ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถามว่า อากาส กับ ลม ต่างกันอย่างไร ครับ  (อ่าน 5403 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

teepung

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 52
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรียนถามว่า อากาส กับ ลม ต่างกันอย่างไร ครับ
 หมายถึงเรื่อง ธาตุ นะครับ ว่าต่างกันอย่างไรครับ
ขอบคุณมากครับ

  :25: :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า
ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถามว่า อากาส กับ ลม ต่างกันอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2012, 11:10:50 pm »
0
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงเปรียบเทียบ ความเป็นโลก เอาไว้กับของที่มีและเห็นง่าย
โลก ก็คือ ธาตุ ดิน นํา ลม ไฟ อากาส
      พระองค์ทรงยกเปรียบเทียบเอาไว้กับของที่มีอยู่
     ลักณะธาตุต่าง ก็ตรงตาม ที่เรา ได้รู้ ได้เห็น และได้เข้าใจได้ง่าย และตรงตัว ตามลักษณะที่ธาตุนั้นๆ มีอยู่ เป็นอยู่

      ธาตุลม ก็เหมือนลมพัด พัดพา ไม่หยุด ลอยไป หมุนไป อาการของลมก็มีหลายอย่าง แต่ก็คือไม่ได้หยุดนิ่ง
     ธาตุอากาส ก็คือความหยุดนิ่งๆ หยุดนั่นเอง
       ธาตุอากาสนั้นสูงกว่าธาตุลม
       ถ้าตามองค์ธรรม พระปีติห้า

       ก็เป็นขั้นสี่ และ ขั้นห้า
       ขออธิบายไว้เท่านี้ตามที่เคยได้ยินครูบาอาจารย์เล่าให้ฟัง จําได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็เท่านี้
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถามว่า อากาส กับ ลม ต่างกันอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2012, 05:58:40 pm »
0
ธาตุ ๑- สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย,
       ธาตุ ๔ คือ
           ๑. ปฐวีธาตุ สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน
           ๒. อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบดูดซึม เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ
           ๓. เตโชธาตุ สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ
           ๔. วาโยธาตุ สภาวะที่ทำให้เคลื่อนไหว เรียกสามัญว่า ธาตุลม ;
       ธาตุ ๖ คือ เพิ่ม
           ๕. อากาสธาตุ สภาวะที่ว่าง
           ๖. วิญญาณธาตุ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์ หรือ ธาตุรู้


[๑๑๘] วาโยธาตุ เป็นไฉน
             วาโยธาตุมี ๒ อย่างคือ วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก
             ในวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุภายใน เป็นไฉน
             ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน
เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ
ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจ
ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความ
เคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่
นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายใน
             วาโยธาตุภายนอก เป็นไฉน
             ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปเป็นภายนอก
เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้
ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ
ลมบน ลมกระพือปีก ลมครุธ ลมใบตาล ลมเป่าปาก หรือ ความพัดไปมา
ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้าง
นอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายนอก
             วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็น
หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า วาโยธาตุ



[๑๑๙] อากาศธาตุ เป็นไฉน
             อากาศธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาศธาตุภายใน อากาศธาตุภายนอก
             ในอากาศธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาศธาตุภายใน เป็นไฉน
             อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่า
ความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง
เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่อง
ปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม  ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน
ของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มไหลออก
เบื้องต่ำ หรือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติ
อันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่
ถูกต้อง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า
อากาศธาตุภายใน
             อากาสธาตุภายนอก เป็นไฉน
             อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่า
ความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูก
ต้อง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายนอก
             อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้า
เป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ



ดังพระสูตรจะเห็นความแตกต่างของสภาพธรรมในธาตุทั้ง 2 อย่างชัดเจน

ในลมเองก็มีอากาศ ช่องว่างใดๆที่ทำให้ลมนั้นไม่ผัสสะกันนั่นคืออากาศธาตุ
ซึ่งอากาศธาตุนั้นจะแทรกอยู่ในทุกธาตุ
หากลมไม่มีอากาศธาตุก็จะไม่มีการเคลื่อนตัวได้ เพราะไม่มีช่องว่างให้เคลื่อนไหวผลักดันไป

พิจารณาดูดั่งลมหายใจเข้าออกของเราได้ครับ แต่อากาศธาตุเนธาตุที่เห็นได้ยากรู้ได้ยาก
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เรียนถามว่า อากาส กับ ลม ต่างกันอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2012, 11:02:06 am »
0
อากาศธาตุ ต่างกับ วาโยธาตุ ตรงที่ วาโยธาตุ เคลื่อนที่ได้ แต่ อากาศธาตุ นั้นไม่เคลื่อนที เป็นช่องว่าง
วาโยธาตุ เคลื่อนที่ได้ เพราะมีอากาศธาตุให้ จึงเคลื่อนที่ได้ หากที่ใดไม่มีอากาศธาตุ ที่นั้นไม่มีวาโยธาตุ ให้เข้าใจง่าย ๆ เปิดพัดลมพัดเข้าไปในห้อง แต่มีกำแพงกั้นไว้ วาโยธาตุ ก็ผ่านไม่ได้ นะจ๊ะ

 ดังนั้น อากาศธาตุ สนับสนุน วาโยธาตุ
 อากาศธาตุ ก็เป็นเพียงธาตุ
 วาโยธาตุ ก็เป็นเพียงธาตุ เข่นเดียวกัน

 อากาศธาตุ และ วาโยธาตุ มีสองประการ ที่เป็นภายใน และ ภายนอก

 ดังนั้นการเข้าถึง ธาตุ ทั้งสองมีการเข้าถึง 2 แบบ คือ ถึงด้วยกาย ถึงด้วยจิต

 เจริญธรรม / เจริญพร

  ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ