สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 25, 2021, 02:17:26 pm



หัวข้อ: แม่บทว่าด้วย การจัดการกับ นิมิต
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 25, 2021, 02:17:26 pm
แม่บทว่าด้วย การจัดการกับ นิมิต
=====================================
[๑๐๓] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิต พึงมนสิการนิมิต ๓ ประการ
ตามสมควรแก่เวลา คือ
  ๑. พึงมนสิการสมาธินิมิต ตามสมควรแก่เวลา
  ๒. พึงมนสิการปัคคหนิมิต ตามสมควรแก่เวลา
  ๓. พึงมนสิการอุเบกขานิมิต ตามสมควรแก่เวลา
ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะสมาธินิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะปัคคหนิมิตอย่างเดียว เป็นได้ที่จิตนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
ถ้าภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตพึงมนสิการเฉพาะอุเบกขานิมิตอย่างเดียว เป็นไปได้ที่จิตนั้นจะไม่พึงตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
แต่เมื่อใดที่ภิกษุผู้บำเพ็ญอธิจิตมนสิการสมาธินิมิตตามสมควรแก่เวลา มนสิการปัคคหนิมิตตามสมควรแก่เวลา และมนสิการอุเบกขานิมิตตามสมควรแก่เวลา เมื่อนั้น จิตนั้นย่อมอ่อน เหมาะแก่การใช้งานผุดผ่อง และไม่เสียหาย ตั้งมั่นด้วยดีเพื่อความสิ้นอาสวะ
=====================================
 พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต [๒. ทุติยปัณณาสก์]
 ๕. โลณผลวรรค ๑๑. นิมิตตสูตร
สมาธินิมิต หมายถึง อารมณ์ที่เข้าไปตั้งอยู่กับบริกรรมกำหนดรู้รอบในบริกรรมนั้น ๆ เช่น ภาวนาว่า พุทโธ ก็รู้ตั้งมั่นใน พุทโธ
ปัคคหนิมิต หมายถึง อารมณ์ที่ปักหลักในนิมิตนั้น ๆ โดยไม่มีการสลับฐานที่ตั้งของจิต ในที่นี้หมายถึงขาดการบริหารในการกำหนดจิตไม่มีฐาน ไม่ย้ายฐาน
อุเบกขานิมิต หมายถึงการวางเฉยไม่ใส่ใจในบริกรรมภาวนา เพียงแต่ภาวนาไปเรื่อย ๆ แต่ไม่ได้กำหนดจิตไปในองค์ภาวนา
เจริญธรรม / เจริญพร