ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - arlogo
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 26
161  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นั่งกรรมฐาน กับ นอนกรรมฐาน ให้ผลทางการปฏิบัติ เหมือนกันหรือไม่คะ เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2013, 10:43:46 am
นั่ง กับ นอน มีผล ต่างกันมากนะจ๊ะ ธาตุ คนละธาตุ  ผลการภาวนาไม่เหมือนกัน ในสภาวะธาตุ แต่ใน สภาวะกรรมฐาน นั้นเหมืนอกัน คือ เป็น ฌาน ไป ถึง วิปัสสนา เหมือนกัน

   ดังนั้น นั่ง กับ นอน สองส่วนนี้ สัดส่วนของผู้ภาวนา ๆ จะพอ ๆ กัน แต่ถ้าเป็น ปุถุชนทั่วไป สัดส่วนการนอน นั้นจะมากกว่า นะจ๊ะ

  สำหรับกรรมฐาน ในการนั่ง มีรูปแบบการสอนมากมาย แต่รูปแบบการนอน ส่วนมากจะสอนกันแค่สติ ตั้งแต่เดินทางมาตลอดชีวิต ยังไม่เคยได้เจอหรือ พบ ครูอาจารย์ รูปใด สอนการเดิน ฌาน ในท่านอนให้ฟัง ส่วนตัวเองก็เช่นกัน เวลาภาวนาสมาธิ อาศัยท่านั่งเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นท่านอน จะเจริญอานาปานสติ ในขั้นที่ 14 - 16 แทน เพราะจะตามระลึกลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ได้ว่า หลับ หรือ ตื่น  ที่ลมหายใจเข้า หรือ ออก


   ดังนั้นท่านที่ฝึก อานาปานสติ ได้ช่ำชอง ก็จะสามารถมีสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้ใน องค์แห่งธรรม นี้ได้

       วิตก
       วิจาร

       ปีติ

       สุข

      เอกัคคตา
       
      อนิจจานุปัสสนา
   
      ทุกขานุปัสสนา

     อนัตตานุปัสสนา

       สติ

      สัมมปชัญญะ

         ไปเรื่อย ๆ จนสิ้นสุด ที่ นิโรธ ลำดับกรรมฐานเป็นอย่างนั้น

     ;)
   
 
162  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เดี๋ยวนี้พระอาจารย์ไม่ตอบกระทู้ หรือว่า เราไม่ได้ถาม เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2013, 10:36:28 am
มิใช่ไม่ต้องการตอบ หรอก นะจ๊ะ แต่มีกิจที่ต้องทำก่อน ตามลำดับ

  ช่วงหลัง ๆ นี้ส่วนใหญ่ จะนั่งกรรมฐาน เพราะช่วงนี้อากาศร้อน ดับร้อน คลายกระหาย ก็ต้องนั่งกรรมฐานให้มาก เพราะมีสุขมากกว่า ที่มารับความร้อน

  อีกอย่าง คำตอบ มีมากแล้วในบอร์ด สามารถอ่านเอานะจ๊ะ

  ประการต่อไป ไม่มีคนถาม แต่รอให้อ่านเมลแล้วมาตอบ ตอบตามตรงเลยว่า ใครส่งเมลมาอ่าน ตอนนี้ไม่ได้อ่านเลย จำนวนเมล มีมากกว่า 40000 อ่านแล้ว ท้อ เลย ยิ่งกว่าอ่านพระไตรปิฏก เพราะเมลต้องตีความคำถามด้วย และถ้าตอบก็พิมพ์กันเป็นวัน ซึ่งไม่มีเวลาขนาดนั้น

   ช่วงหลัง ๆ มานี่ ข้อความเมลเป็นบางส่วน ที่เข้ามาโพสต์ไว้ในเฟค ด้วยการโจมตี ว่าพระสงฆ์ไม่ควรใช้ เน็ต ไอที เฟค ประมาณนี้ ถ้าใช้ก็คือไม่ใช่พระ เป็นชาวบ้าน ( ก็แปลกดี )

   ที่สำคัญตอนนี้ 4 ปี แล้วที่เปิดเว็บ รอธรรมทายาท ทุกท่านที่ได้สอนกันไป มาช่วยกันบ้าง อายุของอาตมาก็ใกล้แล้ว ที่จะหมดไฟ ดังนั้น ท่านใดมีความรู้จากการภาวนา ก็มาช่วย กันสร้างสรรค์ สังคมผู้ภาวนา เป็นกัลายาณมิตร กันต่อไป


    ;)
 
163  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ภิกษุที่ื่ืชื่อว่า สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ หมดจดด้วย สักกายทิฏฐิ เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2013, 10:53:47 am
ความไม่รู้ ( อวิชชา )
 
   ความไม่รู้ ใน ทุกขสัจจ ทุกขสัจจะ ( ความจริงของทุกข์ )

   ความไม่รู้ ใน  สมุทัยสัจจ สมุทัยสัจจะ ( ความจริงของเหตุแห่งทุกข์ )

   ความไม่รู้ไใน  นิโรธสัจจ นิโรธสัจจะ ( ความจริงของความดับสิ้นแห่งทุกข์ )

   ความไม่รู้ใน  มรรคสัจจ มรรคะสัจจะ ( ความจริงของหนทางภาวนาเพื่อความดับสิ้นแห่งทุกข์ )

   ความไม่รู้ใน เวลาที่เป็น อดีต (อตีตารมณ์)

   ความไม่รู้ใน เวลาที่เป็น อนาคต (อนาคตารมณ์)

   ความไม่รู้ใน เวลาที่เป็น ปัจจุบัน  (ปัจจุปันนารมณ์ )

   ความไ่ม่รู้ใน สิ่งที่เนื่องด้วยกันและกัน สิ่งที่เกิดขึ้นดับไป เนื่องด้วยกันและกัน ว่า สิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี สิ่งนี้ไม่มี สิ้งนั้นจึงไม่มี่ สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้เสื่อมไป เป็นต้น ( อิทัปปัจจยาตา )


   ทั้งหมดนี้ ชื่อว่า ความไม่รู้เรียกว่า อวิชชาสังโยชน์


   ;)
164  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม นั่งกรรมฐาน ต่อหน้า อาจารย์แล้วทำได้ พอกลับมาทำที่บ้านแล้ว ทำไม่ได้ เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2013, 10:44:28 am


ถ้ามีการฝึกฝน พรสวรรค์ ก็จะมีได้

 
165  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ดูกรภิกษุ บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2013, 12:56:01 pm



พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ - หน้าที่ 82 - 83

[๑๒๘]  ภิ.  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ก็เมื่อรู้  เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา  ว่าของเรา  ในกายอันมีวิญญาณนี้  และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก  ฯ

        พ.  ดูกรภิกษุ  บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

       รูป  อย่างใดอย่างหนึ่ง  ทั้งที่เป็นอดีต  ทั้งที่เป็นอนาคต  ทั้งที่เป็นปัจจุบัน  เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม  หยาบหรือละเอียดก็ตาม  เลวหรือประณีตก็ตาม  อยู่  ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม  ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา 

      เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
      เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง  ทั้งที่เป็นอดีต  ทั้งที่เป็นอนาคต  ทั้งที่เป็นปัจจุบัน  เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม  หยาบหรือละเอียดก็ตาม  เลวหรือประณีตก็ตาม  อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม  ทั้งหมดนั่น  ไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา
      เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
      สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง  ทั้งที่เป็นอดีตทั้งที่เป็นอนาคต  ทั้งที่เป็นปัจจุบัน  เป็นไปในภายใน  หรือมีในภายนอกก็ตาม  หยาบหรือละเอียดก็ตาม  เลวหรือประณีตก็ตามอยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม  ทั้งหมดนั่น  ไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา 
      เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า 
      สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  ทั้งที่เป็นอดีต  ทั้งที่เป็นอนาคตทั้งที่เป็นปัจจุบัน  เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม  หยาบหรือละเอียดก็ตาม  เลวหรือประณีตก็ตาม  อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม  ทั้งหมดนั่นไม่ใช่ของเรา  ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา 
      เห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
      วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง  ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต  ทั้งที่เป็นปัจจุบัน  เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม  หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม  อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม  ทั้งหมดนั่น  ไม่ใช่ของเราไม่ใช่เรา  ไม่ใช่อัตตาของเรา

       ดูกรภิกษุ  เมื่อรู้  เมื่อเห็นอย่างนี้แล  จึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเราว่าของเราในกายอันมีวิญญาณนี้  และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก  ฯ

166  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ภิกษุที่ื่ืชื่อว่า สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ หมดจดด้วย สักกายทิฏฐิ เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2013, 12:22:19 pm
ans1

     คำสำคัญ ใน พระสูตร นี้ คือ

    ฉลาดในธรรมของพระอริยะ
    ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
    ได้เห็นสัตบุรุษ
    ย่อมไม่เล็งเห็น อัตตา มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นอ้ตตา
    สักกายทิฐิจึงไม่มี

      ถ้าถอดส่วนธรรม ออก ก็จะจำแนกธรรม ได้


   
   
     
167  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ภิกษุที่ื่ืชื่อว่า สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ หมดจดด้วย สักกายทิฏฐิ เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2013, 12:17:39 pm
กาย กระเพื่อม ก็เพราะิจิต
จิต กระเพื่อม ก็เพราะ ธรรมารมณ์
ธรรมารมณ์ กระเพื่อม เพราะผัสสะ
ผัสสะ กระเพื่อม เพราะสังขาร
สังขาร กระเพื่อม เพราะ ความไม่รู้

    ดังนั้น กาย จิต มีความสัมพันธ์ ในกรรมฐาน มาก ๆ
 ท่านทั้งหลาย พึ่งใคร่ครวญ ให้ดี



   ;)
168  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ภิกษุที่ื่ืชื่อว่า สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ หมดจดด้วย สักกายทิฏฐิ เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2013, 12:13:08 pm
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ - หน้าที่ 80
        พ.  ดูกรภิกษุ  อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้  เป็นผู้ได้เห็น พระอริยะ  ฉลาดในธรรมของพระอริยะ  ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ  ได้เห็นสัตบุรุษ  ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ  ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ  ย่อมไม่เล็งเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูปบ้าง  ไม่เล็งเห็นรูปในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูปบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีเวทนาบ้าง  ไม่เล็งเห็นเวทนาในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในเวทนาบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสัญญาบ้างไม่เล็งเห็นสัญญาในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในสัญญาบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีสังขารบ้าง  ไม่เล็งเห็นสังขารในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในสังขารบ้าง  ย่อมไม่เล็งเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีวิญญาณบ้าง  ไม่เล็งเห็นวิญญาณในอัตตาบ้าง  ไม่เล็งเห็นอัตตาในวิญญาณบ้าง  ดูกรภิกษุ  อย่างนี้แล  สักกายทิฐิจึงไม่มี  ฯ


169  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม นั่งกรรมฐาน ต่อหน้า อาจารย์แล้วทำได้ พอกลับมาทำที่บ้านแล้ว ทำไม่ได้ เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2013, 11:34:08 am
ยังไม่มีใครตอบ เลยนะ

    ;)
170  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: คำถามเก็บตก เรื่อง เดียวกัน นำมาฝาก ให้ท่านตอบกันก่อน 1 พ.ค.56 เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2013, 11:33:37 am
ยังไม่มีใครตอบ เลย นะ .....ฤาว่า จะไม่มีใครตอบได้

  ;)
171  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อย่าพึงดูหมิ่น ว่าเล็กน้อย จงอย่าทำตนเหมือนตาลยอดด้วน เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2013, 11:32:12 am
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค - หน้าที่ 87-88 ฉบับมหามงกุฏ

        [๓๒๕] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย ๔ อย่างเป็นไฉน ของ ๔ อย่างคือ   

    ๑. กษัตริย์ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังทรงพระเยาว์         
    ๒. งู ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก         
    ๓. ไฟ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย       
    ๔. ภิกษุ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่ายังหนุ่ม     

    ดูกรมหาบพิตร ของ ๔ อย่างเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกดูหมิ่นว่าเล็กน้อย ฯ   
        [๓๒๖] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้
ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า     

    นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่น กษัตริย์ผู้ถึงพร้อมด้วยพระชาติ มีพระชาติสูง ผู้ทรงพระยศว่ายังทรงพระเยาว์  เพราะเหตุว่าพระองค์เป็นมนุษย์ชั้นสูง ได้เสวยราชสมบัติแล้ว ทรงพระพิโรธขึ้น ย่อมทรงลงพระราชอาชญาอย่างหนักแก่เขาได้ฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน พึงงดเว้นการสบประมาทกษัตริย์นั้นเสีย ฯนรชนเห็นงูที่บ้านหรือที่ป่าก็ตาม ไม่พึงดูถูกดูหมิ่นว่าตัวเล็ก(เพราะเหตุว่า) งูเป็นสัตว์มีพิษ (เดช) ย่อมเที่ยวไปด้วย  รูปร่างต่างๆ งูนั้นพึงมากัด ชายหญิงผู้พลั้งเผลอในบางคราวฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตนพึงงดเว้นการสบประมาทงูนั้นเสีย ฯ

    นรชนไม่พึงดูถูกดูหมิ่นไฟที่กินเชื้อมาก ลุกเป็นเปลว มีทางดำ (ที่ๆ ไฟไหม้ไปดำ) ว่าเล็กน้อย เพราะว่าไฟนั้นได้เชื้อแล้วก็เป็นกองไฟใหญ่ พึงลามไหม้ชายหญิงผู้พลั้งเผลอในบางคราว ฉะนั้น ผู้รักษาชีวิตของตน พึงงดเว้นการสบประมาทไฟนั้นเสีย ฯ(แต่ว่า) ป่าใดที่ถูกไฟไหม้จนดำไปแล้ว เมื่อวันคืนล่วงไปๆพรรณหญ้าหรือต้นไม้ยังงอกขึ้นที่ป่านั้นได้ ส่วนผู้ใดถูกภิกษุผู้มีศีลแผดเผา  ด้วย เดช บุตรธิดาและปศุสัตว์ของผู้นั้นย่อมพินาศ ทายาทของเขาก็ย่อม
ไม่ได้รับทรัพย์มรดก เขาเป็นผู้ไม่มีเผ่าพันธุ์ ย่อมเป็นเหมือนตาลยอดด้วน ฯ
   
    ฉะนั้นแลบุคคลผู้เป็นบัณฑิต พิจารณาเห็นงู ไฟ กษัตริย์ผู้ทรงยศ และภิกษุผู้มีศีล ว่าเป็นภัยแก่ตน พึงประพฤติต่อโดยชอบทีเดียว ฯ

        [๓๒๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสจบลงแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลได้   กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง นัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
        ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก บุคคลหงายของที่คว่ำ 
         เปิดของที่ปิด
         บอกทางแก่คนหลงทาง
        หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจะได้เห็นรูป
        ฉันใด พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมโดยปริยายเป็นอันมากก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค   พระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่งเป็นที่ระลึก ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำ   ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณคมน์จนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ           
   
                   ปุริสสูตรที่ ๒       


172  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: รายนาพระภิกษุ สามเณร จังหวัดสระบุรี ที่ต้องสอบซ่อมบาลี 5-6-7 พ.ค. เมื่อ: เมษายน 29, 2013, 11:50:13 am
รายนาม พระภิกษุึสามเณร ที่ส่งเข้าสอบ ทุกชั้นประโยค มี จำนวนทั้งสิ้น 191 รูป

  สอบผ่าน   13  รูป
  รอสอบซ่อม 36 รูป ( ซึ่งยังไม่รู้ว่าผ่านอีกกี่รูป )

 จะเห็นได้ว่า การสอบบาลี มีความยากลำบากกว่าการเรียน ป.ตรี ของสงฆ์อีก นี่เป็นเหตุหนึ่งที่พระภิกษุสามเณรไม่อยากเรียนบาลี กันแล้ว

  จะฟื้นฟูอย่างไร ไปแก้ที่ระบบไม่ได้ดอก เพราะปัญหาที่แท้จริง คือ วิทยฐานะการสอบบาลี ไม่อิงกับทางโลก คือ นำไปสมัครงาน หรือ เทียบเท่านกับการศึกษาทางโลกไม่ได้ ดังนั้นจะเห็น ว่าพระภิกษุสามเณรในปัจจุบันเลือกเรียน ทางโลก มากกว่า มาเรียนเปรียญเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา

   http://www.infopali.net/cgi-bin/exam56.cgi
   
 
173  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / รายนาพระภิกษุ สามเณร จังหวัดสระบุรี ที่ต้องสอบซ่อมบาลี 5-6-7 พ.ค. เมื่อ: เมษายน 29, 2013, 11:41:33 am
    สำนักเรียน    สถานที่สอบ    ซ่อม    ซ่อม    ซ่อม    ประโยค
1.    พระเอกรัฐ    สุรเตโช    แก้วแกมทอง    26    2    แก่งคอย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
2.    พระนิรันดร์    ฐิตวีโร    คำภา    24    2    เขาแก้ววนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *       ไว.    ป.1-2
3.    สามเณรชลสิทธ์       ลาวงศ์    12       เขาแก้ววนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
4.    พระศราวุฒิ    ณฎฺฐกุโล    ประกอบทอง    30    3    บัวลอย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
5.    พระสุริยันต์    อภิปุญฺโญ    พัฒนา    24    3    สนมไทย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
6.    พระยอดชาย    กิตฺติธมฺโม    ขันผนึก    30    7    พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
7.    สามเณรปัณณธร       อยู่สมบุญ    16       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
8.    สามเณรสง่า       ตาน้อย    15       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
9.    พระนริศ    ปุญฺญสมฺภโว    แก้วประชา    39    2    ท่าช้างเหนือ    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
10.    พระอนุเทพ    อนุตฺตโร    มุมทอง    22    2    พะเยาว์    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
11.    สามเณรวสันต์       เครื่องรัมย์    19       ศรีบุรีรตนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
12.    สามเณรพิสิทธิ์       เสี่ยงตรง    17       ศรีบุรีรตนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    *    ไว.    ป.ธ.3
13.    สามเณรอดิศักดิ์       การะรัมย์    17       ศรีบุรีรตนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    *    ไว.    ป.ธ.3
14.    สามเณรเทพพิทักษ์       บุญประสาน    16       ศรีบุรีรตนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
15.    พระสุขสยาม    วิสุทฺธิสีโล    แก้วสิทธิ์    29    5    พระพุทธฉาย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    สัม.    ไว.    ป.ธ.3
16.    พระอุทัย    อภิวโร    สุภประสิทธิ์    36    8    หลังเขา    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
17.    พระนรา    ฐานวีโร    ปักธงชัย    45    15    ท่าราบ    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    สัม.    ไว.    ป.ธ.3
18.    สามเณรศักดิ์สิทธิ์       อุ่นเนื้อ    16       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
19.    สามเณรณัฐธนวัชร       เหมือนศรีชัย    16       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
20.    สามเณรยิ่งใหญ่       คำมี    14       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    *    ไว.    ป.ธ.3
21.    สามเณรสมชาย       ม่วงอ่อน    13       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
22.    พระนิพนธ์    ฉนฺทธมฺโม    จีรจิตต์    50    7    บ้านอ้อย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
23.    พระชาญชัย    ชยาภรโณ    แก้วสีหมอก    32    7    มงคลชัยพัฒนา    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
24.    สามเณรกีรติ       ศรีหาบุตร    18       มงคลชัยพัฒนา    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    *    ไว.    ป.ธ.3
25.    สามเณรวิทยา       นรดี    17       มงคลชัยพัฒนา    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    *    *    ป.ธ.3
26.    พระมหาอดิศักดิ์    ภูริญาโณ    เดชสีมา    30    8    แก่งคอย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปทม.    *       ป.ธ.4
27.    พระมหาอาทิตย์    อคฺคปญฺโญ    พืชผักหวาน    26    6    บัวลอย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    ปมท.       ป.ธ.4
28.    พระมหาธีรยุทธ    ภูริปญฺโญ    ฤทธินาคา    26    6    บัวลอย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปทม.    *       ป.ธ.4
29.    พระมหาทศพล    เสฏฺฐโรจโน    สวยวิเศษ    24    3    พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    ปมท.       ป.ธ.4
30.    พระอาทิตย์ ป.    อติภทฺโท    ซุนซี    24    3    พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปทม.    *       ป.ธ.4
31.    สามเณรกิตติศักดิ์       ประเสริฐศรี    16       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปทม.    *       ป.ธ.4
32.    สามเณรอุทัย       ปัตถาพิมพ์    15       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    ปมท.       ป.ธ.4
33.    พระมหาศิริชัย    สิริธมฺโม    พานิช    33    6    ชุ้ง    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    ปมท.       ป.ธ.4
34.    พระมหาศราวุธ    โรจนวุฑฺฒิ    เอี่ยมรัมย์    22    3    มงคลชัยพัฒนา    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปทม.    *       ป.ธ.4
35.    สามเณรทวีศิลป์       อาจทวีกุล    19       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดสามพระยา    ปทม.    *       ป.ธ.5
36.    สามเณรนลล์ธนภัทร       ใหญ่นิธิคุณ    17       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดสามพระยา    *    ปมท.       ป.ธ.5

http://www.infopali.net/cgi-bin/retest.cgi
174  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การนั่งกรรมฐาน ให้ได้ นาน ๆ ควรเริ่มต้อนอย่างไร ครับ เมื่อ: เมษายน 28, 2013, 11:11:23 am
 st11 st12

     ที่นำข้อความออกมาให้อ่าน กันอีกครั้ง

      ;)
175  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำอย่างไร เราจะรับมือกับเวทนา ที่เกิดจากการเจ็บป่วย ได้ครับ เมื่อ: เมษายน 28, 2013, 11:09:46 am
 ans1

    การเจริญ โพชฌงค์ 7 เป็น วิสัยของพระอริยะบุคคล ( ขั้นพระอรหันต์ )
    ดังนั้นการเจริญโพชฌงค์ 7 ของปุถุชนที่ไำม่ผ่าน กระบวนการ สมาธิ เลยเป็นไปไม่ได้
   
    ดังนั้น ธรรม ส่วนนี้เป็นเรื่องที่คนธรรมดา จัดการได้ยาก

    การรับมือกับเวทนา ที่ดีเบื้องต้น คือ

       1. การกระทำไว้ในใจโดยแยบคายว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ความเจ็บมีทุกข์อย่างนี้ อันนี้เบื้องต้น ( ป้องกันการโอดครวญ พิรี้ พิไร อย่างไร้ สติ )

       2. หมั่นฝึกเจริญ ปราณ คือ อานาปานสติ ตั้งแต่ ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ให้มากยิ่งขึ้น เมื่อหายใจเข้าและออก ตั้งมั่นแล้ว ให้ตั้งจิตเจริญวิปัสสนาว่า ลมหายใจเข้า เจ็บอย่างนี้ ลมหายใจออก เจ็บอย่างนี้ ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก มีความเจ็บอย่างนี้

       3. เมื่อจิตตั้งมั่นในลมหายใจเข้า และ ออก แล้ว ก็ให้พิจารณา ความเจ็บเป็นอารมณ์ และ เจริญความเจ็ยนั้นเป็นองค์กรรมฐาน

       4. เมื่อ จิตเจริญความเจ็บเป็นอารมณ์ ชื่อว่าเจริญ กายคตาสติ โดยสมบูรณ์ ธรรมจักเกิดขึ้นแก่ท่าน เวทนาที่เกิดขึ้นนั้น จะมีคำตอบเองในการภาวนา


    เจริญธรรม / เจริญพร

     ;)
176  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถ้าปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่มีความปรารถนา นิพพาน จะสำเร็จกรรมฐาน หรือไม่คะ เมื่อ: เมษายน 28, 2013, 11:03:15 am
 ans1

    ความปรารถนา อยู่ที่ บารมีธรรม และ ดวงตาเห็นธรรม ตราบใดที่ดวงตาเห็นธรรม ไม่ปรากฏเกิดแก่บุคคลนั้น ๆ การปรารถนา นิพพาน มิใช่จะเป็นเรื่องที่คนทั่วไป จะมากระทำได้ มิฉะนั้นโลกนี้คงเต็มไปด้วย พระอรหันต์ หมดแล้ว พระอรหันต์ คือ ผู้ปรารถนา นิพพาน มีจำนวน 1 ต่อ แสน คน เท่านั้น ดังนั้นความปรารถนา ในนิพพาน ต้อง สั่งสมบารมีธรรม ศึกษาธรรม มาด้วยทั้งในอดีต และ ปัจจุบัน


   ;)
177  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: จำเป็นต้องไป ภาวนากับครูอาจารย์ ทุกวัน หรือ ไม่คะ เมื่อ: เมษายน 28, 2013, 10:58:06 am
 ans1

     การจัดการศิษย์ เป็น เรื่องของครูอาจารย์ พิจารณา

     1. ถ้าเป็นศิษย์ ควร จะต้องอยู่ในการดูแล และ ตามสอนทั้งธรรม และ แจ้งกรรมฐาน

     2. สำหรับศิษย์ ระดับกลาง ก็ควรจะภาวนาด้วยตนเอง 50 เปอร์เซ็นต์ และ ภาวนากับครูอาจารย์ 50 เปอร์เซ็นต์

     3.สำหรับศิษย์ ที่ผ่าน ห้อง ทั้ง 3 แล้ว ก็สามารถปฏิบัติได้เอง แต่เรียนธรรมจากครูอาจารย์ 20 /  ภาวนาเอง  80

     4.สำหรับศิษย์ ที่ได้ ฌานแล้ว ก็สามารถ ปฏิบัติได้เอง ในส่วนของฌาน และ วิึถีธรรม

      ;)
     
178  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม ต้อง นั่งหลับตา จึงจะเรียกว่า การภาวนา คะ เมื่อ: เมษายน 28, 2013, 10:54:32 am
 ans1

    การหลับตา จะเห็น ภาพในใจ ถ้าลืมตา ก็จะเห็นภาพ ภายนอก
   การจัดการกิเลส นั้นต้องจัดการภายใน เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น ใจ จะมอง ใจ จิต จะถึง จิต ก็ต้องใช้ ทิพย์จักษุ คือ ตาใน ดวงตาเห็นธรรม ก็คือ ตาใน

    ดังนั้น การหลับตาภาวนา จึงเป็นเรื่องที่ควรทำ นะจ๊ะ

    ;)
179  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นังกรรมฐาน ไม่ได้ เพราะใจ มันไม่สงบ ตามด้วย เมื่อ: เมษายน 28, 2013, 10:51:54 am
 ans1

   การปฏิบัติสมาธิ ที่ดี ควรมีการเจริญ สติ สัมปชัญญะ ก่อนดังนั้น ถ้าจิตยังไม่มีสติ จึงไม่สามารถรวมใจเป็น สมาธิได้ ดังนั้นควรฝึกเดินก่อน เพื่อให้สติสัปชัญญะ สมบูรณ์

    ตามลำดับ สัมมาวิริยะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นลำดับที่ควรกระทำ ร่วมกัน

   เจริญธรรม / เจริญพร

   
180  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ทำไม ครูอาจารย์ สมัยนี้ ไม่ค่อยร่วมมือกันเผยแผ่ธรรม ภาวนา กันครับ เมื่อ: เมษายน 17, 2013, 10:41:52 am
 ask1

   ทำไม ครูอาจารย์ สมัยนี้ ไม่ค่อยร่วมมือกันเผยแผ่ธรรม ภาวนา กันครับ
จดหมายจากสมาชิก พิเศษ ที่มีข้อความยาว แต่ตัดตอนสรุปใจความเนื้อหา มาเท่านี้คิดว่า คำถามดีก็เลยนำมาแชร์ตอบรวมเลยก็แล้วกันนะจ๊ะ
 


 ans1

   ปัจจุบันจะเห็นว่า มีการเผยแผ่ พระธรรม กันมากในสื่อ ทุกรูปแบบซึ่งก็มีแนวทาง ที่ทุกท่านเรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8 กันทั้งนั้น และ มีรูปแบบการเจริญภาวนาเหมือนกัน ใน 4 อิริยาบถ แต่ก็แตกต่างกันด้วย อรรถวิธี ซึ่งเป็นไปตามจริต วาสนา บารมีธรรม ของพระอาจารย์แต่ละองค์  ซึ่งเหตุนี้แหละที่ทำให้ ครูอาจารย์ถึงมี ปณิธาน อุดมการณ์ ที่พระนิพพาน เช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่สามารถ ปฏิบัติร่วมกันได้ โดยวิธีการแกนหลัก ไม่ได้ ได้แต่เพียง ปฏิบัติมาตรฐาน ตามแก่นวิชากรรมฐาน

    ในครั้งพระพุทธกาล ก็เป็นอย่างนี้เช่นกัน จนมีผู้ถามพระพุทธเจ้าว่า ทำไมไม่รวมแบบให้เป็นอันเดียวกัน พระพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสแสดง เรื่องปฏิปทา ให้ฟัง ว่า การปฏิบัติของทุกคนเป็นไปตามจริต แต่ ทุกรูปนั้นก็ล้วนแล้วแต่มีดวงตาเห็นธรรมแบบเดียวกัน นั่นก็คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ไม่แตกต่างกัน

    ใครชอบเจริญ กรรมฐานมีปัญญา ก็ไปหาพระสารีบุตร ใครถือ ธุดงควัตร ก็ไปหา พระมหากัสสปะ ใครชอบเจริญ เจโตวิมุตติ ก็ไปหาพระโมคคัลลานะ ใครชอบฟังธรรม ก็ไปหาพระมหากัจจายานะ หรือใครต้องการบันทึกธรรม ก็มาหา พระอานนนท์ เป็นต้น


    ดังนั้นในสมัยนี้ ถึงจะมีการเผยแผ่ พระธรรมภายใต้การปกครองของ พระมหาเถระสมาคม ก็ตามก็มีการเผยแผ่พระธรรมในแนวทางการปฏิบัติ ที่เหมือนกัน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่แก่นกรรมฐาน นั้นต่างกันไป ด้วยความเป็น สมถกรรมฐานบ้าง วิปัสสนากรรมฐานบ้าง

    ในยุคนี้จะกล่าวว่า ผู้ปฏิบัติทีเห็นหลัก ๆ ก็จะเป็น

      1. พุทโธ พุทธานนุสสติ เป็นหลัก  เห็นมีในสายป่า มาก
      2. มหาสติปัฏฐาน 4  เป็นหลัก มีทั้ง แนวทาง เคลื่อนไหว ยุบหนอ พองหนอ รวมถึงแนวทางอภิธรรมด้วย
      3. อานาปานาสติ
      4. ธรรมกาย
      5. มโนมยิทธิ
      4. ธรรมเปิดโลก
      5. อื่น ๆ

    ดังนั้น ครูอาจารย์ ก็ยังสมาคมกันได้ รู้จักกันได้ พูดคุยศึกษากันได้ แต่ถ้าพูดถึงความชำนาญในแนวทางปฏิบัติของตนเองแล้ว ก็ต้องเผยแผ่ ในแนวทางที่ตนเองปฏิบัติเพื่อสืบทอด วิชากรรมฐาน ด้วยประการหนึ่ง

     คำถามที่ถามว่า ทำไม ครูอาจารย์ สมัยนี้ ไม่ค่อยร่วมมือกันเผยแผ่ธรรม ภาวนา กันครับ

    ก็ตอบว่า ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าเป็นในศิษย์สำนักเดียวกัน แล้ว ก็ร่วมมือกันเผยแผ่เป็นอย่างดี มิฉะนั้นไม่มีทางมีองค์กรระดับใหญ่

    ส่วนในแนวทางที่แตกต่างกัน นั้น ก็ให้เกรียติซึ่งกันและกัน ไม่แตะต้องวิธีการภาวนา แต่ยังคงรักษา ความถูกต้อง คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ไว้ให้เป็นมาตรฐาน ส่วนวิธีการก็แล้วแต่ กลอุบายวิธีการสอนของครูอาจารย์ ซึ่งผู้เรียน ก็ต้องมี จริต วาสนา เรียนธรรม รู้ตามธรรม นั้นด้วย

    ที่นี่ก็มีคำถาม โดยตรงมาสู่อาจารย์ว่า ทำไม พระสนธยา ธัมมะวังโส ไม่ไปเรียนกรรมฐาน ที่นั่น ที่นี่ ไปกราบครูอาจารย์ รูปนั้นเป็นศิษย์ ไปเคารพองค์นั้นองค์นี้ ( อันนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ที่จริงไม่น่าถาม ) ตรงนี้ควรศึกษาประวัติ พระสนธยา ว่าไปเรียนกรรมฐานที่ไหน บ้าง นะจ๊ะ

    แล้วอย่างนี้แสดงว่า ครูอาจารย์ แต่ละรูป นั้นยังมีมานะทิฏฐิ กันอยู่ใช่หรือไม่ ?  ( ก็แล้วแต่ท่านทั้งหลายจะคิด กันนะส่วนนี้ ) ก็เพราะท่านทั้งหลาย ชอบเปรียบเทียบกันจึงทำให้จิตลำบาก



   
   
181  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญร่วมปฏิบัติธรรม เนื่องในวันวิสาขบูชา 24-25-26 พ.ค. 56 และทุกวัน เมื่อ: เมษายน 17, 2013, 10:22:08 am
 st11 st12 st12 st12

   ที่มาช่วยแจ้งข่าวการปฏิบัติธรรม ภาวนา ณ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม อย่างต่อเนื่อง


   thk56
182  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สอุปาทิเสสบุคคล 9 ที่พ้นจาก อบาย เมื่อ: เมษายน 10, 2013, 08:39:04 am
  พระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  นวกนิบาต  [๑.ปฐมปัณณาสก์]
              ๒.สีหนาทวรรค  ๒.สอุปาทิเสสสูตร หน้าที่ 456- 458 ฉบับจุฬา


   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “สารีบุตร    อัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลาไม่เฉียบแหลมเป็นพวกไหน    และพวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส    หรือจักรู้จักบุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสส๑ว่าเป็นอนุปาทิเสส
            สารีบุตร    บุคคล    ๙    จำพวกนี้    เป็นสอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้    พ้นจากเปรตวิสัยได้    พ้นจากอบาย    ทุคติ    และวินิบาตได้

บุคคล    ๙    จำพวกไหนบ้าง    คือ

       ๑.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ  ๕    ประการสิ้นไป    เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี    นี้เป็นบุคคลจำพวก ที่    ๑    ผู้เป็นสอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้    พ้นจากกำเนิด  สัตว์ดิรัจฉานได้    พ้นจากเปรตวิสัยได้    พ้นจากอบาย    ทุคติ    และ วินิบาตได้

       ๒.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕    ประการสิ้นไป    เขาจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี    ฯลฯ

       ๓.    บุคคลบางคนในโลกนี้    ฯลฯ    จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี    ฯลฯ

       ๔.    บุคคลบางคนในโลกนี้    ฯลฯ    จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี    ฯลฯ

       ๕.    บุคคลบางคนในโลกนี้    ฯลฯ    จึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี    ฯลฯ


       ๖.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิ  พอประมาณ    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์    ๓ ประการสิ้นไป    และเพราะราคะ    โทสะ    และโมหะเบาบาง    เขาจึงเป็น สกทาคามี    มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว    ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้    นี้เป็น บุคคลจำพวกที่    ๖    ผู้เป็นสอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้ ฯลฯ    พ้นจากอบาย    ทุคติ    และวินิบาตได้

       ๗.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิ พอประมาณ    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์    ๓  ประการสิ้นไป    เขาจึงเป็นเอกพีชี    เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงครั้งเดียว  ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้    นี้เป็นบุคคลจำพวกที่    ๗    ผู้เป็นสอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้    ฯลฯ    พ้นจากอบาย    ทุคติ    และ   วินิบาตได้

       ๘.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิ  พอประมาณ    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์    ๓ประการสิ้นไป    เขาจึงเป็นโกลังโกละ    ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล    ๒    หรือ  ๓    ตระกูล    ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้    นี้เป็นบุคคลจำพวกที่    ๘    ผู้เป็น สอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้    ฯลฯ    พ้นจากอบาย    ทุคติ   และวินิบาตได้

       ๙.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิ    พอประมาณ    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์    ๓  ประการสิ้นไป    เขาจึงเป็นสัตตักขัตตุปรมะ    ท่องเที่ยวไปในเทวดา   และมนุษย์อย่างมาก    ๗    ครั้ง    ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้    นี้เป็นบุคคล  จำพวกที่    ๙    ผู้เป็นสอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้    พ้นจาก  กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้    พ้นจากอบาย    ทุคติ    และวินิบาตได้
 
           สารีบุตร    พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลา    ไม่เฉียบแหลม    เป็นพวกไหน    และพวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส    หรือจักรู้จักบุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสว่าเป็นอนุปาทิเสส    สารีบุตร    บุคคล    ๙    จำพวกนี้แล    เป็นสอุปาทิเสสเมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้    พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้    พ้นจากเปรตวิสัยได้พ้นจากอบาย    ทุคติ    และวินิบาตได้



183  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นิวรณ์ เป็น สิ่งสำคัญในการภาวนา ที่ต้องกำหนดรู้ให้ได้ เมื่อ: เมษายน 06, 2013, 10:48:18 am
จิตที่ฟุ้งซ่าน คือ จิต ตกเป็นข้างฝ่ายนิวรณ์ 8 ประการ

 อันประกอบด้วย การระคนด้วยจิต ย้อมจิต ปะปนด้วยจิต ที่เป็นอกุศลธรรม ทั้งปวง นิวรณ์ 8 เป็นสิ่งที่ต้องระงับ
ก่อนปฏิบัติ อานาปานสติ เพราะหากมีอยู่ก็ไม่สามารถที่เจริญ พระอานาปานสติได้บางท่านเข้าใจว่า ระงับด้วย ฌาน ระงับ ด้วยการภาวนา

แต่ นิวรณ์ 8 ข้างต้น สามารถระงับได้ ด้วยการตั้งจิต เป็นสัมมาทิฏฐิ คือเห็นถูกต้อง สัมมาสังกัปปะ อธิษฐานจิตได้อย่างถูกต้อง

  ถ้าพิจารณา วิสัชชนา ให้เข้าใจ ง่าย ๆ ไม่ใช่เป็นการระงับ นิวรณ์ ด้วย ฌาน การกล่าวเช่นนี้ กล่าวแบบพราหมณ์  กล่าวแบบพระสุคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว สามารถระงับได้ก่อน ที่เป็น ฌาน ส่วนนี้จึงเป็นส่วนที่ดำเนินในแนว วิปัสสก ดังนั้นการเจริญด้วยอานาปานสติ จึงเป็น ผลสมาบัต ขั้นต่ำ เป็น อเนญชาสมาบัติขั้นสูง อันประกอบด้วย นิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธ อเนญชาสมาบัติ เจโตสมาธิอนิมิต ดังนั้นถึงจะเป็นฝ่ายเจโตวิมุตติ ก็ต้องเริ่มต้นเหมือนกันกับ วิปัสสก จะไปแตกต่างช่วงของ ญาณด้านปลายเท่านั้น

 โดยการปฏิบัติให้ตรงข้าม ดังนั้น ความเห็นที่ถูกต้อง และ การอธิษฐาน เป็นสิ่งที่ต้องมาก่อน

ยกตัวอย่าง

 1.กามฉันทะ คือ ความพอใจ ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์
   
     เมื่อปุุถุชนเห็นผิด ก็จะติดในข่าย ไม่เห็นความหน่าย ความจางคลาย ไปได้ดังนั้น ธรรมะ คู่ปรับ ก็คือ เนกขัมมะวิตก คือ ความตั้งใจสลัดออก จากกามคุณ

   ถามว่า เห็นโทษของกามคุณ หรือ ก็ตอบว่ายัง เพียงแต่รู้ว่า กามคุณ เป็นเหตุแห่งตัณหา

   ดังนั้น เนกขัมมะ ก็คือการถือ บวช ด้วย ศีล มีข้อห้าม ซึ่งจะระงับได้ นิวรณ์ ด้วยการอธิษฐาน

  ความตั้งใจใน การออกบวช อย่างนี้ ซึ่งเมื่อทำบ่อย ๆ กามฉันทะ ก็จักเบาบางลง และ สงบ ไปชั่วคราวจนกว่าจะได้บรรลุเป็น พระอรหันต์ ดังนี้เป็นต้น

  ดังนั้น นิวรณ์ 8 นั้น ดับได้ด้วย ธรรมะ อันเป็นปฏิปักษ์ ตรงกันข้าม ไม่ใช่ดับด้วย ฌาน หรือ อำนาจ สมาธิแต่ที่จริง เป็นการเจริญ อานาปานสติ ในแนวพระพุทธศาสนา มิฉะนั้น ก็จะเป็นการปฏิบัติ อานาปานสติ นอกพุุทธศาสนา

   ดังนั้น จิตทีั่ฟุ้งซ่าน ย่อมประกอบ ด้วยนิวรณ์ 8 ยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติ อานาปานสติ

   ส่วนที่ จิตที่สงบระงับ ย่อมประกอบ ด้วยธรรม 8 ประการ ย่อมพร้อมที่จะเจริญภาวนา อานาปานสติ


ดังนั้นในส่วนนี้ ถือว่าเป็นส่วนพื้น ฐานในการเตรียมตัว

  หากจิตฟุ้งซ่าน ย่อมไม่สามารถ กำหนด ลมหายใจเข้า และ ออกได้ เป็นดั่งเช่นที่ท่านทั้งหลาย เคยฝึกกันมาเยี่ยงนั้น แบบนั้น เพราะมุ่งจะฝึก ก็อยู่ในข่าย อุปกิเลส คือ ความเพียรที่มากหรือกล้า เกินไป ก็ไม่สามารถสำเร็จ ในพระอานาปานสติ ได้

  หากจิตสงบระงับ ก็จะสามารถ กำหนด นิมิต ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออกได้ ทั้ง 3 ประการดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย ศึกษาและจดจำ ในส่วนของ ธรรม เป็นปฏิปักษ์กับนิวรณ์เสียก่อน อย่างพึ่งมุ่งไปรู้

ขั้นตอนส่วนใน กำจัดนิวรณ์ เหล่านั้นให้สงบ

  จะเห็นว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จัดเตรียมจิต ท่านผู้ปฏิบัติมาพร้อมแล้ว ในห้อง พระพุทธานุสสติย่อมระงับนิวรณ์ ด้วยปัญญา อันเกิดแต่องค์สมาธิ  ในระดับ อุปจาระฌาน แล้ว ความพร้อมของผู้ฝึก ในส่วนนี้จึงมีมากกว่า ผู้มาฝึกอานาปานสติ โดยตรง


  เนื่องด้วย อานาปานสติ เป็น กรรมฐาน สำหรับจริต วิตกจริต และ โมหะจริต โดยตรง ถ้าผู้มีวิตกเช่นนี้ก็จะสามารถฝึกได้เข้าใจก่อน ส่วนผู้ไม่มีจริตตรงนี้ ถ้าเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็จะเห็นว่า ไม่สามารถ จะฝึกได้ดังนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสกรรมฐาน สนับสนุนเบื้องต้นเรียกว่า อนุสสติ บ้่าง กายคตาสติ สนับสนุนองค์กรรมฐาน จึงทำให้จริต อื่น ๆ นั้นสามารถ ฝึกอานาปานสติได้ ดังนั้นขอให้ท่านผู้ฝึกอย่ารีบร้อน ที่จะเดินในขั้น สโตริกาญาณ แต่ของให้ สร้างธรรมะ อันเป็นปฏิปักษ์แก่ นิวรณ์ ทั้ง 8 ก่อน
184  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นิวรณ์ เป็น สิ่งสำคัญในการภาวนา ที่ต้องกำหนดรู้ให้ได้ เมื่อ: เมษายน 06, 2013, 10:25:36 am
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๙.  มหาสติปัฏฐานสูตร]  ธัมมานุปัสสนา
ธัมมานุปัสสนา
 (การพิจารณาธรรม)
หมวดนิวรณ์
        (๓๘๒)    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่    อย่างไร
      คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ  นิวรณ์  ๕  อยู่
            ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย    คือ    นิวรณ์    ๕    อยู่    อย่างไร
     คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

      ๑.    เมื่อกามฉันทะ    (ความพอใจในกาม)    ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า ‘กามฉันทะภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อกามฉันทะภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า    ‘กามฉันทะภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้นการละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้นและกามฉันทะที่ละได้แล้ว  จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด   ก็รู้ชัดเหตุนั้น

      ๒.    เมื่อพยาบาท    (ความคิดร้าย)    ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า    ‘พยาบาทภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อพยาบาทภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า ‘พยาบาทภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่งพยาบาทที่ยัง  ไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละพยาบาทที่ เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และ ได้แล้ว    จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น

      ๓.    เมื่อถีนมิทธะ    (ความหดหู่และเซื่องซึม)    ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า  ‘ถีนมิทธะภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อถีนมิทธะภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า    ‘ถีนมิทธะภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่ง  ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละ ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และ   ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว    จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัด เหตุนั้น


     ๔.    เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจะภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ ภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า    ‘อุทธัจจกุกกุจจะภายในของเราไม่มีอยู่’
การเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และอุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว    จะไม่เกิดขึ้น ต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น

      ๕.    เมื่อวิจิกิจฉา  (ความลังเลสงสัย)  ภายในมีอยู่  ก็รู้ชัดว่า    ‘วิจิกิจฉา  ภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อวิจิกิจฉาภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า‘วิจิกิจฉาภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้น แล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น


            ด้วยวิธีนี้    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่    หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่    พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่    พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่    หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่




    ท่านทั้งหลาย ที่พยายามบอกอาตมามาว่า เราควรสนใจเรื่อง ที่สูงกว่า นิวรณ์ เพราะเป็นธรรมที่สำคัญกว่า แต่ถ้าดูจากพระพุทธพจน์ พระสูตรทรงแสดงเรื่องการ เห็นธรรม ต้องผ่านเรื่อง นิวรณ์ ก่อน นะจ๊ะ


 
     ที่นี้มาพูดแสดง เรื่องการรู้
       การรู้ในที่นี้หมาย ถึง สัมปชัญญญะ ที่มีเหตุมาจาก สติ   การรู้ชัด ก้คือ มีสัมปชัญญะ เต็มตัวว่า รู้ชัดว่า

  1. มี หรือ ไม่ีมี นิวรณ์ ทั้งภายใน และ ภายนอก   ( กตญาณ )
  2. การเกิดขึ้น แห่ง นิวรณ์ มีด้วยเหตุใด ก็กำหนดรู้ชัดว่า ด้วยเหตุนั้น นิวรณ์จึงเกิด  ( กิจจญาณ )
  3. การเสื่อมไป แห่ง นิวรณ์ มีด้วยเหตุใด ก็กำหนดรู้ชัดว่า ด้วยเหตุนั้น นิวรณ์จึงเสื่อมไป  ( กิจจญาณ )
  4. กำหนดรู้ชัดว่า นิวรณ์ ไม่มีแล้ว ทั้งภายใน และ ภายนอก  ( สัจจญาณ )





 
     

185  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ประกาศเรื่องการตอบปัญหาธรรม ทั้งในกระทู้ และ เมล เมื่อ: เมษายน 06, 2013, 10:10:16 am
จดหมายคำถาม ที่ท่านถามกันมาตอนนี้ ยังไม่ได้เข้าไปอ่านเลยนะจ๊ะ เพราะ่ว่า Hardddisk เสีย ไม่สามารถเข้าไปจัดการอะไรได้ และ ติดตั้งโปรแกรมแล้ว ก็ยังไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมจดหมาย ด้วยจึงขออภัย ที่จดหมายส่งไปที่ email  pra_sonthaya@madchima.org  จึงยังไม่ได้ อ่านกันเลย
 
   ปัญหา จริง ๆ คือ ใน Windows 7 นั้นไม่มีโปรแกรม outlook express ให้ใช้ มีแต่ Windows live mail ให้ใช้ และที่สำคัญที่สุด คือ Windows live mail  ทำงานได้ช้ามาก ๆ รอกันเป็นวัน ๆ เลย กว่าจะอัพเดท ขนาดเครื่องที่ใช้เป็น I3 ยังอื่ด เป็นวันเลย ตั้งแต่นั้นมาเลยไม่ได้เข้ามาใช้ อ่าน จดหมายอีก

   ;)
186  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ภิกขุอปริหานิยธรรม ธรรมที่ไม่นำสู่ความเสื่อม ภาคปฏิบัติ 2 เมื่อ: เมษายน 04, 2013, 03:09:10 pm
  [๑๔๐]    ภิกษุทั้งหลาย    เราจะแสดงอปริหานิยธรรม    ๗    ประการอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงฟัง    จงใส่ใจให้ดี    เราจักกล่าว”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย
           ๑.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอนิจจสัญญา    (กำหนดหมายความไม่ เที่ยงแห่งสังขาร)
           ๒.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอนัตตสัญญา    (กำหนดหมายความเป็น อนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง)
           ๓.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอสุภสัญญา    (กำหนดหมายความไม่งาม แห่งกาย)
           ๔.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย 
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอาทีนวสัญญา    (กำหนดหมายทุกข์โทษของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง  ๆ)
           ๕.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปหานสัญญา    (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย)
           ๖.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญวิราคสัญญา(กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต)
           ๗.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญนิโรธสัญญา    (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็น ธรรมละเอียดประณีต)
              ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่    และใส่ใจอปริหานิยธรรม
ทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่

        อันนี้ภาคปฏิบัติล้วน ๆ เลยเกี่ยวกับ เจริญ กรรมฐาน ที่ชื่อว่า วิปัสสนา สัญญา 7 ประการ





187  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ภิกขุอปริหานิยธรรม ในการเป็นอยู่ร่วมกัน เมื่อ: เมษายน 03, 2013, 10:50:44 am
การภาวนา แท้ ๆ ไม่ต้องอ่านเยอะ เรียนมาก เพียงแต่ทำตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนสักเรื่อง  ก็เพียงพอแล้วต่อการภาวนา โดยเฉพาะเรื่องการปฏิบัิตตาม อริยมรรคมีองค์ 8 และ โพชฌงค์ 7 อานาปานสติ เป็นเรื่องที่ตรัสสอนบ่อยมาก ที่สุด ในพระไตรปิฏก  เพราะทั้ง 3 เรื่อง มักรวมเป็นเรื่องเดียวกัน เช่นอานาปานสติ ก็คือ อริยมรรคมีองค์ 8 หรือ โพงฌงค์ 7 อย่างนี้เป็นต้น

 
188  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ภิกขุอปริหานิยธรรม ภาคปฺฏิบัติ เมื่อ: เมษายน 03, 2013, 10:36:40 am
พระสุตตันตปิฏก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๓.  มหาปรินิพพานสูตร]
ภิกขุอปริหานิยธรรม  เล่มที่ 10 หน้า 85 - 86


[๑๓๙]    ภิกษุทั้งหลาย    เราจะแสดงอปริหานิยธรรม    ๗    ประการอีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงฟัง    จงใส่ใจให้ดี    เราจักกล่าว”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย
          ๑.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสติสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความระลึกได้)
          ๒.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้คือการเฟ้นธรรม)
          ๓.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญวิริยสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์แห่ง การตรัสรู้คือความเพียร)
          ๔.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย 
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปีติสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความอิ่มใจ)
          ๕.  ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์ แห่งการตรัสรู้คือความสงบกายสงบใจ)
          ๖.  ภิกษุพึงหวังได้    แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์  (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความตั้งจิตมั่น)
          ๗. ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย
  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์    (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้คือความวางใจเป็นกลาง)
              ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่    และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่




วิชาโลกุดร สยบมาร
๑. ตั้งที่กลางสะดือ ภาวนาว่า สติสัมโพชฌงค์
๒. ตั้งที่เหนือสะดือ ๒ นิ้ว ภาวนาว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
๓. ตั้งที่หทัย ภาวนาว่า วิริยะสัมโพชฌงค์
๔. ตั้งที่คอกลวง ภาวนาว่า ปีติสัมโพชฌงค์
๕. ทั้งที่โคตรภูท้ายทอย ภาวนาว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖. ตั้งที่กลางกระหม่อม ภาวนาว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
๗. ตั้งที่ระหว่างคิ้ว ภาวนาว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์
แล้วเปลี่ยนมา ภาวนาว่า โลกุตตะรัง จิตตัง ฌานัง

ผลประโยชน์ของวิชาโลกุดร สยบมาร
๑. แผ่ให้ผู้ที่ลำบาก
๒. แผ่บารมีให้มาร
๓. ทำจิตให้หลุดพ้น
๔. บูชาคุณครูบาอาจารย์
๕. เมตตา
๖. ปราบมาร
๗. มีความเพียร
๘. ปราบคนทุศีล
๙. รักษาโรคกาย โรคจิต ตนเอง และผู้อื่น
189  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ภิกขุอปริหานิยธรรม ในการเป็นอยู่ร่วมกัน เมื่อ: มีนาคม 30, 2013, 10:33:06 am
      พระสุตตันตปิฏก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๓.  มหาปรินิพพานสูตร]  เล่มที่ 10 หน้า 81 - 83
       
            ภิกขุอปริหานิยธรรม
            [๑๓๖]    เมื่อวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธจากไปไม่นาน    พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า    “อานนท์    เธอจงไปนิมนต์ภิกษุที่เข้ามาพักอยู่ในกรุงราชคฤห์ทุกรูปให้มาประชุมกันที่หอฉัน”
            ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    นิมนต์ภิกษุที่เข้ามาพักอยู่ในกรุงราชคฤห์ทุกรูปให้มาประชุมกันที่หอฉันแล้ว    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่    ณ    ที่สมควร    ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว    ขอพระผู้มีพระภาคจงกำหนดเวลาที่สมควรณ    บัดนี้เถิด    พระพุทธเจ้าข้า”

            ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาคทรงลุกจากพุทธอาสน์    เสด็จเข้าไปยังหอฉันประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    เราจะแสดงอปริหานิยธรรม    ๗   ประการแก่เธอทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงฟัง    จงใส่ใจให้ดี    เราจักกล่าว”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย
             ๑.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์    ประชุมกันมากครั้ง
             ๒.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังพร้อมเพรียงกันประชุม    พร้อมเพรียงกันเลิก ประชุม    และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะพึงทำ
             ๓.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่บัญญัติสิ่งที่เรามิได้บัญญัติไว้    ไม่ล้มล้างสิ่ง ที่เราได้บัญญัติไว้แล้ว    ถือปฏิบัติมั่นตามสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แล้ว
            ๔.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยัง สักการะ    เคารพ  นับถือ  บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ  เป็นรัตตัญญู  บวชมานาน เป็นสังฆบิดร  เป็นสังฆปริณายก  และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง
             ๕.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย   ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหาก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว
             ๖.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นผู้มุ่งหวังเสนาสนะป่า

             ๗.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังตั้งสติไว้ในภายในว่า    ‘ทำอย่างไร    เพื่อน  พรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงามที่ยังไม่มา    พึงมา    ท่านที่มาแล้ว   พึงอยู่อย่างผาสุก’
           
           ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่    และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่


 

      ส่วนใหญ่ เวลาพูดถึง  ภิกขุอปริหานิยธรรม  ก็จะพูดกันและยกกันอยู่ในเรื่อง หมู่ คณะ ความเป็นอยู่ ร่วมกัน ของสงฆ์ ( คำว่า สงฆ์ หมายถ พระภิกษุตั้งแต่  4 รูป ขึ้นไป )

      ส่วนนี้เพียงยกไว้ให้ท่านทั้งหลาย เข้าใจกันก่อนว่า  ภิกขุอปริหานิยธรรม นั้นมีต้นเรื่องอย่างนี้ แต่ส่วนนี้จะไม่อธิบาย นะจ๊ะ เพราะว่ามีคำอธิบายมากแล้ว ในส่วนต้น แต่ต่อไป จะยก  ภิกขุอปริหานิยธรรม  ในส่วนภาคปฏิบัติบุคคล มาให้ท่านรู้จัก ในบทต่อไป

      วันนี้ลองทบทวนกันเรื่องนี้ดูก่อน


 
  ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.suwalaiporn.com


   สรุป เนื้อหา ก็คือ

      1. หมั่นประชุม  คือการพูดกันตกลงกัน ให้เกิดความเข้าใจ ให้บ่อยครั้ง
      2. เลิกประชุม พร้อมกัน ไม่หนีออกที่ประชุมกันก่อน
      3. ไม่บัญญัติ สิ่งทีพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ และไม่ถอดสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ
      4. การให้ความเคารพ กับพระมหาเถระ พระเถระ พระสังฆปรินายก และฟังโอวาท ปฏิบัติตามโอวาท
      5. ไม่ทำสิ่งใดเพื่อ การย้อมใจด้วยตัณหา มีสักการะ สุข สรรเสริญ ยศ เป็นที่ตั้ง
      6. เป็นผู้สงัดด้วยเสนาสนะ พอใจเสนาสนะ ที่สงบ สงัด เพื่อ การภาวนา
      7. ตั้งสติ ไ้ว้ภายในใจว่า และปฏิบัติ สาธุด้วยการต้อนรับว่า  เราจักยินดีต้อนรับเพื่อนพรหมจรรย์ เมื่อมา ส่วนมาผู้อยู่แล้ว ก็ยินดีในการอยู่ร่วมกัน ตามธรรมและวินัย


     
 

 ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.komchadluek.net
 


   
190  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การถือ ธุดงค์ บางครั้ง ก็ไม่ได้เป็นไปเพื่อการดับกิเลส มีตัวอย่างพระพุทธพจน์ เมื่อ: มีนาคม 29, 2013, 12:17:51 pm
อยากให้ท่านทั้งหลาย ทำความเข้าใจ
 กับคำว่า ธุดงค์ และ จาริก
 ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน แต่คนละเรื่องราว


191  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การถือ ธุดงค์ บางครั้ง ก็ไม่ได้เป็นไปเพื่อการดับกิเลส มีตัวอย่างพระพุทธพจน์ เมื่อ: มีนาคม 29, 2013, 12:10:50 pm
ปัจจุบัน เรื่อง การเดินธุดงค์ ไม่ค่อยเหมาะสม แล้ว ในภาคกลาง แต่ยังมีเหมาะสมอยู่ ใน ภาคเหนือ อิสาณ สาเหตุมาจากเส้นทางการเดินธุดงค์ นั้นมีความสำคัญ เพราะ อันตรายจาก ยานยนต์ ที่เฉี่ยวชน พระธุดงค์ ทั้งเสียชีวิต และพิการ มีมากขึ้น

   

 http://www.dailynews.co.th/crime/22324

 
192  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เหตุใด.? "สติปัฏฐานมีแค่ ๔" เมื่อ: มีนาคม 29, 2013, 12:05:00 pm
อ้างถึง
เมื่อเป็นเช่นนี้ สติปัฏฐานก็ควรเข้าใจไว้ว่า พระองค์ตรัสไว้ ๔ อย่างเท่านั้นไม่ยิ่งไม่หย่อน (ไปกว่านี้)
     ก็เพื่อให้ละสุภวิปลาส สุขวิปลาส นิจจวิปลาสและอัตตวิปลาส.
     และไม่ใช่เพียงตรัสไว้เพื่อให้ละวิปลาสอย่างเดียวเท่านั้น แต่ควรเข้าใจว่า ตรัสไว้ ๔ อย่างเท่านั้น
     ก็เพื่อให้ละโอฆะ ๔ โยคะ ๔ อาสวะ ๔ คันถะ ๔
     และอุปทานทั้ง ๔ และอคติ ๔ ด้วย
     เพื่อให้กำหนดรู้อาหารทั้ง ๔ ด้วย.


  ให้ท่านทั้งหลาย ทบทวน ให้เข้าใจ
193  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ศิษย์เอกสมเด็จฯโต..."หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร" เมื่อ: มีนาคม 29, 2013, 12:00:48 pm
 st11 st12 thk56

    ที่ช่วยค้นหา เรื่องราว ลูกศิษย์ สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรมหรังษี

  st12
194  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / Re: แนะนำ facebook DhrammaPhuttho ( 25 มี.ค.56 ) เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 12:09:12 pm
195  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / แนะนำ facebook DhrammaPhuttho ( 25 มี.ค.56 ) เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 12:06:30 pm


DhrammaPhuttho

http://www.facebook.com/DhrammaPhuttho


 เป็นอีก facebook หนึ่งที่มีสาระธรรม แนววัดป่าธรรมยุติ ( สายปู่มั่น )

 
196  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก รายงานตัว ในเว็บ / ณฐพลสรรค์ เผือกผาสุก ( สมาชิก ทีมมัชฌิมา แนะนำวันที่ 25 มี.ค.56 ) เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 11:55:44 am


ณฐพลสรรค์ เผือกผาสุก ( สมาชิก ทีมมัชฌิมา  แนะนำวันที่ 25 มี.ค.56 )

  สมาชิก อีกท่านที่มีผลงานในเว็บนี้ จำนวนมาก อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นผู้โพสต์ สนทนาแจกธรรมเป็นหลัก ที่หัวข้อส่งจิตออกนอก และอีกหลายห้อง ในฐานะ กัลยาณมิตร ที่มั่นคงในธรรมทาน

   โทร 089-823-6122  Call center มอบหมายให้ หลายท่านติดต่อผ่านเบอร์นี้ หากจะนิมนต์อาจารย์ไปบรรยายธรรม หรือ ขอหนังสือ ไฟล์เสียงต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ไว้วางใจอีกท่านหนึ่ง ทีคอยช่วยเหลือสมาชิกด้วยดี ตลอดมา

   ซึ่งสำหรับ คุณณฐพลสรรค์ ( ปุ้ม ) นับว่าเป็นศิษย์ที่ติดตาม อาจารย์ไป มากกว่าใครในฆราวาสทั้งหมด ซึ่งในระหว่างที่ไปก็ได้เรียนกรรมฐาน เพิ่มเติมไปบ้าง ไม่มากก็น้อย ก็สามารถให้คำปรึกษา สมาชิกได้เช่นกัน

    st12
197  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก รายงานตัว ในเว็บ / ธรรมธวัช หรือ คุณธวัชชัย สุพันธ์สาย ( สมาชิกเว็บแนะนำ 24 มี.ค.56) เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 05:11:00 pm

ธรรมธวัช หรือ คุณธวัชชัย สุพันธ์สาย ( สมาชิกเว็บแนะนำ )

 เป็นสมาชิก ทีมงานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่มีการเอื้อเฟื้อ ส่งเสริมกันมาตั้งแต่ก่อนก่อตั้งเว็บนี้ และ เป็นผู้ที่นับถือกันชั้นต้น ๆ ของ พระสนธยา  ธัมมะวังโส

  กับการโพสต์ สาระ จากเนื้อเรื่อง ไปสู่คำกลอน และ กาพย์ โคลง

  เบอร์โทรติดต่อ 085-384-2945

 โดยอุปนิสัย เป็นคนเงียบ ๆ ชอบบุญกุศล นะ มีเชื้อชาวจีน ทางบิดา ดังนั้นโพสต์ก็มีเรื่องราวชาวจีน ปะปน ไปด้วยกัน นับว่าเป็นสมาชิก ที่ ควรแก่การเป็น กัลยาณมิตร

  หากใครทุกข์อก ทุกข์ใจ โทรไปคุยกับเขาเถอะ นะ รับฟังได้
 
 จริง หรือ ไม่จริง ก็ทดสอบกันเอาเอง นะจ๊ะ


 สำหรับ facebook

http://www.facebook.com/profile.php?id=100003462393323&ref=ts&fref=ts

  ยังไม่มีการอัพเดท ใดๆ นะจ๊ะ
 
 
198  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / mcu.hotnews ( สมาชิกแนะนำ 24 มี.ค.56 ) เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 04:49:53 pm


Mcu Hotnews (มจร.นิวส์)

http://www.facebook.com/mcu.hotnews

199  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เปิดจอง หนังสือสมถะวิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏกตามแนวของสมเด็จสุกไก่เถื่อน เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 04:46:48 pm


 หนังสือสมถะวิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏกตามแนวของสมเด็จสุกไก่เถื่อน
เสร็จแล้ว ผู้ที่จองมารับได้ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม โทร.084-651-7023


ข่าวสารภาพจาก http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

 st11 st12
200  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / พระธนเดช ปญฺญสโก ( สมาชิกแนะนำ 24 มี.ค. 56 ) เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 04:36:53 pm

รูปภาพตอนขึ้นกรรมฐาน พระธนเดช ท่านก็ได้ไปขึ้นกรรมฐานใหญ่เป็นทางการที่ คณะ 5 วัดพลับ พร้อมสหธรรมิก หลายรูป และญาติโยมจากเชียงรายก็มาหลายท่านในตอนนั้น


พระธนเดช ปญฺญสโก


http://www.facebook.com/srikanet



 สำหรับพระธนเดช ตอนนี้ ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดราชสิทธาราม คณะ3 ในการรับฝากดูแลจากหลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ขณะนี้
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 26