ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:20:26 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:31:27 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



บันทึกประกอบ ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑

ผู้เขียนนี้มานึกว่า เมื่อครั้งทําบุญครบ ๑ ปี อุทิศ โยมคุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ ในวันที่ ๘ ก.พ. ๒๕๖๒ ได้พิมพ์หนังสือ จารึกบุญ จารึกธรรม เป็นธรรมทานที่ระลึก สําหรับปีที่ ๒ นี้ ก็ควรจะพิมพ์หนังสือธรรมทานเช่นนั้น อีกทั้งมาคํานึงว่า ถัดจากวันทําบุญครบ ๑ ปีในวันที่ ๘ ก.พ. นั้น รุ่งขึ้นวันที่ ๙ ก.พ. ก็จะเป็นวันทําบุญประจําปีของครอบครัวอารยางกูร อุทิศโยมบิดา-มารดา และพี่น้อง ตามปกติตัวผู้เขียนเองนี้จะไม่ได้ไปร่วมอยู่ในงานพิธีทั้งสองนั้น แต่ ก็เป็นธรรมดาที่ปรารถนาจะให้มีหนังสือธรรมทาน และคราวนี้ ถ้าได้เรื่องที่เหมาะมาพิมพ์ ก็จะเป็นหนังสือธรรมทานสําหรับงานทั้งสองต่อกัน

เวลานั้น วันงานใกล้เข้ามาแล้ว พอดีได้จังหวะมองเห็น file "สวดมนต์ฯ” ซึ่งพระครูประคุณสรกิจ (การุณย์ กุสลนนฺโท) เพิ่งส่งมาให้ใหม่ๆ อันเป็นบท คัดลอกถอดเสียงเป็นตัวหนังสือ ซึ่งทีมงานจิตอาสาของชมรมกัลยาณธรรม มี ทพญ. อัจฉรา กลิ่นสุวรรณ์ เป็นประธาน ได้จัดทําส่งต่อกันมาให้ผู้เขียนนี้ที่ เป็นผู้พูดเรื่องนั้น ตรวจทาน เพื่อนําลงพิมพ์ในวารสารโพธิยาลัย

ตัวผู้เขียนเอง เนื่องจากปัญหาสภาพปอดที่เสียหายมาก เกินกว่าครึ่ง ทํางานไม่ได้ นอกจากในพิธีอุปสมบทที่วัดญาณเวศกวันเอง ซึ่งเป็นกิจอัน จําเป็นแล้ว ก็มิได้มีการพูดคุยสนทนากับหรือแก่ที่ประชุม คณะ หรือหมู่คน มา นานนักหนาแล้ว เว้นแต่ต้องพูดคุยเป็นการภายในกับพระวัดญาณเวศกวันบ้าง ในบางโอกาส และมีโอกาสหนึ่งโอกาสเดียวซึ่งได้กลายเป็นเรื่องค่อนข้างประจํา คือ การไปที่วัดนั้นในวันกลางเดือนและวันสิ้นเดือน แล้วยามค่ําหลังสวด ปาติโมกข์ ได้พูดคุยกับพระแบบง่ายๆ สบายๆ ในเรื่องเบ็ดเตล็ด แล้วก็มีโยมที่ สนใจมาฟังบ้าง จนไปๆ มาๆ เหมือนว่าได้กลายเป็นรายการหนึ่ง เรียกว่า เกร็ดความรู้ธรรม เรื่อง "สวดมนต์ฯ" ที่ว่านั้น ก็เป็นคําพูดคุยของผู้เขียนใน โอกาสอย่างนี้ เมื่อวันเพ็ญกลางเดือน ๒ (๙ มกราคม ๒๕๖๓)

@@@@@@@

ได้มองเห็นว่า การสวดมนต์เป็นกิจที่พุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันเป็น ประจํา และเด่นในความนิยม จึงควรรู้เข้าใจกันให้ดี เพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง และให้เกิดมีผลที่ดี บทถอดเสียงเป็นตัวหนังสือนั้นก็ไม่ยืดยาวนัก แค่ ๑๓ หน้า ถ้าตรวจทานจัดปรับต้นฉบับเสร็จ งานทางด้านวารสารโพธิยาลัยก็จะ ลุล่วงไป และก็จะได้หนังสือสําหรับงานบุญที่ปรารภนั้นด้วยพร้อมกัน เป็นอันตกลงและเริ่มทํางาน แต่ประจวบว่าเวลานั้น อีกด้านหนึ่ง เป็น ช่วงกาลที่เพิ่งได้เริ่มที่จะต้องรอฟังและปฏิบัติตามคํากําหนดและนัดหมาย

ของคุณหมอและโรงพยาบาล เพราะเพิ่งผ่านการตรวจและพิสูจน์ว่าผู้เขียนนี้ เป็นโรคมะเร็ง แม้ว่าจะทํางานหนังสือไปตามปกติ แต่เมื่อผ่านการตรวจและ พิสูจน์โรครู้แน่ชัดแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษาที่ยืดเยื้อยาวนาน มาก เมื่อผู้เขียนอยู่ห่างไกล บางทีก็ต้องไปนอนในโรงพยาบาล ถึงแม้ไม่ต้อง นอนพัก แค่เดินทางไปกลับก็หมดเวลาค่อนวัน แทนที่จะทํางานหนังสือได้ ๑๐ ชม. ก็เหลือทําได้ ๑-๒ ชม. หรือไม่ได้เลย พร้อมกันนั้น เรื่อง "สวด มนต์” นั้น เมื่อตรวจไป ก็เขียนขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด ก็ไม่ทันที่จะได้ พิมพ์เป็นเล่มหนังสือเพื่อแจกในงานวันที่ ๘ และ ๙ กุมภาพันธ์

ถึงแม้ไม่ทันการอย่างที่คิดหมาย ก็ตกลงใจว่าจะทําหนังสือนั้นให้ เสร็จเป็นบุญกิริยาเนื่องในงานพิธี โดยเป็นธรรมทานตามหลังงาน อันน่าจะ มีผลได้ยืดยาวยืนนาน แล้วคราวนี้ยิ่งต้องเร่งรัดจริงจังเต็มที่ ให้หนังสือเสร็จไม่ล่าช้าหลังงานนานเกินไป จึงเป็นวาระที่ยิ่งต้องระดมทํางานนั้นเต็มแรงมากขึ้น

ที่จริง ตั้งแต่เริ่มตรวจเติมต้นฉบับหนังสือนี้ ก็ได้หยุดวางงานหนังสือ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องจากภายนอกทั้งหมด เช่น แม้แต่มีหลายท่านขอพิมพ์ หนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ จะทํานั่นทํานี่กับหนังสือธรรมนั้นนี้ ก็ต้องขอให้รอก่อน จึงมีเรื่องค้างรอวันอยู่ไม่น้อย

@@@@@@@

ในขณะเดียวกัน มาถึงเวลานี้ ทางด้านโรงพยาบาล การรักษาผู้อาพาธ บําบัดมะเร็ง ก็เข้าสู่ช่วงตอนสําคัญ ต้องเข้าไปนอนพักใน รพ. เกือบครึ่ง เดือน เพื่อรับการฉายรังสีอย่างเข้มข้น หรือเต็มอัตรา ก็จึงมุ่งว่าในช่วงเวลา
นั้น จะทํางานหนังสือได้มาก หนังสืออาจจะเสร็จในคราวนี้

แต่ถึงเวลาจริง ใน รพ. ก็ทํางานหนังสือได้ไม่มากอย่างที่คาด เพราะ เวลาที่โปร่งโล่งมีน้อย สภาพร่างกายที่ติดขัดต่างๆ ก็กลายเป็นเครื่องขัดถ่วง ด้วย และฝ่ายดูแลรักษาก็บอกให้พักให้มาก อิริยาบถนั่งก็เป็นการกดทับ อวัยวะที่เป็นโรค ควรหลีกเลี่ยง จึงออกจาก รพ. ศิริราช มาโดยงานยังไม่จบ

จากโรงพยาบาล ที่คุณหมอ ทั้งเจ้าของเรื่อง และที่ผ่านเข้ามาในเรื่อง พร้อมทั้งพยาบาลและเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงาน ได้สละเวลาให้เรี่ยวแรงกําลังทํา ปฏิบัติการทางแพทย์ และดูแลอย่างเต็มที่ ด้วยน้ําใจปรารถนาดีจริงจัง จบการบําบัดรักษาไปอีกขั้นตอนหนึ่ง ออกไปพักรับผลการบําาบัดในชนบท รอเวลานัดหมายของคุณหมอต่อไป ปรากฏว่าร่างกายทรุดโทรมอ่อนเปลี้ยเกินคาดหมาย ได้ความว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการฉายรังสีนั้นเป็นธรรมดา

ในที่พักถิ่นชนบทนั้น งานตรวจชําระทําต้นฉบับหนังสือเดินหน้าไป มิได้ช้า จาก ๑๓ หน้าบทถอดเสียงที่ได้รับ ขยายเป็น ๓๖ หน้า แล้วจัดทํา เป็นเล่มหนังสือได้ ๘๘ หน้า เสร็จในวันเพ็ญกลางเดือน ๔ ตรงกับ ๘ มีนาคม ๒๕๖๓ หลังงานทําบุญ ๑ เดือนพอดี คือออกจาก รพ.มาได้ ๘ วัน เป็นอันจบเนื้องาน แต่ตกลงทํางานแถมผนวกท้ายไว้ด้วย คือ มงคลสูตร พร้อมทั้งค่าแปลภาษาไทย

คราวนี้เห็นว่าควรให้ความสําคัญแก่คําแปล ในแง่ที่จะให้เข้าใจง่าย และใช้สวดได้ด้วย พอดีว่ากองอุปถัมภ์พระอาพาธที่ รพ. ซึ่งมีอาผา (คือคุณ บุบผา คณิตกุล) เป็นผู้นํา พร้อมด้วยจูน (คุณศศิธร ศรีโสภา) เมื่อถอน กําลังมากลับคืนถิ่นที่สหปฏิบัติและค่ายอารยาภิวัทธน์ ซึ่งอาดา (คุณกานดา อารยางกูร) ตั้งหลักอยู่ ก็พร้อมกันอุปถัมภ์พระอาพาธต่อ

@@@@@@@

ชาวถิ่นชาวค่ายนี้ มีชีวิตที่คุ้นชินกับการสวดมนต์และการอบรมสั่งสอนธรรมอยู่แล้ว พอพูดถึงการสวดคําแปลมงคลสูตร ก็สนใจ รวมทั้งผู้ที่ห่วงใยตามดูแลในระยะอาพาธคราวนี้ ได้แก่ ดร.อัมรินทร์ จันทนะศิริ ดต.มงคล รัตนะรองใต้ และผู้อยู่ประจําคือ นายวิชัย ปะโคทัง ก็ช่วยกันอ่าน คําแปลและทดลองสวด พระครูสังฆวิจารณ์ (พงศธรณ์ เกตุญาโณ) ซึ่งดูแล อยู่ใกล้ชิด นอกจากช่วยสะสางภาระทั่วไปแล้ว ก็ช่วยอ่านช่วยฟังคําแปลนี้ จริงจังด้วย ทําให้ได้ขัดเกลาค่าแปลนั้น จนถือเป็นอันยุติไปคราวหนึ่งก่อน

เป็นอันได้นํามงคลสูตร พร้อมทั้งคําแปล มาเติมท้ายได้เป็น ภาคผนวก เมื่อนับส่วนหน้าที่เพิ่มเข้าไปให้ครบลักษณะหนังสือด้วย รวมเป็น ๑๐๑ หน้า ตั้งชื่อหนังสือว่า สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย ได้สําเร็จเสร็จการ ในวันที่ ๑๔ มี.ค. ๒๕๖๓

บันทึกนี้เขียนบอกไว้เพื่อให้ท่านที่ติดค้างอยู่ ไม่ว่าที่วัดก็ตาม ที่อื่นใด นอกวัดก็ตาม ซึ่งมีกิจมีงานมีเรื่องราวเกี่ยวข้องไปถึงผู้เขียนนี้ ที่ต้องรออยู่ กับความเงียบเหมือนเรื่องหายไป จักได้เข้าใจว่า งานทําหนังสือ สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย นี่เอง ได้กักกันเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในความเงียบงัน และ เมื่อรู้เข้าใจแล้วคงจะมีจิตผ่อนคลาย ปลงความติดค้างใจให้หมดหายไป

แบบปกหนังสือมี ๒ ท่าน ที่ได้เอื้อเฟื้อออกแบบให้ท่านละ ๑ แบบ คือ แบบที่ ๑ โดย อาจารย์เถกิง พริ้งพวงแก้ว และแบบที่ ๒ โดย คุณสาธิต โยคเสนะกุล ซึ่งได้จัดทําให้พร้อมไว้นานแล้ว ตั้งแต่ก่อนวันทําบุญในเดือนกุมภาพันธ์ ขออนุโมทนาไว้ ณ ที่นี้ เป็นอย่างมาก

ขออนุโมทนาทุกท่านทุกนามที่ได้มีน้ําใจเป็นบุญช่วยเกื้อกูลในด้านต่างๆ โดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง ทําให้หนังสือเล่มนี้เสร็จสําเร็จเป็นธรรมทานสมหมาย

                                        สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต)
                                              ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๓






ขอยุติการนำเสนอ บทธรรมจากหนังสือ "สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย" ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต) ไว้แต่เพียงแค่นี้ ขอขอบพระคุณที่ติดตาม 

 st11

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:25:41 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:52:36 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ผนวก : มงคล ๓๘
ในวงเล็บ (...) เป็นคําอธิบาย ไม่ต้องสวด

คาถาที่ 1.
    ๑. เว้นคนพาล ไม่คบหา
    ๒. เสวนาบัณฑิตชน
    ๓. บูชาคนที่ควรเชิดชู
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 2.
    ๔. อยู่ในถิ่นที่เหมาะ
    ๕. บ่มเพาะความดีเป็นทุนไว้แต่ต้น
    ๖. ตั้งตนไว้ถูกทางอย่างมั่นคง
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 3.
    ๗. เล่าเรียนทรงความรู้ให้เชี่ยวชาญ
    ๘. มีวิชาชีพวิชาช่างที่ชํานาญพร้อมไว้
    ๙. มีวินัยที่ได้ฝึกเป็นอย่างดี
  ๑๐. มีถ้อยวจีที่พูดได้งดงาม
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 4.
  ๑๑. บําารุงมารดาบิดาด้วยกตัญญู
  ๑๒. ใส่ใจเลี้ยงดูบุตรธิดา
  ๑๓. เกื้อหนุนภรรยาให้สมเป็นคู่ชีวิต
  ๑๔. ทํากิจการงานไม่คั่งค้างสับสน
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 5.
  ๑๕. ให้ปันแก่คนทั้งหลาย (มิให้มีใครถูกทอดทิ้ง)
  ๑๖. มั่นในหลักธรรมจรรยา
  ๑๗. มีใจน่าพาสงเคราะห์ญาติ
  ๑๘. ไม่ขาดกิจกรรมดีงามบําเพ็ญประโยชน์
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 6.
  ๑๙. งดเว้นจากความชั่ว
  ๒๐. คุมตัวจากของมึนเมา
  ๒๑. เร่งเร้าตัวไม่ประมาทในธรรม
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 7.
  ๒๒. มีคารวะให้ความสําคัญสมควรแก่คุณค่า
  ๒๓. กิริยาวาจาอ่อนโยนสุภาพ ไม่กระด้างถือตน
  ๒๔. สันโดษด้วยลาภผลที่มีตามธรรม(พอใจลาภผลแต่ที่ได้มาด้วยเรี่ยวแรงของตนโดยชอบธรรม)
  ๒๕. สํานึกกตัญญูรู้ค่าของผู้มีคุณความดี
  ๒๖. จัดให้มีเวลาฟังธรรมหาความรู้
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 8.
  ๒๗. เป็นผู้ที่เข้มแข็งอดทน
  ๒๘. เป็นคนที่พูดกันง่าย
  ๒๙. ไปพบพระเพื่อเจริญธรรมเจริญปัญญา
  ๓๐. จัดเวลาสากัจฉาถกปัญหาถูกธรรม
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 9.
  ๓๑. มีตบะห้ามใจไม่มัวเมามุ่งมั่นทําหน้าที่
  ๓๒. มีชีวิตดีงามดําเนินในอริยมรรคา
  ๓๓. มีปัญญาเห็นอริยสัจถึงความจริงของชีวิต
  ๓๕. สัมฤทธิ์ที่หมายได้ประจักษ์แจ้งนิพพาน
        นี้เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 10.
  แม้จะถูกโลกธรรมผ่านกระทบ
  ๓๕. ก็มีใจสงบได้ไม่หวั่นไหว
  ๓๖. มีใจชื่นสบายไร้โศกศัลย์
  ๓๗. มีจิตผ่องใสไร้ธุลีละอองควัน
  ๓๘. และจิตนั้นเกษมศานต์มั่นคง
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

(คาถาที่ 11. สรุปท้ายมงคล ๓๘)
   "เหล่าเทวะมนุษย์ได้กอปรมงคลเช่นนี้ เป็นผู้ที่ไม่ปราชัยในทุกสถาน จะถึงความสวัสดีในทุกสถานการณ์ นั่นคือ อุดมมงคลของเทวะมนุษยชน เหล่านั้นแล"


@@@@@@@

มงคลสูตร

คาถาที่ 1.
๑. อเสวนา จ พาลานํ   ๒. ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
๓. ปูชา จ ปูชนียานํ         เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 2.
๔. ปฏิรูปเทสวาโส จ   ๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ       เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 3.
๗. พาหุสจฺจญฺจ ๘. สิปฺปญฺจ   ๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต
๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา           เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 4.
๑๑. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ   ๑๒-๑๓. ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห
๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา         เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 5.
๑๕. ทานญฺจ ๑๖. ธมฺมจริยา จ   ๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห
๑๘. อนวชฺชานิ กมฺมานิ                 เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 6.
๑๙. อารตี วิรตี ปาปา   ๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม
๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ     เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 7.
๒๒. คารโว จ ๒๓. นิวาโต จ   ๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ ๒๕. กตญฺญุตา
๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ               เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 8.
๒๗. ขนฺตี จ ๒๘. โสวจสฺสตา   ๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ
๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา              เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 9.
๓๑. ตโป จ ๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ   ๓๓. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ
๓๔. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ               เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 10.
ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ   ๓๕. จิตฺตํ ยสฺส. น กมฺปติ
๓๖. อโสกํ ๓๗. วิรชํ ๓๘. เขมํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

(คาถาที่ 11.)
เอตาทิสานิ กตฺวาน  สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ  ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ

(ยังมีต่อ..)

 5 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 10:14:53 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ตอน ๕ : ไม่ลืมสาธยาย ไปให้ถึงมงคลที่สูงสุด



 :25: :25: :25:

ปากสวดมนต์ ใจคนต้องไปถึงสาธยาย

ก. สาธยาย เป็นแก่นสารของการสวดมนต์

ได้บอกแล้วแต่ต้นๆ ว่า การสวดมนต์นั้น ตัวแท้ตัวจริง แก่น แกนสาระของมัน ก็คือ การสาธยาย และมนต์ที่เราเอาคําของ พราหมณ์มาใช้แบบเทียบเคียงหรือล้อคําพูดของเขานั้น เราหมายถึง พุทธพจน์ คือคําตรัสสอนแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์ จึงมุ่งให้เป็นการสาธยายพุทธพจน์ คําสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่ง เป็นพระสูตร เป็นคาถา เป็นเนื้อความในพระไตรปิฎก

(ในยุคหลังพุทธกาลนานมา ได้รวมเอาบทสวดที่พระเถระ พระอาจารย์ในสมัยต่อๆ มา แต่งขึ้นใหม่ เพิ่มเข้าไปด้วย แต่บท สวดที่เพิ่มเข้าไปเหล่านั้น โดยปกติจะเป็นจําพวกคําอวยชัยให้พร หรืออนุโมทนา หรือไม่ก็เป็นคําสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย)

ที่ว่าสาธยาย ก็คือ มีสติจําได้ระลึกนึกถึงจับยกนําเอาข้อมูล ความรู้ (ในที่นี้คือพุทธพจน์) ขึ้นมาระบุบอกบ่งชี้จัดเรียงเข้าที่ตรง ตามลําดับอย่างถูกต้องครบถ้วน อาจจะเป็นการท่อง การทวน หรือการทาน ก็ได้ สติจึงเป็นตัวทํางานของการสาธยาย

เมื่อสติจับเอาข้อมูลข้อธรรมนํามาเสนอต่อหน้าต่อตาอย่างนี้ ก็เป็นหน้าที่ของปัญญาที่จะพิจารณาพินิจพิจัยสอบสวนฟั้นเฟ้นตรวจตราให้รู้เข้าใจเรื่องนั้นธรรมนั้น จนถึงขั้นที่มองเห็นว่า จะนําไปใช้แก้ไขปัญหา หรือทําประโยชน์อะไร อย่างไรต่อไป

จะเห็นว่า การสาธยายนี้ดําเนินไปด้วยการทํางานของสติ โดยมีปัญญามาสืบสานให้การปฏิบัติธรรมดําเนินไป จึงมีการทํางานของ ธรรมสําคัญ ๒ อย่าง คือ สติ และปัญญา (เรียกชื่อให้เข้ากับ ลักษณะการทํางานในที่นี้ว่า “ธรรมวิจัย”) ซึ่งเป็นธรรมองค์นําใน โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ทําให้การสาธยายเป็นการปฏิบัติธรรม

ตามที่ว่านี้ จะเห็นว่า สาธยายนี่แหละเป็นเนื้อใน เป็นตัวแท้ ตัวจริงของการสวดมนต์ ส่วนการสวดเป็นแค่ลักษณะอาการใน การเปล่งเสียง โดยมุ่งเน้นในแง่ที่ว่าจะเปล่งเสียงออกมาให้เป็น ทํานองอย่างไร ทําอย่างไรจะให้เสียงไพเราะเสนาะน่าฟัง นี่คือ เหมือนว่าการสวดเป็นเปลือกสวยงามห่อหุ้มการสาธยายไว้อีกชั้นหนึ่ง

ทีนี้ ถ้าใจมัวมุ่งไปที่การเปล่งเสียงจะเอาทํานองและเสียง ไพเราะเข้าว่า ไปๆ มาๆ ก็เลยไม่มีสติที่จะนึกถึงการสาธยาย มีแต่ การสวดมนต์ที่ไม่มีสาธยาย สวดไปเรื่อย แต่ไม่นึกไม่รู้ว่าบทสวด ถ้อยคําที่ตัวสวดนั้นบอกอะไร เป็นเรื่องอะไร ท่านสอนอะไรไว้ ยิ่ง ถ้าเป็นสวดมนต์หมู่ ก็พากันชื่นชมเพลินใจไปเรื่อยๆ กับสุ่มเสียง จังหวะทํานอง จนบางทีเคลิบเคลิ้ม กลายเป็นเหมือนเอาการ สวดมนต์มากล่อม เลยหลับไปบ้าง หลับๆ ตื่นๆ บ้าง

การสวดมนต์ที่ทําให้มีใจชื่นชมสงบสบายเพลินไปกับการสวดนั้น ก็มีประโยชน์อยู่บ้าง โดยช่วยให้จิตใจพ้นออกมาจาก อารมณ์ร้ายอันเป็นข้าศึก เช่นเรื่องที่กังวล กลุ่ม เครียด วุ่นวายใจ ต่างๆ ให้ใจนั้นย้ายมาจับอยู่กับการสวดมนต์ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ไร้ โทษ (รวมทั้งช่วยเตรียมจิตนําการเจริญสมาธิ และการช่วยให้นอน หลับได้)

แต่ความดีที่ว่านั้น เป็นคุณค่าข้างเคียง เป็นประโยชน์พลอย ได้ ที่ไม่จริงจังยั่งยืน ข้อสําคัญคือเสียหลัก ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ พื้นฐานว่า ทุกคนจึงเป็นอยู่อย่างมีสติ ท่านให้มีสติอยู่กับตัว โดยมีปัญญาที่จะดูแลปกครองตัวเองให้ก้าวดําเนินไปตลอดเวลา ให้ดีได้ เราจึงต้องฝึกตัวอยู่เสมอให้มีสติอย่างนั้น

ยิ่งในกรณีนี้เป็นการสาธยาย ซึ่งเป็นการใช้สติอย่างเด่นชัด พ่วงด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งที่สาธยาย มองเห็นทางที่จะใช้จะปฏิบัติ คือการที่จะก้าวออกสู่ปฏิบัติการให้มีผลเป็นประโยชน์สมจริง เป็นการก้าวหน้าไปในการปฏิบัติธรรม

ทีนี้ ถ้าสวดมนต์กันแล้วกลายเป็นอยู่กับความเพลิดเพลิน เคลิบเคลิ้ม ก็กลายเป็นการอยู่อย่างขาดสติ กลายเป็นชีวิตแห่งความประมาท

นี่แหละ ดังที่ว่าแล้ว จึงยอมได้แค่ให้เป็นช่วงพักช่วงคั่น เมื่อจิตได้ย้ายเปลี่ยนอารมณ์พ้นเรื่องร้ายเรื่องวุ่นวายมาพอสงบได้แล้ว ก็ต้องเดินหน้าตามหลักต่อไป โดยมีสติ ใช้ปัญญา ที่จะออกสู่ ปฏิบัติการ (ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม) ในความเป็นจริงของชีวิตต่อไป

@@@@@@@

ข. สวดมนต์ที่ดี ขึ้นมาเป็นวิธีแสดงธรรม

ในเรื่องการสวดมนต์นี้ ได้เล่าไว้ข้างต้นแล้วว่า พระพุทธเจ้า ทรงห้ามพระภิกษุมิให้ขับร้องด้วยเสียงร้องเพลง (คีตสร) อย่าง ชาวบ้าน ซึ่งมีการเอื้อนยาวยืดยาดขึ้นลงวูบวาบ ทําให้อักขระ ผิดเพี้ยนเสียหาย และมีโทษหลายอย่าง แต่ทรง “อนุญาต สรภัญญะ" ซึ่งเราแปลกันว่าทรงอนุญาตให้สวดสรภัญญะ

สรภัญญะ แปลตามศัพท์ว่า การกล่าว (ธรรม) ด้วยเสียง (สเรน (ธมุม) ภณ) แต่เสียงในที่นี้ หมายถึงเสียงที่ตั้งใจบรรจง เปล่งออกมาอย่างเป็นทํานองเสนาะรื่นไพเราะ เราจึงเรียกว่าสวด

ท่านกําชับว่า การใช้เสียงที่ดีกล่าวธรรม คือสรภัญญะนี้ เป็น การกล่าวเรียงบทให้ชัดค่าชัดความทุกบทพยัญชนะไม่ตกหล่นขาดหาย และไม่คละกัน ถ้อยคํารับต่อทอดกันไปอย่างกลมกลืน ไม่ทําให้อักขระผิดพลาดคลาดเคลื่อน ว่าตรงลงตัว ไม่คลุมเครือ ให้คําสวดครบถ้วนชัดเจนถูกต้อง ครบสมบูรณ์ กลมกล่อม ไพเราะ แต่ไม่มีวิการ (อาการผิดแปลกหรือไม่เหมาะสม) ดํารงสมณสารูป พาให้ชวนฟังชวนจํา พร้อมทั้งโน้มนําจิตใจให้สงบสดชื่นเกิดมีปิติ

ทําไมท่านจึงกําชับในเรื่องความถูกต้องแม่นยําชัดเจน ก็ เพราะเนื้อตัวที่แท้ข้างในของสรภัญญะก็คือการสาธยาย นี่คือให้ สรภัญญะเป็นเปลือกงดงามมาห่อหุ้มเนื้อในอันแท้ที่ดีจริง

เป็นอันว่า สรภัญญะเป็นวิธีสวด หรือวิธีกล่าวธรรมอย่างเป็น ทํานองไพเราะ และท่านก็บอกไว้ด้วยว่า วิธีสวดสรภัญญะนั้นมี ๓๒ ทํานอง แต่ทํานองเหล่านั้นเวลานี้จะไปหาฟังที่ไหนได้ครบหรือ แม้แต่สักกระผีก ดังนั้น เมื่อรู้หลักที่ท่านกําชับไว้นั้นแล้ว ผู้ที่ถนัด ก็ อาจจะคิดสรรทํานองสวดขึ้นมาใหม่ให้สวดกันได้ดีตามหลักนั้น

การสวดสรภัญญะดีทั้งเปลือกและได้เนื้อที่แท้อย่างนี้ ท่าน จึงนิยมให้ใช้สรภัญญะนั้นในการแสดงธรรม ซึ่งสมตาม ความหมายของสรภัญญะที่ว่า “การกล่าว (ธรรม) ด้วยเสียง” เอา เสียงสื่อธรรม คือ ใช้เสียงเป็นเครื่องกล่าวธรรมแสดงธรรมสอนธรรม

ตามที่ว่านี้ ท่านจึงจัดการสวดสรภัญญะนี้เป็นวิธีแสดงธรรม อย่างหนึ่ง เช่นที่เคยยกมาให้ดูข้างต้นแล้ว ในชุด ๔ คือ ปทภาณ, ธรรมกถา, สรภัญญะ และปัญหาวิสัชนา ทําให้เรามีทางเลือกใน การแสดงธรรมเรียนธรรมสอนธรรม เช่น แทนที่จะกล่าวบรรยาย อธิบายธรรมด้วยถ้อยคํา ที่เรียกว่า “ธรรมกถา” ก็สวด “สรภัญญะ”

เอาเสียงที่ตั้งใจเปล่งออกไปอย่างประณีตบรรจง ด้วยจิตเมตตา และ เคารพธรรม อันชัดเจนเรียบรื่น กลมกลืน สม่ําเสมอ เป็นทํานอง ไพเราะ นุ่มนวล ชวนฟัง มาเป็นสื่อ เพื่อนําธรรมที่มีอยู่เป็นหลัก ที่ร้อยเรียงไว้ดีแล้ว เป็นคาถา พระสูตร เป็นต้น ออกไปให้ถึงใจของผู้สดับ

มิใช่แค่นั้น ทางเลือกยังมีอีก เช่นที่เล่าให้ฟังเมื่อกี้ ที่ว่า เมื่อ จะฟังจะเรียนธรรมเรื่องใด ก็นิมนต์พระสรภาณขึ้นมาสวด สรภัญญะ กล่าวคาถา พระสูตร พุทธพจน์ที่เป็นบทตั้งนําไว้ เสร็จ แล้ว ก็นิมนต์พระธรรมกถูกขึ้นมาบรรยายอธิบายคาถา พระสูตร พุทธพจน์ที่เป็นบททั้งนั้น ที่เรียกว่า “สรภาณธรรมกถา”

บอกเล่ามายืดยาว ก็มาลงที่จุดย้ําว่า ถ้าเราสวดมนต์กัน และเห็นแก่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง ก็อย่าลืมสวดให้ถูกทาง ที่จะเป็นการสาธยายคําสอนของพระองค์

เมื่อให้เป็นการสาธยาย ก็ต้องมีสติระลึกนึกได้ว่า ตรงที่เรา สวดอยู่นี่ พระองค์ตรัสเรื่องอะไร ตรัสว่าอย่างไร แล้วก็สํารวจ ตรวจดูตัวเองไปด้วยว่า เรารู้เข้าใจได้ปฏิบัติธรรมที่พระองค์ตรัสนี้หรือเปล่า

@@@@@@@

ค. ปฏิบัติธรรมด้วยสาธยาย ก้าวไปในวิถีของปัญญา

พระและโยมสวดมนต์กันบ่อย สวดกันเป็นประจํา สวดกัน เป็นกิจวัตรเลยทีเดียว ถ้าสวดมนต์ถูกต้องตามหลักที่ว่ามา คือมี การสาธยายเป็นเนื้อใน ก็จะได้ปฏิบัติธรรมสําคัญอยู่เป็นประจําไม่ว่างเว้น และก็จะมีความเจริญงอกงามในธรรมกันอย่างจริงจังแล้ว ก็จะนํามาซึ่งความเจริญมั่นคงของพระพุทธศาสนา และความ เจริญแพร่หลายแห่งประโยชน์สุขของประชาชนยั่งยืนยาว

ที่ว่าการสาธยายเป็นการปฏิบัติธรรมสําคัญนั้น ก็อย่างที่พูด มาย้ําแล้วย้ําอีกว่า พอเริ่มสาธยาย ก็คือสติมาทํางาน การสาธยาย จึงเป็นการฝึกสติ เจริญสติ และฝึกความจําด้วย และที่สติทํางานก็ คือเอาข้อมูลมานําเสนอต่อปัญญา ที่จะได้วิจัย นี่คือธรรมองค์นํา ทั้งสองของโพชฌงค์ ๗ แล้วองค์อีก ๕ ก็มาเข้ากระบวน รวมทั้ง สมาธิด้วย (วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา) เมื่อองค์ทั้ง ๗ พร้อมดี ก็สัมฤทธิ์โพธิ คือบรรลุมรรคผล

พระพุทธเจ้าตรัสเรียกการสาธยายธรรมอย่างถูกต้องได้ผล ว่าเป็น วิมุตตายตนะ (แหล่งวิมุตติ คือเหตุแห่งวิมุตติ) แหล่งที่ 4 ดังความว่า (องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๖/๒๓)

    "ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมทําการสาธยายธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้เล่าเรียนมา โดยพิสดาร เธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น...เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ก็เกิด ปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ก็เกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายก็ ผ่อนคลายสงบ เธอมีกายผ่อนคลายสงบแล้ว ก็ได้เสวยสุข เมื่อมี สุข จิตก็มั่นแน่วเป็นสมาธิ"

    "ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นวิมุตตายตนะ (แหล่งวิมุตติ) อย่างที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ก็หลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ถึงความสิ้นไป หรือว่าเธอก็จะบรรลุโยคเกษมอันสูงสุด (นิพพาน) ที่ยังไม่ได้บรรลุ"


พระมหาสาวกที่เผยแผ่ธรรมสั่งสอนประชาชนทําให้ พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายมั่นคงและดํารงพระศาสนาให้ยืนยงอยู่ได้ จนถึงพระที่เป็นหลักในการดํารงอยู่ของสังฆะ คือ ส่วนรวมและผู้บริหารหมู่คณะทั่วๆไป มีและควรมีคุณสมบัติสําคัญอย่าง หนึ่ง คือเป็นพหูสูต ดังที่พระอานนท์เป็นเอตทัคคะในบรรดาพระพหูสูต (องฺ.เอก.๒๐/๑๔๙/๓๒) และผู้ที่เป็นพหูสูตทั่วๆไป ก็เป็นผู้มีทุนภายในอันทําให้พร้อมด้วยโอกาส ที่จะก้าวไปถึงจุดหมายแห่งการบรรลุธรรม

ผู้เป็นพหูสูต มีคุณสมบัติ ๕ อย่าง (เช่น องฺ.ทสก.๒๔/๑๗/๒๕)  คือ
    ๑. ได้สดับมาก (พหุสสุตา)
    ๒. ทรงไว้แม่น (ธตา, ฉบับอักษรพม่าเป็น ธาดา)
    ๓. บอกกล่าวเล่าได้คล่องจัดเจน (วจสา ปริจิตา)
    ๔. มองเห็น สว่างใจ (มนสานุเปกขิตา)
    ๕. ใช้ปัญญาแทงทะลุได้ทั่วตลอดเหตุผล จนถึงความจริง (ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา)

ข้อ ๓. นั้นท่านอธิบายว่า ก็คือสาธยายนี่แหละ (เช่น ม.อ.๒/๑๕๙ : วจสา ปริจิตาติ...วาจาย สชฺฌายิตา) ดังนั้น ผู้เป็นพหูสูต จึงมีแหล่ง วิมุตติ (วิมุตตายตนะ) อย่างที่ ๓ อยู่ในตัว (บอกไว้แล้วข้างบน)

ที่ว่านี้ก็ตรงกับที่พระมหากัจจายนะบอกไว้ในคัมภีร์เปฎโก-ปเทส (เนตฺติ-เปฏก.๓๖๖) ว่า วาสา ปริจิตา (บอกกล่าวเล่าได้คล่องจัด เจน) นี้ เป็นวิมุตตายตนะ คือแหล่งวิมุตติ ที่ ๒ และที่ ๓

ที่พูดมามากมายนี้ ให้เห็นแล้วว่าการสวดมนต์คืออะไร มี ความหมาย และความมุ่งหมายอย่างไร อยู่ตรงไหนในระบบและ กระบวนการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา

อย่างน้อยมีแง่เน้นว่า อย่าเผลอใช้การสวดมนต์เป็นแค่เครื่องมือแก้ปัญหาจิตใจ (ยอมให้เป็นที่ผ่อนพักใจให้ได้หลบพ้น ทุกข์ภัยเพียงชั่วคราว เป็นช่วงต่อหรือเปลี่ยนผ่าน แต่ถ้าเผลอติด เพลิดเพลินไป จะไถลเลยลงไปกลายเป็นคนเฉื่อยชาจมอยู่ใน ความประมาท และขัดขวางความเจริญก้าวหน้าในธรรม) แต่จะต้องเดินหน้าต่อไปในวิถีทางของปัญญา ที่จะพาให้ถึงจุดหมายที่แท้

ผู้ที่สวดมนต์ถูกต้องตามหลักการสาธยายเข้าในหลักที่จะ เป็นพหูสูต พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีผลดีติดตัวไปเป็นอานิสงส์ในกาลเวลายาวไกล กล่าวคือ ธรรมที่สดับต่อเนื่องมาและได้สาธยาย จนคล่องทรงไว้แม่นชัดเป็นอย่างกระแสภวังค์ แม้ว่าเมื่อถึงมรณ กาลตายไปโดยไม่มีสติ แต่ในภพใหม่นั้น บทธรรมที่ได้สดับ ได้
สาธยายคล่องแม่น และได้พินิจไว้ ก็จะแจ่มชัดขึ้นมาแก่ตัวเขา ถึงแม้จะมีเหตุเตือนให้ได้สตินั้นมาล่าช้า แต่เขาจะเป็นผู้บรรลุคุณ วิเศษ (ฌาน จนถึงนิพพาน) ได้เร็วพลันฉับไว (เรื่องนี้ ท่านที่สนใจ พึ่งอ่านดูใน องฺ.จตุกฺก.๒๑/๑๙๐/๒๕๑; องฺ.อ.๒/๒๙๙, ๔๑๑)





ก่อนอื่นใด พึงสวดมนต์ ที่ทํามงคลให้แก่ชีวิต

ก. สวดมนต์ จะให้ได้สาธยาย หลายคนบอกไม่ไหว

“สวดมนต์” ที่พระไทยพื้นถิ่นพื้นบ้าน และชาวชนบททั่วๆ ไป รู้จักกันมาแต่โบราณ ซึ่งได้ยินทั่วไปในงานมงคลต่างๆ เช่น แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ฉลองพระใหม่ และงานฉลองต่างๆ มากมาย คือพระปริตร ที่รู้จักกันว่าเจ็ดตํานาน และสิบสองตํานาน ถ้าเป็นงานมงคลสามัญ ก็สวดเจ็ดตํานาน ถ้าเป็นงานพิเศษใหญ่ๆ ก็อาจจะสวดสิบสองตํานาน

ทั้งเจ็ดตํานาน และสิบสองตํานานนั้น ได้บอกรายชื่อ และนํามาแสดงรายการให้ดูครบหมดแล้ว

ทีนี้ ที่วัดทั้งหลาย ถึงแม้ไม่ใช่ในงานพิธี ก็มีการสวดมนต์กัน เป็นประจําทุกวัน เรียกว่าทําวัตรเช้า ทําวัตรค่ํา (ทําวัตรเย็น ก็ได้) พูดกันเป็นสามัญว่า ทําวัตรสวดมนต์ โดยไหว้พระด้วยการสวดคํา สรรเสริญคุณพระรัตนตรัยเป็นหลักก่อน แล้วสวดมนต์บทต่างๆทยอยไป

เมื่อกี้นี้ได้บอกว่า "สวดมนต์" เป็นถ้อยคําที่เราหยิบคําของ พราหมณ์ที่เขาใช้กันมาก่อน เรานํามาใช้เพื่อสื่อเรื่องราวใหม่ของ เราให้คนที่อยู่มาเก่าเข้าใจพอจับเค้าได้ แต่เราใช้แบบล้อคําของเขา คือเราต้องให้คนเข้าใจความหมายของเราที่ต่างจากของเขา

ขอทบทวนว่า มนต์/มนตร์ของพราหมณ์ หมายถึงคัมภีร์พระเวท คําศักดิ์สิทธิ์ ใช้สื่อกับเทพเจ้า อ้อนวอนเทวดา แสดงฤทธิ์ เสก สาป ด่า แช่ง ทําร้ายเช่นสะกดคนอื่น เป็นต้น

“มนต์” นี้แม้จะนํามาใช้ในพระพุทธศาสนาแบบเทียบเคียง ดังว่านั้น ก็ใช้น้อยนัก ในคัมภีร์ทั้งหลายพูดถึงมนต์ ก็มุ่งไปที่ พราหมณ์ และเมื่อนํามาใช้ทางพุทธ ก็ให้หมายถึงพุทธพจน์คํา ตรัสคําสอนของพระพุทธเจ้า

คําสอนที่เทียบใกล้กับมนต์ ก็คือปริตรที่ว่าแล้ว ซึ่งบ่อยครั้ง เรียกว่า "พุทธมนต์” แต่ปริตรของพุทธไม่ให้กิเลสเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มีการสาปแช่งทําร้ายใครๆ แต่เป็นการอ้างสัจจะ อ้างธรรม เป็นอํานาจที่จะปกป้องคุ้มครองตัวเองและคนที่พึ่งดูแลรักษา

ทีนี้ ก็ได้บอกว่า การสวดมนต์ที่ถูกต้องของชาวพุทธนี้ มีตัว แท้ตัวจริงอยู่ที่การ “สาธยาย” เวลาว่าไปสวดไป ต้องมีสติระลึกนึก ได้นึกทันถ้อยคําเนื้อความที่ตัวสวด และมีปัญญารู้เข้าใจสิ่งที่สวด นั้น แล้วโยงออกมาสู่การใช้การปฏิบัติ

พอถึงตรงนี้ หลายคนบอกว่าไม่ไหว เพราะคําสวดเป็นภาษา บาลี ที่ไม่รู้ความหมาย แล้วก็สวดและฟังกันมาเรื่อยๆ เปื่อยๆ แสน นาน ไม่ได้นึกไม่ได้ใส่ใจเนื้อความ (ถึงเวลานี้ แม้แต่แค่รับศีล ก็ว่า เรื่อยเปื่อยให้จบๆ ไปเท่านั้นเอง) นี่ก็คือฟ้องถึงความเสื่อมที่ปล่อย ปละละเลยกันมาจนจะหมดโดยไม่รู้ตัว

นี่อะไรกัน บอกว่าเป็นชาวพุทธ แต่ไม่รู้เลยว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

เอาละ ก็มองในแง่ว่าเห็นใจ บทที่สวดนั้นมากมายนัก จะให้ สวดด้วยสติและรู้เข้าใจทั้งหมด ก็ไม่ไหว แต่จะมัวอยู่กันในความ ประมาท ปล่อยเรื่อยเปื่อยเรื่อยไป ก็คือจะหมด น่าจะเริ่มฟื้นเอา ส่วนที่เป็นแก่นเป็นแกนขึ้นมา ตั้งหลักให้ได้ก่อน

ตั้งหลักอย่างไร เอาที่พระปริตร ทั้งเจ็ดตํานาน และสิบสอง ตํานานนี่แหละ ถึงจะมากมาย แต่ท่านมีระบบให้ไว้ ถ้าเราเข้าใจ ระบบของบทสวดมนต์นั้น ก็จับแกนได้ แล้วก็ตั้งหลักขึ้นมา

@@@@@@@

ข. ทําไม จะสวดปริตร ต้องสวดมงคลสูตรนําหน้า

ขอทบทวนให้สังเกตว่า ในรายชื่อปริตร ที่จัดเป็นระบบเป็น ชุด ไม่ว่าเจ็ดตํานาน หรือสิบสองตํานานนั้น ขึ้นต้นด้วยมงคลสูตร เป็นข้อแรก คือ มีมงคลสูตรนําหน้า

ข้อที่แปลกไม่น้อย คือ มงคลสูตรนี้ ไม่เป็นปริตร ไม่เรียกว่า ปริตร แต่เอามานําหน้าขึ้นก่อนปริตรทั้งหมดทั้งชุด และทุกชุด

ท่านจัดตั้งวางเป็นระเบียบแบบแผนในการเจริญพระพุทธมนต์ว่า เมื่อจะสวดพระปริตร ไม่ว่าชุดใด ต้องสวดมงคลสูตร นําหน้าก่อน (ทั้งทีมงคลสูตรไม่เป็นปริตร)

ยิ่งกว่านั้น ในเวลาสวด ถ้ามีเวลาน้อยหรือเร่งรัด อาจจะเว้น ไม่สวดบางปริตรในชุดนั้นๆ ก็ได้ แต่ต้องสวดมงคลสูตร

นี่เป็นความสําคัญพิเศษของมงคลสูตร ที่รวมเข้ามานําหน้าในชุดปริตร ทั้งที่ไม่เป็นปริตร

เรื่องนี้จะอธิบายอย่างไร ที่จริงก็ได้อธิบายไว้นิดหน่อยก่อนนี้ แล้ว ที่นี่จะอธิบายไม่ให้ยืดยาว

บอกแล้วว่า ปริตรนั้นเป็นบทสวดเพื่อคุ้มครองป้องกัน โดยมี อานุภาพต่างๆ กัน เป็นด้านๆ บทหนึ่งก็ใช้เพื่อคุ้มครองป้องกัน ด้านหนึ่ง เช่น โมรปริตร ใช้สวดในเวลาเช้าที่จะออกจากถิ่นจาก บ้าน (และเย็นค่ําที่กลับเข้าบ้านเข้าถิ่น) ให้ไปหากินโดยสวัสดี

ขันธปริตร (บางทีเรียก อหิราชปริตร) ใช้สวดแผ่เมตตาผูก มิตรกับเหล่าพญางู ๔ ตระกูล เป็นต้นไป มีอานุภาพป้องกันงูร้าย สัตว์เลื้อยคลาน ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง

โพชฌงคปริตร ใช้สวดให้คนเจ็บไข้ฟังช่วยให้หายโรค (ปริตรอย่างโพชฌงค์นี้ ที่จริงแสดงหลักธรรมสําคัญยิ่ง ดังที่ว่าเป็นองค์ของการตรัสรู้ แต่สําหรับคนทั่วไปซึ่งมองที่เรื่องราวว่า พระพุทธเจ้าและพระมหาสาวกบางรูป สดับการสวดโพชฌงค์แล้ว หายอาพาธ ก็จับมาใช้กันในความหมายที่เป็นปริตร) อย่างนี้เป็นต้น ทีนี้มาดูมงคลสูตร ที่ว่าไม่เป็นปริตร ไม่ใช้สวดเพื่อป้องกันแก้ โรคแก้ภัยอะไร แต่สําคัญมาก คือใช้สวดเพื่อสร้างมงคลแก่ชีวิต ทํา ชีวิตให้ดีงามเป็นมงคล ตรงนี้ดูให้ดี

ที่เราสวดปริตรเพื่อปกป้องรักษาตัวนั้น ชัดอยู่แล้วว่าสิ่ง สําคัญคือชีวิต ซึ่งเป็นเนื้อตัวของเรา เราจึงปกป้องรักษาชีวิตที่เป็น ตัวเรานั้นให้พ้นโรคพ้นภัย การป้องกันภัยเป็นเรื่องด้านนั้นด้านนี้ และชั่วครั้งชั่วคราว แต่ชีวิตที่เราจะป้องกันรักษานี่สิเป็นสิ่งที่เรา จะต้องดูแลทําให้ดีตลอดเวลา และชีวิตที่ดีที่เลิศประเสริฐนั่นแหละ จึงควรแท้แก่การที่จะปกป้องรักษา (ชีวิตที่ร้ายที่ไม่ดีบางทีก็เลยไม่ น่าจะป้องกันรักษาด้วยซ้ํา)

นี่แหละเป็นความสําคัญของมงคลสูตร คือ มงคลสูตรสวดเพื่อสร้างมงคลแก่ชีวิต เพื่อทําชีวิตคือตัวเรานี้เอง ให้ดีมีความสุข ความเจริญ ให้เป็นชีวิตที่ดีเลิศประเสริฐ ที่มีคุณค่าควรแก่การที่จะ ให้พระปริตรนั้นนี้มาปกปักรักษา พูดง่ายๆ ว่าทําชีวิตนี้ให้ดีมี คุณค่าเสียก่อนสิ แล้วจึงไปเรียกหาปริตรนั้นนี้มาคุ้มครองรักษา นี่แหละมงคลสูตรจึงต้องมานําหน้าปริตรทั้งหมด

@@@@@@@

ค. ได้มงคลสูตรไว้บทเดี๋ยวนี้ ก็มีฐานมั่นที่จะก้าวไปถึงจุดหมาย

มงคลสูตรมีธรรม ๓๘ ข้อ ที่จะสร้างมงคลอันสูงสุดให้แก่ ชีวิตครบทุกอย่าง ตั้งแต่เริ่มต้นจนตลอด เราก็มาตั้งเป้าที่ชีวิตของ ตัวๆ นี้ แล้วก็เรียนรู้ธรรม ๓๘ ข้อ ที่จะทําให้ชีวิตของเราได้มงคล ครบทั้ง ๓๘ ประการ

อย่างที่ว่านี้ มงคลสูตรแสดงธรรมครบทั้งหมด ตั้งแต่สําหรับเด็กไปจนถึงผู้เฒ่าชรา ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติธรรมไปจนบรรลุนิพพาน แม้จะบอกไว้เป็นหลักกว้างๆ แต่ก็เป็นระบบที่จะแยกย่อยไปโยง กับธรรมข้อย่อยมากมายที่ทรงแสดงไว้ในที่อื่นๆ พูดง่ายๆว่า ครอบคลุมธรรมทั้งหลายได้ทั้งหมด จึงเชื่อมถึงบรรดาปริตรด้วย

ในตอนท้ายที่จะจบมงคลสูตรนี้เอง พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ผู้ ที่สร้างมงคล ๓๘ ที่พระองค์ตรัสไว้นี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่ปราชัยในที่ ทุกสถาน ประสบความสวัสดีในทุกสถานการณ์ นี่คือเท่ากับได้ ปริตรทั้งหลายมารวมครอบคลุมไว้ทุกประการ

การที่ท่านวางแบบแผนไว้ว่า เมื่อจะสวดพระปริตรทั้งหลาย ให้สวดมงคลสูตรนําก่อนนั้น น่าจะชวนให้นึกโยงไปถึงหลักทั่วไป ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ในธรรมวินัยนี้ มีอนุบุพสิกขา คือ การศึกษาตามลําดับ อนุบุญกิริยา คือการกระทําตามลําดับ อนุปุพปฏิปทา คือการปฏิบัติตามลําดับ (เช่น ขุ.อุ.๒๕/๑๑๘/๑๕๕) เป็นขั้นตอนต่อเนื่องไป ไม่ใช่จะปฏิบัติข้ามขั้นตอนให้บรรลุถึงนั่นถึงนี้ ได้ปุบปับ เหมือนมหาสมุทรซึ่งตามปกติจะลาดลุ่มลึกลงไปๆ ไม่ฮวบฮาบอย่างลงเหว

ดังที่ว่าแล้ว มงคลสูตรมีข้อปฏิบัติครบถ้วน และพระพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงไว้เป็นขั้นตอนตามลําดับ ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบสูงสุด ทุกคนต้องไม่ประมาทในธรรม การสวดมงคลสูตรจึงเป็นเครื่องเตือนให้ผู้ปฏิบัติธรรม ตรวจดูการปฏิบัติของตนให้ครบให้ถูกต้องสมควร เช่น ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะเจริญสมถวิปัสสนาให้แจ้งปรมัตถ์ ก็ต้องไม่ละเลยการเจริญประโยชน์ขั้นตาเห็นเป็นทิฏฐธัมม์ให้พร้อม ให้ดีไว้ เช่น บํารุงมารดาบิดา เลี้ยงดูบุตรธิดา เกื้อกูลภรรยา ทํา กิจการงานเข้มแข็งให้สําเร็จผลดี เป็นต้น

เมื่อรู้ตัวเห็นว่า อย่างน้อยเฉพาะหน้าเวลานี้ จะไม่สามารถ สวดมนต์มากมายได้ตามหลักให้ถึงแก่นแท้ที่เป็นการสาธยาย ก็ จับเอาแค่มงคลสูตรนี้แหละ ให้ได้เป็นหลักเป็นแกนไว้ มนต์บทอื่นๆ ก็สวดไปเท่าที่เคยได้ ยอมไปก่อน นี่คือ

    ๑. สวดมนต์ทุกครั้ง จะมีบทอื่นๆ อะไรบ้าง ก็ไม่ว่า แต่ต้องมี มงคลสูตร เป็นบทนําาอันเอกเสมอไป นี่คือว่าตามแบบแผนอยู่แล้ว)
    ๒. ถึงตอนสวดมงคลสูตรนั้น ต้องให้ได้ตามหลักจริงๆ คือให้ มีเนื้อแท้ที่เป็นการสาธยาย โดยมีสติระลึกได้นึกถึงทันทุกคําทุก ความที่เปล่งออกมา พร้อมด้วยปัญญารู้เข้าใจความหมายของคํา ความเหล่านั้น

    แล้วก็สํารวจตรวจสอบตัวเองว่าได้สร้างมงคลข้อนั้นๆ หรือยัง พร้อมทั้งมองเห็นธรรมเพื่อสร้างมงคลที่ตนจะตั้งใจปฏิบัติให้เกิดขึ้นต่อไป

@@@@@@@

เมื่อสวดมงคลสูตรได้สมจริงไว้บทหนึ่ง เป็นหลักเป็นแกน อย่างนี้แล้ว ก็ตั้งมงคลสูตรนี้เป็นฐานที่มั่นไว้ แล้วต่อไป เมื่อเก่งขึ้น จะขยายไปเลือกบทอื่นๆ ที่จะสวดให้ครบเต็มตามหลักอย่างนี้ เพิ่มขึ้นไปๆ ก็ได้ และก็จะดี

ที่จริงก็แสนจะชัดอยู่แล้วว่า มงคลสูตรนี้ เป็นบทสวดมนต์ พื้นๆ ที่พระทั้งเมืองไทยสวดกันทั่วไป ทุกคนได้ฟัง ทั้งที่วัด ในบ้าน ทุกครั้งที่ทําบุญงานมงคล เพียงแต่ได้ยินผ่านๆ กันไป ไม่ได้สังเกต ไม่ได้ใส่ใจ

จะเป็นการดีงามเลิศประเสริฐแค่ไหน ถ้าทุกรูปทุกนามที่เป็นพุทธิกชนคนไทย ไม่ว่าพระหรือโยม ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ สวด มงคลสูตรนี้ ได้ถูกต้องตามหลักของการสาธยาย (พร้อมทั้งมีใจรัก ที่จะปฏิบัติด้วย) ให้อันนี้เป็นจุดรวม เป็นฐานร่วมหนึ่งเดียวกัน ก็จะทําให้พระพุทธศาสนาในสังคมไทยมีฐานที่มั่นชัดด้วย

(ไม่ควรให้มีใครในที่ไหนๆ พูดได้ว่า คนพุทธไทยนั้น แต่มงคลสูตร สวดมนต์บทแรก ก็ไม่รู้เรื่อง)

คิดว่าได้พูดมามากนักหนาพอแก่การแล้ว ก็ว่ากันเท่านี้ก่อน

ท้ายนี้ เพื่อให้สะดวกแก่ผู้มีฉันทะที่จะสวดมงคลสูตรให้เป็น หลักเป็นแกน และตั้งเป็นฐานที่มั่นไว้ อย่างที่ว่าแล้ว จึงนําเอา มงคลสูตรนั้น ทั้งคาถาภาษาบาลี และคําแปลภาษาไทยมาลงผนวกท้ายไว้

(ยังมีต่อ..)

 6 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:09:06 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



กมฺมุนา วตฺตตีโลโก | “วัฏจักรแห่งชีวิต” มี 10 ขั้นตอน

การศึกษาว่าด้วย “วิทยาศาสตร์สุขภาพ” ไม่ว่าจะเป็นสายทางโลกหรือสายทางธรรมไม่ได้แตกต่างกันเท่าใด หากวิเคราะห์ดูแล้ววงจรชีวิตของคน หรือที่ว่าด้วย “ชีวิต” หนี “กฎแห่งธรรมชาติ” ไม่พ้น ในวงจรชีวิตภาษาธรรมะ เวลาที่เราไปวัด โดยเฉพาะงานศพ ตอนสวดพระอภิธรรมจะพบเห็นตาลปัตรของพระสงฆ์ 4 รูป ขึ้นสวดพระอภิธรรมว่า “ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น” หรือจะเข้ากับ “ไตรลักษณ์” ที่ว่า “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา”

แต่หากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว “วัฏจักรแห่งชีวิต” มี 10 ขั้นตอน

1. เกิด : เป็นช่วงที่เด็กทารกอยู่ในครรภ์มารดา ช่วงเวลา 9 เดือน เมื่อครบกำหนดคลอดออกมาดูโลก ด้วยอวัยวะครบ 32 ประการ มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 2,500-3,500 กรัม

2. เด็ก : เป็นช่วงอายุ 0-12 ปี เป็นเด็กอ่อน มารดาโอบอุ้มเลี้ยงดู กระตุ้นพัฒนาการให้มีสติปัญญาอารมณ์เข้ากับสังคมได้ดี เข้าเรียนวัยก่อนอนุบาล อนุบาล ประถมศึกษา เรียนรู้กล่อมเกลาจากครูอาจารย์

3. หนุ่ม : เป็นช่วงอายุทีนเอจ (Teenage) อายุ 13-19 ปี เด็กเข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษา ประมาณอายุ 17-18 ปี

4. รับปริญญา ประมาณอายุ 17-18 ปี เข้าเรียน “มหาวิทยาลัย” อีก 4-6 ปี ก็จะจบปริญญา ประมาณอายุ 21-24 ปี ได้รับความรู้ประสบการณ์จากอาจารย์มหาวิทยาลัย เพื่อนๆ

5. เข้าทำงาน หรือได้รับการศึกษาประสิทธิ์ประสาทปริญญาแล้ว ไปสมัครงานเข้าทำงาน ไม่ว่าจะทำธุรกิจที่บ้านเอง รับราชการ เป็นลูกจ้างร้านค้า รัฐวิสาหกิจ มีเงินเดือนหารายได้เป็นของตัวเอง

6. แต่งงาน : พอมีเงินมีหลักมีฐาน พอมีรายได้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ก็จะพบคู่ คู่รัก คู่เพื่อน ช่วงวัย 25-35 ปี หากดวงสมพงศ์ก็จะเข้าประตูวิวาห์ตามกรอบวัฒนธรรมประเพณี มีหลักฐานของชีวิตตามที่พ่อแม่คาดหวังจากลูกทุกคนที่เป็นบัณฑิต มีครอบครัว เป็นหลักเป็นฐาน

7. เลี้ยงลูก : ครอบครัวที่อบอุ่นสมหวังคือการมี “ทายาท” ไว้สืบตระกูลเป็นชายก็ได้หญิงก็ดี เป็นลูกที่เกิดมาสมบูรณ์ครบทุกประการ เราทั้งสองที่เป็นคู่สามีภรรยาก็จะมีสถานะเป็น “คุณพ่อคุณแม่” ของลูกซึ่งจะเข้าวงจรที่เรา “จุติ” มาเกิดจากท้องพ่อ-แม่ของเรา และเลี้ยง “ลูก” ของเราให้เจริญเติบโต ฟูมฟักกล่อมเกลาเหมือนกับปู่ย่า ตายาย ที่คลอดและเลี้ยงเรามาอย่างน้อยก็ให้ดีเท่าหรือดีกว่าพ่อแม่ที่คลอด เลี้ยงเรามาพร้อมกับฐานะให้ “มั่นคง มีกิน มีใช้ ตามสมควร” เป็นรากฐานให้ลูก ช่วงนี้ก็จะอายุ 35-50 ปี

8. แก่ชรา : หากเรามีลูก 1-2 คน ท่านหากินอายุล่วงเข้า 50-60 ปีขึ้นไป เข้าสู่วัยทอง เข้าสู่วัยชรา หน้าที่นอกจากทำมาหากิน เราต้องดูแลสุขภาพกายและจิตของเรา เรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย อารมณ์ เลี่ยงอบายมุขทั้งปวงด้วย ก็จะไม่ป่วยไข้และอายุยืนยาวในที่สุด

9. เจ็บป่วย : ด้วยอายุ 60 ปีขึ้นไป ถึง 70-80 ปี ดูแลสุขภาพ “3อ 3ลด” จากที่กล่าวแล้วควรจะต้องตรวจเช็กสุขภาพกายใจทุกปี ปีละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะการเกิดโรคไม่ติดต่อ คือเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคจิตประสาท โรคมะเร็ง อุบัติเหตุ เพราะเราสามารถจะป้องกันได้ด้วย “3อ 3ลด” แต่ด้วยเรื่องสังขารหนีไม่พ้น เรื่อง “การเจ็บป่วย” ด้วยวัยอันควรตามฐานะย่อมต้องเกิดแต่กว่าจะเกิดก็ขอให้อายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป และจะเข้าสู่บันไดข้อที่…

10. ตาย : ซึ่งเป็นบันไดขั้นสุดท้ายที่ทุกคนต้องถึงหลักชัยในชีวิตของทุกๆ คน พึงจะต้องถึงแน่ๆ แต่ขอให้จบชีวิตด้วย “ความสุขที่ได้บังเกิด อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี”




    ⦁ “วิถีทางแห่งชีวิต” ทางธรรมะ กล่าวว่า “ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนดับไปเป็นธรรมดา”

    ⦁ เราเกิดมาจากไหนใครไม่รู้ จะไปสู่แห่งไหนใครไม่เห็น จะตายเช้าหรือสาย บ่ายหรือเย็น ไม่มีเว้นทุกคนจนปัญญา แต่ว่าชีวิตที่เกิดมาจะเป็น “คนหรือมนุษย์”

    ⦁ “คน” เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความเป็นอยู่เหมือนสัตว์ทั้งหลาย คือ มีการกิน การนอน การกลัว การสืบพันธุ์

ส่วน “มนุษย์” นั้นสูงกว่า “คน” เพราะมีธรรมของมนุษย์ คือมี “เบญจศีล เบญจธรรม” มนุษย์มีความหมาย 2 อย่าง คือ
   1. ผู้มีใจสูง (มโน อุสฺโส อัสฺสาติ, มนุสโส)
   2. ผู้รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (หิตาหิตํ มนติชานาติ มนุสฺโส)
 
   ดังคำกลอนที่ว่า
  “เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง  เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน
   ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน  ยอมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
   คิดดูเถิด ถ้าใคร ไม่อยากตก  จงรีบยก ใจตน รีบขวนขวาย
   ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย  ก็สมหมาย ที่เกิดมา อย่าเชือนเอย”


@@@@@@@

“คนกับกรรม” : คนทำความดีได้ง่าย แต่ทำชั่วได้ยาก คนชั่วทำความชั่วได้ง่าย แต่กลับทำดีได้ยาก แต่ที่ได้กล่าวเบื้องต้นแล้วว่า “คนกับมนุษย์” นั้นต่างกัน

   ขอกล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่งที่ว่า มนุษย์ คือ สัตว์โลกที่มีจิตใจสูง มีเหตุผลมี “ศีลธรรม”
   ส่วนคน เป็นสัตว์โลกที่มีจิตใจต่ำ ไม่มีศีลธรรม ไม่มีเหตุผล
   คำว่า “มนุษยธรรม” จึงแปลว่า “ธรรมที่ทำคนให้เป็นมนุษย์” ที่สมบูรณ์ทั้งร่ายกายและจิตใจ เมื่อพัฒนาจิตใจจาก “คน” ขึ้นมาเป็น “มนุษย์” ได้ก็ถือเป็น “คนดี” นั่นเอง

คำว่า “กรรม” เป็นคำกลางๆ แปลว่า “การ กระทำ” ทำดี เรียกว่า “กรรมดี” หรือ “กุศลกรรม” ทำชั่ว เรียกว่า “กรรมชั่ว” หรือ “อกุศลกรรม” ทั้งกรรมดีและกรรมชั่วนี้ทำได้หรือเกิดได้ 3 ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ (คิด)

ตัวอย่างง่ายๆ : เรารับประทานอาหาร เป็น “กรรม” กรรมอิ่มเป็นผลของกรรม คือ “วิบากของการรับประทาน” แล้วเราอิ่มก็เป็นของเรา คนอื่นจะอิ่มแทนเราไม่ได้ จึงเป็นกฎตายตัวเลยว่า ใครก็ตามที่ “ทำกรรม” แล้ว จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมเสมอ

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้และให้คิดอยู่เสมอว่า “เรามีกรรมเป็นของของตน จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ใครทำกรรมอันใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม จะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ”

หรืออาจกล่าวได้ว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” นี้เป็นกฎความจริงธรรมดา ที่จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เราปลูกต้นมะม่วงก็จะออกผลมาเป็นมะม่วง จะเป็นผลทุเรียนไปไม่ได้

มีผู้คิดอย่างพาลว่า “ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป” นั้นอยากจะบอกว่านั่นไม่จริงหรอก คนที่พูดอย่างนี้ เพราะเขาทำความดีไม่เป็น ไม่เข้าใจว่าการทำดีนั้นจะต้องให้มี 3 ดี คือ “ถูกดี ถึงดี และพอดี”

ถูกดี : ก็คือ ทำดีให้ถูกกาลเทศะให้ถูกจังหวะ และพอเหมาะพอควร
ถึงดี : ก็คือ ทำดียังไม่ทันถึงดี ก็เบื่อหน่ายท้อแท้ เกียจคร้าน เลิกทำดีเสียแล้ว
พอดี : ก็คือ บางคนทำดีเกินพอดี ล้ำหน้าเพื่อนฝูง เอาเด่นเอาดังคนเดียว อย่างนี้จะดีได้อย่างไร หรือพูดง่ายๆ ก็คือ “ทำดีต้องใจบริสุทธิ์”




    ⦁ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้นิมิต หลังจากที่ท่านล่วงลับไปแล้วเมื่อ 100 ปีกว่า กล่าวว่า

     “ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเอง คือ บารมีของตนลงทุนไปก่อนเมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าเอาตัวไม่รอด
      เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว เมื่อทำบุญทำกุศลได้ บารมีมาก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ภพหน้า
      หมั่นสร้างบารมีไว้ แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง จงจำไว้นะ เมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้ ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดิน ก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า…”


นี่คือคำเทศน์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี อันเป็นปฐมเหตุที่ต้องสร้างความดีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

อนึ่ง เรามักจะได้ยินได้ฟังเสมอว่า การทำบุญให้ทานจะมีผลมาก มีอานิสงส์ไพศาล ถ้าประกอบด้วยองค์ 6 ประการ คือ

    1. ก่อนให้มีใจผ่องใสชื่นบาน
    2. เมื่อกำลังให้จิตใจผ่องใส
    3. เมื่อให้แล้วก็มีความยินดีไม่เสียดาย
    4. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากราคะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อลดราคะ
    5. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อลดโทสะ
    6. ผู้รับเป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือกำลังปฏิบัติเพื่อลดโมหะ

นั่นคือ ถ้าหากเรา “คิด พูด ทำ” ด้วยการทำ “กรรมดี”
    ไม่ฆ่าสัตว์ คนอายุยืน
   “ไม่เบียดเบียนสัตว์” สุขภาพดี
   “อดทนไม่โกรธ” ผิวพรรณดี
   “ไม่ริษยาคนอื่น” มีเดชานุภาพมาก
   “บริจาคทาน” มีสมบัติมาก
   “อ่อนน้อม” มีตระกูลสูงศักดิ์
   “คบแต่บัณฑิต” มีปัญญามาก
“ผลการทำกรรมดี ย่อมได้ผลดีตามมา” นั่นคือ “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม”

    @@@@@@@

ท้ายสุดขอฝากแฟนๆ มติชนทุกท่าน ด้วยการดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวให้ปลอดจากโรคไวรัสโควิด-19 ด้วยหลัก 5 ประการ คือ

    1. เร่งฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ตัวเราเองให้ครบ อย่าลืม “3อ” ออกกำลังกาย ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อารมณ์ดี 3ลด : ลดอ้วน ลดละเหล้า ลดละบุหรี่
    2. ใส่ Mask 100% ทุกที่ทุกเวลา
    3. กินร้อนช้อนส่วนตัว อาหารจานเดียว แยกกันทาน
    4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ แอลกอฮอล์
    5. สังเกตตัวเอง ถ้ามีอาการไข้หวัด ไข้สูงมากกว่า 37.5 องศา หายใจขัด รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ ไงเล่าครับ

                                            ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.นพ.วิชัย เทียนถาวร
                                                   อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข






ขอบคุณที่มา : https://www.matichon.co.th/article/news_2905914
วันที่ 26 สิงหาคม 2564 -12:33 น. | ผู้เขียน : วิชัย เทียนถาวร

 7 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:46:00 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



พระพรหมที่ยังมีลมหายใจ
คอลัมน์ทำมาธรรมะ โดย ราชรามัญ

ผมเคยไปเป็นวิทยากรที่โรงเรียนวิถีพุทธปัญญาประทีป ในอำเภอปากช่องจังหวัดนครราชสีมา อยู่ติดกับสำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี พอทราบว่ามีพระเถระรูปสำคัญอย่างท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ ปยุตฺโต)​ และท่านพระอาจารย์ชยสาโร พำนักจำวัดอยู่ ยิ่งทำให้หัวใจพองโตยิ่งนัก

พระอาจารย์ชยสาโร เคยพบท่านครั้งแรกสมัยผมเป็นนักเขียนในนิตยสารโลกทิพย์ ไปกราบท่าน สนทนากับท่านที่วัดป่านานาชาติ เป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพง ที่อุบลราชธานี ขณะนั้นท่านเป็นประธานสงฆ์ หรือ เจ้าอาวาส ที่นั่นมีแต่พระภิกษุชาวยุโรป อเมริกา และทั่วโลกจำวัดศึกษาปฏิบัติธรรม จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว...

วันนี้พระอาจารย์ชยสาโร พระป่าสายหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯเป็นพระราชาคณะชั้นรอง ที่พระพรหมพัชรญาณมุนี ก็ต้องเรียกท่านด้วยความเคารพว่า ท่านเจ้าคุณ จึงเหมาะแก่กาลเทศะยิ่ง

ท่านเป็นพระที่มุ่งมั่นในการเผยแผ่ธรรม และมีปฏิปทาที่งดงามเพียบพร้อมศีลและธรรม ท่านอธิบาย เรื่องภาวะอารมณ์ของการปฏิบัติธรรม ในแต่ละช่วงแต่ละตอนได้อย่างละเอียดมากกว่าที่ตำราเขียนไว้ เพราะทุกถ้อยคำล้วนมาจากประสบการณ์จริงที่ท่านได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

@@@@@@@

ครั้งหนึ่งเคยกราบเรียนถามท่านว่า มาศึกษาธรรมะ นั่งสมาธิภาวนาแบบนี้ เคยพบเทวดาบ้างไหม ถามครั้งแรกท่านก็ยิ้มน้อยๆ แต่ไม่ตอบ ถามครั้งที่ 2 ท่านก็นิ่งเฉย พอถามครั้งที่ 3 ท่านก็เลยเบาๆว่า

"เป็นธรรมดาของนักปฏิบัติ"

การถาม เป็นการที่ผมอยากรู้จริงๆ ว่าเทวดาจะมาหาแต่พระไทยหรือไม่ ปรากฏว่า จากคำตอบของท่านก็ทำให้อนุมานทราบได้ว่า เทวดานั้น มิได้เลือก ว่าเป็นพระไทยหรือพระต่างประเทศ ถ้ามีปฏิปทางดงามยิ่ง ก็จะเกิดความเคารพศรัทธาคอยดูแลปกป้อง ให้รอดปลอดภัย ในการดำรงสมณะเพศ

อีกสิ่งหนึ่งที่ บรรดาศิษย์ยานุศิษย์ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกัน คือท่านเป็นพระที่มากด้วยความเมตตา ความกรุณาเต็มหัวใจ ท่านมองโลกมองบุคคลทั้งหลาย ด้วยพึงอาศัยหลักแห่งธรรมในเชิงกุศล หรือพูดง่ายๆ ว่าท่านเป็นคนที่มีแนวคิด ทัศนคติไปในเชิงบวก โดยมีหลักธรรมสอดแทรกในการพิจารณาอยู่ตลอดเวลา




แม้ว่าท่านจะได้รับการแต่งตั้งมีสมณศักดิ์ แต่ปฏิปทาในการปฏิบัติตามแนวทางวัดป่าของท่านนั้นก็ไม่เคยเปลี่ยน เคยฟังท่านอธิบายอารมณ์ภาวนาสมาธิ เรื่องฌาน 4 นี่ฟังเป็นของง่ายไปเลยแต่ความจริงต้องใช้ขันติบารมีในการปฏิบัติมากพอควร
 
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมสัมผัสกับตนเอง เมื่อคราวพบท่านที่วัดป่านานาชาติครั้งนั้น นั่งใกล้ๆ ท่านแล้วสามารถสัมผัสกระแสไอเย็นปีติพัดผ่านทุกซอกของหัวใจได้อย่างชนิดที่มีน้ำตาซึมขณะได้ฟังธรรมร่วมกับญาติธรรมคนอื่นๆ

พอท่านนำภาวนาไปสัก 40 นาที เมื่อถึงเวลาพัก ครั้นพอท่านลืมตาขึ้น แววตาของท่านใสเป็นประกายดุจเพชรมีน้ำนัยตาเออใส คล้ายพระอริยสงฆ์เพิ่งออกจากสมาบัติธรรม 

จำได้ติดตากับภาพ... หลังท่านฉันกังหันแล้ว (ฉันข้าวมื้อเดียว) เป็นการฉันรวมในบาตร คือ เดินตักอาหารที่ญาติธรรมถวายตักใส่บาตร ทั้งคาวแลหวานและผลไม้รวมกันในบาตร เมื่อฉันแล้วล้างบาตรเอง เก็บผ้าปูอาสนะเอง มีผ้าขาวมาช่วยบางครั้ง

ผ้าขาว คือ ผู้ถือศีลแปดเป็นชาวต่างชาติ ก่อนจะบวชธรรมเนียมพระสายหลวงพ่อชาจะให้เป็นผ้าขาวก่อนเพื่อดูจริตนิสัย และฝึกฝนอบรมอุปนิสัยแห่งนักบวชก่อน ก่อนที่จะบวชให้
 
@@@@@@@

วันนี้ท่านเป็นพระราชาคณะที่รองสมเด็จ ราชทินนามว่า พระพรหมพัชรญาณมุนี ท่านเป็นดุจพระพรหมที่มีลมหายใจอันอุดมด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ตามคำสอนแห่งพรหมวิหารสี่ ขององค์พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นหน่อเนื้อแห่งโพธิธรรม ที่เกิดในแผ่นดินที่เจริญด้วยวัตถุ วิทยาศาสตร์ ในสหราชอาณาจักร แต่ทว่าจิตวิญญาณมุ่งมั่นในด้านพุทธธรรม นับได้ว่า วาสนาบารมีธรรมของท่านแต่เก่าก่อนย่อมพอดีพอธรรมอย่างสุดที่จะหาคำใดเทียบเคียงได้

ใครมีโอกาสได้กราบสักการะท่าน มักจะได้รับธรรมะสมควรแก่ตนเสมอ เพราะท่านมักซ่อนกายหลีกเร้นศึกษาปฏิบัติธรรม พระดีพระแท้แบบนี้นับวันจะหายากครับ





Thank to : https://www.thansettakij.com/blogs/lifestyle/horoscope/596120
16 พ.ค. 2567 | 04:30 น.

 8 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 06:39:01 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan

.



เปิดประวัติ พระธรรมพัชรญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร) พระราชาคณะเจ้าคณะรองคนใหม่

พระธรรมพัชรญาณมุนี หรือพระอาจารย์ชยสาโร ได้รับการประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม โปรดสถาปนาให้พระธรรมพัชรญาณมุนี ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองคนใหม่ มีประวัติอย่างไร

@@@@@@@

ประวัติ พระธรรมพัชรญาณมุนี

พระธรรมพัชรญาณมุนี หรือพระอาจารย์ชยสาโร มีชื่อเดิมว่า ฌอน ไมเคิล ชิเวอร์ตัน เกิดบนเกาะไอล์ออฟไวท์ ประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2501 ในปี 2521 ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงพ่อชา (ชา สุภัทโท พระโพธิญาณเถร) ที่วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ในปี 2523 ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร และต่อมาในวันที่ 3 มิถุนายน 2523 ได้อุปสมบทโดยมีหลวงพ่อชาเป็นพระอุปัชฌาย์

เมื่อครบการฝึกตนเป็นพระนวกะ 5 พรรษาแล้ว พระอาจารย์ชยสาโรได้ออกธุดงค์และปลีกวิเวกจนถึงช่วงเข้าพรรษาปี 2529 ท่านจึงเดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี หลังจากนั้นท่านอยู่ที่วัดป่านานาชาติเป็นส่วนใหญ่โดยรับหน้าที่เป็นรองเจ้าอาวาส

ตลอดระยะเวลาหลายปีหลังจากนั้น ท่านได้สลับหมุนเวียนระหว่างช่วงเวลาในการปลีกวิเวกและการปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งในคณะสงฆ์ ระหว่างนี้ท่านได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์อาวุโสในการเขียนเรียบเรียงชีวประวัติของหลวงพ่อชา ซึ่งท่านตั้งชื่อผลงานชิ้นนี้ว่า ‘อุปลมณี’ ในปี 2540 ท่านได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติจนถึงสิ้นปี 2545

ตั้งแต่ต้นปี 2546 พระอาจารย์ชยสาโรได้ปลีกวิเวกมาพำนักอยู่ที่อาศรมชนะมาร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และพร้อมไปกับการมุ่งต่อกิจส่วนตัวของท่าน พระอาจารย์ยังนำปฏิบัติธรรมให้ญาติโยมเป็นระยะๆ ที่สถานที่ปฏิบัติธรรมบ้านบุญ รวมถึงมีบทบาทในการนำหลักการพัฒนาชีวิตวิถีพุทธเข้าสู่ระบบการศึกษา

@@@@@@@

พระอาจารย์ชยสาโรได้เขียนหนังสือธรรมะทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้มากมาย โดยจำนวนหนึ่งมีการนำไปแปลเป็นภาษาอื่นๆ งานเขียนภาษาอังกฤษชิ้นล่าสุดของท่าน คือ ‘Stillness Flowing’ เป็นงานชิ้นสำคัญซึ่งบันทึกชีวประวัติและคำสอนของหลวงพ่อชาโดยละเอียด

ในปี 2554 พระอาจารย์ชยสาโรได้รับมอบปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ในสาขาวิชาธรรมนิเทศจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และในปี 2562 ท่านได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น พระราชพัชรมานิต จากพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในปี 2563 ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพพัชรญาณมุนี และได้รับพระราชทานสัญชาติไทย ทั้งนี้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต) ได้เมตตาตั้งนามสกุลภาษาไทยให้ว่า 'โพธานุวัตน์' และในปี 2564 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมพัชรญาณมุนี

ล่าสุด วันที่ 13 พ.ค. 2567 พระธรรมพัชรญาณมุนี ได้รับการโปรดสถปนาขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึก ในหิรัญบัฏว่า พระพรหมพัชรญาณมุนี ศรีวิปัสสนาธุราจารย์ ไพศาลวิเทศศาสนกิจ วิสิฐสีลาจารดิลก สาธกธรรมวิจิตร มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ สถานพํานักสงฆ์บ้านไร่ทอสี จังหวัดนครราชสีมา มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ 8 รูป






Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2785292
13 พ.ค. 2567 18:31 น. | ไลฟ์สไตล์ > ไลฟ์ > ไทยรัฐออนไลน์
ข้อมูลอ้างอิง : มูลนิธิปัญญาประทีป

 9 
 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2024, 07:58:02 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 10 
 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2024, 03:18:14 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

หน้า: [1] 2 3 ... 10