ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำบุญ แล้ว เสียดาย แต่ทำไปแล้ว จะได้บุญหรือไม่คะ  (อ่าน 5592 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pornpimol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 152
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีคนมาขอบริจาคให้ช่วย ผ้าป่า ตอนนั้นก็มีจิตศรัทธา ช่วยเหลือในการดำเนินการ
แต่พอโดนเพื่อนแซว เรื่องผ้าป่า มากๆ คะเช่น มาอีกแล้วผ้าป่า เบื่อจริง ๆ พวกนักบุญ คือ พึ่งทำครั้งแรกคะ
โดนแซวอย่างนี้เป็นต้น นะคะ รู้สึกว่าตนเองเหมือนกำลังมาสร้างความรำคาญ ให้กับเพื่อน ๆ
ก็เลยหมดศรัทธา ไม่อยากจะทำคะ ตอนเก็บซอง ก็เลยไม่เดินไปเก็บคะ คือถ้าใครไม่นำมาให้ก็ไม่ไปเก็บคะ

ไม่ทราบว่า อย่างนี้ยังจะได้บุญ บ้างหรือไม่คะ

 :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28492
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำบุญ แล้ว เสียดาย แต่ทำไปแล้ว จะได้บุญหรือไม่คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2011, 09:23:27 pm »
0
บทที่ 3 การทำทานที่สมบูรณ์แบบ

3.5.3 ทำทานต่างกันให้ผลไม่เหมือนกัน       

           การทำทานทุกครั้งย่อมมีอานิสงส์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น แต่ผลที่เกิดขึ้นก็ใช่ว่าจะเหมือนกันทุก ครั้งไป เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยรอบข้างหลายประการ ตั้งแต่ความต่างแห่งวัตถุ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ  ที่ให้เจตนาที่ให้ทาน กาลเวลาที่ให้ทาน หรือผู้รับทานแตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งจะได้ยกความแตกต่างในการทำทานมาดังนี้
       
          ความแตกต่างที่เจตนา 3 กาล                

           ผู้ใดก่อนที่จะให้ทานเกิดความดีใจ (ปุพพเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปฐมวัย (ตั้งแต่เกิดถึงอายุ 25 ปี1) ของผู้นั้นพบแต่ความสมบูรณ์พูนสุขเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งดีงาม
               
           ผู้ใดขณะที่ให้ทาน เกิดความเลื่อมใส (มุญจนเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติ หน้า ให้ชีวิตในมัชฌิมวัย (อายุ 26-50 ปี) ของผู้นั้น พบกับความสุข ความสบาย บริบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติ
               
           ผู้ใดหลังจากที่ให้ทานแล้ว เกิดความเบิกบานใจ ไม่เสียดายทรัพย์ (อปราปรเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปัจฉิมวัยของผู้นั้น (อายุ 51 ปี ขึ้นไป) ถึงพร้อมด้วย ความสุข สมหวังในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ สามารถใช้ทรัพย์ได้อย่างเบิกบานใจ ไม่เป็นเศรษฐีที่มีความตระหนี่ถี่เหนียว

         
           และเมื่อผู้ใดสามารถรักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ครบทั้ง 3 ระยะอย่างนี้ได้ ก็ย่อมได้บุญมาก และมีความสุขสมบูรณ์ไปจนตลอดชีวิต
         
           จะเห็นได้ว่าเจตนามี 3 ระยะ แต่ละระยะจะส่งผลในแต่ละวัย ถ้าเจตนาดีจะส่งผลดี แต่ถ้าเจตนา ระยะใดเสียไป วัยนั้นก็จะเสียไปด้วย เช่น ก่อนจะให้ทาน ผู้ให้รู้สึกไม่ค่อยเต็มใจนัก แต่ครั้นถึงเวลาให้ เห็นพระภิกษุจำนวนมากมาย จึงเกิดความเลื่อมใสขึ้น ยินดีในการให้นั้น และหลังจากให้แล้ว นึกถึงบุญทีไร ก็เกิดความปีติเบิกบานใจทุกครั้ง บุญที่ทำนี้จะส่งผลให้เกิดในภพชาติหน้า คือ ในช่วงปฐมวัย จะมีชีวิตที่ลำบาก ต้องต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ มากมาย ต่อเมื่อถึงมัชฌิมวัย จึงจะเริ่มประสบกับความสุข ความสำเร็จ และ   ปัจฉิมวัยก็มีความสุขความสบาย สามารถใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สุข และสร้างบุญกุศลได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น
         
           อีกนัยหนึ่ง ในภพชาตินี้ ถ้าในช่วงปฐมวัยเรามีความสุขดี มัชฌิมวัยก็เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน แต่ปัจฉิมวัยกลับพบแต่อุปสรรค มีทรัพย์ก็เสียดาย ไม่กล้าทำบุญ ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย แสดงว่าในอดีตนั้น เวลาทำบุญ ปุพพเจตนาและมุญจนเจตนาดี แต่อปราปรเจตนาเสียไป ทำบุญแล้วใจไม่เลื่อมใส เสียดายทรัพย์ ดังนี้เป็นต้น
         
           ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วว่า การให้ทานจะมีผลมากนั้น ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาที่บริสุทธิ์ของผู้ให้ทั้ง 3 ระยะ เป็นสำคัญ คือ ก่อนให้ก็ดีใจ ขณะให้ก็เลื่อมใส และหลังจากให้แล้วก็ปีติเบิกบานใจ หากสามารถประคองเจตนาทั้ง 3 ระยะนี้ได้  นั่นย่อมหมายถึงอานิสงส์ผลบุญที่จะเกิดขึ้นอย่างสุดประมาณ ดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ทานสูตร ว่า
         
"ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ประกอบด้วยองค์ 6 คือ องค์ของผู้ให้ 3 อย่าง องค์ ของผู้รับ 3 อย่าง องค์ของผู้ให้ 3 อย่าง (เจตนา 3) คือ
   ก่อนให้ก็ดีใจ
   กำลังให้ก็มีใจผ่องใส
   ครั้นให้เสร็จแล้วมีความเบิกบานใจ

         
           องค์ของผู้รับ 3 อย่าง คือ เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อความไม่มีราคะ เป็นผู้ปราศ
จากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อความไม่มีโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือ ปฏิบัติเพื่อความไม่มีโมหะ

           ทานที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ 6 ประการนี้ เป็นบุญใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ยิ่งใหญ่นัก
เหมือนน้ำในมหาสมุทร นับหรือคำนวณไม่ได้ว่ามี ขนาดเท่าใด

           ทานที่พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะเหล่านี้ ย่อมเป็นที่หลั่งไหลแห่งบุญ หลั่งไหลแห่งกุศล นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศด้วยดี  มีวิบากเป็นสุข เป็นไปพร้อมเพื่อการเกิดขึ้นในสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ"


          แต่หากไม่สามารถประคับประคองเจตนาให้บริสุทธิ์ทั้ง 3 ระยะได้ ผลบุญย่อมลดหย่อนลงไป ตามส่วนที่ควรจะเป็น

            แตกต่างที่เนื้อนาบุญ        

           นอกจากเจตนาที่บริสุทธิ์ทั้ง 3 ระยะแล้ว ปฏิคาหกหรือผู้รับทานนั้นก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการ หนึ่ง ที่ทำให้ผลแห่งทานมีมากหรือน้อยแตกต่างกัน การให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล มีความบริสุทธิ์ เป็นทักขิไณยบุคคล ชื่อว่าเป็นทานที่มีผลมาก มีผลไพศาล ส่วนทานที่ให้ในบุคคลผู้ทุศีล หามีผลมาก มีอานิสงส์มากไม่ ดังที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ปสาทสูตร ว่า
       
                      "สงฆ์ทั้งหลายก็ดี คณะทั้งหลายก็ดี มีประมาณเท่าใด สงฆ์สาวกของตถาคต
           ปราชญ์กล่าวว่าเป็นยอดแห่งสงฆ์ แห่งคณะทั้งปวงนั้น สงฆ์สาวกของตถาคตคือใคร
           คือคู่แห่งบุรุษ 4 บุรุษ บุคคล 8 (หมายถึงพระอริยเจ้า) นี่สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ
           ภาคเจ้า ผู้ควรของคำนับ ผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรของทำบุญ ผู้ควรทำอัญชลี
           ผู้เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า สัตว์เหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ สัตว์เหล่า
           นั้นจึงชื่อว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ เมื่อเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ ก็ย่อมได้ผลอันเลิศ"

 
           แตกต่างที่เวลา       

           เวลาในการให้ทานก็มีผลต่ออานิสงส์ที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน บางคนเมื่อเกิดความเลื่อมใสในที่ใดก็  ให้ทานทันที แต่กับบางคนจะให้ทานก็ต่อเมื่อตนเองมีความพร้อม หรือบางคนคิดจะให้ก็บังเกิดความลังเล เพราะความตระหนี่เข้าครอบงำ กว่าจะตัดใจให้ได้ก็ล่วงเลยเวลาไปนาน
       
           การให้ทานในเวลาที่แตกต่างกัน ย่อมมีอานิสงส์แตกต่างกันไม่น้อย นั่นคือ ผู้ที่ให้ทานทันทีที่จิต เลื่อมใส โดยไม่รีรอว่าจะต้องพร้อมก่อน ไม่ลังเลหรือนึกเสียดาย ในเวลาบุญให้ผล ก็ย่อมได้รับอานิสงส์  ก่อนใคร และได้อย่างเต็มที่ไม่มีตกหล่น แต่หากทำบุญช้าหรือลังเลอยู่ บาปอกุศลก็ได้ช่อง ถึงคราวบุญ  ส่งผลก็ส่งให้ช้า และได้อย่างไม่เต็มที่อีกด้วย    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า
                 
                      "บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี  พึงห้ามจิตเสียจากบาป
                       เพราะว่า  เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่  ใจจะยินดีในบาป

                 
           แตกต่างที่ทำตามลำพังหรือทำร่วมกันเป็นหมู่คณะ
       
           คนบางคนแม้ร่ำรวยเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มาก แต่กลับขาดเพื่อนพ้องบริวาร เวลาทำกิจการงานหรือ ประสบอุปสรรคอันใด ก็ไม่มีใครช่วยเหลือเกื้อกูล
       
           คนบางคนแม้ยากจนไม่มีทรัพย์สมบัติ แต่กลับมีเพื่อนพ้อง และญาติพี่น้องบริวารมากมายที่คอยช่วยเหลือให้พึ่งพาได้ในยามที่ต้องการ
       
           คนบางคนไม่มีทั้งทรัพย์สมบัติ ไม่มีทั้งเพื่อนพ้องบริวาร จะทำมาหาเลี้ยงชีพหรือทำกิจการงาน ก็ลำบากยากแค้น
       
           แต่คนบางคนกลับสมบูรณ์พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติ ทั้งบริวาร จะทำกิจการงานอันใด ก็สำเร็จ สมปรารถนา ชีวิตจึงมีความสุขอย่างเต็มที่

       
           เหตุที่ทำให้คนเหล่านี้มีความแตกต่างกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุนั้นไว้ว่า
               
                      "คนบางคนให้ทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดๆ
                      ย่อมได้แต่โภคทรัพย์สมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ
               
                      คนบางคนไม่ให้ทานด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดๆ
                      ย่อมไม่ได้โภคทรัพย์สมบัติ แต่ได้บริวารสมบัติ
               
                      คนบางคนไม่ให้ทานด้วยตนเอง และไม่ชักชวนผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดๆ
                      ย่อมไม่ได้ทั้งโภคทรัพย์สมบัติ และบริวารสมบัติ
               
                      คนบางคนให้ทานด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นด้วย ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดๆ
                      ย่อมได้ทั้งโภคทรัพย์สมบัติ และบริวารสมบัติ

         
           จากพุทธพจน์ที่กล่าวในเบื้องต้น ทำให้เห็นอานิสงส์ของการทำ และไม่ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้ กับตนเองและผู้อื่นว่า "บุคคลที่ทำบุญเอง แต่ไม่ได้ชักชวนผู้อื่นทำบุญ จะไปเกิดเป็นผู้ที่ร่ำรวยด้วยทรัพย์สมบัติ แต่ไม่มีพวกพ้องบริวาร" เพราะว่า เมื่อบุคคลทำบุญด้วยตนเอง ชื่อว่าเขาได้รักษาทรัพย์สมบัติ ของตนไว้ แต่เขาไม่ได้ชักชวนผู้อื่นทำบุญ ชื่อว่าเขาไม่ได้ติดตามรักษาทรัพย์สมบัติให้ผู้อื่น เสมือนปล่อยให้ทรัพย์นั้นถูกไฟไหม้จนหมดสิ้น ฉะนั้นเวลาไปเกิดในภพชาติใด จึงมีโภคทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ไม่มีบริวาร เมื่อทำกิจการใดๆ ก็ต้องเหน็ดเหนื่อยยากลำบากมาก ไม่มีคนช่วยเหลือ เพราะขาดพวกพ้อง
       
           "บุคคลที่ไม่ได้ทำบุญเอง ได้แต่ชักชวนผู้อื่นทำบุญ จะไปเกิดเป็นคนยากจน แต่มีพวกพ้องบริวาร"
       
           เพราะว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติของตนเองไว้ ได้แต่ตามรักษาทรัพย์สมบัติให้คนอื่น ฉะนั้นไปเกิดใน ภพชาติใด ตนจึงต้องลำบาก และยากจนข้นแค้น แต่เวลาจะทำอะไร ก็มีคนคอยช่วยเหลือสนับสนุนตลอดเวลา
       
           "บุคคลที่ไม่ได้ทำบุญด้วยตนเอง และไม่ชักชวนผู้อื่นทำบุญ จะไปเกิดเป็นคนยากจน ทั้งไม่มีพวกพ้องบริวาร"

 
           เพราะว่า ไม่รักษาทั้งทรัพย์สมบัติของตนเองและผู้อื่น บางทีถึงกับขัดขวางคนอื่นไม่ให้ทำอีก ฉะนั้นไปเกิดในภพชาติใด ก็พบแต่ความลำบากยากจน ต่ำต้อย ไม่มีพวกพ้อง จะทำอะไรก็ลำบากมาก และไปเกิดกับกลุ่มชนที่มีความลำบากด้วยกัน มีแต่คนรังเกียจ
         
           ส่วน "บุคคลที่ทำบุญเอง และชักชวนผู้อื่นทำบุญด้วย ย่อมร่ำรวยด้วยโภคทรัพย์สมบัติ และบริวารสมบัติ"         
           เพราะว่า นอกจากตนเองได้รักษาทรัพย์สมบัติของตนไว้ดีแล้ว ยังติดตามไปรักษาทรัพย์สมบัติให้ผู้อื่น ฉะนั้นไปเกิดในภพชาติใด ก็จะมั่งคั่งร่ำรวย และมีแต่คนที่ซื่อสัตย์สุจริต บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ มาเป็นพวกพ้องบริวาร คนภัยคนพาลเข้าใกล้ไม่ได้ จะทำสิ่งใดก็สำเร็จได้โดยง่าย
         
           อานิสงส์ของทานมีคุณอย่างไม่อาจประมาณหรือนับได้ เราต่างโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนรู้และเข้าใจ ว่าจะต้องใช้เวลาของชีวิตที่ค่อยๆ หมดไปด้วยความไม่ประมาท ด้วยการสั่งสมบุญ มีทานกุศลเป็นต้น
         

           ดังนั้น จงอย่านิ่งนอนใจ พึงขวนขวายในการให้ทาน ทั้งทำด้วยตนเอง ทั้งชักชวนผู้อื่น ทำจนกระทั่งเกิดเป็นนิสัยรักการให้ติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ และพึงระลึกไว้เสมอว่า เมื่อเรามีจิตเลื่อมใสในที่ใด ก็ต้องรีบให้ในที่นั้น อย่ามัวแต่ชักช้าชะล่าใจ จนกิเลสหรือความตระหนี่เข้ามาครอบงำใจได้เด็ดขาด เมื่อมีมากก็ให้มาก มีน้อยก็ให้น้อย ค่อยๆ สั่งสมบุญไปอย่างเต็มกำลัง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
         
                      "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า บุญมีประมาณน้อย จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำ
           ยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ธีรชน (ชนผู้มีปัญญา)   
           สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น"

 


อ้างอิง หนังสือ วิถีชาวพุทธ
ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=311
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 13, 2011, 09:29:11 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ก้านตอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 195
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำบุญ แล้ว เสียดาย แต่ทำไปแล้ว จะได้บุญหรือไม่คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2011, 07:48:40 pm »
0
อ่านมาก็ยาว นะคะ

  แต่คิดว่า ได้บุญอยู่แล้วคะ แต่จะมาก หรือ น้อย นั้นเราวัดเองไม่ได้คะ
  สำหรับเรื่องซองที่ไม่เก็บนั้น ก็ขึ้นอยู่กับศรัทธา ส่วนบุคคลแล้วคะ

  :58:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ทำบุญ แล้ว เสียดาย แต่ทำไปแล้ว จะได้บุญหรือไม่คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2011, 08:37:40 am »
0
ขึ้นชื่อว่า บุญ ถ้าได้ทำไปแล้ว จะเสียดาย หรือ เต็มใจก็ยังได้ บุญนะจ๊ะ จะบอกว่า บุญน้อย หรือ บุญมาก

เราวัดกันไม่ได้หรอกนะจ๊ะ เพราะไม่มีเครื่องวัด ส่วนนี้

แต่ถ้าจิต วัด ก็พอได้ อยู่ บ้างแต่ไม่เต็มเสียทุกประการนะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Husapol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 17
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำบุญ แล้ว เสียดาย แต่ทำไปแล้ว จะได้บุญหรือไม่คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2011, 05:43:23 pm »
0
ไม่ต้องไปคิดมากนะครับ เพราะมันเป็นเรื่องธรรมดาของคนที่ยังไม่รู้ถึงอานิสงส์ของการทำบุญ แต่พอเรื่องได้เงิน เล่นหวยนี่เท่าไหร่เท่ากันเลยล่ะคนพวกนี้ เขายังไม่เข้าใจชีวิตดีพอว่าคนเราเกิดมาทำไมหรอกครับ คนพวกนี้ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าชาติหน้าจะมีจริงหรือไม่และไม่อยากรู้ด้วย เพราะเขารู้แค่ว่าตอนนี้ขอสนุกให้เต็มที่ก่อน ส่วนเรื่องอื่นเอาไว้ให้เจอก่อนแล้วค่อยว่ากันทีหลัง แบบขอไปทีครับ ส่วนเราก็ทำหน้าที่ที่ได้รับมาให้เต็มที่ก็พอแล้วล่ะครับ ส่วนใครจะเต็มใจที่จะทำหรือทำเสียไม่ได้หรือว่าจะไม่ทำนั้นก็สุดแล้วแต่ผู้นั้น และเราก็ไม่ได้ไปบังคับเขาเราเพียงแค่เป็นผู้ที่มาบอกบุญเท่านั้นครับ ในทางกลับกันถ้าเรามีโอกาสที่จะบอกบุญได้แต่กลับไม่บอกเพียงเพราะความรู้สึกของตัวเราเอง เช่น อาย ไม่กล้า กลัว ก็จะทำให้เราเป็นคนใจแคบทันที เรื่องแบบนี้ผมก็เจอมาแล้วครับเพราะว่าตัวผมเองก็ทำเช่นนี้เหมือนกันครับ ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้ทำแบบนี้ต่อไปนะครับ เพราะจริตของมนุษย์แตกต่างกันอยู่ถึง 6 จริตเลย  :s_good:
บันทึกการเข้า