สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: samapol ที่ มีนาคม 04, 2011, 04:45:26 pm



หัวข้อ: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: samapol ที่ มีนาคม 04, 2011, 04:45:26 pm
รู้สึกว่าฝึกมานานแล้ว ภาพไม่ติดตาเสียที ไม่ทราบการฝึกกสิณมีเทคนิค พิเศษอย่างไรหรือไม่ครับ

จึงจะสามารถได้ อุคคหนิมิต ตามที่ตั้งใจนะครับ

 :c017:

ผมฝึกกสิณสี อยู่ครับ



หัวข้อ: Re: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: samapol ที่ มีนาคม 04, 2011, 04:48:14 pm
กสิณสี คือ การเพ่งกสิณ แผ่นวงกลมสีครับ


หัวข้อ: Re: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: doremon ที่ มีนาคม 04, 2011, 04:53:08 pm
การจับภาพนิมิต หรือภาพกสิณใดๆ ภาพจะชัดหรือไม่ชัด จะสว่างหรือไม่สว่าง

ไม่ได้อยู่ที่อาการเพ่ง หรืออาการของภาพ หมายความว่าอย่าสนใจในภาพ ที่เราจับอยู่

หรือนึกถึงอยู่ว่า เอะ! ไมเป็นแบบนั้น เอะ!ไมเป็นแบบนี้ ไห้สนใจที่กำลังใจ หรือใจของเรา

เป็นสำคัญนะครับ ใจยิ่งนิ่ง ใจยิ่งสงบ ภาพจะชัด จะแจ่มใจขึ้นเป็นลำดับ

อย่าสนใจในภาพ ดูความเปลี่ยนปลงของภาพ อย่างใจที่เป็นปกติ เท่านั้นพอ

แต่ไห้จำ ไห้สนใจความรู้สึกของใจเท่านั้น สังเกตดูนะครับ พอใจเราเริ่มสงบนิ่ง+ใจเป็นสุข

ภาพก็จะใสขึ้นตามมา ชัดเจนขึ้น เริ่มสว่างขึ้น อันนี้เข้าสู่อุปจรสมาธิแล้วนะ ถ้ากำลังใจ สงบระงับแนบแน่นลงไปได้อีก

ความเป็นประกายของภาพจะปรากฏขึ้น ถ้าฌาณหนึ่ง หรือประฐมฌาณ ภาพวงกลมที่เราจับ ขอบด้านนอกจะเป็นประกาย ยังไม่กินเข้าไปด้านใน
ที่เล่ามานี่ มันพึ่งจะจุ่มเองนะครับ

พึ่งจะเข้าสู่อัปมาสมาธิในเบื้องต้น ( เอาวงกลมภาพที่เราจับเป็นตัวตั้ง ถ้าเป็นประกายสว่าง หนึ่งในสี่=ฌาณหนึ่ง

เป็นประกายสองในสี่=ฌาณสอง เป็นประกาย สามในสี่=ฌาณสาม ถ้าเป็นประกายสว่างจ้า เต็มดวงภาพกสิณทั้งดวงนั่นแหละ

ฌาณสี่)

การฝึกที่จะไห้ได้ผล ของการจับภาพกสิณ ทุกเวลานาที ภาพที่เราตั้งใจจับไว้นั้น

ต้องอยู่กับใจเราตลอดเวลา นึกปุป เห็นปั๊บ หรือไม่ก็ทรงอยู่ในใจตลอดเวลา

จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ไห้ภาพกสิณนั้น ติดตา ติดใจอยู่ตลอดเวลา ถ้าทำได้อย่างนี้แล้ว
สิ่งที่เราปราถนาไว้ จะสมประสงค์แน่นอน

อนุโมทนาครับ


หัวข้อ: Re: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: pongsatorn ที่ มีนาคม 04, 2011, 04:58:47 pm
(http://www.sathanimahaprash.com/images/QBOARD582552231149.jpg)


หัวข้อ: Re: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: pongsatorn ที่ มีนาคม 04, 2011, 05:00:02 pm
ห้วข้อกระทู้
กสิณสีแดง
รายละเอียด
กสิณสีแดง

ผู้โพส : ตั๊กม้อ
วันที่ : Monday, May 08, 2552 เวลา : 11:11:49 PM


ความคิดเห็นที่ 1
เพ่ง ๕ นาที แล้วหลับตาเบาๆ อย่ากดบีบตา กำหนดความจำที่เก็บไว้ในจิต เพ่งอยู่ภายใน ถ้ายังจำไม่ได้ให้ลืมตามามองดูใหม่ ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเป็นนิมิตที่ชัดเจน บริกรรมว่า โลหิตา ๆ ๆ ไปเรื่อยๆ
จาก ตั๊กม้อ [5/8/2552 23:18:54 ]

ความคิดเห็นที่ 2
รบกวนถามค่ะว่า การเพ่งกสิณสีแดงได้รับผลอะไรบ้าง และบุคลลลักษณะใดที่ควรเพ่งกสิณสีแดงบ้าง ยาแก้ปวดนั้น ยางคนก้ต้อง กินพารา บางคนก้ต้องกินพอนแสตน อย่างไรเสียก็ต้องวิเคราะห์โรคนะค่ะว่ายาตัวนี้เหมาะกับคนไข้ประเภทได้ ดีมิดี คนไข้จะยิ่งอาการหนักนะค่ะ
จาก ปาณิศา [6/8/2552 8:01:05 ]

ความคิดเห็นที่ 3
คุณบัวก็ได้นะ มองเห็นอะไรบ้างครับ
จาก TonG [6/8/2552 9:37:27 ]

ความคิดเห็นที่ 4
ก็เห็นสีแดง หรือให้มองเป็นธงชาติญี่ปุ่นก็ได้อยู่นะ
จาก ปาณิศา [6/8/2552 9:40:56 ]

ความคิดเห็นที่ 5
มองเฉพาะสีแดงในวงกลม เขาให้เพ่งสีแดงนี่ สีขาวแค่เป็นฉากให้สีแดงเด่นขึ้น เดี๋ยวก็เลยไปมองเห็นหน้าหนุ่ม ญี่ปุ่นเข้าหรอก วรรณกสิณเป็น 1 ในกรรมฐาน 40 วิธีที่พระพุทธเจ้าสอน วรรณกสิณจะง่ายต่อการทำให้ติดตา ติดใจ ผลคือทำให้จิตสงบได้ง่ายกว่าวิธีอื่น ฌานที่ได้ก็ระดับปฐมฌานไม่สูงแต่ก็เป็นบาทฐานให้ปฏิบัติกรรมฐานอื่นได้ดี ลองปฏิบัติดูนะครับ
จาก ตั๊กม้อ [6/8/2552 10:40:37 ]

ความคิดเห็นที่ 6
จิงหรือค่ะ ขอบพระคุณค่ะ เพราะตอนนี้ พุท โธ ไม่ค่อยได้ผล ฟุ้งมากมาย ทั้งทีแต่ก่อนได้ผลค่อนข้างดี อาจจะเป็นเพราะไม่สม่ำเสมอด้วยกระมัง
จาก ปาณิศา [6/8/2552 10:46:42 ]

ความคิดเห็นที่ 7
อามิตตาพุทธ
จาก ตั๊กม้อ [6/8/2552 10:54:13 ]

ความคิดเห็นที่ 8
วรรณกสิณ(กสิณสี)...ยิ่งนั่งยิ่งร้อนใจ..ไม่ถูกจริต..หากนั่งเพ่งมองแล้ว ยิ่งสบาย นั่นคือถูกจริตถูกนิสสัย พื้นฐานมองให้เป็นสีขาว...แล้วใส กสิณเป็นบาทให้ได้องค์ฌานเร็ว ในที่นั่งเดียวสำเร็จถึงฌาน4ก็มีหลายคน แต่ก็ติดนิวรณ์ง่าย ฉะนั้นก็ต้องมีสติกำกับมาก วรรณกสิณยังใจให้ชุ่มชื่นดุจเมตตาอัปมัญญากสิณ เจริญขณะแผ่เมตตาให้ครอบฟ้าครอบดินได้เป็นดี ทั้งอานิสงส์ทางการปฏิบัติและการแผ่เมตตาจักบังเกิดให้เห็นชัดเจนเป็นที่ อัศจรรย์
จาก หมอเล็ก [6/8/2552 18:39:12 ]

ความคิดเห็นที่ 9
มีเรื่องจะรบกวนถามท่านผู้รู้ค่ะ เนื่องจากว่าดิฉันเป็นคนที่มีนิสัยแบบว่าพอตั้งใจทำอะไรแล้วก็จะทำได้ค่อน ข้างดี แต่พอหันไปสนใจอย่างอื่นปุ๊ปงานหรือสิ่งที่ได้รับมอบหมายเดิมจะทิ้งเลย ทั้งที่ยังทำค้างไว้อยู่ ไม่ทราบจะแก้ไขยังไงดีค่ะ ประมาณว่าตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ พอมีงานกลุ่ม ช่วงไหนที่ขยันก็ตั้งใจทำอย่างดี แต่พอช่วงไหน(อย่างเช่นช่วงนี้แหละค่ะ)เบื่อก็ไม่ทำเอาซะเลย ทั้งที่ทราบดีว่าเป็นงานกลุ่มถ้าเราไม่ทำให้ดีเพื่อนๆก็จะเดือดร้อนด้วย แต่เมื่อความสนใจมันหายไปหมดเลยมันก็ขี้เกียจขึ้นมาทันที ช่วงที่ขยันตื่นมาทำงานตั้งแต่ตี 3 ก็ทำไหว แก้ได้มั้ยค่ะ เพราะมันทำให้คนอื่นเดือดร้อนอ่ะค่ะ รู้สึกผิดก็รู้สึกแต่มันสู้ความขี้เกียจไม่ไหวเลย
จาก ปาณิศา [7/8/2552 8:47:20 ]

ความคิดเห็นที่ 10
ปาณิศา มีแต่ตัวขยัน ( ดาวอังคาร ) ขาดตัวอึด ( ดาวเสาร์ ) ดาวอังคาร บวกมฤตยูอยู่ข้างหน้าลัคนาเป็นศูนยพาหะ ถ้าไม่มีดาวพฤหัสบดี เป็นตัวสติกุมลัคน์ช่วย จะจับจดยิ่งกว่านี้ ข้อดีที่ดาวพฤหัสบดีกับดาวอังคารเป็นคู่สมพลกัน อังคารเร็วขาดสติง่ายถ้าได้ดาวพฤหัสบดีช่วยยับยั้งอังคารจึงมีคุณภาพด้านสติ ดีขึ้น ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวความรู้และวิชาการ ถ้าดาวพฤหัสบดีไม่มีดาวอังคารเป็นตัวกระตุ้น จะมีทิฐิมากเรียกทิฎฐิคณาจารย์ ทำอะไรช้าหลักการมากเกินไป ยังมีราหูกับเกตุอีก 2 ตัวที่ส่งกระแสสัมพันธ์ถึง นอกนั้นซ่อนอยู่เรือนวินาสนะหลังลัคนาหมด ราหูก็วูบวาบแนวเดียวกับอังคาร นี่แหละคือเหตุผลที่เป็นอยู่ แก้ไขได้ด้วยสติเท่านั้นฝึกให้การกระทำใหม่ๆใด้ชำนาญเอาชนะพฤติกรรมเก่าๆ เพราะเคยอยู่กับอังคาร และ ราหู มานานจนเคยชินตั้ง 26 ปี ต้องตั้งความเพียรเข้าไว้ ดังพระพุทธองค์ทรงตรัสว่าบุคคลล่วงพ้นอุปสรรคได้เพราะความเพียร
จาก อ.สัจพจน์ [7/8/2552 9:24:15 ]

ความคิดเห็นที่ 11
ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ อีกประการหนึ่งที่ทำให้เบื่อกับการเรียนเพราะคิดว่าเรียนไปก็ไม่เห็นจะช่วย อะไรให้สังคมดีขึ้น นอกจากแค่จบไปก้ไปทำงานตามโรงงานหรือบริษัทแล้วก็มีหน้าที่ดิ้นรนต่อสู้ฟาด ฟันกันในโลกธุรกิจอุตสาหกรรม ไม่มีวันสิ้นสุด ไร้สาระสิ้นดี วันนี้เรียนไปก็เป็นความรู้ที่ทันสมัยที่สุดแต่อีก 10 ปีผ่านไปก็คงเป็นแค่ความรู้โบร่ำโบราณ เหมือนตัวเองเป็นปลาไปติดเบ็ดโง่ๆที่ไม่มีแม้แต่เหยื่อล่อ แต่ก็อีกนั้นแหละสงสัยกรรมจะจัดสรรคให้เป็นแบบนี้ เพราะถ้าไม่เริ่มเรียนชีวิตก็คงเป็นแบบเดิมไม่พลิกผันและคงไม่ได้มาค้นพบ เว๊ปนี้
จาก ปาณิศา [7/8/2552 9:39:47 ]

ความคิดเห็นที่ 12
นั่งแล้วแดงฉานไปหมด แต่ก็รู้สึกดี รู้สึกเหมือนมีพลัง เป็นแป๊บนึงอย่างนี้เกี่ยวกับกสิณสีแดงมั้ย
จาก สงสัย [1/12/2553 8:26:31 ]

ขอบคุณที่มาจากเว็บนี้ครับ

http://www.sathanimahaprash.com/index.asp?contentID=10000006&bid=795&title=%A1%CA%D4%B3%CA%D5%E1%B4%A7&keyword= (http://www.sathanimahaprash.com/index.asp?contentID=10000006&bid=795&title=%A1%CA%D4%B3%CA%D5%E1%B4%A7&keyword=)


หัวข้อ: Re: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: chutina ที่ มีนาคม 04, 2011, 05:03:18 pm
เพืิ่้่อรักษา บรรยากาศของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

เรื่องกสิณ น่าจะไปที่นี่นะคะ

http://www.kasina.org/board_v3/index.php (http://www.kasina.org/board_v3/index.php)


หัวข้อ: Re: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: สถาพร ที่ มีนาคม 04, 2011, 05:05:02 pm
การฝึกกสินสีขาว พอมีประสบการณ์อยู่บ้าง ขอแนะนำผู้ที่ยังไม่รู้วิธีหรือเกิดปัญหาดังนี้

ตั้งวงกสินให้อยู่ไกลประมาณ 1 เมตร 10 ซม.
นั่งให้ระดับสายตาอยู่สูงกว่าตรงกลางวงกสินเล็กน้อย ไม่ให้เงยหน้ามองหรือก้มหน้ามอง
ตั้งกสินให้ไม่อยู่ในที่ๆ มีแสงสะท้อน หรือย้อนแสงนั่นเอง

- จากนั้นให้มองดวงกสินแบบให้มองเหม่อเหมือนส่องกระจกไปที่จุดศูนย์กลางของวงกสิน เพื่อไม่ให้มีแสงลายๆวิ่งรอบๆ ดวงกสิน

- พร้อมกันนั้นให้กำหนดคำภาวนาในใจ เช่น "สีขาว", "สีขาว" เป็นต้น ทุกลมหายใจเข้าออก

- จากนั้นให้เรากระพริบตา เมื่อรู้สึกว่าตาของเรามองกสินไม่ชัด

- เมื่อเรามองกสินไปได้พักหนึ่ง ซึ่งประมาณ 15 วินาที - 1 นาที หรือเมื่อรู้สึกว่านาน ให้หลับตาลงมองดูเงาโครงร้างของกสิน ไม่ใช่นึกภาพเอาเอง เราจะเห็นเป็นวงเงาจางๆ ที่ในหนังตากลางระหว่างคิ้ว

- พยายามรักษารูปเงาของกสินไว้ให้นานที่สุด เมื่อภาพของกสินหายไป อาจจะเพราะจิตเกิดนิวรณ์ หรือภาพที่เคยมองหายไปเอง ให้เราลึมตามองแล้วทำอย่างที่บอกมาแล้วอีกเรื่อยไป

- เวลาที่หลับตาและลืมตานั้น ข้าพเจ้ามีเทคนิคอยู่ว่า อย่าให้ร่างกายของตนเองขยับเขยื่อนให้มากที่สุด เพราะจะทำให้ภาพหายเร็วขึ้น สมาธิเคลื่อน, แต่เวลาที่รู้สึกตามันหนัก ตาจะหลับตาท่าเดียวไม่ลืมตาล่ะก็ ให้หายใจยาวๆ ได้จะทำให้อาการหนักตาหายไป และเวลาที่หลับตาหรือลืมตานั้นควรใช้ตอนที่อยู่ในช่วงเวลาหายใจเข้า เพราะตอนกำลังหายใจเข้าร่ายกายของเราจะนิ่งและรู้สึกเบาตัว

- เมื่อเราดำรงตนอยู่กับคำภาวนา พร้อมกับลืมตามองดวงกสิน สลับกับหลับตามองภาพเงาของกสินได้อยู่ตลอดโดยคำภาวนานั้นไม่ได้ตกหล่นแม้สัก ครั้ง ตลอดช่วงระยะเวลาการฝึกได้แล้ว

- ต่อไปนานวันเข้า จะทำให้นิวรณ์ดับไปช่วงสั้นๆ คือ ดำรงสมาธิโดยไม่มีนิวรณ์ได้ช่วงสั้นๆ สลับกับมีนิวรณ์แทรกเข้ามาช่วงสั้นๆ ตลอดเวลาการฝึก เมื่อเราทำได้อย่างนี้จนเป็นปกติอยู่ทุกวี่วัน จะทำให้เราสามารถมองเห็นเงาของกสินชาวๆ จางๆ ติดตาในเวลาหลับตาที่ไม่ได้อยู่ในช่วงที่ฝึกสมาธิอย่างจริงจัง เช่น หลับตาตอนนั่งรถประจำทาง เป็นต้น อย่างนี้เรียกว่าสมาธิอยู่ใน ระดับ "ขณิกสมาธิ"

- ต่อเมื่อฝึกไปนานๆ เข้าทุกวัน สามารถดำรงขณิกสมาธิได้เป็นปกติแล้ว จะทำให้นิวรณ์ดับไปนานขึ้น จนเกือบไม่กลับมาเกิดขึ้นอีกเลยในช่วงหลังจากที่เริ่มนั่งฝึกสมาธิแล้ว เมื่อกระทำได้อย่างนี้จนเป็นปกติเคยชินจะทำให้ภาพของกสินนั้นชัดขึ้น จนติดตาของเรา เห็นภาพเหมือนกับลืมตาปกติ (ก่อนที่จะเห็นเหมือนกับลืมตาได้นั้นจะมีวิวัฒนาการคือ จะเห็นขอบของเงากสินชัดขึ้น ตรงกลางของเงากสินเปลี่ยนสีไปเป็นสีขาวก่อนจุดอื่น และค่อยขยายตัวขึ้น จนในที่สุดจะขาวทั้งดวงเหมือนกับลืมตา) อย่างนี้เรียกว่าสมาธิของเรานั้นอยู่ในระดับ "อุปจารสมาธิ"

- เมื่อกระทำอย่างนี้แล้วเราสามารถวัดความก้าวหน้าได้คือ เมื่อไม่ได้อยู่ในเวลาฝึกปกติ เพียงเราต้องการจะเห็นภาพให้เราหลับตาลง นึกถึงดวงกลมๆ ของเงากสินเพียงลัดนิ้วมือจะเห็นภาพเหมือนกับลืมตาทันที

- เมื่อกระทำอุปจารสมาธิได้เป็นปกติแล้ว เราสามารถก้าวหน้าไปได้ด้วยการกระทำแบบเดิมดังที่กล่าวมาข้างต้น จะทำให้สมาธิก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นคือ นิวรณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในตอนเริ่มนั่งลงฝึก แล้วพอเรากำหนดคำภาวนาไปนิวรณ์จะหายไป  ไม่กลับมาอีกเลยตลอดช่วงระยะเวลาการฝึก อาการปิติต่างๆ เช่น ขนลุก, น้ำตาไหล, ตัวโยกโคลง, ตัวเบาเหมือนลอยได้ ความชุ่มชื่นอิ่มเอมใจน้อยๆ ปรากฏขึ้นมา จิตของเราที่เคยรู้สึกตามลมหายใจเข้าไปหรือตามลมหายใจออกมา ไม่อยู่นิ่งจะอยู่นิ่งเอยู่พียงจุดเดียว คือ ระหว่างคิ้วที่ภาพของกสินนั้นชัดเหมือนลืมตา และคำภาวนาปรากฏชัดมากขึ้น เมื่อนั้นสมาธิของเราจะเข้าสู่ "ปฐมฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกระทำไปด้วยวิธีการดังเดิม แม้ในวันเดียวกัน หรือหลายวันขึ้นอยู่กับความเพียร จะทำให้คำภาวนาของเราค่อยๆ หายไป บางทีอยู่ดีๆ หายไป กลายเป็นเรารู้ลมหายใจชัดมากขึ้นไม่มีคำภาวนามาแทรก อาการต่างๆ ของปิติยังคงอยู่ ภาพของกสินยังเป็นสีเดิมแต่ชัดขึ้น ใสขึ้น นูนขึ้นเหมือนกับภาพ 3 มิติ เมื่อนั้นสมาธิของเราเข้าสู่ "ทุติยฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกำหนดรู้อยู่เพียงจุดเดียวคือดวงกสินจิตจ่ออยู่ตรงกลาง ระหว่างคิ้ว ลมหายใจแผ่วเบาลง ภาพของกสินเริ่มเปลี่ยนเป็นเหมือนแก้วขาวใสขุ่นๆ เหมือนกับมรกตที่มีสีขาวใสผสมกับเนื้อกระจก อาการต่างๆ ของปิติสงบไปเองไม่ต้องบังคับ อาการแช่มชื่น สุขใจ ขยันหมั่นเพียรอย่างยิ่งยวดปรากฏขึ้นเต็มตัว เมื่อนั้นสมาธิของเราจะเข้าถึง "ตติยฌาน"

- ต่อจากนั้นเรายังคงกำหนดรู้อยู่เพียงจุดเดียวคือดวงกสิน ภาพของกสินจะค่อยๆ ใสคล้ายกับเนื้อของเพชร สีขาวค่อยๆ หมดไป จนเหลือแต่เพียงสีผลึกเพชร 7 สีอย่างเดียว สว่างไสว ลมหายใจที่มีอยู่หายไปเอง ไม่ต้องบังคับ อาการความสุขต่างๆ หายไปเหมือนกันไม่ต้องบังคับ เมื่อนั่นสมาธิของเราเข้าสู่ "จตุถฌาน"

- จากนั้น ถ้าเราต้องการที่จะฝึกวิชชา 8 หรือเข้าอรูปฌาน หรืออภิญญาก็สามารถกระทำได้ เช่น
        - ถ้าต้องการฝึกอรูปฌานให้เริ่มโดยการกำหนดอยู่นิ่งๆ กับภาพกสินที่เป็นผลึกเพชร ไม่มีลมหายใจปรากฏ จิตแน่วแน่ขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ภาพของเงากสินนั้นค่อยๆ ไปเหลือเพียงดวงกสินไม่มีใส้ ผลึกเพชรหายไป พูดง่ายๆ เหมือนกับวงกลมธรรมดาที่เขียนขึ้นมีพื้นสีดำที่เป็นเหมือนอากาศ  เรากำหนดรู้อยู่อย่างนั้นเป็นต้นไปเรียกว่าเข้าสู่อรูปฌานที่ 1

เพิ่มเติม

1.  เวลาทำกสินนั้นมีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของกสิน เช่น ปฐวีกสินจะใช้ดินที่มีสีแดงหน่อยๆ (ดินขุยปู) ในการทำ, โอทาตกสินจะใช้ผ้าขาว หรือกระดาษสีขาว เป็นต้น แต่ที่เหมือนกันของทุกกสินนั้นคือขนาดความกว้างของดวงกสินที่มีลักษณะกลม นั้น จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 คืบ 4 นิ้ว และต้องมีพื้นผิวที่เรียบไม่มีตำหนิครับ

แต่ถ้าต้องการเพ่งวรรณกสิน คือ สีแดง, สีขาว, สีเหลือง, สีเขียว แล้วล่ะก็ ปัจจุบันมีแบบที่สำเร็จรูปขายแล้วครับ ซึ่งขนาดของดวงกสิน และความสูงของดวงกสิน พื้นผิวเป็นไปตามที่ท่านพระพุทธโฆษจารย์อธิบายไว้ในคำภีวิสุทธิมรรคครับ

2. วิธีการที่จะช่วยให้เพ่งกสินและกำหนดภาพกสินนั้น ข้าพเจ้าได้เขียนอธิบายไว้ข้างต้นแล้ว ขอให้คุณลองตีความจากนั้นปฏิบัติตามดูครับ  ส่วนระยะเวลาที่ฝึกแล้วสามารถเห็นผลได้นั้นขึ้นอยู่กับหลายเหตุปัจจัยครับ เช่น
        -  สร้างสถานที่และองค์ประกอบต่างๆ ของการเพ่งกสินให้เหมาะสม
        - แบ่งช่วงเวลาที่แน่นอนในการฝึก เช่น เช้ามืด 1 ชม. และ กลางคืน 1 ชม. และอย่าพยายามขาดการฝึก
        - มีศรัทธาตั้งใจอย่างแน่วแน่โดยอาศัยหลักอิทธิบาทสี่
        - อย่าเกิดความอยากได้เร็วๆ เพราะจะกลายเป็นกามฉันทะไปเสีย
        -  ระยะเวลาที่ฝึกอย่างสม่ำเสมอ มากน้อย ซึ่งตรงนี้คือจุดสำคัญมาก เพราะถ้ายิ่งฝึกบ่อยจะทำให้จิตและตาของเราจำภาพของกสินได้ง่ายขึ้น
        - สร้างจิตให้สงบอยู่เนื่องๆ ในช่วงเวลาดำเนินชีวิตตามปกติไม่ใช่ช่วงการฝึกสมาธิประจำวัน
        - พยายามรักษาดวงตาของเราอย่าให้แห้ง โดยดื่มน้ำมากๆ อย่าใช้สายตาฟุ้มเฟือย

*ถ้า มีความตั้งใจจริง พยายามอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มีศีลบริสุทธิ์ คุมจิตใจและสมาธิอยู่เนืองๆ ระยะเวลาประมาณ 1 เดือนย่อมเห็นถึงความก้าวหน้าครับ

ที่มา : ลานธรรมเสวนา


หัวข้อ: Re: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: chutina ที่ มีนาคม 04, 2011, 05:06:07 pm
เกี่ยวกับเรื่อง กสิณ ที่เว็บท่านี้ คะ

http://web.ruammid.com/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/ (http://web.ruammid.com/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/)

 :character0029: :character0029: :character0029:


หัวข้อ: Re: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 04, 2011, 05:49:26 pm
เป็นผู้มีชำนาญ กันจริง ๆ นะนี่ สำหรับส่วนนี้พระอาจารย์ไม่มีความเห็นนะจ๊ะ

เชิญว่ากันไปตามสบายนะจ๊ะ ....

 ;)


หัวข้อ: Re: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: Mario ที่ มีนาคม 05, 2011, 07:17:29 am
ชอบเรื่องกสิณ คะ

อาจจะเป็นเพราะจริต เลือกแบบโลดโผน คะ

 :13:


หัวข้อ: Re: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 16, 2011, 07:58:46 am
ภาพวงกลมสีแดง นั้นถ้าเพ่งใน จอคอมพิวเตอร์ไม่จัดเป็นวรรณกสิณ พึงระวัง
สีไม่มีกำเนิดของแสง แต่พอจัดในกสิณพิเศษ

 ถ้าจัดเป็นการเพ่งกสิณ ถือว่าเป็นกสิณโทษ ไม่ตรงเจตนาของการฝึก

เนื่องด้วย กสิณสี ต้องอาศัยแสงกระทบ ไม่ใช่ให้แสงในตัว

ดังนั้นถ้าเราเพ่งที่จอ คอม จัดเป็น อาโลกกสิณ นะจ๊ะ

เจริญธรรม

 ;)


หัวข้อ: Re: ถามเกี่ยวกับผู้ที่ชำนาญกสิณครับ คือฝึกแล้วภาพไม่ติดตาสักที
เริ่มหัวข้อโดย: notebook123 ที่ มีนาคม 18, 2011, 08:18:55 am
ท่านต้องการกสิณ(ฤทธิ์เดช)หรือ ธรรมะที่ลึกซึ้งของพระพุทธองค์ครับ
กสิรไม่ทำให้หลุดพ้น ปัญญาและ การตัด  โลภ โกรธ หลง  เท่านั้น