ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อารมณ์ของพระปีติ 5 และ พระยุคลธรรม 6  (อ่าน 6152 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อารมณ์ของพระปีติ 5 และ พระยุคลธรรม 6
« เมื่อ: กันยายน 17, 2010, 10:48:13 am »
0
  อารมณ์ของพระปีติธรรม ๕ ประการ
 
๑.พระขุททกาปีติ ปิติเล็กน้อย สมาธิเล็กน้อย ขณิกสมาธ ขั้นที่ ๑
๒.พระขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ สมาธิชั่วขณะ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๒
๓.พระโอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ สมาธิเป็นพักๆ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๓
๔.พระอุพเพงคาปีติ ปีติโลดโผน สมาธิเต็มที่ ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๔
๕.ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน สมาธิแผ่ซ่าน ขณิกสมาธิ ขั้นที่ ๕

               เข้าสับปีติห้าเป็นอนุโลม เข้าสับปีติห้าเป็นปฏิโลม
                            รวมตั้งที่นาภี รวมตั้งที่นาภี

๑.ขุททกาปีติ (ดิน) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
๒.โอกกันติกาปีติ(น้ำ) ๒.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๓.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๓.อุพเพงคาปีติ (ลม)
๔.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๔.ขณิกาปีติ (ไฟ)
๕.โอกกันติกาปีติ(น้ำ) ๕.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๖.ผรณาปีติ (อากาศ) ๖.ขุททกาปีติ (ดิน)

          เข้าคืบพระปีติห้าเป็นอนุโลม เข้าคืบพระปีติห้าเป็นปฏิโลม
                               รวมตั้งที่นาภี รวมตั้งที่นาภี

๑.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
๒.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๒.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๓.ขุททกาปีติ (ดิน) ๓.ขุททกาปีติ (ดิน)
๔.โอกกันติกาปีติ (น้ำ) ๔.อุพเพงคาปีติ (ลม)
๕.ผรณาปีติ (อากาศ) ๕.ขณิกาปีติ (ไฟ)

เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นอนุโลม เข้าวัดออกวัดสะกดเป็นปฏิโลม

๑.ขุททกาปีติ (ดิน) ๑.ผรณาปีติ (อากาศ)
๒.ขณิกาปีติ (ไฟ) ๒.อุพเพงคาปีติ (ลม)
๓.โอกกันติกาปีติ (น้ำ) ๓.โอกกันติกาปีติ (น้ำ)
๔.อุพเพงคาปีติ (ลม) ๔.ขณิกาปีติ (ไฟ)
๕.ผรณาปีติ (อากาศ) ๕.ขุททกาปีติ (ดิน)

             การเข้าสับ เข้าคืบ เข้าวัด ออกวัด พระปีติห้า เป็นอนุโลมปฏิโลม ทำให้จิตชำนาญ แคล่วคล่อง เป็นวสี ในเบื้องต้น

อารมณ์ของพระยุคลธรรม ๖ ประการ

๑.กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ กายสงบ จิตสงบ อุปจารสมาธิ สมาธิสงบ ขั้นที่ ๑
๒.กายลหุตา จิตลหุตา กายเบา จิตเบา อุปจารสมาธิ สมาธิเบา ขั้นที่ ๒
๓.กายมุทุตา จิตมุทุตา กายอ่อน จิตอ่อน อุปจารสมาธิ สมาธิอ่อน ขั้นที่ ๓
๔.กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายควรแก่การงาน จิตควรแก่การงาน
    อุปจารสมาธิ สมาธิควรแก่การงาน ขั้นที่ ๔
๕.กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา กายแคล่วคล่อง จิตแคล่วคล่อง
    อุปจารสมาธิ สมาธิแคล่วคล่อง ขั้นที่ ๕
๖.กายุชุคคตา จิตตุชุคคตา กายตรง จิตตรง อุปจารสมาธิ สมาธิตรง ขั้นที่ ๖

เข้าสับพระยุคลหกเป็นอนุโลม เข้าสับพระยุคลหกเป็นปฏิโลม
รวมลงที่นาภี รวมลงที่นาภี

๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
๒.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๒.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
๓.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๓.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ)
๔.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม) ๔.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๕.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๕.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
๖.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ) ๖.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
๗.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม) ๗.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๘.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๘.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

เข้าคืบยุคลหกเป็นอนุโลม เข้าคืบยุคลหกเป็นปฏิโลม
รวมลงที่นาภี รวมลงที่นาภี

๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
๒.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๒.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม)
๓.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา(อากาศ) ๓.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
๔.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๔.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา(อากาศ)
๕.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม) ๕.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๖.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๖.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

เข้าวัดออกวัดสกดยุคลหก เข้าวัดออกวัดสะกดยุคลหก
เป็นอนุโลม เป็นปฏิโลม

๑.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน) ๑.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน)
๒.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ) ๒.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ)
๓.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ) ๓.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา (ลม)
๔.กายกัมมัญญตา-จิตกัมมัญญตา(ลม) ๔.กายมุทุตา-จิตมุทุตา (น้ำ)
๕.กายปาคุญญตา-จิตปาคุญญตา (อากาศ) ๕.กายลหุตา-จิตลหุตา (ไฟ)
๖.กายชุคคตา-จิตชุคคตา (ดิน) ๖.กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ (ดิน)

สุขสมาธิ ๒ ประการ

๑.กายสุข จิตสุข กายเป็นสุข(สบาย) จิตเป็นสุข(สบาย) อุปจารสมาธิขั้นประณีต
    เป็นอุปจารฌาน หรือรูปเทียม ของปฐมฌาน
๒.อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ อุปจารสมาธิเต็มขั้น เป็น อุปจารฌาน เต็มขั้น

          เข้าวัดออกวัด เข้าสะกดพระสุขพระพุทธา เข้าวัดออกวัดเข้าสะกดพระสุขพระพุทธาเป็นอนุโลม เป็นปฏิโลม

๑.พระกายสุข-จิตสุข ๑.พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ
๒.อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ ๒.พระกายสุขจิตสุข
           เมื่อปีติ ดำเนินไปถึงที่เต็มที่แล้ว ย่อมได้ความสงบแห่งจิตคือ ปัสสัทธิ เมื่อปัสสัทธิดำเนินไปถึงที่แล้ว เต็มที่แล้ว ย่อมได้ ความสุข คือสุขสมาธิ สุขดำเนินไปถึงที่แล้ว เต็มที่แล้ว จิตย่อมตั้งมั่น เป็นสมาธิคงที่
          อันห้องพระพุทธานุสสติ ขั้นแรกให้อาราธนาองค์พระกัมมัฏฐาน เอายัง พระลักษณะของ พระปีติ ๕ แต่ละองค์ พระยุคลธรรม๖ แต่ละองค์ พระสุขสมาธิ ๒ แต่ละองค์ เมื่อครบพระลักษณะกัมมัฏฐาน แล้วให้นั่งทวนอีกเที่ยวหนึ่ง เอายังพระรัศมี องค์พระปีติ ๕ แต่ละองค์ องค์พระยุคล ๖ แต่ละองค์ องค์พระสุขสมาธิ ๒ แต่ละองค์

          พระลักษณะ หรือ รูปนั้น เป็น บัญญัติ อาจ แปรปรวนเปลี่ยนแปลง ไม่แน่นอน นิมิตที่เกิดขึ้นอาจเป็นนิมิตลวง นิมิตหลอน นิมิตหลอก หรือนิมิตอันเกิดจากอุปาทานได้
          ฉะนั้นพระอาจารย์เจ้าแต่ปางก่อน ท่านให้อาราธนานั่งเอายัง พระรัศมี ดวงธรรม หรือ สี อันเป็นรูปารมณ์ เป็นปรมัตถะ คือ จริงแท้แน่นอน ไม่แปรผัน การนั่งเอายังพระรัศมีองค์พระ เพื่อปรับจิต กันนิมิตหลอก นิมิตลวง กันนิมิตอุปาทาน ทำให้จิตมีอุปาทานในนิมิตน้อยลง เพราะพระพุทธานุสสติกัมมัฏฐานนี้มีแต่ อุคคหนิมิตประการเดียว หามีปฏิภาคนิมิตไม่, อุคคหนิมิตนี้ ย่อมเกิดในมโนทวาร ฉะนั้นนิมิตอาจเป็นนิมิตที่นึกขึ้นเอง คิดขึ้นเองก็ได้
 
 
 
 

ลักษณะอาการ ของปีติ ยุคล สุข
๑.พระขุททกาปีติ เกิดขุนลุก หนังศรีษะพองสยองเกล้า
๒.ขณิกาปีติ เกิดในจักขุทวาร เป็นประกายเหมือนตีเหล็กไฟ เหมือนสายฟ้าแล็บ
๓.พระโอกกันติกาปีติ เกิดดังขี่เรือต้องระลอกคลื่น เกิดลมพัดไปทั่วกายก็มี
๔.พระอุพเพงคาปีติ เกิดให้กายเบา ให้กายลอยขึ้น หกคะเมน
๕.พระผรณาปีติ เกิดให้กายประดุจอาบน้ำ เย็นซาบซ่านทั่วสกลกาย
๖.กายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ เกิดกายใจสงบระงับ ไม่กระวนกระวายฟุ้งซ่าน
๗.กายลหุตา จิตลหุตา ความเบากาย เบาใจไม่ง่วงเหงาหาวนอน
๘.กายมุทุตา จิตมุทุตา ความอ่อนไม่กระด้างของกาย และ จิต เริ่มข่มนิวรณ์
     ธรรมได้บ้าง
๙.กายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายจิตควรแก่การงาน ไม่มีกามฉันท์
     วิจิกิจฉา
๑๐.กายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา ความแคล่วคล่องแห่งกาย และ จิต
        ไม่เฉี่อยชา
๑๑.กายุชุคคตา จิตตุชุคคตา ความเป็นสภาพตรงกาย และ จิต
๑๒.กายสุข จิตสุข ความสบายกาย ความสบายใจนำพาให้เกิดความตั้งมั่นของ
        จิต คือสมาธิ
๑๓. อุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ จิตตั้งมั่นเป็นอุปจารพุทธานุสสติ สามารถข่ม
       นิวรณธรรมเป็น กามาวจรจิต เป็นอุปจารฌาน มีศีล เกิดปราโมทย์ เกิดปีติ ๕ ประการ เกิดยุคลธรรม ๖ ประการ เกิดสุขสมาธิ ๒ ประการ ย่อมทำให้สัมมาสมาธิสมบูรณ์ ปีติ เป็นราก เป็นเง่า เป็นเค้า เป็นมูล ของสมาธิ

ที่มาของเว็บและเนื้อหา

http://www.oocities.com/weera2548/tamnan/peeti.htm
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน