ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำอย่างไร ให้ใจวางจาก อคติ ครับ  (อ่าน 2407 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ทำอย่างไร ให้ใจวางจาก อคติ ครับ
« เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 08:58:46 am »
0
หลายครั้ง หลายหน ที่ทำงานแล้ว ก็จะมี อคติ ที่ต่อต้านบ้าง ไม่สนับสนุน ไม่เห็นด้วย ถึงแม้สิ่งที่คนทั้งหลายจะทำเป็นเรื่องถูก แต่ความไม่ชอบใจ ก็เกิดขึ้น รวมถึงการปฏิบัติภาวนาด้วยครับ บางครั้งเห็นเขานั่งกรรมฐาน ไปฟังธรรมจากบุคคลที่เราไม่ชอบใจ ก็จะเกิด อคติ ไม่ชอบ

  แต่ อคติ ที่เกิดก็ไม่ใช่ว่า จะไม่มีเหตุผล นะครับ เพราะบางครั้งผมก็ถูกกลั่นแกล้ง จากบุคคลเหล่านี้ ก็เลยที่จะทำจิตผมไม่มี อคติ นี้ไม่ได้ ผมเห็นว่าโทษของ อคติ ที่มีเกิดขึ้นทำให้สังคมรอบด้านเดือนร้อน เพราะความอคติ ของเราทำให้งานบางอย่าง ถูกเก็บหมกไว้ เพราะอคติ

  ดังนั้น มีการภาวนาใด ๆ บ้าง ที่จะนำ อคติ จากใจผมออกไปได้ จากคนที่เบียดเบียน ผมอยู่ครับ

  ขอบคุณครับ

 :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำอย่างไร ให้ใจวางจาก อคติ ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 01:17:17 pm »
0

อคติ ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด,ความลำเอียง มี ๔ คือ

           ๑. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรัก
           ๒. โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
           ๓. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
           ๔. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%A4%B5%D4_%F4



  จิตของปุถุชน ถูกเคลือบดัวยอุปกิเลสเป็นปรกติอยู่แล้ว อคติที่เกิดขึ้นก็เนื่องด้วยกิเลสนั่นเอง

  ขอยกพระสูตรหนึ่งมาให้ดู



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


    [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่
เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด
นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ


             [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง
ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ


             [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว
จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๑๖๑ - ๒๐๙.  หน้าที่  ๗ - ๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=161&Z=209&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=42



 การภาวนาที่มุ่งโสดาบันจะช่วยได้ครับ ขอให้ดูสังโยชน์ข้อแรก คือ สักกายทิฏฐิ

 ซึ่งหมายถึง ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน

 อคติ เกิดจาก การยึดมั่นถือมั่นในตัวเอง การเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง


 แต่ในเบื้องต้น เป็นโสดาบันไม่ได้ ก็ต้อง เดินอยู่ในมรรค ครับ

 คือ ให้อยู่ในศีล หากไม่ไหว ศีลเอาไม่อยู่ ก็ให้ใช้สมาธิ สมาธิก็ไม่ไหว เข้าไม่ทัน

 ก็ขอให้ใช้ไม้ตาย คือ วิ่งหนี หนีจากสถานการณ์นั้นๆชั่วคราวก่อน ก่อนที่จะทำอะไรที่มีอคติ


  :57: :72: ;)


  ข้อธรรมที่ใช้ในการทำงานร่วมกัน นอกจาก พรหมวิหารสี่แล้ว ยังมีอีกอย่างครับที่หลายคนอาจไม่ทราบ คือ สังคหวัตถุ ๔


  สังคหวัตถุ ๔
(ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์)

๑. ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน)

๒. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม)

๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม)
 
๔. สมานัตตตา (ความมีตนเสมอ คือ ทำตนเสมอด้วยปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี)

อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ