ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:46:04 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ ข้าวมธุปายาส หรือ ข้าวทิพย์



 :25: :25: :25:

การกวนข้าวสำมะปิ หรือ ข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส

เป็นอีกประเพณีหนึ่งที่จะทำในงานประเพณีออกพรรษาตามความเชื่อของชาวอีสาน ซึ่งได้ปฏิบัติต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี

ข้าวสำมะปิ หรือข้าวทิพย์ ในพุทธประวัติเรียกว่า ข้าวมธุปายาส เป็นข้าวทิพย์ที่นางสุชาดา บุตรีกฏุมพี ในสมัยพุทธกาล จัดปรุงขึ้นแล้วนำไปถวายพระมหาบุรุษก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งหลังจากพระองค์ได้เสวยข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา ก็ได้ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณในย่ำรุ่งของคืนนั้นเอง

เหตุนี้ ชาวบ้านจึงเชื่อว่าข้าวมธุปายาสเป็นอาหารทิพย์ช่วยให้สมองดี เกิดปัญญาแก่ผู้บริโภค



ที่มา : Tnews https://www.tnews.co.th/religion/420474/

 
จุดเด่นของข้าวมธุปายาส

จากประวัติความเป็นมาและกรรมวิธีในการหุงข้าวมธุปายาส ที่พรรณนามาทั้งหมดจึงสรุปมูลเหตะที่ชาวพุทธทั้งหลายกล่าวยกย่อง "มธุปายาส" ว่าเป็น "ข้าวทิพย์" ได้ 3 ประการคือ

   1. เป็นของที่มีรสอันโอชะล้ำเลิศและกระทำได้ยากผู้ที่จะสามารถปรุงขึ้นได้ ต้องอาศัยบารมี
   2. เป็นของที่ปรุงขึ้นถวายแด่ผู้มีบุญญาธิการ ผู้ควรสักการะบูชา ปรุงขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น เพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อเทพยดา เป็นต้น รวมความก็คือ ทั้งผู้ปรุงและผู้รับต่างต้องมีบุญบารมีมากจึงจะกระทำได้
   3. เป็นอาหารที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยแล้วสามารถตรัสรู้บรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณได้

ที่มาของข้าวทิพย์ หรือ ข้าวมธุปายาส ครั้งพุทธกาล

ข้าวทิพย์ หมายถึง อาหารวิเศษ สำหรับถวายเทวดา ทำจากอาหาร 108 อย่าง เช่น น้ำนมข้าว ข้าวสาลีเกษตรสาคู เผือก มัน นม เนย ผักผลไม้ มะพร้าว น้ำอ้อย ฯลฯ นำมาบดจนเป็นแป้ง ผสมในน้ำกะทิกรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำตาล แล้วนำมากวนบนไฟอ่อนๆ จึงเรียกว่า "ประเพณีกวนข้าวทิพย์”
 
ข้าวมธุปายาส เป็นข้าว ที่หุงด้วยน้ำนม อย่างดี ที่นางสุชาดา ธิดาของเศรษฐีหมู่บ้านเสนานิคม ได้นำ ไปบวงสรวงเทพยดาที่ใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทรใหญ่) ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ได้พบพระพุทธองค์ ประทับอยู่ใต้ต้นนิโครธเข้าใจว่าเป็นเทพยดา จึงได้ข้าวมธุปายาสไปถวาย
 
เมื่อพระพุทธองค์ทรงเสวยเสร็จแล้ว แล้วนางได้กล่าวว่า
    "ขอให้พระองค์ จงประสพความสำเร็จ ในสิ่งที่พระองค์ ทรงประสงค์ เช่นเดียวกับที่ดิฉัน ได้ประสพความสำเร็จ ในสิ่งที่ดิฉัน ประสงค์แล้ว เถิดเจ้าข้า”
 
ดังนี้. พระองค์ทรงรับ บิณฑบาตนั้นแล้ว, ปั้นก้อนข้าวเป็น 49 ก้อน แล้วฉันจนหมด. อาหารมื้อนี้เอง เป็น อาหารมื้อก่อนการตรัสรู้ เป็นสมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า.
 
โดยได้ทรงนำถาดทองที่ใส่ข้าวมธุปายาสนั้นไปลอยน้ำ และทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากพระองค์จะได้ตรัสรู้ก็ขอให้ถาดทองนั้นลอยทวนน้ำขึ้นไป เมื่อพระองค์ทรงวางถาดลงในน้ำ ก็ปรากฏว่า ถาดทองลอยทวนน้ำขึ้นเหนือน้ำดังคำอธิฐาน ซึ่งพระองค์ทรงถือว่าภัตตาหารมื้อนั้นได้มีส่วนทำให้พระองค์ได้สำเร็จและตรัสรู้อริยสัจ 4 ได้

 

ที่มาภาพ : http://learn2learning.blogspot.com/2014/07/8.html


ประเพณีการกวน “ข้าวสำมะปิ” หรือกวนข้าวทิพย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

การกวนข้าวสำมะปิในปัจจุบันนิยมทำกันในช่วงก่อนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงก่อนออกพรรษา โดยแต่ก่อนจะใช้วัดเป็นสถานที่กวนข้าวสำมะปิ เพราะว่าวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวไทย

พิธีกวนข้าวทิพย์ จะเริ่มก่อนวันวิสาขบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เริ่มต้นด้วยพิธีพราหมณ์ ตั้งบายศรีบวงสรวงเทพยดาเครื่องประกอบในการตั้งบายศรี มีไตรจีวร 1 ชุด และถาดใส่อาหารมีข้าว ไข่ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว และผลไม้ พราหมณ์สวดชุมนุมเทวดา
 
แล้วเริ่มพิธีกวนข้าวทิพย์ โดยการนำเอาข้าวที่ยังเป็นน้ำนม (ข้าวที่เพิ่งออกรวงใหม่ ที่เมล็ดยังเป็นแป้ง นำมาเอาเปลือกออก) สิ่งของเครื่องปรุงข้าวทิพย์ คือมงคล 9 สิ่ง ได้แก่ นม เนย ถั่ว งา น้ำอ้อย น้ำตาล น้ำผึ้ง และผลไม้ต่าง ๆ ใส่ร่วมกันลงไป แล้วกวนให้ข้าวสุกจนเหนียว
 
การประกอบพิธี

พิธีจะเริ่มประมาณ 4 โมงเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 เริ่มด้วยพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
 
เด็กหญิงพรหมจารีรับศีล 8 เมื่อพระเจริญพระพุทธมนต์ถึงบทอิติปิโส เด็กหญิงจะลุกไปยังบริเวณพิธีกับผู้ชำนาญการ ส่วนคนอื่นจะเข้าไปไม่ได้ เด็กหญิงจะเป็นผู้เริ่มทำทุกอย่าง ตั้งแต่ก่อไฟ ยกกระทะขึ้นตั้งเตาไฟ แล้วเริ่มกวน กวนไปประมาณ 10 นาที ก็เป็นการเสร็จพิธีการ
 
หลังจากนั้นชาวบ้านจะช่วยกันกวนโดยผลัดกันตลอดคืน บางวัดเสร็จตี 3 ตี 4 จึงเป็นวันที่สนุกสนานของหนุ่มสาวอีกวันหนึ่ง เพราะจะช่วยกันมากวนข้าวทิพย์ มีการกระเซ้าเย้าแหย่กันเพื่อไม่ให้ง่วงนอน นับเป็นกำลังสำคัญในการกวน ส่วนคนแก่คนเฒ่าส่วนมากจะนอนค้างที่วัด วันรุ่งขึ้นเป็นวันพระมีการทำบุญตักบาตรเป็นการเอิกเกริกถวายข้าวทิพย์แด่พระภิกษุสงฆ์ และแจกจ่ายแบ่งปันกัน หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส อิ่มบุญกันทั่วหน้า เป็นอันเสร็จพิธี

แต่ปัจจุบันความเจริญได้เข้ามามีอิทธิพล ทำให้พิธีกรรมต่าง ๆ เหล่านี้หายไป ชาวบ้านได้ถือเอาความสะดวกเป็นหลัก








Thank to : https://www.trueplookpanya.com/dhamma/content/84809
Posted By มหัทธโน | 28 ก.ย. 63

แหล่งข้อมูล
- หนึ่งในประเพณีออกพรรษา กิน “ข้าวสำมะปิ” หรือ “ข้าวทิพย์” ช่วยให้สมองดี โดย ผู้จัดการออนไลน์
- ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ข้าวมธุปายาส และการตักบาตรเทโวโรหณะ ในวันออกพรรษา
- พิธีกวนข้าวทิพย์เนื่องในวันออกพรรษา โดย ไทอีสาน

 2 
 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2024, 08:57:21 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 3 
 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2024, 05:13:20 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 4 
 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2024, 12:39:08 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 5 
 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2024, 09:16:02 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 6 
 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2024, 09:00:06 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้

 7 
 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2024, 06:29:53 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan


บรรยากาศในห้องเรียนที่จัดการศึกษาวิทยาการสมัยใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5


“คลาสภาษาอังกฤษ” สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนกันอย่างไร? เมื่อคนสอนพูดไทยไม่ได้ คนเรียนพูดอังกฤษไม่เป็น

หลายคนน่าจะพอคุ้นชื่อ แอนนา เลียวโนเวนส์ หรือ “แหม่มแอนนา” ครูสอนภาษาอังกฤษสมัยรัชกาลที่ 4 กันบ้าง ยุคนั้นผู้เรียนส่วนใหญ่คือเจ้าจอมและพระราชธิดาในพระองค์ พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยโลกที่เปลี่ยนไปทำให้ทรงมีพระราชประสงค์ฝึกหัดคนเพื่อดูแลกิจการบ้านเมือง หนึ่งในนั้นคือต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษ จึงทรงตั้งโรงเรียนภาษาอังกฤษในพระบรมมหาราชวังขึ้น แล้ว คลาสภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนกันอย่างไร ในเมื่อคนสอนพูดไทยไม่ได้ ส่วนคนเรียนก็พูดอังกฤษไม่เป็น

ดร. อาวุธ ธีระเอก เล่าในหนังสือ “ภาษาเจ้า ภาษานาย การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ ๕” (สำนักพิมพ์มติชน) ตอนหนึ่งว่า

คลาสภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มเมื่อราว พ.ศ. 2415 เมื่อ ฟรานซิส จอร์ช แพทเทอร์สัน ครูชาวอังกฤษเดินทางมาสยาม เพื่อเยี่ยมน้าชายคือ หลวงรัถยาภิบาลบัญชา (กัปตันเอม) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้จ้างไว้เป็นครู และให้ตั้งโรงเรียนภาษาอังกฤษคู่กับโรงเรียนไทยที่มีอยู่เดิม

โรงเรียนภาษาอังกฤษนี้จัดสอนเจ้านายช่วงเช้า และสอนทหารมหาดเล็กช่วงบ่าย ตอนแรกก็คึกคัก มีนักเรียนมาเรียนกว่า 50 คน แต่ต่อมาส่วนใหญ่เลิกเรียนกลางคัน เจ้านายที่อายุมากหน่อยก็ออกไปทำราชการ ชั้นรองลงมาก็มักถึงเวลาผนวชเป็นสามเณร ส่วนทหารมหาดเล็กก็ต้องเรียนวิชาอื่นมาก จึงมาเรียนภาษาอังกฤษได้น้อยลง

ปีถัดมา นักเรียนจึงเหลือไม่ถึงครึ่ง และเริ่มลดลงเรื่อยๆ ซ้ำยังไม่มีนักเรียนใหม่มาเพิ่ม เมื่อถึงปีที่สามจึงเหลือเพียงนักเรียนเจ้านาย 5 พระองค์ และย้ายที่เรียนไปยัง “หอนิเพธพิทยา” ที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จากนั้นโรงเรียนก็เป็นอันเลิกไป เมื่อครูแพทเทอร์สันเดินทางกลับหลังครบสัญญา 3 ปี

@@@@@@@

คลาสภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนกันอย่างไร ในเมื่อต่างฝ่ายต่างพูดภาษาของอีกฝ่ายไม่เป็น

คำตอบคือ สมัยนั้น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ที่ทรงทันเรียนภาษาอังกฤษกับ “แหม่มแอนนา” ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำหน้าที่ล่าม พอแปลคำง่ายๆ ได้บ้าง คำศัพท์ที่เกินความรู้ก็ใช้พจนานุกรมที่เรียกว่า “หนังสืออภิธานศัพท์” เข้าช่วย

ผู้สอนใช้หนังสืออภิธานศัพท์ของหมอแมคฟาร์แลนด์ ที่แปลศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยชี้ให้นักเรียนดูความหมายในภาษาไทย ส่วนผู้เรียนใช้หนังสือ “สัพพะจะนะภาษาไทย” ของสังฆราชปัลเลกัวซ์ ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2397 (สมัยรัชกาลที่ 4) แปลคำภาษาไทยเป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาละติน

ส่วนเนื้อหาและวิธีการสอน ผู้สอนสอนทั้งภาษาและเนื้อหาวิชาควบคู่กันไป โดยใช้หนังสือและแผนที่ฝรั่งเป็นหลัก วิชาเลขก็ใช้มาตราอังกฤษ ทั้งยังสอนให้รู้ความเป็นไปในต่างประเทศ และสถานการณ์บ้านเมืองต่างๆ เช่น เยอรมนีทำสงครามชนะฝรั่งเศส การเปลี่ยนระบอบการปกครองของฝรั่งเศสจากราชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตย ฯลฯ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หนึ่งในผู้ที่ทรงเล่าเรียนกับครูแพทเทอร์สัน เห็นว่าวิธีดังกล่าวไม่เพียงแต่ให้หัดแปลความ แต่ให้หัดพูด หัดอ่าน แนะให้เข้าใจความ เป็นประโยชน์ต่อพระองค์อย่างยิ่ง ทำให้ทรงใช้งานภาษาอังกฤษได้จริง

ตอนหลังเมื่อต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ภาษาของกันและกันมากขึ้น การใช้พจนานุกรมช่วยในการสื่อสารระหว่างกันก็ลดน้อยลงไป


อ่านเพิ่มเติม :-

    • แหม่มแอนนา เล่าเรื่องเจ้าจอมในพระปิ่นเกล้าฯ ส่วนใหญ่เป็นหญิงลาว ชี้ สวย-ละมุนกว่าไทย
    • ไฉน “แหม่มแอนนา” ปลื้ม “พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์” พระราชธิดาผู้สิ้นชีพในคุกหลวง
    • “ฮาเร็ม” ของ “เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์” จากบันทึกแหม่มแอนนา จริงหรือที่สภาพ “น่าเวทนานัก”






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_132784
อ้างอิง : ดร. อาวุธ ธีระเอก. ภาษาเจ้า ภาษานาย การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพฯ :มติชน, 2560

 8 
 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2024, 06:15:58 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 3 องค์ที่วัดสามพระยา (ภาพ : ข่าวสดออนไลน์)


“วัดสามพระยา” บางขุนพรหม สามพระยานี้มีใครบ้าง.?

วัดสามพระยา ตั้งอยู่ย่าน “บางขุนพรหม” กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 3 องค์ ที่พุทธศาสนิกชนนิยมไปกราบไหว้ คือ หลวงพ่อพระพุทธเกสร หลวงพ่อพระนั่ง และหลวงพ่อพระนอน วัดนี้มีประวัติความเป็นมายาวนานนับร้อยปี สร้างโดยขุนนาง 3 พี่น้อง ที่มีตำแหน่งเป็น “พระยา” แล้ว 3 พระยาที่ว่านี้มีใครบ้าง?

วัดสามพระยาเดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อ “วัดขุนพรหม” ตั้งตามชื่อ ขุนพรหมรักษา (สารท) ตำแหน่งปลัดกรมทหารในขวา ขุนนางเชื้อสายมอญ ซึ่งเสียชีวิตด้วยไข้ป่าขณะรับราชการสร้างมณฑปพระพุทธบาท สระบุรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

หลังขุนพรหมรักษาสิ้นไปแล้ว หลวงวิสูตรโยธามาตย (ตรุษ) ตำแหน่งในกรมพระตำรวจ ผู้เป็นพี่ชาย จึงยกบ้านและที่ดินของขุนพรหมรักษาสร้างเป็นวัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้น้องชาย ให้ชื่อว่า วัดขุนพรหม บริเวณที่ตั้งวัดนี้ภายหลังเรียกกันว่า บางขุนพรหม

@@@@@@@

เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดขุนพรหมอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ลูกหลานของขุนพรหมรักษา ได้แก่
   - พระยาราชสุภาวดี (ขุนทอง) ตำแหน่งเจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง
   - พระยาราชนิกุล (ทองคำ) ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย และ
   - พระยาเทพอรชุน (ทองห่อ) ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกรมพระกลาโหม ได้ร่วมใจกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดขุนพรหมขึ้นใหม่

เมื่อบูรณปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ทั้งสามจึงพร้อมใจน้อมเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 3 ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร และโปรดพระราชทานนามเป็นอนุสรณ์แก่ผู้บูรณปฏิสังขรณ์ คือ พระยาทั้ง 3 ท่าน ว่า “วัดสามพระยา”


อ่านเพิ่มเติม :-

   • ที่มาชื่อวัดชนะสงคราม และเรื่องเล่า “วังหน้าพระยาเสือ” ถวายเสื้อยันต์บูชาพระ
   • “พระแสงราวเทียน” ของ “วังหน้าพระยาเสือ” สมบัติชาติที่สูญหาย คืนสู่วัดมหาธาตุฯ
   • “วัดชัยชนะสงคราม” เจ้าพระยาบดินทรเดชา ขุนพลคู่พระทัยรัชกาลที่ 3 สร้างเพราะชนะสงครามอะไร






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 20 พฤษภาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_132790

อ้างอิง :-
- ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ชื่อบ้านนามเมืองในกรุงเทพฯ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : มติชน, 2551
- ข่าวสดออนไลน์. ขอพร “3 พระประธาน” มงคล-วัดสามพระยา.

 9 
 เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2024, 06:10:23 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ฮือฮา โบสถ์วัดดังเมืองตรัง ทาสีธงชาติไทยทั้งหลัง สุดแปลก เจ้าอาวาสเผยเหตุผล

ฮือฮา โบสถ์วัดดังเมืองตรัง ทาสีธงชาติไทยทั้งหลัง สุดแปลก เจ้าอาวาสเผยเหตุผล เพื่อเตือนใจอนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงบรรพบุรุษไทย ดึงคนเข้าวัด และเป็นโบสถ์เพียงแห่งเดียวใน จ.ตรัง

วันที่ 20 พ.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดควนอินทนินงาม ริมถนนสายตรัง-ย่านตาขาว หมู่ที่ 1 ต.ทุ่งกระบือ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง พระครูปลัดเริงชัย สุภโร เจ้าอาวาสวัดควนอินทนินงาม ผุดไอเดียการทาสีโบสถ์ทั้งหลังด้วยสีธงชาติไทย ทั้งสีแดง สีขาวและสีน้ำเงิน สื่อความหมายถึงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

และเพื่อเตือนใจให้อนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงบรรพบุรุษไทย เป็นการปลุกใจให้รักชาติ และยังสามารถดึงคนเข้าวัดด้วยความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร ทำนักท่องเที่ยวที่ผ่านไป-มาบนถนนสายดังกล่าว ต่างรู้สึกประทับใจ และแวะเวียนเข้ามาถ่ายภาพโพสต์ลงโซเชียลและเพจต่างๆ กันอย่างต่อเนื่อง




สำหรับโบสถ์หลังนี้ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2555 มีขนาดความยาว 100 เมตร ความกว้าง 30 เมตร สูง 2 ชั้น ใช้เงินก่อสร้างไปแล้วกว่า 20 ล้านบาท แต่ก่อสร้างแล้วเสร็จไปประมาณ 50 % ยังไม่ได้ติดตั้งระบบไฟฟ้าและน้ำประปา เนื่องจากวัสดุก่อสร้างมีราคาแพงขึ้น

ภายในเป็นลานกิจกรรม สำหรับให้เยาวชนและประชาชน ได้ใช้ในการประกอบพิธีต่าง ๆ และมีพระประธานปางมารสะดุ้งองค์ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ น้ำหนัก 80 ตัน ที่มีดวงตาเป็นนิลสีดำประดิษฐานอยู่ส่วนบริเวณรอบโบสถ์จะมีการสร้างน้ำตก ให้น้ำไหลเวียนได้รอบโบสถ์ เพื่อให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้านและนักท่องเที่ยวได้อีกทางหนึ่งด้วย






พร้อมกับการปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาแก่คนและสัตว์ เช่น กระรอก กระแต นก และหมาแมว โดยผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมบริจาคได้ที่ Fb วัดควนอินทนินงาม หรือที่พระครูปลัดเริงชัย หมายเลขโทรศัพท์ 085-8892403

ด้านพระครูปลัดเริงชัย สุภโร เจ้าอาวาสวัดควนอินทนินงาม กล่าวว่า ที่ตรังไม่มีวัดไหนมีโบสถ์สีธงชาติเต็มรูปแบบเหมือนของทางวัด ที่ตรังคงจะไม่มี ถ้ามีก็มีเฉพาะหลังคา ซึ่งของเราเป็นชั้นแบบสีธงชาติเลย ส่วนใครสนใจให้เปิดติดตามได้ในเน็ตซึ่งอาจจะขึ้นเบอร์วัด ส่วนหมายเลขโทรศัพท์ของอาตมาคือ 085-8892403





ขอบคุณ : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8242208
20 พ.ค. 2567 - 15:35 น

 10 
 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2024, 04:02:46 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

หน้า: [1] 2 3 ... 10