ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การนินทา จัดเป็นการโกหก ด้วยหรือไม่?  (อ่าน 5762 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kallaya

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 112
  • ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ ถ้ามองเห็นทุกข์.........
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
การนินทา จัดเป็นการโกหก ด้วยหรือไม่?
« เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 08:27:53 pm »
0
ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ ว่า การนินทา เกี่ยวกับการโกหกอย่างไร

 บางคนก็บอกว่า ผิดศีล ข้อ 4 บางคนก็บอกว่า ไม่เกี่ยว

 อยากถามความเห้นในห้องกรรมฐาน นี้ การนินทา จัดเป็นการโกหก หรือ ไม่ ผิดศีลข้อที่ 4 หรือไม่

  :s_hi: :c017: โปรดวิจารณ์ ด้วยความเคารพนะคะ :67:
บันทึกการเข้า
ปัจจุบันสำคัญที่สุด อดีตก็ช่างมัน อนาคตก็ช่างมัน ถ้าเราทำปัจจุบันไว้ดี

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การนินทา จัดเป็นการโกหก ด้วยหรือไม่?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 08:48:26 pm »
0
     
กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล,
       กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม


       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ


       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
           ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม


ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


นินทา
    น. คําติเตียนลับหลัง.ก. ติเตียนลับหลัง. (ป., ส. นินฺทา ว่า การติเตียน).


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


องค์แห่งการพูดเท็จ

การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
 
          1. เรื่องไม่จริง
 
          2. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
 
          3. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
 
          4. คนฟังเข้าใจความที่พูดนั้น



ลักษณะของการพูดเท็จ การพูดเท็จ มี 7 ประการ คือ
 
          - การพูดปด ได้แก่ การโกหก
 
          - การสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อด้วยการสาบาน
 
          - การทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง
 
          - มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง
 
          - ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด
 
          - พูดเสริมความ ได้แก่ การเสริมให้มากกว่าความเป็นจริง
 
          - พูดอำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน



การพูดอนุโลมการพูดเท็จ มี 2 ประการ คือ
 
          1. อนุโลมพูดเท็จ คือ เรื่องที่ไม่จริง แต่พูดโดยมีเจตนาให้คนอื่นเชื่อถือ ได้แก่
 
          - เสียดแทง เป็นการว่าผู้อื่นให้เจ็บใจ เช่น การประชด การด่า
 
          - สับปลับ เป็นการพูดปดด้วยความคะนองปาก

 
          2. ปฏิสสวะ คือ การรับคำของผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจไม่ทำตามที่รับนั้น ได้แก่
 
          - ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตาม ที่สัญญาไว้
 
          - เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตย์ไว้ แต่ภายหลังได้บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น
 
          - คืนคำ คือการรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่



ยถาสัญญา คือ การพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ ถือว่าไม่ผิดศีล มี 4 ประการ
 
          1. พูดโวหาร ได้แก่ การพูดหรือเขียนตามธรรมเนียม เช่น ขอแสดงความเคารพอย่างสูง ซึ่งใจจริงอาจไม่เคารพ เลยก็ได้ เช่นนี้ถือว่าไม่ผิดศีล
 
          2. การเล่านิทานหรือนิยายให้ผู้อื่นฟัง หรือแต่งเรื่องขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละคร หรือภาพยนตร์
 
          3. การพูดด้วยความเข้าใจผิด
 
          4. การพูดเพราะความพลั้งเผลอ



การพูดเท็จ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
 
1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
 
          2. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
 
          3. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น

 
          - คฤหัสถ์ที่โกหกว่า "ไม่มี" เพราะไม่อยากให้ของของตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยาน เท็จมีโทษมาก
 
          - บรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน "รู้เห็น" ในคุณวิเศษที่ตนไม่รู้ไม่เห็นมีโทษมาก



อ้างอิง

ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=311


    การนินทาเป็นการติเตียนลับหลัง หากเป็นการติเตียนด้วยความสัตย์ ไม่ถือว่าโกหก

    แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้พิจารณาองค์ประกอบของการพูดเท็จให้ดีด้วยว่า เข้าข่ายหรือไม่

    หากการติเตียนเข้าข่ายตามองค์ประกอบนั้นก็ถือว่า มุสา

     :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 22, 2011, 09:05:32 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การนินทา จัดเป็นการโกหก ด้วยหรือไม่?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 08:55:38 am »
0
การนินทา เป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่ในสังคมนั้นจัดได้ว่าเป็นเรื่อง เม้าส์กันอันดับต้น เชียวนะครับ

ดังนั้น ผู้หวังความสงบ ก็พึงเว้นจากการนินทา

 แต่ถ้าต้องถูกนินทา ต้องนึกถึง กลอนสุนทรภู่ เลยนะครับ

   อันนินทา กาเล เหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำ เหมือนเอามีด ไปกรีดหิน

 แม้แต่องค์ ปฏิมา ยังราคินทร์   มนุษย์เ้ดินดิน หรือจะ้พ้น คนนินทา



 
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การนินทา จัดเป็นการโกหก ด้วยหรือไม่?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 11:59:49 am »
0
 
      พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

      "ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก"

      "บุรุษผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีในบัดนี้"

     ลิงค์แนะนำ
     "ผู้ถูกนินทา หรือ ถูกสรรเสริญ โดยส่วนเดียวไม่มี"
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5178.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

GodSider

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 121
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การนินทา จัดเป็นการโกหก ด้วยหรือไม่?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 02:35:29 pm »
0
ดังนั้น เราจะเห็นว่าเวลาเราเข้าไปฝึกภาวนา นั้น จะถูกสั่ง หรือ บังคับ ขอให้เก็บวาจา คะ

การเก็บวาจา นั้นมีความจำเป้นเป็นอย่างมาก เพราะการเก็บวาจานั้นจะทำให้เราหมดจดจาก

การพูดเท็จได้

 

 เพราะบางครั้ง เราเองฝึกพูดเท็จกันเป็นนิสัย

อาจจะเป็นเพราะว่าถ้าพูดความจริงแล้ว คนรับไม่ได้

   เช่น สามี ถามภรรยา ว่า คุณรักผมไหม 
     ถึงจะหน่าย ขนาดไหน ก็ยังต้องโกหกว่า ยังรักอยู่มาก ด้วย......( ฮ่วย ถามทำไม )

 
บันทึกการเข้า
สุดเขต เสลดเป็ด ไกลสุดกู่ ใกล้แค่ ปลายจมูก