ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระไตรปิฏก ไทย มี กีี่แบบ คะ แบบไหน อ่านง่ายที่สุดคะ  (อ่าน 21571 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรียนถาม ท่านผู้รู้ ทุกท่่านเลยนะคะ
 พระไตรปิฏก ที่เป็นภาษาไทย ตอนนี้ มีกี่แบบ คะ และแบบไหน ใช้ภาษาไทยที่อ่านได้ง่าย คะ ช่วยแนะนำด้วยคะ และ ราคาพระไตรปิฏก ทั้งชุดนี้ราคาเท่าไหร่คะ หรือ ต้องการอ่านเฉพาะบางเล่ม จะหาซื้ออ่านได้ที่ไหนคะ


  :25: :c017: :58:
บันทึกการเข้า

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน (ปกแข็ง) รวมเล่มเดียวจบ ย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี 45 เล่ม
http://mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/Pali%20Text%20Society.html



http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/
บันทึกการเข้า

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าถามแบบ แล้ว ตอนนี้ น่าจะมีอยู่ 4 แบบ โดยสื่อนะครับ
 1.หนังสือ
 2.เสียง
 3.cdrom data
 4.ใบลาน

 ส่วนภาษา มี 2  ภาษา
1.ฉบับบาลี ต้นฉบับ
2.ฉบีบไทย แปลจากต้นฉบับ มีหัวข้อกำกับ

 ประเภท มี 2 ประเภท
 1.ฉบับแปลไทย
 2.ฉบับแปลไทยเพิ่ม อรรถกถา

 เนื้อความมี สองแบบ
 1.ฉบับเต็ม 45 เล่ม และ 92 เล่ม มีอรรถกถา
 2.ฉบับย่อ มีเล่มเดียว และ แบ่งเป็นไตรภาค คือ พระวินัย พระสูตร และ พระอภิธรรม
 
   :49:
 
 

 
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าจำไม่ผิด ถ้าจะหาซื้อพระไตรปิฏก มาตรฐาน ก็จะมี 3 ฉบับ ที่จำหน่าวยอยู่ ส่วนที่ทำมาใหม่ ๆ นั้น ไม่ค่อยแตกฉานนะครับ

    1.พระไตรปิฏก ยอดนิยม คือ ของ วัดบวรนิเวศน์ มหามงกุฏวิทยาลัย มี 92 เล่ม รวมอรรถกถาในเล่ม ฉบับสีน้ำตาล

    2.พระไตรปิฏก ฉบับมหาจุฬา  จัดทำโดยวัดมหาธาตุ  มี 45 เล่ม

    3.พระไตรปิฏก ประชาชน จำนวนไม่แน่ใจ เคยได้อ่านเป็นสำนวนแบบ เทศน์ใบลาน

  และพิเศษ ฉบับย่อ ประชาชน 1 เล่ม โดย สุชีพ ปุญญานุภาพ ( ถ้าจำไม่ผิด ) ราคาที่ผมซื้อตอนนั้นเมื่อ 10 กว่าปีก่อน 350 บาท มีรายละเอียด แบบย่อ สำหรับผู้สูงอายุ ต้องใช้แว่นในการอ่าน เพราะตัวหนังสือ ค่อนข้างเล็กครับ

  และปัจจุบัน พระไตรปิฏก ก็มีหลายฉบับ นะครับ ตอนนี้ต้องเลือกอ่าน ตามสะดวก

 
บันทึกการเข้า

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณมากคะ ช่วยแนะนำ เนื้อหาที่เกี่ยวกับกรรมฐาน ว่าควรจะอ่านพระไตรปิฏก เล่มไหนดีคะ

 :c017: :88:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
โดย สุชีพ ปุญญานุภาพ

      สมัยที่ ๑ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ ใช้เวลา ๑ ปี จึงสำเร็จ เมื่อทำการฉลองสมโภชแล้วก็ได้ให้สร้างมณเฑียร ในวัดโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎก ข้อที่น่าสังเกตก็คือ ตัวอักษรที่ใช้ใน การจารึกพระไตรปิฎกในครั้งนั้นคงเป็นอักษรแบบไทยลานนาคล้ายอักษรพม่า มีผิดเพี้ยนกันบ้าง และพอเดาออกเป็นบางตัว

      สมัยที่ ๒ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่กรุงเทพฯ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ (คือวัด มหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ในปัจจุบัน) สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๓๐ ใช้เวลา ๑ ปี จึงสำเร็จ พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์จ้างช่างจารจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน และให้แปลฉบับอักษรลาวอักษรมอญ เป็นอักษรขอม สร้างใส่ตู้ไว้ในหอมณเฑียรธรรม และสร้างพระไตรปิฎกถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง

      นอกจากนั้น ยังทรง ให้ช่างปิดทองแท่งทับทั้งใบปกหน้าหลังและกรอบทั้งสิ้นเรียกว่าฉบับทอง ห่อด้วยผ้ายก เชือกรัด ถักด้วยไหมแพรเบญจพรรณ มีฉลากงาแกะเขียนอักษรด้วยหมึกและฉลากทอเป็นตัวอักษรบอก ชื่อพระคัมภีร์ทุกคัมภีร์

     สมัยที่ ๓ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพฯ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ สาระสำคัญที่ได้กระทำ คือ คัดลอกตัวขอมในคัมภีร์ใบลานเป็นตัวไทย แล้วชำระแก้ไข และพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม

     สมัยที่ ๔ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพฯ สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ มีข้อที่พึงกล่าวถึงดังนี้

    - ได้ใช้เครื่องหมายและอักขรวิธีตามแบบของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งทรงคิดขึ้นใหม่
    - พิมพ์ ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทานในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ เหลืออีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก
    - การพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้ นับว่าได้เพิ่มเติมส่วนที่ยังขาดอยู่ให้สมบูรณ์
    - ผลของการที่ส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อสามารถอ่าน พระไตรปิฎกฉบับไทยได้ เช่น พระญาณติโลกเถระ ชาวเยอรมัน ที่ได้ชมเชยไว้ว่า ฉบับพระไตรปิฎกของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษเป็นอันมาก
    - ในการพิมพ์ครั้งนี้ ได้ทำอนุกรมต่างๆ ไว้ท้ายเล่มเพื่อสะดวกในการค้น แม้จะไม่สมบูรณ์แต่ก็มี ประโยชน์มาก



ที่มา http://www.fungdham.com/tripitaka-knowledge.html
ขอบคุณภาพจาก http://a6.sphotos.ak.fbcdn.net/


     
    กระทู้แนะนำ
    พระไตรปิฎก จปร.อักษรสยาม..."กู้ชาติไทย"
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8634.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ข้อความเบื้องต้น ความรู้เรื่อง "พระไตรปิฎก"

พระไตรปิฎก คือ ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งบันทึกคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาไว้เป็นหลักฐาน

คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา ในชั้นแรกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ คำสั่งที่เรียกว่า พระวินัย กับคำสอนที่เรียกว่า พระธรรม แต่ในภาษาพูดใช้คำว่า พระธรรมวินัย โดยนำพระธรรมมาเรียงไว้หน้าที่พระวินัย

พระวินัยเป็นเรื่องของคำสั่ง หรือศีล หรือระเบียบข้อบังคับ ที่ห้ามทำความชั่ว หรือสิ่งที่ไม่เหมาะ ไม่ควรต่างๆ
พระธรรม เป็นเรื่องของคำสอน หรือธรรม ที่ให้ทำความดี และให้ชำระจิตใจให้สะอาด


การสอนให้ละเว้นความชั่ว และให้ทำความดี มีสอนกันอยู่ทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในพระพุทธศาสนา แต่การสอนให้ชำระจิตให้สะอาด ทางพระพุทธศาสนากำหนดไว้เป็นอีกส่วนหนึ่งอย่างชัดเจน และถือเป็นเรื่องที่เน้นมาก ถัดมาจากข้อละเว้นความชั่ว และทำความดี

ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้วประมาณ ๒๓๔ หรือ ๒๓๕ ปี ในการสังคายนาครั้งที่ ๓ ได้มีการคิดกันในหมู่พระสงฆ์ ผู้รับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนาว่า คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา น่าจะแยกเป็น ๓ ส่วน คือ

๑. พระวินัย ได้แก่ ระเบียบข้อบังคับหรือศีล
๒. พระสูตร ได้แก่ คำสอนทั่ว ๆ ไปทั้งของพระพุทธเจ้าและพระ- พุทธสาวก และ
๓. พระอภิธรรม ได้แก่คำสอน ที่เน้นส่วนที่เป็นแก่นแห่งความจริงหรือสาระ สำคัญ

เมื่อมีการแบ่งคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาออกเป็น ๓ ส่วนเช่นนี้ จึงได้มีการใช้คำว่า "พระไตรปิฎก" คือ ตำรา หรือคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๓ ส่วน คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก โดยกำหนดให้ระเบียบข้อบังคับ หรือศีลเป็นพระวินัยปิฎก คำสอนทั่วๆ ไปเป็น พระสุตตันตปิฎก และคำสอนที่ว่าด้วยสาระสำคัญ หรือแก่นความจริง เป็นพระอภิธรรมปิฎก



สมเด็จพระสังฆราช ทรงอธิษฐานจิตลงอักขระแผ่นทอง


ความเป็นมาของพระไตรปิฎก

ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเป็นตัวหนังสือ เมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว ท่านใช้วิธีท่องจำคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา แล้วกล่าวทบทวนหรือสวดพร้อมๆ กันนำสืบต่อกันมา โดยเหตุที่คำสั่งสอนมีอยู่มาก ถึงขนาดเมื่อพิมพ์รวมเป็นเล่มหนังสือพระไตรปิฎกแล้ว มีจำนวน ถึง ๔๕ เล่ม ยากที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะท่องจำเพียงผู้เดียวให้จบบริบูรณ์ได้ จึงมีการแบ่งหน้าที่กัน ให้กลุ่มนี้ท่องจำส่วนนี้ กลุ่มนั้นท่องจำส่วนนั้น กลุ่มอื่นท่องจำส่วนอื่น รวมกันหลายๆ กลุ่ม ช่วยกันท่องจำพระไตรปิฎก เรียงลำดับตั้งแต่ต้น จนจบ สามารถกล่าวทบทวนปากเปล่าได้

เมื่อมีการใช้ตัวหนังสือ และมีการเขียนหนังสือแพร่หลายขึ้น จึงได้มีการจดจารึกข้อความแห่งพระไตรปิฎกลงในใบลาน ใบลานคือ ใบของต้นลาน ซึ่งนอกจากใช้สานทำหมวก ทำเครื่องใช้อื่นๆ แล้ว ยังใช้แทนกระดาษ ในสมัยที่ยังมิได้คิดทำกระดาษขึ้น

วิธีจดจารึกข้อความลงในใบลานที่เรียกว่า "จาร" นั้น คือ ใช้เหล็กแหลมที่เรียกว่า "เหล็กจาร" เขียนหรือขีดข้อความเป็นตัวหนังสือ ลงไปในแผ่นใบลาน แล้วเอาเขม่าหรือดินหม้อ ซึ่งมีสีดำ ผสมกับน้ำมะพร้าว คนให้เข้ากันดี แล้วทาถูลงไปบนรอยที่ขีดเขียนนั้น แล้วเอาผ้าเช็ดให้แห้ง สีดำที่ซึมลงไปในรอยขีดเขียน จะปรากฏเป็นตัวหนังสือ ให้อ่านข้อความได้ตามความประสงค์

เมื่อรวมใบลานได้หลายแผ่นแล้ว ถ้าจะทำให้เป็นชุดเดียวกันคล้ายเล่มหนังสือ ก็เอาเหล็กแหลมเผาไฟ เจาะให้เป็นช่อง เอาด้ายร้อยรวมเป็นผูก แล้วใช้ผ้าห่อเก็บไว้ให้เป็นชุดติดต่อกัน การจดจารึกข้อความแห่งพระไตรปิฎกลงในใบลานนี้ กระทำเป็นครั้งแรกในประเทศศรีลังกา เมื่อ พ.ศ. ๔๓๓ สมัยของพระเจ้าวัฏคามณีอภัย บางหลักฐานก็ว่าเมื่อ พ.ศ. ๔๕๐



หนังสือพระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕


พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ในประเทศไทย

ต่อมาเมื่อมีการพิมพ์หนังสือเป็นเล่มขึ้น จึงได้มีการนำข้อความใบลานนั้น มาเรียงพิมพ์ จัดทำพระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือ โดยเฉพาะในประเทศไทย มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหลายครั้ง ดังต่อไปนี้

๑. การพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรก
กระทำในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีการตรวจชำระ และจัดพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๑ - พ.ศ. ๒๔๓๕ จำนวนครบชุดในครั้งนั้นมี ๓๙ เล่ม นอกจากใช้ประโยชน์ในราชอาณาจักรไทยแล้ว ยังได้ส่งไปยังสถาบันสำคัญต่างๆ ในต่างประเทศด้วย


๒. การพิมพ์ครั้งที่ ๒
จัดทำในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มีการตรวจชำระสอบทานกับพระไตรปิฎก ที่พิมพ์ในประเทศอื่นๆ และบันทึกไว้เป็นหลักฐานด้วย การพิมพ์ครั้งนี้มีจำนวนพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นเป็น ๔๕ เล่ม เพิ่มเติมส่วนที่ยังขาดอยู่ ในการพิมพ์ครั้งแรก ระยะเวลาตรวจชำระ และจัดพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๓ เมื่อมีผู้ต้องการมากขึ้น จึงได้มีการพิมพ์ซ้ำอีก ๒ ครั้งใน พ.ศ. ๒๕๐๒ และ พ.ศ. ๒๕๒๓ ในการนี้มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากทางราชการ เป็นฝ่ายดำเนินการ เมื่อจัดพิมพ์ครั้งที่ ๒


๓. การพิมพ์ครั้งที่ ๓
จัดทำตามพระบรมราชโองการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ประกาศสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เพื่อให้มีการตรวจชำระ และจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เนื่องในมงคลดิถี ที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ การดำเนินงานในครั้งนี้มีเวลา ๒ ปี และได้พิมพ์แล้วเสร็จ ทั้งฉบับภาษาบาลี และฉบับแปลเป็นภาษาไทย โดยกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ เป็นฝ่ายดำเนินงาน


๔. การพิมพ์ครั้งที่ ๔
มิใช่เป็นของทางราชการ แต่เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์ คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งทำงานติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี และพิมพ์ได้สำเร็จใน พ.ศ. ๒๕๓๔ รวม ๔๕ เล่มชุด
     และในขณะเดียวกัน นอกจากจะพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีแล้ว มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ยังได้จัดพิมพ์คำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ด้วย การดำเนินงานของอาจารย์ท่านหนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์นี้ มีการริเริ่มหาทุนจัดตั้งคณะทำงาน ในที่สุดก็จัดพิมพ์ได้สำเร็จชุดแรก ๓๔ เล่ม และจะพิมพ์เพิ่มเติมอีกให้สมบูรณ์ อาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ท่านนั้น คือ นายพร รัตนสุวรรณ



พระไตรปิฎกฉบับอักษรต่างๆ : อักษรอินเดีย


ในขณะเดียวกันทางคณะสงฆ์คือ มหาเถรสมาคม มีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นพระประมุข ได้ดำเนินการจัดพิมพ์คำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ให้ครบชุดสมบูรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสเฉลิมพระชนพรรษา ๕ รอบ ในวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย

    รวมความว่าในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ นี้   
    เป็นระยะเวลาที่ตำราทางพระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎกภาษาบาลี และที่แปลเป็นไทย
    รวมทั้งคำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา ทั้งภาษาบาลี และภาษาไทย ได้มีการจัดพิมพ์ขึ้นสมบูรณ์


การแปลพระไตรปิฎก และคำอธิบายภาษาบาลี เป็นภาษาไทย รวมกัน ๙๑ เล่ม อันเป็นผลงานของมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบนั้นจะกล่าวถึง ในส่วนที่ว่าด้วยพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาไทย ในลำดับต่อไปจากเรื่องภาษาที่รองรับพระไตรปิฎก


มีข้อที่ควรกล่าวในที่นี้อีกเล็กน้อย คือ ในปัจจุบันประเทศที่จัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลีสมบูรณ์แล้ว คือ ประเทศไทย ประเทศอินเดีย (พิมพ์เป็นตัวอักษรเทวนาครี) ประเทศพม่า (พิมพ์เป็นตัวอักษรพม่า) ประเทศอังกฤษ (พิมพ์เป็นตัวอักษรโรมัน)

พระไตรปิฎกภาษาบาลี ที่พิมพ์ในประเทศศรีลังกา (พิมพ์เป็นตัวอักษรลังกา หรือสีหล) เคยใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการพิมพ์พระไตรปิฎกของไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ในสมัยปัจจุบันคงหายาก เพราะเท่าที่สอบถามพระภิกษุในประเทศศรีลังกา กลับปรากฏว่า ท่านใช้พระไตรปิฎก ฉบับอักษรไทย เป็นหลักในการศึกษาค้นคว้าของท่าน พระไตรปิฎกฉบับตัวอักษรรามัญ หรือมอญ ฉบับตัวอักษรพม่า ฉบับตัวอักษรขอม พิมพ์ในประเทศเขมร และฉบับตัวอักษรลังกา ยังพอหาได้ในห้องสมุดบางแห่งในประเทศไทย เช่น ของสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=16&chap=2&page=chap2.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์


ภาษาที่รองรับพระไตรปิฎก

โดยเหตุที่พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในประเทศอินเดีย ภาษาที่ใช้ในการสั่งสอนพระพุทธศาสนา จึงเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวอินเดียในสมัยนั้น ภาษาที่ปรากฎในพระไตรปิฎก หรือรองรับพระไตรปิฎกเดิมเรียกว่า "มาคธี" หรือ "ภาษาของชาวมคธ" เพราะแคว้นมคธเป็นแคว้นสำคัญ ทั้งในพุทธกาลคือ ในสมัยพระพุทธเจ้า และในสมัยต่อมา แต่เมื่อมีการศึกษาพระพุทธศาสนากันแพร่หลายขึ้น จึงเรียกภาษาที่รองรับพระไตรปิฎกว่า "ภาษาบาลี"

คำว่า ภาษาบาลีหมายถึง ภาษาพระไตรปิฎก การที่เรียกอย่างนี้ เพราะนิยมเรียกพระไตรปิฎกว่า "บาลี" เรียกคำอธิบายพระไตรปิฎกว่า "อรรถกถา" เรียกคำอธิบายอรรถกถาว่า "ฎีกา" เรียกคำอธิบายฎีกาว่า "อนุฎีกา" แม้ว่าภาษาบาลีจะไม่มีการพูดการใช้ในสมัยปัจจุบัน แต่โดยเหตุที่เป็นภาษารองรับพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนา จึงได้มีการศึกษาภาษาบาลีกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศอินเดีย ประเทศศรีลังกา ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา

ดังจะเห็นได้ว่า ในประเทศอังกฤษได้มีสมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ตั้งขึ้น เพื่อจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลี และคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งหนังสืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระไตรปิฎก ทั้งภาษาบาลี และที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ การตั้งสมาคมบาลีปกรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ (ค.ศ. ๑๘๘๑) ทำให้พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ แพร่หลายไปในวงการศึกษาพระพุทธศาสนาทั่วโลก ต้องพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง

     และที่ควรทราบก็คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงมีส่วนสำคัญในการพระราชทานพระราชทรัพย์ ช่วยเหลือสมาคมบาลีปกรณ์ในประเทศอังกฤษ ให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษรวม ๓ เล่ม ซึ่งตรงกับพระไตรปิฎกเล่ม ๙, ๑๐ และ ๑๑ ที่พิมพ์ในประเทศไทย แม้ในปัจจุบันหนังสือพระไตรปิฎกทั้ง ๓ เล่มนั้น จะขาดคราว และต้องพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง ก็ยังพิมพ์ข้อความแสดงพระเกียรติยศของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงอุปถัมภ์การแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษนั้น จนถึงสมัยปัจจุบัน





พระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาไทย

เมื่อมีการศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างกว้างขวาง ผู้รู้ภาษาบาลีก็ได้แปลข้อความต่างๆ ในพระไตรปิฎกออกเป็นภาษาในชาติของตน แพร่หลายขึ้น ในประเทศไทยมีการศึกษาพระไตรปิฎกมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี และได้มีการแปลบางส่วนแห่งพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยสืบต่อกันมา จนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ แต่มิได้แปลจนจบครบชุด

อาจกล่าวได้ว่า การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย ได้กระทำกันจนครบชุด ในสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ นี้เอง

เมื่อคณะสงฆ์ปรารภงานฉลอง ๒๕ ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้น จัดแปล และพิมพ์ขึ้นสำเร็จสมบูรณ์ทั้ง ๔๕ เล่ม ภายหลังงานฉลอง พ.ศ. ๒๕๐๐ แห่งพระพุทธศาสนา ต่อมาได้มีการจัดพิมพ์ซ้ำอีก และมีการแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากนั้น มหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ก็ได้จัดพิมพ์พระไตรปิฎก พร้อมทั้งคำอธิบายพระไตรปิฎกที่เรียกว่า อรรถกถา แปลเป็นภาษาไทยรวม ๙๑ เล่มจบบริบูรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐

และได้จัดให้พระราชทานแก่ผู้แทนองค์การพระพุทธศาสนาทั่วโลก  ซึ่งได้รับเชิญให้มาร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสนี้ อนึ่ง ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช นี้ ยังได้มีผู้จัดทำ และจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับย่อความ ให้เหลือแต่สาระสำคัญจากพระไตรปิฎกภาษาบาลี ๔๕ เล่ม ให้รวมเป็นเพียงเล่มเดียวในภาษาไทยอีกด้วย



องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาตั้งอยู่ในประเทศไทย



พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับคอมพิวเตอร์

ใน พ.ศ. ๒๕๓๑ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ นำเอาข้อความในพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย เข้าจานแม่เหล็กชนิดแข็ง เพื่อนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถเรียกคำไหนก็ได้ในเล่มใด หน้าใด บรรทัดที่เท่าไร ให้มาปรากฏในจอภาพได้ทันที นับเป็นครั้งแรกในโลก ที่ได้มีการนำข้อความภาษาบาลีเข้าในจานแม่เหล็กชนิดแข็งที่เรียกว่า Hard Disk แต่สามารถเก็บข้อความในหนังสือพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม รวมหลายสิบล้านตัวอักษรมาเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เป็นผลสำเร็จ ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช

นับเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงของประเทศไทย บุคคลผู้เป็นหัวหน้าคณะดำเนินการในเรื่องนี้คือ ผศ.ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ผู้อำนวยการสำนักคอมพิวเตอร์ ผู้ร่วมคณะคือ ผศ.ดำรัส วงศ์สว่าง รองผู้อำนวยการ น.ส. นันทิกา เบญจเทพานันท์ และ น.ส. จิราภร เกียรติไพบูลย์ ภายใต้การสนับสนุน ของ ศาสตราจารย์ ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

เรื่องนี้องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ถาวรในประเทศไทย ได้ทำเป็นประกาศ แจ้งให้สมาชิกองค์การพุทธศาสนิกชนสัมพันธ์แห่งโลก หลายสิบประเทศ ซึ่งไปร่วมประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๑๖ ในนครลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ทราบทั่วกันแล้ว

ได้กล่าวแล้วว่า ประเทศไทยได้ทำงาน สำคัญเป็นประเทศแรกในโลก ที่ได้นำข้อความ ในพระไตรปิฎกทั้ง ๔๕ เล่มเข้าบันทึกในจานแม่เหล็กชนิดแข็งที่เรียก Hard Disk เพื่อนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ แต่ในปัจจุบันกำลังก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปกว่าเดิม กล่าวคือ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชศรัทธาได้พระราชทาน พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งดำเนินการเรื่องนี้มาแต่ต้น ได้เพิ่มข้อความภาษาบาลีในหนังสืออธิบายพระไตรปิฎก ที่เรียกว่า อรรถกถา และคำอธิบายอรรถกถา ที่เรียกว่า ฎีกา เป็นหนังสือ ๕๓ เล่ม เพิ่มเติมจากข้อความในพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม

    รวมเป็นหนังสือทั้งสิ้น ๙๘ เล่ม ให้สามารถเรียกข้อความที่ต้องการในพระไตรปิฎก ในอรรถกถา และในฎีกา ซึ่งอธิบายข้อความให้ชัดเจน ๓ ระดับ มาปรากฏในจอภาพ และพิมพ์ข้อความนั้น ๆ ออกมาเป็นเอกสาร ให้ได้ศึกษาค้นคว้าได้ ภายในเวลาไม่กี่วินาที ที่ต้องการ

ซึ่งงานนี้สำเร็จก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ นับเป็นพระราชกรณียกิจ ในการที่ทรงส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างสำคัญยิ่ง เป็นความสำเร็จผลอันยิ่งใหญ่ ที่มีคุณค่าสูงต่อการศึกษาค้นคว้าของวงวิชาการ เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มิใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่นักวิชาการทั่วโลกก็จะได้รับประโยชน์จากงานนี้ด้วย พระมหากรุณาธิคุณครั้งนี้ จะจารึกเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของชาวพุทธ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ

และในขณะเดียวกันก็เป็นเกียรติประวัติของมหาวิทยาลัยมหิดล และทุกท่านผู้ดำเนินงานนี้ จึงนับเป็นเรื่องน่านิยมยินดี สมกับที่ประเทศไทย ได้รับยกย่องให้เป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนา โดยองค์การพุทธทั่วโลก ได้ลงมติให้ ประเทศไทยเป็นที่ตั้งถาวรแห่งสำนักงานใหญ่ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The World Fellowship of Buddhists) ตลอดไป



สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


จำนวนเล่มของพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ที่จัดพิมพ์ขึ้นในประเทศต่างๆ นั้น แม้จะมีข้อความเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ในบางประเทศ เช่น พม่า ได้เพิ่มหนังสือบางเรื่องที่แต่งขึ้นในสมัยหลังเข้าชุดไปด้วย อาจจะมีจำนวนเล่มแตกต่างกันบ้าง เช่น ประเทศไทยจัดพิมพ์ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ มี ๓๙ เล่ม

แต่การพิมพ์ตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๗ เป็นต้นมา ได้กำหนดให้มี ๔๕ เล่ม เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวน ๔๕ ปี ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา ภายหลังที่ตรัสรู้แล้ว จนถึงปรินิพพาน

ข้อความในพระไตรปิฎกภาษาบาลีที่จัดพิมพ์ขึ้นในประเทศต่างๆ นั้น ตรงกันเป็นส่วนมาก จะมีผิดเพี้ยนเล็กๆ น้อยๆ แต่ในการจัดพิมพ์ของฉบับอักษรไทย จะอ้างอิงไว้ตลอดว่า คำที่อาจผิดเพี้ยนกันเล็กๆ น้อยๆ นั้น ในฉบับอักษรลังกา พม่า ยุโรป เป็นอย่างไร เพราะในการจัดพิมพ์ได้มีการนำพระไตรปิฎกฉบับอักษรต่างๆ แต่อ่านเป็นภาษาบาลีได้ตรงกันนั้น มาสอบทาน และบันทึกว่า อักษรตัวไหน ผิดแผกไปอย่างไรบ้าง



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=16&chap=2&page=chap2.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ภาษาไทย

ผมเห็นมีผู้สอบถามเรื่องพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ภาษาไทย ในขณะนี้จะซื้อได้ที่ใด ราคาเท่าใด จึงได้ไปค้นรวบรวมมา ถ้าท่านใดมีข้อเพิ่มเติม กรุณา ช่วยเพิ่มให้ด้วย เพื่อจะได้เป็นประโยชน์แก่ท่านที่สนใจ

ตอนนี้มีหนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทยพิมพ์ 4 ฉบับที่พิมพ์ครบแบบไม่ได้ย่อความคือ

1.พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏ 91 เล่มทั้งชุด16,961.75 บาท แยกเล่มถ้ามีรวม 19,955.- บาท

2.พระไตรปิฎกฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษามหาเถระสมาคมที่วัดเทวราชกุญชร 15000 บ 45 เล่ม

3.พระไตรปิฎกฉบับเฉลิมพระเกียรติฉบับเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษา และสมเด็จพระราชินีพระชนม์พรรษา 60 พรรษามหาจุฬาฯ 15000 บ. 45 เล่มแต่พิมพ์ใหม่เสร็จ ธค 51

4.ส. ธรรมภักดี 20000 บาทมีทั้งหมด 100 เล่ม รวมอรรถกถา





ข้อดี ข้อด้อย(ในความคิดของผม)

    พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ ที่พิมพ์เสร็จแล้ว มี 45เล่ม เดิมสีเหลืองฉบับเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 พรรษา และ เล่มสีฟ้าเข้มสมเด็จพระราชินีพระชนม์พรรษา 60 พรรษา เล่มใหญ่มากขนาด A4 จึงทำให้หนัก ไม่สามารถถือแล้วนอนอ่านได้

    แต่ข้อดีเหมาะสำหรับคนสายตาไม่ดี พิมพ์ตัวใหญ่ ช่องไฟห่าง อ่านสบายตา มีบทสรุปหรือกล่าวถึงที่มาของเนื้อหาในเล่มปะหน้าทุกเล่มให้รู้คร่าวๆว่าท่านกำลังจะอ่านอะไรในเล่ม ส่วนใหญ่สรุปได้ดี

    ข้อเสีย การแปลพระไตรปิฎกค่อนข้างสวิงสวาย และที่เป็นข้อเสียมากๆ คือ เลขข้อธรรมไม่ตรงกับที่ปรากฏในหนังสือพระไตรปิฎกเล่มอื่นๆทั้งในแผ่น CD ด้วย ทำให้เราอ่านแล้ว reference อาจไม่เหมือนชาวบ้านเขา ขณะนี้พิมพ์ใหม่เสร็จ ตค - ธค 51

    พระไตรปิฎกฉบับเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาเถระสมาคมก็เช่นกัน แต่เล่มเล็กกว่า(ใหญ่กว่าของมหามกุฏ)มี 45เล่ม ไม่มีบทนำ ใส่เลขข้อธรรมมากเกือบทุกย่อหนัา ถือแล้วนอนอ่านได้(ดูเลขข้อธรรมเหมีอนของ ฉบับมหาจุฬาฯ ตรงกัน)

     พระไตรปิฎกของมหามกุฏ 91 เล่มอาจซื้อสะสมไปทีละเล่มได้ ต้องโทรไปถาม (มหาจุฬา ต้องซื้อเป็นชุด มีเหลือบ้างแยกเล่มขาย ต้องโทรไปถามแต่เป็นชุดหมดแล้ว) แปลเป็นแบบแผนดี เทียบกับภาษาบาลีง่าย แต่อ่านแล้วรู้ว่าใช้คนแปลเยอะมากเพราะสำนวนต่างกัน

    พิมพ์ตัวเล็ก โบราณ อ่านไม่ยาก แต่ถือนอนอ่านได้สบาย เนื้อหาข้างในมีการยกใจความสำคัญเป็นหัวข้อให้อ่านแล้วเข้าใจใจความสำคัญ แต่ไม่มีบทสรุปทั้งเล่ม มีอรรถกถา พึ่งพิมพ์ใหม่เสร็จเมื่อต้นปี 2551

    พระไตรปิฎกของ ส. ธรรมภักดี เล่มใหญ่ขนาด A4 แต่บาง พิมพ์ตัวใหญ่ แปลแบบเทศนาเป็นกัณฑ์ๆไป มีเนื้อหา อรรถกถา บรรยายธรรม ไม่มีเลขข้อธรรมเลย สำนวนแบบพระขึ้นเทศน์ อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง ต้องซื้อเป็นชุด




    มหาจุฬาฯออก พระไตรปิฎกฉบ้บแก่นธรรมฉบับเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระชนม์พรรษา 80 พรรษา 6 เล่ม 3300 บาท เป็นการย่อเนื้อหาทั้งหมด ใจตวามคล้ายกับบทนำของ 45เล่มใหญ่ เล่มเกือบเท่าเล่มใหญ่ขนาด A4หนาเกือบ 800 หน้าหรือกว่า หน้ก ไม่สามารถถือแล้วนอนอ่านได้

    พระไตรปิฎกฉบ้บประชาชน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพก็ใช้ได้ เป็นการย่อเนื้อหาทั้งหมดแต่เล่มใหญ่มากขนาดA4พิมพ์ตัวเล็กมาก แต่ราคาถูก คือ 500-600 บาท กรมศาสนาพิมพ์แจก 25,000 ชุดเมื่อปี 2550 เป็น 3 เล่มแยกพระวินัย - พระสูตร - พระอภิธรรมขนาด A4ตัวหนังสือใหญ่อ่านชัดแต่แจกหมดในเวลารวดเร็ว

   หนังสือชุด พระไตรปิฎกสำหรับผู้เริ่มศึกษา 1 ชุด มี 18 เล่ม ๑๑,๐๐๐ .๐๐ บาท ประกอบด้วย- พระวินัยปิฎก 4 เล่มจบ- พระสุตตันตปิฎก 12 เล่มจบ- พระอภิธรรมปิฎก 2 เล่มจบโดย อ.อุทัย บุญเย็น

ที่คงที่คือพระไตรปิฎกภาษาบาลี แต่ถ้าไม่รู้ภาษาบาลีดีพอก็คงไม่รู้เรื่อง

แนะว่าถ้ามี computer CD พระไตรปิฎก 3 ฉบับ เวลานี้มี PDF 91 เล่มมีอรรถกถา Word Doc 45 เล่ม ไม่มีอรรถกถา Text File 45เล่ม ไม่มีอรรถกถา เชื่อถือได้มากกว่าของทุกอันเว้น ของมหามกุฏ หรือเข้าไปที่ http://84000.org// แต่ถ้าคิดจะพิมพ์จาก CD เปํนเล่มไปซื้อเอาอาจจะถูกและทนกว่า



ที่มา http://www.dhammathai.org/webboard/dbview.php?No=849
ขอบคุณภาพจาก http://upload.wikimedia.org/,http://dbook2.tarad.com/,http://mahamakuta.inet.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ชื่อหนังสือ : พระไตรปิฎกฉบับย่อ
ผู้แต่ง : พ.อ.(พ.) เสามนัส  โปตระนันทน์
จำนวนหน้า 265 หน้า ราคา 70 บาท พิมพ์ครั้งที่ 4/2545


พระไตรปิฎก ฉบับย่อ

    เป็นการย่นย่อและตัดตอนออกหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชนของท่านอาจารย์สุชีพ  ปุญญานุภาพ เป็นหลัก ซึ่งท่านย่อจากพระไตรปิฎกฉบับ 45 เล่มอีกทีหนึ่ง
 
     แต่พระไตรปิฎก ฉบับย่อเล่มนี้  มิได้นำพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมากล่าว แต่ก็มีกล่าวไว้ย่อๆ  และที่สำคัญจริงๆ พอสังเขปเท่านั้น 

     นอกนั้นก็จะเป็นพระสูตรล้วนๆ ซึ่งผู้เขียนได้เลือก สรรค์มาเฉพาะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของคนเรา ซึ่งเป็นหนังสือที่อ่านเข้าใจเร็ว เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการศึกษาพระไตรปิฎกเบื้องต้น.

    สารบาญ
    ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก  ตั้งแต่ เล่มที่ 9 - 33
    พระไตรปิฎก  เล่มที่ 9  ชื่อทีฆนิกาย  สีลขันธวรรค
    พระไตรปิฎก  เล่มที่ 10  ชื่อทีฆนิกาย  มหาวรรค
    พระไตรปิฎก  เล่มที่ 11  ชื่อทีฆนิกาย  ปาฏิกวรรค
    พระไตรปิฎก  เล่มที่ 12  ชื่อมัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์
    พระไตรปิฎก  เล่มที่ 13  ชื่อมัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์ ฯลฯ

   

    หลังปก
    หนังสือนี้จะให้ความรู้อะไรท่านบ้าง :-
    นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่
    ชาตินี้ชาติหน้าเชื่อได้เพียงไร
    ทำบุญอย่างไรจะได้ขึ้นสวรรค์ชั้นไหน
    ทำบุญอย่างไรจะได้กุศลแรง
    ทำสมถะและวิปัสสนาจะให้ผลดีอย่างไรต่างกันอย่างไร
    ทำสมถะหรือสมาธิ  จำเป็นสำหรับผู้ต้องการเป็นพระอริยะหรือไม่
    พุทธศาสนิกชนที่ดี  หากขึ้นสวรรค์ เมื่อหมดบุญแล้วจะกลับตกนรกไหม
    ผู้ใหญ่ที่พยายามละทางโลก  ควรปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามแนวที่พระตถาคตได้วางไว้
    วิธีปฏิบัติตัวให้ได้ผลดีที่สุดในการดำเนินชีวิตประจำวัน ฯลฯ

   
    ทั้งหมดมาจากพุทธพจน์ทั้งสิ้น  เป็นความจริงชนิด  solidfact ที่พิสูจน์ได้



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/P-52.html


    แนะนำเล่มนี้ครับ(พระไตรปิฎกฉบับย่อ) น่าจะอ่านง่ายกว่าเล่มอื่นๆ
    :s_good: :49: :25:
   
    สอบถามรายละเอียดได้ที่
    books@mahamakuta.inet.co.th
    มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    241 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร. (66) 02-6291417 ต่อ (106) , 2811085  Fax. (66) 02-6294015
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เรียนถาม ท่านผู้รู้ ทุกท่่านเลยนะคะ
 พระไตรปิฏก ที่เป็นภาษาไทย ตอนนี้ มีกี่แบบ คะ และแบบไหน ใช้ภาษาไทยที่อ่านได้ง่าย คะ ช่วยแนะนำด้วยคะ และ ราคาพระไตรปิฏก ทั้งชุดนี้ราคาเท่าไหร่คะ หรือ ต้องการอ่านเฉพาะบางเล่ม จะหาซื้ออ่านได้ที่ไหนคะ


  :25: :c017: :58:

   
พระไตรปิฎก ฉบับย่อ/ โดย พ.อ.เสามนัส โปตระนันทน์.
ราคาปกติ 70.00 บาท ราคาพิเศษ 56.00 บาท ประหยัด 14.00 บาท

     ติดต่อได้ที่ http://dbook2.tarad.com/product.detail_393111_th_2423499
     สั่งซื้อผ่านเว็บไซต์ www.dbook2.com
     หรือโทรศัพท์สอบถามที่ 084-983-1492 หรือ 081-247-3995 ได้ทุกวัน
     หรือติดต่อทาง e- mail address : dbook2d@gmail.com



พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล 91 เล่ม
ฉบับครบ 200 ปี แห่งราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์
มูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

     
    หากต้องการฉบับเต็ม ๔๕/๙๑ เล่ม แนะนำฉบับนี้ครับ


     จำหน่ายยกชุด 91 เล่ม เป็นเงินทั้งสิ้น 25,000.- บาท
    ราคาหนังสือพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลภาษาไทย 91 เล่ม (ไม่ขายแยกเล่ม) 25,000.- บาท
    ราคาหนังสือพระไตรปิฎกภาษาบาลี 45 เล่ม 9,500.- บาท
    ราคาหนังสือพระไตรปิฎกอรรถกถาชาดกบาลี 48 เล่ม 9,000.- บาท

    (ไม่แน่ใจว่า ปัจจุบันขายแยกเล่มหรือเปล่า ขอให้สอบถามเอาเองนะครับ)

    สอบถามรายละเอียดได้ที่
    books@mahamakuta.inet.co.th
    มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    241 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
   โทร. (66) 02-6291417 ต่อ (106), 2811085  Fax. (66) 02-6294015

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

montra

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 76
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมากเลยนะครับ
 :25: :c017:
บันทึกการเข้า

saiphone

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
E-Book พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ตอน..ว่าด้วยพระสูตร
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7992.0
บันทึกการเข้า
พระธรรม นำให้ ส่วางไสว ในดวงจิต

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


ผยแพร่เมื่อ 10 ก.ค. 2012 โดย trilakbooks

หนังสือพระไตรปิฎกฉบับแก่นธรรม-ศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์-ศูนย์เผยแพร่พระไ­ตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาทั่วประเทศ www.trilakbooks.com โทร.02-482-7358, 086-461-8505

บันทึกการเข้า

doremon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 171
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
องค์กรที่ศึกษาแบบที่เป็นรูปธรรมคือศาสนาพุทธครับ วิทยาศาสตร์ไม่เคย
เห็นอธิบายเรื่องจิตนะครับ ที่พอมีก็ใช้แบบตั้งสมมติฐานที่หักล้างกันได้
ไม่ใช่ สัจจธรรม

84000 พระธรรมขันธฺ์ พระไตรปิฎก แบ่งเป็น
24000 พระธรรมขันธฺ์ เป็นพระวินัยปิฎก
24000 พระธรรมขันธฺ์ เป็น พระสุตตันตปิฎก
48000 พระธรรมขันธฺ์ ว่าด้วยเรื่อง พระอภิธรรมปิฎก  เนื่อหาเจาะลึกเรื่อง "จิต"

จำนวนของพระอภิธรรมปิฎก มากกว่า เนื่อหาของพระวินัยและ
พระสุตตันตปิฎก เป็นเท่าตัว แสดงให้เห็นว่าพระพุทธเจ้าท่านเน้นสอนเรื่องจิตอย่างมากมาย และละเอียดลออ
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



   ** บริการจัดส่งหนังสือพระไตรปิฎกและตู้พระไตรปิฎกทั่วประเทศ **
บริการพร้อมส่ง ถึงวัด บ้าน หรือที่หมาย..ตามความต้องการสะดวกและรวดเร็วด้วย กลุ่มบริษัทขนส่ง ชั้นแนวหน้าของประเทศ
087-696-7771, 085-819-4018, 086-461-8505, 02-482-7358, 081-347-2244
http://www.ตู้พระไตรปิฎก.com/BOOKS-PRA-TAI.html


 ans1 ans1 ans1
ท่านใดจะซื้อพระไตรปิฎกหรือหนังสือธรรมะอื่นๆ แนะนำให้อีกสองแห่ง
http://www.ตู้พระไตรปิฎก.com/BOOKS-PRA-TAI.html
www.trilakbooks.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 st11
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ