ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงพ่อชาสอนวิธีปฏิบัติ  (อ่าน 2080 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28450
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
หลวงพ่อชาสอนวิธีปฏิบัติ
« เมื่อ: มีนาคม 14, 2011, 12:05:12 pm »
0
หลวงพ่อชาสอนวิธีปฏิบัติ


หลวงพ่อชาสอนวิธีปฏิบัติ
การปฏิบัตินั้นแม้จะนั่งเก้าอี้อยู่ ก็ตามกำหนดได้ เบื้องแรกไม่ต้องกำหนดมาก กำหนดลมหายใจเข้าออก หรือจะว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ได้ แล้วกำหนดลมหายใจเข้าออก เมื่อกำหนด ให้มีความตั้งใจไว้ว่า การกำหนดลมนี้จะไม่บังคับ ถ้าเราจะลำบากกับลมหายใจแล้วยังไม่ถูก ดูเหมือนกับลมหายใจสั้นไป ยาวไป ค่อยไป แรงไป เดินลมไม่ถูก ไม่สบาย

แต่เมื่อใดลมออกก็สบาย ลมเข้าก็สบาย จิตของเรารู้จักลมเข้า รู้จักลมออก นั่น แม่นแล้ว ถูกแล้ว ถ้าไม่แม่นมันยังหลง ถ้ายังหลงก็หยุด กำหนดใหม่ เวลากำหนด จิตอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรือเกิดแสงสว่าง เป็น ปราสาทราชวังขึ้นมากไม่ต้องกลัว ให้รู้จักมัน ให้ทำเรื่อยไป บางครั้งทำไป ๆ ลมหมดก็มี หมดจริง ๆ ก็จะกลัวอีก ไม่ต้องกลัว มันหมดแต่ความคิดของเราเท่านั้น

เรื่องความละเอียดยังอยู่ ไม่หมด ถึงกาลสมัยแล้ว มันฟื้นกลับขื้นมาของมันเอง ให้ใจสงบไปอย่างนี้เสียก่อน นั่งอยู่ที่ไหนก็ตาม นั่งเก้าอี้ นั่งรถ นั่งเรือก็ตาม ถ้ากำหนดเมื่อใดให้มันเข้าเลย ขึ้นรถไฟพอนั่งลงให้มันเข้าเลย อยู่ที่ไหนนั่งได้ทั้งนั้น ถ้าขนาดนี้รู้จักแล้วู รู้สึกทางบ้างเเล้ว

ดังนั้น ถ้าจะปฏิบัติแล้ว ให้ตั้งศีล สมาธิ ปัญญา ไว้ในใจเรา ให้นึกถึง พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เลิกสิ่งทั้งหลายทั้งปวงออกเสีย การกระทำของเรานี้เองเป็นเหตุ เกิดขึ้นในภพในชาติหนึ่งจริง ๆ ให้เป็นคนซื่อสัตย์ กระทำไปเถอะ

จึงมาพิจารณาอารมณ์ ใช้จิตที่สงบนั่นพิจารณาอารมณ์ รูปบ้าง เสียงบ้าง กลิ่นบ้าง รสบ้าง โผฏฐัพพะบ้าง ธรรมารมณ์ บ้างที่เกิดขึ้น ให้มาพิจารณา ชอบหรือไม่ชอบต่าง ๆ นานา ให้เป็นผู้รับทราบไว้ อย่าเข้าไปหมายในอารมณ์นั้น ถ้าดีก็รู้ว่าดี ถ้าไม่ดีก็ให้รู้ว่าไม่ดี อันนี้เป็นข้อสมมติบัญญัติ

ถ้าจะดีจะชั่วก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น เป็นของไม่แน่นอน ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อ่านคาถานี้ไว้ด้วย ถ้าทำได้อย่างนี้เรื่อย ๆ ไป ปัญญาจะเกิดเอง อารมณ์นั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทิ้งใส่สามขุมนี้ นี้เป็นแก่นของวิปัสสนา ทิ้งใล่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดี ชั่ว ร้าย อะไรก็ทิ้งมันใส่ ไม่นานเราก็จะเกิดความรู้ความเห็นขึ้นมาในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดปัญญาอ่อน ๆ ขึ้นมา นั่นแหละเรื่องภาวนา

ให้พยายามทำเรื่อย ๆ ศีลห้านี้ถือมาหลายปีแล้วมิใช่หรือ เริ่มภาวนาเสีย ให้รู้ความจริง เพื่อละ เพื่อถอน เพื่อความสงบ พูดถึงการสนทนาแล้ว อาตมาสนทนาไม่ค่อยเป็น มันพูดยากอยู่ ถ้าใครอยากรู้จัก ต้องอยู่ด้วยกัน อยู่ไปนาน ๆ ก็รู้จักหรอก อาตมาเคยไปเที่ยวธุดงค์เหมือนกัน อาตมาไม่เทศน์ ไปฟังครูบา อาจารย์รูปนั้นรูปนี้เทศน์ มิใช่ว่าไปเทศน์ให้ท่านฟัง

ท่านพูดก็ฟัง ฟังเอา พระเล็กพระน้อยเทศน์ก็ฟัง เราจะฟังก็ฟัง ไม่ค่อยสนทนา ไม่รู้จะสนทนาอะไร ที่จะเอาก็เอาตรงที่ละที่วางนั่นเอง ทำเพื่อมาละมาวาง ไม่ต้องไปเรียนให้มาก แก่ไปทุกวัน ๆ วันหนึ่ง ๆ ไปตะปบแต่แสงอยู่นั่น ไม่ถูกตัวสักที

เรื่องศีลท่านพยายามรักษาให้แน่นอน
การปฏิบัติธรรมแม้จะมีหลายแบบ อาตมาไม่ติ ถ้ารู้จักความหมาย ไมใช่ว่าจะผิด แต่ถ้าเป็นนักปฏิบัติแล้ว ไม่ค่อยรักษาวินัย อาตมาว่าจะไป ไม่รอด เพราะมันข้ามมรรค ข้ามศีล สมาธิ ปัญญา บางท่านพูดว่าอย่าไปติดสมถะ อย่าไปเอาสมถะ ผ่านไปวิปัสสนาเลย อาตมาเห็นว่าถ้าผ่านไปเอาวิปัสสนาเลย มันจะไปไม่รอด วิธีปฏิบัติของท่านอาจารย์เสาร์ ท่านอาจารย์มั่น ท่านอาจารย์ทองรัตน์ ท่านเจ้าคุณอุบาลี นี่หลักนี้อย่าทิ้ง แน่นอนจริง ๆ

ถ้าทำตามท่าน ถ้าปฏิบัติตามท่าน เห็นตัวเองจริง ๆ ท่านอาจารย์เหล่านี้ เรื่องศีลท่านพยายามรักษาให้แน่นอน ท่านไม่ข้าม การเคารพครูบาอาจารย์ การเคารพข้อวัตรปฏิบัตินั้น ถ้าครูบาอาจารย์บอกให้ทำก็ทำ ถ้าท่านว่าผิด ให้หยุด ก็หยุด ชื่อว่าทำเอาจริง ๆ จัง ๆ ให้เห็นให้เป็นขึ้นในใจ ท่านอาจารย์บอกอย่างนี้

ดังนั้น พวกลูกศิษย์ทั้งหลาย จึงมีความเคารพยำเกรงในครูบา- อาจารย์มาก เพราะเห็นตามรอยของท่าน ลองทำดูสิ ทำดังที่อาตมาพูด ถ้าเราทำมันก็เห็นก็เป็น ทำไมจะไม่เป็น เพราะเป็นคนทำคนหา อาตมาว่ากิเลสมันไม่อยู่หรอก ถ้าทำถูกเรื่องของมัน เป็นผู้ละ พูดจาน้อย มักน้อย เป็นคนละทิฏฐิมานะทั้งหลายทั้งปวง คนพูดผิดก็ฟังได้ คนพูดถูกก็ฟังได้หมด

พิจารณาตัวเองอยู่อย่างนี้ อาตมาว่าเป็นไปได้ทีเดียวถ้าพยายาม แต่ว่าไม่ค่อยมีนักปริยัติที่มาปฏิบัติ ยังมีน้อยอยู่ คิดเสียดาย เพื่อน ๆ ทั้งหลาย เคยแนะนำให้มาพิจารณาอยู่ ท่านมหามานี่ก็ดีแล้ว เป็นกำลังอันหนึ่ง แถวบ้านเรา บ้านไผ่ใหญ่ หนองสัก หนองขุ่น บ้านโพนขาว ล้วนแต่เป็นบ้านสำนักเรียนทั้งนั้น

เรียนแต่ของที่มันต่อกัน ไม่ตัตสักที เรียนแต่สันตติ เรียนสนธิต่อกันไป ถ้าเราหยุดได้ เรามีหลักวิจัยอย่างนี้ ดีจริง ๆ ต้นไม่ไปทางไหนหรอก มันไปอย่างที่เราเรียนนั่นแหละ แต่ถ้าไม่ปฏิบัติ ผู้เรียนไม่ค่อยรู้ ถ้าปฏิบัติแล้วก็รู้ซึ้ง สิ่งที่เราเคยเรียนมา แจ้งออก ชัดออก เริ่มปฏิบัติเสีย ให้เข้าใจอย่างนี้ พยายามมาอยู่ตามป่าที่กุฏิเล็ก ๆ นี้ มาฝึกมาทดลองดูบ้าง ดีกว่าเราไปเรียนปริยัติอย่างเดียว ให้พูดอยู่คนเดียว


ดูจิตดูใจเรา
ดูจิตดูใจเรา คล้าย ๆ กับว่า จิตมันวางเป็นปกติจิต ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติ เช่น มันคิดมันนึกต่าง ๆ นั่นเป็นสังขาร สังขารนี้มันจะปรุงเราต่อไป ระวังให้ดี ให้รู้มันไว้ ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติแล้ว ไม่เป็นสัมมาปฏิปทาหรอก มันจะก้าวไปเป็นกามสุขัลลิกานุใยค อัตตกิลมถานุโยค ของพวกนี้มันปรุง นั่นแหละ เป็นจิตตสังขาร ถ้ามันดีก็ดี ถ้ามันชั่วก็ชั่ว มันเกิดกับจิตของเรา

อาตมาว่าถ้าได้จ้องดูมันอยู่อย่างนี้ รู้สึกว่าสนุก ถ้าจะพูดเรื่องนี้อยู่อย่างเดียวแล้วสนุกอยู่ตลอดวัน เมื่อรู้จักเรื่องสาระของจิต ก็เห็นมีอาการอย่างนี้ เพราะกิเลสมันอบรมจิตอยู่ อาตมาเห็นว่าจิตนี้เหมือนกับจุดจุดเดียวเท่านั้น อันที่เรียกว่าเจตสิกนั่นเป็นแขก แขกมาพักอยู่ตรงนี้ คนนั้นมาเยี่ยมเราบ้าง คนโน้นมาเยี่ยมเราบ้าง มาพักอยู่ตรงนี้ เราจึงเรียกพวกนั้น ที่ออกจากจิตของเรามา เป็นเจตสิกหมด

ทีนี้เรามาทำจิตของเราให้เป็นผู้รู้ ตื่นอยู่ คอยรักษาจิตของเราอยู่ ถ้าแขกมาเมื่อไร โบกมือห้าม มันจะมานั่งที่ไหน มีที่นั่งที่เดียวเท่านั้น เราก็พยายามรับแขกอยู่ตรงนี้ตลอดวัน


นี่คือพุทโธ ตัวตั้งมั่นอยู่นี่ ทำความรู้นี้ไว้ จะได้รักษาจิต เรานั่งอยู่ตรงนี้แล้วแขกที่เคยมาเยี่ยมเราตั้งแต่เราเกิดตัวเล็ก ๆ โน้น มาทีไรมาที่นี่หมด เราจึงรู้จักมันหมด เลยพุทโธอยู่คนเดียว

พูดถึงอาคันตุกะ แขกที่จรมาปรุงมาแต่งต่าง ๆ นานา ให้เรา เป็นไปตามเรื่องของมัน อาการของจิตที่เป็นไปตามเรื่องของ มัน นี่แหละเรียกว่า เจตสิก มันจะเป็นอะไร จะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้จักอาคันตุกะที่มาพัก ที่รับแขกมีเก้าอี้ตัวเดียวเท่านั้นเอง เราเอาผู้หนึ่งไปนั่งไว้แล้ว มันก็ ไม่มีที่นั่ง มันมาที่นี่ มันก็จะมาพูดกับเรา ครั้งนี้ไม่ได้นั่ง


ครั้งต่อไปก็จะมาอีก มาเมี่อไรก็พบแต่ผู้นี้นั่งอยู่ใม่หนีสักที มันจะทนมากี่ครั้ง เพียงพูดกันอยู่ที่นั่น เราก็จะรู้จักหมดทุกคน พวกที่ตั้งแต่เรารู้เดียงสาโน้น มันจะมาเยี่ยมเราหมดนั่นแหละ เพียง เท่านี้

อาตมาว่าธรรมนั้นดูตรงนี้ก็เห็นไปหมด ได้พูด ได้ดู ได้พิจารณาอยู่คนเดียว พูดธรรมะก็อย่างนี้แหละ อาตมาพูดอย่างอื่นไม่เป็น พูดก็พูดไปอย่างนี้ ทำนองนี้ นี่ก็เป็นแต่เพียงพูดให้ฟังเท่านั้น

ทีนี้ให้ไปทำดู ถ้าไปทำมันจะเป็นอย่างนั้น ๆ มีหนทางบอก ถ้ามันเป็นอย่างนั้นให้ทำอย่างนั้น ก็ไปทำดูอีก ถ้าไปทำดูอีก มันเป็นอีกอย่างหนึ่ง ก็ต้องแก้ โน่นแหละจึงจะมีที่บอก ในเมื่อเดินสายเดียวกัน มันต้องเป็นในจิตท่านมหาแน่นอน ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น มันต้องเกิดขัดข้อง ขัดข้องก็ต้องจี้จุด เมื่อพูดตรงนี้มันไปถูกจิตท่านมหา มันก็รู้จักแก้ ถ้ามันติดอีก ท่านผู้แนะนำก็จะบอก เพราะตรงนี้ท่านก็เคยติดมา แล้ว ก็ต้องแก้อย่างนั้น มันรู้เรื่องกัน ก็พูดกันได้

ได้ยินเป็นอย่างหนึ่ง เสียงเป็นอย่างหนึ่ง
เช่นเดียวกับอารมณ์คือเสียง ได้ยินเป็นอย่างหนึ่ง เสียงเป็น อย่างหนึ่ง เรารับทราบไว้ไม่มีอะไร เราอาศัยธรรมชาติอย่างนี้แหละมาพิจารณาหาความจริง จนใจ มันแยกของมันเอง พูดง่าย ๆ ก็คือ มันไม่เอาใจใส่เอง มันจึง เป็นอย่างนั้นได้ เมื่อหูได้ยินเสียง ดูจิตของเรา มันพัวพันไปตามไหม มันรำคาญไหม เท่านี้เราก็รู้

ได้ยินอยู่แต่ไม่รำคาญ ฉันอยู่ที่นี่ เอากันใกล้ ๆ มิได้ไกล เราจะหนีจากเสียงนั้น หนีไม่ได้หรอก ต้องหนีวิธีนี้จึงจะหนีได้ โดยเราฝึกจิตของเราจนมั่นอยู่ในสิ่งนี้ วางสิ่งเหล่านั้น สิ่งที่วางแล้วนั้นก็ยังได้ยินอยู่ ได้ยนอยู่แต่ก็วางอยู่ เพราะสิ่งเหล่านั้นถูกวางแล้ว มิใช่จะไปบังคับให้มันแยก มันแยกเองโดยอัตโนมัติ เพราะการละ การวาง จะอยากให้มันไปตามเสียงนั้นมันก็ใม่ไป

เมื่อเรารู้ถึงรูป เสียง กลิ่น รส ทั้งหลายเหล่านี้ตามเป็นจริงแล้ว เห็นชัดอยูในดวงจิตของเราว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสามัญลักษณะ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หมดทั้งนั้น เมื่อได้ยินครั้งใด ก็เป็นสามัญลักษณะอยู่ในใจ เวลาอารมณ์ทั้งหลายมากระทบ ได้ยิน ก็เหมือนไม่ได้ยินนั้น ไม่ใช่จิตของเราจะไม่มีการงาน

สติกับจิตพัวพันคุ้มครองกันอยู่ตลอดกาลตลอดเวลา ถ้าท่านมหาทำจิตให้ถึงอันนี้แล้ว ว่าจะเดินไปทางไหน มันก็ ค้นคว้าอยู่นี่ เป็นธรรมวิจัย หลักของโพชฌงค์ เท่านั้นเอง มันหมุนเวียนพูดกับตัวเอง แก้ ปลดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีอะไรมาใกล้มันได้ มันมีงานทำของมันเอง
 

การนอน
นี่เรื่องอัตโนมัติของจิตที่เป็นอยู่ ไม่ได้แต่งมัน หัดเบึ้องแรกมันเป็น เลย ถ้าเราทำอยู่อย่างนี้ ท่านมหาจะมีอาการอย่างหนึ่งแปลกขึ้น มา คือ เวลาไปนอน ตั้งใจว่าจะนอน เคยนอนละเมอ กัดฟัน หรือ นอนดิ้นนอนขวาง ถ้าคิดเป็นอย่างนี้แล้ว สิ่งเหล่านั้นฉิบหายหมด ถึงจะหลับสนิทตี่นขึ้นมาแล้ว มีอาการคล้ายกับไม่ได้นอน เหมือนไม่ได้หลับ แต่ไม่ง่วง เมื่อก่อนเราเคยนอนกรน ถ้าเราทำจิตใจให้ตื่นแล้วไม่กรนหรอก จะกรนอย่างไรคนไม่ได้นอน กายมันไประงับเฉย ๆ

ตัวนี้ตื่นอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน ตื่นอยู่ทุกกาลเวลา คือ พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้แจ้ง ผู้สว่าง ตัวนี้ไม่ได้นอน มันเป็นของมันอยู่ ไม่รู้สึกง่วง ถ้าเราทำจิตของเราอย่างนี้ ไม่นอนตลอต 2- 3 วัน บางทีมันง่วง ร่างกายมันเพลีย

พอง่วงเรามานั่งกำหนดเข้าสมาธิทันทีสัก 5 นาที หรือ 10 นาที แล้วลืมตาขึ้น จะรู้สึกเท่ากับได้นอนตลอดคืนตลอดวัน เรื่องการนอนหลับนี่ ถ้าไม่คิดถึงสังขารแล้วไม่เป็นไร แต่ว่าเอาแต่พอควร เมื่อนึกถึงสภาวะของสังขารความเป็นไปแล้ว ให้ตามเรื่องของมัน


ถ้ามันถึงตรงนั้นแล้ว ไม่ต้องนำไปบอกหรอก มันบอกเอง มันจะมีผู้จี้ผู้จด ถึงขี้เกียจก็มีผู้บอกให้เราขยันอยู่เสมอ อยูใม่ได้หรอก ถ้าถึงจุดมันจะเป็นของมันเอง ดูเอาสิ อบรมมานานแล้ว อบรมตัวเองดู

กายวิเวก

แต่ว่าเบื้องแรกกายวิเวกสำคัญนะ เมื่อเรามาอยู่กายวิเวกแล้ว จะนึกถึงคำพระสารีบุตรเทศน์ไว้ เกี่ยวกับ กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก กายวิเวกเป็นเหตุให้เกิดจิตวิเวก จิตวิเวกเป็นเหตุเกิดอุปธิวิเวก แต่บางคนพูดว่าไม่สำคัญหรอก ถ้าใจเราสงบแล้วอยู่ที่ไหนก็ได้ จริงอยู่ แต่เบื้องแรกให้เห็นว่า กายวิเวกเป็นที่หนึ่ง ให้คิดอย่างนี้

วันนี้หรือวันไหนก็ตาม ท่านมหาเข้าไปนั่งอยู่ในป่าไกล ๆ บ้านลองดู ให้อยู่คนเดียว หรือท่านมหาจะไปอยู่ที่ยอดเขายอดหนึ่ง ซึ่ง เป็นที่หวาดสะดุ้ง ให้อยู่คนเดียวนะ เอาให้สนุกตลอดคืน แล้วจึง จะรู้จักว่ามันเป็นอย่างไร

เรื่องกายวิเวกนี่ แม้เมื่อก่อนอาตมาเองก็นึกว่าไม่สำคัญเท่าไร คิดเอา แต่เวลาไปทำดูแล้วจึงนึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า พระองค์สอนให้ไปหากายวิเวกเป็นเบื้องแรก เป็นเหตุให้จิตวิเวก ถ้าจิตวิเวกก็เป็นเหตุเกิดอุปธิวิเวก เช่น เรายังครองเรือน กาย วิเวกเป็นอย่างไร พอกลับถึงบ้านเท่านั้นต้องวุ่นวายยุ่งเหยิง เพราะกายไม่วิเวก ถ้าออกจากบ้านมาสู่สถานที่วิเวกก็เป็นไปอีก แบบหนึ่ง

ฉะนั้นต้องเข้าใจว่า เบื้องแรกนี้กายวิเวกเป็นของสำคัญ เมื่อได้กายวิเวกแล้วก็ได้ธรรม เมื่อได้ธรรมแล้วให้มีครูบาอาจารย์เทศน์ให้ฟัง คอยแนะนำตรงที่เราเข้าใจผิด เพราะที่เราเข้าใจผิดนั่น มันเหมือนกับเราเข้าใจถูกนี่เอง ตรงที่เราเข้าใจผิด แต่นึกว่าเข้าใจถูก ถ้าได้ท่านมาพูดให้ฟังจึงเข้าใจว่าผิด

ที่ท่านว่าผิดก็ตรงที่เรานึกว่าถูกนั่นแหละ อันนี้มันซ้อนความคิดของเราอยู่ ตามที่ได้ทราบข่าวว่ามีพระนักปริยัติบางรูปท่านค้นคว้าตามตำรา เพราะได้เรียนมามาก อาตมาว่าทดลองดูเถอะ การวางแบบ วางตำราทำนี่ ถึงเวลาเรียน เรียนตามแบบ แต่เวลารบ รบนอกแบบ ไปรบตามแบบมันสู้ข้าศึกไม่ไหว ถ้าเอากันจริงจังแล้วต้องรบนอกแบบ เรื่องมันเป็นอย่างนั้น


ตำรานั้นท่านทำไว้พอเป็นตัวอย่างเท่านั้น บางทีอาจทำให้เสียสติ ก็ได้ เพราะพูดไปตามสัญญา สังขาร ท่านไม่เข้าใจว่าสังขารมันปรุงแต่งทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ลงไปพี้นบาดาลโน่น ไปพบปะพญานาค เวลาขื้นมาก็พูด กับพญานาค พูดภาษาพญานาค พวกเราฟัง มันไม่ใช่ภาษาพวก เรา มันก็เป็นบ้าเท่านั้นเอง

ครูบาอาจารย์ท่านไม่ให้ทำอย่างนั้น เรานึกว่าจะดิบจะดีมันไม่ใช่ อย่างนั้น ที่ท่านพาทำนี้ มีแต่ส่วนละส่วนถอนเรื่องทิฏฐิมานะเรื่องเนี้อเรื่อง ตัวทั้งนั้น อาตมาว่าการปฏิบัตินี้ก็ยากอยู่ ถึงอย่างไรก็อย่าทิ้ง อย่าทิ้งครูทิ้งอาจารย์ เรื่องจิตเรื่องสมาธินี่ หลงมากจริง ๆ เพราะสิ่งที่ไม่ควรจะเป็นได้ แต่มันเป็นขึ้นมาได้ เราจะว่าอย่างไร

อาตมาก็ระวังตัวเองเสมอ เมี่อคราวออกปฏิบัติในระยะ 2 - 3 พรรษาแรก ยังเชื่อตัวเองไม่ได้ แตพอได้ผ่านไปมากแล้ว เชื่อวาระจิตตัวเองแล้ว ไม่เป็นอะไรหรอก ถึงจะมีปรากฏการณ์อย่างไรให้มันเป็นมา ถ้ารู้เรื่องอย่างนี้ สิ่งเหล่านี้ก็ระงับไป มีแต่เรื่องจะพิจารณา ต่อไป ก็สบาย


การนั่งสมาธิ สิ่งที่ไม่น่าคิดก็ผิดได้
ท่านมหายังไม่ได้ทำดู เคยนั่งสมาธิแล้วใช่ไหม การนั่งสมาธินี่ สิ่งที่ไม่น่าคิดก็ผิดได้ เช่น เวลานั่งเราตั้งใจว่า “เอาละ จะเอาให้มันแน่ ๆ ดูที” เปล่า ! วันนี้ไม่ได้เรื่องเลย แต่คนเราชอบทำอย่างนั้น อาตมาเคยสังเกต มันเป็นของมันเอง เช่น บางคืนพอเริ่มนั่งก็นึกว่า เอาละวันนี้อย่างน้อยตีหนึ่งจึงจะลุก คิดย่างนื้ก็บาปแล้ว

เพราะว่าไม่นานหรอก เวทนามันรุมเอาเกือบตาย มันดีเวลานั่งโดยไม่ต้องกะต้องเกณฑ์ ไม่มีที่จุดที่หมาย ทุ่มหนึ่ง สองทุ่ม สามทุ่ม ก็ช่างมัน นั่งไปเรื่อย ๆ วางเฉยไว้ อย่าบังคับมัน อย่าไปหมายมั่น อย่าไปบังคับหัวใจว่า จะเอาให้มันแน่ ๆ มันก็ยิ่งไม่แน่ ให้เราวางใจสบาย ๆ หายใจก็ให้พอดี อย่าเอาสั้น เอายาว อย่าไปแต่งมัน กายก็ให้สบาย ทำเรื่อยไป

มันจะถามเราว่า จะเอากี่ทุ่ม จะเอานานเท่าไร มันมาถามเรื่อยหรอก เราต้องตวาดมันว่า “เฮ้ย อย่ามายุ่ง” ต้องปราบมันไว้เสมอ เพราะพวกนี้มีแต่กิเลส มากวนทั้งนั้น อย่าเอาใจใส่มัน เราต้องพูดว่า “กูอยากพักเร็วพักถ้าไม่ผิดกระบาลใครหรอก กูอยากนั่งอยู่ตลอดคืนมันจะผิดใคร จะมากวนกูทำไม” ต้องตัดมันไว้อย่างนี้ แล้วเราก็นั่งเรื่อยไปตามเรื่องของเรา วางใจสบาย ก็เลยสงบ

เป็นเหตุให้เข้าใจว่าอำนาจอุปาทาน ความยึดหมายนี้สำคัญมาก จริง ๆ เมื่อเรานั่งไปนาน ๆ นานแสนนาน เลยเที่ยงคืนค่อนคืนไป ก็เลย นั่งสบาย มันก็ถูกวิธี จึงรู้ว่าความยึดมั่นถือมั่นเป็นกิเลสจริง ๆ เพราะวางจิตไม่ถูก

บางคนนั้นเวลานั่งจุดธูปไว้ข้างหน้าคิดว่า “ธูปดอกนี้ไหม้หมดจึงจะหยุด” แล้วนั่งต่อไป พอนั่งใด้ 5 นาที ดูเหมือนนานตั้งชั่วโมง ลืมตามองดูธูป แหม ยังยาวเหลือเกิน หลับตานั่งต่อไปอีก แล้วก็ลืมตาดูธูป ไม้ได้เรื่องอะไรเลย อย่า อย่าไปทำ มันเหมือนกับลิง จิตเลยไม่ต้องทำอะไร นึกถึงแต่ธูปที่ปักไว้ข้างหน้าว่าจวนจะไหม้ หมดหรือยังหนอ นี่มันเป็นอย่างนี้ เราอย่าไปหมาย

ถ้าเราทำภาวนา อย่าให้กิเลสตัณหามันรู้เงื่อนรู้ปลายได้ เท่านี้จะเอาอย่างไร” มันมาถามเรา “จะเอาขนาดไหน จะเอาประมาณเท่าไร ดึกเท่าไร” มันมาทำให้เราตกลงกับมัน ถ้าเราไปว่า จะเอาสักสองยาม มันจะเล่นงานเราทันที

นั่งไปยังไม่ถึงชั่วโมงต้องร้อนรนออกจากสมาธิ แล้วก็เกิดนิวรณ์ว่า “แหมมันจะตายหรือยังกันนา ว่าจะเอาให้ มันแน่ มันไม่แน่นอน ตั้งสัจจะไว้ก็ไม่ได้ดั่งตั้ง” คิดทุกข์ใส่ตัวเอง ด่าตัวเองพยาบาทตัวเอง ไม่มีคนพยาบาท ก็เป็นทุกข์อีกนั่นแหละ


ถ้าได้อธิษฐานแล้วต้องเอาให้มันรอด หรือตายโน่น อย่าไป หยุดมันจึงจะถูก เราค่อยทำค่อยไปเสียก่อน ไม่ต้องอธิษฐาน พยายาม ฝึกหัด ไป บางครั้งจิตสงบ ความเจ็บปวดทางร่างกายก็หยุด เรื่องปวดแข้งปวดขา มันหายไปเอง

ทำอะไรให้พิจารณาทุกอย่าง
การปฏิบัติอีกแบบหนึ่งนั้นเห็นอะไรก็ให้พิจารณา ทำอะไรให้พิจารณาทุกอย่าง อย่าทิ้งเรื่องภาวนา บางคนพอออกจากทำความเพียรแล้ว คิดว่าตัวเองหยุดแล้ว พักแล้ว จึงหยุดกำหนด หยุดพิจารณาเสีย เราอย่าเอาอย่างนั้น เห็นอะไรให้พิจารณา เห็นคนดีคนช่วยคนใหญ่คนโต คนร่ำ คนรวย คนยากคนจน เห็นคนเฒ่าคนแก่ เห็นเด็กเห็นเล็ก เห็นคนน้อยคนหนุ่ม ให้พิจารณาไปทุกอย่าง

นี่เรื่องการภาวนาของเรา การพิจารณาเข้าหาธรรมะนั้น ให้เราพิจารณาดูอาการ เหตุผลต่าง ๆ นานา มันน้อยใหญ่ ดำขาว ดีชั่ว อารมณ์ทุกอย่างนั่นแหละ ถ้าคิด เรียกว่ามันคิด แล้วพิจารณาว่า มันก็เท่านั้นแหละ สิ่งเหล่านี้ตกอยู่ในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าไปยึดมั่นถือมั่นเลย นี่แหละป่าช้าของมัน ทิ้งมันใส่ลงตรงนี้ จึงเป็นความจริง

เรื่องการเห็นอนิจจังเป็นต้น คือ เรื่องไม่ให้เราทุกข์ เป็น เรื่อง พิจารณา เช่น เราได้ของดีมาก็ดีใจ ให้พิจารณาความดีใจเอาไว้ บางทีใช้ไปนาน ๆ เกิดไม่ชอบมันก็มี อยากเอาให้คนหรืออยากให้ คนมาซื้อเอาไป ถ้าไม่มีใครมาซื้อก็อยากจะทิ้งไป เพราะเหตุไรจึงเป็นอย่างนี้ มันเป็นอนิจจังมันจึงเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่ได้ขายไม้ได้ทิ้ง ก็เกิดทุกข์ขื้นมา เรื่องนี้มันเป็นอย่างนี้เอง

พอรู้จักเรื่องเดียวเท่านั้น จะมีอีกกี่เรื่องก็ช่าง เป็นอย่างนี้หมด เรียกว่า เห็นอันเดียวก็เห็นหมด บางทีรูปนี้หรือเสียงนี้ไม่ชอบ ไม่น่าฟัง ไม่พอใจ ก็ให้พิจารณาจำไว้ ต่อไปเราอาจจะชอบ อาจจะพอใจในของที่ไม่ชอบ เมื่อก่อนนี้ก็มี มันเป็นได้ เมื่อนึกรู้ชัดว่า “อ้อ สิ่งเหล่านี้ก็เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ทิ้งลงในนี่แหละ ก็เลยไม่เกิดความยึดมั่นในสิ่งที่ได้ ดี มี เป็นต่าง ๆ เห็นเป็นอย่างเดียวกัน ให้เป็นธรรมะเกิดขึ้นเท่านั้น

เรื่องที่พูดมานี้ พูดให้ฟังเฉย ๆ เมื่อมาหาก็พูดให้ฟัง เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องพูดมากอะไร ลงมือทำเลย เช่น เรียกกันถามกัน ชวนกันไปว่า ไปไหม ไป ไปก็ไปเลย พอดี พอดี


ปฏิบัติจนไม่ตื่นเต้นในนิมิต
เมื่อลงนั่งสมาธิ ถ้าเกิดนิมิตต่าง ๆ เช่น เห็นนางฟ้าเป็นต้น เมื่อเห็นอย่างนั้น ให้เราดูเสียก่อนว่า จิตเป็นอย่างไร อย่าทิ้งหลัก นี้ จิตต้องสงบจึงเป็นอย่างนั้น นิมิตที่เกิดขึ้นอย่าอยากให้มันเกิด อย่าไม่อยากให้มันเกิด มันมาก็พิจารณา พิจารณาแล้วอย่าหลง ให้นึกว่ามันไม่ใช่ของเรา นี่ก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เช่นกัน

ถึงมันจะเป็นอยู่ก็ อย่าเอาใจใส่มัน เมื่อมันยังไม่หาย ตั้งจิตใหม่ กำหนดลมหายใจมาก ๆ สูดลมเข้ายาว ๆ หายใจออกยาว ๆ อย่างน้อย 3 ครั้งก็ตัดได้ ตั้งกำหนดใหม่เรื่อยไป สิ่งเหล่านี้อย่าว่าเป็นของเรา สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงนิมิต คือ ของหลอกลวงให้เราชอบ ให้เรารัก ให้เรากลัว

นิมิตเป็นของหลอกลวงใจเรา มันไม่แน่นอน ถ้าเห็นแล้วอย่าไปหมายมัน ไมใช่ของเรา อย่าวิ่งตามนิมิต เห็นนิมิตให้ย้อนดูจิตเลย อย่าทิ้งหลักเดิม ถ้าทิ้งตรงนี้ ไปวิ่งตามมัน อาจพูด ลืมตัวเอง เป็นบ้าไปได้ ไม่กลับ มาพูดกับเรา เพราะหนีจากคอกแล้ว ให้เชื่อตัวเองแน่นอน เห็น อะไร มาก็ตาม

ถ้านิมิตเกิดขึ้นมาดูจิตตัวเอง จิตต้องสงบมันจึงเป็น ถ้าเป็นมา ให้เข้าใจว่า สิ่งเหล่านี้มิใช่ของเรา นิมิตนี้ให้ประโยชน์แก่คนมีปัญญา ให้โทษแก่คนไม่มีปัญญา ทำความเพียรไปจนเราไม่ตื่นเต้นในนิมิต มันอยากเกิดก็เกิด ไม่เกิดก็ไม่เกิด ไม่กลัวมัน เชื่อใจได้อย่างนี้ ไม่เป็นไร ทีแรกเราตื่นของน่าดู มันก็อยากดู ความดีใจเกิดขื้นมา อย่างนี้ก็หลง ไม่อยากให้มันดีใจ มันก็ดีใจ ใม่รู้จะทำอย่างไร

หลวงพ่อชา สุภัทโธ

ที่มา  http://board.palungjit.com/f63/หลวงพ่อชาสอนวิธีปฏิบัติ-177217.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ