ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้สูงอายุต้องรู้ 5 นิสัยอันตราย พาให้อายุสั้น มีอะไรบ้าง.?  (อ่าน 159 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28446
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



ผู้สูงอายุต้องรู้ 5 นิสัยอันตราย พาให้อายุสั้น มีอะไรบ้าง.?

เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หลายคนก็อยากมีอายุยืนยาวเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข ซึ่ง 5 เคล็ดลับนิสัยดีที่พาอายุยืนนั้นเราได้เอ่ยถึงไปแล้วว่ามีอะไรบ้าง แต่ขณะเดียวกันก็ควรรู้จัก 5 นิสัยอันตรายที่พาให้อายุสั้นลงด้วย เพื่อให้เราหันมาสังเกตตัวเองว่ามีนิสัยเหล่านี้ไหม

ถึงแม้จะเป็นผู้สูงวัยแล้วก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยแย่ๆ เหล่านี้ได้ ลองตั้งเป้าหมายเล็กๆ ค่อยๆ ปรับไปทีละอย่าง เช่น ฝึกแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น หรือตั้งใจฟังมากขึ้น รู้จักควบคุมอารมณ์เวลาอยากเถียงแบบไร้เหตุผล ลองหายใจลึกๆ 2-3 ครั้ง ถอยออกจากสถานการณ์นั้นๆ แล้วลองสำรวจว่าคุณรู้สึกอย่างไรบ้าง


@@@@@@@

1. อายุสั้นถ้า…ก้าวร้าวหรือขี้โมโห

แม้ว่าความก้าวร้าวหรือขี้โมโหมักจะเป็นเรื่องของความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าว แต่ส่งผลต่อนิสัยที่แสดงถึงความไม่เป็นมิตร การต่อต้าน ความขุ่นเคือง ความแปลกแยก การไม่เห็นด้วย ไปจนถึงพฤติกรรมรุนแรง (ที่มา: Mind Help) คนแบบนี้มักมีปัญหาในเรื่องการสื่อสารและความสัมพันธ์ ซึ่งนำไปสู่การโดดเดี่ยวทางสังคมและความเครียดที่สูงขึ้น โดยระดับคอร์ติซอลหรือที่เรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งการต่อสู้หรือหนี” ที่หลั่งออกมาตอนก้าวร้าว สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ การวิจัย (อ้างอิงจาก Handbook of Cardiovascular Behavioral Medicine) ระบุว่า ระดับคอร์ติซอลที่สูงอย่างต่อเนื่องนานๆ สามารถเพิ่มการอักเสบในร่างกาย และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้

จากผลวิจัยปี 2013 ที่ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน (Journal of the American Heart Association) ชี้ชัดว่า คนที่ก้าวร้าวขี้โมโหจะไม่ค่อยดูแลตัวเอง มีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่และมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ซึ่งเป็นเหตุทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ โดยความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุก็สูงมาก เมื่อเทียบกับคนที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว

ความก้าวร้าวหรือขี้โมโหนั้น บางคนอาจฝังรากมาตั้งแต่เกิด หรือไม่ก็ซึมซับจากสภาพแวดล้อม แต่การปรับเปลี่ยนให้ก้าวร้าวน้อยลงหรือใจเย็นขึ้นสามารถทำได้ ขอแค่ต้องมุ่งมั่นและตั้งใจให้เต็มที่ ต้องมีสติรู้เท่าทันการกระทำและความรู้สึกของตนเอง ซึ่งสามารถช่วยชะลอและจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ได้โดยไม่ตอบสนองอย่างรุนแรง การบรรเทาความเครียดด้วยโยคะ การทำสมาธิ และการกำหนดลมหายใจ จะช่วยลดความก้าวร้าวและผลกระทบต่อสุขภาพได้ และอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยให้คุณผ่านพ้นบาดแผลทางใจในอดีตและปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมโกรธได้ เปลี่ยนใจร้อนเป็นใจเย็น ชีวิตสุขขึ้นแน่นอน!




2. อายุสั้นถ้า…วิตกกังวลเกินเหตุ

Clinical Psychology Reviews ระบุว่า การวิตกจริตหรือมีความกังวลสูงเป็นนิสัยที่สะท้อนถึงคนที่มีแนวโน้มจะเกิดอารมณ์ด้านลบได้ง่าย เช่น วิตกกังวล กลัว กลุ้มใจ และหงุดหงิด ฯลฯ คนที่วิตกจริตมากๆ จะมีปฏิกิริยาทางอารมณ์และเกิดความเครียดได้มากกว่า โดยมักมองว่าสถานการณ์ต่างๆ เป็นอุปสรรคหรือถูกกดดัน ส่งผลให้ไวต่อความเครียด มีโอกาสเป็นทุกข์และไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ได้มากขึ้น

การกังวลใจเป็นสิ่งปกติ และหากกังวลใจมากจนเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพจิต โดยเฉพาะโรควิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า คนประเภทนี้มักรู้สึกกังวลใจ ร้อนรน กลัว และหงุดหงิดอยู่ตลอดเวลา จนนำไปสู่วงจรอารมณ์ด้านลบ กระตุ้นให้เกิดความเครียดทำให้รับมือกับปัญหาได้ยากขึ้น

ความเครียดเรื้อรังที่เกิดจากระดับความวิตกจริตสูงจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ระดับฮอร์โมนความเครียดอย่างคอร์ติซอล (cortisol) ที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนนำไปสู่ปัญหาด้านหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังบางอย่างได้ นอกจากนี้ คนที่วิตกกังวลมากๆ มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด หรือนิสัยการกินที่ไม่ดี ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น (ที่มา: Journal of Psychiatry Research)

วิธีคลายความวิตกกังวล คือ ต้องฝึกฝนให้ตนเองมีสติและทำสมาธิ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด ทำให้มองเห็นสถานการณ์ต่างๆ ได้ชัดเจนและมีเหตุผลมากขึ้น ส่วนการทำจิตบำบัดจะช่วย 'รีเฟรช' ความคิด และหาวิธีจัดการกับอารมณ์เชิงลบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมด้วยการดูแลตัวเองอย่างครบถ้วน เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เท่านี้ก็จะช่วยลดความวิตกกังวลและทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นแล้ว

3. อายุสั้นถ้า…เก็บกดอารมณ์จนเครียด

การเก็บกดอารมณ์เป็นการพยายามควบคุมหรือระงับความรู้สึกข้างใน อาจจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เป็นการพยายามเก็บไว้ไม่ให้คนอื่นรู้ ซึ่งมักเกิดจากแรงกดดันทางสังคมหรือสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยให้แสดงอารมณ์ที่แท้จริงออกมา (ที่มา: Healthline)

คนเราบางครั้งก็ต้องพยายามเก็บอารมณ์บ้าง แต่ทำบ่อยๆ ก็ไม่ดีเพราะอาจกระทบกับร่างกายและจิตใจได้ ทำให้เครียดและกังวลเพิ่มขึ้น จนอาจนำไสู่ความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล เป็นต้น

การเก็บกดอารมณ์เป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อร่างกายได้เช่นกัน ความเครียดเรื้อรังจากการพยายามกดอารมณ์ไว้ตลอด จะทำให้ระดับฮอร์โมนความเครียดอย่างคอร์ติซอลพุ่งสูง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ความดันโลหิตสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ (ที่มา: Psychology Today) แถมยังอาจอาการทางกายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสภาวะใดๆ เลย อย่างปวดหัว ปวดเมื่อย หรือปัญหาระบบทางเดินอาหารอีกด้วย

เคล็ดลับในการสู้กับการ "เก็บกด" ก็คือ "ปล่อยวาง" รับรู้ถึงอารมณ์นั้นและแสดงความรู้สึกอย่างเหมาะสม ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูงญาติมิตร ฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบัน หากรู้สึกเกินจะรับไหวก็ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เลย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้สามารถช่วยเอาชนะอารมณ์หดหู่ และผลกระทบต่อสุขภาพได้ นอกจากนี้ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแสดงความรู้สึกอย่างเปิดเผยโดยไม่ตัดสิน จะเป็นอีกแรงที่ช่วยเยียวยาจิตใจและ สุขภาพโดยรวมได้




4. อายุสั้นถ้า…มัวแต่กลัวสายตาคนอื่น

กลัวสายตาคนอื่น ไม่กล้าออกสังคม เก็บกดความรู้สึก ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะนิสัยของคนที่ชอบเก็บตัว ปิดกั้นพฤติกรรมหรือการแสดงออกของตนเองในสถานการณ์ต่างๆ ทางสังคม โดยมักเกิดจากความรู้สึกประหม่า กลัวการถูกตัดสิน หรือต้องการหลีกเลี่ยงการประเมินในแง่ลบจากผู้อื่น ส่งผลให้ขาดความมั่นใจจนรู้สึกไม่กล้าแสดงออกอย่างอิสระ (ที่มา: Practical Psychology)

คนที่ชอบเก็บตัวมักเครียดและวิตกกังวลมากกว่าปกติเวลาเข้าสังคม เพราะกลัวการถูกมองในแง่ลบหรือกลัวการถูกปฏิเสธ ทำให้ขาดความมั่นใจ คิดมาก และรู้สึกประหม่าอึดอัด หากเก็บตัวนานๆ อาจนำไปสู่การโดดเดี่ยว ไม่มีเพื่อนสนิท หรือคนที่เข้าใจเราจริงๆ รู้สึกเหมือนอยู่ตัวคนเดียวบนโลก เศร้า ท้อแท้ และสิ้นหวัง ซึ่งอาจทำให้เป็นโรคภาวะซึมเศร้าและโรควิตกกังวลได้

ความเครียดต่อเนื่องที่เกิดจากการเก็บตัวส่งผลต่อร่างกายได้ ยิ่งเครียด ร่างกายยิ่งผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น งานวิจัยจาก Encyclopedia of Behavioral Medicine ชี้ให้เห็นว่า คนที่ชอบเก็บตัวจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

ใครที่ชอบเก็บตัวลองปรับวิธีคิดใหม่ สร้างความมั่นใจในตนเอง ฝึกฝนทักษะการเข้าสังคม ค่อยๆ เปิดใจออกไปพบปะผู้คน เพื่อลดความกลัวและความวิตกกังวล หรือแม้แต่การปรึกษาหรือการเข้ากลุ่มคนที่มีปัญหาคล้ายกันก็สามารถช่วยให้คุณเลิกเก็บตัวและช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพได้

5. อายุสั้นถ้า…ชอบเอาแต่ใจ

จมอยู่กับตัวเอง ระวังจะกลายเป็นคนที่ “เอาแต่ใจ” เกินไป เพราะมัวแต่สนใจสิ่งที่ตัวเองต้องการและอยากได้จนสร้างปัญหาให้กับคนอื่น ส่งผลเสียรอบด้านไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ย่ำแย่ เหงา และโดดเดี่ยว แถมยังไม่เห็นอกเห็นใจหรือเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นเข้าไปอีก ก็ยิ่งยากที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีได้ ส่งผลให้รู้สึกแปลกแยกและเก็บตัวมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เครียด วิตกกังวล และซึมเศร้าเพิ่มขึ้น

การหมกมุ่นอยู่กับตัวเองและความเครียดอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายได้เช่นกัน งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร PeerJ เมื่อปี 2017 เผยว่า ความเครียดเรื้อรังจากการมีปัญหากับคนอื่น หรือการแยกตัวออกจากสังคม อาจให้ระดับคอร์ติซอลพุ่งสูงจนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันและหลอดเลือดหัวใจอ่อนแอลงได้

นิสัยเอาแต่ใจสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยการฝึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รับฟังอย่างตั้งใจ ใส่ใจคนรอบข้าง มีเมตตา พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ จะได้ปรับมุมมองให้กว้างขึ้น เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น และทำให้มีสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น

@@@@@@@

อย่างไรก็ตาม 5 นิสัยอันตรายเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่ควรปรับตัว แต่ไม่ว่าจะอยู่ช่วงวัยใด หากรู้ว่าตัวเองมีนิสัยหรือทัศนคติเหล่านี้แล้วสามารถปรับเปลี่ยนได้เร็วตั้งแต่ตอนที่ยังอายุไม่มากนักก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพกายและใจตนเอง รวมถึงดีต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างในระยะยาว ที่จะช่วยทำให้อายุยืนขึ้นอีกด้วย






Thank to :-
website : https://www.thairath.co.th/lifestyle/lifestyle45plus/2764627
20 ก.พ. 2567 13:16 น. | ไลฟ์สไตล์ > ไลฟ์สไตล์ 45+ > ไทยรัฐออนไลน์ | ภาพจาก : iStock
ข้อมูลอ้างอิง : Health Digest
อ่านบทความเกี่ยวกับวัยกลางคนและผู้สูงอายุได้ที่ Lifestyle 45+
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Roj khonkaen

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 414
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ความเครียดเป็นบ่อเกิดของโรคภููมิคุ้มกันบกพร่องในระบบประสาทด้วยจ้า
บันทึกการเข้า