กรรมฐาน มัชฌิมา > ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน

อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา

<< < (2/6) > >>

ธัมมะวังโส:
อุปกิืเลส ญาณนิทเทส

ภาวะอันตรายของสมาธิ มี 3 หมวด ๆ ละ 6

1. ปฐมฉักกะ ( ภาวะอันตรายของสมาธิ 6 ประการ บทที่ 1)

1.1 จิตที่ถึงความ ฟุ้งซ่าน ในภายใน เมื่อพระโยคาวจร ใช้  สติ ตามลมหายใจเข้าเข้า
ที่ฐาน  เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด   

1.2 จิตที่ถึงความ ฟุ้งซ่าน ในภายนอก เมื่อพระโยคาวจร ใช้  สติ ตามลมหายใจออก
ที่ฐาน  เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด   

1.3 ความเป็นไปแห่งตัณหา คือ ความติดใจหวัง ลมหายใจเข้า   

1.4 ความเป็นไปแห่งตัณหา คือ ความติดใจหวัง ลมหายใจออก   

1.5 ความหลง ในการได้ลมหายใจออก ของพระโยคาวจร ผู้ถูก ลมหายใจเข้า ครอบงำ   

1.6 ความหลง ในการได้ลมหายใจเข้า ของพระโยคาวจร ผู้ถูก ลมหายใจออก ครอบงำ

ในเบื้องต้น ผู้ปฏิบัติ อานาปานสติ มักจะเกิดความ ฟุ้งซ่าน ด้วยการบังคับลมหายใจเข้า และ ออก และ เพ่ง

ด้วยความปรารถนา และ้ติดใจคือหลง ในการหายใจเข้า และ หายใจออก ถูกลมหายใจครอบงำ

เหมือนบุคคลที่ได้ของเล่นมาใหม่ ก็ชอบใจ เพลินในลมหายใจเข้า และ หายใจออก

หรือ เหมือนคนที่ไม่มีลมหายใจเข้า ด้วยจะถึงมรณะย่อมทรมาน เพราะไม่มีลมหายใจเข้า

หรือ ย่อมทรมาน เพราะลมหายใจที่เข้าแล้ว ไม่มีลมหายใจออก

แท้ที่จริงการภาวนา ลมหายใจเข้า มีได้ เพราะมีลมหายใจออก

                     ลมหายใจออก มีได้ เพราะมีลมหายใจเข้า

สรรพสัตว์ที่มีปาณะ ย่อมอาศัย ลมใจหายออก และ ลมหายใจเข้า จึงจักมีชีวิตอยู่ได้ฉันใด

การติดใจ และ ต้องการลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ย่อมไม่เกิดการปล่อยวางดังนั้นภาวนา

มีเป้าหมาย ระลึกรู้ใน ลมหายใจเข้า หายใจออก โดยธรรมชาติแห่ง กาย และ จิต ไม่ได้มุ่งหวังให้

พระโยคาวจร บังคับหรือหลงในลมหายใจเข้า และ ออก การภาวนานั้นต้องภาวนาเพียง แต่ผู้หายใจออก

และ ผู้หายใจเข้า ด้วยความมีสติ  จึงชื่อว่า อานาปาน + อนุสสติ = อานาปานุสสติ

ดังนั้น ปฐมฉักกะ จึงชี้แจงความผิดพลาดของผู้ฝึกเบื้องต้นไว้ในการประคองลมหายใจอก และ ลมหายใจเข้า



เบื้องต้นแต่เท่านี้ก่อน พอให้ท่านทั้งหลายได้อ่านทบทวน ในปฐมฉักกะให้ขึ้นใจ อย่าโลภมากในปริยัติ

ค่อยทำความเข้าใจด้วยการภาวนา เพราะกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นกรรมฐาน ปฏิบัติ นะจ๊ะไม่ใช่

เรียน ๆ ท่อง ๆ กรรมฐานจักก้าวหน้าได้ ต้องภาวนา

 ;)

ธัมมะวังโส:
[๓๖๗]
   
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิตจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออกนี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ

    เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก    
    มื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต     
    เมือคำนึง ถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า     
    เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต     
    เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า     
    เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก

อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ

อุปกิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป

และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ



นิมิต ในที่นี้ การกำหนดฐานจิต ด้วยรูปแบบ 4 ประการ

1. คณนา การนับ

2. ผุสนา จุดกระทบ

3. อนุพันธนา การติดตาม

4. ฐปนา กำหนดจิดตั้งในฐาน

สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อธิบาย ไว้ทั้งหมด  9 ฐาน

แต่ละ ฐาน มี ความละเอียด อยู่ 3 ระดับ คือ เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด

ไม่ใช่การนับ ฐานเบื้องต้น คือที่ 1

แต่ละฐานมี 3 ขั้น

ดังนั้นเมื่อพระโยคาวจร คำนึงนิมิต มาก จิตก็จักกวัดแกว่ง อยู่ที่ลมหายหายใจ เข้า และ ออก

เมื่อคำนึงถึง ลมหายใจ เข้า และ ออก จิตก็จักกวัดแกว่ง อยู่ที่นิมิต อีกเช่นกัน

ดังนั้นในขั้นตอนนี้ จักชี้โทษของการ เพ่ง คือ จับจด เรียกว่า อารัทธา มีความเพียรมากใช้วิธีการบังคับ

ดังนั้น อานาปานุสสติ นั้นต้องผ่อนการภาวนาไม่บังคับ ผู้ฝึกควรฝึกการนับเป็นหลัก ก่อน เมื่อมีความชำนาญ

พึ่งเลื่อนระดับ นิมิต ขึ้นไป

 ;)
Aeva Debug: 0.0005 seconds.

ธัมมะวังโส:

 
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ       
จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ       
จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ         
จิตที่ถือจัด ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ       
จิตที่รู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ       
จิตที่ไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
 

เมื่อ ผู้ฝึกจนสามารถ ระงับ อุปกิเลส 12 ประการ ก็จะเริ่มเข้าสู่สภาวะ สงบ จิตขั้นกลาง

ช่วงนี้จักเกิดภาวนาไปนาน ๆ แล้วยังไม่สามารถที่จะรวมศูนย์จิต กับ ลมหายใจเข้า และออกได้

ก็ย่อมทำให้ตกอยู่ในข้างฝ่าย ความฟุ้งซ่าน และ หดหู่ เกียจคร้าน ลังเลสงสัย และอยากหาความ

สุขทางกาย และเข้าถึงกลับมีอารมณ์หงุดหงิด เพราะไม่สามารถเข้าถึงสภาวะได้แม้จะพยายามอย่างไร

ก็ตาม

วิธีแก้ไข ก็คือ ให้ผู้ฝึกกรรมฐาน ทบทวน อารักขกรรมฐาน ( เป็นทางออกที่ดีที่สุด สำหรับคนที่ยังฝึกไม่ได้ )

อย่ารีบร้อน อย่าใส่ความอยาก อย่าฝืนถ้าอารมณ์ไม่เข้าเป็นสมาธิ

สำหรับผู้ฝึกชำนาญ แล้ว ก็ให้ใช้วิธีการเดินจิตทันใจ แทน ( ห้ามถามต่อว่าเดินจิตทันใจคืออะไร )

อันนี้ตอบเฉพาะศิษย์ที่ขึ้นกรรมฐานเท่านั้น นะจ๊ะ

ไม่ขึ้นกรรมฐาน ก็ตอบให้ไม่ได้ เพราะกรรมฐานนั้น ไม่ใช่เรื่องประดับความรู้ นะจ๊ะ

ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่กรรมฐานไม่ค่อยแพร่หลาย ( ไม่ต้องวิตกกับส่วนนี้กันดอกนะจ๊ะ )




      [๓๖๘] จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ จิตที่หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้ ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส๖ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้นย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล ฯ

        [๓๖๙] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด แห่งลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน
                  เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก
                กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจออกเพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา
              กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรนเพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจเข้า เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา
             กายและจิตย่อมมีความปรารถนา หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจเข้า
            กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็น ผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจออก
            กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
           กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออกกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
          กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
          กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
         กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออก กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
        กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
       กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายความฟุ้งซ่าน
       กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหวังถึงอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่งกายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน       
      กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถือตัว ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ
      กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตรู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายกำหนัด
      กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ฯ
         
     ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปาณสติ กายและจิตของผู้นั้นย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน
     ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปาณสติดี กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล ฯ
       ก็และเมื่อพระโยคาวจร ผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วย    อานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้ อุปกิเลส ๑๘ เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น ฯ


ธัมมะวังโส:
        [๓๙๑] คำว่า อนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างไร ฯ       
พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง       
พิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาโดยความเป็นสุข         
พิจารณาโดยความเป็นอนัตตาไม่พิจารณาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ         

เมื่อพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้         

เมื่อพิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้         

เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้        เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ราคะดับ ย่อมละสมุทัยได้       เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างนี้ �

ธัมมะวังโส:
มีเมล์เข้ามาถามเนื้อหา ของอานาปานสติ ปฏิสัมภิทา กันพอสมควร
 
 เพื่อความสะดวก พระอาจารย์จัก ให้ดาวน์โหลดเนื้อหา พระสูตรที่เรียบเรียงไว้เบื้องต้น
 
 ช่วงนี้ไม่ค่อยจะมานั่งอ่านหรือนั่งพิมพ์อะไร เพราะว่ากำลังเข้ากรรมฐาน ถือโอกาสช่วงเช้านี้แล้ว
 
 ก็เลยทะยอยตอบคำถามบ้าง ดังนั้นขอให้ดาวน์โหลดตรงส่วนนี้เลย

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว