ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: โสดาปัตติผล ต้องบรรลุญาณที่ ๗  (อ่าน 2591 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28456
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
โสดาปัตติผล ต้องบรรลุญาณที่ ๗
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 09:14:10 pm »
0




โสดาปัตติผล ต้องบรรลุญาณที่ ๗


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔ ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์
โกสัมพิยสูตร สูตรว่าด้วย ภิกษุชาวกรุงโกสัมพี


พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โฆมิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี. สมัยนั้นภิกษุในกรุงโกสัมพีร้าฉานทะเลาะวิวาทกัน ใช้วาจาทิ่มแทงกัน ไม่(สามารถ)ทำความเข้าใจกันได้. พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งให้เรียกภิกษุเหล่านั้นมาประชุมกัน ตรัสสอบถาม เธอทั้งหลายรับว่าทะเลาะวิวาทกันจริง .

จึงตรัสถามว่า ในสมัยที่ทะเลาะวิวาทกันนั้น เธอได้ตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งในที่แจ้งที่ลับบ้างหรือเปล่า. เมื่อกราบทูลว่า เปล่า พวกเธอรู้อะไรเห็นอะไรจึงทะเลาะวิวาทกัน ข้อนั้นย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนาน.

@@@@@@

ต่อไปได้ตรัสถึง สาราณิยธรรม(ธรรมอันทำให้ระลึกถึงกัน) ๖ ประการ คือ
     
     ๑. ตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
     ๒. ตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตา
     ๓. ตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจารีทั้งในที่แจ้งที่ลับ
     ๔. แบ่งปันลาภแก่เพื่อนพรหมจารี.
     ๕. มีศีลอันดีเสมอด้วยเพื่อนพรหมจารี
     ๖. มีทิฏฐิความเห็นอันประเสริฐเสมอด้วยเพื่อนพรหมจารี.


     ธรรมทั้งหกอย่างนี้ ทำให้ระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รักเป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อไม่วิวาทกัน เพื่อสามัคคีกัน เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
    ในธรรม ๖ อย่างนี้ ข้อที่เป็นยอด คือ ทิฏฐิความเห็นอันประเสริฐ อันนำออกจากทุกข์ได้.

@@@@@@

ครั้นแล้วได้ทรงไขความของทิฏฐิอันประเสริฐ อันนำออกจากทุกข์ได้ โดยชี้ไปถึงฌานที่ ๒ ถึงญาณที่ ๗ อันเป็นโลกกุตตระ(ข้ามโลก) ไม่ทั่วไปแก่บุถุชนทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่าเป็นองค์ ๗ ที่ทำให้ผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ เหล่านี้ ประกอบด้วยโสดาปัตติผล ญาณทั้งเจ็ดมีดังนี้:-

    ญาณที่ ๑.    ภิกษุไปสู่ป่า สู่โคนไม้ หรือสู่เรือนว่าง พิจารณาว่า ปริยฏฐานะ (กิเลสที่ครอบงำจิต ) ในภายใน ที่เป็นเหตุให้รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง ที่ยังละไม่ได้ มีอยู่หรือไม่ คือถ้าภิกษุถูกความกำหนัดในกาม(กามราคะ) , ความพยาบาท, ความหดหู่ง่วงงุน , ความฟุ้งสร้านรำคาญใจ , ความลังเลสงสัย , ความคิดที่เวียนอยู่ในโลกนี้(อธิโลกจินฺตา) , การทะเลาะวิวาท , ครอบงำจิต แล้วมารู้ว่า ปริยุฏฐานะที่ยังละไม่ได้ไม่มี จิตของเราตั้งไว้ดีแล้ว เพื่อตรัสรู้สัจจธรรม. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๑. อันเป็นอริยะ เป็นโลกตตระ เป็นอสาธารณะแก่บุถุชนทั้งหลาย.

    ญาณที่ ๒    อริยสาวกพิจรณาว่า เราส้องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งทิฏฐินี้หรือเปล่า ซึ่งเราจะได้ความสงบระงับ ได้ความดับเย็น(นิพพุติ ) เฉพาะตน. เธอรู้ว่า ส้องเสพ เจริญ ทำให้มากทิฏฐินี้. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๒. ฯ ล ฯ .

    ญาณที่ ๓.    อริยสาวกพิจารณาว่า มีสมณพราหมณ์อื่นในภายนอกศาสนานี้ที่ประกอบด้วยทิฏฐิอย่างที่เรามีหรือไม่ หนอ . เธอรู้ว่า ไม่มี. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๓. ฯ ล ฯ .

    ญาณที่ ๔.    อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยธรรมดา เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิประกอบด้วยธรรมดาชนิดนั้นหรือไม่ ธรรมดาสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือต้องอาบัติ ก็แสดงเปิดเผย ทำให้ปรากฏในศาสดาหรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้โดยพลัน แล้วสำรวมระวังต่อไป. เธอประกอบด้วยธรรมดาเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๔. ฯ ล ฯ .

    ญาณที่ ๕.    อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยธรรมดา เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิประกอบด้วยธรรมชนิดนั้นหรือไม่. ธรรมดาสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือ ขวนขวายในกิจน้อยใหญ่ของเพื่อนพรหมจารี การเพ่งเล็งอย่างแรงกล้า เพื่อการศึกษา อธิศีล , อธิจิต , อธิปัญญา (ศีล สมาธิ ปัญญาอันยิ่ง ). เธอรู้ว่า เธอประกอบด้วยปัญญาเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๕. ฯ ล ฯ.

    ญาณที่ ๖.    อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลัง เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังนิดนั้นหรือไม่ ความเป็นผู้มีกำลังสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือ เมื่อมีผู้แสดงธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว เขาย่อมตั้งใจเงี่ยโสตสดับธรรม. เธอรู้ว่า เธอประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๖. ฯ ล ฯ.

    ญาณที่ ๗.    อริยสาวกพิจารณาว่า เราประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลัง เช่นเดียวกับบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังชนิดนั้นหรือไม่. ความเป็นผู้มีกำลังสำหรับบุคคลเช่นนั้น คือเมื่อมีผู้แสดงธรรมที่พระตถาคตประกาศแล้ว เขาย่อมได้ความรู้อรรถ ความรู้ธรรม ได้ความปราโมทย์ อันประกอบด้วยธรรม. เธอรู้ว่า เธอประกอบด้วยความเป็นผู้มีกำลังเช่นนั้น. เธอก็ได้บรรลุญาณที่ ๗. ฯ ล ฯ.

      ตรัสสรุปว่า ธรรมดาของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ เป็นอันสอบสวนด้วยดี เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผลอย่างนี้.

      อริยสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ อย่างนี้ ย่อมประกอบด้วยโสดาปัตติผล.



ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 07, 2018, 10:10:16 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ