ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระปริตร อานิสงส์และวิธีสวด  (อ่าน 63547 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28458
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ประวัติพระปริตร

พระปริตร แปลว่า เครื่องคุ้มครอง คือ ป้องกันอันตรายภายนอกมี โจร ยักษ์ สัตว์เดรัจฉาน และป้องกันอันตรายภายในมีโรคภัยไข้เจ็บเป็นต้น อานิสงส์ที่ได้รับจากการสวดพระปริตรนี้เกิดมาจากอานุภาพของพระรัตนตรัยและอานิสงส์จากการเมตตา เพราะพระปริตรกล่าวถึงคุณพระรัตนตรัยและการเจริญเมตตาภาวนา ดังนั้น ผู้หมั่นสาธยายพระปริตรจึงได้รับผลานิสงส์ต่างๆ เช่น ประสบความสวัสดี ความเจริญรุ่งเรือง ได้รับชัยชนะ แคล้วคลาดจากอุปสรรคอันตราย มีสุขภาพอนามัยดี และมีอายุยืน ดังพระพุทธดำรัสว่า

    "เธอจงเจริญพุทธานุสสติ ภาวนาที่ยอดเยี่ยมในภาวนาธรรม เพราะผู้เจริญภาวนานี้จะสมหวังดังมโนรถ" (ขุ. อป. ๓๒/๓๖/๙๘)

    "อมนุษย์ที่ต้องการจะทำร้ายผู้เจริญเมตตา ย่อมประสบภัยพิบัติเอง เปรียบเหมือนคนที่ใช้มือจักหอกคม จะได้รับอันตรายจากการจับหอกนั้น" (สํ. นิง ๑๖/๒๒๗/๒๕๑)


 :25: :25: :25:

ประโยชน์ในปัจจุบัน

ในคัมภีร์อรรถกถา มีปรากฏเรื่องอานุภาพพระปริตรคุ้มครองผุ้สวดเช่นเรื่องพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกยุงทอง พระองค์ได้หมั่นสาธยายโมรปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นประจำ ทำให้แคล้วคลาดจากบ่วงที่นายพรานดังไว้ (ชา. อ. ๒/๓๕)

และเรื่องในสมัยพุทธกาล มีภิกษุห้าร้อยรูปไปเจริญภาวนาในป่า ได้ถูกเทวดารบกวนจนกระทั่งปฏิบัติธรรมไม่ได้ ต้องเดินทางกลับเมืองสาวัตถี ในขณะนั้นพระพุทธเจ้าได้สอนเมตตปริตรที่กล่าวถึงการเจริญเมตตา ครั้นภิกษุเหล่านั้นหมั่นเจริญเมตตาภาวนา เทวดาจึงมีไมตรีจิตตอบด้วย และช่วยพิทักษคุ้มครองให้ภิกษุหมู่นั้นปฏิบัติธรรมได้โดยสะดวก (สุตฺตนิ. อ. ๑/๒๒๑, ขุทฺทก. อ. ๒๒๕)

 st12 st12 st12

นอกจากนี้ อานุภาพพระปริตรยังสามารถคุ้มครองผู้ฟังได้อีกด้วย ดังที่มีปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาว่า ในสมัยพุทธกาล เมื่อเมืองเวสาลีประสบภัยโรคระบาด พระพุทธเจ้าได้รับนิมนต์เสด็จไปโปรด พระองค์รับสั่งให้พระอานนท์สวดรัตนปริตรที่กล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัย ภัยดังกล่าวในเมืองนั้นจึงได้สงบลง (ขุทฺทก. อ. ๑๔๑-๔)

ในอรรถกถาอีกคัมภีร์หนึ่งปรากฏว่า ในสมัยพุทธกาล มีเด็กคนหนึ่งจะถูกยักษ์จับกินภายใน ๗ วัน พระพุทธเจ้าจึงแนะนำให้ภิกษุสวดพระปริตรตลอดเจ็ดคืน และพระองค์ได้เสด็จไปสวดด้วยพระองค์เองในคืนที่แปด เด็กนั้นก็สามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติของอมนุษย์นั้นได้ มีอายุยืน ๑๒๐ ปี บิดามารดาจึงตั้งชื่อเด็กว่าอายุวัฑฒนกุมาร แปลว่า "เด็กผู้มีอายุยืน" เพราะรอดพ้นจากอันตรายดังกล่าว (อรรถกถาธรรมบท ๔/๑๑๓-๖)


 st12 st12 st12

ประโยชน์ในอนาคต

เมื่อพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมตตระเสด็จไปโปรดโกสิยชฎิลที่ภูเขานิสภะ ชฎิลตนตั้นได้พบพระองค์แล้วเกิดโสมนัสปราโมทย์ นำดอกไม้มาประดับเป็นอาสนะที่ประทับ พระพุทธเจ้าได้ประทับนั่งเข้าผลสมาบัติในที่นั้นตลอดเจ็ดวัน โกสิยชฎิลได้ยืนประณมมือระลึกถึงพระพุทธคุณตลอดเจ็ดวันเช่นกัน

กุศลที่เกิดจากการระลึกถึงพระพุทธคุณนี้ ทำให้โกสิยชฎิลเกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ๓ หมื่นกัป เป็นท้าวสักกะจอมเทพ ๘๐ ชาติ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑,๐๐๐ ชาติ เป็นพระราชานับชาติไม่ถ้วน ในระหว่างนี้เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นเศรษฐีมีทรัพย์ และไม่เคยเกิดในอบายภูมิ ในภพสุดท้ายได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ ท่านปรากฏนามว่าพระสุภูติเถระ ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะผู้เลิศในการเจริญฌานประกอบด้วยเมตตาและเป็นทักขิไณยบุคคล (ขุ. อป. ๓๒/๑-๕๑/๙๔-๙)


 
 :96: :96: :96:


อานิสงส์พระปริตร

โบราณาจารย์ได้รวบรวมอานิสงส์ของพระปริตรไว้ดังนี้ คือ
    ๑) เมตตาปริตร ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทพพิทักษ์รักษา ไม่มีภยันตราย จิตเกิดสมาธิง่าย ใบหน้าผ่องใส มีสิริมงคล ไม่หลงสติในเวลาเสียชีวิต และเกิดเป็นพรหมเมื่อบรรลุเมตตาฌาน
    ๒) ขันธปริตร ป้องกันภัยจากอสรพิษและสัตว์ร้ายอื่นๆ
    ๓) โมรปริตร ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย
    ๔) อาฏานาฏิยปริตร ป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้สุขภาพดี
    ๕) โพชฌังคปริตา ทำให้มีสุขภาพดี มีอายุยืน และพ้นจากอุปสรรคทั้งปวง
    ๖) ชัยปริตร ทำให้ประสบชัยชนะ และมีความสุขสวัสดี
    ๗) รัตนปริตร ทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตราย
    ๘) วัฏฏกปริตร ทำให้พ้นจากอัคคีภัย
    ๙) มังคลปริตร ทำให้เกิดสิริมงคล และปราศจากอันตราย
   ๑๐) ธชัคคปริตร ทำให้พ้นจากอุปสรรคอันตราย และการตกจากที่สูง
   ๑๑) อังคุลิมาลปริตร ทำให้คลอดบุตรง่าย และป้องกันอุปสรรคอันตราย
   ๑๒) อภยปริตร ทำให้พ้นจากภัยพิบัติ และไม่ฝันร้าย





ทรงแนะนำให้สวดพระปริตร

พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พุทธบริบัทสวดพระปริตรเพื่อคุ้มครองตน เช่นในอาฏานาฏิยสูตร (ที. ปา. ๑๑/๒๙๕/๑๘๗) ได้ตรัสว่า
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเรียนมนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษามนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทรงจำมนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตร
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนต์คุ้มครองคืออาฏานาฏิยปริตรประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมเป็นไปเพื่อคุ้มครอง เพื่อรักษา เพื่อความไม่เบียดเบียน เพื่อความอยู่เป็นสุขของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา"


     อนึ่ง พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้อีกว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตการแผ่เมตตาแก่พญางูทั้งสี่ตระกูล เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อกระทำการป้องกันตน" (วิ. จูฬ. ๗/๒๕๑/๘, องฺ จตุกฺก. ๒๑/๖๗/๘๒-๓)


 :s_good: :s_good: :s_good:
 

องค์ของผู้สวดและผู้ฟัง

พระปริตรจะมีอานุภาพมาก เมื่อผู้สวดพระปริตรเพียบพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ มีเมตตาจิตมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง, สวดถูกอักษร ไม่มีบทพยัญชนะที่ผิดพลาด และรู้ความหมายของบทสวด (ที. อ. ๓/๑๖๐) แม้ผู้ฟังพระปริตรก็ต้องมีองค์ ๓ คือ ไม่เคยทำอนันตริยกรรม ๕ (ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ประทุษร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป และทำสังฆเภท) ไม่มีมิจฉาทิฏฐิที่เห็นผิดว่ากรรมและผลกรรมไม่มี และเชื่อมั่นอานุภาพพระปริตรว่ามีจริง สามารถคุ้มครองผู้ฟังได้ (มิลินฺท. ๑๑๖)

 st11 st11 st11

จำนวนพระปริตร

    โบราณาจารย์ได้จำแนกพระปริตรออกเป็น ๒ ประเภท คือ
    ๑. จุลราชปริตร (เจ็ดตำนาน) มี ๗ ปริตร คือ
        ๑) มังคลปริตร
        ๒) รัตนปริตร
        ๓) เมตตปริตร
        ๔) ขันธปริตร
        ๕) โมรปริตร
        ๖) ธชัคคปริตร
        ๗) อาฏานาฏิยปริตร

    ๒. มหาปริตร (สิบสองตำนาน) มี ๑๒ ปริตร คือ
        ๑) มังคลปริตร
        ๒) รัตนปริตร
        ๓) เมตตปริตร
        ๔) ขันธปริตร
        ๕) โมรปริตร
        ๖) วัฏฏกปริตร
        ๗) ธชัคคปริตร
        ๘) อาฏานาฏิยปริตร
        ๙) อังคุลิมาลปริตร
       ๑๐) โพชฌังคปริตร
       ๑๑) อภยปริตร
       ๑๒) ชัยปริตร

พระปริตรที่มีปรากฎโดยตรงในคัมภีร์มิลินทปัญหาและอรรถกถาต่างๆ มีทั้งหมด ๙ ปริตร คือ
        ๑) รัตนปริตร
        ๒) เมตตปริตร
        ๓) ขันธปริตร
        ๔) โมรปริตร
        ๕) ธชัคคปริตร
        ๖) อาฏานาฏิยปริตร
        ๗) อังคุลิมาลปริตร
        ๘) โพชฌังคปริตร
        ๙) อิสิคิลิปริตร

    อนึ่ง จำนวนพระปริตรแตกต่างกันในอรรถกถาต่างๆ ดังนี้ คือ
    ในมิลินทปัญหา (หน้า๑๖๓) มีปรากฏ ๗ ปริตร คือ
       ๑) รัตนปริตร
       ๒) เมตตปริตร
       ๓) ขันธปริตร
       ๔) โมรปริตร
       ๕) ธชัคคปริตร
       ๖) อาฏานาฏิยปริตร
       ๗) อังคุลิมาลปริตร

ในสมันตปาสาทิกา (วิ. อ. ๑/๑๕๘) และวิสุทธิมรรค (๒/๔๘) มีปรากฎ ๕ ปริตร คือ
       ๑) รัตนปริตร
       ๒) ขันธปริตร
       ๓) ธชัคคปริตร
       ๔) อาฏานาฏิยปริตร
       ๕) โมรปริตร

ในอรรถกถาทีฆนิกาย (ที. อ. ๓/๘๖) อรรถกถามัชฌิมนิกาย (ม. อ. ๓/๗๙) อรรถกถาอังคุตตรนิกาย (องฺ. อ. ๑/๒๒๗) อรรถกถาวิภังค์ (อภิ. อ. ๒/๒๓๕) และอรรถกถามหานิทเทส (หน้า ๓๘๖) มีปรากฎ ๘ ปริตร คืิอ
    ๑) อาฏานาฏิยปริตร
    ๒) อิสิคิลิปริตร
    ๓) ธชัคคปริตร
    ๔) โพชฌังคปริตร
    ๕) ขันธปริตร
    ๖) โมรปริตร
    ๗) เมตตปริตร
    ๘) รัตนปริตร





พระปริตรในปัจจุบัน

พระปริตรที่มีปรากฎในบทสวดมนต์ไทยฉบับปัจจุบัน มี ๑๒ ปริตร เป็นบทสวดที่โบราณาจารย์เพิ่มมังคลปริตร วัฏฏกปริตร อภยปริตร และชัยปริตร รวม ๔ บท ทั้งไม่จัดอิสิคิลิปริตรไว้ในบทสวดมนต์ เพราะเป็นพระปริตรที่กล่าวถึงชื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น ไม่เหมือนพระปริตรอื่นที่แสดงคุณของพระรัตนตรัยหรือเมตตาภาวนา

ส่วนในบทสวดมนต์ฉบับพม่า มีพระปริตร ๑๑ ปริตรเพราะโบราณาจารย์ชาวพม่ารวมอภยปริตรและชัยปริตรไว้เป็นปริตรเดียวโดยใช้ชื่อว่า ปุพพัณหสูตร (สูตรที่ควรสาธยายในเวลาเช้า) ในสูตรนั้นท่านเพิ่มเทวดาอุยโยชนคาถา สัพพมังคลคาถา และสามคาถาสุดท้ายของรัตนสูตรเข้ามาอีกด้วย สำหรับมังคลปริตรและวัฏฏกปริตรพบในพระสุตตันตปิฎก ส่วนอภยปริตรและชัยปริตร โบราณาจารย์ได้แต่งขึ้นมาในภายหลัง


 :96: :96: :96:

ลำดับพระปริตร

ลำดับพระปริตรในมิลินทปัญหาและคัมภีร์อรรถกถาต่างๆ แตกต่างกัน ส่วนลำดับพระปริตรในบทสวดมนต์ไทยและพม่าเหมือนกัน ในพระปริตรฉบับนี้ ผู้แปลได้เรียงลำดับพระปริตรใหม่ เริ่มจากเมตตปริตร ขันธปริตร โมรปริตร อาฏานาฏิยปริตร และโพชฌังคปริตร ฯลฯ โดยเน้นพระปริตรที่กล่าวถึงเมตตาภาวนาและคุณของพระรัตนตรัย

 :49: :49: :49:

บทขัดพระปริตร

บทขัดพระปริตร หมายถึง บทที่เข้ามาคั่นการสวดพระปริตร คือเมื่อประสงค์จะสาธยายพระปริตรใด ก็สวดบทขัดพระปริตรนั้นก่อนที่จะสาธยายพระปริตรที่ต้องการ ที่ประเทศศรีลังกาพระเถระผู้นำสวดมนต์จะสาธยายบทขัดพระปริตรก่อน หลังจากนั้นผู้ร่วมสวดจึงสาธยายพระปริตรพร้อมกัน ประเพณีนี้ได้สืบทอดมายังประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน ดังนั้น ผู้ที่มีเวลาในการสวดมนน์ไม่มากนัก จึงไม่จำเป็นต้อง สวดบทขัดพระปริตร

โบราณจารย์ได้เรียกอีกบทขัดนี้อีกชื่อหนึ่งว่า บทขัดตำนาน คำว่า ตำนาน มาจากศัพท์บาลีว่า ตาณา ที่แปลว่า
 "เครื่องป้องกัน" หรือพระปริตร นั่นเอง บทขัดบางบท เช่น บทขัดมงคลปริตร บทขัดธรรมจักรแตกต่างกันในฉบับพม่าและฉบับไทย ในพระปริตรฉบับนี้ผู้แปลได้ใช้ฉบับไทยเป็นหลัก

ประวัติของผู้ประพันธ์บทขัดพระปริตรไม่มีหลักฐานแน่ชัด ท่านอาจารย์ธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต สันนิษฐานว่า คงเป็นโบราณาจารย์ชาวลังกาประพันธ์ขึ้นหลังพุทธศักราช ๙๐๐ เพราะเป็นการนำข้อความจากคัมภีร์อรรถกถาที่รจนาโดยพระพุทธโฆสาจารย์มาแต่งเป็นบทขัด และประพันธ์ขึ้นก่อนพุทธศักราช ๒๑๕๓ เพราะปรากฎในปริตตฎีกาซึ่งรจนาที่ประเทศสหภาพพม่าในสมัยนั้น





พระปริตรที่ควรสวดเสมอ

ผู้ที่มีเวลาน้อยควรสวดพระปริตรที่สั้นและสำคัญ ฉะนั้น จึงควรสวดพระปริตร ๔ บท คือ เมตตปริตร ขันธปริตร โมรปริตร และอาฏานาฏิยปริตร เมตตปริตรและขันธปริตรเน้นการเจริญเมตตาภาวนา โมรปริตรและอาฏานาฏิยปริตรเน้นการเจริญพระพุทธคุณ ผู้ที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ควรสวดโพชฌังคปริตรด้วย พระเถระชาวพม่าผู้ทรงพระไตรปิฎกคือท่านอาจารย์สิรินทาภิวงศ์ เจ้าอาวาสวัดวิสุทธาราม จังหวัดย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า ก็มีความเห็นว่า ควรสวดพระปริตร ๔ บทนั้นเสมอ

นอกจากพระปริตรเหล่านี้แล้ว คาถาที่กล่าวถึงพระพุทธคุณ อาทิเช่น สัพพมังคลคาถา คาถาชินบัญชร และชัยมังคลคาถา ก็ควรสวดเช่นกัน ท่านผู้สวดอาจจะสวดคาถาเหล่านี้สลับกับพระปริตรในแต่ละวัน ดังนั้นผู้แปลจึงเรียงลำดับคาถาเหล่านี้ก่อนพระปริตรบางบทที่ยาวและไม่กล่าวถึงเมตตาภาวนาหรือพระพุทธคุณ เช่น มังคลปริตร เป็นต้น

 :96: :96: :96:

ก่อนจะสวดพระปริตรทุกครั้ง ผู้สวดควรสวดบทมหานมัสการหรือ นโม ฯลฯ แล้วสมาทานศีลห้า หลังจากนั้นให้สวดพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ แล้วจึงสวดพระปริตรหรือคาถาอื่นๆ สำหรับบทมหานมัสการเป็นคำแสดงความนอบน้อมพระพุทธเจ้าจึงเป็นบทที่ชาวพุทธนิยมสวดก่อนจะสวดมนต์ การสมาทานศีลทุกวันเป็นการรักษาศีลให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ การสวดพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และสังฆคุณ ก็เป็นการเจริญกรรมฐานคือ พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ผู้ที่หมั่นระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยจะเพิ่มพูนศรัทธาในพระศาสนาเป็นอย่างดี

นอกจากนั้น ชาวพุทธควรสวดบทธรรมจักรทุกวันพระ จะป้องกันภยันตรายทำให้ผู้สวดประสบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต เพราะธรรมจักรเป็นพระธรรมเทศนาแรกที่กล่าวถึงอริยสัจสี่ จึงเป็นบทที่เทวดาเคารพบูชายิ่งนัก คนไทยสมัยก่อนเชื่อว่าบุคคลที่สวดธรรมจักรนี้ทุกวันพระ แล้วอธิษฐานให้ครอบครัวหรือญาติพี่น้องมีความสวัสดี จะมีผลานิสงส์ทำให้ผู้สวดและผู้อื่นที่ตนแผ่ไปถึงมีความสวัสดี แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทุกอย่างได้


 :96: :96: :96:

ไม่ควรลงท้่ายด้วย อิติ ศัพท์

ในพระปริตรฉบับนี้มีบางปาฐะต่างจากบทสวดมนต์อื่น เช่น ในบทสวดพระพุทธคุณได้ลงท้ายคำว่า ภะคะวา ในบทสวดพระธรรมคุณได้ลงท้ายด้วยคำว่า วิญญูหิ และในบทสวดพระสังฆคุณได้ลงท้ายด้วยคำว่า โลกัสสะ ไม่เหมือนบทสวดมนต์ฉบับอื่นที่ลงท้ายด้วย อิติ ศัพท์ว่า ภะคะวาติ, วิญญูหีติ, โลกัสสาติ ความจริงบทเหล่านั้นสำเร็จรูปมาจาก ภควา + อิติ, วิญฺญูหิ + อิติ, โลกสฺส + อิติ

ศัพท์ว่า อิติ ในที่นี้เป็นคำลงท้ายประโยคนิยมใช้เพื่อแสดงการลงท้ายข้อความเหมือนมหัพภาค ( . ) ในภาษาไทย เพื่อแสดงการสิ้นสุดของประโยคนั้น จึงไม่นับเนื่องเข้าในบทสวด ดังเช่น อิติ ศัพท์ในกรรมวาจาบวชพระว่า เอวเมตํ ธารยามีติ (วิ. มหา. ๔/๑๒๗/๑๓๙) พระภิกษุผู้สวดกรรมวาจาต้องสวดว่า เอวเมตํ ธารยามิ โดยไม่ต้องสวด อิติ ศัพท์ (วิมติ. ๒/๑๗๘) ส่วนคำว่า ภะคะวาติ, วิญญูหีติ, โลกัสสาติ ที่พบในธชัคคปริตร จัดว่าควรสวดเช่นนั้น เพราะ อิติ ศัพท์ในปาฐะเหล่านั้นมิใช่แสดงการลงท้ายข้อความดังที่กล่าวมาแล้ว แต่มีความหมายคือ "ว่า" ในภาษาไทย

อานุภาพของพระปริตรที่สวดด้วยจิตที่มีสมาธแน่วแน่ จะแผ่ไปถึงแสนโกฏิจักรวาล ทำให้ผู้สวดได้รับผลานิสงส์มหาศาลหาประมาณมิได้ คนที่ไม่สวดพระปริตรจะไม่สามารถรับรู้อานิสงส์ได้เลย เปรียบดั่งคนที่ไม่ได้รับประทานอาหาร จะไม่รับรู้รสอาหารและผลของการรับประทานได้ ดังนั้น ขอให้พุทธบริษัทเชื่อมั่นอานุภาพพระปริตร หมั่นสวดพระปริตรอยู่เนืองนิตย์ และได้รับประโยชน์สุขทั่วกันทุกคน


 :25: :25: :25:

อนุโมทนากถา

การสวดมนต์เป็นการอบรมจิตด้วยการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ พร้อมทั้งแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ จึงเป็นกิจวัตรที่ชาวพุทธทุกท่านควรสั่งสมให้เป็นอาจิณ เพื่อเพิ่มพูนภาวนาบารมี และขัดเกลากิเลสให้ลดน้อยลงเท่าที่จะกระทำได้

ชาวโลกล้วนเห็นคุณค่าของอัญมณี และสิ่งนี้เหมาะสมแก่บุคคลผู้มีฐานะ พระรัตนตรัยก็เปรียบดั่งอัญมณีสูงค่า เหมาะสมแก่บุคคลผู้มีใจประเสริฐ แต่ในชีวิตประจำวันชาวพุทธประดับอัญมณีนี้ไว้ในใจเป็นเวลานานเท่าใด ผู้ที่เห็นคุณค่าของอัญมณีภายในนี้ จะหมั่นสวดมนต์เพื่อประดับไว้ในใจของตนเสมอ บุคคลผู้สวดมนต์เป็นนิตย์นั้นจะมีใจเบิกบาน ใบหน้าผ่องใส อดกลั้นต่ออนิฏฐารมณ์ได้ดี และมีสง่าราศีเป็นที่เคารพนับถือของปวงชน

สำหรับวิธีการสวดพระปริตรนั้น ท่านผู้สวดพึงสวดคำบาลีให้ถูกตามอักขระ และสวดคำแปลควบคู่กับคำบาลีไปด้วย เพื่อน้อมจิตไปในความหมายแห่งพระพุทธดำรัส เมื่อเป็นดังนี้ก็ได้รับประโยชน์สุขจากการสวดมนต์โดยทั่วกัน

ขออนุโมทนากุศลเจตนาท่านเจ้าภาพที่ร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ เพื่อเผยแพร่คำสอนของพระศาสดาให้สถิตสถาพรชั่วกาลนาน ทั้งนี้เพื่อยังประโยชน์แก่มวลชนให้กว้างไกล ขอให้ท่านเจ้าภาพจงมีความสุขความเจริญประสบความสำเร็จในชีวิต และเจริญรุ่งเรืองในธรรมของพระอริยเจ้าทั้งหลาย


พระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง
สนใจหนังสือพระปริตรธรรม ดาวน์โหลดได้ที่ http://www.wattamaoh.com/

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://palipage.com/p/index.php?option=com_content&view=article&id=377:parittas-history&catid=53:general&Itemid=18
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 15, 2021, 07:34:19 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

lomtong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 48
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติพระปริตร อานิสงส์และวิธีสวด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2014, 08:51:41 am »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติพระปริตร อานิสงส์และวิธีสวด
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2014, 08:55:36 am »
0
กำลังหาอ่านเรื่องนี้ พอดี ขอบคุณมากคะ

  :c017:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติพระปริตร อานิสงส์และวิธีสวด
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2014, 08:41:25 am »
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ