ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ใครอยู่ชั้นไหน วัดกันด้วยอุปกิเลส ๓ ชั้น(หยาบ กลาง ละเอียด)  (อ่าน 2858 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ใครอยู่ชั้นไหน วัดกันด้วยอุปกิเลส ๓ ชั้น(หยาบ กลาง ละเอียด)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

สังฆสูตร

ทรงแสดงอุปกิเลส ( เครื่องเศร้าหมองแห่งจิต )ของภิกษุผู้บำเพ็ญสมาธิ   ว่ามี ๓ ชั้น คือ

อย่างหยาบ   ได้แก่ ทุจริตกาย   วาจา   ใจ,   
อย่างกลาง  ได้แก่ ความตรึก ( วิตก ) ในกาม   ในการคิดปองร้าย   ในการเบียดเบียน ,   
อย่างละเอียด   ได้แก่ความตรึกถึงชาติ   ความตรึกถึงชนบท และความตรึกที่ไม่ต้องการให้ใครดูหมิ่น


เปรียบเหมือนเครื่องเศร้าหมองของเงินทองมีทั้งอย่างหยาบ   อย่างกลาง   และอย่างละเอียด
แล้วทรงแสดงถึงการที่จิตเป็นสมาธิ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นเหตุให้บรรลุอภิญญา ๖ คือ   

๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้   
๒. ทิพพโสต หูทิพย์   
๓. เตโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่น   
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้   
๕. จุตูปปาตญาณ มีทิพยจักษุ เห็นความตายความเกิดของสัตว์ทั้งหลาย และ   
๖. อาสวักขยญาณ บรรลุเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ.



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.4.html
อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๖๖๔๗ - ๖๗๓๒.  หน้าที่  ๒๘๓ - ๒๘๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6647&Z=6732&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=541
ขอบคุณภาพจาก www.84000.org,www.dhammajak.net
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2011, 07:16:30 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ คะ

 :25:
บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
สังฆสูตร

    อุปกิเลสอย่างหยาบ คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ของภิกษุผู้ประกอบอธิจิต ยังมีอยู่
    ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาดย่อมละทิ้ง บรรเทาอุปกิเลสอย่างหยาบของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นไปแล้ว


    ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตยังคงมี อุปกิเลสอย่างกลาง คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก
    ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาด ย่อมละทิ้ง บรรเทาอุปกิเลสอย่างกลางของใจตนนั้นเสีย ทำให้สิ้นไป ให้หมดไป เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำให้มันสิ้นสุดแล้ว


    ภิกษุผู้ประกอบอธิจิตยังคงมี อุปกิเลสอย่างละเอียด คือ ความวิตกถึงชาติ ความวิตกถึงชนบท และวิตกอันปฏิสังยุตด้วยความไม่ดูหมิ่น
    ภิกษุผู้มีสัญชาติเป็นคนฉลาด ย่อมละทิ้ง บรรเทาอุปกิเลสอย่างละเอียดของใจตนนั้นเสียทำให้สิ้นไปให้หมดไป เมื่อละมันได้เด็ดขาด ทำมันให้สิ้นสุดไปแล้ว


    ยังคงเหลือแต่ธรรมวิตก (วิปัสสนูปกิเลส) ต่อไปเท่านั้น
    สมาธินั้นยังไม่ละเอียด ไม่ประณีตไม่ได้ความสงบระงับ ยังไม่ถึงความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ยังมีการห้ามการข่มกิเลสด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๖๖๔๗ - ๖๗๓๒.  หน้าที่  ๒๘๓ - ๒๘๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6647&Z=6732&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=541
ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com


    ข้อความด้านบนผมให้ชื่อสูตรไว้ผิด (สมุคคสูตร) ที่ถูกต้องคือ สังฆสูตร และิลิงค์ที่วางไว้ก็ผิด ผมได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้วครับ พร้อมยกข้อความที่สำคัญในสังฆสูตร มาแสดงบางส่วน
    ขออภัยมา ณ โอกาสนี้
:25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ