ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มีพระสูตร ใดที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสแสดงว่า พ่อแม่ คือ พระอรหันต์ของบุตรคร้า...  (อ่าน 14679 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

มีพระสูตร ใดที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสแสดงว่า พ่อแม่ คือ พระอรหันต์ของบุตรคร้า...

คือมีความสงสัย คงต้องให้ผู้ช่ำชอง หาหลักฐานยืนยันหน่อย ว่า พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสแสดง

ว่า พ่อแม่ คือ พระอรหันต์ของบุตร

 เคยได้ยินแต่ นิทานจีน คร้า... ว่า มีคนต้องกราบไหว้พระอรหันต์ แล้วก็เที่ยวแสวงหา จนกระทั่งพบ

พระอรหันต์รูปหนึ่ง ท่านบอกว่า แค่แต่เพียงมาเพื่อกราบเพื่อไหว้ ให้กลับไปที่บ้าน จะเห็นพระอรหันต์

ออกมายืนต้อนรับ ใส่รองเท้าิผิดข้าง ใส่เสื้อคลุมกลับด้าน ที่ด้านยินก็เรื่องนี้ นะคร้า... แต่ไม่ใช่พระสูตร

ที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสแสดงไว้ คร้า... ใครพอรู้ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยนะคร้า...

ขอบคุณคร้า ....

 :c017:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28542
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พ่อ-แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก จริงหรือไม่ ในชีวิตอยากทำบุญกับพระอรหันต์จริงๆสักครั้ง

ถามโดยคุณGzone
ตอนนี้เริ่มเห็นความสำคัญกับการทำบุญ ให้ทานมากขึ้นเป็นลำดับ ด้วยการชี้แนะจากผู้รู้,บัณทิต ,เพื่อนๆในลานธรรมแห่งนี้ อยากทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับการทำบุญ ให้ทาน โดยเฉพาะกับพ่อ-แม่ไว้เช่นใด และคำกล่าวที่ว่า พ่อ-แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก พระองค์ทรงแสดงธรรมไว้ด้วยใช่หรือไม่ รวมถึงน้ำหนักของการทำบุญ ทำทาน และขั้นตอนต่างๆโดยละเอียด ขอรบกวนท่านที่ชำนาญพระไตรปิฏกกรุณาช่วยทำลิงค์ให้ด้วยครับ จักเป็นพระคุณอย่างสูง

ตอบโดย คุณ สาราณียธรรม
คุณGzoneศึกษา กระทู้เก่าของผมที่ผมตั้งเอาไว้ นะครับ
ธรรมะ วันแม่แห่งชาติ
กถาว่าด้วยการบำรุงมารดาบิดา
http://larndham.net/...showtopic=12637


ตอบโดย คุณ สาราณียธรรม ก็ไม่ถึงขนาดว่า เป็น "พระอรหันต์" อ่ะนะครับ
ใน โสณนันทชาดก มีข้อข้อความหนึ่งแสดงไว้ว่า "เป็นผู้ควรรับของคำนับของบุตร" จึงเป็นการเปรียบเสมือนบิดามารดาเป็นอรหันต์ของบุตร นั้นเอง


ศึกษา โสณนันทชาดก
http://84000.org/tip...28&A=943&Z=1157
*พ่อแม่เป็นพระอรหันต์โดยเทียบเคียงนะครับ เนื่องจากเป็นผู้ควรต่อการคำนับของบุตร
ไม่ใช่พระอรหันต์โดยคุณธรรมอันเป็นเนื้อนาบุญของโลกจริงๆ อย่าปะปนกันนะครับ


รวมถึงน้ำหนักของการทำบุญ ทำทาน และขั้นตอนต่างๆโดยละเอียด
--- ศึกษาพระไตรปิฎก และ หนังสืออธิบายขยายความ ดังนี้.--

เวลามสูตร
http://84000.org/tip...php?B=23&A=8336

ทักขิณาวิภังคสูตร
http://84000.org/tip...php?B=14&A=9161

ทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก อาจารย์ ประณีต ก้องสมุทร
http://84000.org/tip...k/bookpn01.html


*ขอให้อ่านให้จบ ทุกๆ links เลยนะครับ*

ที่มา  http://larndham.org/index.php?/topic/20146-พ่อ-แม่เป็นพระอรหันต์ของลูก-จ/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28542
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
กถาว่าด้วยการบำรุงมารดาบิดา

มาตาปิตุอุปฏฺฐานคาถา


สตรีผู้ยังบุตรให้เกิด ชื่อว่า มารดา.

บุรุษผู้ยังบุตรให้เกิด ชื่อว่า บิดา.

บรรดามารดาบิดาเหล่านั้น มารดาเท่านั้น เป็นผู้ทำกิจที่ทำได้ยาก; เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นดาบสชื่อโสณบัณฑิต

เมื่อจะประกาศความที่มารดาเป็นผู้ทำกิจที่ทำได้ยากแด่พระราชาชมพูทวีปทั้งสิ้น

จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ไว้ใน **โสณนันทชาดก สัตตินิบาตว่า

** โสณนันทชาดก >>
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=28&A=943&Z=1157&pagebreak=0


[อุปการคุณของมารดา]

"มารดาหวังผลคือบุตร จึงนอบน้อมแก่เทวดา และไต่ถามถึงฤกษ์ ฤดูและปีทั้งหลาย

เมื่อมารดานั้นมีระดู ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ก็ย่อมมี

เพราะสัตว์เกิดในครรภ์นั้นมารดาจึงแพ้ท้อง


เพราะเหตุนั้นบัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่าเป็นผู้มีใจดี

มารดาบริหารครรภ์อยู่หนึ่งปีหรือหย่อนกว่าปีแล้วจึงคลอด เหตุนั้น

บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่าชนยนตีและชเนตตี ผู้ยังบุตรให้เกิด

มารดาย่อมปลอบบุตรผู้ร้องไห้อยู่ให้รื่นเริง ด้วยการให้ดื่มน้ำนมบ้าง

ด้วยการขับกล่อมบ้าง ด้วยการอุ้มแนบไว้กับอกบ้าง เหตุนั้น

บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ปลอบบุตรให้รื่นเริง ต่อแต่นั้น

มารดาเห็นบุตรผู้ยังเป็นเด็กอ่อน


ไม่รู้จักเดียงสาเล่นอยู่ท่ามกลางสายลมและแสงแดดอันกล้าก็เข้ารับขวัญ

เพราะเหตุนั้นบัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า โปเสนตี ผู้เลี้ยงดูบุตร

มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์แม้ทั้งสองฝ่าย คือ

ทรัพย์ของมารดาและทรัพย์ของบิดาเพื่อบุตรนั้น ด้วยตั้งใจว่า

ทรัพย์ทั้งสองฝ่ายพึงเป็นของบุตรแห่งเรามารดายังบุตรให้ศึกษาดังนี้ว่า


อย่างนี้ซิลูกอย่างโน้นซิลูก ย่อมลำบากเมื่อบุตรกำลังรุ่นหนุ่มคะนอง

มารดาย่อมคอยมองดูบุตรผู้หลงเพลิดเพลินในภรรยาผู้อื่น !

จนพลบค่ำก็ยังไม่กลับมา ย่อมเดือดร้อนด้วยประการฉะนี้...


[มารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร]

อีกอย่างหนึ่ง มารดาบิดาทั้ง๒นั้น ท่านเรียกว่า "พรหมบุรพเทพ บุรพาจารย์

และอาหุไนยบุคคล"ของบุตร. เปรียบเหมือนท้าวมหาพรหม ย่อมไม่ละภาวนาทั้ง๔ในหมู่สัตว์

ฉันใด; มารดาบิดาก็มิได้ละภาวนาทั้ง๔ในหมู่สัตว์ฉันนั้น.

จริงอยู่เมื่อบุตรอยู่ในท้อง, มารดาบิดานั้น เกิดเมตตาจิตในบุตรว่า

"เมื่อไหร่หนอเราจึงจักเห็นลูกน้อย ไม่มีโรค ? "


อนึ่ง ในการใด บุตรนั้นยังอ่อน นอนหงายอยู่

ถูกสัตว์ทั้งหลายมีเล็นมเป็นต้นกัด หรือถูกการนอนเป็นทุกข์บีบคั้น ร้องไห้อยู่,

ในกาลนั้น ท่านทั้ง ๒ ก็เกิดความกรุณาขึ้น เพราะได้สดับเสียงบุตรนั้น. อนึ่ง

ในเวลาบุตรวิ่งมาวิ่งไปเล่นได้ก็ดี ในเวลาบุตรตั้งอยู่ในวัยงาม(น่าดูน่าชม)ก็ดี

ท่านทั้ง ๒ ก็มีิจิตอ่อนโยน บันเทิง เบิกบาน เพราะมองดูหน้าบุตรน้อย, ในกาล

ท่านทั้ง ๒ ย่อมบันเทิง(มุทิตา).


อนึ่ง ในกาลใด บุตรนั้นทำการเลี้ยงภริยา แยกครองเรื่อนในกาลนั้น ท่านทั้ง ๒

ก็เกิดความมัธยัสถ์ขึ้นว่า "บัดนี้ ลูกน้อยของเรา

อาจจะเพื่อจะเีลี้ยง(ตน)ได้โดยธรรมดา(ตามลำพัง)ของตน," ในกาลนั้น

ท่านทั้งสองได้ความวางเฉยๆ(อุเบกขา).

มารดาบิดาทั้ง ๒ นั้น ท่านเรียกว่า พรหม เพราะท่านมีความประพฤติเช่นกับพรหม

เพราะได้พรหมวิหารทั้งหลายครบ ๔ อย่างตามกาล ด้วยประการฉะนี้.


[มารดาบิดาเป็นบุรพเทพบุตร]

เหมือนอย่างว่า วิสุทธิเทพกล่าวคือพระขีณาสพ ไม่คำนึงความผิดอันพวกชนพาลทำแล้ว

หวังแต่ความเสื่อมไปแห่งความพินาศและความเกิดขึ้นแห่งความเจริญ

ปฎิบัติเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเขาโดยส่วนเดียวแท้ๆ.

และย่อมทำความที่สักการะทั้งหลายของพวกเขามีผลอนิสงค์มาก เพราะเป็นทักษิไณยบุคคล


ฉันใด; มารดาและบิดาแม้นั้น ก็ฉันนั้น

ไม่คำนึงถึงความผิดของบุตรทั้งหลายปฎิบัติเพื่อประโยชน์สุจแก่บุตรเหล่านั้นโดยส่วนเดียวเท่านั้น

เป็นผู้สมควรแก่ทักษิณา นำความที่สักการะของบุตรเหล่านั้นอันเขาทำแล้วในตน

มีผลอนิสงค์มาก; เพราะฉะนั้น ท่านทั้ง ๒ นั้นจึงชื่อว่า เทพ

เพราะเป็นผู้มีความประพฤติเช่นดัง เทพ.

อนึ่ง เพราะบุตรทั้งหลายรู้จักเทพเหล่าอื่น ด้วยสามารถท่านทั้ง ๒

นั้นก่อนแล้วปฎิบัติอยู่ ย่อมได้รับผลแห่งการปฎิบัติ; ฉะนั้นสมมติเทพ อุปัตติเทพ

และวิสุทธิเทพเหล่าอื่น จึงชื่อว่า ปัจฉาเทพ. ส่วนมารดาบิดา ท่านเรียกว่า บุรเทพ

เพราะท่านเป็นผู้มีอุปาการะก่อนกว่าเทพเหล่าอื่น.




[มารดาบิดาเป็นบุรพาจารย์ของบุตร]

อนึ่ง เพราะมารดาและบิดาเหล่านั้น ยังบุตรให้ยึดถือ ให้สำเหนียกอยู่

จำเดิมแต่เวลาบุตรเกิด ด้วยนัยเป็นต้นว่า "จงนั่งอย่างนี้ , ยืนอย่างนี้" และว่า

"คนนี้ เจ้าควรเรียกว่า "พ่อ" ต่อมาภายหลัง

อาจารย์เหล่าอื่นจึงให้ศึกษาศิลปะทั้งหลายมีศิลปะในเพราะช้างเป็นต้น,

อาจารย์เหล่าอื่านให้สรณะและศีล, เหล่าอื่นให้บรรพชา

เหล่าอื่นให้เล่าเรียนพุทธวจนะ, เหล่าอื่นให้อุปสมบท, เหล่าอื่นให้บรรลุมรรคผล;

อาจารย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ปัจฉาจารย์ ด้วยประการดังนี้; ฉะนั้น

มารดาบิดา ท่านจึงเรียกว่าบุรพาจารย์ เพราะเป็นอาจารย์ก่อนอาจารย์ทั้งหมด.


[มารดาบิดาเป็นอาหุไนยบุคคลของบุตร]

อนึ่ง เพราะมารดาบิดานั้น

ควรซึ่งวัตถุมีข้าวและน้ำเป็นต้นอันบุตรทั้งหลาวนำมาบูชา ต้อนรับ จัดแต่ง

คือเป็นผู้สมควรเพื่ออันรับข่าวและน้ำเป็นต้นนั้น; ฉะนั้น มารดาบิดา

ท่านจึงเรียกว่าเป็น อาหุไนยบุคคล (ของบุตร).


ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค จึงตรัสไว้ใน **สพรหมสูตร ในติกนิบาต และ จตุกกนิบาต

อังคุตตรนิกาย ว่า "ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหมนั่น เป็นชื่อของมารดาบิดา,

คำว่าบุรพเทพ...คำว่าบุรพาจารย์... คำว่า อาหุไนยบุคคลนั่น เป็นชื่อของมารดาบิดา,

ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร? ภิกษุทั้งหลาย เพราะมารดาบิดามีอุปาการะมาก บำรุงเลี้ยง

แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย. "

พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสคำไวยากรณ์นี้, พระสุตตผู้พระศาสดา

ครั้นตรัสคำไวยากรณ์นี้แล้ว ภายหลังได้ตรัสคำนิคมนั่นอื่นอีกต่อไปว่า

"มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์ประชา (บุตร) ท่านเรียกวาพรหมบุรพาจารย์

และอาหุไนยบุคคลของบุตรทั้งหลาย. "


** สพรหมสูตร >>
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=1879&Z=1897&pagebreak=0


[เรื่องภิกษุเลี้ยงมารดา]

ดังได้สดับมา บุตรเศรษฐีคนหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ฟังเทศนาของพระศาสดาแล้ว

ได้บรรพชาอุปสมบท เล่าเรียนธรรมวินัยครบ ๕ ปีแล้ว

จึงเรียนเอากัมมัฎฐานในสำนักเรียนของพระอุปัชฌาชย์นั้นต่อ

ออกจากพระเชตวันไปยังปัจจันตคาม อาศัยบ้านนั้นอยู่ในป่า. ส่วนมารดาบิดาของเธอ

จำเดิมแต่เวลาที่เธอบวชแล้ว ทรัพย์สมบัติก็ร่อยหรอลงโดยลำดับ

ถึงความเป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง มีมือถือภาชนะเที่ยวไปขอทาน

อาศัยฝาเรือนของชนอื่นอยู่.

ก็ในกาลต่อมา ภิกษุนั้น ได้สดับว่า มารดาบิดาของตนประสพทุกข์ จึงคิดว่า

"เราแม้พยายามอยู่ในป่าสิ้น ๑๒ ปี ก็ไม่อาจบรรลุมรรคและผลได้, เราเป็นคนอาภัพ,

เราจะต้องการอะไรด้วยการบรรพชา, เราเป็นคฤหัสถ์ เลี้ยงมารดาบิดาให้ทาน

ก็จักเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้าได้" ดังนี้แล้ว ออกจากป่า

ถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ คิดว่า "วันนี้

เราเฝ้าพระศาสดาฟังธรรมแล้วพรุ่งนี้จึงจักเยี่ยมมารดาบิดาแต่เช้าตรู่" ดังนี้แล้ว

เข้าไปยังพระเชตวัน ก็ในวันนั้น พระศาสดา ทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่ง

ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งปฐมมรรคของภิกษุนั้นแล้ว, เมื่อเธอมานั่งแล้ว

ทรงพรรณนาคุณของมารดาบิดาด้วย **มาตุโปสกสูตร. เธอฟังพระสูตรนั้นแล้ว คิดว่า

"เรามาด้วยตั้งใจว่า จักเป็นคฤหัสถ์เลี้ยงมารดาบิดาม, แต่พระศาสดาตรัสว่า

"บุคคลเป็นบรรพชิต ก็ชื่อว่าอุปการะมารดาบิดาได้;"

ถ้าเราไม่เฝ้าพระศาสดาแล้วไปเสีย พึงเสื่อมจากการบรรพชาเห็นปานนี้ ก็บัดนี้

เราจักเลี้ยงมารดาบิดานั้นทั้งบรรพชิต. "


** มาตุโปสกสูตร >>
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=5871&Z=5893


ในวันรุ่งขึ้น เธอถือสลากยาคูและสลากภัตอันถึงแล้วแก่ตนเข้าไปบ้าน

ถือเอายาคูและภัตให้แก่มารดาบิดาแล้ว ส่วนตนเที่ยวบิณฑบาต ทำคัตกิจแล้ว

ทำที่อยู่สำหรับมารดาบิดานั้น จำเดิมแต่นั้น ก็ปรนนิบัติมารดาบิดาเนืองนิตย์.

ก็เธอให้ปักขิกภัตเป็นต้น อันตนได้แล้วแก่มารดาบิดานั้นแล้ว

ส่วนตนเที่ยวบิณฑบาตเมื่อได้บิณฑบาตก็บริโภค, เมื่อไม่ได้ ก็ไม่บริโภค.

ก็วันที่ได้ภิกษาของท่าน มีน้อย, วันที่ไม่ได้ มีมากกว่า.

เธอได้ผ้าวัสสาวาสิก(ผ้าจำนำพรรษา) หรือผ้าชนิดใดชนิดหนึ่งแม้อื่น

ก็ให้แก่มารดาบิดานั้นนั่นแล ทำการปะผ้าท่อนเก่าที่มารดาบิดานั้นใช้สอยแล้ว

ย้อมใช้สอยเอง.

ทานถูกความกังวลในการบำรุงมารดาบิดาบีบคั้นอย่างนั้น ได้เป็นผู้ซูบผอม

มีผิวพรรณหม่นหมองแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายพบเธอ จึงถาม สดับความนั้นแล้ว ติเตียนเธอแล้วทูลแด่พระศาสดา.

พระศาสดา รับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ทั้งทรงทราบอยู่ ก็รับสั่งให้ทูลความนั้น

ประทานสาธุการ พระประสงค์จะทรงประกาศบุพพจริยาของพระองค์ จึงตรัสถามว่า "ภิกษุ

คนทั้งหลายที่เธอเลี้ยงเป็นอะไรแก่เธอ? " ภิกษุ ทูลว่า

"เป็นมารดาบิดาของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. "


ทีนั้น พระศาสดา ประทานสาธุการ ๓ ครั้งแก่เธอว่า "สาธุ สาธุ สาธุ"

แล้วตรัสว่า "เธอตั้งอยู่ในมรรคาที่เราดำเนินแล้ว, แม้เราเมื่อประพฤติบุพพจริยา

ก็เลี้ยงดูมารดาบิดาแล้ว" ตรัส **สุวรรณสามชาดก ในมหานิบาตแล้ว ตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า การเลี้ยงดูมารดาบิดา เป็นวงศ์ของบัณฑิตทั้งหลาย"

ดังนี้แล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย

ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้น ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว.

** สุวรรณสามชาดก >>
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=28&A=3201&Z=3441&pagebreak=0


"นรชนใด เลี้ยงมารดาหรือบิดาโดยธรรม,

แม้เทพยดาทั้งหลายก็ย่อมแก้ไขนรชนผู้เลี้ยงมารดาบิดานั้น.

นรชนใดเลี้ยงมารดาหรือบิดาโดยธรรม,

นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมสรรเสริญนรชนนั้นในโลกนี้นี่เอง,

เขาละไปแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์."


http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/item.php?book=28&item=522&items=1&preline=0


อ้างอิง
คัมภีร์ มังคลัตถทีปนี(พ.ศ. 2067) ผลงานรจนาของ พระสิริมังคลาจารย์  ปราชญ์แห่งล้านนา ผู้รจนา
จากกระทู้ ธรรมะ วันแม่แห่งชาติ กถาว่าด้วยการบำรุงมารดาบิดา  โดย คุณสาราณียธรรม   

เข้าอ่านทั้งหมดและร่วมแสดงความเห็น >>
http://larndham.net/index.php?showtopic=12637

ที่มา ก๊อป มาจาก 84000
ที่มา  http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=413&sid=1173ad0e95e9c4945bc45657f0390ee1
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28542
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
มงคลที่ ๑๑.การบำรุงบิดามารดา
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง เอตัง มังคะละมุตตะมัง

มงคล 38 ประการ

ท่านว่าพ่อแม่นั้น เปรียบได้เป็นทั้ง ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก ความหมายโดยละเอียดมีดังต่อไปนี้คือ

ที่ว่าเป็นครูของลูก เพราะว่าท่านได้คอยอบรมสั่งสอนลูก เป็นคนแรกก่อนคนอื่นใดในโลก
ที่ว่าเป็นเทวดาของลูก เพราะว่าท่านจะคอยปกป้อง คุ้มครอง เลี้ยงดู ประคบประหงมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก บำรุงให้เติบใหญ่เป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกในทุกด้าน


ที่ว่าเป็นพรหมของลูก เพราะว่าท่านมีพรหมวิหาร ๔ นั่นก็คือ มีเมตตา หมายถึงความเอ็นดู ความปรารถนาดีต่อลูกในทุกๆด้าน ไม่มีที่สิ้นสุด มีกรุณา หมายถึงให้ความกรุณาต่อลูก ลูกอยากได้อะไรก็หามาให้ลูก ให้การศึกษาเล่าเรียน ส่งเสียเท่าที่มีความสามารถจะให้ได้ มีมุทิตา หมายถึงความรักที่ยอมสละได้แม้ชีวิตของตัวเองเพื่อลูก ยอมเสียสละได้ทุกอย่าง และมีอุเบกขา หมายถึงการวางเฉย ไม่ถือโกรธเมื่อลูกประมาท ซน ทำผิดพลาดเพราะความไร้เดียงสา หรือเพราะความไม่รู้

ที่ว่าเป็นอรหันต์ของลูก เพราะว่าท่านมีคุณธรรม ๔ ประการอันได้แก่
เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อลูก คืออุปการะเลี้ยงดูมาด้วยความเหนื่อยยาก กว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่
เป็นผู้มีพระเดชพระคุณต่อลูก คือให้ความอบอุ่นเลี้ยงดู ปกป้องจากภยันตรายต่างๆ นานา
เป็นเนื้อนาบุญของลูก คือลูกเป็นส่วนหนึ่งของกรรมดีที่พ่อแม่ได้ทำไว้ และเป็นผู้รับผลบุญ ที่พ่อแม่ได้สร้างไว้แล้วทางตรง
เป็นอาหุไนยบุคคล คือเป็นเหมือนพระที่ควรแก่การเคารพนับถือและรับของบูชา เพื่อเทอดทูนไว้เป็นแบบอย่าง
การทดแทนพระคุณบิดามารดาท่าน สามารถทำได้ดังนี้


ระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็นธุระเรื่องการงานให้ท่าน ดำรงวงศ์ตระกูลให้สืบไปไม่ทำเรื่องเสื่อมเสีย รวมทั้งประพฤติตนให้ควรแก่การเป็นสืบทอดมรดกจากท่าน ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่าน ส่วนการเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าไว้ดังนี้

๑.ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือพยายามให้ท่านมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อในเรื่องการทำดี
๒.ถ้าท่านยังไม่มีศีล ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศีล คือพยายามให้ท่านเป็นผู้รักษาศีล ๕ ให้ได้
๓.ถ้าท่านเป็นคนตระหนี่ ให้ท่านถึงพร้อมด้วยการให้ทาน คือพยายามให้ท่านรู้จักการให้ด้วยเมตตาโดยไม่หวังผลตอบแทน
๔.ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยปัญญา คือพยายามให้ท่านหัดนั่งทำสมาธิภาวนาให้ได้


ที่มา  http://www.fungdham.com/mongkhol38/mongkhol38.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28542
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
บทสวดเคารพพระคุณมารดาบิดา
(ทำนองสรภัญญะ)

(นำ) อะนันตคุณะสัมปันนา
(รับพร้อมกัน) ชะเนตติชะนะกา อุโภ
มัยหัง มาตาปิตูนังวะ             ปาเท วันทามิ สาทะรัง

(นำ) ข้าขอนบชนกคุณ
(รับพร้อมกัน) ชนนีเป็นเค้ามูล
                                                 
ผู้กอบนุกูลพูน                   ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม                บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไร ๆ                บ คิดยากลำบากกาย
ตรากทนระคนทุกข์              ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย              จนได้รอดเป็นกายา
เปรียบหนักชนกคุณ              ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา                 ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เหลือที่จะแทนทด               จะสนองคุณานันต์
แท้ปูชนียอัน                     อุดมเลิศประเสริฐคุณ

(กราบ)

ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
      : หนังสือสวดมนต์ไหว้พระ
      : หนังสืออภิมหามงคลธรรม
ที่มา  http://www.tru.ac.th/culture2010/index.php?name=news&file=readnews&id=29



คำบูชาคุณพ่อ-คุณแม่
" มัยหัง มาตาปิตุนังวะ ปาเทสุ วันทามิ สาทะรัง "
บุคคลทั้งสองท่านนี้เปรียบเหมือนพระอรหันต์ที่สูงส่งที่สุด เราควรบูชาท่านก่อนสิ่งอื่นใด

ที่มา  http://apichoke.com/index.php?topic=25843.375


อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ เทวทูตวรรคที่ ๔
๑.พรหมสูตร
เทวทูตวรรควรรณนาที่ ๔ 
             
               อรรถกถาพรหมสูตรที่ ๑               
               พึงทราบวินิจฉัยในพรหมสูตรที่ ๑ แห่งเทวทูตวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า อชฺฌาคาเร ได้แก่ ในเรือนของตน.
               บทว่า ปูชิตา โหนฺติ ความว่า มารดาบิดาเป็นผู้อันบุตรปฏิบัติบำรุง ด้วยสิ่งของที่อยู่ในเรือน
               พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศตระกูลที่บูชามารดาบิดา ว่าเป็นตระกูลมีพรหม (ประจำบ้าน) โดยมีมารดาบิดา (เป็นพรหม) อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงข้อที่มารดาบิดาเหล่านั้น เป็นบุรพาจารย์เป็นต้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า สปุพฺพาจริยกานิ (มีบุรพาจารย์) ดังนี้.


               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อให้สำเร็จความเป็นพรหมเป็นต้นแก่ตระกูลเหล่านั้น.
               บทว่า พหุการา ได้แก่ มีอุปการะมากแก่บุตรทั้งหลาย.
               บทว่า อาปาทกา ได้แก่ ถนอมชีวิตไว้. อธิบายว่า มารดาบิดาถนอมชีวิตบุตร คือเลี้ยงดู ประคบประหงม ได้แก่ให้เป็นไปโดยต่อเนื่องกัน.
               บทว่า โปสกา ความว่า เลี้ยงดูให้มือเท้าเติบโต ให้ดื่มเลือดในอก.
               บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร ความว่า เพราะชื่อว่าการที่บุตรทั้งหลายได้เห็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ ในโลกนี้เกิดมีขึ้น เพราะได้อาศัยมารดาบิดา เพราะฉะนั้น มารดาบิดาจึงชื่อว่าเป็นผู้แสดงโลกนี้.
 
               คำว่า พรหม ในบทคาถาว่า พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร นี้เป็นชื่อของท่านผู้ประเสริฐ. พระพรหมจะไม่ละภาวนา ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาฉันใด มารดาบิดาทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะไม่ละภาวนา ๔ ในบุตรทั้งหลาย
               ภาวนา ๔ เหล่านั้น พึงทราบตามระยะกาลดังต่อไปนี้.
               อธิบายว่า ในเวลาที่บุตรยังอยู่ในท้อง มารดาบิดาจะเกิดเมตตาจิตอย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ เราจะได้เห็นบุตรน้อยปลอดภัย มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบบริบูรณ์.


               แต่เมื่อใดบุตรน้อยนั้นยังเยาว์ นอนแบเบาะ มีเลือดไรไต่ตอมหรือนอนกระสับกระส่าย ส่งเสียงร้องจ้า. เมื่อนั้น มารดาบิดาครั้นได้ยินเสียงบุตรนั้นจะเกิดความกรุณา.
               แต่ในเวลาที่บุตรวิ่งเล่นไปมา หรือในเวลาที่บุตรตั้งอยู่ในวัยหนุ่มวัยสาว มารดาบิดามองดูแล้วจะมีจิตอ่อนไหว บันเทิง เริงใจ เหมือนกับสำลีและปุยนุ่นที่เขายีตั้ง ๑๐๐ ครั้ง หย่อนลงในฟองเนยใส. เมื่อนั้น มารดาบิดาจะมีมุทิตา (จิต).
               แต่เมื่อใด บุตรเริ่มมีครอบครัวแยกเรือนออกไป เมื่อนั้น มารดาบิดาจะเกิดความวางใจว่า บัดนี้ บุตรของเราจะสามารถจะเป็นอยู่ได้ตามลำพัง เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เวลานั้น มารดาบิดาจะมีอุเบกขา.

               ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร ดังนี้.
               บทว่า ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร ความว่า แท้จริง มารดาบิดาทั้งหลาย จำเดิมแต่บุตรเกิดแล้ว ย่อมให้บุตรเรียน ให้บุตรสำเหนียกว่า จงนั่งอย่างนี้ จงยืนอย่างนี้ จงเดินอย่างนี้ จงนอนอย่างนี้ จงเคี้ยวอย่างนี้ จงกินอย่างนี้ คนนี้บุตรควรเรียกพ่อ คนนี้ควรเรียกพี่ คนนี้ควรเรียกน้อง บุตรควรทำสิ่งนี้ ไม่ควรทำสิ่งนี้ ควรเข้าไปหาคนชื่อโน้น คนชื่อโน้นไม่ควรเข้าไปหา.
 

               ในเวลาต่อมา อาจารย์เหล่าอื่นจึงให้ศึกษาศิลปะเรื่องช้าง ศิลปะเรื่องม้า ศิลปะเรื่องรถ ศิลปะเรื่องธนูและการนับด้วยนิ้วมือเป็นต้น.
               อาจารย์เหล่าอื่นให้สรณะ อาจารย์อื่นให้ตั้งใจอยู่ในศีล อาจารย์อื่นให้บรรพชา อาจารย์อื่นให้เรียนพุทธพจน์ อาจารย์อื่นให้อุปสมบท อาจารย์อื่นให้บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.
               ดังนั้น อาจารย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด จึงชื่อว่าเป็นปัจฉาจารย์.
 
               ส่วนมารดาบิดาเป็นอาจารย์ก่อนกว่าทุกอาจารย์ (บุรพาจารย์) ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุจฺจเร แปลว่า เรียก คือกล่าว.
               บทว่า อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ความว่า ย่อมควรได้รับข้าวน้ำเป็นต้นที่บุตรจัดมาเพื่อบูชา เพื่อต้อนรับ คือเป็นผู้เหมาะสมเพื่อจะรับข้าวและน้ำเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อาหุ เนยฺยา จ ปุตฺตานํ ดังนี้.
               บทว่า ปชาย อนุกมฺปกา ความว่า มารดาบิดาย่อมฟูมฟักรักษาบุตรของตน แม้โดยการฆ่าชีวิตของสัตว์เหล่าอื่น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปชาย อนุกมฺปกา ดังนี้.


               บทว่า นมสฺเสยฺย แปลว่า ทำความนอบน้อม.
               บทว่า สกฺกเรยฺย ความว่า พึงนับถือโดยสักการะ.
               บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงสักการะนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อนฺเนน ดังนี้.
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเนน ได้แก่ ข้าวยาคู ภัตรและของควรเคี้ยว.

               บทว่า ปาเนน ได้แก่ ปานะ ๘ อย่าง.
               บทว่า วตฺเถน ได้แก่ ผ้าสำหรับนุ่ง และผ้าสำหรับห่ม.
               บทว่า สยเนน ได้แก่ เครื่องรองรับ คือเตียงและตั่ง.
               บทว่า อุจฺฉาทเนน ได้แก่ เครื่องลูบไล้ สำหรับกำจัดกลิ่นเหม็น ทำให้มีกลิ่นหอม.
               บทว่า นหาปเนน ความว่า ด้วยการให้อาบรดตัวด้วยน้ำอุ่นในหน้าหนาว ด้วยน้ำเย็นในหน้าร้อน.
               บทว่า ปาทานํ โธวเนน ความว่า ด้วยการให้ล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นและน้ำเย็น และด้วยการทาด้วยน้ำมัน.
               บทว่า เปจฺจ คือ ไปสู่ปรโลก.
               บทว่า สคฺเค ปโมทติ ความว่า ก่อนอื่นในโลกนี้ มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตเห็นการปรนนิบัติในมารดาบิดา (ของเขา) แล้ว ก็สรรเสริญเขาในโลกนี้แหละ เพราะมีการปรนนิบัติเป็นเหตุ. ก็บุคคลผู้บำรุงมารดาบิดานั้น ไปสู่ปรโลกแล้วสถิตอยู่ในสวรรค์ ย่อมร่าเริงบันเทิงใจด้วยทิพย์สมบัติดังนี้.


               จบอรรถกถาพรหมสูตรที่ ๑               

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=470


หมวยนีย์ถามได้ดีครับ ผมคงหาคำตอบมาตอบได้เท่านี้ ไม่รู้จะถูกใจเพื่อนๆบ้างรึเปล่า


สรุปครับ มีพุทธพจน์ ๒ สูตรที่น่าสนใจ แต่ไม่ได้เปรียบพ่อแม่เป็นอรหันต์ คือ

มงคลสูตร
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง เอตัง มังคะละมุตตะมัง
(มงคลที่ ๑๑.)การบำรุงบิดามารดาเป็นมงคลสูงสุด


พรหมสูตร
พฺรหฺมาติ มาตาปิตโร
นี้เป็นชื่อของท่านผู้ประเสริฐ. พระพรหมจะไม่ละภาวนา ๔ อย่าง คือ
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาฉันใด มารดาบิดาทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน
จะไม่ละภาวนา ๔ ในบุตรทั้งหลาย (พ่อแม่เป็นพรหมของลูก)

 ;) :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 01, 2011, 03:08:41 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28542
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๗. พรหมสูตร

     [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใด บุตรบูชามารดาและบิดาอยู่ในเรือนของตน ตระกูลนั้นชื่อว่ามีพรหม มีบุรพเทวดา มีบุรพาจารย์ มีอาหุไนยบุคคล

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย
     คำว่าพรหม เป็นชื่อของมารดาและบิดา
     คำว่าบุรพเทวดา เป็นชื่อของมารดาและบิดา
     คำว่าบุรพาจารย์ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
     คำว่าอาหุไนยบุคคล เป็นชื่อของมารดาและบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร
     เพราะมารดาและบิดาเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ถนอมเลี้ยง เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร ฯ


     มารดาและบิดาเรากล่าวว่า เป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ เป็นอาหุไนยบุคคลของบุตร เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร

     เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตพึงนอบน้อม และพึงสักการะมารดาและบิดาทั้งสองนั้น
     ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า
     บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ บุคคลนั้นในโลกนี้ทีเดียว
     เพราะการปฏิบัติในมารดาและบิดาบุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ

       จบสูตรที่ ๗



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๖๔๓ - ๖๖๕๗. หน้าที่ ๒๙๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6643&Z=6657&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=286

หมายเหตุ
พรหมสูตรนี้มีอยู่อีกที่(ข้อความเหมือนกัน) คือ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๔๖๙ - ๓๔๘๑. หน้าที่ ๑๕๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3469&Z=3481&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=470
ขอบคุณภาพจาก http://www.kalyanamitra.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28542
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ จตุกกนิบาต
พรหมสูตร

อรรถกถาพรหมสูตร
             
      ในพรหมสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
      บทว่า สพฺรหฺมกานิ ความว่า ชื่อว่า เป็นตระกูลมีผู้ประเสริฐที่สุด.
      บทว่า เยสํ ความว่า ของตระกูลเหล่าใด.
      บทว่า ปุตฺตานํ ความว่า อันบุตรทั้งหลาย ก็คำว่า ปุตตานํ นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในความหมายของตติยาวิภัตติ เพราะประกอบเข้ากับศัพท์ ปูชิต.
      บทว่า อชฺฌาคาเร ความว่า ในเรือนของตน.
      บทว่า ปูชิตา โหนฺติ ความว่า เป็นผู้ที่บุตรทั้งหลายปฏิบัติแล้ว ด้วยสิ่งของที่มีอยู่ในเรือน คือปรนนิบัติแล้วด้วยสิ่งที่พึงพอใจ และด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายและเป็นประโยชน์แก่การพูดจา.


      พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสรรเสริญตระกูลที่บุตรบูชามารดาบิดาว่า ชื่อว่าเป็นตระกูลที่มีพระพรหม อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงภาวะที่ตระกูลเหล่านั้นเป็นตระกูลที่น่าสรรเสริญยิ่งขึ้นไป จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า ชื่อว่ามีบุรพเทพ.

      บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อจะทรงให้มารดาบิดาเหล่านั้นสำเร็จความเป็นพรหมเป็นต้น ในข้อนั้นมีการอธิบายความให้แจ่มชัดดังต่อไปนี้.
      คำว่า พฺรหฺม เป็นชื่อของผู้ประเสริฐที่สุด อธิบายว่า มารดาและบิดาทั้งหลายจะไม่ละทิ้งภาวนา ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาในบุตรทั้งหลาย เหมือนท้าวมหาพรหมไม่ละทิ้งภาวนา ๔ อย่างฉะนั้น


      ภาวนา ๔ อย่างนั้นพึงทราบได้ในกาลนั้นๆ คือ
      เมื่อบุตรยังอยู่ในอุทร มารดาบิดาจะเกิดเมตตาจิตขึ้นว่า เมื่อไรหนอ เราจักได้เห็นบุตรน้อยไม่มีโรค มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบบริบูรณ์

      แต่เมื่อใด บุตรน้อยนั่นยังอ่อนนอนแบเบาะอยู่ ถูกไรหรือเรือดกัด หรือถูกการนอนไม่สบายบีฑา ร้องไห้สะอึกสะอื้นอยู่. เมื่อนั้น มารดาบิดาได้ยินเสียงบุตรแล้ว จะเกิดความกรุณาขึ้น.

      แต่เวลาบุตรวิ่งเล่นไปมา หรือเวลาอยู่ในวัยที่สวยงาม (รุ่นหนุ่มสาว) มารดาบิดามองดูลูกน้อยแล้ว จิตใจจะรื่นเริงบันเทิง เหมือนผ้าฝ้ายที่ฟอกแล้วร้อยครั้งที่หย่อนลงไปแล้วในฟองเนยใส. เมื่อนั้น มารดาบิดาจะมีมุทิตา.

      แต่เมื่อใด บุตรของมารดาบิดาเหล่านั้น รับหน้าที่เลี้ยงเมีย แยกเรือนไปอยู่ต่างหาก. เมื่อนั้น มารดาบิดาจะเกิดความมีใจเป็นกลางขึ้นว่า บัดนี้ บุตรน้อยของเราสามารถเลี้ยงชีพได้ตามธรรมดาของตนแล้ว. เมื่อเป็นอย่างนี้ ในเวลานั้น (มารดาบิดา) จะมีอุเบกขา.

      คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหมนี้เป็นชื่อของมารดาบิดา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะมารดาบิดาทั้งหลายเป็นเหมือนพระพรหม เหตุที่ได้พรหมวิหารทั้ง ๔ อย่าง ในบุตรทั้งหลายตามกาลเวลา ดังที่พรรณนามานี้แล.





เทพ ๓ เหล่า
               
              เทพ ๓ เหล่า คือ
                         สมมติเทพ (เทวดาโดยสมมติ) ๑
                         อุปปัตติเทพ (เทวดาโดยกำเนิด) ๑
                         วิสุทธิเทพ (เทวดาโดยความบริสุทธิ์) ๑


     ชื่อว่าเทพ ในคำว่า ปุพฺพเทวา นี้.
    บรรดาเทพ ๓ จำพวกเหล่านั้น กษัตริย์ผู้เป็นพระราชา ชื่อว่าสมมติเทพ เพราะว่ากษัตริย์ผู้เป็นพระราชาเหล่านั้นที่ชาวโลกเรียกกันว่าเทพ (และ) เทพี เป็นผู้ทรงข่มและทรงอนุเคราะห์ชาวโลกได้เหมือนเทพเจ้า.
     เหล่าสัตว์ที่อุบัติขึ้นในเทวโลก ตั้งแต่เทพชั้นจาตุมมหาราชิกาจนถึงภวัคคพรหม ชื่อว่าอุปปัตติเทพ.
     พระขีณาสพ ชื่อว่าวิสุทธิเทพ เพราะหมดจดจากกิเลสทั้งมวล.


     ในข้อนั้นมีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้.
     เหล่าสัตว์ชื่อว่าเทพ เพราะเล่น, สนุกสนาน, เฮฮา, รุ่งเรืองอยู่ และชนะฝ่ายตรงข้าม.
     บรรดาเทพ ๓ จำพวกเหล่านั้น วิสุทธิเทพประเสริฐกว่าเทพทุกเหล่า.

    วิสุทธิเทพเหล่านั้นมุ่งแต่ความเสื่อมไปแห่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และการเกิดขึ้นแห่งประโยชน์แก่เขาเหล่านั้นโดยส่วนเดียว ไม่คำนึงถึงความผิดที่พาลชนทำไว้เลย ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข โดยการประกอบพรหมวิหารธรรมตามที่กล่าวแล้ว และนำความที่สักการะมีผลมากและอานิสงส์มากมายมาให้ชนเหล่านั้น เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ฉันใด

     แม้มารดาบิดาทั้งหลายก็เช่นนั้นเหมือนกัน มุ่งแต่ความเสื่อมไปแห่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และการเกิดขึ้นแห่งประโยชน์แก่เขาเหล่านั้นโดยส่วนเดียว ไม่คำนึงถึงความผิดของบุตรทั้งหลาย เป็นทักขิไณยบุคคลผู้ยอดเยี่ยม ปฏิบัติอยู่เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพราะได้พรหมวิหารทั้ง ๔ อย่างโดยนัยที่ได้กล่าวมาแล้ว

    นำมาซึ่งความที่อุปการะที่บุตรทำแล้วในตนให้เป็นอุปการะมีผลานิสงส์มากมาย และมารดาบิดาเหล่านั้นเป็นเทพมาแต่ต้นทีเดียว เพราะมีอุปการะแก่บุตรเหล่านั้น ก่อนกว่าเทพทั้งมวล เพราะเหตุนี้ บุตรเหล่านั้นรู้จักเทพเหล่าอื่นว่าเป็นเทพ ให้เทพเหล่านั้นพอใจ เข้าไปนั่งใกล้เทพเหล่านั้น

     ครั้นรู้วิธีให้เทพพอใจแล้ว ปฏิบัติอยู่อย่างนั้น ก็ได้ประสบผลของข้อปฏิบัตินั้นด้วยอำนาจของมารดาบิดาเหล่านั้นก่อน ฉะนั้น
     เทพเหล่าอื่นนั้น จึงชื่อว่าเป็นปัจฉาเทพ (เทพองค์หลัง)





    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ปุพฺพเทวา นี้ เป็นชื่อของมารดาบิดาทั้งหลาย.
    บทว่า ปุพฺพาจริยา ได้แก่ เป็นอาจารย์คนแรก.
    อธิบายว่า มารดาบิดาเมื่อจะให้ลูกสำเหนียก ก็ให้เรียนให้สำเหนียกตั้งแต่ยังเล็กๆ ว่าจงนั่งอย่างนี้ จงเดินอย่างนี้ จงยืนอย่างนี้ จงนอนอย่างนี้ จงเคี้ยวอย่างนี้ จงกินอย่างนี้ คนนี้เจ้าควรเรียกพ่อ คนนี้ควรเรียกพี่ชาย น้องชาย คนนี้ควรเรียกพี่สาวน้องสาว สิ่งนี้ควรทำนะ สิ่งนี้ไม่ควรทำนะ ที่โน้นควรเข้าไปนะ ที่โน้นไม่ควรเข้าไปนะ ดังนี้.


     ต่อมา แม้อาจารย์อื่นๆ จึงจะให้ศึกษาศิลปะมีอาทิอย่างนี้ คือ การนับนิ้วมือ อาจารย์อื่นๆ ให้สรณะ ให้ตั้งอยู่ในศีล ให้บรรพชา ให้เรียนธรรม ให้อุปสมบท และให้บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ดังนั้น อาจารย์เหล่านั้นทั้งหมดจึงชื่อว่าเป็นปัจฉาจารย์ (อาจารย์คนหลัง).
     ส่วนมารดาบิดาชื่อว่าเป็นอาจารย์ก่อนกว่าทุกคน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ปุพฺพาจริยา นี้เป็นชื่อของมารดาบิดาทั้งหลาย ดังนี้.

     บทว่า อาหุเนยฺยา ความว่า สิ่งของชื่อว่าอาหุนะ เพราะเขาต้องนำมาบูชา คือผู้หวังผลวิเศษต้องนำมาจากที่ไกลแล้ว จึงถวายในท่านผู้มีคุณทั้งหลาย.
     คำว่า อาหุนะ นี้เป็นชื่อของข้าว น้ำและผ้าสำหรับปกปิดกายเป็นต้น. มารดาบิดาย่อมควรซึ่งของควรบูชานั้น เพราะเป็นนาสำหรับปลูกฝังอุปการธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาหุเนยยะ
     ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า อาหุเนยยะ นี้เป็นชื่อของมารดาบิดาทั้งหลาย.


     บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงเหตุในภาวะที่มารดาบิดาเหล่านั้นเป็นพรหม เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า ตํ กิสฺส เหตุ พหุการา (ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีอุปการะมาก).
     บทว่า ตํ กิสฺส เหตุ มีอรรถาธิบายว่า ถ้าหากมีคำถามว่า เพราะเหตุไร คำว่า พฺรหฺมา เป็นต้นนั้น จึงเป็นชื่อของมารดาบิดา.
    บทว่า พหุการา ได้แก่ มีอุปการะมาก.
    บทว่า อาปาทกา ได้แก่ ผู้ถนอมกล่อมเกลี้ยง คือเลี้ยงดูชีวิต.

    อธิบายว่า ชีวิตของบุตรทั้งหลาย มารดาบิดาถนอมคือเลี้ยงดู ได้แก่สืบต่อ หมายความให้เป็นไปคือให้ถึงพร้อมโดยการติดพันกันไปเนืองๆ.
    บทว่า โปสกา ความว่า เลี้ยงดูโดยให้ดื่มเลือดในหทัย ให้มือเท้าเจริญเติบโตขึ้น.
    บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร ความว่า ขึ้นชื่อว่า การเห็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ในโลกนี้ เกิดมีแก่บุตรทั้งหลายได้ เพราะอาศัยมารดาบิดา เพราะฉะนั้น มารดาบิดาเหล่านั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตรเหล่านั้น





    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่มารดาบิดาเหล่านั้น เป็นผู้มีอุปการะมาก (และ) เหตุแห่งความเป็นพรหมเป็นต้นด้วยประการดังนี้ ที่เป็นเหตุให้บุตรไม่สามารถจะทำการตอบแทน (คุณ) มารดาบิดาให้สิ้นสุดได้ด้วยโลกิยอุปการะโดยปริยายไรๆ เลย

    เพราะว่า ถ้าหากบุตรตั้งใจว่า เราจักทำการตอบแทนอุปการคุณมารดาบิดา แล้วพยายามลุกขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้มารดาสถิตอยู่บนบ่าขวา ให้บิดาสถิตอยู่บนบ่าซ้าย มีอายุยืนหนึ่งร้อยปี ก็ประคบประหงมท่านตลอดเวลาหมดทั้งร้อยปี ทำนุบำรุงท่านด้วยปัจจัย ๔ และด้วยเครื่องอบ การนวดฟั้น การให้อาบน้ำและการดัดกายเป็นต้นตามที่ท่านชอบใจ ไม่รังเกียจแม้แต่มูตรและกรีส (อุจจาระ) ของท่านเหล่านั้นไซร้.

    ด้วยการปรนนิบัติถึงเพียงนี้ ก็ไม่ชื่อว่าบุตรได้ทำการตอบแทนมารดาบิดา เว้นแต่จะให้ท่านดำรงอยู่ในคุณความดีพิเศษมีสัทธา เป็นต้น.

    สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่เรียกว่า เป็นการตอบแทนที่ดีแก่ท่านทั้ง ๒ นั้น.
    ท่านทั้ง ๒ นั้น คือใคร. คือมารดาและบิดา.


    ภิกษุทั้งหลาย (ถ้า) บุคคลจะเอาบ่าข้างหนึ่งแบกมารดาไว้ เอาอีกข้างหนึ่งแบกบิดาไว้ มีอายุยืนได้ร้อยปี มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ทั้งปรนนิบัติท่านด้วยการอบ การนวด การให้อาบน้ำ และการดัดกายท่านทั้ง ๒ และให้ท่านถ่ายมูตรและกรีสบนบ่านั้นนั่นเอง แต่หาได้ชื่อว่าปรนนิบัติหรือทำการตอบแทนคุณมารดาบิดาไม่เลย.

    ภิกษุทั้งหลาย และจะสถาปนามารดาบิดาไว้ในไอศวรรยาธิปัตย์ราชสมบัติในพื้นมหาปฐพีนี้ที่มีรัตนะทั้ง ๗ เพียงพอ ก็ไม่ชื่อว่าปรนนิบัติหรือทำการตอบแทนคุณมารดาบิดาได้เลย.
    ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
    ภิกษุทั้งหลาย เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก เป็นผู้กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูบุตร แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย





    ภิกษุทั้งหลาย บุตรคนใดแลชักชวนมารดาบิดา ผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในสัทธาสัมปทา
                         ....ผู้ไม่มีศีล.....ในสีลสัมปทา
                         ....ผู้ตระหนี่....ในจาคสัมปทา
    ชักชวนท่านผู้ทรามปัญญาให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในปัญญาสัมปทา
    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย การปรนนิบัติเป็นอันบุตรได้ทำแล้ว ได้ตอบแทนแล้ว และได้ทำให้ยิ่งแล้วแก่มารดาบิดาทั้งหลาย.


    อนึ่ง พึงทราบพระสูตรที่ให้สำเร็จความที่มารดาบิดาเป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุตรมีอาทิอย่างนี้ว่า การบำรุงมารดาบิดา การสงเคราะห์บุตรและภรรยา และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบำรุงมารดาบิดา บัณฑิตบัญญัติไว้ดังนี้.
    พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป.
    บทว่า วุจฺจเร ได้แก่ เรียก คือกล่าว.
    บทว่า ปชาย อนุกมฺปกา ความว่า มารดาบิดาบั่นทอนชีวิตผู้อื่นบ้าง เสียสละสิ่งของๆ ตนบางสิ่งบางอย่างบ้าง ประคับประคองคุ้มครองประชา (คือบุตร) ของตนไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้เอ็นดู คืออนุเคราะห์ประชาคือบุตร.


    บทว่า นมสฺเสยฺย ความว่า ไปยังที่บำรุงเช้าเย็น ทำความนอบน้อม ด้วยคิดว่า นี้เป็นนาบุญที่สูงสุดของเรา.
    บทว่า สกฺกเรยฺย ความว่า พึงนบนอบด้วยสักการะ.
    บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสักการะนั้น จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า อนฺเนน ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเนน ความว่า ด้วยข้าวยาคู ข้าวสวยและของขบเคี้ยว.
    บทว่า ปาเนน ความว่า ด้วยน้ำปานะ ๘ อย่าง.
    บทว่า วตฺเถน ความว่า ด้วยผ้านุ่งผ้าห่ม.
    บทว่า สยเนน ความว่า ด้วยที่นอนมีเตียง ตั่ง ฟูกและหมอนเป็นต้น.
    บทว่า อุจฺฉาทเนน ความว่า ด้วยเครื่องอบที่กำจัดกลิ่นเหม็นแล้วทำให้มีกลิ่นหอม.
    บทว่า นหาปเนน ความว่า ด้วยการให้อาบน้ำ โดยใช้น้ำอุ่นรดในหน้าหนาว และใช้น้ำเย็นรดในหน้าร้อน.
    บทว่า ปาทานํ โธวเนน จ ความว่า ด้วยการล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นและน้ำเย็น และด้วยการชโลมด้วยน้ำมัน
.
    บทว่า นํ ในคำว่า ตาย นํ ปริจริยาย นี้เป็นเพียงนิบาต
    (บทว่า ปาริจริยาย) ได้แก่ ด้วยการบำรุงบำเรอ ดังที่กล่าวมาแล้ว.
    อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาริจริยาย ความว่า ด้วยการทะนุบำรุงด้วยวิธี ๕ อย่าง มีการเลี้ยงดู การทำกิจให้ และการดำรงวงสกุล เป็นต้น.





    สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า๑-             
    ดูก่อนบุตรคหบดี มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า (ตะวันออก) บุตรควรทะนุบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ
                         ๑. ท่านได้เลี้ยงเรามาแล้ว เราจักเลี้ยงดูท่านเหล่านั้น
                         ๒. เราจักทำกิจของท่าน
                         ๓. เราจักดำรงวงส์ตระกูลไว้
                         ๔. เราจักปฏิบัติตนเป็นผู้รับมรดก
                         ๕. เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว เราจักเพิ่มทักษิณาทานให้.


     ดูก่อนบุตรคหบดี มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า ที่บุตรทะนุบำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้วแล จะอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ
                         ๑. ห้ามบุตรจากความชั่ว
                         ๒. ให้บุตรตั้งมั่นอยู่ในความดี
                         ๓. ให้บุตรศึกษาเล่าเรียน
                         ๔. หาภรรยาที่เหมาะสมให้
                         ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในสมัย.

____________________________
๑- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๑๙๙

     อีกอย่างหนึ่ง บุตรคนใดบำรุงมารดาบิดาโดยทำให้เลื่อมใสอย่างยิ่งในวัตถุทั้ง ๓ (พระรัตนตรัย) ให้ดำรงอยู่ในศีล หรือให้ประกอบในการบรรพชา บุตรนี้ พึงทราบว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ บรรดาผู้บำรุงมารดาบิดาทั้งหลาย.
     พระพุทธเจ้า เมื่อจะทรงแสดงว่า ก็การบำรุงนี้นั้นเป็นเหตุนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขในโลกทั้ง ๒ มาให้แก่บุตร จึงได้ตรัสไว้ว่า
                         คนทั้งหลายจะพากันสรรเสริญเขาในโลกนี้ทีเดียว
                         เขาละโลกนี้ไปแล้ว ก็ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์ ดังนี้.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ ความว่า ในโลกนี้.
     อธิบายว่า มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายจะสรรเสริญ คือยกย่อง ได้แก่ชมเชยบุคคลผู้อุปฐากมารดาบิดา ด้วยการบำรุงบำเรอท่าน และเอาเขาเป็นทิฏฐานุคติ (เป็นเยี่ยงอย่าง) แม้ตนเองก็ปฏิบัติในมารดาบิดาของตนอย่างนั้นแล้ว ย่อมประสบบุญมากมาย.


     บทว่า เปจฺจ ความว่า ผู้บำรุงมารดาบิดาไปสู่ปรโลกแล้ว สถิตอยู่ในสวรรค์ ย่อมจะรื่นเริงบรรเทิงเพลิดเพลินใจ ด้วยทิพยสมบัติทั้งหลาย.

               จบอรรถกถาพรหมสูตรที่ ๗   
           


ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=286
ขอบคุณภาพจาก http://palungjit.com/,http://www.dhammajak.net/,http://img141.imageshack.us/,http://a4.sphotos.ak.fbcdn.net/,http://images.palungjit.com/,http://www.oknation.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28542
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ