามีบทมีคํามีถ้อยความที่เราศึกษาเล่าเรียน ซึ่งเป็น เรื่องสําคัญ เช่น พุทธพจน์ เรื่องที่ครูอาจารย์สอนกําชับไว้ เราก็จึง ท่อง ในเวลาที่ท่อง เราก็ว่าไปตามนั้น นี่คือสาธยาย หรือสัชฌายะ สมัยก่อนนั้นไม่มีเครื่องบันทึกเสียง ก็ต้องสาธยาย เราว่าไปๆ จนกระทั่งจําได้ เป็นอันว่า สัชฌายะ หรือสาธยายนั้น หนึ่ง ก็ท่อง เพื่อให้จําได้ สาธยายเพื่อให้จ่าได้

ทีนี้ต่อไป เมื่อจําได้แล้ว ก็ทวน เวลานั่งอยู่คนเดียว หรืออยู่ ว่างๆ เราก็เอาบทที่จําได้นั้น ซึ่งถ้าไม่ทวน ก็อาจจะลืม เราก็เอาบท นั้นมาสาธยายอีก คือว่าไปตามนั้นแหละ แต่ว่าบท เรื่องที่จําไว้แล้ว ก็เป็นทวน

ทีนี้ทานคืออย่างไร ก็คืออยากจะรู้ว่า ที่ท่านผู้นี้ท่องมานั้น จ๋ามาถูกหรือเปล่า ก็ให้คนอื่นฟังเพื่อเป็นการตรวจสอบ คนอื่นที่ฟัง นั้นจะต้องเป็นคนที่แม่น อาจจะเป็นอาจารย์หรือที่ประชุม ถ้าเป็น ที่ประชุม ผู้ฟังก็มาประชุมกัน เอ้า...ท่านผู้นี้สาธยายมานะ บทสวด นี้ คําสอนนี้ พระสูตรนี้ เช่นว่าเอาพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนะ ว่ามาซิ ท่านผู้นั้นว่าไป สวดไป ที่ประชุมก็ฟัง ตรงนี้ไม่ถูก คํานี้ผิด แก้เสีย อะไรๆ ก็ว่าไป จนกระทั่งที่ประชุมทั้งหมดยอมรับ จึงผ่าน ได้ นี่ก็สาธยาย

จะเห็นว่า สาธยายนี้สําคัญนัก มีประโยชน์มาก ใช้โดยตรง ในการศึกษา เรียกได้ว่าเป็นตัวนำ เป็นแกนของการเล่าเรียน เพราะฉะนั้น ในการศึกษาสมัยก่อนจึงถือสัชฌายะหรือสาธยายเป็นกิจสําคัญ

@@@@@@@

เอาละ คําว่าสาธยาย เอาแค่นี้ก่อน พูดพอเป็นความรู้ ประกอบไว้ แล้วเรื่องเป็นมาอย่างไร

เดิมนั้น ความหมายที่แท้ของการสาธยายที่เรามาเรียกเป็น สวดมนต์นี้ คืออะไร การสาธยายมีความหมายและความมุ่งหมาย ที่แท้ว่าอย่างไร ที่เรียกกันว่าสวดมนต์นี้เดิมในพระพุทธศาสนา ท่านใช้ทําอะไร ใช้เพื่ออะไร ตอบง่ายๆ ว่าโดยหลักใหญ่ๆ มี ๒ อย่าง

    ๑. เป็นวิธีการศึกษา เป็นเรื่องของการเล่าเรียน
     อย่างที่บอก เมื่อกี้ว่า การสาธยายแทบจะเป็นตัวแรกของปฏิบัติการใน การศึกษาเล่าเรียน สาธยาย ก็คือบอกเล่า ว่าให้ตรงตามข้อมูลที่ ประสบ ที่ได้อ่านได้พบได้เห็นได้ยินได้ฟัง ระบุบอกว่าข้อมูลไปให้ ตรงให้เต็มตามลําดับ

อย่างที่ว่าแล้ว สมัยนั้นไม่มีเครื่องบันทึกเสียง เมื่อจะบอก เล่าว่าให้แม่นให้ตรงแท้ ก็มาเป็นท่อง นี่คือต้องการความแม่นยํา ก็ ต้องสาธยายว่าไปให้บ่อย ก็เรียกว่าท่อง จนกระทั่งจําได้แม่นไป เลย ก็คือที่เรียกว่าท่องจํานั่นเอง แล้วก็สาธยายทบทวนอีก แล้วก็ มาทานตรวจสอบกัน เป็นอันว่า ๓ ชั้น สาธยายจึงจะได้ข้อมูลแบบแผนที่แน่นอนลงตัว

อย่างที่ว่าแล้ว สาธยายใช้ในการเล่าเรียนศึกษาเป็นขั้นที่ หนึ่ง ขอให้ดูในแนวของโพชฌงค์ เราจะเรียนจะศึกษาปฏิบัติ เช่น อย่างที่ตรัสไว้ในพระสูตร เริ่มแรก เราไปฟังอาจารย์มา เริ่มต้นเรา ทําอะไร เราก็มีสติระลึกนึกได้ ก็คือจําคําจําความได้ จับข้อมูลมา ได้ถูกตรงครบก่อน

ดังที่พระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่าง ภิกษุไปฟังพระพุทธเจ้า หรือไปฟังอาจารย์ซึ่งเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณความรู้
ท่านเทศน์ท่านแสดงธรรมให้ฟัง ตัวเองเห็นว่าเป็นหลักเป็นฐานมีความหมาย สําคัญ ก็ว่ามา แต่จ๋ามาแล้ว ตัวรู้ความหมายยังไม่ชัด ก็ไปในที่ สงบหลีกเร้น ในเวลาศึกษา หลีกเร้นก็เป็นข้อปฏิบัติอันหนึ่ง

เรามาดูวิธีการศึกษาสมัยโบราณ ในพุทธกาล ท่านได้ฟังธรรมมาแล้ว ก็หลีกเร้นเข้าไปใต้ร่มไม้หรือสถานที่สงบ พออย่างนี้เข้าที่แล้วก็เริ่มด้วย

ขั้นที่หนึ่ง ระลึกถึง นี่คือ สติ ก็ระลึกนึกถึงคําสอน เทศน์ที่ ฟังมาเมื่อเย็นหรือเมื่อบ่าย จากพระพุทธเจ้า หรือจากพระอาจารย์ ผู้ใหญ่ ที่ติดใจไว้ว่าท่านเทศน์ดี เราก็มาระลึก คือทวนความจํา นี่ แหละที่ท่านว่าเข้ามาในป่าในดงไม้ แล้วสาธยาย เอาข้อมูลที่ ต้องการที่จะใช้ขึ้นมาเรียงให้ครบ ให้ตรง ก็คือทวน หรือทบทวน

สติเป็นตัวสําคัญในการสาธยาย เพราะว่าระลึกได้ ก็คือจับ เอาขึ้นมาได้ ก็คือต้องจําได้ นี่คือสติทั้งนั้น หยิบจับเอาขึ้นมาได้ แล้ว ก็จับยกมาจัดเข้าที่ เรียงลําดับต่อกันเชื่อมโยงให้ถูกต้องและ ให้ครบถ้วน พูดสั้นๆ ว่า แม่นข้อมูล จับคําได้ครบ จับความได้ตรง นี่คืองานของสติ

เมื่อมีสติซึ่งทําหน้าที่ได้ดี มั่นใจว่า นี่เราจําจับเอามา เรานึก ทวนได้ความชัดตรง ไม่ผิดจากที่ท่านสอน หรือได้บอกเล่า ก็ก้าวสู่ ขั้นที่สอง

@@@@@@@

ขั้นที่สอง เรียกว่า ธัมมวิจยะ หรือธรรมวิจัย พูดสั้นๆ ว่าวิจัย วิจัย ก็คือ ใช้ปัญญา พิจารณาพื้นเส้น ตรวจสอบ สืบค้น

“วิจย” คําโบราณว่า “เป็น” คือ เฟ้นหาความหมายที่แท้ เฟ้น หาสาระสําคัญ เฟ้นเอาตัวที่ตอบตรงเรื่อง คือตัวที่จะเอาไปใช้ แก้ปัญหาทําประโยชน์นั้นๆ ได้ รวมทั้งไตร่ตรอง วิเคราะห์วิจารณ์ สืบสาวเหตุปัจจัยอะไรต่ออะไร อยู่ในวิจัยทั้งหมด

วิจัยเป็นคําสําคัญมากในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อหนึ่งของ ปัญญา นี่ก็คือ หนึ่ง สติระลึกมา ทวนระลึกนึกถึงเรื่องหรือจับข้อมูล ขึ้นมา แล้วเอาสิ่งที่ระลึกด้วยสตินั้นมาเป็นตัวตั้ง สอง เอาปัญญา วิจัย นี่คือส่วนสําคัญที่สุดของโพชฌงค์ หลักการตรัสรู้อยู่ที่นี่

ต่อจากนี้ก็มี วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา พวกนี้เป็นตัว ร่วมงานที่จะมาทําให้กระบวนการศึกษาดําเนินไป ช่วยให้สติ และ วิจัยนั้น ทํางานได้ถนัด คล่อง เต็มที่ ตั้งแต่วิริยะ ที่ทําให้งานแข็งขัน จริงจังเดินหน้า จนกระทั่งถึงอุเบกขา ที่ใจปลอดนิ่งให้สติทํางาน คล่อง และเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปตามความรู้สึก ทําให้ปัญญา มองเห็นได้ชัดโล่งตรงเต็มตามเป็นจริง (อุเบกขา แปลว่าเป็นกลาง คืออย่างนี้ ไม่เข้าข้างไหน ไม่ไปตามความรู้สึก ไม่ว่าชอบใจไม่ ชอบใจ แต่มองตรง จึงได้ปัญญาแท้ ไม่ใช่นิ่งเฉยไม่รู้เรื่องรู้ราว)

นี่ละ ก็เป็นอันว่า กระบวนการศึกษามีโพชฌงค์เป็นเนื้อตัว แต่องค์สําคัญคือนี่ คือ สติ ที่ได้ข้อมูลมาเก็บรักษาและเอามาใช้ โดยเอาสาธยายมาเป็นเครื่องมือทํางาน การสาธยายทําให้สติ ทํางานเต็มที่ ในการระลึกนึกถึงจําไว้ แล้วเราก็จะได้ใช้ ปัญญา วิจัย ฟันเฟ้น พิจารณา วิเคราะห์สืบค้นสิ่งที่เอามาตั้งไว้ให้นั้น

เป็นอันว่าเข้าใจแล้ว นี่คือสัชฌายะ หรือสาธยาย ซึ่งเป็น กิจกรรมในการเล่าเรียนของแต่ละบุคคล มีการท่อง มีการทวน พวกเราเดี๋ยวนี้ก็ใช้ได้ แม้จะมีสมุดจดไว้แล้ว ถ้าในใจทวนได้แม่น ก็แสดงว่าเก่งยิ่งกว่าจุด จุดก็มาเป็นตัวที่ช่วยให้แม่นมั่น

นี่คือสาธยายที่ใช้ในการศึกษาของบุคคล การศึกษานี้ ก็คือ การปฏิบัติธรรม ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ ซึ่งเป็นองค์ของการตรัสรู้

@@@@@@@

ชาวบ้านมีคีตะ พระอรหันต์ข้ามไปมีสังคีติ

ทีนี้ย้อนกลับไปหน่อย ที่บอกว่า "สวด” ใช้คําว่า คายนะ คีตะ คีติ นั้น คนไทยอาจท้วงว่า เอ๊ะ... นั่นมันเพลงนี้ ก็ถูก คําบาลีของท่าน ที่ว่า คีตะ-คีติ-คายนะ นี่ จะว่าเป็นคําที่เราแปลว่าสวด ก็ได้ แปลว่า ร้องเพลง หรือขับร้อง ก็ได้ อย่าไปนึกว่าต้องแปลอย่างใดอย่างหนึ่ง

นี่เป็นเรื่องที่ต้องทําความเข้าใจกันเล็กน้อย คือไทยเราเอาคำเหล่านี้มาใช้ แต่ไม่ได้แยกแยะความหมายว่ามีขั้นตอนหรือเป็น ระดับอย่างไร ในภาษาบาลีนั้น เขาใช้คําเดียวกัน แต่มีความหมาย แยกออกไปในต่างระดับ หมายความว่า การสวดนั้น ก็คล้ายว่า หรือจัดได้ว่าเป็นการขับร้องชนิดหนึ่ง เราอาจใช้คําว่าเป็นการ “ว่าเป็นทํานอง"

สวด ก็เป็นการว่าเป็นทํานอง ขับร้อง ก็เป็นการว่าเป็น ทํานอง ร้องเพลง ก็เป็นการว่าเป็นทํานอง แล้วมันต่างกันอย่างไร?

ดูตรงนี้ คือ พระท่านมีวินัยกํากับว่า พระจะว่าเป็นทํานองได้ แค่นี้นะ เกินนี้ไม่ได้ ผิดวินัย คือท่านเปื้อนมากนักไม่ได้ เพราะมี วินัยกํากับไว้ โดยมีพุทธบัญญัติห้าม ตามเรื่องที่ว่า (วินย. ๒/๒๐/๘) พระฉัพพัคคีย์ “อายตเกน คีตสฺสเรน ธมุม คายนฺติ” สวดธรรมด้วย เสียงขับร้องที่เอื้อนยืดยาว ชาวบ้านพากันติเตียนว่า พวกพระ สมณะศากยบุตรเหล่านี้สวดธรรมด้วยเสียงขับร้องที่เอื้อนยืดยาวเหมือนอย่างที่พวกเราร้องเพลง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงได้ ทรงบัญญัติห้ามพระไม่ให้สวดอย่างนั้น

มีคําอธิบายประกอบว่า การสวดด้วยเสียงขับร้องที่เอื้อนยืดยาวขึ้นลงฮวบฮาบนั้น ทําให้อักขระผิดเพี้ยนเสียหาย ใจของตัวก็ มัวไปเพลิดเพลินตามไปกับเสียง กล่อมตัวเอง ชื่นชมตัวเอง ไม่อยู่ กับธรรมที่ตัวสวด แล้วก็เสียสมาธิ

แต่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สวดด้วยเสียงที่กลมกล่อม พอดีให้ถ้อยคําาอักขระชัดเจนครบบริบูรณ์ไม่เสียหาย โดยทรงอนุญาตให้พระสวดสรภัญญะ (อนุชานามิ ภิกขเว สรภัญญ์, วินย. ๒/๒๑/๔) คือ ใช้เสียงสื่อธรรม

@@@@@@@

คําว่า “สวดสรภัญญะ” นี้ คํากริยาที่ว่าสวด ก็ใช้คําว่า “ภณ” ซึ่งแปลตรงๆ ตามปกติ ก็คือ “กล่าว” นั่นเอง แต่เราพูดแบบไทยว่า สวด ดังที่ได้เคยอธิบายแล้วข้างต้น

นี่คือ พระสวดก็ว่าเป็นทํานองคล้ายอย่างจะร้องเพลงนั่น แหละ แต่ทําได้แค่ในระดับหนึ่ง อยู่ในทํานองและระดับเสียงตามที่ วินัยกําหนดไว้ หรือพูดเปลี่ยนไปอีกสํานวนหนึ่งว่า พระร้องได้แค่ สวด แต่โยมสวดได้เต็มที่ตามที่อยากร้อง

จะเห็นว่า พระก็สวดเป็นทํานอง ซึ่งสอนให้โยมสวดด้วย ก็ ไพเราะเหมือนกัน แต่ถ้าเกินจากนั้นไป เราไม่เรียกว่าสวด แต่เรียกว่าขับร้อง กลายเป็นร้องเพลงไปเลย

ทีนี้โยมก็เข้าใจละนะว่า ในภาษาบาลีบางทีก็ใช้ศัพท์ เดียวกัน แต่ของพระก็ให้อยู่ในขอบเขตของพระวินัย ส่วนของโยมก็ มักจะว่ากันไปตามที่พอใจ

แล้วที่ว่า “สังคายนา” ก็คือ เมื่อท่านนําเอาพุทธพจน์ที่ได้ เรียนรู้จําได้มาว่าให้กันฟัง ทบทวนตรวจทานกันให้แม่นมั่นจนตก ลงกันได้ว่าคําสอนของพระพุทธเจ้าว่าอย่างนี้ แล้วก็ลงมติว่าเอา ละ แล้วก็สวดพร้อมกันอย่างที่ได้ตกลงนั้น เพื่อจะได้จดจํากําหนดเป็นแบบไว้ อย่างนั้น ก็จะแม่นยําและคงอยู่ยั่งยืน ก็จึงเรียกว่า สังคายนา แปลว่าสวดพร้อมกัน เท่ากับลงมติแล้วว่า เอาอย่างนี้นะ จึงได้สวด พร้อมกันตั้งวางเป็นแบบไว้แล้วต่อไปก็จะได้สวดพร้อมกันเพื่อรักษาสืบต่อกันไป

สังคายนา เป็นคํายุติที่หมายถึงว่า ลงมติว่าอย่างนี้นะ นี่คือ แบบแผน แล้วก็สําทับมตินั้นด้วยการสวดพร้อมกัน ก็คือยอมรับ แล้วว่าเอาอย่างนี้ นี่คือสังคายนา หรือว่าสังคีติ ก็คืออันเดียวกัน

ก็เป็นอันว่า คายนา คีติ จนถึงสังคายนา และสังคีติ คือการ ว่าเป็นทํานอง ไปจนถึงขับร้อง ร้องเพลง ใครมีขอบเขตทําได้แค่ไหน ก็ว่าไปแค่นั้นๆ

สําหรับพระ มีวินัยกํากับระดับเสียงและทํานองอย่างที่ว่าแล้ว ไม่ให้เป็นการร้องเพลงอย่างคฤหัสถ์ชาวบ้าน และท่านก็จํากัด การใช้คําว่า คายนะ-คีตะ-คีติ ให้หมายถึงการร้องเพลงหรือขับร้อง ของชาวบ้าน ดังจะเห็นว่าในคัมภีร์ทั้งหลาย ไม่มีที่ไหนกล่าวถึง พระภิกษุว่าทําคายนะ หรือ คีตะ หรือคีติ ซึ่งถือเป็นเรื่องใน ขอบเขตของชาวบ้าน

แต่พระข้ามไปมีสังคายนา หรือสังคีติ ซึ่งใช้ในความหมายพิเศษอย่างที่ว่าแล้ว

@@@@@@@

คีตะ ร้องเพลงของชาวบ้าน พระก็ละ
คีตะ เพลงขับสืบลัทธิของพราหมณ์ พระก็เว้น


ได้บอกแต่ต้นแล้วว่า มนต์ มนตร์ มันตระ เป็นหลักสําคัญ แกนกลางของศาสนาพราหมณ์ คือหมายถึงตัวพระเวทดั้งเดิม จนถึงอาถรรพเวทที่เป็นท้ายสุด พระพุทธศาสนาไม่ใช้คํานี้ นอกจากใช้เชิงเทียบเคียงอย่างที่ว่าล้อคําล้อความ เช่นเรียกพุทธ พจน์ว่าพุทธมนต์ อย่างที่ได้เล่าให้ฟังแล้ว

ทีนี้ เคียงคู่มากับคําว่า "มนต์” นั้น ก็มีคําว่า "คีตะ” นี้แหละ ซึ่งบอกว่า บทมนต์อันเป็นปาพจน์ (คําสอนที่เป็นหลักประธานของ ลัทธิ) ของพราหมณ์นั้น อันเหล่าฤาษีปางก่อนผู้ทรงไตรเพท คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะฤาษีวามเทพ ฤๅษีเวสสามิตต์ (วิศวามิตร) ฤาษียมตัคคี ฤาษีอังคีรส ฤาษีภารทวาช ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภค ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ ที่บัดนี้พวกพราหมณ์ ผู้ทรงไตรเพท ก็บอกเล่ากล่าวขานขับร้องกันอยู่ พากันขับขานตามอย่าง (อนุคายนฺติ, อนุคีตะ) เล่าเรียนตามกันมา ตามบทมนต์เก่านี้ ที่เหล่า ฤาษีปางบรรพ์เหล่านั้นได้ขับร้องมาแล้ว (คีตะ) ผูกไว้ บอกไว้รวบรวมไว้

ข้อความที่ว่ามานี้ อยู่ในพุทธพจน์ที่ตรัสตอบโต้และทรงสอน พราหมณ์ใหญ่ๆ ในคราวเผชิญวาทะครั้งสําคัญๆ ปรากฏใน พระไตรปิฎกถึง ๑๒ ครั้ง (เช่น ที.ส.๙/๓๗๐/๒๙๙) พระองค์ทรงยก ความนี้ขึ้นมาตรัส เพื่อให้เขารู้เข้าใจว่าเหตุใดพระองค์จึงทรงปฏิเสธระบบความคิดความเชื่อและคําสอนของพวกพราหมณ์

ดังเช่นที่ตรัสว่า การที่เหล่าฤาษีจนถึงพวกพราหมณ์เหล่านั้น พากันกล่าวอ้างพระพรหมผู้เป็นเจ้าอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าถามเหล่า ฤาษีและพวกพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ว่าท่านใด ว่าได้เคยพบเห็น ประจักษ์องค์พระพรหมเป็นเจ้านั้นไหมว่า พระองค์อยู่ที่ไหน ไปมา อย่างไร ก็ไม่มีใครตอบได้ ระบบความคิดของพราหมณ์จึงเป็น เหมือนแถวคนตาบอด คนข้างท้ายก็อ้างตามคนที่ต่อมาก่อนตัว อ้างกันไปๆ แต่ลงท้ายที่แท้แม้แต่คนหัวแถวก็ไม่ได้เห็น

(“ภควัทคีตา” คือบทเพลงของพระเป็นเจ้า อันเป็นคําสอนสําคัญยิ่งของฮินดู ซึ่งพระกฤษณะกล่าวในตอนเริ่มสงครามมหา ภารตะ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของคีตะนี้)

ตามที่กล่าวนี้ เห็นได้ชัดว่า “คีตะ” เป็นอาการสําแดงตัว เป็นความปรากฏตัว ของระบบการสืบสายถ่ายทอดลัทธิของ ศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นธรรมดาว่าพระพุทธศาสนาจะไม่ทําตาม อย่าง แต่จะใช้วิธีที่ทําให้คนสะดุดมองเห็นความแตกต่างตั้งแต่แรกพบเห็น

แต่ก็อย่างที่ว่าแล้ว เช่นเดียวกับคําว่ามนต์ มีกรณีที่ใน พระพุทธศาสนาใช้คําว่าคีตะในเชิงเทียบเคียงทํานองเลียนคําล้อความคีตะของพราหมณ์

ขอให้สังเกตว่าบทมนต์ที่เหล่าฤาษีปางก่อนขับร้องไว้ เป็น “คีตะ” และพวกพราหมณ์ก็ “อนุคาย, อนุคีต, อนุคีติ” คือขับร้อง สืบทอดต่อกันมาตามนั้น

@@@@@@@

กรณีที่จะยกมาเล่านี้ เป็นเรื่องใหญ่ในเหตุการณ์ที่เด่นดัง คือ มีพราหมณ์ใหญ่ชื่อพาวรี ไปบวชเป็นชฏิลตั้งอาศรมอยู่ที่ริมฝั่ง แม่น้ําโคธาวรี ในอัสสกรัฐ มีลูกศิษย์เก่งๆ มากมาย

ต่อมา ท่านได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อมีโอกาส จึงจัดส่งมาณพชั้นนํา ๑๖ คนไปถามปัญหาที่มคธรัฐ พระพุทธเจ้า ทรงตอบให้ทุกคนเข้าใจแจ่มแจ้ง เกิดความเลื่อมใสขอบวชทั้งหมด คําถามชุดนี้เรียกรวมว่าโสฬสปัญหา และธรรมบรรยายที่ พระพุทธเจ้าตรัสตอบชี้แจงอธิบายเรียกว่า “ปารายน" (ทางไปถึงฝั่ง)

ในมาณพ ๑๖ คนนั้น คนสุดท้ายที่ชื่อว่าปิงคิยะ เมื่อบวช เป็นภิกษุแล้ว ได้กราบทูลลาพระพุทธเจ้าขอกลับไปส่งข่าวแก่ อาจารย์เก่า คือท่านพราหมณ์พาวรี เพราะได้รับปากไว้ว่าจะกลับไปเล่าเรื่องเล่าผลให้ทราบ

พาวรีพราหมณ์พบพระปิงคิยะกลับมา ได้ต้อนรับอย่างดีและจัดที่ให้พระปิงคิยะนั่งเล่าเรื่องราวในการถามตอบปัญหาที่ได้ไปฟังไปรู้มาตลอดทั้งหมด

พระปิงคิยะพอเริ่มเล่า ก็ขึ้นต้นว่า “ปารายนมนุคายิสส์" นี่คือ ใช้ภาษาของพราหมณ์ ที่พราหมณ์ด้วยกันฟังแล้วเข้าถึงซึ้งใจทันที ถ้าแปลตามถ้อยคําแบบพราหมณ์นั้น ก็คือบอกว่า “ข้าพเจ้าจักขับ ร้องปารายนธรรมบรรยาย ตาม (อย่างที่พระพุทธเจ้าได้ขับร้องไว้)" ดังที่อรรถกถาไขคําไขความไว้ให้ว่า “ภควตา คีติ อนุคามิสส์" (ข้าพเจ้าจักขับร้องตาม ซึ่งธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับร้อง ไว้แล้ว, สุตต.อ. ๒/๕๕๕)

นี่คือพระปิงคิยะ แม้จะสละความเป็นพราหมณ์มาบวชเป็น ภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว แต่ด้วยความที่ท่านมีความชํานาญ ถนัดในระบบของพราหมณ์มาเป็นอย่างดี เมื่อจะบอกความแก่ท่านผู้ เป็นพราหมณ์ใหญ่ ก็จึงเรียบเรียงถ้อยคําสํานวนบอกเล่าเรื่องพุทธ ด้วยภาษาของพราหมณ์ ดังที่ว่านั้น ซึ่งทําให้ท่านพราหมณ์อาจารย์ เก่าเข้าถึงธรรมบรรยายของพระพุทธเจ้าได้ถนัดจิตถนัดใจ

แต่ว่าโดยสาระ พูดด้วยถ้อยคําสามัญ ก็คือ พระปิงคิยะบอกว่า ข้าพเจ้าจะเล่าปารายนธรรมบรรยาย ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ เท่านั่นเอง และที่ตรัสคราวนั้น จะมีทํานองเสียงอย่างไร เรารู้ไปไม่ถึง แต่ก็คือไม่ใช่ทํานองอย่างของพราหมณ์ เพียงแต่เป็นเชิงเทียบเคียงล้อ คําล้อความดังที่ว่าแล้ว

เรื่องที่มีการใช้คําจําพวก “-คาย-” “-คีต-” “-คีติ-” ในเชิง เทียบเคียงเลียนค่าล้อความของพราหมณ์อย่างนี้ มีอีกไม่มาก ล้วนเป็นเรื่องของการที่พระพุทธเจ้าทรงเผชิญและผจญพราหมณ์ เช่นที่ตรัสคําว่า "คาถาภิคีต” ซึ่งก็พึงเข้าใจตามนัยที่พูดไปแล้ว*

ทีนี้ก็มาถึงคําสําคัญคุมท้าย คือ สังคายนา และสังคีติ ซึ่ง เป็นค่าที่ใช้ในความหมายพิเศษ ที่ว่าสวดพร้อมกันเป็นการแสดง ความยอมรับเป็นมติอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างเรื่องที่ว่า หลังจาก พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๓ เดือน พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์มาประชุมกัน โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานและซักถาม ฟังพระอานนท์และพระอุบาลี วิสัชนา บอกเล่า สาธยายพระธรรม วินัย ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนแสดงไว้ บัญญัติไว้ เมื่อตรวจสอบ ทวนทานจบ ยอมรับกันแล้ว ที่ประชุมทั้งหมดก็สวดค่าความที่ ยอมรับแล้วนั้นพร้อมกัน เรียกว่าสังคายนา คือร้อยเรียงรวมไว้ โดย ถือเป็นการตั้งเป็นแบบแผนที่ยุติแล้ว เป็นการสาธยายพร้อมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวของที่ประชุมทั้งหมด แต่จะสวดว่าเป็นทํานอง เสียงอย่างไรที่สมควรแก่พระสงฆ์นั้น ไม่อาจทราบแน่นอนได้

_______________________________
* การจัดนําคําว่า มูลคีติ อนุติ สังคีติ มาใช้ในการอธิบายธรรม จึงดูในคัมภีร์เนตติปกรณ์

(ยังมีต่อ..)

หน้า: [1] 2 3 ... 10